แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ภาษาอังกฤษ

"อาชีวเวชศาสตร์" การใช้"อาชีวเวชศาสตร์" จีน

ประโยค

  • ประกาศนียบัตร แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ รุ่นที่ 10 แพทยสภา
    Certificate of Occupational Medicine, Class 10th, Medical Council
  • แพทย์ด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและแพทย์อาชีวเวชศาสตร์
    Phyathai Hospital _ Center of Medical Expert and Health Expertise
  • ตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงด้านอาชีวเวชศาสตร์
    Health Check-up Specific to Occupational Risk Factor
  • หน้าแรก » คลินิกและศูนย์เฉพาะทาง » ศูนย์อาชีวเวชศาสตร์
    Home » Clinics and Specialized Centers » Occupational Health Check Up Center
  • ด้านอาชีวเวชศาสตร์และศูนย์การแพทย์ที่มีมาตรฐานระดับสากล
    To be National Health Authority in Occupational Medicine and International Standard Medical Center.
  • ประกาศนียบัตรแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี
    Certificate in Occupational Medicine, Nopparatrajathanee Hospital
  • สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์
    Preventive Medicine ,occupational Medicine
  • ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและอาชีวเวชศาสตร์
    Health Promotion&Occupational Center
  • บริการอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
    Pinthong Environmetal Laboratory
  • เวชศาสตร์ฉุกเฉินและอาชีวเวชศาสตร์
    Clinics and Specialized Centers
  • ตัวอย่างการใช้เพิ่มเติม:  1  2  3

แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ (occupational physician) คือแพทย์เฉพาะทางสาขา หนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลสุขภาพของคนทำงาน อภิไธยเต็มของแพทย์เฉพาะทางสาขานี้ที่กำหนดโดยแพทยสภาคือ “แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน (อาชีวเวชศาสตร์)” สาเหตุที่ต้องมีคำว่า “เวชศาสตร์ป้องกัน” อยู่ในอภิไธยด้วย เนื่องจากวิชาอาชีวเวชศาสตร์นั้น ถูกจัดเป็นแขนงย่อยหนึ่งของวิชาเวชศาสตร์ป้องกัน เช่นเดียวกับศาสตร์ด้านเวชศาสตร์ป้องกันสาขาอื่นๆ เช่น เวชศาสตร์ป้องกันคลินิก เวชศาสตร์การบิน หรือสาธารณสุขศาสตร์

อย่างไรก็ตาม คำที่คนทั่วไปใช้เรียกแพทย์เฉพาะทางสาขานี้ โดยปกติก็มักจะเรียกเพียงว่า “แพทย์อาชีวเวชศาสตร์” มากกว่า สำหรับในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อย่างกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างฯ พ.ศ. 2547 ใช้คำเรียกที่สื่อถึงแพทย์เฉพาะทางสาขานี้ว่า “แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้านอาชีวเวชศาสตร์”

แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ มีการเปิดสอบรับรองโดยแพทยสภามาตั้งแต่ พ.ศ. 2539 นับถึงปัจจุบันก็กล่าวได้ว่า มีแพทย์เฉพาะทางสาขานี้ทำงานอยู่ในประเทศไทยมา เป็นเวลาประมาณ 20 ปีแล้ว แต่หากเทียบกับศาสตร์การแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นที่มีมาก่อน เช่น สูติศาสตร์ อายุรศาสตร์ ศัลยศาสตร์ ก็นับว่ายังเป็นสาขาที่ใหม่อยู่มาก

การสำรวจจำนวนของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์โดย พุทธิชัย แดงสวัสดิ์ และคณะ ในปี พ.ศ. 2557 พบว่าประเทศไทยมีแพทย์อาชีวเวชศาสตร์อยู่จำนวนทั้งสิ้น 142 คน โดยพบว่าแพทย์อาชีวเวชศาสตร์มีทั้งเพศชายและเพศหญิง (เพศชายร้อยละ 77.5 และเพศหญิงร้อยละ 22.5) มีอายุเฉลี่ย 50.3 ปี ส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 46.4) รองลงมาคือภาคกลาง (ร้อยละ 21.8) และภาคตะวันออก (ร้อยละ 10.6)

การสำรวจโดย วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์ และคณะ ในปี พ.ศ. 2551 พบว่าแพทย์ อาชีวเวชศาสตร์ ส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในภาครัฐ เช่น ในโรงพยาบาลของรัฐ ในมหาวิทยาลัย ในกระทรวงสาธารณสุข (ร้อยละ 71 .7) ทำงานในโรงพยาบาลเอกชน (ร้อยละ 4.0) ทำงานเป็นแพทย์ประจำสถานประกอบการ (ร้อยละ 9.1) ที่เหลือ เป็นแพทย์อิสระ แพทย์เกษียณอายุ หรือเจ้าของกิจการ (ร้อยละ 15.2)

“อาชีวเวชศาสตร์” (occupational medicine) เป็นวิชาการแพทย์แขนงหนึ่ง ว่าด้วยเรื่องการดูแลสุขภาพของคนทำงาน วิชาอาชีวเวชศาสตร์นี้ ครอบคลุมตั้งแต่การป้องกันโรค การรักษาโรค และการฟื้นฟูสุขภาพของคนทำงาน แต่เนื่องจากปัญหาโรคจากการทำงานส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาที่ป้องกันได้ องค์ความรู้ของวิชานี้ในปัจจุบันจึงเน้นหนักไปทางการป้องกันโรคเป็นหลัก แพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญในวิชาอาชีวเวชศาสตร์นั้นเราเรียกว่า “แพทย์อาชีวเวชศาสตร์” (occupational physician)

ในอดีตก่อนที่จะมีการใช้คำว่าอาชีวเวชศาสตร์ (occupational medicine) เป็นคำรวมนั้น ศาสตร์ในการดูแลสุขภาพคนทำงานโดยแพทย์จะมุ่งเน้นไปที่คนทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก วิชาดังกล่าวจึงเรียกว่า “เวชศาสตร์อุตสาหกรรม” (industrial medicine) ต่อมามีการขยายความสนใจไปในกลุ่มคนทำงานกลุ่มอื่นๆ ด้วย เช่น กลุ่มเกษตรกร ก็จะเรียกวิชาที่ดูแลสุขภาพของเกษตรกรว่า “เวชศาสตร์เกษตรกรรม” (agricultural medicine) ในที่สุดศาสตร์ในการดูแลสุขภาพของ คนทำงานนี้ ก็ได้รับความสนใจครอบคลุมไปถึงคนครบทุกอาชีพ ไม่ว่าจะเป็น คนงานในโรงงาน เกษตรกร งานบริการ นักวิชาการ ผู้บริหาร ก็ล้วนแล้วแต่มีโอกาสเกิดโรคจากการทำงานขึ้นมาด้วยกันทั้งหมด เพื่อตัดปัญหาความหลากหลายของ ชื่อวิชาที่จะใช้เรียก จึงใช้คำว่า “อาชีวเวชศาสตร์” (occupational medicine) ซึ่ง เป็นคำรวม หมายถึงศาสตร์ในการดูแลสุขภาพของคนทำงานทุกอาชีพแทน

วิชาอาชีวเวชศาสตร์ถูกจัดว่าเป็นแขนงหนึ่งของวิชาเวชศาสตร์ป้องกัน (preventive medicine) ซึ่งปัจจุบันมีการเปิดสอบรับรองในประเทศไทยโดยแพทยสภาอยู่ทั้งหมด 8 สาขา ได้แก่ ระบาดวิทยา อาชีวเวชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ เวชศาสตร์ป้องกันคลินิก สุขภาพจิตชุมชน เวชศาสตร์การบิน เวชศาสตร์ทางทะเล และเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว สาเหตุที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มวิชาเวชศาสตร์ป้องกันนั้นก็เนื่องจากโรคจากการทำงานส่วนใหญ่เป็นโรคที่รักษาไม่ได้ แต่ป้องกันได้ จึงต้องใช้การป้องกันเป็นหลักในการลดจำนวนผู้ป่วย อย่างไรก็ตามมีโรคจากการทำงานบางโรคที่สามารถรักษาได้ บางโรคสามารถฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้ งานด้านอาชีวเวชศาสตร์จึงมีส่วนคาบเกี่ยวกับการรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพของคนทำงานที่ป่วยด้วย

ส่วนคำว่า "อาชีวอนามัย" (occupational health) นั้นหมายความถึง ศาสตร์การดูแลสุขภาพอนามัยของคนทำงาน โดยผู้ดำเนินการคือผู้มีความรู้ทางด้านสาธารณสุขจากสาขาวิชาชีพใดก็ตาม จะเห็นว่า คำว่า “อาชีวเวชศาสตร์” (occupational medicine) มีความหมายจำเพาะกว่า เนื่องจากหมายถึงการ ดำเนินการดูแลสุขภาพของคนทำงานโดยแพทย์เท่านั้น โดยใช้ศาสตร์ทางด้านการแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งจะต้องมีการตรวจร่างกายผู้ป่วย การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการให้การรักษารวมอยู่ด้วย

หากจะเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของวิชา "อาชีวอนามัย" กับวิชา “อาชีวเวชศาสตร์” กับกรณีของศาสตร์ทางการแพทย์สาขาอื่นๆ เราอาจเปรียบเทียบได้กับ ความสัมพันธ์ของวิชา “นิติวิทยาศาสตร์” กับ “นิติเวชศาสตร์” และความสัมพันธ์ ของวิชา “จิตวิทยา” กับ “จิตเวชศาสตร์” ก็ได้

แพทย์อาชีวอนามัย คืออะไร

แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ (occupational physician) เป็นแพทย์ที่มีความรู้เฉพาะทางด้านการดูแลสุขภาพของคนทำงาน การทำงานของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรงงาน (factory) หรือองค์กรธุรกิจ (business organization) ต่างๆ นั้นมีหลากหลายกิจกรรม ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้คนทำงานมีสุขภาพดีขึ้นทั้งสิ้น

อาชีวเวชศาสตร์หมายถึงอะไร

อาชีวเวชศาสตร์” (occupational medicine) เป็นวิชาการแพทย์แขนงหนึ่ง ว่าด้วยเรื่องการดูแลสุขภาพของคนทำงาน วิชาอาชีวเวชศาสตร์นี้ ครอบคลุมตั้งแต่การป้องกันโรค การรักษาโรค และการฟื้นฟูสุขภาพของคนทำงาน แต่เนื่องจากปัญหาโรคจากการทำงานส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาที่ป้องกันได้ องค์ความรู้ของวิชานี้ในปัจจุบันจึงเน้นหนักไปทางการป้องกันโรค ...

แพทย์อาชีวเวชศาสตร์เรียนกี่ปี

แรกเริ่มนะครับหลังจากหมอบีทำงานเป็นแพทย์ทั่วไปอยู่ 3 ปี จากนั้นจึงเข้าอบรมหลักสูตรแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ระยะสั้นสองเดือน หรือแปดสัปดาห์ที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานีครับ จะเป็นหลักสูตรอบรมที่สั้นที่สุดและได้รับการยอมรับในระดับหนึ่งครับ ภาพรวมรุ่นแพทย์ประจำบ้านสาขาอาชีวเวชศาสตร์โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ^^

อาชีวศาสตร์หมายถึงอะไร

อาชีวศาสตร์ (Occupational Medicine) ก็คือศาสตร์ทางการแพทย์แขนงหนึ่ง ซึ่งมุ่งเน้นการดูแลสุขภาพของคนทำงานโดยจะดำเนินการในด้านการป้องกันโรคเป็นหลัก แต่ก็รวมถึงการดำเนินการตรวจวินิจฉัย การดูแลรักษา และการฟื้นฟูปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากการทำงานด้วย ส่วนแพทย์อาชีวศาสตร์ (Occupational Physician) ก็คือแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ ...