หลักการ และ เหตุผล โรค ไข้เลือดออก

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรคได้ติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย พบว่า มีอุบัติการณ์ต่ำกว่าค่ามัธยฐาน ๕ ปี ย้อนหลังอย่างต่อเนื่อง มาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี (พ.ศ. 2563 -2564) จึงมีโอกาสที่ในปี พ.ศ.2565 จะเกิดการระบาดมากขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าตลอดทั้งปีอาจมีผู้ป่วยสูงถึง 95,000 ราย โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีมีแนวโน้ม พบจำนวนผู้ป่วยประมาณ 3,000 – 4,000 รายต่อเดือน และเริ่มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคม จนสูงที่สุดประมาณ 10,000 – 16,000 รายต่อเดือนในช่วงฤดูฝน (เดือนมิถุนายน - กันยายน)
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน แนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง  พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
องค์การบริหารส่วนตำบลนาข้าวเสีย เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบดูจากสถิติการเกิดโรคในปีที่ผ่านมา การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายนของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดี และนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและศาสนสถาน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้ง จากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก องค์การบริหารส่วนตำบลนาข้าวเสีย  จึงได้จัดทำโครงการ “รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลนาข้าวเสีย ปีงบประมาณ ๒๕๖5” ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน วัด โรงเรียนตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลัง ความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

ต่อแสนประชากร ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การระบาดและให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน อสม.ในเขตรพสต. ......... จึงได้จัดทำโครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกขึ้น

วัตถุประสงค์ แบบที่ 1
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชน

2 เพื่อป้องกันอัตราการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชน

3 เพื่อสร้างความร่วมมือในชุมชนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกวัตถุประสงค์ แบบที่ 2

1.  เพื่อลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในกลุ่มวัยเรียนและประชากรทุกกลุ่มอายุ

2. เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ     เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล    ครอบครัว   ชุมชน  ให้มี

ศักยภาพในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

3. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และเข้าใจและตระหนักในการป้องกันไข้เลือดออก    

วัตถุประสงค์ แบบที่ 3

. เพื่อลดอัตราการป่วย โรคไข้เลือดออกในประชากรทุกกลุ่มอายุลงร้อยละ ๒๐

. เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก

 . เพิ่มความครอบคลุมของการรณรงค์กำจัดลุกน้ายุงลายในโรงเรียนและชุมชน และลดความชุกชุมของลุกน้ายุงลาย ตามเป้าหมายดังนี้

๓.๑ ในโรงเรียน ลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในทุกโรงเรียนให้ครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๕ โดยแต่ละโรงเรียนไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลาย (CI=O)

๓.๒ในชุมชน ลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในทุกครัวเรือนให้ครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ โดยให้มีจำนวนบ้านที่พบลูกน้ำยุงลายไม่เกินร้อยละ ๑๐ (ค่า HI ไม่เกิน ๑๐)

. เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ ทุกองค์กรชุมชน และประชาชนทั่วไป ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคในชุมชน และให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ


3.เป้าหมาย  แบบที่ 1
3.1 จัดสัปดาห์รณรงค์ควบคุมป้องกันโรค .... ครั้ง/ ปี จำนวน ......หมู่บ้าน
3.2 อบรมแกนนำควบคุมโรค อสม. ,อบต. ,ผู้นำชุมชน จำนวน ...... คน
3.3 ดำเนินการประชาคมหมู่บ้าน
เป้าหมาย   แบบที่ 2

ดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายใน หมู่ที่ .....

1.              บ้าน จำนวน  ..... หลังคาเรือน

2.             โรงเรียน จำนวน ..... แห่ง

3.             วัด จำนวน  ....  แห่ง

4.             สถานที่ราชการ จำนวน  ….  แห่ง


4.กลวิธีดำเนินการ แบบที 1
4.1 จัดทำโครงการ ขออนุมัติโครงการ
4.2 จัดสัปดาห์ควบคุมโรค ....ครั้ง / ปี
4.3 มีการประชุมประชาคมหมู่บ้านในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
4.4 จัดตั้งคณะกรรมการควบคุมโรคของหมู่บ้าน
4.5 อบรมแกนนำเพื่อดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
4.6 จัดซื้อผ้าห่อทรายอะเบทเพื่อใช้ในการรณรงค์
4.7 จัดซื้อทรายอะเบตเพื่อใช้ในการรณรงค์
กลวิธีดาเนินการ แบบที่ 2

- ลงพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเพื่อใช้เป็นแนวทางในการรณรงค์

- รณรงค์ร่วมกันในตำบล

- ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

- ประชุมชี้แจงการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

- ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานชุมชนหรือตัวแทน ที่ทำหน้าที่เป็นแกนนำควบคุมโรคไข้เลือดออก

- ประชาสัมพันธ์แกนนำในระดับหมู่บ้าน โดยใช้เอกสารแผ่นพับใบปลิว สื่อวิทยุกระจายเสียงชุมชน เป็นต้น

- เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สนับสนุนการดำเนินงาน

- รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและใส่ทรายอะเบท สำรวจค่า HI,CI ในหมู่บ้าน ดำเนินการทุกๆ ๗ วัน


5.สถานที่ดำเนินการ
5.1 ดำเนินการประชาคมหมู่บ้าน..................ในพื้นที่รับผิดชอบของรพสต.........
5.2 อบรมแกนนำเพื่อดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ที่รพสต. .. วัน
5.3 ดำเนินการสัปดาห์รณรงค์ .... ครั้ง / ปี

6.ระยะเวลาดำเนินการ
- มกรา2556กุมภาพันธุ์ 2556
- ดำเนินการอบรม 1 วัน

7.งบประมาณ
7.1 การอบรมแกนนำเพื่อดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก จำนวน ..... คน
- ค่าอาหารกลางวันในการอบรม จำนวน ... คน x 50 บาท x 1 วัน เป็นเงิน ……. บาท
- ค่าอาหารว่างในการอบรม จำนวน …. คน x 20 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน ………. บาท
7.2 ค่าทรายเคมีกำจัดลูกน้ำ จำนวน  ……… บาท เป็นเงิน …………….. บาท
7.3 ซื้อผ้าห่อทรายอะเบท จำนวน ... เมตร x ...บาท …. เป็นเงิน …………….. บาท
7.4 ค่าน้ำดื่มในการประชาคมหมู่บ้าน เป็นเงิน ....... บาท
รวมงบประมาณในโครงการทั้งสิ้น จำนวน............. บาท ( ....................... )

8.การประเมินผล  แบบที่ 1
8.1 อัตราการเกิดโรคน้อยกว่า ... ต่อแสนประชากร
8.2ไม่มีอัตราป่วยใหม่(incidence rate)
8.3 ค่า BI น้อยกว่า ......

ารประเมินผล  แบบที่ 2

. ประเมินผลจากการรายงานการเกิดโรคไข้เลือดออก (รายงาน ๕๐๖)

. ประเมินจากการดำเนินงาน จากการสอบถามและสรุปผลจากข้อมูลที่ได้จากอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

. อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร

. ค่า HI CI

. จากการร่วมมือของชุมชนในการจัดทาโครงการฯ ดังกล่าว

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

. อัตราป่วยและอัตราการตายด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ องค์กรชุมชน ประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานชุมชน และประชาชนในหมู่บ้าน.........ทุกคนให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

. ค่าดัชนีลุกน้ำยุงลาย (HI,CI) ลดลง ร้อยละ ๘๐ ของหมู่บ้าน วัด โรงเรียน หน่วยงานราชการ



9.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
8.1 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชนลดลง
8.2 ไม่มีอัตราการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชน
8.3 มีความร่วมมือของชุมชนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดอก
10.ผู้รับผิดชอบโครงการ
................ ในเขตรพสต.......................... ตำบล............................. อำเภอ................................... จังหวัด.................................