จงบอกประโยชน์ของวัฒนธรรมองค์การมา 3 ข้อ

จงบอกประโยชน์ของวัฒนธรรมองค์การมา 3 ข้อ

วัฒนธรรมองค์กร คืออะไร มีกี่แบบ แบบไหนที่ทำให้องค์กรอยู่รอด

วัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) คือ ค่านิยมร่วม หรือ ความเชื่อที่ทุกคนในบริษัทมีร่วมกัน ทั้งที่แบบตั้งใจ (Non-Organic growth) และแบบไม่ตั้งใจ (Organic growth) โดยคนส่วนใหญ่ร่วมกันปฏิบัติจนกลายเป็นธรรมเนียมสำหรับองค์กรนั้นๆ ซึ่งก่อให้เกิดการหล่อหลอมรวมของพฤติกรรมทั้งคนใหม่และคนเก่าให้ไปในทิศทางเดียวกัน ถ้าวัฒนธรรมเป็นไปในทางที่สอดคล้องกับทิศทางที่องค์กรได้ตั้งไว้ ก็จะนำไปสู่ค่านิยมร่วมขององค์กรในทางที่ถูกต้อง และเหมาะสม ซึ่งส่งผลดีต่อองค์กรเป็นอย่างมาก

ทั้งนี้ตามแนวคิดของ Richard L. Daft (นักทฤษฎี ชาวอเมริกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการองค์กร) ได้กล่าวถึง 4 ประเภทของวัฒนธรรมองค์กร (Type of Corporate Culture) ที่อ้างอิงจากหนังสือ The Leadership Experience แบ่งออกได้ดังนี้

  1. วัฒนธรรมแบบเครือญาติ (Clan Culture)
  2. วัฒนธรรมแบบปรับตัว (Adaptability Culture)
  3. วัฒนธรรมแบบราชการ (Bureaucratic Culture)
  4. วัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ (Achievement Culture)
วัฒนธรรมแบบเครือญาติ
(Clan Culture)

เน้นค่านิยมด้าน:
  • ความร่วมมือ
  • ความเอื้ออาทร
  • รักษาข้อตกลง
  • ความเป็นธรรม
  • ความเสมอภาคทางสังคม
วัฒนธรรมแบบปรับตัว
(Adaptability Culture)

เน้นค่านิยมด้าน:
  • ความริเริ่ม
  • การทดลอง
  • ความกล้าเสี่ยง
  • ความอิสระ
  • ความสามารถตอบสนองรวดเร็ว
วัฒนธรรมแบบราชการ
(Bureaucratic Culture)

เน้นค่านิยมด้าน:
  • ความประหยัด
  • ความเป็นทางการ
  • ความสมเหตุผล
  • ความเป็นระเบียบ
  • ความเคารพเชื่อฟัง
วัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ
(Achievement Culture)

เน้นค่านิยมด้าน:
  • มุ่งการแข่งขัน
  • ความสมบูรณ์แบบ
  • ปฏิบัติเชิงรุก
  • ความเฉลียวฉลาด
  •  ความริเริ่มส่วนบุคคล

วัฒนธรรมองค์กร แบบไหนถึงจะเหมาะและอยู่รอดได้?

คำตอบนี้จะขึ้นอยู่กับ วิสัยทัศน์ (Vision) ของผู้นำองค์กร หรือ Leader ในขณะนั้นที่มองว่า องค์กรของตนต้องการให้ทิศทางของนโยบายบริษัทอยู่ในลักษณะแบบไหน ถ้าอยากให้องค์กรต้องการความยั่งยืน (Sustainable) อาจจะต้องมุ่งเน้นด้านการสร้างวัฒนธรรมแบบเครือญาติ  (Clan Culture) หรือถ้าหากอยากจะมุ่งเน้นด้านการลงทุนใหม่ หรือกำลังวางแผนงานใหม่ โดยต้องอาศัยแรงขับเคลื่อนของพนักงานเป็นหลัก  อาจจะต้องสร้างวัฒนธรรมแบบปรับตัว (Adaptability Culture) แต่ถ้าองค์กรเน้นการลดหรือประหยัดและการทำตามระเบียบก็ใช้การสร้างวัฒนธรรมแบบราชการ (Bureaucratic Culture) หากองค์กรมุ่งเน้นเรื่องการเติบโตอย่างรวดเร็ว คงต้องผลักดันผ่าน วัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ (Achievement Culture) 

ทั้งนี้หากองค์กรของท่านอยากทราบถึง วัฒนธรรมองค์กรของตน ทาง Consync group รับสำรวจ และให้คำปรึกษา รวมถึงวางแผนช่วยทางในการปรับวัฒนธรรมองค์กรของท่าน ให้เป็นไปตามนโยบายและทิศทางขององค์กร

CONSYNC Group

คำว่าวัฒนธรรมองค์กรเป็นวลีที่เราต่างก็เคยได้ยินได้ฟังกันมาแทบจะตลอดเวลา เพราะไม่ว่าจะทำงานอยู่หน่วยงานรัฐหรือเอกชน คำว่าวัฒนธรรมองค์กรกลายเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานที่ทุกคนต่างรู้ว่ามีความสำคัญทั้งต่อตัวองค์กรและพนักงาน แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าจริง ๆ แล้ว “วัฒนธรรมองค์กร” หมายถึงอะไรกันแน่?

วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture) คืออะไร?

วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture) หมายถึง พฤติกรรมที่สร้างหรือหล่อหลอมร่วมกันโดยคนในองค์กร เกิดจากการเรียนรู้ซึ่งกันและกันรวมถึงการนำมาปฏิบัติจนกลายเป็นธรรมเนียมสำหรับองค์กรนั้น

ยกตัวอย่าง Google ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกที่มีวัฒนธรรมเชิงบวกอันน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผลตอบแทนและสวัสดิการพนักงาน เช่น การจัด Outing ให้พนักงาน อาหารฟรี สถานที่ทำงานที่มีบรรยากาศสร้างสรรค์ มีความเป็นมิตรและความครีเอทีฟ รวมถึงมีโรงยิม โซนพักผ่อน หรือ Working space ที่อิสระ

นอกจากนี้ Google ยังขึ้นชื่อเรื่องการรักษาสมดุลระหว่างบริษัทแม่-ลูก รวมถึงการบริหารจัดการความเครียดของพนักงานให้เหมาะสมได้อย่างยอดเยี่ยม สิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้ Google กลายเป็นบริษัทที่โดดเด่นเรื่องวัฒนธรรมองค์กรและกลายเป็นต้นแบบให้กับบริษัทระดับโลกอีกหลายแห่ง

องค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์กร

1) คุณค่าภายในองค์กร

วัฒนธรรมองค์กรที่ดีต้องเริ่มต้นจากรากฐานที่แข็งแกร่งเสมอ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือคุณค่าขององค์กรนั่นเอง องค์กรที่มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ แนวคิด หรือจุดประสงค์ที่ชัดเจนเพื่อการกำหนดคุณค่าด้านต่าง ๆ ให้กับองค์กรจะทำให้พนักงานหรือบุคลากรมี “เข็มทิศ” ในการดำเนินงาน ช่วยเพิ่มทั้งประสิทธิภาพการทำงานและผลผลิตในองค์กรให้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้พนักงานมีแนวปฏิบัติและรู้สึกมีเป้าหมายร่วมกับองค์กรอีกด้วย

2) การสร้างความมีส่วนร่วมให้กับพนักงาน

นอกจากการมีเป้าหมายร่วมกับองค์กรแล้ว การสร้างความผูกพันหรือความรู้สึกมีส่วนร่วมให้กับพนักงานก็เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญของวัฒนธรรมองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความรู้สึกผูนพันระหว่างพนักงานด้วยกันเองหรือจะเป็นความผูกพันระหว่างพนักงานกับองค์กร เช่น การให้พนักงานได้รับรู้ประวัติ ความเป็นมา ความสำเร็จ หรือความล้มเหลวในอดีตขององค์กร การจัดทริปท่องเที่ยว การจัดปาร์ตี้ของพนักงาน เป็นต้น

3) การให้รางวัลและการชื่นชม

เมื่อมีพนักงานทำงานได้ดีหรือมีผลงานโดดเด่น การให้รางวัลและการชื่นชมก็คือตัวช่วยกระตุ้นให้พนักงานเกิดแรงบันดาลใจในการทำงานได้เป็นอย่างดี ทำให้พนักงานคนนั้นเกิดความรู้สึกมีส่วนร่วม และยังเป็นการกระตุ้นให้พนักงานคนอื่น ๆ กระตือรือร้นในการทำงานอยู่เสมออีกด้วย

4) ความเอาใจใส่พนักงาน

ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้องค์กรขับเคลื่อนไปได้ก็คือพนักงาน ดังนั้นการอาใจใส่พนักงานในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การจดจำวันเกิดหรือวันสำคัญอื่น ๆ ก็คือตัวช่วยในการสร้างความรู้สึกดีให้กับพนักงาน และอย่าลืมเรื่องของการแสดงความเอาใจใส่อย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าพนักงานจะอยู่ในตำแหน่งไหนหรืออยู่แผนกอะไรด้วย

5) ส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนา

ทุกวันนี้นอกจากเรื่องของเงินเดือนและสวัสดิการทั่วไปแล้ว พนักงานยุคใหม่ต่างมองหาสถานที่ทำงานที่มอบโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนา (Learning and Development) ให้กับพวกเขาได้ เพราะคนเราต่างมองหาช่องทางในการเติบโตและการพัฒนาทักษะให้กับตัวเองอยู่เสมอ องค์กรที่สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการจัดอบรมหรือการส่งเสริมให้พนักงานเรียนรู้ทักษะใหม่จึงเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดีและช่วยสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมให้พนักงานผูกพันกับองค์กรมากขึ้น

6) การสร้างความต่อเนื่อง

การจัดอบรม โครงการ หรือการบริหารจัดการเรื่องอะไรก็ตามควรมีความต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ชัดเจน สามารถประเมินผลได้ และได้รับผลลัพธ์ที่คุ้มค่าตอบแทนกลับมาอย่างเป็นรูปธรรม เช่น หากมีการจัดอบรมพัฒนาทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ องค์กรก็ควรจัดอบรมทุกปีและควรมีการติดตามหรือประเมินผลด้วย

7) สร้างความมีส่วนร่วมกับชุมชน

องค์กรที่จะเติบโตอย่างมั่นคงได้ต้องมีความผูกพันกับชุมชนที่อยู่โดยรอบด้วย อาจใช้วิธีการทำ CSR เพื่อคืนกำไรให้สังคม ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรม ให้ความรู้ การทำบุญ บริจาค ลงพื้นที่ชุมชน ไปจนถึงการทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์อื่น ๆ การสร้างความมีส่วนร่วมกับชุมชนนอกจากจะทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรแล้ว ยังเป็นตัวช่วยให้พนักงานเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจและเกิดความมีส่วนร่วมทั้งต่อองค์กรและชุมชนอีกด้วย

วัฒนธรรมองค์กรในยุค 2020

องค์กรแต่ละยุคสมัยมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดนิ่ง ในปี 2020 เองก็เช่นกัน ซึ่งสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรยุคใหม่นั้นมีแนวโน้มที่วัฒนธรรมองค์กรจะมุ่งเน้นไปที่ตัวพนักงานมากกว่าเดิม โดยเฉพาะการมอบโอกาสในการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ที่จำเป็นในยุคดิจิทัลและยุคที่ AI กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญรวมถึงการสร้างความมีส่วนร่วมเพื่อให้พนักงานผูกพันกับองค์กรมากกว่าเดิมและช่วยลดการเทิร์นโอเวอร์พนักงาน

ขณะเดียวกันพนักงานและผู้หางานเองก็มองหาองค์กรที่มีวัฒนธรรมองค์กรเชิงบวกทั้งในเรื่องสภาพแวดล้อมในการทำงาน Working space ที่มีความอิสระและยืดหยุ่น รวมถึงสวัสดิการด้านโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ด้วยเช่นกัน

วัฒนธรรมองค์กรคือสิ่งที่เราคุ้ยเคยและรู้ดีว่าเป็นสิ่งสำคัญที่มีอยู่ในบริษัท หน่วยงาน หรือองค์กรทุกแห่ง แต่ละแห่งก็มีวัฒนธรรมองค์กรของตัวเองแตกต่างกันออกไป แต่สำหรับองค์กรยุคใหม่หากต้องการเติบโตอย่างยั่งยืนและต้องการพนักงานที่มีความสามารถเพื่อมาเติมเต็มองค์กรของตัวเอง

การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีและเหมาะสมกับเทรนด์ของโลกปัจจุบันก็คือสิ่งที่องค์กรของคุณต้องเปิดรับและปรับตัว เพื่อให้วัฒนธรรมองค์กรของเราสร้างความรู้สึกด้านบวกและก่อให้เกิดการพัฒนาในทุกภาคส่วนขององค์กรต่อไปในอนาคต

บทความนี้จ้างเขียนผ่าน ฟรีแลนซ์ บน Fastwork.co

วัฒนธรรมองค์การ มีอะไรบ้าง

สุนทร วงศ์ไวศยวรรณ (2540 : 11) กล่าวว่า วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง สิ่งต่างๆ อันประกอบด้วยสิ่งประดิษฐ์ แบบแผนพฤติกรรม บรรทัดฐาน ความเชื่อ ค่านิยม อุดมการณ์ ความเข้าใจ และข้อสมมุติพื้นฐานของคนจำนวนหนึ่งหรือส่วนใหญ่ภายในองค์การ

วัฒนธรรมองค์การบ่งบอกถึงข้อใด

วัฒนธรรมองค์การ(Organizational culture) หรือวัฒนธรรมบริษัท (Corporate culture) หมายถึง แนวทางที่ได้ยึดถือปฏิบัติกันในองค์การ ซึ่งวัฒนธรรมองค์การจะมีอิทธิพลต่อทัศนคติและพฤติกรรมของสมาชิกในองค์การ หรือหมายถึงโครงร่างเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจ (Cognitive framework) ซึ่งจะมีลักษณะ

ข้อใดเป็นความสําคัญของวัฒนธรรมต่อองค์การ

วัฒนธรรมเป็นรากฐานที่กำหนดทัศนคติและพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม การปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำงานให้บรรลุผลสำเร็จ ความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขององค์การซึ่งเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์

วัฒนธรรมองค์การที่เข้มแข็งมีลักษณะอย่างไร

หมายถึง วัฒนธรรมที่มีน้ำหนักมาก คนเห็นพ้องต้องกันและยอมรับมากจึงเปลี่ยนแปลงยาก วัฒนธรรมที่เข้มแข็งจะมีผลต่อการควบคุมพฤติกรรมได้มาก และทำให้สมาชิกขององค์การมีแรงยึดเหนี่ยวกันสูง มีความจงรักภักดีและผูกพันต่อองค์การมาก ในองค์การทางการทหารหรือในองค์การของชาวเกาหลีและญี่ปุ่น จะมีวัฒนธรรมองค์การที่มีน้ำหนักและมีความเข้มแข็ง ...