โครงการความปลอดภัยในโรงเรียน moe

แผนการด าเนินการ ความปลอดภัยสถานศึกษา ประจ าปี ๒๕๖๕ โรงเรียนดีมากอุปถัมภ์ อ าเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานนทบุรี เขต ๒ ก คำนำ แผนการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษาเล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเปนแนวทางในการปฏิบัติงานดานความ ปลอดภัยของโรงเรียนดีมากอุปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต ๒ โดยมีเปาหมาย ใหนักเรียน คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาไดรับการปกปอง คุมครอง ดูแลชวยเหลือ มีความมั่นคงและปลอดภัย ซึ่งเปนไปตามนโยบายความปลอดภัยของกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยในแผนการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษาเลมนี้ประกอบดวย ความสำคัญและวัตถุประสงคของความปลอดภัย สถานศึกษา องคความรูดานความปลอดภัย การเสริมสรางความปลอดภัย การติดตอสื่อสาร และการกำกับ ติดตาม และประเมินผลสถานศึกษาปลอดภัย โรงเรียนดีมากอุปถัมภ์หวังเปนอยางยิ่งวา แผนการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษาเลมนี้จะเป็นแนวทางที่ดี ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานใหกับหนวยงานที่เกี่ยวของและผูปฏิบัติไดเปนอยางดี ขอบคุณคณะครู และบุคลากรทุกทาน ที่ทำให้การจัดทำแผนการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษาเลมนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ข สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข ส่วนที่ : ๑ บทนำ ๑ ความสำคัญของการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา ๑ วัตถุประสงค์ ๒ เป้าหมาย ๒ ตัวชี้วัดความสำเร็จ ๒ ส่วนที่ : ๒ องค์ความรู้ด้านความปลอดภัย ๓ เปาหมายของความปลอดภัยรอบดานในสถานศึกษา ๓ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๓ - พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ ๓ - กฎหมายความผิดเกี่ยวกับเพศ และความผิดต่อเสรีภาพ ๔ - กฎหมายความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ๕ - ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ๖ - กฎหมายความผิดเกี่ยวกับการจราจรทางบก และการใช้รถ ๗ - กฎหมายการจราจรทางบกเบื้องต้น ๗ - สัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจร ๘ ส่วนที่ : ๓ การเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา ๙ นโยบายด้านความปลอดภัยของสถานศึกษา ๙ มาตรการป้องกันและแก้ไขของสถานศึกษา ๑๓ ภาคีเครือข่ายของโรงเรียนดีมากอุปถัมภ์ ๑๗ ส่วนที่ : ๔ การติดต่อสื่อสาร ๑๘ ช่องทางการติดต่อของโรงเรียนดีมากอุปถัมภ์ ๑๘ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๑๘ ส่วนที่ : ๕ การกำกับติดตาม และประเมินผล ๑๙ ภาคผนวก แผนการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา | ๑ ส่วนที่ ๑ บทนำ  ความสำคัญของการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา การสร้างความปลอดภัยให้แก่เด็กเป็นสิ่งสำคัญที่หน่วยงานหลาย ๆ ฝ่ายควรเข้ามาร่วมมือกันเพื่อให้เกิดสังคม ที่ปลอดภัยสำหรับเด็กอย่างแท้จริง โดยที่โรงเรียนเป็นสถาบันหนึ่งที่มีความใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุดรองลงมาจากสถาบัน ครอบครัว ดังนั้นบทบาทของโรงเรียนจึงไม่เพียงแต่เป็นสถานที่ที่ให้เฉพาะวิชาความรู้เพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นสถานที่ ที่ส่งเสริมและพัฒนาให้เด็กได้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ด้วยการสร้างความปลอดภัยในชีวิตของเด็ก รวมทั้งปกป้องคุ้มครอง เด็กนักเรียนจากภัยอันตรายต่าง ๆ ดังนั้นการสร้างสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศภายในโรงเรียนให้ปลอดภัย ย่อมส่งผล ต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กให้มีคุณภาพ ตามมาตรฐานการปฏิรูปการศึกษาของพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่มุ่งเน้นให้เด็กมีทักษะชีวิต นับถือตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในเชิงวิเคราะห์ เป็นคนดี มีความสุข อีกทั้งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ หมวด ๗ มาตรา ๖๓ ได้มุ่งเน้นให้โรงเรียนได้มีระบบงาน และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งเสริมความปลอดภัยให้แก่เด็กนักเรียน และยังสอดคล้องกับนโยบาย Quick Win ๗ วาระเร่งด่วน ข้อที่ ๑ ความปลอดภัยของผู้เรียน กระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญกับประเด็นความปลอดภัยของนักเรียนและ บุคลากรทางการศึกษาเป็นอันดับแรก ๆ เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการปกป้องคุ้มครอง ความปลอดภัยทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ รวมถึงการสร้างทักษะให้ผู้เรียนมีความสามารถในการดูแลตนเองจากภัย อันตรายต่าง ๆ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางสังคม นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานทบุรี เขต ๒ มุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงานของ สถานศึกษา บริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การบริหารจัดการศึกษา Support Model และค่านิยม องค์กร “คุณภาพไม่มีเพดาน มาตรฐานต้องสูงขึ้นเสมอ” โดยกำหนดให้สถานศึกษาบริหารจัดการตาม ๔ กลยุทธ์ ๑๖ จุดเน้น โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนในทุก ๆ ด้าน และให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา ดังที่กำหนดไว้ในกลยุทธ์ที่ ๑ พัฒนาองค์กรให้พร้อมบริการ จุดเน้นที่ ๒ Safety office สร้างความปลอดภัย มีภูมิคุ้มกัน ทันเวลาในสถานศึกษา โรงเรียนดีมากอุปถัมอุปถัมภ์มีความตระหนักในความสำคัญในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ได้ เรียนรู้อย่างมีความสุข เป็นไปตามหลักสูตร มีทักษะชีวิตที่จะดูแลตนเองให้ปลอดภัยท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางสังคม อุบัติเหตุ และอุบัติภัย ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่นักเรียน จึงได้จัดทำแผนการดำเนินงานความปลอดภัย ในสถานศึกษาขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความปลอดภัยให้เกิดแก่นักเรียน แผนการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา | ๒  วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับการปกป้อง การดูแลช่วยเหลือ และคุ้มครองความปลอดภัย ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ โดยนักเรียนจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัยและมีความสุข ๒. เพื่อสร้างความพร้อมในระบบการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษาให้สามารถป้องกัน และแก้ไขสถานการณ์ ปัญหาของนักเรียน ทั้งด้านอุบัติเหตุ อุบัติภัย และปัญหาทางสังคมที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ๓. เพื่อให้มีรูปแบบแนวทางการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษาด้านอุบัติเหตุ ด้านอุบัติภัย และด้านปัญหา ทางสังคมภายใต้หลักการกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วม และยึดประโยชน์สูงสุดของนักเรียนเป็นสำคัญ ๔. เพื่อสร้างความตระหนักในการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษา โดยให้ความรู้ ความเข้าใจ แก่ผู้ที่รับผิดชอบ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยในโรงเรียน  เป้าหมาย ๑. นักเรียนทุกคนในโรงเรียนดีมากอุปถัมภ์ได้รับการคุ้มครองดูแลความปลอดภัย ๒. ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาส่วนร่วมในการคุ้มครองดูแลความปลอดภัย ๓. ผู้ปกครองนักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีแนวทางในการป้องกันและรักษาความปลอดภัยนักเรียน  ตัวชี้วัดความสำเร็จ ๑. นักเรียนทุกคนในโรงเรียนดีมากอุปถัมภ์ได้รับการคุ้มครองดูแลความปลอดภัย ๒. ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาส่วนร่วมในการคุ้มครองดูแลความปลอดภัย ๓. ผู้ปกครองนักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีแนวทางในการป้องกันและรักษาความปลอดภัยนักเรียน แผนการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา | ๓ ส่วนที่ ๒ องค์ความรู้ด้านความปลอดภัย  เปาหมายของความปลอดภัยรอบดานในสถานศึกษา ๑. เพื่อคุมครองนักเรียนและบุคลากรดานการศึกษาจากการเสียชีวิต การบาดเจ็บ และอันตรายในสถานศึกษา ๒. เพื่อใหสถานศึกษาวางแผนจัดการศึกษาตอเนื่องแมในระหวางที่เกิดภัยพิบัติ ๓. เพื่อปกปองการลงทุนในภาคการศึกษา ๔. เพื่อสรางความเขมแข็งในการลดความเสี่ยงและการฟนตัวของภาคการศึกษา กฎหมายที่เกี่ยวข้อง  พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ สาระสำคัญ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๕๕ ก วันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๔๖ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๗ สาระสำคัญของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ เกี่ยวกับเรื่องสิทธิเสรีภาพของเด็กและเยาวชน ที่ต้องได้รับความคุ้มครองจากรัฐโดยไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ พ.ร.บ. ฉบับนี้ มีทั้งหมด ๙ หมวด ๘๘ มาตราด้วยกันแยกเป็น มาตรา ๑-๖ อธิบายความหมายเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. ฉบับนี้ แผนการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา | ๔  กฎหมายความผิดเกี่ยวกับเพศ และความผิดต่อเสรีภาพ พรากผู้เยาว์ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๑๗ ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร พรากเด็กอายุยังไม่เกิน ๑๕ ปีไปเสียจาก บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๓-๕ ปี และปรับตั้งแต่ ๖๐,๐๐๐-๓๐๐,๐๐๐ บาท ผู้ใดโดยทุจริต ซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวเด็กซึ่งถูกพรากตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พรากนั้น ถ้าความผิดตามมาตรานี้ได้กระทำเพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจาร ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๕-๒๐ ปี และปรับตั้งแต่ ๑๐๐,๐๐๐-๔๐๐,๐๐๐ บาท ข่มขืน กระทำชำเรา ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๗๖๑ ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลัง ประทุษร้าย โดยผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้ผู้อื่นนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวาง โทษจำคุกตั้งแต่ ๔-๒๐ ปี และปรับตั้งแต่ ๘๐,๐๐๐-๔๐๐,๐๐๐ บาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ได้กระทำโดยทำให้ผู้ถูกกระทำเข้าใจว่าผู้กระทำมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๗-๒๐ ปีและปรับตั้งแต่ ๑๔๐,๐๐๐-๔๐๐,๐๐๐ บาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ได้กระทำโดยมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้อาวุธ หรือโดยร่วมกระทำ ความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงหรือกระทำกับชายในลักษณะเดียวกัน ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๑๕-๒๐ ปี และปรับตั้งแต่ ๓๐๐,๐๐๐-๔๐๐,๐๐๐ บาท หรือจำคุกตลอดชีวิต ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทำความผิดระหว่างคู่สมรส และคู่สมรสนั้นยังประสงค์จะอยู่กิน ด้วยกันฉันสามีภริยา ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความ ประพฤติแทนการลงโทษก็ได้ ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกและคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์จะอยู่กิน ด้วยกันฉันสามีภริยาต่อไป และประสงค์จะหย่า ให้คู่สมรสฝ่ายนั้นแจ้งให้ศาลทราบ และให้ศาลแจ้งพนักงานอัยการให้ ดำเนินการฟ้องหย่าให้ การกระทำอนาจาร ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๗๘ ผู้ใดกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่า ๑๕ ปีโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยบุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑๐ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทำโดยใช้วัตถุหรืออวัยวะอื่นซึ่งมิใช่อวัยวะเพศล่วงล้ำอวัยวะเพศ หรือทวารหนักของบุคคลนั้น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๔-๒๐ ปี และปรับตั้งแต่ ๘๐,๐๐๐-๔๐๐,๐๐๐ บาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสอง ได้กระทำโดยทำให้ผู้ถูกกระทำเข้าใจว่าผู้กระทำมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๗-๒๐ ปี และปรับตั้งแต่ ๑๔๐,๐๐๐-๔๐๐,๐๐๐ บาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสอง ได้กระทำโดยมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิดหรือโดยใช้อาวุธ หรือโดยร่วมกระทำ ความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงหรือกระทำกับชายในลักษณะเดียวกัน ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๑๕-๒๐ ปี และปรับตั้งแต่ ๓๐๐,๐๐๐-๔๐๐,๐๐๐ บาท หรือจำคุกตลอดชีวิต แผนการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา | ๕  กฎหมายความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ยาเสพติดให้โทษ หมายถึง สารเคมี หรือวัตถุพิษ ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้น เป็นลำดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา และสุขภาพ โดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง เสพ หมายถึง การรับยาเสพติดให้โทษเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ยาเสพติดให้โทษ แบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ การมีสารเสพติดไว้ในครอบครอง เสพ และจำหน่ายสารเสพติดที่กฎหมายกำหนดห้ามไว้ เป็นความผิด ตามกฎหมายไทย โดยความผิดดังกล่าวถือเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาและจะเป็นคดีให้ศาลอาญาพิจารณาต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม นักโทษคดียาเสพติดอาจได้รับการพิจารณาให้รับการรักษาในสถานบำบัดแทนการติดคุกก็ได้ แผนการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา | ๖  ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ในประเทศไทยพระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ เป็นกฎหมายหลักสองฉบับที่กำหนดลักษณะการกระทำที่เป็นความผิดและโทษจากกการทำความผิดเกี่ยวกับสารเสพติด รวมทั้งกำหนดตัวเจ้าหน้าที่ที่จะรับผิดชอบไว้โดยเฉพาะ แต่ไม่ใช่ว่าจะมีเพียงกฎหมายสองฉบับนี้เท่านั้นในประเทศไทย ยังมีกฎหมายอื่น ๆ ที่กำหนดโทษเรื่องยาเสพติดไว้อีกด้วย ประเภทของสารเสพติดให้โทษ บทกำหนดโทษ ประเภทที่ ๑ ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน (หรือยาบ้า ยาไอซ์) ที่กระทำความผิดโดยการครอบครองเพื่อเสพ หรือเสพสารเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ นี้มีโทษตามกฎหมาย คือ โทษจำคุกอย่างสูง ๑๐ ปีและโทษ ปรับสูงสุด ๒๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และในกรณีที่มีการครอบครอง สารเสพติดให้โทษในประเภทนี้เกินกว่า ๒๐ กรัม กฎหมายให้ถือว่าเป็นการ ครอบครองไว้เพื่อจำหน่าย ซึ่งโทษขั้นสูงสุด คือ ประหารชีวิต ประเภทที่ ๒ ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน โคเคน เคตามีน โคดีน เมทธาโดน ฝิ่น สารสกัดจากฝิ่น การครอบครองสารเสพติดในประเภทที่ ๒ นี้อาจทำได้โดยถูกกฎหมายหาก เป็นการครอบครองเพื่อวัตถุประสงค์และในจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ถ้าเป็นการครอบครองที่ขัดต่อข้อกำหนดของกฎหมายแล้วนั้นย่อม เป็นความผิด และมีโทษคือ โทษจำคุกขั้นสูง ๑๐ ปี หรือปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ประเภทที่ ๓ ยาเสพติดที่มีลักษณะเป็นตำรับยา และมีสารเสพติดให้โทษ ประเภท ๒ ผสมอยู่ด้วย อาจมีไว้ในครอบครองได้ตามกฎหมาย ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายเช่นกัน ประเภทที่ ๔ สารที่ใช้ประกอบเป็นสารเสพติด ให้โทษประเภทที่ ๑ และประเภทที่ ๒ ผู้ที่มีไว้ในครอบครองมีความผิด โทษจำคุก ๕ ปี และปรับไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ประเภทที่ ๕ วัตถุที่ทำให้เกิดความมึนเมา สารเสพติดที่ไม่ได้ระบุไว้ใน ๔ ประเภท เช่น กัญชา เห็ดเมา พืชกระท่อม ผู้ครอบครอง หรือเสพสารเสพติดในประเภทนี้ มีความผิดและมีโทษจำคุก ไม่เกิน ๕ ปี หรือปรับไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ข้อยกเว้น การมียาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ไว้ในครอบครองไม่เกินปริมาณ ที่จำเป็นสำหรับใช้รักษาโรคเฉพาะตัว โดยมีใบสั่งยาหรือหนังสือรับรองของ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอ พื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทยซึ่งเป็นผู้ให้การรักษา แผนการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา | ๗  กฎหมายความผิดเกี่ยวกับการจราจรทางบก และการใช้รถ ในสังคมปัจจุบันนี้วิทยาการต่าง ๆ ก้าวหน้าไปมาก การคมนาคมสะดวกขึ้น ในปัจจุบันนี้จะเห็นว่าการคมนาคม รวดเร็วมากขึ้นกว่าสมัยก่อนทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ โดยเฉพาะการคมนาคมทางบก มีรถยนต์ประเภทต่าง ๆ เป็นพาหนะจำนวนมากขึ้นตามฐานะเศรษฐกิจของพลเมือง ดังนั้นจึงมีกฎหมายว่าด้วยการจรจรทางบกขึ้นมาเป็นหลัก เพื่อควบคุมการใช้เส้นทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า คนจูง หรือไล่ต้อนสัตว์ การจราจร มีบัญญัติอยู่ใน “พระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒” (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๕ พ.ศ.๒๕๓๘) ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีหลักการและวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการใช้ถนนหรือทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า คนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อสงวนไว้ซึ่งชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลที่ต้องเดินทางเป็นกฎหมายที่มีโทษทางอาญา ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะต้องรับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ กฎหมายเกี่ยวกับการจราจรจึงเป็นกฎหมายที่สำคัญ ยิ่งในปัจจุบันและเป็นกฎหมายใกล้ตัวที่เกี่ยวข้องกับชุมชนที่ทุกคนควรรู้และนำไปปฎิบัติ คำอธิบายนี้จะหยิบยกมาเฉพาะ เรื่องที่น่ารู้ และการปลูกจิตสำนึกในการปฏิบัติตามกฎจราจรเป็นสำคัญ กฎหมายให้ปฏิบัติตามหลักของกฎหมาย เพื่อสงวนไว้ซึ่งชีวิตและทรัพย์สินของบุคคล เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม วัตถุประสงค์สำคัญของพระราชบัญญัติจราจร ทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ คือ ต้องการควบคุมการใช้รถใช้ถนนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย  กฎหมายการจราจรทางบกเบื้องต้น สภาพรถและแผ่นป้ายทะเบียนรถ ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง หรืออาจเกิดอันตราย หรืออาจทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ผู้ใช้ คนโดยสาร หรือประชาชนใช้ในทางเดินรถ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่มิได้ติดแผ่นป้ายเลขทะเบียน แผนป้ายเครื่องหมายเลขทะเบียน หรือ ป้ายประจำรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่ง กฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน กฎหมายว่าด้วยรถลาก หรือกฎหมาย ว่าด้วยรถจ้าง มาใช้ในทางเดินรถ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท การขับรถผู้ขับขี่ ในการขับรถ ผู้ขับขี่ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้ายและต้องไม่ล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถ เว้นแต่กรณีที่ด้านซ้าย ของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวางหรือปิดการจราจร, ทางเดินรถนั้นเจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว ทางเดินรถนั้นกว้างไม่ถึง ๖ เมตร ให้เดินทางขวาหรือล่ำกึ่งกลางของทางเดินรถได้ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีความผิด ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ ๒๐๐-๕๐๐ บาท ใบอนุญาตขับรถ ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตขับรถ และต้องมีใบอนุญาตขับรถและสำเนาภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถในขณะขับ เพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานได้ทันที การขอใบอนุญาตขับรถนั้น ผู้ขอใบอนุญาตต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์ และต้อง เป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด โดยยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ตนมี ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ ผู้ใดขับรถโดยไม่ได้รับอนุญาตขับรถต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน ปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท แผนการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา | ๘ ผู้ขับขี่และคนโดยสารรถจักรยานยนต์ต้องสวม “หมวกนิรภัย” ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และคนโดยสารรถจักรยายนต์ ต้องสวมหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตราย ในขณะขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท ผู้ขับขี่รถยนต์และคนโดยสารรถยนต์ซึ่งนั่งที่นั่งตอนหน้าต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งในขณะขับขี่รถยนต์ และต้องจัดให้คนโดยสารรถยนต์ ซึ่งนั่งตอนหน้าแถวเดียวกับที่นั่งผู้ขับขี่รถยนต์รัดร่างกายไว้กับที่นั่งด้วยเข็มขัดนิรภัยในขณะโดยสารรถยนต์ ผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท  สัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจร สัญญาณ หมายความว่า สัญญาณใด ๆ ไม่ว่าจะแสดงด้วยธงไฟ ไฟฟ้า มือ แขน เสียง นกหวีด หรือด้วยวิธีอื่นใด สำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนจูง ขี่ หรือ ไล่ต้อนสัตว์ ปฏิบัติตามสัญญาณนั้น เช่น สัญญาณไฟเขียว ไฟแดง เป็นต้น เครื่องหมายจราจร หมายความว่า เครื่องหมายใด ๆ ที่ได้ติดตั้งไว้หรือทำให้ปรากฎให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง หรือไล่ต้อนสัตว์ปฏิบัติตามเครื่องหมายนั้น เช่น เครื่องหมายห้ามเลี้ยวซ้าย ห้ามเลี้ยวขวา ห้ามกลับรถ หรือห้ามจอด เป็นต้น ประเภทของป้ายจราจร ป้ายจราจรที่เราเห็นบนท้องถนนนั้นมีการจำแนกประเภทที่แตกต่างกันออกไป สามารถจำแนกได้ ๓ ประเภทดังนี้ ประเภทที่ ๑ : ป้ายจราจรประเภทป้ายบังคับ เช่น ป้ายห้ามเลี้ยวซ้าย ป้ายห้ามแซง ป้ายห้ามจอดรถ เป็นต้น ซึ่งมีไว้เพื่อควบคุมให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติตามกฏจราจรอย่างเคร่งครัดและเพื่อวินัยการขับขี่ที่ดีบนท้องถนน ประเภทที่ ๒ : ป้ายจราจรประเภทป้ายเตือน ป้ายจราจรประเภทนี้สามารถสังเกตได้จากป้ายจราจรประเภท ป้ายทางข้ามทางรถไฟ ป้ายทางโค้งขวา จุดประสงค์มีไว้เพื่อแจ้งเตือนให้ผู้ขับขี่มีความระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนนกัน มากขึ้น และเป็นการแจ้งเตือนถึงสิ่งที่จะเจอข้างหน้าอีกด้วย ประเภทที่ ๓ : ป้ายจราจรประเภทป้ายแนะนำ เช่น ทางข้าม จุดกลับรถ ป้ายบอกระยะทางเป็นระยะ ๆ โดยประโยชน์ของป้ายจราจรประเภทนี้มีไว้เพื่อช่วยแนะนำการเดินทางให้สะดวกสบายและง่ายต่อการสังเกตมากขึ้น แผนการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา | ๙ ส่วนที่ ๓ การเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา แนวทางการวางแผนการรักษาความปลอดภัยให้แก่นักเรียน เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และเครือข่าย โดยร่วมกันวางแผนป้องกัน แก้ไข ควบคุม กำกับ ติดตาม ประเมินผลและรายงาน จึงจำเป็นต้องมีมาตรการและกิจกรรมเพื่อให้รับประโยชน์สูงสุดตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ พร้อมทั้งนโยบาย ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ ขั้นตอน ภารกิจ ๑. ศึกษาสภาพทั่วไป ศึกษาสภาพทั่วไปของโรงเรียน ชุมชน ความเข้มแข็งของเครือข่ายเพื่อวิเคราะห์ ความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุ อุบัติภัย ภัยจากสภาพแวดล้อม และภัยอื่น ๆ ๒. กำหนดมาตรการหลัก กำหนดมาตรการหลักเพื่อป้องกัน และ/หรือ แก้ไข ๓. กำหนดมาตรการเสริม กำหนดมาตรการเสริมให้เหมาะสมกับความเชื่อ วัฒนธรรมและประเพณีของ ท้องถิ่น และสภาพความเสี่ยงของสถานศึกษา ๔. กำหนดกิจกรรม กำหนดกิจกรรมสนับสนุนมาตรการหลักและมาตรการเสริม ๕. กำหนดเวลาและผู้รับผิดชอบ กำหนดเวลาและผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน และสามารถปฏิบัติได้  นโยบายด้านความปลอดภัยของสถานศึกษา โรงเรียนดีมากอุปถัมภ์มีการกำหนดมาตรการการป้องกันอุบัติเหตุในโรงเรียน แต่งตั้งครูเวรทั้งกลางวัน และกลางคืนเพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยทั้งภายในและนอกโรงเรียน โดยในวันทำการวันจันทร์ถึงวันศุกร์จะมีครูเวร ประจำวันทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยของนักเรียนตั้งแต่ช่วงเช้าก่อนเข้าโรงเรียนจนถึงช่วงเย็นที่นักเรียนเดินทางกลับบ้าน สำหรับนักเรียนที่เดินทางมาโรงเรียนโดยรถจักรยานมีการแบ่งสาย การเดินทางจัดแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ในการดูแลความปลอดภัยของ สมาชิกภายในสายของตนเอง ขับเคลื่อนกิจกรรมโดยมีสภานักเรียน เป็นแกนนำ สำหรับในกรณีนักเรียนที่ผู้ปกครองมารับล่าช้านักเรียน จะอยู่ในความดูแลของครูประจำชั้น มีการจัดอบรมให้ความรู้เรื่อง จราจรโดยได้รับความร่วมมือจาก สภ.ไทรน้อย ในการให้ความรู้แก่ นักเรียน ได้รับความร่วมมือจากชุมชนในการให้ความช่วยเหลือ ในการสอดส่องดูแลพฤติกรรมของนักเรียน นอกจากนี้ในวันหยุด มีการแต่งตั้งครูเวร ทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อดูแลความสะอาด บริเวณรอบโรงเรียน รักษาความปลอดภัยของโรงเรียนอยู่เสมอ แผนการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา | ๑๐ มีการสอดแทรกวิธีการป้องกันและการปฏิบัติตนเมื่อเกิดอุบัติภัย เช่น อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ธรณีพิบัติภัย ในวิชาเรียนเพื่อให้นักเรียนมีความตื่นตัวต่อเหตุอุบัติภัยอยู่เสมอ สอดแทรกเนื้อหาการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในวิชาลูกเสือ ยุวการชาด เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการเอาตัวรอด ในสถานการณ์ต่าง ๆ โรงเรียนดีมากอุปถัมภ์ได้ดำเนินการจัดทำโครงการ “รัก ห่วงใย ใส่ใจศิษย์” เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ นักเรียนทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรมและการมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุขในสังคม โดยกระบวนการนั้นนอกจากจะดำเนินการด้วยการส่งเสริม สนับสนุนนักเรียนแล้ว การป้องกันช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียนก็เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและอาจส่งผลกระทบ โดยตรงต่อนักเรียน ทั้งด้านปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม ปัญหาการศึกษา ปัญหาทางเพศ ปัญหาการแพร่ระบาดของ ยาเสพติด ปัญหาครอบครัว เป็นต้น ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดความวิตกกังวล เกิดความเครียดและเกิดพฤติกรรม ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งมีผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียนได้ จัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย คณะครู บุคลากรทุกคนช่วยกัน ดูแลบำรุงรักษาอุปกรณ์และตรวจเช็คระบบต่าง ๆ ภายในโรงเรียน เพื่อไม่ให้เกิดการชำรุดและอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุต่อนักเรียน และบุคลากรภายในโรงเรียน มีการจัดทำรั้วรอบ ๆ บริเวณโรงเรียน วางระบบไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน มีแสงสว่างเพียงพอในช่วงเวลากลางคืน ติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดรอบ ๆ บริเวณโรงเรียนเพื่อป้องกันเหตุการณ์ ที่คาดไม่ถึง ดูแลความปลอดภัยของอุปกรณ์กีฬา สนามเด็กเล่น ให้พร้อมต่อการใช้งานอยู่เสมอ จัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างเต็มรูปแบบ สร้างบรรยากาศ ความสัมพันธ์ที่ดีภายในโรงเรียนทั้งระหว่างเด็กกับเด็กและระหว่างครู กับเด็กโดยเน้นให้เด็กมีความรู้สึกดี รู้สึกปลอดภัยในการใช้ชีวิตอยู่ ที่โรงเรียน แผนการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา | ๑๑ มีการสำรวจความต้องการเพื่อการดูแลช่วยเหลือและคุ้มครองนักเรียน ตามแบบสำรวจจากนักจิตวิทยาโรงเรียนประจำ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต ๒ เพื่อวิเคราะห์และประเมินนักเรียนนำไปสู่การคัดกรองในการจำแนกกลุ่ม และมีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP) สำหรับนักเรียนกลุ่ม ที่มีปัญหาโดยโรงเรียนได้ดำเนินการร่วมกับผู้ปกครอง มีการช่วยเหลือ ส่งเสริมและส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญต่อไป ทุกปีการศึกษาโรงเรียนดีมากอุปถัมภ์จะมีบันทึกข้อมูลในระบบดูแลและติดตามการใช้สารเสพติดในสถานศึกษา Care And Trace Addiction in School System ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยโรงเรียนดีมากอุปถัมภ์ไม่มีนักเรียนที่อยู่ ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเสพติด คิดเป็นร้อยละ ๐ นอกจากนี้โรงเรียนดีมากอุปถัมภ์ได้รับความร่วมมือจาก สภ.ไทรน้อย ผู้นำท้องถิ่น ในการให้ความรู้และสร้างความตระหนักถึงโทษ และพิษภัยของสารเสพติดที่ส่งผลต่อที่ส่งผล กระทบต่อร่างกายจิตใจ สังคมและสติปัญญา มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมด้านกีฬา ศิลปะ เพื่อเลี่ยงพฤติกรรม ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด ในด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียนโรงเรียนดีมากอุปถัมภ์ได้ดำเนินกิจกรรมตามหลักการส่งเสริมสุขภาพ อนามัยนักเรียนและจัดทำเมนูอาหารให้สอดคล้องโครงการอาหารในโรงเรียน school lunch จัดทำเมนูอาหารกลางวัน ตามหลักทุพโภชนาการ บูรณาการกับวิชาสุขศึกษาและพละศึกษาเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจและสร้างความตระหนัก ให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพมีกำหนดการให้ครูประจำชั้นตรวจวัดน้ำหนัก ส่วนสูงนักเรียนและนำส่ง หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป ภาคเรียนละ ๒ ครั้ง ทั้งนี้โรงเรียนยังได้จัดโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ ได้แก่ โครงการหนูน้อยวัยใส ใส่ใจสุขภาพ กิจกรรมออกกำลังกายทุกวันอังคาร จัดสรรยา/ตู้พยาบาลครบทุกชั้นเรียน จัดสถานที่สำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้แก่นักเรียน และได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลวัดปลายคลองขุนศรีมาตรวจสุขภาพ ค่าสายตา ตรวจสุขภาพฟันของนักเรียนประจำทุกภาคเรียน แผนการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา | ๑๒ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) โรงเรียนดีมากอุปถัมภ์จัดสภาพแวดล้อม ให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดและตามมาตรการการเตรียมความพร้อม ก่อนเปิดภาคเรียนของสถานศึกษา ๖ มิติ ได้แก่ ด้านความปลอดภัยจากการแพร่เชื้อโรค ด้านการเรียนรู้ ด้านการครอบคลุมถึงเด็กด้อยโอกาส ด้านสวัสดิภาพและการคุ้มครอง ด้านนโยบาย ด้านการบริหาร และการเงิน จัดเตรียมมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ในสถานศึกษา ผู้บริหาร คณะครู บุคลากรปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคที่กระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด จัดทำแผนเผชิญเหตุ เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ในสถานศึกษา มีป้ายประชาสัมพันธ์ ป้ายความรู้ เพื่อให้ความแก่นักเรียนในการดูแลตนเอง จัดทำฉากกั้นภายในโรงอาหาร ทำสัญลักษณ์การเว้นระยะห่างทั้งในห้องเรียน และบริเวณรอบ ๆ โรงเรียน จัดเตรียมเจลแอลกอฮอล์ครบทุกชั้นเรียน คณะครูและบุคลากรทุกคนได้รับวัคซีนครบโดส ๑๐๐% มีการประชาสัมพันธ์เรื่องการจัดสรรวัคซีนสำหรับนักเรียน และผู้ปกครองผ่านทางไลน์กลุ่มประจำชั้นอยู่เสมอ จัดให้มีการตรวจคัดกรองหาเชื้อโดย Antigen test kit (ATK) ให้กับคณะครู บุคลากรและนักเรียนทุกคนเป็นประจำ ทุกเดือน นอกจากนี้โรงเรียนดีมากอุปถัมภ์ได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องของมาตรการการดูแลป้องกันการแพร่ระบาด ของโรค COVID-๑๙ จึงได้สร้างนวัตกรรม COVID Model กระบวนการบริหารจัดการภายในสถานศึกษาในช่วง การเกิดโรคระบาด COVID-๑๙ นำไปสู่การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจของนักเรียนในการดูแลป้องกันตนเอง จากการแพร่ระบาดของโรค COVID-๑๙ และจากกระบวนการ COVID Model ทำเกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่เหลว ล้างมือ “มะ Good มะกรูด Soap” ผลิตภัณฑ์สบู่เหลวล้างมือที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ ได้แก่ มะกรูด อัญชัน ซึ่งเป็นการนำทรัพยากรภายในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ มีการบูรณาการ ร่วมกันระหว่าง ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ และเสริมสร้างคุณธรรมด้านความพอเพียงให้เกิดแก่นักเรียน นอกจากจะผลิตเพื่อใช้ภายในโรงเรียนแล้ว ยังมีการแบ่งปัน ให้นักเรียนนำไปใช้สอยที่ครัวเรือนของตนเอง เพื่อลดค่าใช้จ่ายในสภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง การดำเนินการนวัตกรรม COVID Model ส่งผลให้โรงเรียนดีมากอุปถัมภ์ได้รับรางวัลชนะเลิศการดำเนินงาน ๑ โรงเรียน ๑ นวัตกรรมของโรงเรียน คุณภาพประจำตำบล จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต ๒ แผนการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา | ๑๓  มาตรการป้องกันและแก้ไขของสถานศึกษา สาเหตุ มาตรการป้องกันและแก้ไข ผู้รับผิดชอบ ๑. อุบัติเหตุจากอาคารเรียน อาคารประกอบ ๑. ตรวจสอบโครงสร้างและส่วนประกอบอาคาร อย่างสม่ำเสมอ ๒. แต่งตั้งบุคลากรในการดูแลรักษาอาคารและสถานที่ ๓. สร้างความตระหนักและให้ความรู้การรักษาความ ปลอดภัยแก่นักเรียน ๔. ซ่อมแซมส่วนประกอบอาคารให้อยู่ในสภาพที่ ปลอดภัยอยู่เสมอ ๑. ผู้บริหารสถานศึกษา ๒. บุคลากรที่รับผิดชอบ ๒. อุบัติเหตุจากบริเวณ สถานศึกษา ๑. แต่งตั้งครูเวรประจำวันทั้งกลางวันและกลางคืน คอยควบคุม กำกับ ติดตามดูแล รักษาความปลอดภัย ๒. แต่งตั้งบุคลากรผู้รับผิดชอบปฐมพยาบาลเบื้องต้น และนำส่งสถานพยาบาล ๓. จัดสรรยา/ตู้พยาบาลครบทุกชั้นเรียน ๔. จัดสถานที่สำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้แก่ นักเรียน ๕. สอดแทรกความรู้และแนวทางปฏิบัติแก่นักเรียน ในกรณีที่พบวัตถุ สิ่งแปลกปลอม ซึ่งอาจเป็นวัตถุ ระเบิดหรือวัตถุอันตรายในวิชาเรียน ๖. ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง ๗. ติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดรอบ ๆ บริเวณโรงเรียน เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง ๘. จัดให้มีการบำรุงดูแลรักษาความสะอาดโดยรอบ สม่ำเสมอ ๙. จัดให้มีถังขยะ และพื้นที่สำหรับทิ้งขยะ ๑๐. ตรวจเช็คอุปกรณ์กีฬาหรือเครื่องเล่นให้พร้อมใช้ งานอยู่เสมอ ๑. ผู้บริหารสถานศึกษา ๒. คณะครู และบุคลากรทุกคน ๓. นักเรียน แผนการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา | ๑๔ สาเหตุ มาตรการป้องกันและแก้ไข ผู้รับผิดชอบ ๓. อุบัติเหตุจากสภาพ แวดล้อมของสถานศึกษา ๑. สำรวจสภาพปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม มลภาวะใน สถานศึกษาและชุมชน เพื่อหาแนวทางแก้ไข ๒. วางแผนโครงการ Clean School With 2 Hands และดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ ๓. แต่งตั้งบุคลากรผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม โรงเรียน ๔. ประสานงานกับชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ ให้มี ส่วนร่วมในการหาแนวทางป้องกันและแก้ไข ๕. จัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกและความตระหนัก ต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียน บุคลากรใน สถานศึกษาและชุมชน ๑. ผู้บริหารสถานศึกษา ๒. คณะครู และบุคลากรทุกคน ๓. นักเรียน ๔. ผู้ปกครอง ๕. ชุมชน ๖. หน่วยงานต่าง ๆ ๔. อุบัติเหตุจากเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ๑. ตรวจสอบเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ก่อนใช้ทุกครั้ง ๒. ห้ามใช้เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ชำรุด ๓. แนะนำ สาธิต และควบคุมการใช้อย่างถูกวิธีตาม ประเภทของอุปกรณ์ ๔. จัดเก็บเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ในที่เก็บทุก ครั้งอย่างเป็นระเบียบปลอดภัย ๕. กำกับ ดูแลนักเรียนในการใช้เครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ให้ถูกต้องเหมาะกับประเภทกิจกรรม ๑. ผู้บริหารสถานศึกษา ๒. คณะครู และบุคลากรทุกคน ๓. นักเรียน ๔. ผู้ปกครอง ๕. ชุมชน ๖. หน่วยงานต่าง ๆ ๕. อุบัติเหตุจากการเดินทาง ไป-กลับ ระหว่างบ้าน และ สถานศึกษา ๑. แต่งตั้งครูเวรประจำวันเพื่อกำกับ ดูแลนักเรียน ในตอนเช้า และตอนเลิกเรียน ๒. สถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน ร่วมมือกัน กำหนดมาตรการ รับ-ส่ง นักเรียนตอนเช้าและเลิกเรียน ๓. กำกับ ดูแลนักเรียนที่ใช้จักรยานให้ชิดทางซ้าย และเป็นแถว ๔. แบ่งสายการเดินทาง จัดแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ในการดูแลความปลอดภัยของสมาชิกภายในสายของ ตนเอง ๕. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องจราจรโดยได้รับความ ร่วมมือจาก สภ.ไทรน้อย ๑. ผู้บริหารสถานศึกษา ๒. คณะครู และบุคลากรทุกคน ๓. นักเรียน ๔. ผู้ปกครอง ๕. ชุมชน ๖. หน่วยงานต่าง ๆ แผนการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา | ๑๕ สาเหตุ มาตรการป้องกันและแก้ไข ผู้รับผิดชอบ ๖. อุบัติเหตุจากการพา นักเรียนไปศึกษานอก สถานศึกษา และการนำ นักเรียนร่วมกิจกรรมสำคัญ ๑. ศึกษาและปฏิบัติตามระเบียบกระทรวง ศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียนไปศึกษานอก สถานศึกษาโดยเคร่งครัด ๒. ให้ความรู้นักเรียนในการร่วมกิจกรรมอย่าง ปลอดภัยทุกครั้ง ๓. เตรียมการและวางแผนการดำเนินการ ๔. จัดทำประวัตินักเรียน และทำหนังสือของอนุญาต ผู้ปกครองนักเรียนที่ร่วมเดินทาง ๕. จัดครูคอยควบคุม ดูแลให้อยู่ในระเบียบวินัย ๖. จัดกล่องยาที่จำเป็นในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ๗. ควบคุมดูแลการซื้ออาหารรับประทาน ๑. ผู้บริหารสถานศึกษา ๒. คณะครู และบุคลากรทุกคน ๓. นักเรียน ๗. อุบัติเหตุจากอัคคีภัย ๑. แต่งตั้งครูเวรประจำวันทั้งกลางวัน-กลางคืน เพื่อคอยตรวจสอบอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ ๒. สอดแทรกความรู้นักเรียนเกี่ยวกับการดับไฟ หนีไฟ ในวิชาเรียน ๓. จัดทำแผนรับสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า ๔. จัดแหล่งข้อมูลที่สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือ ไว้ล่วงหน้า ๕. ดูแลบริเวณสถานศึกษา อาคารและห้องต่าง ๆ ในสะอาดอยู่เสมอ ๖. เมื่อเกิดเหตุรายงานต้นสังกัดทันที ๑. ผู้บริหารสถานศึกษา ๒. คณะครู และบุคลากรทุกคน ๓. นักเรียน ๔. ผู้ปกครอง ๕. ชุมชน ๖. หน่วยงานต่าง ๆ ๘. อุบัติเหตุจากวาตภัย ๑. แต่งตั้งครูเวรประจำวันทั้งกลางวัน-กลางคืน เพื่อรักษาสถานที่ราชการ ๒. สอดแทรกความรู้นักเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติตน ให้พ้นจากอันตราย ๓. ตรวจสอบสภาพอาคารต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ ๔. ติดตามข่าวพยากรณ์อากาศสม่ำเสมอ ๑. ผู้บริหารสถานศึกษา ๒. คณะครู และบุคลากรทุกคน ๓. นักเรียน ๔. ผู้ปกครอง ๕. ชุมชน ๖. หน่วยงานต่าง ๆ ๙. อุบัติเหตุจากอุทกภัย ๑. แต่งตั้งครูเวรประจำวันทั้งกลางวัน-กลางคืน เพื่อรักษาสถานที่ราชการ ๒. สอดแทรกความรู้นักเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติตน ให้พ้นจากอันตราย ๔. ติดตามข่าวพยากรณ์อากาศสม่ำเสมอ ๕. ประสานงานกับชุมชนอยู่เสมอ ๑. ผู้บริหารสถานศึกษา ๒. คณะครู และบุคลากรทุกคน ๓. นักเรียน ๔. ผู้ปกครอง ๕. ชุมชน ๖. หน่วยงานต่าง ๆ แผนการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา | ๑๖ สาเหตุ มาตรการป้องกันและแก้ไข ผู้รับผิดชอบ ๑๐. อุบัติเหตุจากธรณี พิบัติภัย ๑. แต่งตั้งครูเวรประจำวันทั้งกลางวัน-กลางคืน เพื่อรักษาสถานที่ราชการ ๒. สอดแทรกความรู้นักเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติตน ให้พ้นจากอันตราย ๓. ตรวจสอบสภาพอาคารต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ๔. ติดตามข่าวพยากรณ์อากาศสม่ำเสมอ ๕. จัดให้มีกล่องยาที่จำเป็นในการปฐมพยาบาล ๖. ประสานงานกับชุมชนอยู่เสมอ ๑. ผู้บริหารสถานศึกษา ๒. คณะครู และบุคลากรทุกคน ๓. นักเรียน ๔. ผู้ปกครอง ๕. ชุมชน ๖. หน่วยงานต่าง ๆ ๑๑. ปัญหาทางสังคม อาทิ เช่น พฤติกรรมทางเพศ / พฤติกรรมรุนแรง/ ฯลฯ ๑. จัดทำโครงการ “รัก ห่วงใย ใส่ใจศิษย์” เพื่อดูแล งานด้านระบบดูแลช่วยเหลอนักเรียน ๒. แต่งตั้งครูเวรประจำวันเพื่อรักษาสถานที่ราชการ ๓. จัดให้มีการวางแผนป้องกันภัย ๔. สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาทางสังคม พฤติกรรมทางเพศ/พฤติกรรมรุนแรง ในวิชาแนะแนว ๕. จัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา ๖. จัดประชุมผู้ปกครองเพื่อหาแนวทางวางแผน ป้องกันและแก้ไข ๗. สร้างบรรยากาศ ความสัมพันธ์ที่ดีภายในโรงเรียน โดยเน้นให้เด็กมีความรู้สึกดี รู้สึกปลอดภัยกล้าที่จะ ปรึกษาเมื่อเกิดปัญหา ๑. ผู้บริหารสถานศึกษา ๒. คณะครู และบุคลากรทุกคน ๓. นักเรียน ๔. ผู้ปกครอง ๕. ชุมชน ๖. หน่วยงานต่าง ๆ ๑๒. ปัญหายาเสพติด ๑. จัดทำโครงการ “รัก ห่วงใย ใส่ใจศิษย์” เพื่อดูแล งานด้านระบบดูแลช่วยเหลอนักเรียน ๒. แต่งตั้งครูเวรประจำวันเพื่อรักษาสถานที่ราชการ ๓. จัดให้มีการวางแผนป้องกันภัย ๔. สอดแทรกเนื้อหาเรื่องปัญหายาเสพติดในวิชาเรียน ๕. ร่วมมือกับ สภ.ไทรน้อย ผู้นำท้องถิ่น ในการให้ ความรู้และสร้างความตระหนักถึงโทษ และพิษภัย ของสารเสพติด ๖. จัดประชุมผู้ปกครองเพื่อหาแนวทางวางแผน ป้องกันและแก้ไข ๗. บันทึกข้อมูลในระบบ Care And Trace Addiction in School System ของกระทรวงศึกษาธิการ ๑. ผู้บริหารสถานศึกษา ๒. คณะครู และบุคลากรทุกคน ๓. นักเรียน ๔. ผู้ปกครอง ๕. ชุมชน ๖. หน่วยงานต่าง ๆ แผนการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา | ๑๗  ภาคีเครือข่ายของโรงเรียนดีมากอุปถัมภ์ โรงเรียนดีมากอุปถัมภ์ได้ดำเนินงานด้านวามปลอดภัยโดยใช้หลัก ๓ ป ได้แก่ ป้องกัน ปลูกฝัง และปราบปราม เพื่อดูแลความปลอดภัยของสถานศึกษาอย่างรอบด้าน  ปองกัน มีการจัดประชุมวางแผนการดำเนินงานด้านวามปลอดภัยของสถานศึกษาเพื่อไมใหเกิดปญหา อุปสรรค หรือความไมปลอดภัย ตอนักเรียนครู และบุคลากรทางการศึกษา โดยการสรางมาตรการปองกันจากปจจัย เสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทั้งในและนอกสถานศึกษา  ปลูกฝง ดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่เสริมสรางความรูความเขาใจ จิตสํานึกที่ดี และการสรางเสริมประสบการณ์ เพื่อใหเกิดทักษะในการปองกันภัยใหแกนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา  ปราบปราม ประสานงานกับภาคีเครือข่ายเพื่อดําเนินการจัดการแกไขปญหา การชวยเหลือ เยียวยา ฟนฟู และดําเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายของโรงเรียนดีมากอุปถัมภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดปลายคลองขุนศรี สถานีตำรวจภูธรไทรน้อย กรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร/คณะครูโรงเรียนดีมากอุปถัมภ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ปกครอง แผนการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา | ๑๘ ส่วนที่ ๔ การติดต่อสื่อสาร  ช่องทางการติดต่อของโรงเรียนดีมากอุปถัมภ์ เพจ Facebook “โรงเรียนดีมากอุปถัมภ์” เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ ติดต่อด้วยตนเองที่โรงเรียนดีมากอุปถัมภ์  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แผนการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา | ๑๙ ส่วนที่ ๕ การกำกับติดตาม และประเมินผล โรงเรียนดีมากอุปถัมภ์ได้ดำเนินการกำกับ ติดตาม และประเมินผล การดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ตามแนวดำเนินการ มาตรการ แนวทางปฏิบัติ โดยยึดตามแผนการการดำเนินงาน ในทุกประเด็น สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานทบุรี เขต ๒ มุ่งมั่นพัฒนาระบบ การทำงานของสถานศึกษา บริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การบริหารจัดการศึกษา Support Model และค่านิยมองค์กร “คุณภาพไม่มีเพดาน มาตรฐานต้องสูงขึ้นเสมอ” โดยกำหนดให้สถานศึกษาบริหารจัดการ ตาม ๔ กลยุทธ์ ๑๖ จุดเน้น โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนในทุก ๆ ด้าน และให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของนักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา ดังที่กำหนดไว้ในกลยุทธ์ที่ ๑ พัฒนาองค์กรให้พร้อมบริการ จุดเน้นที่ ๒ Safety office สร้างความปลอดภัย มีภูมิคุ้มกัน ทันเวลาในสถานศึกษา โรงเรียนดีมากอุปถัมอุปถัมภ์มีความตระหนักในความสำคัญ ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ได้เรียนรู้อย่างมีความสุข เป็นไปตามหลักสูตร มีทักษะชีวิตที่จะดูแลตนเองให้ปลอดภัย ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางสังคม อุบัติเหตุ และอุบัติภัย ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่นักเรียน โดยมีดำเนินการ ดังนี้ ๑) แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษาโดยการมี ส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ๒) ศึกษาแนวดำเนินการ มาตรการ แนวทางการปฏิบัติ และตัวชี้วัดการดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษา ๓) จัดทำแผนการดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษา ๔) กำหนดปฏิทินในการดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษา ๕) จัดทำเครื่องมือในการกำกับ ติดตาม และประเมินผล การดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษาที่สอดคล้อง กับตัวชี้วัดในการดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษา ๖) ดำเนินการกำกับ ติดตาม และประเมินผล การดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษา ๗) สรุปผลการดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษา ให้ข้อเสนอแนะประเด็นที่เป็นจุดเด่น จุดควรพัฒนา พร้อมแนวทางในการพัฒนาในปีการศึกษาต่อไป ๘) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานความปลอดภัยของสถานศึกษา แผนการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา | ๒๐ ภาคผนวก แผนการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา | ๒๑ เอกสาร/ภาพประกอบ การดำเนินงานด้านความปลอดภัยของโรงเรียนดีมากอุปถัมภ์ แต่งตั้งครูเวรทั้งกลางวันและกลางคืนเพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยทั้งภายในและนอกสถานศึกษา ครูเวรประจำวันทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยของนักเรียนตั้งแต่ช่วงเช้าก่อนเข้าโรงเรียน จนถึงช่วงเย็นที่นักเรียนเดินทางกลับบ้าน แผนการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา | ๒๒ มีการวางระบบไฟฟ้าที่แสงสว่างเพียงพอในช่วงเวลากลางคืน ติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดรอบ ๆ บริเวณโรงเรียน ได้รับความร่วมมือจาก สภ.ไทรน้อย ในการให้ความรู้และสร้างความตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสารเสพติด แผนการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา | ๒๓ โดยได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดปลายคลองขุนศรี ในการตรวจสุขภาพร่างกาย ตรวจสุขภาพฟันของนักเรียน แผนการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา | ๒๔ การดำเนินการโครงการหนูน้อยวัยใส ใส่ใจสุขภาพ สอดแทรกความรู้เรื่องสุขภาพในวิชาสุขศึกษา เสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงโดยมีการจัดกิจกรรมออกกำลังกายทุกวันอังคารและสอดแทรกในวิชาพละศึกษา แผนการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา | ๒๕ สอดแทรกเนื้อหาการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในวิชาลูกเสือ ยุวการชาด แผนการดำเนินงานความปลอดภัยในสถานศึกษา | ๒๖ ตรวจคัดกรองหาเชื้อโดย Antigen test kit (ATK) ให้กับคณะครู บุคลากรและนักเรียนทุกคนเป็นประจำทุกเดือน