เครื่องมือหินกะเทาะ แหล่ง ที่พบ

         2. งานแกะสลักและงานปั้น  ปลายสมัยหินเก่ามีรูปปั้นและแกะสลักจากหินกระดูก  และดินเหนียวเป็นรูปสัตว์ต่างๆ  และที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ  รูปปั้นผู้หญิงที่เน้นตรงหน้าอก  ตะโพก  และก้นแขนขาเล็ก  ซึ่งนักโบราณคดีเรียกว่า "วีนัสแห่งวิลเลนดอฟ"  สันนิษฐานว่าคงเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์

ยุคหินกลาง (Mesolithic Age)
              การค้นพบหลักฐานของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินในช่วงเวลาต่อมา เป็นเครื่องมือหินกะเทาะที่ประณีต ขนาดเล็ก ลง ไม่หยาบใหญ่และหนักเช่นยุคแรก เครื่องมือแบบนี้เรียกว่า เครื่องมือแบบฮัวบินเนียน (Hoabinhian) ตามแหล่งโบราณคดีที่พบ เครื่องมือแบบนี้ครั้งแรกคือฮัวบินห์ (Hoa Binh) ประเทศเวียดนาม ชนิดของเครื่องมือจะมีหลายรูปแบบและใช้งานเฉพาะด้าน มากกว่ายุคก่อน เช่น เครื่องมือปลายแหลม เครื่องมือขูด เครื่องมือทำจากสะเก็ดหินรวมทั้งมีการนำเปลือกหอยและกระดูกสัตว์ มาทำเป็นเครื่องมือสำหรับเจาะและขูด เป็นต้น
             นอกจากเครื่องมือเครื่องใช้แล้วยังพบ กระดูกสัตว์ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ เช่น เก้ง กวาง หมู กระทิง ควายป่า เสือ หมี ลิง ค่าง กระจง กระรอก หนู จระเข้ เต่า หอย ปู ปลา ชนิดต่างๆ ซากพืช เช่น ไผ่ ถั่ว สมอ และพบ โครงกระดูกของมนุษย์ ถูกฝังนอน งอเข่า มีแผ่นหินวางทับร่างมีดินแดงโรยอยู่บนร่าง และมีการฝังเครื่องเซ่นร่วมกับศพ
              ในช่องยุคหินกลางนี้ สภาพแวดล้อมไม่แตกต่างจากยุคปัจจุบันเท่าใดนักจากการสิ้นสุดยุคน้ำแข็งทำให้ระดับน้ำทะเล ค่อยๆ สูงขึ้น ทำให้ดินแดนบางส่วนจมลงเกิดหมู่เกาะต่างๆ ขึ้นมนุษย์ในยุคนี้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในถ้ำเพิ่งผาและสร้างกระท่อมอยู่ริม น้ำ ชายฝั่งทะเลและริมทะเลดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ การจับสัตว์น้ำ การเก็บพืชเมล็ดพืชและผลไม้ป่าเป็นอาหารอพยพโยกย้าย ที่อยู่อาศัยไปอยู่ในที่ที่มีอาหารมากพอและอุดมสมบูรณ์
             การรวมกลุ่มสังคมในยุคนี้จะมีมากขึ้น มีพิธีฝังศพแสดงให้เห็นความเชื่อในชีวิตหลังความตายและความสัมพันธ์ของคน ตายกับคนที่ยังมีชีวิตอยู่ จากการกำหนดอายุพบว่ามนุษย์ในยุคนี้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนประเทศไทยเมื่อประมาณ 13,000-6,000 ปี มาแล้ว
             แหล่งโบราณคดียุคหินกลางที่สำคัญได้แก่ ถ้ำหลังโรงเรียนและถ้ำหมอเขียว จังหวัดกระบี่ ถ้ำผีแมน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ถ้ำไทรโยค ถ้ำองบะ ถ้ำเม่น จังหวัดกาญจนบุรี ถ้ำใกล้เขาจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ดอยถ้ำเขาพระ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เขาสนามแจง อำเภอบ้านหรี่ จังหวัดลพบุรี และเนินใกล้ถ้ำฤๅษี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
              ถ้ำผีหรือถ้ำผีแมน เป็นถ้ำเพิงผาขนาดเล็กบนภูเขาในเขตวนอุทยานถ้ำลอด ตำบลสบป่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้พบหลักฐานทางโบราณคดียุคหินกลาง อายุระหว่าง 13,000-7,500 ปีมาแล้ว ได้แก่ เครื่องมือหินกะเทาะแบบฮัวบินเนียน ซาก สัตว์ ซากพืช นอกจากนี้ยังพบหลักฐานแสดงความต่อเนื่องถึงยุคหินใหม่ ได้แก่ ขวานหินขัด และเศษภาชนะดินเผาแสดงให้เห็น สภาพชีวิตของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ถ้ำผีซึ่งเริ่มจากการตั้งถิ่นฐานชั่วคราว ล่าสัตว์ จับสัตว์น้ำและเก็บอาหารกินมาสู่ การเริ่มต้นทำการเกษตร

ที่มา :http://www.baanjomyut.com/library/stone_age/02.html

เครื่องมือหินกะเทาะ แหล่ง ที่พบ

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2017 ผู้ชม 1,281

[16.4880015, 99.520214, หินลับเครื่องมือ]

ชื่อโบราณวัตถุ :   หินลับเครื่องมือ
           แบบศิลปะ :   สมัยก่อนประวัติศาสตร์
           ชนิด :   สำริด
           อายุสมัย :  สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (อายุประมาณ 2,500-1,500 ปีมาเเล้ว)
           ลักษณะ :    เครื่องมือหินกะเทาะที่มีลักษณะหยาบใหญ่หนากะเทาะเพียงด้านเดียวหรือสองด้านไม่มีการฝนให้เรียบ  คม
           ประโยชน์ใช้สอย :   ใช้ลับอาวุธ
           ประวัติ :  สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยังไม่มีตัวอักษรใช้บันทึกเรื่องราวนักโบราณคดีจะศึกษาเรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์โดยอาศัยหลักฐานทางโบราณคดี  เช่น โครงกระดูกมนุษย์เครื่องมือเครื่องใช้อาวุธต่างๆ เครื่องมือหิน เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับตลอดจนถ้ำเพิงพาภาพวาดที่มนุษย์อยู่อาศัยและวาดไว้ เป็นต้น และเนื่องจากสมัยก่อนประวัติศาสตร์มี อายุยาวนานมากนักโบราณคดีจึงต้องมีการแบ่งเป็นสมัยย่อย โดยใช้หลักเกณฑ์สำคัญ คือ ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการทำเครื่องมือเครื่องใช้เป็นหลักในการแบ่ง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ยุคใหญ่ๆ คือ ยุคหินกับยุคโลหะ
           สถานที่พบ :  โบราณคดีเขากะล่อน บ้านหาดชะอม ตำบลท่าพุทรา อำเภอขานุวรลักษบุรี  จังหวัดกำเเพงเพชร
           สถานที่จัดแสดง :   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  กำเเพงเพชร

ภาพโดย :   http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/kamphaengphet

คำสำคัญ : หินลับเครื่องมือ

ที่มา : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/kamphaengphet

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). หินลับเครื่องมือ. สืบค้น 8 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=347&code_db=610012&code_type=01

เครื่องมือหินกะเทาะ แหล่ง ที่พบ

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=347&code_db=610012&code_type=01

เครื่องมือหินกะเทาะอยู่ในสมัยใด

3.1 ยุคหินเก่า 500,000–10,000 ปีมาแล้ว หลักฐานเก่าแก่ที่มีการค้นพบ ได้แก่ เครื่องมือหินกะเทาะ เป็นเครื่องมือของมนุษย์โบราณพวก โฮโมอีเรกตัส (Homo erectus) มนุษย์ในยุคนี้ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ รู้จักใช้ไฟ ไม่มีถิ่นฐานที่แน่นอน พบหลักฐานว่าอาศัยตามถ้ำ

เครื่องมือแบบฮัวบิเนียนค้นพบที่ไหน

3. กลุ่มเครื่องมือแบบฮัวบิเนียน (Hoabinhian) ตามแหล่งที่พบชื่อ “ฮัวบินห์” อยู่ทางใต้ของฮานอยในเวียดนามเหนือซึ่งพบก่อนที่อื่น แต่ไม่ได้หมายความว่าเครื่องมือหินแบบนี้ซึ่งพบในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ จะได้รับอิทธิพลมาจากเวียดนามหรือจำเป็นจะต้องมีอายุน้อยกว่าที่พบในประเทศนั้นเสมอไป

หินกะเทาะ ใช้ทําอะไร

ลักษณะ : เครื่องมือหินกะเทาะที่มีลักษณะหยาบใหญ่หนากะเทาะเพียงด้านเดียวหรือสองด้านไม่มีการฝนให้เรียบ คม ประโยชน์ใช้สอย : ใช้ลับอาวุธ

ขวานหินขัดพบที่ใด

จากการศึกษาทางโบราณคดีทำให้ทราบว่า ขวานหินขัด หรือขวานฟ้า เป็นเครื่องมือของคนในอดีต ซึ่งพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย ในภาคใต้มีการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดี ซึ่งพบขวานหินขัดในหลายจังหวัด เช่น นครศรีธรรมราช สตูล สงขลา และชุมพร เป็นต้น สำหรับการใช้งานขวานหินขัดนั้น คนในสมัยก่อนคงจะใช้ขวานหินขัดเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการ ...