เทคโนโลยีทางการแพทย์ ตัวอย่าง

นวัตกรรมไม่เพียงแต่ถูกนำมาใช้เพื่อต่อสู้กับโรคระบาดเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการพัฒนาแนวทางเพื่อดูแลสุขภาพผู้ป่วยทุกอาการให้ปลอดภัยที่สุด นิตยสาร Forbes สรุป 10 ตัวอย่างนวัตกรรมการดูแลสุขภาพ ที่เกิดขึ้นในยุคโควิด-19 ระบาด ดังนี้

1. โดรนขนส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์

Novant Health บริษัทผู้ให้บริการทางการแพทย์ในรัฐแคโรไลน์น่า สหรัฐอเมริกา ร่วมกับ Zipline สร้างโดรน (drone) ขนส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นในการตรวจรักษาผู้ป่วยโควิด-19 เช่น ชุด PPE โดยการบินโดรนไปยังจุดหมายแล้วปล่อยร่มชูชีพพร้อมอุปกรณ์ลงไปยังพื้นที่ ซึ่งเป็นการขนส่งที่ปราศจากการสัมผัสโดยสิ้นเชิง

2. ResMed ใช้งานการมอนิเตอร์การใช้เครื่องช่วยหายใจ (CPAP) บนคลาวด์

บริษัทผลิตเครื่องช่วยหายใจ ResMed เปิดตัวซอฟต์แวร์การจัดการข้อมูลผู้ป่วย  เพื่อให้บริการผู้ป่วยได้ดีขึ้นในช่วงการระบาด ซึ่งจะส่งข้อมูลจาก cellular chips ในเครื่องช่วยหายใจไปยังเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพผ่านระบบคลาวด์ และเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมเครื่องจากระยะไกลได้ตามความเหมาะสม ทำให้สามารถมอนิเตอร์ผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจอยู่ที่บ้านได้ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาโรงพยาบาล

3. แอปพลิเคชั่น ​Docdot สามารถตรวจจับโควิด-19 ได้จากระยะไกล

แอปพลิเคชั่น Docdot ขับเคลื่อนด้วยระบบ AI ช่วยให้แพทย์สามารถตรวจสอบสัญญาณชีพของผู้ป่วย และตรวจหาอาการของโควิด-19 ได้อย่างแม่นยำ ด้วยการแปลงแสงที่สะท้อนจากเส้นเลือดบนใบหน้าเพื่อวัดอัตราการเต้นของหัวใจและระดับออกซิเจนในเลือดแบบเรียลไทม์ โดยสามารถประมวลผลลัพธ์จากการวินิจฉัยโรคโควิด-19 และอาการอื่นๆ ได้ภายใน 45 วินาที นอกจากแพทย์จะสามารถวินิจฉัยโรคจากทางไกลได้แล้ว ยังสามารถเก็บข้อมูลของผู้ป่วยโควิดได้อีกด้วย

4. Tytocare ใช้หูฟังทางการแพทย์แบบใหม่เพื่อมอนิเตอร์ผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงกักตัว

บริษัท TytoCare พัฒนาหูฟังทางการแพทย์ที่นอกจากจะได้สามารถฟังเสียงหัวใจของผู้ป่วยได้แล้ว ยังส่งภาพปอดไปยังแพทย์ได้ ผู้ป่วยเพียงนาบหูฟังลงบนอกตนเอง แพทย์จะได้รับข้อมูลแบบเรียลไทม์ คุณสมบัติของ AI จะช่วยตรวจจับความผิดปกติ ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยอาการได้จากภาพและเสียงที่ผู้ป่วยส่งให้จากที่บ้าน ในช่วงที่มีการจำกัดการสัมผัสและการติดต่อ

5. ทหารสหรัฐฯ ผลิตเครื่องช่วยหายใจราคาประหยัดสำหรับการดูแลผู้ป่วยโควิด-19

กระทรวงกลาโหมสหรัฐ ดำเนินการโครงการ Hack-a-Vent Innovation Challenge ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรการทหารในการผลิตเครื่องช่วยหายใจที่ราคาต่ำกว่า 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ และประกอบใช้งานง่าย เพื่อใช้ในโรงพยาบาลและพื้นที่สนาม โดยเฉพาะพื้นที่ชนบทที่ห่างไกล เครื่องช่วยหายใจนี้ใช้เวลาผลิตสำเร็จในไม่กี่สัปดาห์ ต่างจากเครื่องช่วยหายใจแบบปกติที่ใช้เวลาผลิตระดับปี

6. โรงพยาบาลใช้ VR ในการเทรนนิ่งบุคคลาการทางการแพทย์

ศูนย์การแพทย์ Cedars-Sinai ใช้ Virti ในการฝึกอบรมบุคลาการทางแพทย์ในการดูแลผู้ป่วย การใช้ AR, VR และ AI ทำให้แพทย์และพยาบาลรู้สึกเหมือนได้อยู่ในห้องเดียกับผู้ป่วยจริงๆ และทุกการตัดสินใจที่เกิดในระบบจำลองจะแสดงผลแบบเรียลไทม์ เทคโนโลยีนี้ช่วยให้บุคลากรทางแพทย์ยังคงฝึกฝนการปฏิบัติงานได้ ในขณะเดียวกันก็รักษาระยะห่างเพื่อความปลอดภัยทางสุขภาพด้วย

7. เทคโนโลยี 3D Printing ผลิตชุดตรวจโควิดแบบแหย่จมูก

การประสบปัญหาการขาดแคลนชุดตรวจโควิดเกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้บริษัท AI ซอฟแวร์  Axial3D ออกแบบชุดตรวจโควิดแบบแหย่จมูกด้วยเทคโนโลยี 3D Printing โดยชุดตรวจโควิดนี้ไม่เพียงใช้เวลาในการผลิตเร็วกว่าเดิม แต่ยังสามารถเก็บตัวอย่างได้ดีกว่าแบบเดิมอีกด้วย

8. Mayo Clinic ข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ (de-identfied data) เพื่อคิดค้นการรักษา

Mayo Clinic ร่วมกับบริษัท AI inference ในการสร้าง Clinical Data Analytics Platform ประวัติผู้ป่วยที่ไม่สามารถระบุตัวต้นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ มากกว่า 12.5 ล้านคน รวมถึงผลตรวจจากห้องปฏิบัติการ ค่าสัญญาณชีพ และบันทึกทางคลินิก นักวิจัยใช้ข้อมูลดังกล่าวในการวิเคราะห์เพื่อค้นหาความเชื่อมโยง และทำการวิจัยทางการแพทย์ ปัจจุบัน Mayo Clininc ใช้แพล็ตฟอร์มนี้เพื่อทำการศึกษาวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับโควิด-19 และพัฒนาวิธีการรักษาใหม่ๆ

9. โรงพยาบาลใช้หุ่นยนต์ในการขนส่งอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วย

เมื่อคนป่วยเริ่มล้นโรงพยาบาลจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 โรงพยาบาลจึงหันมาใช้ความช่วยเหลือจากหุ่นยนต์ Moxi หุ่นยนต์แขนเดียวที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลืองานในโรงพยาบาล โดยเน้นไปที่การส่งมอบชุด PPE, ตัวอย่างในห้องแล็บ ผลทดสอบโควิด-19 และรับส่งของจากผู้ป่วยด้วย เพื่อลดการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่การแพทย์และผู้ป่วยในโรงพยาบาล

10. Sutter Health ขยายการให้บริการ ChatBot ครอบคลุมถึงโควิด-19

Sutter Health เพิ่ม โควิด-19 ลงในโปรแกรมการตรวจสอบอาการ ChatBot ระบบ algorithm จะประเมินจากประวัติการรักษา ปัจจัยเสี่ยง และอาการของผู้ป่วยเพื่อให้คำแนะนำด้านสุขภาพ นับตั้งแต่เกิดโรคระบาด ปริมาณการใช้ ChatBot ของ Sutter Health เพิ่มขึ้นเป็นประมาณสามเท่า โดยข้อความกว่าครึ่งหนึ่งเข้ามาในช่วงนอกเวลาทำการปกติ

ที่มา: https://www.forbes.com/sites/blakemorgan/2021/02/01/10-examples-of-healthcare-innovation-in-the-face-of-covid/

อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพนับเป็นหนึ่งในธุรกิจแห่งโลกอนาคตที่จะพัฒนาอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปัจจัยสำคัญอย่างสังคมสูงวัย (Aging Society) มาผนวกกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าภาคส่วนนี้จะเติบโตเฉลี่ยปีละ 8.56% (CAGR) และมีมูลค่าตลาดโลกสูงกว่าสองแสนล้านบาทภายในปี 2028

สำหรับประเทศไทย อุตสาหกรรมการแพทย์เองก็มีอนาคตที่สดใสมาก ๆ เช่นกัน โดยได้รับการจัดอันดับให้มีระบบสุขภาพที่ดีที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลก นอกจากนี้ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของไทย เช่น การฝึกสมาธิ นวดสมุนไพร หรือผ่าตัดเสริมความงาม ยังติดอันดับที่ 13 ของโลก และมีศักยภาพพร้อมที่จะกลายเป็นศูนย์กลางการแพทย์ หรือ Medical Hub ของโลก

วันนี้ InnoHub เลยขอชวนผู้ประกอบการ สตาร์ทอัพ และผู้บริโภคมาอัปเดตเทรนด์เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ 5 เรื่องที่จะมาปฏิวัติอุตสาหกรรมการแพทย์ทั่วโลก ทั้งเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและคว้าโอกาสทางธุรกิจได้อย่างทันท่วงที

1.ระบบการเก็บข้อมูลทางการแพทย์บนบล็อกเชน

นอกจากเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลแบบไร้ตัวกลางอย่าง บล็อกเชน (Blockchain) จะเข้ามาพลิกโฉมอุตสาหกรรมการเงินแล้ว ก็ยังมีบทบาทสำคัญต่อการปฏิวัติการแพทย์และสาธารณสุขได้อีกด้วย โดยเฉพาะเรื่องการบริหารและรวบรวมข้อมูลประวัติการรักษาต่าง ๆ ให้ปลอดภัย รวมถึงเชื่อมต่อและแบ่งปันข้อมูลเหล่านั้นระหว่างผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนอีกด้วย

ประโยชน์ของเทคโนโลยีนี้ คือ ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องและทันท่วงทีไม่ว่าจะเข้าโรงพยาบาลใด รวมไปถึงลดปัญหาการเบิกจ่ายยาซ้ำซ้อน ป้องกันการโจรกรรมข้อมูลทางการแพทย์

นอกจากนี้ ผู้ให้บริการทางการแพทย์ก็สามารถลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองและดำเนินธุรกิจให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น การเปลี่ยนจากเก็บข้อมูลเวชระเบียนในรูปแบบกระดาษไปสู่ออนไลน์แทน เป็นต้น

2.ระบบการนำส่งอินซูลินอัตโนมัติ (Hybrid Closed-Loop Insulin Delivery System)

ระบบการนำส่งอินซูลินอัตโนมัติหรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า “ตับอ่อนเทียม” คือ อุปกรณ์ที่เลียนแบบการทำงานของตับอ่อนซึ่งทำหน้าที่ปล่อยอินซูลินเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วย

นวัตกรรมนี้ได้รับการออกแบบสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 1 ที่ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เองจึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลินทดแทนวันละ 2-4 ครั้ง รวมถึงยังต้องเจาะปลายนิ้วเป็นระยะ เพื่อเช็คระดับน้ำตาลในการคำนวณปริมาณอินซูลินที่ต้องการใช้ในแต่ละวัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ลำบากและสร้างความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

ด้วยเซ็นเซอร์ภายในระบบการนำส่งอินซูลินอัตโนมัติที่ทำหน้าที่ตรวจเช็คระดับน้ำตาลใต้ผิวหนังต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานไม่ต้องตรวจและติดตามระดับอินซูลินด้วยตนเอง จากการศึกษาขององค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา (FDA) พบว่าระบบนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการโรคเบาหวาน ด้วยการส่งสัญญาณบอกอุปกรณ์จ่ายอินซูลิน ให้ปล่อยอินซูลินออกมาในปริมาณที่เหมาะสม และสามารถปรับเพิ่มหรือลดปริมาณอินซูลินได้เองอัตโนมัติ ซึ่งช่วยประหยัดเวลาและบรรเทาความเจ็บปวดของผู้ป่วยได้มาก

เทคโนโลยีทางการแพทย์ ตัวอย่าง

เครื่องนำส่งอินซูลินอัตโนมัติหรือ “ตับอ่อนเทียม”

Credit: www.medgadget.com/ 

  • 7 เทรนด์เทคโนโลยีที่น่าจับตามองในปี 2022
  • อุตสาหกรรมสุขภาพในไทยจะเติบโตอย่างเต็มศักยภาพได้อย่างไร

3.การแพทย์แผนนาโน (Nanomedicine)

การแพทย์แผนนาโน (Nanomedicine) คือ การประยุกต์ความรู้ด้านนาโนเทคโนโลยีเข้ากับศาสตร์ทางด้านการแพทย์เพื่อรักษาโรคและความผิดปกติต่าง ๆ ด้วยอุปกรณ์หรือยาขนาดเล็กจิ๋วในระดับที่ดวงตาของมนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ โดยมีต้นกำเนิดตั้งแต่สมัยปี ค.ศ. 1999 จากงานตีพิมพ์เชิงวิชาการของ Robert Freitas นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกา

เทคโนโลยีการแพทย์แผนนาโนนี้สามารถยกระดับการรักษาผู้ป่วยได้ทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวินิจฉัยโรคได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้นเพราะสามารถตรวจสอบความผิดปกติได้ลึกถึงระดับเซลล์ ยิ่งไปกว่านั้นนวัตกรรมนี้ยังช่วยสร้างเครื่องมือขนาดเล็กระดับนาโนที่สามารถแทรกตัวเข้าไปภายในเซลล์ร้าย เช่น มะเร็ง เพื่อจัดส่งยารักษา แก้ไขซ่อมแซมอย่างตรงจุด ซึ่งช่วยให้คนไข้ไม่จำเป็นต้องทานยาในปริมาณมากเกินไป นอกจากนี้ เครื่องมือดังกล่าวยังสามารถส่งข้อมูลกลับมารายงานสถานะของเชื้อโรคหรือเซลล์ร้ายนั้น ๆ ว่าอาศัยอยู่ภายในส่วนไหนของร่างกายผู้ป่วยได้อีกด้วย 

ปัจจุบัน เทคโนโลยีการแพทย์แผนนาโนได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและประสบความสำเร็จอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ทีมนักวิจัยจาก Chinese Academy of Sciences (CAS) คิดค้นวัคซีนป้องกันมะเร็งด้วยการผสานเยื่อหุ้มของเซลล์หลายชนิดเข้าด้วยกัน ซึ่งจากการทดลองกับหนูพบว่าสามารถยับยั้งการเกิดซ้ำของเนื้องอกได้ 

4.ห้องปฎิบัติการบนชิป (Lab on a Chip)

ห้องปฎิบัติการบนชิป หรือ “แลปบนชิป” คือ เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเมื่อปี ค.ศ. 1979 และได้รับการพัฒนาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวิจัยและทดลองทางวิทยาศาสตร์ในหลากหลายประเภทให้มีต้นทุนถูกลงและรวดเร็วสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นกว่าสมัยก่อนที่จำเป็นต้องสร้างห้องแลปขนาดใหญ่และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือมากมาย

หลักการทำงานของนวัตกรรมห้องปฎิบัติการบนชิป คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Microfluidics หรือ ระบบของไหลจุลภาค เพื่อสร้างท่อลำเลียงของเหลวหรือสารละลายขนาดเล็กประมาณเส้นผมเท่านั้นบนแผ่นชิป ซึ่งติดตั้งแบตเตอรี่ก้อนเล็กจิ๋วไว้เพื่อดูดของเหลวให้ไหลตามท่อไปผสมกับสารเคมีต่าง ๆ จนออกมาเป็นผลลัพธ์ของการทดสอบทางการแพทย์ภายในระยะเวลาไม่กี่นาที

ตัวอย่างการใช้งานนวัตกรรมห้องแลปบนชิปในปัจจุบันที่ใกล้ตัวพวกเรามากที่สุด เช่น การตรวจหาผลโควิด-19 แบบ Antigen Test Kit (ATK) ได้ในเวลาน้อยกว่า 30 นาที นอกจากนี้ ยังสามารถย่นระยะเวลาการวิจัยตัดต่อดีเอ็นเอ (DNA) ที่เคยยาวนานหลายปีลงได้ รวมถึงการวิเคราะห์ศึกษาโปรตีนในสิ่งมีชีวิต (Proteomics) ได้รวดเร็วยิ่งขึ้นภายในเวลาไม่กี่นาทีอีกด้วย

เทคโนโลยีทางการแพทย์ ตัวอย่าง

Credit: Stanford University

5.อินเทอร์เน็ตสำหรับการแพทย์ (IoMT)

Internet of Medical Things (IoMT) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า IoT in Healthcare คือ เครือข่ายอุปกรณ์การแพทย์และซอฟต์แวร์ด้านสุขภาพต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถช่วยให้ทีมแพทย์ติดตามอาการและรักษาผู้ป่วยได้แบบเรียลไทม์ รวมถึงแบ่งปันและวิเคราะห์ข้อมูลเวชระเบียนมากมายได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

ตัวอย่างการทำงานของนวัตกรรม IoMT ที่แพร่หลายแล้วในปัจจุบัน เช่น Remote Patient Monitoring (RPM) หรืออุปกรณ์การแพทย์ที่ผู้ป่วยสามารถใช้เก็บรวบรวมข้อมูลด้านสุขภาพ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจหรือค่าความดันได้เองที่บ้านก่อนส่งต่อให้แพทย์วินิจฉัย เป็นต้น

นอกจากเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและปลอดภัยให้แก่คนไข้ที่ไม่ต้องฝ่ารถติดเดินทางไปโรงพยาบาลให้เสี่ยงรับเชื้อโรคแล้ว ก็ยังช่วยให้การรักษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งยังลดความเสี่ยงที่เอกสารสำคัญต่าง ๆ อาจสูญหายอีกด้วย

  • AI จะเข้ามาแทนที่แพทย์หรือไม่ ?
  • เครื่องมือที่สร้างโอกาสในการสนับสนุนด้านสุขภาพจิต

การพลิกโฉมวงการสาธารณสุขด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่จะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Hyper Aged Society) ภายใน 9 ปีข้างหน้านี้

InnoHub หวังว่า 5 นวัตกรรมด้านการแพทย์ที่เรานำมาฝากในวันนี้จะเป็นแรงบันดาลใจและช่วยจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ให้กับผู้ประกอบการและเจ้าของสตาร์ทอัพได้นำไปปรับใช้เพื่อบรรเทาปัญหาและช่วยเหลือผู้คนมากมายต่อไป

สำหรับภาคประชาชนผู้บริโภค เทคโนโลยีอันทันสมัยเหล่านี้จะเข้ามาช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ระบบสาธารณสุข และการจัดการด้านสังคมผู้สูงอายุให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Share this article

เทคโนโลยีทางการแพทย์ ตัวอย่าง

CYBER SECURITY & PRIVACYTECHNOLOGY UPDATE

มกราคม 27th, 2023

รู้เท่าทันโลกออนไลน์ เกิดอะไรขึ้นบ้างกับข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ

เทคโนโลยีทางการแพทย์ ตัวอย่าง

STARTUP & ECOSYSTEMFinTechTECHNOLOGY UPDATE

ธันวาคม 6th, 2022

ทำความรู้จัก 3 แพลตฟอร์ม Crowdfunding ของประเทศไทย

เทคโนโลยีทางการแพทย์ ตัวอย่าง

LIFESTYLETECHNOLOGY UPDATE

พฤศจิกายน 16th, 2022

รวมลิสต์หนังสายเทคในดวงใจ ที่ทีม InnoHub อยากให้กลายเป็นจริง

กดติดตาม InnoHub

เพื่อรับข้อมูลข่าวสารและแรงบันดาลใจด้านนวัตกรรมใหม่ ๆ

Email

Subscribe

เรานำข้อมูลมาใช้เพื่อการส่งมอบคอนเทนต์และบริการอย่างเหมาะสม เราจะปกป้องความเป็นส่วนตัวของคุณ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Privacy Policy และคลิกสมัครเพื่อดำเนินการต่อ

เทคโนโลยีทางการแพทย์ มีอะไรบ้าง

เทคโนโลยีทางการแพทย์.
เครื่องตรวจอัลตร้าซาวนด์ ... .
ศัลยกรรมผ่าตัดส่องกล้อง หรือศัลยกรรมผ่าตัดผ่านกล้อง แผลเล็ก ... .
การผ่าตัดส่องกล้องทางกระดูกและข้อ ... .
ห้องปฏิบัติการ (Laboratory) ... .
ศูนย์ปฏิบัติการสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization Laboratory) ... .
เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง 128 Slice (CT Scan).

เทคโนโลยีทางการแพทย์หมายถึงอะไร

Medical Technology หรือ MedTech คือ การนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการด้านการแพทย์ให้กับผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการวินิจฉัยโรค การรักษา การติดตามอาการ ไปจนถึงการประเมินภาวะสุขภาพ การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะในแล็ปด้วยเครื่องตรวจที่ทันสมัย เอ็กซ์เรย์ร่างกาย CT scan หรือ MRI ล้วนแล้วแต่เป็นผลผลิตจาก ...

โรง พยาบาลมีเทคโนโลยีอะไรบ้าง

เทคโนโลยีของเรา.
VITAL BEAM เครื่องฉายรังสีพลังงานสูงเพื่อผู้ป่วยมะเร็ง ... .
256 สไลซ์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงที่ รพ.หัวใจกรุงเทพ ... .
Magnetic Resonance Imaging (MRI) การสร้างภาพด้วยคลื่นแม่เหล็ก ... .
ECMO เครื่องหัวใจ-ปอดเทียมแบบเคลื่อนย้าย ... .
ห้องผ่าตัดอัจฉริยะ Hybrid Operating Room Full Function..

อุปกรณ์ทางการแพทย์ มีอะไรบ้าง

อุปกรณ์ต่างๆ (Diagnostic tools).
วัดอุณหภูมิ (Thermometer).
หูฟังแพทย์ ( Stethoscope).
ปากาแสง (Penlight).
ที่กดลิ้น (Tongue Depressor).
ค้อนเคาะเข่า (Reflex Hammer).
อุปกรณ์ตรวจภายใน (Vaginal).
คีมถ่างก้น (Proctoscope).
เครื่องชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง.