ข้อใดคือการทำงานของเทคโนโลยี blockchain

TRCLOUD - Blockchain Enterprise Solution เป็นการประยุกต์ใช้ Blockchain กับงานบริหารจัดการในองค์กร เพื่อช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงิน การติดตามการซื้อและจัดส่งผลิตภัณฑ์ เพื่อความโปร่งใสและน่าเชื่อถือ ซึ่ง Blockchain จะทำให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ตลอดเวลา

ลักษณะงานที่จะต้องใช้เทคโนโลยี Blockchain คือ ลักษณะงานที่ต้องการบูรณาการข้อมูล และในเวลาเดียวกันต้องการให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบ และป้องกันการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาต (Corrupt) ข้อมูลได้

TRCLOUD สามารถสร้าง Application ที่ใช้ข้อมูลผ่าน Clearing Server ดังนี้แล้วทำให้เราสามารถออกแบบระบบที่ต้องการความเชื่อถือ และความแม่นยำได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ระบบทะเบียนราษฎร์ ระบบเวชระเบียน รวมถึงระบบการกู้ยืมเงิน เป็นต้น

ตัวอย่างการใช้งาน Blockchain

งานด้านธุรกรรมหรือสัญญา เช่น กรมที่ดินต้องการความโปรงใสในการเก็บข้อมูลโฉนดที่ดิน ป้องกันการปลอมแปลง รวมถึงการทุจริตการแก้ไขข้อมูล กรมที่ดินจำเป็นต้องใช้ระบบ Blockchain แทนการเก็บข้อมูลด้วย Database แบบเดิม และกระจายการตรวจสอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

งานด้านการแพทย์ ใช้ Blockchain เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข้ามหน่วยงานและแพลตฟอร์มที่ต่างกันได้ เพิ่มความถูกต้องแม่นยำในการนำข้อมูลมาวินิจฉัยและรักษาโรค แทนการเช็คแฟ้มประวัติคนไข้หรือโทรศัพท์ไปขอข้อมูลผู้ป่วย

งานในธุรกิจที่ต้องการความโปร่งใส เช่น การบริจาคเงินให้กับองค์กรหรือบุคคลต่างๆ ทำให้ทราบข้อมูลการบริจาคเงินตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง และลดค่าใช้จ่าย

การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เช่น การติดตามเส้นทางขนส่งของอาหารสด ตั้งแต่วัตถุดิบออกจากฟาร์มไปสู่ลูกค้า กำหนดวันหมดอายุ

งานที่มีลิขสิทธิ์ เช่น Muse Blockchain ได้สร้างแพลตฟอร์ม Streaming ชื่อว่า Peer Tracks ที่ผู้ฟังสามารถจ่ายเงินโดยตรงไปยังศิลปินได้ นอกจากจะช่วยเรื่องลิขสิทธิ์แล้ว ยังช่วยตัดคนกลางออกไป ทำให้ศิลปินได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น

ผู้ใช้ (Node) ทุกคนต้องมีกุญแจสองอัน อันแรกคือ Private key ที่ถือเป็นการแสดงความเป็นเจ้าของของสมุดบัญชีพร้อมกับ Password ซึ่งถูกจากสร้างลายเซ็นต์และชุดตัวเลขที่ใช้อัลกอริทึมสร้างขึ้นมาทำให้ไม่มีทางซ้ำกับเลขอื่นๆ และใช้สิ่งเหล่านี้มายืนยันการทำธุรกรรม ส่วนกุญแจอีกอันที่ต้องใช้คือ Public Key เปรียบเสมือนที่อยู่ที่ข้อมูลส่งไปถึง ทั้ง Private Key และ Public Key จะใช้งานคู่กันแต่ต่างหน้าที่กันคือ อันนึงใช้เข้ารหัส และอีกอันนึงใช้ในการถอดรหัส สำคัญที่สุดสำหรับผู้ใช้ทุกคนคือ Private Key และ Password ต้องเก็บเป็นความลับของเจ้าของเท่านั้น เพราะหากมีเงินอยู่ในนั้น 10-100 ล้านแล้ว แต่ Private Key และ Password ดันหายไป ผู้ใช้จะไม่สามารถเรียกคืนหรือทวงคืนมาได้จากโลกเสมือน หรือแม้แต่ใครหวังฮุบเงินก้อนนั้นไปก็ทำไม่ได้เช่นกัน

*โดยหลักแล้วข้อมูล หรือ Data ที่ต้องการส่งจะเป็นอะไรก็ได้ จำนวนเงิน สัญญา คะแนน ฯลฯ

 

2. เก็บ Transaction ไว้ใน Public Ledger :

ข้อมูลการเดินบัญชี (Transaction) ถูกเริ่มต้นสร้างขึ้น รายการจะแจ้งว่าตัวเลขทั้งหมดที่เกิดขึ้นตั้งแต่จำนวนเงินที่ถูกต้องที่มีอยู่ในบัญชีของ A ถูกส่งไปให้บัญชีของ B ที่แสดงจำนวนเงินที่มีอยู่เช่นกัน โอนเท่าไหร่ ตัวเลขขึ้นตามนั้น ตรงนี้ทำให้เราเห็นรายการทั้งหมดที่เป็นยอดบวกลบที่ถูกต้อง ทำให้เราสามารถตรวจสอบย้อนกลับเรื่องที่มาของเงินได้ตลอด โดยทั้งหมดในรายการนี้จะถูกเก็บไว้ใน สมุดจดบัญชี (Public Ledger) แล้วส่งข้อมูลแบบที่ยังไม่ได้ยืนยันความถูกต้อง (Unconfirmed Transaction) ให้ผู้ใช้ทุกคน

 

3. ยืนยันความถูกต้องโดย Miner และต้องไม่ถูกคัดค้านจากผู้ใช้ :

หลังจากที่ได้รับข้อมูล (Data) แล้วจะมีผู้ตรวจสอบมายืนยันความถูกต้อง เราเรียกคนคนนี้ว่า Miner มาจากผู้ใช้ที่เสนอตัวเข้ามา กติกาคือใครจะเสนอตัวก็ได้ ขอให้มีหลายคนเสนอ จากนั้น Miner ทั้งหลายจะเกิดการแข่งขันกันเป็นผู้ตรวจสอบ (โดยใช้วิธีการคำนวณค่า Hash หรือสมมุติเป็นการแก้สมการนับล้านๆครั้ง เพื่อให้ได้ค่ายืนยันกล่อง ตัวอย่างการใช้เวลาในการหาค่าสมการ ปกติ Bitcoin ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที จริงๆแล้วอาจเร็วหรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับสกุลเงินดิจิทัล)

ใครเสร็จก่อนและไม่ได้รับการคัดค้านความถูกต้องจากผู้ใช้ทั้งหมด จะได้รับค่าตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง ในรูปแบบของรางวัล (Reward ) ของความพยายาม หรือรับเป็น Transaction fee ตามจำนวนที่กำหนดไว้ โดยช่วงแรกจะกำหนดไว้ 50BTC และจะลดลงเรื่อยๆทุก 4 ปี (เรียกการลดตามระยะเวลาที่กำหนดนี้ว่า Halving) แต่ด้วยจำนวนบล็อคที่มากขึ้น ทำให้ตอนนี้เหลือแค่ครั้งละ 25 BTC เท่านั้น (ในบาง transaction อาจไม่มีรางวัล) ตรงนี้สร้างโอกาสให้แก่ผู้ที่ยังไม่มีเงินในโลกดิจิทัลได้สร้างฐานะขึ้นมาจากความว่างเปล่าได้ เราเลยเรียกกันว่านักขุดทอง

ส่วนความยากที่ต้องเป็นที่หนึ่งนี้เราเรียกว่า Proof of Work หรือตัวพิสูจน์การทำงาน ถูกนำมาใช้ยืนยัน Transaction นั่นเอง โดยยืนยันชิ้นที่เสร็จก่อน เพื่อป้องกันการยืนยันซ้ำซ้อนจาก Miner อื่นๆ (Double Spending) เพราะหากมีการยืนยันซ้ำซ้อน Transaction นั้นจะถูกตีกลับ (Reverse) ต้องทำการแก้สมการใหม่เพื่อยืนยันอีกครั้ง ตรงนี้ค่อนข้างใช้เวลา เมื่อเสร็จแล้วจึงจะรวบเก็บทุกอย่างที่เกิดขึ้นของรายการนั้นไว้ใน กล่อง (Block) เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงให้แก่กล่องถัดไป (เรียกเลขหลักฐานนั้นว่า Previous Hash) ที่จะเกิดขึ้น

* หลังจากนี้หากมีอีกกล่องที่ซ้ำกัน ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นคือถูกตีกลับ แต่อันไหนได้รับการยืนยันก่อนจะถูกส่งต่อร้อยเรียง และอ้างอิงสายที่ยาวกว่าถือเป็นข้อมูลที่จะถูกนำไปใช้ต่อๆไป

 

4. เพิ่ม Block นั้นเข้าไปยัง Chain:

จากนั้น Block หรือข้อมูลการเดินบัญชีที่ได้รับการตรวจสอบแล้วและมีข้อมูลที่เกิดขึ้นก่อนหน้าเป็นสิ่งที่อ้างอิงสู่กล่องถัดไป จะถูกส่งมาต่อเพื่อร้อยเรียงกันและกันไปเรื่อยๆ สภาพการเรียงตัวกันแบบ –กล่องนี้มาก่อนและกล่องนี้มาหลัง- ไม่สามารถสลับสับเปลี่ยนได้ และข้อมูลที่อยู่ในกล่องจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เป็นการอัพเดทข้อมูลให้กับผู้ใช้ทุกคนต่อไป ตรงนี้เองคือความปลอดภัยที่ใครก็ไม่สามารถเข้าไปทำอะไรได้ เพราะหากกล่อง C มีข้อมูลที่ผิดพลาดเข้ามา หรือมีข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับกล่อง B ทุกอย่างในกล่องจะถือเป็นโมฆะ (Invalid) กล่องนั้นจะไม่สามารถเกิดเป็นธุรกรรมที่สมบูรณ์ได้เลย และรายการที่เป็นกล่องถัดๆไปก็จะ Invalid ไปด้วย จนกว่าจะมีกล่องถัดไปที่ถูกต้องมาต่อท้าย

 

5. เงินถูกถ่ายโอนและอัพเดทข้อมูลแก่ผู้ใช้

เมื่อทุกอย่างสำเร็จตามขั้นตอน เงินจะถูกถ่ายโอนและอัพเดทข้อมูลแก่ผู้ใช้ทุกคนพร้อมกัน การส่งต่อข้อมูลจากเครื่องถึงเครื่อง เรียกว่า  Peer-to-peer ส่วนเงินที่ว่านี้เป็นเพียงแค่จำนวนที่ถูกระบุขึ้น ไม่มีเป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เป็นสินทรัพย์แบบนึงในโลกดิจิทัลที่ถูกบันทึกด้วยเทคโนโลยีเท่านั้น นอกจากนั้นข้อมูลที่อัพเดทแก่ผู้ใช้มีความเป็น Original หมด แม้ว่าจะเป็นสำเนาก็ตาม เพราะถือเป็นข้อมูลเดียวกันที่ได้รับรองความถูกต้องแล้ว และอยู่ในมือ อยู่ในเครื่องของแต่ละคน ต่อให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น หายนะต่างๆ ทั้งระเบิด ไฟไหม้ อุทกภัย ในที่ไหนซักที่ Blockchain แทบจะไม่ได้รับผลกระทบเลย เพราะข้อมูลถูกกระจายไว้ในเครื่องของทุกคนที่ใช้งานอย่างเท่าเทียมกันนั่นเอง

 

สรุปได้ว่า Blockchain คือ ระบบฐานข้อมูล (Database) หรือรูปแบบการเก็บข้อมูลแบบหนึ่งที่ไม่มีตัวกลาง แต่มีการปกป้องข้อมูลอย่างดีเยี่ยม บรรจุด้วยข้อมูลที่เราไว้ใจได้ประกอบด้วย Data , Hash และ Previous Hash สำหรับผู้ไม่หวังดีแล้ว ไม่สามารถโขมยไปใช้ให้เกิดประโยชน์อะไรได้ หรือคิดปลอมแปลงข้อมูลผิดๆเข้าไปก็แทบจะเป็นไปไม่ได้ เพราะข้อมูลที่ว่านั้นจะถูกเก็บเป็นสำเนาไว้ในเครื่องของทุกคนที่ใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน เมื่อไหร่ที่เอกสารมีการอัพเดท ทุกสำเนาในมือจะถูกอัพเดทไปด้วยเช่นกัน ในแง่ของเครดิตหรือความน่าเชื่อถือมีสูงมาก ขึ้นชื่อในเรื่องความปลอดภัย มิหนำซ้ำยังมีราคาประหยัด ในแง่ที่ลูกค้าไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ในแง่ธุรกิจไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากในการดูแลระบบ เพราะไม่ต้องมีตัวกลางหรือระบบศูนย์กลางใดๆ อีกต่อไป แถมยังไม่มีระบบล่มเพราะข้อมูลที่ผิดใช้กับระบบนี้ไม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้นไม่มีภัยพิบัติใดๆที่สามารถทำลายอุปกรณ์ทุกตัวในระบบได้พร้อมๆกัน และเช่นเดียวกัน หากมันถูกแฮ็ก นั้นหมายความว่ามันต้องแฮ็กทุกๆเครื่องพร้อมๆกัน หรืออย่างน้อยที่สุดต้องแฮ็กเครื่องให้ได้มากกว่า 51% ของเครื่องที่ถือสำเนาจึงจะพอสำเร็จได้ และนี่คือเหตุผลว่าทำไมระบบ  Blockchain ถึงได้เจ๋งสุดๆ และตอบโจทย์ได้ดีมากๆ

 

ในบทความถัดไป เราจะพูดเรื่องของ Bitcoin ว่าเกี่ยวข้องกับ Blockchain อย่างไร นอกจากนั้นยังมีเรื่องของ Cryptocurrency อีกด้วย และเงินในโลกเสมือนจริงจะถูกใช้งานได้จริงหรือไม่

ข้อใดคือการทํางานของเทคโนโลยี Blockchain

Blockchain คือวิธีการเก็บข้อมูลบัญชีรูปแบบหนึ่ง นึกภาพง่าย ๆ ว่า พอมีธุรกรรม Transaction ใหม่ ๆ เข้ามา มันก็จะถูกกองรวม ๆ กันไว้ พอได้จำนวนหนึ่งเราก็จะจัดบรรจุธุรกรรมเหล่านั้นลงกล่องบัญชี (Block) และทำการปิดกล่อง พอเราปิดกล่องเสร็จ เราก็จะได้กล่องใหม่หรือ Block ใหม่ขึ้นมานั้นเอง

Block chain เหมาะกับงานประเภทไหน

Blockchain ที่เปิดให้ใช้งานได้เฉพาะกลุ่มเท่านั้น ซึ่งส่วนมาก จะเป็นการรวมตัวกันขององค์กรที่มีลักษณะธุรกิจเหมือนกัน และต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ยกตัวอย่างเช่น เครือข่ายระหว่างธนาคาร ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลการท า ธุรกรรม หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ภายในกลุ่มของธนาคาร เช่น Japanese Bank และ R3CEV.

ข้อใดคือคุณสมบัติของเทคโนโลยี บล็อกเชน

Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มที่ด้วยการเป็นตัวเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลดิจิทัลที่เข้าถึงได้เพียงเข้าถึงอินเทอร์เน็ต พร้อมกับมี Ecosystem ที่อำนวยความสะดวกด้านการจัดการธุรกรรมและความปลอดภัยอย่างเป็นอัตโนมัติ การทำธุรกรรมบน Blockchain จึงมีข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่น้อยกว่า ยกตัวอย่าง ...

ลักษณะการทํางานของบล็อกเชน มีกี่ลักษณะ

ลักษณะการทำงานของ Blockchain.
1. A ต้องการโอนเงิน (ส่งข้อมูล) ไปให้ B ผ่านเลขบัญชี โดยใช้ Private key+Password และ Public Key: ... .
2. เก็บ Transaction ไว้ใน Public Ledger : ... .
3. ยืนยันความถูกต้องโดย Miner และต้องไม่ถูกคัดค้านจากผู้ใช้ : ... .
4. เพิ่ม Block นั้นเข้าไปยัง Chain: ... .
5. เงินถูกถ่ายโอนและอัพเดทข้อมูลแก่ผู้ใช้.