วัตถุประสงค์การออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

วัตถุประสงค์การออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

Show

18 เมษายน 2563

ลูกจ้างเฮ…. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 7 พ.ศ.2562 ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาแล้ว และจะมีผลในอีก 30 วันนับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (วันที่ 5 เมษายน 2562)

ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาแล้ว สำหรับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 7 พ.ศ.2562  และจะมีผลในอีก  30 วันนับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (วันที่ 5 เมษายน 2562) พระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้มีการปรับเปลี่ยนเรื่องสิทธิประโยชน์สำคัญของลูกจ้างดังต่อไปนี้

1.หากมีการเปลี่ยนแปลงนายจ้างทำให้ต้องไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง    

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนายจ้าง หรือกรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคลแล้วมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง โอน หรือควบรวมกับนิติบุคคลใด มีผลให้ต้องไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง สำหรับสิทธิต่าง ๆ ของลูกจ้างที่มีอยู่ต่อนายจ้างยังคงสิทธิต่อไปโดยนายจ้างใหม่ต้องรับไป

2.มีสิทธิลาเพื่อกิจธุระจำเป็น โดยนายจ้างจ่ายค่าจ้างตามปกติปีละไม่เกิน 3 วันทำงาน

            จากเดิมมาตรา 34 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจําเป็นได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน  แต่ไม่มีมีการกำหนดจำนวนวันและการจ่ายค่าจ้างไว้

3.ลูกจ้างหญิงลาคลอดบุตรและลาตรวจครรภ์ก่อนคลอดได้ 98 วัน

ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์สามารถลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรได้ ให้ถือเป็นวันลาเพื่อคลอดบุตรได้ไม่เกิน 98 วัน โดยให้นับรวมวันหยุดช่วงลาที่ลาด้วย สำหรับค่าจ้างจะได้รับจากนายจ้างไม่เกิน 45 วัน

4.เพิ่มอัตราค่าชดเชยให้ลูกจ้างที่ทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป โดยได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 400 วัน

อัตราชดเชยการเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด มีดังนี้

  • ทำงานครบ 120 วันแต่ไม่ถึง 1  ปี  ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 30 วัน
  • ทำงานครบ 1 ปีแต่ไม่ถึง 3  ปี  ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 90 วัน
  • ทำงานครบ 3 ปีแต่ไม่ถึง 6  ปี  ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้าง  180  วัน
  • ทำงานครบ 6 ปีแต่ไม่ถึง 10  ปี  ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้าง  240  วัน
  • ทำงานครบ 10 ปีแต่ไม่ถึง 20  ปี  ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้าง  300  วัน
  • ทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป  ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้าง  400  วัน

5.การย้ายสถานประกอบกิจการใหม่ หากลูกจ้างไม่ต้องการไปทำงานที่ใหม่ตามนายจ้าง สามารถยกเลิกสัญญาจ้างได้ โดยได้รับค่าชดเชยตามสิทธิ

  • นายจ้างต้องปิดประกาศให้ทราบอย่างชัดเจนติดต่อกัน ไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนย้ายสถานประกอบการ หากไม่มีการปิดประกาศต้องจ่ายชดเชยให้กับพนักงานที่ไม่ไปทำงานที่ใหม่เท่ากับค่าจ้าง 30 วัน หรือค่าจ้างของการทำงาน 30 วันสุดท้าย
  • ลูกจ้างที่ไม่ต้องการไปทำงานที่ใหม่ตามนายจ้าง ต้องแจ้งเป็นหนังสือกับนายจ้างภายใน 30 วันหลังมีประกาศ จึงจะสามารถยกเลิกสัญญาจ้างได้โดยได้รับค่าชดเชยตามสิทธิ

6.กรณีจ่ายค่าตอบแทนเกินเวลาปกติ  นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ย 15% ต่อปี

หากนายจ้างคืนเงินหลักประกัน จ่ายเงินบอกเลิกสัญญาจ้าง เงินค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าชดเชย และตอบแทนต่าง ๆ เกินเวลาปกติ นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดให้กับลูกจ้าง 15% ต่อปี

7.ค่าตอบแทนลูกจ้างชาย-หญิงเท่ากัน

ให้นายจ้างกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ในอัตราเท่ากันทั้งลูกจ้างชายและหญิงสำหรับงานที่มีค่าเท่าเทียมกัน

ข้อมูลอ้างอิง  พระราชกิจจานุเบกษา

++++++++++++++++++++++++

พนักงานหรือแรงงานทุกคนมีสิทธิในการลางาน แต่ว่าจะต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดตามเงื่อนไขของบริษัทและภายใต้กฎหมายแรงงานด้วย เราจะลาหยุดไปเองแบบสุ่มสี่สุ่มห้านั้นไม่ได้ โดนเตือนและถูกเชิญออกได้เร็วแน่นอนหากทำแบบนั้น
วันลา คือ วันที่ลูกจ้างนั้นใช้สิทธิในการลาหยุดงานได้อันเนื่องจากเหตุต่าง ๆ โดยต้องได้รับการอนุญาตจากนายจ้าง ไม่ว่าจะลาอะไรก็ตาม ก็มีทั้ง ลาป่าย ลากิจ ลาไปพัฒนาตัวเอง ลาคลอด ฯลฯ มาดูกันว่าสิทธิในการลาในแต่ละอย่างตามกฎหมายแล้วเป็นแบบไหน จะได้ทำตามกฎได้อย่างถูกต้อง

1. การลาป่วย

สำหรับการลาป่วยตามมาตรา 32 นั้นลูกจ้างมีสิทธิลาได้เท่าที่ป่วยจริง ๆ หากป่วยและลาตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ที่เป็นวันทำงานจะต้องแสดงใบรับรองแพทย์ หากในกรณีที่แสดงไม่ได้ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 30 วัน/ปี 

ตามมาตรา 57 นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 57 นี้จะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท ตามมาตรา 146 ฉะนั้นแล้วในการลาป่วยก็ต้องทำให้ถูกกฎหมายแรงงานด้วย บางกรณีเราก็ยังได้รับค่าจ้างอยู่เหมือนเดิม

2. การลาไปทำหมัน

เป็นสิทธิที่ลูกจ้างสามารถลาได้เพื่อการทำหมัน ระยะเวลาขึ้นอยู่กับข้อกำหนดและการออกใบรับรองแพทย์ ให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนในวันลาเพื่อทำหมันเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา ตามใบรับรองแพทย์ (มาตรา 57) นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 57 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 146)

3. การลากิจ (ธุระอันจำเป็น)

การลาแบบนี้เอาไว้ใช้ในการกรณีที่มีเรื่องฉุกเฉินเร่งด่วนจำเป็นจะต้องลา พนักงานก็สามารถใช้สิทธิในการลากิจได้เพื่อไปทำธุระจำเป็น ซึ่งการลากิจไปทำอะไรนั้นก็จะต้องเป็นธุระที่คนอื่นไม่สามารถจะทำแทนได้ 

และต้องเป็นการลาภายใต้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและตามกฎหมายแรงงาน ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันเพื่อกิจธุระอันจำเป็น เท่ากับในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 3 วัน/ปี หากนายจ้างไม่จ่าย อาจจำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4. ลาเพื่อรับราชการทหาร

หลายบริษัทเลยมักจะรับพนักงานที่ผ่านการเกณฑ์ทหารมาแล้วเพื่อเลี่ยงการที่พนักงานจะใช้วันลาข้อนี้นั่นเอง ตามมาตรา 35 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อรับราชการทหารเพื่อฝึกวิชาชีพทหารได้ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อรับราชการทหารเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ตลอดระยะเวลาที่ลาแต่ไม่เกิน 60 วัน/ปี (มาตรา 58) นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 58 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท  (มาตรา 146)

5. การลาเพื่อไปพัฒนาความรู้

ตามมาตรา 36 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ ความสามารถได้ไม่เกิน 30 วันหรือ 3 ครั้ง/ปี ซึ่งลูกจ้างจะต้องมีหลักสูตรและกำหนดวันเวลาที่แน่นอนชัดเจน ลูกจ้างต้องแจ้งต่อนายจ้างไม่น้อยกว่า 7 วันให้ถือเป็นการลาโดยไม่ได้รับค่าจ้าง ซึ่งก็ต้องดูเป็นกรณีไป 

6. การลาเพื่อคลอดบุตร

ตามมาตรา 41 ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรไม่เกิน 98 วัน/ปี ยื่นคำขอเพื่อลาคลอดล่วงหน้าพร้อมใบรับรองแพทย์ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา ไม่เกิน 45 วัน (มาตรา 59) นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 59 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 146)

ตามกฎหมายแรงงานแล้วการลาทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นพนักงานก็มีสิทธิในการใช้วันลาตามเหตุสมควร หากบริษัทไหนไม่ให้ลาก็จะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย นอกจากการมีสิทธิลาแล้วในกรณีอย่างอื่นกฎหมายคุ้มครองแรงงานก็ช่วยได้อย่างกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทน จ่ายแต่ไม่ครบ หรือกรณีที่พนักงานเองทำผิดก็มีบทลงโทษอย่างสมควรเช่นกัน