ค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชน Pantip

ค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชน แพงจนเกินจริงหรือไม่

ค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชน Pantip

เสียงร้องเรียนผ่านเครือข่ายผู้เสียหายทางกาารแพทย์ เกี่ยวกับค่ารักษาพยายาบาลของโรงพยาบาลเอกชน ดังขึ้นเรื่อยๆ  เพราะโรงพยาบาลเอกชนขึ้นค่ารักษาพยาบาลแพงขึ้นทุกปี แม้แต่นายกรัฐมนตรี ยังต้องสั่งให้ตรวจสอบ เพราะไทยจะวางตัวเป็น "ฮับ" ในการรักษาพยาบาล แต่โรงพยาบาลเอกชนกลับคิดแพง ราคายาบางตัวสูงกว่าท้องตลาด 100 ถึง 200 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ชาวต่างชาติเข้ามารักษาน้อยลง กระทรวงสาธารณสุข ต้องเร่งแก้อย่างจริง ๆ จัง ๆ ก่อนปัญหาจะบานปลาย

ถ้าดูการคิดค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชนแล้ว แพทยสภาแจงให้ทราบมี 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ ค่าธรรมเนียมบุคคลากรทางการแพทย์ หรือค่าหมอ ค่าทันตแพทย์  พยาบาล  นักกายภาพบำบัด   ส่วนที่ 2 คือ อุปกรณ์การแพทย์ เช่น ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ และส่วนที่ 3 คือ ค่าบริการต่าง ๆ ที่แต่ละโรงพยาบาลจะคิด ไม่เท่ากัน สิ่งที่ติดอยู่ในความรู้สึกของผู้ใช้บริการคือ "ค่าหมอแพง ค่ายาโหด"ส่วนค่าบริการโรงพบาบาล ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ป่วยที่จะเลือกใช้เลือกจ่าย

"ค่าหมอแพง" อธิบายได้ตามข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2549 กำหนดการคิดค่าหมอไว้แค่ว่า ราคาต่ำสุด สูงสุด ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญของแพทย์  ไม่ได้กำหนดวงเงินไว้ชัดให้คิดแพงสุดต่ำสุดที่ราคาใด เมื่อข้อบังคับกำหนดแบบนี้ จึงต้องขึ้นอยู่กับการตีความ ซึ่งยากต่อการควบคุม

ส่วน "ค่ายาแพง" ประเด็นนี้น่าคิด นายกแพทยสภาเองยังยอมรับ เป็นปัญหาจริง ๆ  ค่ายาบางตัวแพงมากและเป็นเงินแฝง เช่น แอสไพริน เม็ดละ 10 สตางค์ โรงพยาบาลเอกชนขายเม็ดละ 1 บาท เพราะต้องบวกค่าเภสัชกร ค่าห้องยา ค่าไฟ ค่าแอร์สารพัด ปัญหานี้เคยคิดแก้ไขจะวาง เกณฑ์ขั้นต่ำเอาไว้ แต่ยาก็มีหลายยี่ห้อควบคุมได้ยากอีก เพราะคุณภาพไม่เหมือนกัน

"ยารักษาโรค" เป็นสินค้าที่ถูกจัดอยู่ในหมวดควบคุม ของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ แต่ที่ผ่านมาก็ควบคุมได้ยากไม่สามารถกำหนดราคาได้ตายตัว เพราะยาบางประเภทนำเข้ามาจากต่างประเทศ  มีการใช้วัตถุดิบที่ต่างกัน และยังมีค่าบริการแฝงอีก

ค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชน Pantip

ปัญหา "ค่าหมอแพง ค่ายาโหด" ที่มีปัจจัยแวดล้อมมากจนเกินควบคุมแต่หากรัฐบาลสั่งเอาจริงเอาจัง กำหนดขอบเขตค่ารักษาพยาบาลให้ชัดเจน ก็หวังว่าต่อไป ไม่ว่าจะป่วยฉุกเฉิน ป่วยหนัก หรือแค่ปวดหัวตัวร้อน ก็น่าจะใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนได้แบบสมเหตุสมผลมากขึ้น

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ชำแหละค่ารักษา รพ.เอกชน สุดโหด โขกกำไรสุดขั้ว ล้มละลาย -หมดตัว-เป็นหนี้!?

ชำแหละค่ารักษา รพ.เอกชน สุดโหด โขกกำไรสุดขั้ว ล้มละลาย -หมดตัว-เป็นหนี้!?

ช็อกตาตั้ง! ค่ารักษา รพ.เอกชนอภิมหาแพง สุดโหดขูดเลือดซิบ กำไร 600 เท่า ต่างจาก รพ.รัฐ ราวฟ้ากับเหว! หมอเตือนแอดมิท รพ.เอกชนวันเดียวหลักแสนยังเอาไม่อยู่! ปธ.เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์เผย! ผู้ป่วยหลายคนหมดตัว เป็นหนี้ตลอดชีวิต ต้องขายบ้านจ่ายค่ารักษา แฉ รพ.เอกชนแห่งหนึ่งขูดเลือดขูดเนื้อคนป่วย เรียกเก็บค่าจัดฟันทั้งที่นอนโคม่า! พณ.เดินหน้าเพิ่มค่ายา ค่าบริการทางการแพทย์ ในบัญชีสินค้าควบคุม เล็งเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์กลาง ให้ ปชช.เปรียบเทียบราคาก่อนตัดสินใจ

แพงสะพรึง! ขูดเลือดคนป่วย!?

การตีแผ่ข้อมูลสุดสะพรึงในราคาค่ารักษาของโรงพยาบาลเอกชนทำให้หลายคนที่เคยทราบอยู่แล้วว่าแพง ยิ่งช็อกเข้าไปใหญ่เมื่อรับรู้ข้อมูลล้วงลึกของ ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล ศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่เผยแพร่งานวิจัย ประเด็นค่ารักษา รพ.เอกชน ในชื่อว่า “ค่าบริการ รพ.เอกชนแพงแค่ไหน”

จากการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ พบว่า รพ.เอกชนจำนวนไม่น้อยเรียกเก็บค่าบริการแพงจริง เมื่อเปรียบเทียบรายการยากับ รพ.ศูนย์ สังกัดสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีราคาต่างกันตั้งแต่ 60-400 เท่า

วิตามินบีคอมเพล็กฉีดหลอดละ 1.50 บาท กลายเป็น 600 บาท ใน รพ.เอกชน หรือยาฉีดแก้ปวด ขนาด 50 มก. ราคา 6.50 บาท ทาง รพ.เอกชน คิดราคาแพงถึง 450 บาท ไม่รวมถึงรายการเวชภัณฑ์ไม่ใช่ยา มีราคาต่างกันตั้งแต่ 16-44 เท่า เช่น ราคาท่อดูดเสมหะชิ้นละ 10 บาท กลายเป็น 440 บาท ใน รพ.เอกชน หรือไหมเย็บแผลสีดำ ชุดละ 28.5 บาท เป็น 460 บาทใน รพ.เอกชน

นอกจากนี้ รพ.เอกชน ยังมีการตรวจวินิจฉัยเกินความจำเป็น มีการให้เลือดในคนไข้ที่ไม่จำเป็นต้องได้รับเลือด หรือกรณีคนไข้มีอาการนิ่วเฉียบพลัน แต่ส่งตรวจการทำหน้าที่ของต่อมไทรอยด์ และตรวจองค์ประกอบดีเอ็นเอ คนไข้เป็นปอดบวมจำเป็นต้องได้รับการรักษาด่วน แต่ส่งตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก คนไข้เป็นถุงลมพองกำเริบฉุกเฉิน กลับปรากฏรายการเรียกเก็บค่าสายสวนปัสสาวะ และชุดสวนล้าง

สังคมตั้งข้อสังเกตทำไมรัฐไม่เข้ามาแทรกแซงดูแลค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชน ปล่อยปละละเลยธุรกิจทางการแพทย์ให้เปิดอย่างเสรี โดยโรงพยาบาลเอกชน ที่มีเจ้าของเป็นคนคนเดียว ถูกอัปเกรดให้เป็นพรีเมียม มีการเข้าตลาดหลักทรัพย์ นั่นหมายความว่าต้องทำกำไรให้มาก โดยเห็นได้ชัดว่า จากการที่ กกร. มีมติให้นำ “ยาและเวชภัณฑ์และบริการทางการแพทย์” เป็นสินค้าและบริการควบคุม ทำให้หุ้นโรงพยาบาลภาคเอกชนได้รับผลกระทบจากแรงเทขายอย่างหนัก ส่งผลผู้ถือหุ้นรายย่อยได้รับผลกระทบจากราคาหุ้นที่ตกลง โดยประเมินว่ามูลค่าตลาดหุ้นของโรงพยาบาลเอกชนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์น่าจะหายไปเป็นหลักหมื่นล้านบาท

บวกราคายา รายได้หลัก!?

สำหรับที่มาของการที่ราคายาในโรงพยาบาลเอกชนต้อง "แพงเลือดซิบ" ราคาต่างกับโรงพยาบาลรัฐราวฟ้ากับเหว จนทำให้สังคมตั้งคำถามถึงต้นทุนราคายาอยู่ตอนนี้นั้น ผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนรายหนึ่งยอมรับว่า เนื่องจากโรงพยาบาลเอกชนมีการรวมเรื่องค่าบริการ ค่าแพทย์ ค่าจ้างบุคลากร ค่าก่อสร้างและค่าอื่นๆ ในขณะที่โรงพยาบาลรัฐไม่มีการคิดค่าดังกล่าวทำให้ค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชน จึงทำให้แพงกว่าโรงพยาบาลรัฐ

โดยกลุ่มยาที่มีราคาแพงจะเป็นกลุ่มยารักษาโรคมะเร็ง หัวใจ เบาหวาน เนื่องจากเป็นยาที่ไม่สามารถผลิตในไทยได้ทำให้ราคาแพง โดยราคายาที่ผลิตจากต่างประเทศจะสูงกว่ายาที่ผลิตในประเทศไทยมากถึง 50% ชี้กำไร โรงพยาบาล เอกชนส่วนใหญ่จะอยู่ตรงค่ายา กับค่าอุปกรณ์

ยกตัวอย่างให้เห็นชัด อย่างการผ่าตัดต้อกระจก หากเป็นโรงพยาบาล ราคาประมาณ 19,468 บาท แต่หากเป็นโรงพยาบาลเอกชน ค่ารักษาจะทะยานถึง 59,269-113,238 บาท หรือแม้แต่ผู้ป่วยที่เป็นแค่เป็นหวัดธรรมดา ยังเจอค่ารักษา ค่ายาไปเป็นหลักหมื่น!

โดยปัจจัยที่ทำให้การรักษาโรงพยาบาลเอกชนที่มีการคิดราคาสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐบาลมาก โดยเฉพาะราคายาที่โรงพยาบาลเอกชนบางแห่งมีกำไรจากราคายามากถึง 600% ขณะที่โรงพยาบาลของรัฐ หรือร้านขายยาทั่วไปมีกำไรแค่ 15-30% หนำซ้ำค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนยังมีแนวโน้มถีบตัวสูงขึ้น เพราะค่ารักษาพยาบาลปัจจุบันไม่ใช่มีแค่ค่ายากับค่าตรวจ แต่จะมี ค่าแพทย์รักษา ค่าบริการพยาบาล ค่าบริการแพทย์ ค่าบริการพยาบาล ค่ายา ค่าเครื่องมือตรวจ

แหล่งข่าวด้านเภสัชกรโรงพยาบาลเอกชน เคยยอมรับกับสื่อผู้จัดการ ว่า เป็นความจริง ที่เกิดขึ้นกับ รพ.เอกชน โดยเฉพาะการบวกราคายาซึ่งเป็นรายได้หลักโดยตรง ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลจะคิดไม่เท่ากัน โดยหลักคิด คือ ถ้าเป็นยาราคาไม่แพงนัก ก็อาจจะชาร์จมากอาจจะเป็น 5-10 เท่า แต่ ถ้าเป็นยาราคาแพงก็จะชาร์จไม่มาก แต่โดยเฉลี่ยส่วนใหญ่จะชาร์จเพิ่มเริ่มต้นที่ 30% ขึ้นไป จนไปถึง 200-300%

ปัจจุบันตัวเลขการร้องเรียนเรื่องค่ารักษาแพงมีเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ปี 59-61 มีการร้องเรียนโรงพยาบาลเอกชน กว่า 300 เรื่องในแต่ละปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องการให้บริการไม่ได้มาตรฐาน การโฆษณาเกินจริง ตามมาด้วยค่ารักษาแพโดยหากใครยังจำกันได้กับประเด็นดรามา แอดมิท 2 ชั่วโมง โดนค่ารักษาเกือบครึ่งแสน!

ผู้ใช้เฟซบุ๊ก “หมออ้อย เสือ ตัวที่สิบสอง” โพสต์ระบายอัดอั้นใจ หลังจากญาติของตน เกิดอุบัติเหตุลื่นล้มหัวฟาดพื้นจนหมดสติ จึงจำเป็นต้องนำส่งโรงพยาบาลแห่งหนึ่งที่อยู่ใกล้ที่สุด แต่เมื่อค่ารักษาออกมาก็ถึงกับอึ้ง แค่แอดมิทไป 2 ชั่วโมง แต่กลับมียอดค่าใช้จ่ายถึง 40,945 บาท

หนำซ้ำเมื่อขอทำเรื่องย้ายไปรักษาที่โรงพยาบาล ที่มีสิทธิประกันสังคม แต่ไม่ได้รับการตอบรับ จนในที่สุดต้องถอดสร้อยทองคำน้ำหนัก 3 บาท กับเงินอีก 21,000 บาท เพื่อวางมัดจำโรงพยาบาลไว้ ผู้โพสต์อัดอั้น! ทิ้งท้ายคำถาม“ถ้าคนไม่มีเงินสงสัยปล่อยให้ตาย...นี่หรือหมอนี่หรือโรงพยาบาลที่คอยช่วยคน”

ระวังหายนะ! ไม่รวยจริง ห้ามเข้า

“ด้วยความปรารถนาดี ถ้าไม่ได้รวยล้นเหลือจริงๆ เจ็บป่วยหนักๆ ขึ้นมา อย่าไป รพ.เอกชน คุณเอาไม่อยู่หรอกค่ารักษา มา รพ.รัฐเถอะ ถึงจะไม่ได้หรูหราแบบเอกชน แต่เราก็มีมาตรฐานที่ช่วยชีวิตคนไข้ได้โดยไม่ต้องหมดเนื้อหมดตัวนะครับ"

วิทวัส ศิริประชัย อดีตแพทย์ประจำโรงพยาบาลเกาะลันตา บล็อกเกอร์ชื่อดังเจ้าของเว็บไซต์ Drama Addict ออกโรงเตือนระวังหมดตัว ถูกฟ้องเป็นหนี้เพราะไม่มีเงินจ่ายค่ารักษา ยันจากประสบการณ์ที่ประสานงานระหว่างเคสที่มาขอความช่วยเหลือกับ สปสช. พบว่าคนไทยจำนวนไม่น้อย พอเจ็บป่วยหนักก็รีบไป รพ.เอกชนเลย โดยข้าใจว่าอยากได้การรักษาแบบดีสุดๆ เพื่อให้คนไข้มีโอกาสรอดมากที่สุด ซึ่งหายนะจะตามมาหลังจากนั้น

แนะควรรักษาโรงพยาบาลรัฐ อย่าประเมินค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชนต่ำ ชี้แอดมิทโรงพยาบาลเอกชนหรูๆ บางที่วันหนึ่งหลักแสนยังเอาไม่อยู่ ระวังหมดตัว อย่าให้สายเกินไป เพราะการส่งตัวจากโรงพยาบาลเอกชน ไปโรงพยาบาลรัฐสุดยาก กว่าจะหาเตียงได้ ระหว่างนั้นค่ารักษาที่โรงพยาบาลเอกชนก็จะทบไปเรื่อยๆ กว่าจะถึงวันที่ย้ายได้ ก็มีหนี้สินติดที่โรงพยาบาลเอกชนหลักล้าน!

สอดคล้องกับ ปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านทีม MGR Live ยันผู้เสียหายจากค่ารักษาของโรงพยาบาลเอกชนที่แพงเกินจริงเพียบ เผยบางคนโดนเรียกเก็บค่าใช้จ่ายสูงลิ่วทั้งที่เกิดจากความผิดพลาดของ รพ.เอกชน อึ้ง! ในบิลมีค่าจัดฟัน ทั้งที่นอนป่วยโคม่า! อีกทั้งผู้ป่วยบางรายต้องขายบ้านเพื่อมาจ่ายค่ารักษา สิ้นเนื้อประดาตัว

“อย่างกรณีคุณโด่ง โพธิบุตร โอสายไทย เจ้าของร้านทองใน อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น ที่พาพี่ชายเข้ารักษาโรคถุงลมโป่งพอง แล้วช็อกใน รพ.จนนอนโคม่า คุณโด่งสงสัยว่าค่ารักษาพี่ชายที่สูงนั้นเกิดจากความผิดพลาดของ รพ.เอกชนแห่งหนึ่งใน จ.ขอนแก่น จึงจ่ายไปส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่จ่ายจนกว่าจะพิสูจน์ อีกทั้งในบิลค่ารักษามีค่าจัดฟัน ทั้งที่พี่ชายนอนโคม่า เมื่อทักท้วงก็ทำเพียงลบรายการออก

ส่วนอีกราย อดีต สว.ระยอง พี่สาวของภรรยาเข้าโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งย่านวิภาวดี ด้วยอาการเส้นเลือดในสมองแตก แต่ทาง รพ.รายงาน สพฉ.ว่าไม่ฉุกเฉินวิกฤต เรียกเก็บค่ารักษาที่สูงลิ่ว เฉพาะค่าหมอก็แสนกว่าบาท”

ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เผยต่อว่ายังมีกรณีที่โดนฟ้องจนหมดตัว ต้องขายบ้าน เพื่อนำเงินไปจ่ายค่ารักษา นอกจากนี้ ยังมีคนไข้ที่ต้องนำโฉนดไปมอบให้ทนายของ รพ.เอกชน เป็นค่ารักษา

“ดิฉันเห็นด้วยกับการเพิ่มค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ และค่าบริการทางการแพทย์ ในบัญชีสินค้าควบคุม แต่การแก้ปัญหาจะทำอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ เห็นว่าควรทำควบคู่กันไป 2 ทาง คือ

1.คุมแบบมีเพดานให้ รพ.เอกชนอยู่ได้ และ 2.มีหน่วยงานกลางที่เป็น One Stop Service ช่วยประชาชนตรวจสอบกรณีสงสัยว่าถูกคิดเกินจริง เช่น ถูกบวกรายการที่ไม่ได้ใช้ในบิล, ค่ารักษาที่สูงนั้นเกิดจากความผิดพลาดของทางโรงพยาบาลเอง ซึ่งประชาชนกว่า 5 หมื่นคนได้ร่วมกันลงชื่อเรียกร้องให้มีคณะกรรมการกลางตรวจสอบค่ารักษาพยาบาล ผ่าน Change.org แล้ว"

          https://mgronline.com/live/detail/9620000004321

          ที่มา  :  ผู้จัดการออนไลน์ ( 13 มค. 2562  :  20.31น. )