วิศวกร เครื่องกล ลักษณะงาน

นิยามอาชีพ ผู้ปฏิบัติงานวิศวกรเครื่องกล-Mechanical-engineer-Heating-ventilating-and-refrigerating ได้แก่ผู้ออกแบบอุปกรณ์และแผนผังระบบทำความร้อน ระบายอากาศ การทำความเย็น และอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งวางแผน และควบคุมการผลิต การติดตั้ง การใช้ และการซ่อม ทำการตรวจตรา และทดสอบ ทำงานวิจัย และให้คำแนะนำทางเทคนิคต่างๆ ลักษณะของงานที่ทำ ออกแบบอุปกรณ์และแผนผังระบบทำความร้อน การระบายอากาศ การทำความเย็น และระบที่คล้ายคลึงกัน
ออกแบบเครื่องปรับอากาศเพื่อสมรรถนะที่เหมาะสม เช่น การออกแบบระบบระบายอากาศในอาคารสูงเพื่อคุณภาพอากาศในอาคาร การควบคุมพลังงานไฟฟ้าของมอเตอร์ในระบบแปรเปลี่ยนปริมาตรลม เป็นต้น
วางแผนงาน และควบคุมการผลิต การติดตั้ง การใช้และการซ่อม กำหนดแบบของเครื่องจักร คำนวณต้นทุน และวิธีการผลิต เช่น การติดตั้ง การใช้งาน และการบำรุงรักษาระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ การติดตั้งเครื่องฟอกอากาศสำหรับระบบปรับอากาศ
จัดทำรายการแสดงรายละเอียดที่เกี่ยวกับการติดตั้ง วางแผนเกี่ยวกับวิธีการผลิต และควบคุมงานด้านเทคนิคการผลิต
ควบคุมการติดตั้ง การบำรุงรักษา และการซ่อมอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศ เช่น การแก้ไขและการป้องกันเสียงและความสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นในระบบปรับอากาศ
ทดสอบอุปกรณ์จักรกลเกี่ยวกับความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และความถูกต้องตรงตามรายละเอียดที่ กำหนดไว้
อาจชำนาญในการออกแบบ หรือการวางแผน หรือ การควบคุมงานทางวิศวกรรมเครื่องกล ช่วงใดช่วงหนึ่ง เช่น การผลิต การติดตั้ง หรือการซ่อม
เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบทำความร้อนในอาคาร การจ่ายอากาศบริสุทธิ์ การกำจัดอากาศเสีย การทำห้องเย็น สำหรับเก็บสินค้า การจ่ายน้ำให้แก่เครื่องดับเพลิงอัตโนมัติ หรือเพื่อใช้ในงานอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน สภาพการจ้างงาน ผู้ประกอบวิศวกรเครื่องกล-Mechanical-engineer-Heating-ventilating-and-refrigeratingได้รับค่าตอบแทนการทำงานเป็นเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน ได้รับเงินเดือนในอัตรา ดังนี้
    ประเภทองค์กร             เงินเดือน
         ราชการ                     6,360
       รัฐวิสาหกิจ                   7,210
          เอกชน              12,000 - 15,000

ผู้ประกอบวิศวกรเครื่องกล-Mechanical-engineer-Heating-ventilating-and-refrigeratingส่วนมากทำงานวันละ 8 ชั่วโมง หรือสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง อาจต้องทำงาน ล่วงเวลาวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด ในกรณีที่ต้องการให้งานที่ได้รับมอบหมายเสร็จให้ทันต่อการใช้งานนอกจากผลตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้วในภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน อาจได้รับผลตอบแทนในรูปอื่นเช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส เป็นต้น สภาพการทำงาน สถานที่ทำงานของวิศวกรปรับอากาศจะมีสภาพเหมือนสถานที่ทำงานทั่วไป คือเป็นสำนักงานที่มีอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกเช่นสำนักงานทั่วไป แต่โดยลักษณะงานที่จะต้องควบคุมงานการประกอบเครื่องปรับอากาศ งานติดตั้งระบบระบายความร้อน รวมถึงการซ่อมบำรุง จึงจำเป็นที่จะต้องทำงานหรือตรวจสอบเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องภายในโรงงานประกอบการผลิต หรือสถานประกอบกิจการที่ติดตั้งระบบปรับอากาศ หรือระบบระบายความร้อนอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากต้อง ควบคุมดูแลระบบปรับอากาศให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยวิศวกรปรับอากาศควรคำนึงถึงการติดตั้งระบบปรับอากาศในเชิงอนุรักษ์พลังงานและสภาพแวดล้อม เช่น ดำเนินการลดเลิก ใช้สารทำลายชั้นโอโซน (CFC) จากการใช้ระบบปรับอากาศ
สำหรับวิศวกรปรับอากาศที่ทำงานในบริษัทรับเหมาในการติดตั้งและซ่อมบำรุงระบบระบายความร้อนหรือระบบปรับอากาศ ในสถานประกอบกิจการทั่วไปมักจะต้องทำงานประจำที่สถานที่ในลักษณะงานภาคสนามซึ่งอาจต้องเดินทางไปประจำที่สถานประกอบกิจการจนกว่างานที่รับเหมาจะแล้วเสร็จ คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ ผู้ประกอบอาชีพวิศวกรปรับอากาศจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรเครื่องกล(ความร้อน การระบายอากาศ และการทำความเย็น) คณะวิศวกรรมศาสตร์
- มีร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่องานอาชีพ เช่น ตาบอดสี
- มีความอดทน ขยันหมั่นเพียร สามารถทำงานกลางแจ้ง
- มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ชอบการคิดคำนวณ มีความละเอียดรอบคอบ
- มีความเป็นผู้นำ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
- มีความมั่นใจในตนเองสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
ผู้ที่จะประกอบวิศวกรเครื่องกล-Mechanical-engineer-Heating-ventilating-and-refrigerating ควรเตรียมความพร้อมดังนี้: ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาาปีที่ 6หรือเทียบเท่า ต้องสมัครสอบคัดเลือกศึกษาต่อในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล หรือสถานศึกษาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย หลักสูตร 4 ปี หรือ สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ศึกษาต่อ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หลักสูตร 2 ปี ประเภทวิชาช่าง อุตสาหกรรมสาขา วิชาช่างเครื่องกล ในสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม หรือสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือและเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี สาขาวิศวกรรมเครื่องกล (ความร้อน การระบายอากาศ และการทำความเย็น) คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล หรือสถาบันการศึกษา ที่เปิดสอนระดับปริญญาตรีและรับโอนหน่วยกิตของผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสามารถที่จะขอหรือสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมได้ เพื่อใช้เป็นหลัก-ฐานในประกอบอาชีพได้ที่ กองวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สังกัดกระทรวงมหาดไทย โอกาสในการมีงานทำ ผู้ประกอบอาชีพวิศวกรปรับอากาศสามารถสอบเข้ารับราชการ หรือทำงานในรัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตเป็นต้น หรือทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริษัทรับเหมาติดตั้ง และซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าทั่วไป หรือประกอบธุรกิจส่วนตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น
เนื่องจากภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจทำให้การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างสถานประกอบกิจการต่างๆ ต้องชะลอตัว หรือชะงักไป การลงทุนในการขยายกำลังการผลิตลดลงงานการติดตั้งระบบปรับอากาศ ระบบระบายความร้อน ในสถานประกอบกิจการต่างๆ จะลดลง มีผลกระทบต่อกลุ่มผู้ประกอบวิศวกรเครื่องกล-Mechanical-engineer-Heating-ventilating-and-refrigeratingอยู่บ้าง ทำให้ความต้องการบุคลากรด้านนี้ค่อนข้างคงที่ แต่ยังมีงานซ่อมบำรุงระบบ ปรับอากาศ และระบบระบายความร้อนในสถานประกอบการทั่วไปที่ยังต้องการใช้ผู้ประกอบวิศวกรเครื่องกล-Mechanical-engineer-Heating-ventilating-and-refrigeratingอยู่รวมทั้งโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่เช่น รถไฟฟ้า (BTS) รถไฟฟ้าใต้ดิน ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ เมื่อแล้วเสร็จจะมีความต้องการบุคลากรทางด้านนี้เข้าทำงานในด้านควบคุมการติดตั้งและซ่อมบำรุงระบบระบายอากาศและปรับอากาศ
เมื่อภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวมีการขยายตัวของธุรกิจอุตสาหกรรมมากขึ้น และการลงทุนในการก่อสร้างสถานประกอบกิจการเพิ่มขึ้น คาดว่าความต้องการวิศวกรปรับอากาศในตลาดแรงงานมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ วิศวกรปรับอากาศที่รับราชการสามารถได้รับการเลื่อนขั้น และเลื่อนตำแหน่งได้จนถึงระดับสูงสุดในสายงานตามเงื่อนไขระเบียบราชการ และผู้ที่ทำงานในสถานประกอบกิจการหรือในโรงงานอุตสาหกรรม ทั่วไปก็จะได้รับการเลื่อนขั้นและเงินเดือนตามความสามารถ และประสบการณ์จนถึงระดับบริหารในโรงงาน สำหรับผู้ที่ทำงานในบริษัทรับเหมาในการติดตั้งระบบปรับอากาศ และระบบระบายความร้อน เมื่อมีประสบการณ์ และมีความชำนาญจะสามารถทำงานในตำแหน่งผู้จัดการโครงการที่มีระดับงานรับผิดชอบตามขนาดของสถานประกอบกิจการ และความยากง่ายของงานในแต่ละโครงการ โดยวิศวกรที่รับผิดชอบโครงการ ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรในระดับที่สามารถรับผิดชอบโครงการนั้นๆ
สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์และมีเงินทุนมากพอก็สามารถที่จะประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยเป็นที่ปรึกษาในการออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้าในสถานประกอบการ รับเหมาติดตั้ง และซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าตามสถานประกอบการทั่วไป หรือนำเข้าอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบระบายอากาศ และเครื่องปรับอากาศ อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง วิศวกรเครื่องกล (เครื่องจักรและเครื่องมือ) วิศวกรเครื่องกล (เครื่องจักรไอน้ำชนิดมีลูกสูบ) วิศวกรเครื่องกล (เรือ) วิศวกรเครื่องกล (อากาศยาน) วิศวกรเครื่องกล (รถยนต์) วิศวกรเครื่องกล (หม้อน้ำและอุปกรณ์) วิศวกรเครื่องกล (การบำรุงรักษา) วิศวกรเครื่องกล (โครงสร้าง) แหล่งข้อมูลอื่น ๆ สถาบันการศึกษาในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยทั่วไป สถาบันพระจอมเกล้าธนบุรี http://www.kmutt.ac.th สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล สมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทย http://www.acat.or.th สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง http://www.kmit.ac.th การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ(ประเทศไทย)

งานด้านวิศวกรรมเครื่องกล มีอะไรบ้าง

วิศวกรเครื่องกลทำงานด้านไหนบ้าง?.
วิศวกรออกแบบและติดตั้งระบบเครื่องกลในอาคาร.
วิศวกรบริหารโครงการ.
วิศกรออกแบบผลิตภัณฑ์และชิ้นส่วนเครื่องกล.
วิศวกรด้านอุตสาหกรรมพลังงาน.
เจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านวิศวกรรมเครื่องกล.

วิศวกรเครื่องกลต้องรู้อะไรบ้าง

วิศวกรเครื่องกลจำต้องมีความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานทางเคมี, ฟิสิกส์, วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, วิศวกรรมโยธา อีกทั้ง หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลมีการสอนวิชาแคลคูลัสหลายรายวิชา อีกทั้งจะต้องมีการสอนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นสูงเช่น สมการเชิงอนุพันธ์ (รวมถึงสมการเชิงอนุพันธ์เชิงย่อย) และ พีชคณิต อีกด้วย

วิศวะเครื่องกลเหมาะกับใคร

สาขานี้เหมาะกับใคร หากคุณหลงใหลในวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ชื่นชอบกระบวนการผลิตเครื่องจักร และสนใจทำงานด้านวิศวกรรมศาสตร์ คอร์สนี้ก็น่าจะเหมาะสำหรับคุณ

เครื่องกลมีหน้าที่อะไร

เครื่องกล (machines) หมายถึง อุปกรณ์ที่ช่วยผ่อนแรงหรืออำนวยความสะดวก หรือทั้งช่วยผ่อนแรงและอำนวยความสะดวก ประเภทของเครื่องกล เครื่องกลแบ่งเป็นหลายประเภท เช่น รอก คาน พื้นเอียง ลิ่ม สกรู ล้อและเพลา