โปรแกรมป้องกันการแฮกข้อมูลมือถือ

วิธีป้องกันการโดนแฮกข้อมูล ทำยังไงให้ปลอดภัยจากการเป็นเหยื่อของแฮกเกอร์ มาดูกัน

โปรแกรมป้องกันการแฮกข้อมูลมือถือ

การโดนแฮกข้อมูลนั้นไม่ใช่ปัญหาเล็ก ๆ และเป็นสิ่งที่ทุกคนควรตระหนัก เพราะการโดนแฮกขโมยบัญชีหรือข้อมูลสำคัญ ๆ อาจนำมาสู่ความเสียหายมากมายทั้งต่อตัวเองและบุคคลที่เกี่ยวข้อง วันนี้เราจึงมาแนะนำวิธีป้องกันการโดนแฮกข้อมูลอย่างถูกวิธี เพื่อให้ทุกคนปลอดภัยจากเงื้อมมือของพวกแฮกเกอร์

1. ติดตั้งแอนตี้ไวรัส

สาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้มีโอกาสโดนแฮกได้นั้นก็คือไวรัสและมัลแวร์ต่าง ๆ นั่นเอง ถ้าหากปล่อยให้มันเข้ามาอยู่ในอุปกรณ์ของเรา แฮกเกอร์ก็จะสามารถขโมยรหัสผ่านหรือข้อมูลสำคัญของเราไปได้ หรืออาจถูกโจมตีด้วย Ransomware เอาข้อมูลไปเรียกค่าไถ่ได้อีกด้วย ซึ่งการติดตั้งโปรแกรมหรือแอปฯ แอนตี้ไวรัสจะสามารถช่วยปกป้องจากสิ่งเหล่านี้ได้พอสมควร และจะต้องไม่ลืมอัปเดตให้เป็นเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดอยู่เสมอด้วย

โปรแกรมป้องกันการแฮกข้อมูลมือถือ

2. ไม่คลิกลิงก์แปลกปลอม

ถ้าหากได้รับข้อความหรืออีเมลที่มีลิงก์แปลก ๆ ดูไม่น่าไว้ใจ ส่งจากใครที่ไหนก็ไม่รู้ ควรลบทิ้งทันที อย่าเผลอคลิกเข้าไปหรือดาวน์โหลดไฟล์ใด ๆ มาอยู่ในเครื่อง เพราะนั่นอาจเป็นไฟล์ที่มีไวรัสแฝงอยู่ก็ได้ ทางที่ดีควรลองตรวจเช็กให้แน่ใจเสียก่อนว่าผู้ที่ส่งมานั้นเป็นใคร เป็นตัวจริงหรือเป็นแฮกเกอร์ปลอมตัวมา

3. ตั้งรหัสผ่านที่เดายาก

รหัสผ่านนั้นเป็นเสมือนกุญแจที่ป้องกันแฮกเกอร์ไม่ให้เข้าถึงข้อมูลของเรา เพราะฉะนั้นเราจึงควรตั้งรหัสผ่านที่เดายาก ประกอบไปด้วยตัวอักษรทั้งตัวใหญ่และตัวเล็ก รวมทั้งตัวเลข หรืออาจใส่ตัวอักขระพิเศษเข้าไปด้วย และถ้าเป็นไปได้ก็ควรตั้งรหัสผ่านของแต่ละบัญชีให้ต่างกัน เพราะถ้าหากบัญชีใดโดนแฮกได้ อย่างน้อยบัญชีอื่น ๆ ก็จะได้ไม่โดนไปด้วย

4. เปิดระบบยืนยันตัวตน 2 ขั้น

ปัจจุบันหลาย ๆ บริการเริ่มมีระบบการยืนยันตัวตนแบบ 2 ขั้นตอนให้สามารถเลือกเปิดใช้งานได้ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ควรใช้ โดยระบบจะส่งรหัส OTP มาทาง SMS หรือทางแอปฯ ที่ลงทะเบียนไว้ เพื่อให้เรานำไปกรอกทุกครั้งที่ล็อกอินบัญชีนั้น ๆ ทำให้แฮกเกอร์ไม่สามารถขโมยบัญชีของเราแม้จะแฮกรหัสผ่านได้แล้วก็ตาม

โปรแกรมป้องกันการแฮกข้อมูลมือถือ

5. ไม่ติดตั้งแอปฯ จากนอก Store

การติดตั้งแอปฯ จากนอก App Store หรือ Google Play มีความเสี่ยงที่จะโดนแฮกได้ เนื่องจากอาจมีไวรัสและมัลแวร์แฝงมากับไฟล์ติดตั้ง โดยแอปฯ ใน Store จะผ่านการตรวจสอบมาระดับหนึ่งแล้ว จึงมีความปลอดภัยที่จะดาวน์โหลดมาติดตั้งในเครื่องมากกว่านั่นเอง

6. ไม่ลืมล็อกมือถือ

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรทำก็คือการล็อกมือถือ ควรตั้งรหัสผ่านสำหรับใช้ปลดล็อกมือถือ ถ้าหากเป็นมือถือรุ่นใหม่ ๆ ก็อาจใช้การล็อกด้วยลายนิ้วมือหรือสแกนใบหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้คนอื่นแอบใช้มือถือเรา เพราะในมือถือนั้นมีข้อมูลและบัญชีต่าง ๆ ล็อกอินไว้มากมาย ถ้าหากมีคนไม่ดีสามารถปลดล็อกมือถือเราได้ รับรองว่างานเข้าแน่นอน

ทั้งหมดที่ได้กล่าวไปนั้นถือเป็นวิธีป้องกันการโดนแฮกข้อมูลเบื้องต้น ที่ทุกคนสามารถนำไปทำตามได้ไม่ยาก และเชื่อว่าน่าจะช่วยให้ทุกคนปลอดภัยจากการโดนแฮกได้ไม่น้อยเลยล่ะ

เดี๋ยวนี้มีข่าวคนโดนมัลแวร์เจาะข้อมูลในเครื่องบ่อยๆ ใครๆ ก็กลัวอยากหาวิธีป้องกันไม่ให้มือถือโดนแฮกกันทั้งนั้ ทั้งใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยต่างๆ ตั้งรหัสผ่านให้ยากขึ้น รวมถึงปกป้องดูแลข้อมูลของตัวเอง ไม่ว่าวิธีไหนก็ใช่จะได้ผล 100% แต่อย่างน้อยถ้ารู้จักวิธีใหม่ๆ ในการป้องกันการแฮก ก็พอจะช่วยได้บ้าง ดีกว่านิ่งนอนใจ

  1. โปรแกรมป้องกันการแฮกข้อมูลมือถือ

    1

    ระบบปฏิบัติการต้องอัพเดทเสมอ. พอ Apple หรือ Android บอกว่ามีอัพเดทใหม่เมื่อไหร่ ให้รีบดาวน์โหลดและติดตั้งทันที ไม่งั้นแฮกเกอร์จะอาศัยช่องโหว่นี้เพื่อเจาะเข้าเครื่อง อัพเดทใหม่จะช่วยอุดรูรั่ว ทำให้มือถือของคุณปลอดภัยเสมอ[1]

  2. โปรแกรมป้องกันการแฮกข้อมูลมือถือ

    2

    ติดตั้งแอพรักษาความปลอดภัยลง Android. ไม่ใช่ว่าแอพไหนก็ได้ ต้องเลือกจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น Consumer Reports ถ้าอยากได้แอพฟรีแต่ดี ให้เลือก Avast เพื่อช่วยป้องกันไวรัสและมัลแวร์ ถ้ายินดีจ่ายแพงเพื่อการป้องกันที่แน่นหนากว่าเดิม ให้เลือก McAfee หรือ Norton เลย[2]

    • ปกติ iOS จะเจาะยากกว่า แต่ก็มีบางเวอร์ชั่นที่อันตรายเหมือนกัน ที่คุณทำได้คือหมั่นอัพเดทระบบทันทีที่มีเวอร์ชั่นใหม่ และตรวจสอบให้ดีๆ ทุกครั้งก่อนติดตั้งแอพอะไร[3]
    • ถ้าเป็นไปได้ ให้ตั้งรหัสผ่านแอพรักษาความปลอดภัยด้วย

  3. โปรแกรมป้องกันการแฮกข้อมูลมือถือ

    3

    ตั้ง passcode. เลือกที่เจาะยากแต่จำง่าย อย่าใช้พวกวันเดือนปีเกิด, ชื่อหมาแมว, PIN เอทีเอ็ม หรือบางส่วนของเบอร์โทร ขั้นตอนการตั้ง passcode ของ Apple และ Android มีดังนี้

    • ถ้าใช้ iPhone จะมีให้เลือกโค้ดแบบ 6 หลัก, 4 หลัก หรือ alphanumeric code คือตัวอักษรผสมตัวเลข [4]
    • ถ้าใช้ Android ให้กดปุ่มเมนูในหน้า home แตะ "Settings" แตะ "Security" แล้วแตะ "Screen Lock" คำที่ขึ้นจริงๆ อาจต่างออกไป แล้วแต่ยี่ห้อมือถือของคุณ จะมีให้เลือกใช้ Pattern Unlock (ลากเส้นเพื่อปลดล็อค), PIN ส่วนตัว หรือรหัสผ่านแบบ alphanumeric (ตัวอักษรผสมตัวเลข) ต่อมาคือกำหนดว่าให้มือถือรอกี่วินาที/นาที แล้วค่อยล็อคเครื่อง[5]

  4. โปรแกรมป้องกันการแฮกข้อมูลมือถือ

    4

    เช็คแอพใหม่ก่อนติดตั้ง. ดาวน์โหลดแอพจากแหล่งที่น่าเชื่อถือเท่านั้น เช่น App Store หรือ iTunes ของ Apple ถ้าใช้ Android ต้องระวังมากหน่อย เพราะ Google ไม่สกรีนแอพละเอียดเท่า Apple ลองอ่านรีวิวใน Consumer Reports, Wired หรือ CNET ก่อนดาวน์โหลดแอพนอกจะดีที่สุด[6]

  5. โปรแกรมป้องกันการแฮกข้อมูลมือถือ

    5

    รู้จักวิธีควบคุมเครื่องจากระยะไกล. คุณสั่งล็อคเครื่องหรือลบข้อมูลจากระยะไกลได้ ถ้าแน่ใจว่าเครื่องถูกขโมย โดยเข้า Settings หรือบางแอพ ถ้ามือถือคุณเป็นรุ่นใหม่ๆ ก็ไม่ต้องดาวน์โหลดอะไรเลย อย่าง iPhone ก็ใช้ "Find My Phone" ของ iCloud ได้เลย[7] ส่วน Android ก็ควบคุมเครื่องจากระยะไกลได้ผ่านบัญชี Google ของคุณ[8]

    • ถ้า iPhone คุณเก่าหน่อย ให้ดาวน์โหลดแอพ Find My iPhone จาก iTunes แทน[9] ส่วน Android รุ่นเก่า ให้ใช้แอพ Find My Phone[10] ดาวน์โหลดได้ฟรีทั้ง 2 แอพ

  6. โปรแกรมป้องกันการแฮกข้อมูลมือถือ

    6

    ต่อเน็ตผ่าน Wi-Fi สาธารณะต้องระวัง. พวก Wi-Fi ที่ไม่มีไอคอนรูปกุญแจล็อคหรือไม่มีรหัสผ่านนี่อย่าไปใช้เลย ใช้เน็ตมือถือแทนดีกว่า หรือติดตั้ง virtual private network (VPN) ไว้เล่นเน็ตแบบเข้ารหัส แต่ถึงจะใช้ VPN ก็ต้องระวังอย่าเข้าบัญชีธนาคารหรือข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญผ่านเน็ตที่ไม่ปลอดภัย[11]

    • สัญญาณเน็ตไหนปลอดภัย จะมีรูปแม่กุญแจล็อคอยู่ ปกติอยู่ข้างชื่อ Wi-Fi นั่นแหละ

  7. โปรแกรมป้องกันการแฮกข้อมูลมือถือ

    7

    ถ้าไม่ใช้ ให้ปิด Wi-Fi, Bluetooth และ GPS. เพราะแค่สแกนปราดเดียวแฮกเกอร์ก็หาตำแหน่งมือถือของคุณได้ วิธีปิดให้ทำตามขั้นตอนในคู่มือหรือหน้าช่วยเหลือในเว็บยี่ห้อมือถือที่ใช้ ปกติ settings พวกนี้ตามค่า default จะอยู่ที่ "on" โดยเฉพาะมือถือรุ่นใหม่ๆ[12]

  8. โปรแกรมป้องกันการแฮกข้อมูลมือถือ

    8

    อย่าทำให้มือถือปลดล็อคได้ง่ายๆ. พวกปลดล็อคด้วยลายนิ้วมือหรือสแกนหน้าอะไรนี่บางทีก็ไม่ปลอดภัยเสมอไป แฮกเกอร์ทำได้ถึงขั้นขโมยรอยนิ้วมือคุณไปจากแก้วน้ำ หรือเอารูปถ่ายคุณมาสแกนแทน ห้ามตั้งค่าให้มือถือปลดล็อคอัตโนมัติเวลาอยู่บ้าน หรือเวลาอยู่ใกล้อุปกรณ์อื่นๆ เด็ดขาด ลองนึกดูถ้าอยู่ๆ มีคนบุกเข้ามาในบ้าน หรือขโมย smart watch คุณไป เท่านี้มือถือคุณก็ไม่ปลอดภัยแล้ว[13]

    โฆษณา

  1. โปรแกรมป้องกันการแฮกข้อมูลมือถือ

    1

    ตั้งรหัสผ่านให้เจาะยากแต่จำง่าย. ผสมปนเปกันเข้าไปทั้งตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ ยิ่งเดายากก็ยิ่งปลอดภัย เช่น ตรงกลางรหัสใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ เพิ่มสัญลักษณ์แปลกๆ เข้าไป จะได้ยากจนมึน (แต่ตัวเองอย่ามึนนะ)

    • อย่าตั้งรหัสผ่านด้วยข้อมูลอะไรที่ชัดเจนแจ่มแจ้งอย่างวันเดือนปีเกิด วันครบรอบ หรือตัวเลขเรียงกัน (1, 2, 3, 4, 5) และอย่าพิมพ์เป็นนามสกุลก่อนแต่งงานของแม่หรือชื่อน้องหมาน้องแมว[14]
    • ตั้งรหัสผ่านป้องกันไว้ให้หมด ทั้ง voicemail, Wi-Fi แล้วก็แอพต่างๆ โดยเฉพาะแอพของธนาคารกับอีเมล ส่วน voicemail นั้น ขั้นตอนการตั้งรหัสอาจต้องดูในเว็บของผู้ให้บริการ[15]

  2. โปรแกรมป้องกันการแฮกข้อมูลมือถือ

    2

    อย่าบอกรหัสผ่านใคร. ไม่ว่าใครก็ห้ามบอก ทั้งเพื่อนสนิท แฟน ลูก และอื่นๆ ถ้าใช้งานในที่สาธารณะ ก็เหลือบมองให้แน่ใจก่อนว่าไม่มีใครแอบดูอยู่ สุดท้ายคืออย่าไปใส่รหัสแถวบริเวณที่มีกล้องวงจรปิด (CCTV) คนที่เขานั่งดูอยู่อาจเอาไปทำอะไรก็ได้[16]

  3. โปรแกรมป้องกันการแฮกข้อมูลมือถือ

    3

    อย่าล็อกอินอัตโนมัติ (auto-login). เรารู้มันสะดวกดี แต่ก็สะดวกสำหรับแฮกเกอร์เหมือนกัน แค่เปิดเบราว์เซอร์คุณก็เรียบร้อย สละเวลาพิมพ์ username กับรหัสผ่านเองทุกครั้งดีกว่า โดยเฉพาะพวก internet banking หรืออื่นๆ ที่สำคัญ ค่อยๆ พิมพ์ไป อย่าให้ผิดจนถูกล็อคจากระบบล่ะ

    • ถ้าคุณไม่อยากเสียเวลาหรือขี้เกียจจำรหัสผ่านเยอะแยะไปหมด ลองใช้ password manager ดู เป็นแอพใช้เก็บรหัสผ่าน เอาไว้กรอกเวลาเข้าเว็บต่างๆ ถ้ายังไม่ใช้ก็ล็อคตัว manager ไว้ก่อนได้ เท่ากับคุณจำแค่รหัสผ่านเดียวไงล่ะ[17]

  4. โปรแกรมป้องกันการแฮกข้อมูลมือถือ

    4

    อย่าใช้รหัสผ่านเดียวทุกเว็บ. ประมาณว่ารหัสผ่านเดียวจบทั้งอีเมล บัญชีธนาคาร และ social media แบบนี้ก็หวานหมูแฮกเกอร์สิ พยายามตั้งรหัสผ่านใหม่หน่อย จับตัวเลข ตัวอักษร และสัญลักษณ์ต่างๆ มายำใหญ่ให้แต่ละเว็บ หรือจะใช้ password generator แล้ว backup ไว้อีกทีด้วย password manager ก็ได้ จะได้ไม่เป็นภาระหนักสมอง[18]

  5. โปรแกรมป้องกันการแฮกข้อมูลมือถือ

    5

    เปลี่ยนรหัสผ่านบ่อยๆ. กำหนดระยะเวลาไปเลย ว่ารหัสผ่านนี้จะใช้ถึงเมื่อไหร่ เช่น อาทิตย์เดียว เดือนเดียว หรือ 3 เดือน จะทำสัญลักษณ์เตือนความจำไว้ที่ปฏิทินก็ได้ จะได้ไม่ลืม[19]

    โฆษณา

  1. โปรแกรมป้องกันการแฮกข้อมูลมือถือ

    1

    อย่าโพสต์ข้อมูลส่วนตัวใน social media เยอะเกิน. อย่างชื่อ-นามสกุลจริงนี่บางทีก็จำเป็น แต่นอกจากนั้นอย่าเลย โดยเฉพาะพวกที่อยู่ เบอร์โทร นามสกุลก่อนแต่งของแม่ และอื่นๆ อย่าใส่ไว้ที่หน้าโปรไฟล์ดีกว่า กระทั่งข้อมูล "พื้นๆ" อย่างเพลงที่ชอบ หรือหนังสือที่อ่านค้างอยู่ บางทีแฮกเกอร์ยังเอาไปแฮกแล้วขโมยตัวตนคุณได้เลย[20]

  2. โปรแกรมป้องกันการแฮกข้อมูลมือถือ

    2

    ลบข้อมูลส่วนตัวจากมือถือ. แค่รูปก็บอกอะไรเกี่ยวกับคุณได้เยอะเกินพอ ทำให้แฮกเกอร์อาจขโมยตัวตนของคุณได้ อย่างโน้ตการประชุมเมื่อเช้า ก็อาจมีข้อมูลทางธุรกิจให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเอาไปใช้ประโยชน์ได้แล้ว ขอให้หมั่นเซฟรูปและไฟล์ text อื่นๆ ที่สำคัญลงแล็ปท็อปหรือคอมไว้

    • รีเซ็ตเครื่องถ้าจะทิ้งหรือขายต่อ (เหมือนการฟอร์แมตฮาร์ดไดรฟ์ซะใหม่) ขั้นแรกให้ทำการเข้ารหัสเผื่อมีข้อมูลไหนหลงเหลืออยู่ จากนั้นรีเซ็ตเครื่องไปตามขั้นตอนในคู่มือ[21]

  3. โปรแกรมป้องกันการแฮกข้อมูลมือถือ

    3

    อย่าเปิดอีเมลน่าสงสัย. แค่คลิกลิงค์ แฮกเกอร์ที่ต้นทางก็เจาะเข้าเครื่องมาดูข้อมูลคุณได้แล้ว ถ้าไม่แน่ใจว่าใครส่งมา ลบอีเมลหรือข้อความนั้นทิ้งเลยดีกว่า แต่ถึงจะส่งมาในชื่อของคนที่คุณรู้จัก ก็ควรเลื่อนเคอร์เซอร์ไปจ่อดูอีเมลให้แน่ใจว่าไม่ได้มีใครแอบแฝงมา บางเว็บอย่าง Gmail จะแสดงทั้งชื่อและอีเมลของผู้ส่งเลย[22]

  4. โปรแกรมป้องกันการแฮกข้อมูลมือถือ

    4

    อย่าส่งข้อมูลส่วนตัวจากมือถือ. ให้กลัวไว้ก่อนว่ามือถืออาจถูกแฮก จะได้ไม่ชะล่าใจ ถ้าข้อมูลไหนสำคัญอย่าส่งให้ใครทางมือถือ หรือถ้าได้รับข้อมูลสำคัญมา พออ่านเสร็จก็ให้ลบทันที[23]

  5. โปรแกรมป้องกันการแฮกข้อมูลมือถือ

    5

    backup ข้อมูล. เซฟลงคอมหรือแล็ปท็อปไว้ หลังจากนั้นให้ backup ลง external hard drive หรือแฟลชไดรฟ์อีกที ถ้าเก็บอะไรไว้ในมือถือเยอะๆ อาจจะลงทุนหาระบบ backup อัตโนมัติมาใช้ จะได้ประหยัดเวลา ไม่ต้องมานั่ง copy แล้วส่งอีเมลเป็นไฟล์ๆ [24]

    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • พกมือถือไว้กับตัวตลอดเวลา (หรืออย่างน้อยต้องรู้แน่ว่าเก็บไว้ที่ไหน)
  • มองสมาร์ทโฟนเหมือนเป็นคอมเครื่องหนึ่ง เวลาจะเปิดไฟล์ เข้าเว็บ หรือแชร์ข้อมูลอะไรต้องระวัง

โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณเป็นฝ่ายคิดจะไปแฮกข้อมูลใครซะเอง ขอให้หยุดคิดสักนิด เพราะเดี๋ยวนี้บ้านเราก็มีพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ใช้แล้ว ทำอะไรคิดถึงโทษที่จะตามมาบ้าง

โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 33,545 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม