นางแบบ สาม แม่ ครัว คือ ใคร

วาทกรรมคู่บุญของมนุษย์เงินเดือน ผู้เฝ้ารอตัวเลขที่มีค่าเท่ากับค่าตอบแทนประจำเดือนปรากฏในบัญชีอย่างใจจดใจจ่อ เพราะเป็นช่วงเวลาแห่งอิสรภาพที่จะได้ทำในสิ่งที่ใจปรารถนา ต้องการจะซื้อหรือทานอะไรก็ไม่มีข้อจำกัดมาขวางกั้น เพราะกว่าจะถึงวันเงินเดือนออกต้องห้ามใจตัวเองไว้ไม่รู้กี่ครั้ง

เมื่อพูดถึงช่วงสิ้นเดือน หลายๆ คนต้องนึกถึงอาหารที่ถูกนิยามให้เป็นไอคอนิกของช่วงเวลานี้อย่างแน่นอน

“ถ้าไม่นึกถึง ‘บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป’ เป็นอันดับแรก ก็ต้องนึกถึง ‘ปลากระป๋อง’ เป็นอันดับสอง”

แต่ต่อให้ไม่ใช่ช่วงสิ้นเดือน ปลากระป๋องก็เป็นอาหารที่หลายบ้านกักตุนไว้ เพราะนอกจากจะเก็บได้นานแล้ว ยังสามารถรังสรรค์เป็นเมนูได้หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะต้ม ผัด แกง ทอด รสชาติของปลากระป๋องก็สามารถผสมผสานได้อย่างลงตัว

ถึงแม้ปลากระป๋องจะเป็นสินค้าที่อยู่ใกล้ตัวและพบเห็นได้ทั่วไป แต่เบื้องหลังการแข่งขันของธุรกิจกลุ่มนี้กลับดุเดือดกว่าที่คิด และแบรนด์ที่สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดได้เป็นอันดับหนึ่ง ก็คือแบรนด์ที่โดดเด่นด้วยแคแรกเตอร์ผู้หญิง 3 คนอย่าง ‘สามแม่ครัว’ นั่นเอง

ปัจจุบัน สามแม่ครัวดำเนินธุรกิจมาแล้วเกือบ 50 ปี ถึงจะไม่ได้มีอัตราการเติบโตที่หวือหวาเท่ากับสินค้าในกลุ่มธุรกิจประเภทอื่น แต่ก็ยังครองความเป็นเจ้าตลาดมาได้อย่างยาวนาน และมีรายได้ต่อปีหลักพันล้านบาทเลยทีเดียว

เราไม่ได้ตั้งใจมาพูดถึงความสำเร็จของ ‘สามแม่ครัว’ เจ้าตลาดปลากระป๋องไทยเพียงอย่างเดียว แต่แนวคิดการทำธุรกิจและการปั้นแบรนด์ของผู้บริหารมีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่าง

แล้วเบื้องหลังการปั้นแบรนด์ ‘สามแม่ครัว’ เป็นอย่างไร? Future Trends จะพาทุกคนไปทำความรู้จักแบรนด์นี้ให้มากขึ้น

นางแบบ สาม แม่ ครัว คือ ใคร
Image by jcomp on Freepik

‘สามแม่ครัว’ ธุรกิจที่เกิดจาก ‘Passion’

การเป็นเจ้านายตัวเอง หรือการมีธุรกิจส่วนตัวคงเป็นความใฝ่ฝันของใครหลายๆ คน และก็เป็นความใฝ่ฝันของ ‘สุวัฒน์ อุดมบัณฑิตกุล’ ผู้ก่อตั้งแบรนด์สามแม่ครัวด้วย

สุวัฒน์เริ่มต้นธุรกิจด้วยความเชื่อที่ว่า ‘ไม่ต้องการถูกเลิกจ้าง’ และ ‘ไม่ต้องการที่จะแก่ตายไปเฉยๆ’ เขาและเพื่อนอีก 5 คน ตัดสินใจลาออกจากงาน และหันมาทำธุรกิจของตัวเองด้วยการขายปลากระป๋องแบบลองผิดลองถูก

ช่วงแรกของการทำธุรกิจไม่มีอะไรง่าย รายได้ก็มีเพียงคนละนิดคนละหน่อย ยิ่งการทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักยังคงเป็นเรื่องที่ห่างไกล แต่กลุ่มผู้ก่อตั้งก็ไม่ยอมแพ้ และพยายามหากลยุทธ์ในการเข้าถึงลูกค้าเรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็นการใช้รถเร่ไปขายตามคอนเสิร์ต การให้ลูกค้านำฉลากมาชิงโชคแลกของรางวัล หรือแม้แต่โปรโมชัน ‘ลด แลก แจก แถม’ ที่ใช้กันทั่วไปก็ตาม

กลยุทธ์ทุกอย่างดำเนินไปด้วย ‘แพชชัน’ (Passion) หรือความต้องการในการทำธุรกิจอย่างแรงกล้า ซึ่งลูกค้าเห็นถึงความตั้งใจและเริ่มเปิดใจซื้อสินค้า จนเกิดการบอกต่อกันแบบปากต่อปาก ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักนับแต่นั้นเป็นต้นมา

หากวันนั้นสุวัฒน์ไม่ได้ตัดสินใจตามความเชื่อของตัวเอง และเลือกที่จะใช้ชีวิตเป็นพนักงานบริษัทต่อไป ธุรกิจจากแพชชันอย่าง ‘สามแม่ครัว’ คงไม่มีทางเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

3 บทเรียนปั้นแบรนด์ให้แตกต่างของ ‘สามแม่ครัว’

เคลต มาสก์ (Clate Mask) ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Keap ซอฟต์แวร์ด้านการขายสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ได้สรุป 3 องค์ประกอบสำคัญที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของธุรกิจไว้บนเว็บไซต์ Entrepreneur อย่างน่าสนใจ

และจากการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสามแม่ครัว ก็พบว่า จริงๆ แล้วเบื้องหลังความสำเร็จของแบรนด์มีการผสมผสานระหว่าง 3 องค์ประกอบนี้เช่นกัน

แล้ว 3 องค์ประกอบที่กล่าวถึงมีอะไรบ้าง? เราสรุปออกมาเป็น Key Takeaway ให้แล้ว

นางแบบ สาม แม่ ครัว คือ ใคร
Image on tops.co.th

1. Passion : แรงขับเคลื่อนสำคัญในการทำธุรกิจ

‘แพชชัน’ หรือความต้องการในการทำธุรกิจ เป็นสิ่งที่ผลักดันเจ้าของธุรกิจในวันที่ท้อ หรือหลงลืมความตั้งใจแรกของตัวเองได้เป็นอย่างดี เพราะการทำธุรกิจย่อมต้องเจอกับอุปสรรคที่ทำให้หวั่นไหว จนตัดสินใจยอมแพ้ได้เสมอ

อีกทั้งแพชชันยังทำให้เจ้าของธุรกิจมองเห็นโอกาสของแบรนด์อยู่เสมอ อย่างการที่สุวัฒน์พยายามเอาชนะใจลูกค้าในช่วงก่อร่างสร้างแบรนด์อย่างไม่ย่อท้อ และพยายามมองหาลู่ทางใหม่ๆ ให้กับแบรนด์ของตัวเองอยู่เสมอ

2. Freedom : อิสรภาพจะนำมาซึ่งความสำเร็จ

ไม่ว่าจะเป็นอิสรภาพทางความคิด เวลา หรือเงิน ก็ล้วนแต่เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จและเติบโต การจำกัดความคิดของตัวเองอยู่ในกรอบ หรือไม่ได้ให้เวลากับการทำธุรกิจอย่างเต็มที่ จะส่งผลกระทบไปถึงการกำหนดทิศทางของแบรนด์ในอนาคตด้วย

ซึ่งช่วงแรกของการทำธุรกิจ สุวัฒน์ให้เวลากับการปั้นแบรนด์อย่างเต็มที่ และพยายามไม่ปิดกั้นความคิดในการทำการตลาด จนเกิดเป็นวิธีการสื่อสารที่เข้าถึงคนทั่วไปได้เป็นอย่างดี

3. Impact : สร้างการเป็นที่จดจำในใจของผู้คน

ด้วยความที่สินค้าของสามแม่ครัวเป็นอาหารแปรรูป และอาหารก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของการดำรงชีวิตอยู่แล้ว ทำให้ตัวสินค้าสามารถเข้าไปอยู่ในชีวิตของผู้คนได้ไม่ยาก แต่การจะเป็นที่จดจำนั้นยากกว่า เพราะมีคู่แข่งมากมายรายล้อมอยู่รอบตัว

หนึ่งในกลยุทธ์สร้างการจดจำที่น่าสนใจ ก็คือคำว่า ‘สามแม่ครัว’ ที่เป็นชื่อของแบรนด์นั่นเอง เดิมทีสุวัฒน์ตั้งใจที่จะใช้ชื่อว่า ‘แม่ครัว’ อย่างเดียว แต่เลือกที่จะเติมคำว่า ‘สาม’ เข้าไปด้วย เพราะน่าจะทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงความอร่อยได้มากกว่า ซึ่งผลทางจิตวิทยาก็ทำได้สำเร็จ และกลายเป็นชื่อแบรนด์ที่ติดหูมาจนถึงทุกวันนี้

และบทเรียนความสำเร็จของสามแม่ครัวน่าจะตอบคำถามในใจใครหลายๆ คนเกี่ยวกับ ‘แพชชัน’ ของชีวิตได้เป็นอย่างดี

สามแม่ครัว ใคร

หรือ “สามแม่ครัว” ซึ่งกินส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 40% แต่รู้ไหมว่า ผู้ให้กำเนิดแบรนด์ปลากระป๋องนี้ไม่ใช่ 3 สาวเหมือนในโลโก้ แต่เป็นคุณสุวัฒน์ อุดมบัณฑิตกุล กับเพื่อนๆ อดีตกลุ่มเซลล์แมนด้วยกันอีก 5 คน ร่วมใจกันลาออกจากงานประจำ เพื่อมาก่อสร้างธุรกิจในปี พ.ศ. 2516.

สามแม่ครัว ยังอยู่ไหม

ปัจจุบัน สามแม่ครัวดำเนินธุรกิจมาแล้วเกือบ 50 ปี ถึงจะไม่ได้มีอัตราการเติบโตที่หวือหวาเท่ากับสินค้าในกลุ่มธุรกิจประเภทอื่น แต่ก็ยังครองความเป็นเจ้าตลาดมาได้อย่างยาวนาน และมีรายได้ต่อปีหลักพันล้านบาทเลยทีเดียว

ทำไมปลากระป๋องสามแม่ครัวไม่มีขาย

เนื่องจากวัตถุดิบที่จะใช้ในการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในปีที่ผ่านมา บริษัทต้องหันมาเน้นเพิ่มกำลังการผลิตปลาซาร์ดีนแทน ถือเป็นการแก้ไขปัญหาส่วนหนึ่ง แม้ว่าความนิยมของตลาด ผู้บริโภคจะนิยมปลาแมกเคอเรลในซอสมะเขือเทศมากกว่าก็ตาม

ปลากระป๋องสามแม่ครัว ทําจากอะไร

ปลากระป๋องจากแบรนด์สามแม่ครัว เป็นเนื้อปลาซาร์ดีนขนาดกลาง เนื้อนุ่ม ไม่มีกลิ่นคาว และตัวน้ำซอสสีแดงอมส้ม ความเข้มข้นกำลังพอดี ไม่เหลวและไม่ข้นจนเกินไป รสชาติบาง ๆ ติดหวานนำเล็กน้อย บรรจุในกระป๋องมาพร้อมกับฝาดึงเพื่อความสะดวก ปริมาณโซเดียม 230 มก. (1/2 กระป๋อง) ขนาด 155 กรัม ราคา 16 บาท