ข่าวสารปนเปื้อนในอาหารทะเล

จากกรณีนักร้องดังเกิดการแพ้รุนแรงหลังกินอาหารทะเล อย. พร้อม สสจ.ชลบุรี นำหน่วยเคลื่อนที่ ด้านความปลอดภัยอาหารลงพื้นที่ตรวจสอบเร่งด่วนหากพบปริมาณฟอร์มาลินเกินกำหนด จะถูกดำเนินคดี ตามกฎหมายทันที

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวนักร้องดังเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงภายหลังกินอาหารทะเลที่ขายอยู่บริเวณริมชายหาด ซึ่งมีข้อสงสัยว่าอาจแพ้สารเคมีในอาหาร เช่น สารฟอร์มาลิน หรือสารที่ใช้ในการถนอมอาหารนั้น จากกรณีที่เกิดขึ้นนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ดำเนินการตรวจสอบอย่างเร่งด่วน ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี และหน่วยเคลื่อนที่ด้านความปลอดภัยอาหาร เขตบริการสุขภาพที่ 6 โดยลงพื้นที่เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่วางจำหน่ายในพื้นที่ตามที่เป็นข่าวตรวจสอบด้วยชุดทดสอบเบื้องต้นและส่งตรวจวิเคราะห์หาปริมาณสารฟอร์มาลินในห้องปฏิบัติการ ซึ่งตามกฎหมายฟอร์มาลินจัดเป็นวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร

ข่าวสารปนเปื้อนในอาหารทะเล

อย่างไรก็ตาม ฟอร์มาลินสามารถเกิดในสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติอยู่แล้วในปริมาณหนึ่งซึ่งเทคนิคการตรวจวิเคราะห์ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุความแตกต่างระหว่างฟอร์มาลินที่เกิดตามธรรมชาติ และที่ตั้งใจเติมลงไปในอาหารเพื่อหวังผลในด้านการเก็บรักษาได้ ดังนั้น หากพบการเติมฟอร์มาลินลงไปในอาหารและผลการตรวจวิเคราะห์พบฟอร์มาลินในปริมาณที่สูงจนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคจะเข้าข่ายเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งต้องถูกสั่งงดผลิตหรืองดจำหน่าย และประกาศผลการตรวจพิสูจน์ให้ประชาชนทราบด้วย

ข่าวสารปนเปื้อนในอาหารทะเล

ทั้งนี้ หน่วยเคลื่อนที่ด้านความปลอดภัยอาหาร อย. มีการเฝ้าระวังการปนเปื้อนสารฟอร์มาลินในอาหารตามแหล่งจำหน่ายอาหารสดทั่วประเทศ ทั้งตลาดสด ตลาดนัด งานเทศกาลต่างๆ เป็นประจำทุกปี โดยสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารที่เสี่ยงปนเปื้อน เช่น ปลาหมึกกรอบ สไบนาง แมงกะพรุน ปลาหมึก และเล็บมือนาง เพื่อทำการตรวจสอบโดยชุดทดสอบเบื้องต้น ผลการเฝ้าระวัง พบว่าส่วนใหญ่ผ่านมาตรฐาน แต่ยังพบปัญหาการปนเปื้อนฟอร์มาลินในอาหารบางชนิด ซึ่ง อย. ได้ทำหนังสือสรุปผลการตรวจวิเคราะห์แจ้งทุกพื้นที่ เพื่อแจ้งผู้ประกอบการและเจ้าของตลาดทราบและดำเนินการแก้ไข รวมทั้งวางแผนการตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความเสี่ยงตกมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังได้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงอันตรายของสารปนเปื้อนในอาหาร และให้ความรู้ในการเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยมาจำหน่าย ขณะเดียวกันก็ได้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภครู้จักสังเกตและสามารถเลือกซื้อเลือกบริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยด้วย

ข่าวสารปนเปื้อนในอาหารทะเล
สารสาร

ฟอร์มาลินเป็นสารมีพิษใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์ พลาสติก สิ่งทอ และใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคและเชื้อรา กรณีนี้ผู้ประกอบการนำมาใช้ในทางที่ผิด เพื่อให้อาหารสด คงความสดอยู่ได้นาน ไม่เน่าเสียง่าย แต่การกินอาหารที่ปนเปื้อนฟอร์มาลินในปริมาณมากจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ อย่างรุนแรง ปวดท้อง ปากและคอจะแห้ง หัวใจเต้นเร็ว แน่นหน้าอก อาจมีการถ่ายท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะไม่ออกหรือปัสสาวะเป็นเลือด มีอาการเพลีย เหงื่อออก ตัวเย็น คอแข็ง

สำหรับผู้บริโภคในการเลือกซื้ออาหารทะเลสามารถใช้วิธีการดมกลิ่น ถ้าอาหารนั้นมีกลิ่นฉุนแสบจมูก ให้สงสัยว่ามีฟอร์มาลินอยู่ และก่อนการทำอาหารควรล้างให้สะอาด เพราะฟอร์มาลินส่วนมากจะถูกชะล้างออกไปหมดเนื่องจากมีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดี และควรปรุงอาหารให้สุกก่อนบริโภค หากผู้บริโภคพบเห็นผลิตภัณฑสุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ได้รับความปลอดภัย ขอให้ร้องเรียนมาได้ที่สายด่วน อย. โทร. 1556

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ได้อัปเดตรายงานล่าสุดจากการสุ่มตรวจการปนเปื้อนของสารฟอร์มาลีนในอาหารสดร้านหมูกระทะ และตลาดค้าส่งขนาดใหญ่ใน จ.นครราชสีมา ระหว่างวันที่ 9-13 ธันวาคม 2565

การสุ่มตรวจการปนเปื้อนของสารฟอร์มาลีน ได้ร่วมกับสำนักงานเทศบาลนครนครราชสีมา รวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอออกสุ่มตรวจในพื้นที่ 22 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ อำเภอแก้งสนามนาง ขามสะแกแสง ครบุรี จักราช เฉลิมพระเกียรติ ชุมพวง โชคชัย ด่านขุนทด เทพารักษ์ โนนไทย โนนสูง บัวลาย บัวใหญ่ บ้านเหลื่อม ประทาย พระทองคำ พิมาย เมืองนครราชสีมา สีคิ้ว เสิงสาง หนองบุญมาก และห้วยแถลง

โดยสุ่มสถานที่ตรวจจำนวน 148 แห่งเก็บตัวอย่างทั้งหมด 459 ตัวอย่าง ปรากฏว่า พบสารฟอร์มาลีนปนเปื้อนอยู่จำนวน 70 ตัวอย่างหรือคิดเป็น 15.25% ดังนี้

1.สุ่มตรวจตลาดค้าส่ง 4 แห่งเก็บตัวอย่างไป 31 ตัวอย่าง พบสารฟอร์มาลีน 4 ตัวอย่าง (คิดเป็น 12.90%)

2.สุ่มตรวจตลาดสด 7 แห่งเก็บตัวอย่างไป 85 ตัวอย่าง พบสารฟอร์มาลีน 4 ตัวอย่าง (คิดเป็น 4.70%)

3.สุ่มตรวจตลาดนัด 13 แห่งเก็บตัวอย่างไป 33 ตัวอย่าง พบสารฟอร์มาลีน 3 ตัวอย่าง (คิดเป็น 9.09%)

4.สุ่มตรวจร้านหมูกระทะ 124 แห่งเก็บตัวอย่างไป 310 ตัวอย่าง พบสารฟอร์มาลีน 59 ตัวอย่าง (คิดเป็น 19.03%)

ข่าวสารปนเปื้อนในอาหารทะเล

เมื่อวิเคราะห์หาการปนเปื้อนฟอร์มาลีนในอาหารสดเพื่อความปลอดภัยด้านอาหารของเขตสุขภาพที่ 9 ปี 2563-2565 ใน 4 จังหวัด "นครชัยบุรินทร์" พบว่าช่วง 3 ปี จังหวัดนครราชสีมา มีการสุ่มตรวจมากสุดโดยตรวจตัวอย่างไป 3,107 ตัวอย่างมี 2,851 ตัวอย่างที่ผลการตรวจผ่านไม่พบการปนเปื้อนของฟอร์มาลีน

ส่วนจังหวัดชัยภูมิ ตรวจตัวอย่าง 240 ตัวอย่างมี 201 ตัวอย่างที่ผ่าน ไม่พบฟอร์มาลีน

จังหวัดบุรีรัมย์ ตรวจตัวอย่าง 526 ตัวอย่างมี 446 ตัวอย่างที่ผ่าน ไม่พบฟอร์มาลีน

และจังหวัดสุรินทร์ ตรวจตัวอย่าง 334 ตัวอย่างมี 309 ตัวอย่างที่ผ่าน ไม่พบฟอร์มาลีน

ซึ่งลำดับชนิดของตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนของสารฟอร์มาลีนในปี 2565 มากสุดคือ

  • ปลาหมึกกรอบ
  • ปลาหมึกสด
  • สไบนาง
  • กุ้ง
  • เล็บมือนาง
  • แมงกะพรุน

ข่าวสารปนเปื้อนในอาหารทะเล

ข่าวสารปนเปื้อนในอาหารทะเล

ซึ่งร้านที่พบการปนเปื้อนของสารฟอร์มาลีน ทางเจ้าหน้าที่ได้แจ้งให้ผู้ประกอบการหยุดจำหน่าย และให้เก็บอาหารนั้นออกจากจุดจำหน่ายทันที พร้อมกับแนะนำให้เปลี่ยนแหล่งซื้อใหม่ที่ปลอดภัย

นอกจากนี้ ทางเจ้าหน้าที่จะบูรณาการขยายผลจากการตรวจร้านหมูกระทะ โดยออกตรวจตลาดค้าส่งที่เป็นแหล่งที่มาที่จำหน่ายอาหารสดมีสารฟอร์มาลีนตกค้างให้กับร้านหมูกระทะ และส่งหนังสือแจ้งไปยังจังหวัดต้นทางแหล่งที่มาที่พบสารฟอร์มาลีนตกค้างในอาหารสด เพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบต่อไป

พร้อมเร่งประชาสัมพันธ์ประชาชนให้รู้วิธีการเลือกซื้ออาหารสดอย่างปลอดภัยจากสารปนเปื้อนในอาหาร และจะดำเนินแผนการตรวจสอบหาสารปนเปื้อนในอาหารเป็นประจำเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค