ข่าว ผู้สอบบัญชี ผิดจรรยาบรรณ 2564

ก.ล.ต. ออกประกาศหลักเกณฑ์การกำหนดพฤติการณ์อันควรสงสัยที่ผู้สอบบัญชีต้องแจ้งต่อคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อสร้างความชัดเจนในทางปฎิบัติ และดูแลผลประโยชน์ผู้ลงทุน มีผลตั้งแต่ 1 ก.ค. 64

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ออกประกาศเพื่อกำหนดพฤติการณ์อันควรสงสัยเกี่ยวกับการกระทำความผิด และวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ดังกล่าว ตามมาตรา 89/25 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ) เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติตามมาตราดังกล่าว และส่งเสริมการดูแลรักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ตามมาตรา 89/25 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ กำหนดให้ผู้สอบบัญชี (ในการสอบบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชี) มีหน้าที่ในการแจ้งต่อคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทหลักทรัพย์ หรือคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทจดทะเบียน หากพบพฤติการณ์อันควรสงสัยว่า กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคล อาจมีการกระทำผิดตามมาตราที่ระบุไว้ในมาตรา 89/25* เช่น การเบียดเบียนเอาทรัพย์ของนิติบุคคลไปโดยทุจริตหรือการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ตามกฎหมาย อันเป็นการเสียหายแก่นิติบุคคล หรือเปลี่ยนแปลง ตัดทอน หรือปลอมบัญชีเอกสาร

ก.ล.ต. จึงจัดทำประกาศโดยกำหนดให้พฤติการณ์อันควรสงสัย และวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ดังกล่าว เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพบัญชี จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี และข้อกำหนดของกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี เช่น มาตรฐานการสอบบัญชีเกี่ยวกับความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับการพิจารณาการทุจริตในการตรวจสอบงบการเงิน และการพิจารณากฎหมายและข้อบังคับในการตรวจสอบงบการเงิน โดยประกาศดังกล่าวเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.64

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

ข่าว ผู้สอบบัญชี ผิดจรรยาบรรณ 2564

ฟ้องอาญาผู้สอบบัญชี "ดาราเทวี" เหตุเพราะตกแต่งบัญชี ร้องให้เพิกถอนการรับอนุญาตสอบบัญชี บริษัทในตลาดหลักทรัพย์

         นาย จำปา โพธินาม ผู้ถือหุ้นบจก.โรงแรมดาราเทวี และบจก.ดาราเทวี เปิดเผยว่า ได้ยื่นฟ้องคดีอาญา  ผู้สอบบัญชีของทั้ง 2 บริษัท และเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท IFEC ด้วย โดยยื่นฟ้องที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ 2 คดี เป็นคดีเลขที่ อ.30/2565 และ อ.35/2565 และยื่นกล่าวโทษ ผู้ตรวจสอบบัญชี ต่อสภาวิชาชีพบัญชี และร้องขอให้สำนักงานก.ล.ต.เพิกถอนการเป็นผู้รับอนุญาตสอบบัญชีของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์

            นายจำปา เปิดเผยว่า ผู้ตรวจสอบบัญชี ปฏิบัติงานสอบบัญชีเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินอันไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชีหรือข้อกำหนดเพิ่มเติมตามที่ สำนักงานก.ล.ต. กำหนด ทั้งยังยินยอมและร่วมมือกับกรรมการของบจก.โรงแรมดาราเทวี กระทำ ทำลาย เปลี่ยนแปลง ตัดทอนหรือปลอมเอกสารทางบัญชีอันไม่เป็นไม่ตามความเป็นจริงอย่างเช่น ยอมให้กรรมการบริษัทโรงแรมดาราเทวีจำกัด โอนย้ายเงินรายได้ทั้งหมดไปยังบัญชีอื่นเพื่อซ่อนเร้นไม่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดอายัดได้ หรือการยอมให้ออกใบกำกับภาษีในนามของบจก.โรงแรมดาราเทวีซ้ำ เพื่อตกแต่งงบการเงินและจงใจให้ผู้ใช้งบการเงินของบจก.โรงแรมดาราเทวี เห็นว่ากิจการมีรายได้ แต่ทว่าไม่มีเงินสดเข้าสู่บัญชีธนาคารของบริษัทเลย โดยการกระทำทั้งหมดนั้นกรรมการและผู้สอบบัญชีรู้อยู่แล้วว่าหากมีเงินถูกโอนเข้าสู่บัญชีธนาคารของบจก.โรงแรมดาราเทวี จะต้องถูกเจ้าหนี้อายัดทรัพย์ ดังนั้นการกระทำเหล่านี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อยกย้ายเพื่อซ่อนเร้นรายได้จากการถูกเจ้าหนี้อายัดทรัพย์  เป็นการโกงเจ้าหนี้และทำให้เจ้าหนี้เสียหาย

         ทางผู้ตรวจสอบบัญชี ได้ให้การรับรองงบการเงินประจำปี 2563 ทั้งที่มิได้เปิดเผยประเด็นดังกล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงิน มีความผิดทั้งพระราชบัญญัติการบัญชี 2543  พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี 2547 และกฎหมายภาษีอากร ฉะนั้นแล้ว นายจำปาผู้ถือหุ้นจึงมีความเห็นว่า
สำนักงานก.ล.ต ควรรีบบังคับใช้กฎหมายเอาผิดกับผู้สอบบัญชี
เนื่องจากความผิดเหล่านี้ส่งผลกระทบในวงกว้างและไม่สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน หากสอบสวนแล้วสำนักงาน ก.ล.ต. พบว่า ผู้สอบบัญชี ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ขาดคุณสมบัติ สำนักงานก.ล.ต. ควรจะต้องรีบพิจารณาสั่งการตักเตือนและพักการให้ความเห็นชอบ โดยมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน หรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบแล้วแต่กรณี เพื่อให้ผู้สอบบัญชีของธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ มีความรับผิดชอบและ ปฏิบัติงานรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

ข่าว ผู้สอบบัญชี ผิดจรรยาบรรณ 2564


สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีแนวคิดปรับปรุงหลักเกณฑ์และร่างประกาศเพื่อกำหนดพฤติการณ์อันควรสงสัยเกี่ยวกับการกระทำความผิดและวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ดังกล่าว ตามมาตรา 89/25* แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ) เพื่อให้การดูแลรักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น

ตามที่มาตรา 89/25 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ กำหนดให้ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ในการแจ้งพฤติการณ์อันควรสงสัยที่พบจากการสอบบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชี ก.ล.ต. จึงมีแนวคิดเสนอหลักการและยกร่างประกาศดังกล่าวโดยกำหนดให้ผู้สอบบัญชีต้องแจ้งให้คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทหลักทรัพย์** หรือคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทจดทะเบียนนั้นทราบ หากผู้สอบบัญชีพบพฤติการณ์อันควรสงสัยว่า กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคล อาจมีการกระทำผิดตามมาตราที่ระบุไว้ในมาตรา 89/25 เช่น การเบียดเบียนเอาทรัพย์ของนิติบุคคลไปโดยทุจริต หรือการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการเสียหายแก่นิติบุคคล หรือเปลี่ยนแปลง ตัดทอน หรือปลอมบัญชีเอกสาร

นอกจากนี้ ก.ล.ต. ได้กำหนดวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ดังกล่าว โดยให้เป็นไปตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีและข้อกำหนดของกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี เช่น มาตรฐานการสอบบัญชีเกี่ยวกับความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับการพิจารณาการทุจริตในการตรวจสอบงบการเงิน และการพิจารณากฎหมายและข้อบังคับในการตรวจสอบงบการเงิน (สามารถดูได้ที่ https://www.tfac.or.th/Article/Detail/119155)

ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ สำนักงาน ก.ล.ต. https://www.sec.or.th/TH/Pages/PB_Detail.aspx?SECID=699 โดยผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือทาง e-mail: [email protected] หรือ [email protected] จนถึงวันที่ 12 เมษายน 2564