ลัทธิ โพสต์อิมเพรสชั่นนิสม์ (Post

คำว่า อิมเพชรชั่นนิสม์ รัฐ จันทร์เดช (๒๕๒๒,๕๓) ได้ให้ความหมายว่า ความรู้สึกประทับใจของมนุษย์จากสิ่งแวดล้อมที่เป็นสิ่งเร้าใจ คำนี้เพิ่งจะมีผู้ยอมรับและเห็นด้วยว่า มีความหมายแจ่มแจ้งก็ต่อเมื่อ มาเนท์ แสดงผลงานกับพวก ๓๐ คน ครั้งแรกในปี ๑๘๔๗ โดยเฉพาะภาพเขียนของมาเนท์ ที่ชื่อว่า ดวงอาทิตย์ขึ้น ให้ความหมายชัดเจนที่สุด
วิวัฒนาการของทัศนศิลป์กลุ่มนี้ เนื่องจากเบื่อหน่ายต่อการเลียนแบบกรีกโรมัน และกลุ่มเรียลิสม์ที่เขียนในสิ่งที่เหมือนจริง ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ทางจิตวิทยา จนการค้นคว้าเรื่องสีสำเร็จ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินกลุ่มนี้ใช้สี และแสงเงาอย่างอิสระ ส่วนเรื่องราวนิยมวาด เกี่ยวกับมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มองเห็นแล้วเกิดความประทับใจ ละทิ้งเรื่องราวทางศาสนาและนิยายโบราณ ศิลปินในลัทธินี้ริเริ่มออกไปวาดนอกสถานที่เพื่อให้เรื่องสี และแสงเงา ในขณะนั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นในแนวทางทัศนศิลป์สากลในเวลาต่อมา

สาเหตุการสร้างงานทัศนศิลป์ลัทธิอิมเพรสชั่นนิสม์
1. สนองจิตใจของผู้สร้างและผู้ชมในขณะนั้น
2.ความเชื่อเรื่องความประทับใจ ต่อสิ่งที่ได้พบเห็นจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สุนทรียภาพและรูปแบบงานจิตรกรรมลัทั่นนิสม์
1. แสดงรูปทรงธรรมชาติและเรขาคณิตธิอิมเพรสช สี แสงเงา เส้น และจุด
2. เรื่องราวเกิดจากความประทับใจในธรรมชาติละสิ่งแวดล้อมไม่แสดงเรื่องนิยายโบราณ และศาสนาประจำชาติใดชาติหนึ่ง
3. วาดภาพอย่างอิสระตามความรู้สึกของศิลปินที่ประทับใจในสิ่งที่ตนเองเห็นและผู้ชมทั่วไป เข้าใจภาพได้เพราะเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่เหมือนๆ กัน
4. ใช้แสง เงา และสี อย่างจริงจัง เพราะว่านอกสถานที่
5. บางครั้งใช้ฝีแปลงหยาบๆ เป็นรอยแปลงให้แสงผสมกับสี มองดูใกล้และจะเป็นภาพไม่สวย ถ้ามองดูไกล จะเห็นรูปทรงและเรื่องราวของภาพชัดเจน
6. ระยะหลังระบายสี ด้วยการขีดเป็นเส้น และจุดสีเล็กๆ แสดงแสงและเงาให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น หนา บางเกิดมิติ เรียกว่า กลุ่มโพสต์อิมเพรสชั่นนิสม์
7. รูปแบบเป็นรูปธรรมมีตัวตน สามารถมองเห็นรูปทรงแต่ละประประเภทได้

ตัวอย่างงานศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์

ลัทธิ โพสต์อิมเพรสชั่นนิสม์ (Post

 The Luncheon on the Grass
(Le déjeuner sur l’herbe), 1863  โดย มาเนต์ (Edouard Manet) จิตรกรชาวฝรั่งเศส

ลัทธิ โพสต์อิมเพรสชั่นนิสม์ (Post

ประติมากรรมอิมเพรสชั่นนิสม์ “จูบ (The kiss)”   ผลงาน  โดย โรแดง (Rodin)

ลัทธิ โพสต์อิมเพรสชั่นนิสม์ (Post

Starry Night (ราตรีประดับดาว)  1889 โดย วินเซนท์ แวนโก๊ะ (Vincent Willem van Gogh) จิตรกรชาวดัตช์

แบ่งปันสิ่งนี้:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

Related

Post-Impressionism


           ศิลปะแบบโพสต์ อิมเพรสชันมิสม์  จะมุ่งการแสดงออกทางความรู้สึก  อารมณ์  จิตวิญญาณมากกว่ามุ่งนำเสนอความเป็นจริงทางวัตถุ  สื่อผ่านการใช้สีที่รุนแรงและเกินความเป็นจริง โดยเน้นความพอใจของศิลปินเป็นหลัก ไม่ยึดถือกฏเกณฑ์ และธรรมเนียมใด ๆ ในอดีตเลย   สีที่ใช้นั้นจะสื่อถึงพลังที่ถูกบีบคั้นบังคับกดดันที่อยู่ในความรู้สึกนึก คิดของจิตใจคน  เป็นการปดปล่อยอารมณ์ผ่านสี และฝีแปรงที่ให้ความรู้สึกที่รุนแรงกดดัน ฝีแปรงที่อิสระ


ที่มาของ Post-Impressionism

เป็นคำที่คิดขึ้นโดยศิลปินและนักวิจารณ์ศิลปะชาวอังกฤษโรเจอร์ ฟราย (Roger Fry) ในปี ค.ศ. 1910 เพื่อบรรยายศิลปะที่วิวัฒนาการขึ้นในฝรั่งเศสหลังสมัยเอดัวร์ มาแน จิตรกร อิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังยังคงสร้างงานศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์ แต่ไม่ยอมรับความจำกัดของศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ จิตรกรสมัยหลังจะเลือกใช้สีจัด เขียนสีหนา ฝีแปรงที่เด่นชัดและวาดภาพจากของจริง และมักจะเน้นรูปทรงเชิงเรขาคณิตเพื่อจะบิดเบือนจากการแสดงออก นอกจากนั้นการใช้สีก็จะเป็นสีที่ไม่เป็นธรรมชาติและจะขึ้นอยู่กับสีจิตรกรต้องการจะใช้

           ต่อมาฟรายให้คำอธิบายในการใช้คำว่า อิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังว่าเป็นการใช้  เพื่อความสะดวก ที่จำเป็นต้องตั้งชื่อให้ศิลปินกลุ่มนี้โดยใช้ชื่อที่มีความหมายกว้างที่ไม่บ่งเฉพาะเจาะจงถึงแนวเขียน ชื่อที่เลือกก็คือ Post-Impressionismเป็นการแสดงการแยกตัวของศิลปินกลุ่มนี้แต่ยังแสดงความสัมพันธ์บางอย่างกับขบวนการอิมเพรสชันนิสม์เดิม


การจัดช่วงเวลา

           เรวอลด์กล่าวว่าคำว่า ศิลปะอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังเป็นคำที่ตั้งขึ้นเพื่อความสะดวกและมิได้มีความหมายเฉพาะเจาะจงถึงลักษณะการเขียนแต่อย่างใด และเป็นคำที่ใช้ที่จำกัดเฉพาะทัศนศิลป์ของฝรั่งเศสที่วิวัฒนาการมาจากศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ตั้งแต่ ค.ศ. 1886 วิธีเขียนหนังสือเกี่ยวกับศิลปะอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังของเรวอลด์เป็นการเขียนตามที่เกิดขึ้นมิใช่เป็นการวิจัยลักษณะของศิลปะ เรวอลด์ทิ้งไวให้ศิลปะเป็นเครื่องตัดสินตัวเองในอนาคต[4] คำอื่นเช่นสมัยใหม่นิยม (Modernism) หรือลัทธิสัญลักษณ์นิยมก็เป็นคำที่ยากที่จะใช้เพราะเป็นคำที่ไม่เฉพาะเจาะจงกับศิลปะแต่ครอบคลุมสาขาวิชาอื่นด้วยเช่นวรรณกรรมหรือสถาปัตยกรรมและเป็นคำที่ขยายออกไปใช้ในหลายประเทศ


ลัทธิสมัยใหม่นิยม เป็นคำที่หมายถึงขบวนการทางศิลปะนานาชาติที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมตะวันตกที่เริ่มมาจากฝรั่งเศสและถอยหลังไปถึงการปฏิวัติฝรั่งเศสจนถึงยุคภูมิปัญญา

ลัทธิสัญลักษณ์นิยม เป็นขบวนการที่เริ่มร้อยปีต่อมาในฝรั่งเศสและเป็นนัยว่าเป็นแนวที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล จิตรกรต่างก็ใช้สัญลักษณ์ในการเขียนไม่ว่าอย่างใดก็อย่างหนึ่งมากบ้างน้อยบ้าง


แอแลน โบวเนส (Alan Bowness) ยืดเวลา ศิลปะอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังไปจนถึง ค.ศ. 1914 แต่จำกัดการเขียนในฝรั่งเศสลงไปอย่างมากในคริสต์ทศวรรษ 1890 ประเทศยุโรปอื่น ๆ ใช้มาตรฐานของ ศิลปะอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังส่วนศิลปะของยุโรปตะวันออกไม่รวมอยู่ในกลุ่มนี้

แม้ว่า ศิลปะอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังจะแยกจาก ศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ใน ค.ศ. 1886 แต่จุดจบของ ศิลปะอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังยังไม่เป็นที่ตกลงกัน สำหรับโบวเนสและเรวอลด์แล้ว ลัทธิคิวบิสม์เป็นการเริ่มยุคใหม่ ฉะนั้นลัทธิคิวบิสม์จึงถือว่าเป็นการเริ่มยุคการเขียนใหม่ในฝรั่งเศสตั้งแต่ต้นและต่อมาในประเทศอื่น ขณะเดียวกันศิลปินยุโรปตะวันออกไม่คำนึงถึงการแบ่งแยกตระกูลการเขียนที่ใช้ในศิลปะตะวันตกก็ยังเขียนตามแบบที่เรียกว่าจิตรกรรมแอ็บสแตร็ค และอนุตรนิยม (