หนังสือรับสภาพหนี้ ไม่มี พยาน

ทนายความคดีลูกหนี้รับสภาพหนี้ หนังสือรับสภาพความผิด

การรับสภาพหนี้  คดีลูกหนี้รับสภาพหนี้ หรือ รับสภาพควาผิด

โดยปกติแล้ว เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องลูกหนี้ได้ภายในอายุความที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะมีอายุความแตกต่างกันไปตามประเภทของมูลหนี้นั้น ๆ ได้ แต่หนี้บางอย่าง นั้นหากไม่ให้ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพเอาไว้ก็อาจเป็นการยากต่อการดำเนินคดี ในแง่ของข้อกฎหมาย หรือพยานหลักฐาน เช่น ในกากู้ยืมเงินเกินกว่า ๒,๐๐๐ บาท เจ้าหนี้ไม่ได้ให้ลูกหนี้ทำสัญญาลงลายมือชื่อเอาไว้ ย่อมไม่อาจฟ้องร้องเอาเงินคืนได้ตามกฎหมาย ดังนี้ เจ้าหนี้จะต้องให้ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้หรือทำสัญญาไว้ภายหลัง จึงจะใช้ฟ้องร้องดำเนินคดีได้ หรือในกรณีหนี้ที่ขาดอายุความไปแล้ว แม้ตามกฎหมายยังสามารถฟ้องร้องได้เพราะหากลูกหนี้ไม่ต่อสู้เรื่องอายุความแล้วศาลจะยกอายุความขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ก็ตาม แต่ก็เป็นการเสี่ยงและมีโอกาสสูงที่เจ้าหนี้จะไม่ได้รับชำระหนี้ ดังนั้นการทำหนังสือรับสภาพความผิดไว้ย่อมเป็นเรื่องสำคัญ อีกทั้ง หนังสือรับสภาพหนี้นั้นยังเป็นพยานหลักฐานชั้นดีในการฟ้องร้องอีกด้วย 

การรับสภาพหนี้หรือรับสภาพความผิด นั้นอาจเข้าใจว่าเหมือนกัน แต่ในทางกฎหมายนั้นมีแง่มุ่มความแตกต่างอยู่ในข้อกฎหมาย กล่าวโดยสรุปคือ

 ๑.กรณีรับสภาพหนี้มีได้เฉพาะภายในกำหนดอายุความ กล่าวคือจะต้องทำกันก่อนที่หนี้นั้นจะขาดอายุความ ซึ่งจะมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลง และเริ่มนับอายุความใหม่นับแต่นั้น ด้วย

 ๒กรณีรับสภาพหนี้หลังจากคดีขาดอายุความ การรับสภาพหนี้เป็นหนังสือ ภายหลังหนี้ขาดอายุความ เรียกว่า "การรับสภาพความผิด"  เป็นการที่ลูกหนี้สละประโยชน์แห่งอายุความที่ขาดไปแล้ว ทำให้ ลูกหนี้ยังต้องรับผิดตามหนังสือรับสภาพความผิดนั้น โดยมีกำหนดอายุความ ๒ ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความผิดซึ่งต่างกับการรับสภาพหนี้ที่ยังไม่ขาดอายุความ

หลักกฎหมาย

มาตรา 193/14   อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในกรณีดังต่อไปนี้
               (1) ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้ ชำระหนี้ให้บางส่วน ชำระดอกเบี้ย ให้ประกัน หรือกระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยาย ว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง
               (2) เจ้าหนี้ได้ฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้
               (3) เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
               (4) เจ้าหนี้ได้มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา
               (5) เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี
มาตรา 193/15   เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้วระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ
              เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใดให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น


เรียบเรียงโดย กอบเกียรติ เอี่ยมสงวน( ทนายความ)

Visitors: 70,166

การมีความรู้เรื่องกฎหมาย ช่วยให้เรารู้สิทธิและหน้าที่ของตัวเราภายใต้กฎหมายเดียวกัน และไม่ถูกเอาเปรียบจากการเสียค่าธรรมเนียมจากเจ้าหนี้ นอกจากนี้ ความรู้ทางกฎหมาย ยังช่วยให้เรานำไปใช้ต่อสู้ในชั้นศาล เพื่อหาทางออกในการแก้หนี้ได้ดีสุด โดยปกติแล้ว ลูกหนี้ที่ไม่ยอมชำระหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิ์ตั้งฟ้องร้องได้ภายในอายุความ บทความวันนี้เลยตั้งใจรวบรวมข้อมูลของ หนังสือรับสภาพหนี้ มาแบ่งปันให้คนที่กำลังหาข้อมูลได้ลองศึกษากันดู

อายุความของคดีบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และ บัตรกดเงินสด

  1. ในคดีบัตรเครดิต เมื่อถึงกำหนดลูกหนี้ ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด อายุความจะเริ่มนับทันทีในวันถัดไป จนมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193 / 34 (1), (7)
  2. ประเภทสินเชื่อส่วนบุคคล ที่มีข้อตกลงการให้บริการสินเชื่อ ลักษณะเป็นสัญญากู้ยืมเงินที่มีการผ่อนเงินต้นคืน พร้อมดอกเบี้ยเป็นงวดๆ บัตรเครดิตประเภทนี้ จะมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193 / 33 (2) ประกอบคำพิพากษาฎีกา ที่ 6854 / 2553
  3. บัตรกดเงินสด ที่มีข้อตกลงการให้บริการสินเชื่อ ลักษณะเป็นสัญญากู้ยืมเงิน แบบไม่ต้องผ่อนต้นเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยเป็นงวดๆ และไม่มีลักษณะเป็นการออกเงินทดรอง บัตรกดเงินสด ประเภทนี้จะมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193 / 30 ประกอบคำพิพากษาฎีกาที่ 4088 / 2560

โดยปกติเจ้าหนี้ จะฟ้องลูกหนี้ภายในอายุความที่กฎหมายกำหนด แต่อยู่ดีๆ เจ้าหนี้มาขอให้ลงชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้ จุดนี้คุณต้องสอบถามเจ้าหนี้ให้ทราบเหตุผลก่อนว่า ทำไมเราถึงต้องเซ็นหนังสือรับสภาพหนี้ในตอนนั้น เพราะการที่เราเซ็นหนังสือรับสภาพหนี้ ในเวลาที่แตกต่างกัน ย่อมมีผลทางกฎหมายแตกต่างกัน ยิ่งหากเจ้าหนี้ปล่อยให้คดีขาดอายุความฟ้องร้อง หรือ ทำหลักฐานในการกู้สูญหายไปแล้ว ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องก็สามารถยื่นเรื่องสู้คดีให้ไม่ต้องใช้หนี้ได้

ทำ หนังสือรับสภาพหนี้ ในเวลาที่แตกต่างกัน มีผลอย่างไร

1.กรณีการทำหนังสือรับสภาพหนี้ ในระหว่างอายุความจะต้องทำกันก่อนที่จะขาดอายุความ ซึ่งมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลง การที่อายุความจะสะดุดหยุดลงนั้น มีหลายแบบ ตัวอย่างเช่น ลูกหนี้ยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้ หรือชำระหนี้ (มาตรา 193 / 16 หนี้ใดซึ่งตามมูลแห่งหนี้นั้น เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้เป็นคราวๆ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ในเวลาใดเวลาหนึ่ง ก่อนอายุความครบบริบูรณ์เพื่อเป็นหลักฐานว่า อายุความสะดุดหยุดลง) ทำให้อายุความในการตั้งการฟ้องร้องหยุดลง กลับไปนับตามอายุความเดิมหนี้สินทั้งหมดที่เราอยู่กับทางเจ้าหนี้ยังคงต้องผ่อนชำระเหมือนเดิม

2.กรณีชำระหนี้บางส่วน หรือรับสภาพหนี้หลังจากคดีขาดอายุความ กรณีถ้าชำระหนี้บางส่วนหลังจากคดีขาดอายุความ เพราะหนี้ที่เราชำระไปแล้วนั้น จะเป็นจำนวนมากหรือน้อย ไม่สามารถเรียกคืนได้ แต่หนี้ส่วนที่ยังไม่ได้ชำระ ลูกหนี้ยังต่อสู้ อ้างว่าขาดอายุความแล้วเพื่อปฏิเสธการชำระหนี้ได้ ถ้ารับสภาพหนี้เป็นหนังสือหรือให้ประกัน ภายหลังหนี้ขาดอายุความ อันที่จริง น่าจะถือว่าเป็น “การรับสภาพความผิด” มากกว่า เพราะเท่ากับว่า ลูกหนี้สละประโยชน์เรื่องอายุความแล้ว ลูกหนี้ก็ต้องรับผิดชอบตามหนังสือรับสภาพความผิดนั้น โดยกฎหมายกำหนดให้มีอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความผิดหรือให้ประกัน (กรณีนี้กฎหมายกำหนดอายุความไว้ชัดเจนว่า 2 ปี จึงไม่ใช่ถือตามอายุความเดิมดังเช่นกรณีอายุความสะดุดลง เพราะนั่นเป็นการทำหนังสือรับสภาพหนี้ก่อนขาดอายุความ)

ดังนั้น การหาความรู้ทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับหนี้ จึงเป็นหน้าที่ของคนที่มีหนี้ที่ควรจะศึกษา ควบคู่กันกับเจรจากับเจ้าหนี้ อย่าหลีกหนี้ปัญหาการเจรจาพร้อมกับการหาความรู้ เพื่อเติมดูจะเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อไม่ให้ใครมาเอาเปรียบในสิทธิของเราตามกฎหมาย และเราก็จะต้องเคารพสิทธิของผู้อื่นตามกฎหมายด้วยเช่นกัน

หนังสือรับสภาพหนี้ ไม่มี พยาน

น่ารู้ ... เทคนิคปลดหนี้ ทันใจคนสมัยใหม่

การปรับเปลื่ยนแนวคิดและวิธีการปฏิบัติ

“ให้เงินทำงานแทน” หรือ พูดง่ายๆ ก็คือการนำเงินที่หามาได้บางส่วนไปลงทุน โดยเลือกการลงทุนในรูปแบบต่างๆ ที่คุณมองแล้วว่า มีแนวโน้มจะได้รับผลตอบแทนที่สูง หากคุณสามารถทำได้ เรื่องการลดหนี้หรือปลดหนี้ก็เป็นเรื่องง่ายๆ แถมยังช่วยให้คุณมีเงินเก็บมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย

เปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตใหม่เพื่อให้ห่างไกลการเป็นหนี้

เปลี่ยนตัวเองเป็นคนใหม่ ใช้จ่ายเท่าเดิมหรือน้อยกว่าเดิม แม้ว่าจะมีเงินเข้ามามากเท่าไรก็ตาม เพื่อให้คุณมีเงินเหลือเก็บไว้ใช้ในอนาคตมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่คุณสามารถลดหนี้หรือปลดหนี้ได้ช้าหรือเร็ว ก็ขึ้นอยู่กับความมีระเบียบวินัยของคุณเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำงาน หรือเรื่องใช้จ่าย หรือการหารายได้ คุณก็ควรปฏิบัติให้อยู่ในขอบเขต และข้อจำกัดรายได้ของคุณ เพื่อป้องกันการเป็นหนี้ในอนาคตได้

ต้องมีการวางแผนหรือมีระเบียบวินัยกับตนเอง

คนทั่วไปหลายคนขาดการวางแผนของการรายรับ - รายจ่าย จึงจำเป็นต้องจัดระเบียบวินัยในทุกๆ เรื่อง และสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดการกระตุ้นและปรับตัว ทั้งในเรื่องของการดำรงชีวิต การบริหารการใช้เงิน  การเก็บเงิน หรือการบริหารงานที่เราทำอยู่นั้น “ซึ่งบุคคลนั้นถ้าขาดระเบียบวินัยแล้ว ไม่ว่าจะทำสิ่งใด ๆ ก็คงไม่สามารถประสบความสำเร็จได้” ดังนั้น การมีระเบียบวินัยกับตนเอง ทำในสิ่งที่ควรทำ ไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่ก็ตาม  เช่น การใช้จ่าย หากคุณไม่อยากเป็นหนี้ ก็ควรมีวินัยในการใช้จ่ายให้มากขึ้น และคิดให้รอบคอบมากขึ้น พร้อมหันกลับมาบริหารจัดการเงินที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

สุดท้ายนี้ หวังว่าคุณพอจะเข้าใจถึง หนังสือรับสภาพหนี้ กันมากขึ้นแล้ว สำหรับคนที่กำลังมีหนี้ ขอให้ประสบความสำเร็จในการจัดการหนี้กันทุกคน

ด้วยความปรารถนาดีจาก MoneyGuru


หนังสือรับสภาพหนี้ ไม่มี พยาน

ข้อมูลอ้างอิง

  • บทความหนังสือรับสภาพหนี้กับอายุความ เรียบเรียงโดย คุณพิทยา ลำยอง
  • คลิกนิกแก้หนี้ by Sam: กฎหมายที่ลูกหนี้ควรรู้เกี่ยวกับหนังสือรับสภาพหนี้ โดย คุณวราธิป เจียมพานทอง