กฎหมายกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ 2565

ถูกหักเงินส่วนหนึ่งของค่าจ้างเข้าสู่กองทุนในทุก ๆ เดือน  เรียกว่า “เงินสะสม” โดยหักเงินสมทบเข้ากองทุนอยู่ที่ 2-15% ของเงินเดือน 

นายจ้าง 

จ่ายเงินอีกหนึ่งส่วนเข้าสู่กองทุนเป็นประจำทุกเดือนเช่นเดียวกัน เรียกว่า “เงินสมทบ” โดยจ่ายในอัตราไม่ต่ำกว่า 2-15% ของเงินค่าจ้าง 

สมัครบัตรเครดิต เสริมสภาพคล่องทางการเงิน…ที่นี่

กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กฎหมายใหม่

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพล่าสุดได้มีการร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ โดยเป็นในส่วนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับ (กบช.) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ 

  1. การจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) ต้องเป็นหน่วยงานของรัฐและมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับสำหรับแรงงานในระบบทั้งลูกจ้างเอกชน ลูกจ้างชั่วคราวของราชการ พนักงานราชการ เจ้าหน้าที่องค์การมหาชน และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยได้รับผลประโยชน์ในรูปแบบการจ่ายบำเหน็จบำนาญ โดยรายได้ของ กบช. ไม่ต้องนำส่งคลัง
  2. กำหนดให้ลูกจ้างที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และไม่เกิน 60 ปี (ที่ไม่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) โดยกำหนดให้ลูกจ้างและนายจ้างส่งเงินสมทบ แบ่งเป็น ปีที่ 1-3 ไม่น้อยกว่า 3% ของค่าจ้าง ปีที่ 4-6 ไม่น้อยกว่า 5% ของค่าจ้าง ปีที่ 7-9 ไม่น้อยกว่า 7% ของค่าจ้าง ปีที่ 10 เป็นต้นไป ไม่น้อยกว่า 7-10% ของค่าจ้าง กำหนดค่าจ้างสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาทต่อเดือน กรณีลูกจ้างเงินเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท ให้นายจ้างส่งเงินฝ่ายเดียว หากลูกจ้างและนายจ้างต้องการส่งเพิ่ม สามารถส่งเพิ่มได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของค่าจ้าง 
  3. การรับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับ (กบช.) เมื่อสมาชิกอายุครบ 60 ปี สามารถเลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญรายเดือนได้เป็นระยะเวลา 20 ปี รูปแบบการคืนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดังนี้ 
  • กรณีเลือกบำเหน็จ ได้รับเงินเท่ากับจำนวนเงินสะสมที่ลูกจ้างส่งและเงินสมทบจากนายจ้างรวมถึงผลตอบแทนจากการลงทุน 
  • กรณีเลือกบำนาญ แต่ต้องการเปลี่ยนเป็นบำเหน็จสามารถทำได้ เช่น รับบำนาญแล้ว 5 ปี ต้องการเปลี่ยนเป็นรูปแบบบำเหน็จ สามารถรับเงินเท่ากับเงินบำนาญ 15 ปีที่เหลือ 
  • กรณีที่ทุพพลภาพหรือเจ็บป่วยจนใกล้ถึงแก่ชีวิตก่อนครบอายุ 60 ปี หากออกจากงานต้องการขอรับเงินสะสมเงิน สมทบบางส่วนหรือทั้งหมดก็สามารถทำได้เช่นกัน 

เช็คยอดกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ผ่านช่องทางไหนได้บ้าง

กฎหมายกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ 2565

ยอดกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ

สำหรับช่องทางในการเช็คยอดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขึ้นอยู่กับธนาคารที่เข้าร่วมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยส่วนใหญ่สามารถตรวจเช็คยอดได้ดังนี้