Swot คืออะไร พร้อมยกตัวอย่าง

วันที่นำเข้าข้อมูล 17 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 25 ต.ค. 2565

| 152,359 view

การวิเคราะห์ SWOT หรือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพเป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์สำหรับการประกอบธุรกิจ ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารรู้ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน มองเห็นโอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจทุกประเภท

 
Swot คืออะไร พร้อมยกตัวอย่าง

ความหมาย SWOT

จุดแข็ง (Strengths) : จุดเด่นหรือจุดแข็ง (ข้อได้เปรียบ) เป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านการเงิน และข้อได้เปรียบด้านการผลิต และด้านทรัพยากรบุคคล โดยบริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด  

จุดอ่อน (Weaknesses) : จุดด้อยหรือจุดอ่อน ข้อเสียเปรียบเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่าง ๆ ของบริษัท เช่น การขาดเงินทุน นโยบายและทิศทาง การบริการที่ไม่แน่นอน หรือบุคลากรที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไปอันจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัท  

โอกาส (Opportunities) : เกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์ หรือส่งเสริมการดำเนินงานของบริษัท โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน ผู้ประกอบการที่ดีจะต้องแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ โดยการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตลอดเวลา เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยีและการแข่งขันในตลาด และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น  

อุปสรรค (Threats) : เกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลเสียต่อธุรกิจ เช่น ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น สภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดคล้อง และพยายามขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้  

การประเมินสภาพแวดล้อมภายใน

การวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถภายในบริษัททุก ๆ ด้านเพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของธุรกิจ แหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อการบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้างระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร (คน เงิน วัสดุ การจัดการ) รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของบริษัทเพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ด้วย

การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก

ภายใต้การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัท ทำให้สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรค การดำเนินงานของบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ระดับการศึกษา การตั้งถิ่นฐานและการอพยพของประชาชน ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางการเมือง เช่น บทบัญญัติกฎหมายต่าง ๆ มติคณะรัฐมนตรี และสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี หมายถึงกรรมวิธีใหม่ ๆ และพัฒนาการทางด้านเครื่องมืออุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการบริการ

การวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT Analysis) การประกอบธุรกิจในฟินแลนด์

จุดแข็ง

1. การจัดตั้งบริษัทง่ายและกฎระเบียบไม่ซับซ้อน

2. รัฐมีระบบการสนับสนุนด้านเงินทุนสำหรับการเริ่มประกอบธุรกิจ

3. การประกอบธุรกิจมีความชัดเจน โปร่งใส และตรวจสอบได้

จุดอ่อน

1. ผู้ประกอบการควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษา และพฤติกรรมการบริโภคของชาวฟินแลนด์

2. ผู้ประกอบการจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายแรงงานของฟินแลนด์ 

3. มีกฎหมายคุ้มครองลูกจ้างที่นายจ้างจำเป็นต้องปฏิบัติตาม เช่น การทำประกันสังคมและ ประกันสุขภาพ รวมถึงประกันอุบัติเหตุจากการจ้างงานซึ่งทำให้มีต้นทุนสูงในการประกอบธุรกิจ

โอกาส

1. การประกอบธุรกิจที่มีเอกลักษณ์ความเป็นไทยจะดึงดูดลูกค้าได้มากกว่า เนื่องจากชาวฟินแลนด์ให้ความสนใจประเทศไทยเป็นอย่างมาก

2. ธุรกิจสามารถเติบโต สร้างความมั่นคง และสร้างเงินหมุนเวียนได้

3. ชาวฟินแลนด์มีรายได้ดี และกำลังซื้อสูง

4. การเลือกประกอบธุรกิจในทำเลที่ดีจะสามารถสร้างเงินหมุนเวียนได้สูงและมีลูกค้าประจำ

อุปสรรค

1. ชาวฟินแลนด์มีความรอบคอบในการเลือกที่จะบริโภคสินค้าราคาถูกที่มีปริมาณมาก

2. ชาวฟินแลนด์ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม การสื่อสาร เป็นสิ่งที่ชาวฟินแลนด์ให้ความสนใจมากกว่า

3. พื้นที่เช่าในทำเลย่านธุรกิจมีการแข่งขันสูงทำให้หาพื้นที่ทีมีศักยภาพดียากขึ้น หรืออาจหาได้ในราคาที่สูงเกินไป

4. ผู้ประกอบการควรต้องรู้ภาษาท้องถิ่น แม้ว่าชาวฟินแลนด์มากกว่าร้อยละ 85 สามารถ สื่อสารภาษาอังกฤษได้ แต่ก็คาดหวังที่จะได้รับการบริการและการสื่อสารในภาษาท้องถิ่น

SWOT Analysis คือ เครื่องมือวิเคราะห์แผนธุรกิจที่อยู่คู่หลักการบริหารธุรกิจมาอย่างยาวนาน เป็นเครื่องมือที่เรียบง่ายแต่ทรงพลังอย่างไม่น่าเชื่อ ในบทความนี้ Good Material จะมาเล่าถึง SWOT ว่ามีประโยชน์อย่างไร อะไรคือข้อจำกัด มีหลักการเขียนและวิธีการนำไปใช้อย่างไรเพื่อให้ธุรกิจของคุณได้ประโยชน์สูงสุดครับ

  • SWOT คือ
  • ประวัติและวิวัฒนาการของ SWOT
  • ประโยชน์ของ SWOT Analysis
  • ข้อจำกัดของ SWOT Analysis
  • เมื่อไหร่ควรใช้ SWOT Analysis
  • การสร้าง SWOT Analysis
    • เคล็ดลับเกี่ยวกับการวิเคราะห์ SWOT
    • คำแนะนำก่อนเริ่มวิเคราะห์ SWOT
  • ขั้นตอนวิธีการวิเคราะห์ SWOT แต่ละปัจจัย
    • Strengths : จุดแข็ง
    • Weaknesses : จุดอ่อน
    • Opportunities : โอกาส
    • Threats : อุปสรรค/ภัยคุกคาม
  • ตัวอย่าง SWOT ในการวิเคราะห์กิจการ
  • สรุป

SWOT คือ

SWOT Analysis คือ ตัวอักษร 4 ตัวที่มาจากภาษาอังกฤษ 4 คำ ประกอบด้วย Strengths , Weaknesses , Opportunities และ Threats

  • Strengths = จุดแข็ง , Weaknesses = จุดอ่อน : เป็นสิ่งที่อยู่ภายในบริษัทของคุณ ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมเปลี่ยนแปลงได้ ตัวอย่างเช่น ทรัพยากรบุคคลที่อยู่ในทีม จำนวนสิทธิบัตร จำนวนเทคโนโลยีหรือทรัพย์สินทางปัญญา
  • Opportunities = โอกาส , Threats = อุปสรรคหรือภัยคุกคาม : เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายนอกบริษัท ถือเป็นปัจจัยภายนอก โดยคุณสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาส และสามารถป้องกันตัวจากภัยคุกคามนี้ได้ แต่คุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงมันได้ ตัวอย่างเช่น นโยบายภาครัฐ คู่แข่ง ราคาวัตถุดิบ และแนวโน้มการจับจ่ายของลูกค้า

Swot คืออะไร พร้อมยกตัวอย่าง

ประวัติและวิวัฒนาการของ SWOT

ประวัติของ SWOT นั้นค่อนข้างจะคลุมเครือมีที่มาจากหลายแหล่งด้วยกัน 

ช่วงปี 1960 ถึง 1970 (ช่วงปี พ.ศ.2503) : ในโครงการวิจัยที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด Albert Humphrey ได้พัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์เพื่อประเมินแผนกลยุทธ์ และค้นหาสาเหตุที่การวางแผนขององค์กรในยุคนั้นมักจะล้มเหลว โดยเขาได้บัญญัติเทคนิกการวิเคราะห์ที่ชื่อว่า SOFT โดยที่

  • S  = Stood : หมายถึงการยืนหยัดในสิ่งที่พอใจในปัจจุบัน
  • O = Opportunities : หมายถึงโอกาสในการไขว่คว้าสิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต
  • F  = Faults : หมายถึงความผิดพลาดในปัจจุบัน
  • T  = Threats : ภัยคุกคามที่มีโอกาสเกิดขึ้น

Swot คืออะไร พร้อมยกตัวอย่าง

คุณ Albert Humphrey รูปภาพจาก wikipedia.org

ปี ค.ศ. 1964 หรือ  (พ.ศ. 2507) : มีการกล่าวถึงคำว่า SWOT ครั้งแรกในงานสัมมนาที่ชื่อว่า Long Range Planning จัดขึ้นที่เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในงานนั้น Urick and Orr ได้เสนอแนวคิดการวิเคราะห์ SWOT ซึ่งได้มาจาก SOFT โดยมีการปรับเปลี่ยน แทนที่ F ที่มาจากความผิดพลาด เป็น W : Weaknesses ที่หมายถึงจุดอ่อน หลังการโปรโมทครั้งแรกแที่ประเทศอังกฤษ แนวคิดนี้ก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว

ช่วงปี 1982  หรือ (พ.ศ. 2525) : ได้มีอีกพัฒนาการที่สำคัญของประวัติศาสตร์การวิเคราะห์ SWOT คือ การพัฒนาเมทริกซ์โดยบุคคลที่ชื่อว่า Dr.Heinz Weihrich  ได้เสนอให้ใช้เมทริกซ์ 2×2 ในการวิเคราะห์ SWOT โดยเมทริกซ์นี้ได้รับความนิยมในตอนแรกว่า TOWS Matrix

ช่วงหลังทศวรรษ 1980 : SWOT ได้รับความสนใจจากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการและเป็นส่วนสำคัญของกลไลการวางแผนเชิงกลยุทธ์ หากคุณศึกษาประวัติของเครื่องมือหรือแนวคิดการจัดการ จะมีแนวคิดที่คล้ายกันอยู่เป็นจำนวนมากในงานวิจัยต่างๆ แต่มีเพียงไม่กี่เครื่องมือที่เหลือรอดมาจนถึงปัจจุบัน จากประวัติศาสตร์จึงเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่า SWOT Analysis เป็นหนึ่งในเครื่องมือวางแผนกลยุทธ์ที่ดีที่สุดและใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด

ประโยชน์ของ SWOT Analysis

ประโยชน์ของ SWOT Analysis คือ คุณไม่มีต้นทุนในการใช้งานเลย หรือถ้ามีก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่ว่าใครก็ตามที่เข้าใจธุรกิจก็สามารถทำการวิเคราะห์ SWOT ได้ และคุณเองยังสามารถนำ SWOT ไปใช้วิเคราะห์คู่แข่งของคุณเพื่อประเมินความเป็นไปได้ของธุรกิจและการแข่งขันอีกด้วย

ข้อดีอีกอย่างของ SWOT คือ การมุ่งเน้นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มีผลต่อธุรกิจของคุณ ดังนี้ :

  • เข้าใจธุรกิจของคุณดีขึ้น
  • สามารถเข้าใจจุดอ่อน แล้วแก้ไขจุดอ่อนได้ทันเวลา
  • สามารถยับยั้งภัยคุกคามหรือป้องกันล่วงหน้าได้
  • รับรู้และใช้ประโยชน์จากจุดแข็ง เพื่อเสริมสร้างโอกาสได้มากขึ้น
  • นำสิ่งที่วิเคราะห์จาก SWOT ไปพัฒนากลยุทธ์เพื่อบรรลุเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น

ข้อจำกัดของ SWOT Analysis

เมื่อคุณได้ทำการวิเคราะห์ SWOT ควรจำไว้ว่านี่เป็นเพียงหนึ่งในขั้นตอนของการวิเคราะห์แผนธุรกิจเท่านั้น สำหรับปัญหาที่ซับซ้อน คุณต้องทำการวิจัยและวิเคราะห์ในเชิงลึกมากยิ่งขึ้นไปอีก

อีกประเด็นหนึ่งสำหรับข้อจำกัดของ SWOT Analysis คือ เครื่องมือนี้ครอบคลุมเฉพาะประเด็นที่ถือได้ว่าเป็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส หรือ ภัยคุกคามเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องยากที่จะจัดการกับปัจจัยที่มีความคลุมเครือหรือเป็นทั้งสองปัจจัยในเรื่องเดียวกัน เช่น ปัจจัยที่เป็นทั้งจุดแข็งพร้อมๆกับจุดอ่อน (ตัวอย่างเช่น คุณเปิดร้านอาหารที่อยู่ในทำเลที่ดีมากเป็นจุดแข็งด้านทำเล แต่ค่าเช่าสถานที่ต่อเดือนสูงมาก ซึ่งอาจจะเป็นจุดอ่อนด้านต้นทุน)

และนี่คือข้อจำกัดของการวิเคราะห์ด้วย SWOT :

  • ไม่มีการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
  • ไม่มีทางแก้ปัญหาหรือเสนอทางเลือกในการตัดสินใจ
  • อาจสร้างแนวคิดได้มากเกินไป แต่ไม่ได้ช่วยให้คุณเลือกแนวคิดที่ดีที่สุด
  • สามารถสร้างข้อมูลได้มาก แต่อาจจะใช้ประโยชน์ไม่ได้ทั้งหมด

เมื่อไหร่ควรใช้ SWOT Analysis

การวิเคราะห์ SWOT อย่างละเอียดช่วยให้คุณสามารถระบุปัจจัยทั้งภายในและภายนอก แผนภาพและผลการวิเคราะห์จะมีประโยชน์มากขึ้นเมื่อคุณนำสิ่งที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง ก่อนที่จะเริ่มควรมีคำถามที่ชัดเจน การถามคำถามอย่างชัดเจนตรงไปตรงมาและอิงกับสถานการณ์ปัจจุบัน จะช่วยให้คุณค้นพบจุดอ่อนในแผนการ แผนงบประมาณ หรือเป้าหมาย คุณอาจจะใช้เครื่องมืออย่าง “5 Whys” เพื่อช่วยในการหาปัญหาที่แท้จริงและเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น SWOT Analysis จะมีประโยชน์มากในช่วงเริ่มต้นของโครงการหรือเมื่อทีมของคุณประสบปัญหา

นี่คือตัวอย่างบางส่วนที่คุณสามารถใช้ SWOT เพื่อแก้ไขปัญหา

  • การขยายธุรกิจไปสู่ตลาดใหม่ : การขยายตลาดมีหลายสถานการณ์ไม่ว่าจะเป็น การที่คุณประสบความสำเร็จในประเทศและต้องการขยายไปต่างประเทศ หรือ คุณประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจออฟไลน์และต้องการขยายเข้าสู่ออนไลน์ คุณจะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จะใช้มี จุดแข็ง จุดอ่อน อะไรบ้าง รวมถึงโอกาสในการขยายตัวมีอะไรบ้าง ถ้าคุณเห็นตลาดดูสดใสงดงาม (Blue Ocean) แต่ภัยคุกคามของคู่แข่งรายใหม่หรือกฎระเบียนอาจจะยังไม่ชัดเจน คุณจะต้องตรวจสอบเชิงลึกมากขึ้น
  • แนวคิดทางธุรกิจใหม่ : การกระโจนเข้าสู่ธุรกิจที่คุณไม่รู้จักไม่คุ้นเคย อาจจะทำให้มิติในการประเมินธุรกิจใช้ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพมากนัก การวิเคราะห์ SWOT สามารถช่วยการจัดระเบียบความคิดของคุณ และทำให้มีโอกาสมากขึ้นที่จะประสบความสำเร็จในอนาคต
  • โอกาสในการลงทุน : การลงทุนไม่ว่าจะเป็นการลงทุนเครื่องจักรใหม่ การลงทุนซื้อกิจการ หรือซื้อโปรแกรมใหม่สำหรับบริษัท การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของการได้มา ช่วยป้องกันการซื้อที่ไม่มีประสิทธิภาพได้ การแสดงแผนภาพ SWOT ในการพิจารณาสิ่งต่างๆจะช่วยให้คุณมองเห็นตัวเลือกที่เหมาะสม
  • การหาหุ้นส่วนที่มีศักยภาพ : SWOT Analysis เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการตรวจสอบความเข้ากันได้ส่วนบุคคล หากคุณกำลังคิดที่จะร่วมทีมทำธุรกิจ Start Up หรือรวมตัวทำงานกลุ่ม การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละคนว่าจะเข้ามาส่งเสริมกันหรือขัดแย้งกัน หรือแม้แต่บุคคลที่เข้ามาอาจจะเป็นอุปสรรคไม่ใช่โอกาส การวิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนจะช่วยในการเลือกบุคคลที่เหมาะสมกับคุณมากยิ่งขึ้น

Swot คืออะไร พร้อมยกตัวอย่าง

การสร้าง SWOT Analysis

เคล็ดลับเกี่ยวกับการวิเคราะห์ SWOT

แผนภาพ SWOT มักจะมีความตรงไปตรงมา แต่ขั้นตอนการกรอกข้อมูลอาจจะไม่ง่ายนัก เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากเมทตริกซ์ที่คุณสร้าง ลองนำคำแนะนำเหล่านี้ไปปรับใช้ดูนะครับ

  • โปรดจำไว้ว่าการวิเคราะห์ SWOT คือ การประเมินปัจจุบันไม่ใช่อดีตหรืออนาคต ในขณะที่ 4 มิติของการวิเคราะห์ช่วยให้คุณคิดถึงความเป็นไปได้ และอย่าลืมระบุทุกรายละเอียดตามความเป็นจริง อย่าเข้าข้างตัวเองมากเกินไป!
  • ใช้การวิเคราะห์ SWOT เพื่อเป็นแนวแทาง อย่านำมาเป็นกฎชี้เป็นชี้ตาย เพราะแต่ละปัจจัยสามารถถกเถียงกันได้ไม่รู้จบ ที่สำคัญคือการทำให้ทีมของคุณมีความเป็นปึกแผ่น และวิเคราะห์เพื่อให้ธุรกิจเดินไปข้างหน้าอย่างมีจุดหมายด้วยกัน

คำแนะนำก่อนเริ่มวิเคราะห์ SWOT

1.รวบรวมคนที่เหมาะสม

ก่อนอื่นคุณควรรวบรวมคนจากส่วนต่างๆในบริษัท และตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีตัวแทนจากทุกแผนกที่เกี่ยวข้องหรืออาจจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรง จะช่วยให้คุณได้มุมมองที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งจะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการวิเคราะห์ SWOT ให้ประสบความสำเร็จ

2.โยนความคิดของคุณออกไป

การวิเคราะห์ SWOT คล้ายกับการประชุมระดมความคิด หนึ่งในวิธีที่แนะนำคือ ให้แต่ละคนใช้กระดาษโน๊ตหรือ Post it เขียนไอเดียของตัวเองอย่างเงียบๆ ไม่จำเป็นต้องระบุว่ากระดาษแผ่นนั้นเป็นของใคร ซึงจะป้องกันการรวมกลุ่มคิด ป้องกันการกลัวที่จะคิดผิดของพนักงานที่ตำแหน่งต่ำกว่า จะทำให้คุณเห็นถึงเสียงทั้งหมดอย่างแท้จริง

หลังจากทุกคนคิดและเขียนไอเดียของตนเองเสร็จแล้วอาจใช้เวลา 5 ถึง 10 นาที รวบรวมกระดาษโน๊ตทั้งหมดมาติดไว้ที่ผนังและจัดกลุ่มของความคิดที่คล้ายกันเข้าด้วยกัน

3.จัดลำดับความคิด

เมื่อคุณรวมกลุ่มของความคิดทั้งหมดเสร็จแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะจัดลำดับความคิด วิธีการอาจจะทำโดยการให้ทุกคนมีคะแนนของตนเอง และลงคะแนนโหวตกับหัวข้อที่ตนเองคิดว่ามีความสำคัญจากประเด็นต่างๆ

หลังจากการโหวตคุณจะมีรายการแนวคิดที่ถูกจัดลำดับความสำคัญ เพื่อนำไปถกเถียงและสร้างกลยุทธ์ทางธุรกิจต่อไป

Swot คืออะไร พร้อมยกตัวอย่าง

ขั้นตอนวิธีการวิเคราะห์ SWOT แต่ละปัจจัย

ขั้นตอนแรกคือ การวาดเมทริกซ์สำหรับการวิเคราะห์ SWOT ส่วนมากจะวาดเป็นตารางขนาด 2×2 จะแบ่งออกมาได้ 4 ช่องด้วยกัน หนึ่งช่องสำหรับแต่ละด้านของ SWOT เขียนระบุลงไปให้ครบทั้ง 4 ด้าน (ตามรูปที่เราได้ยกตัวอย่างด้านบนครับ)

หลังจากนั้นเรามาเริ่มลงรายละเอียดแต่ละปัจจัยของธุรกิจกันเลยครับ

Strengths : จุดแข็ง

จุดแข็งคือสิ่งที่องค์กรของคุณทำได้ดีเป็นพิเศษหรือข้อได้เปรียบที่ทำให้คุณแตกต่าง นึกถึงข้อดีที่องค์กรคุณมีเหนือองค์กรอื่น สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นเทคโนโลยี แรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน ข้อได้เปรียบในการเข้าถึงวัสดุบางอย่าง หรือกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ เพิ่มส่วนของข้อดีข้อได้เปรียบที่คิดได้ลงในส่วนของจุดแข็ง

จากนั้นลองเปลี่ยนมุมมองของคุณดูบ้าง ลองคิดในมุมของคู่แข่งว่าอะไรเป็นจุดแข็ง และอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้คุณประสบความสำเร็จมาถึงปัจจุบัน จะช่วยให้คุณได้มุมมองที่แตกต่างขึ้น

ชุดคำถามที่ช่วยในการวิเคราะห์จุดแข็ง

  • คุณมีข้อได้เปรียบอะไรบ้างในการแข่งขัน
  • คุณมีทรัพย์สินอะไรบ้าง เช่น เทคโนโลยี การเงินที่แข็งแรง หรือ สิทธิบัตร
  • คุณมีทรัพยากรใดบ้างในทีมของคุณ เช่น บุคคลที่มีความรู้เฉพาะทาง บุคคลที่มีชื่อเสียง
  • กระบวนการทางธุรกิจใดบ้างที่ประสบความสำเร็จ

Weaknesses : จุดอ่อน

มาถึงขั้นตอนนี้คือ การพิจารณาจุดอ่อนขององค์กรอย่าง ซื่อสัตย์! การวิเคราะห์ SWOT จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อคุณรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่คุณต้องการ ดังนี้จงเผชิญหน้ากับความเป็นจริงที่คุณไม่พึงประสงค์โดยเร็วที่สุด

การพิจารณาจุดอ่อนก็มีลักษณะเช่นเดียวกับ จุดแข็ง คือเป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกองค์กรซึ่งควรมุ่งเน้นไปที่ระบบทรัพยากรบุคคล ระบบการทำงาน และประสิทธิภาพของเครื่องจักร คิดถึงสิ่งที่คุณสามารถปรับปรุงได้ และแนวทางปฎิบัติที่ควรหลีกเลี่ยง

ลองคิดในมุมของลูกค้า คู่แข่งหรือคนอื่นๆ ว่าเขาเห็นคุณเป็นอย่างไร  พวกเขาเห็นอะไรที่คุณมองไม่เห็นหรือไม่ หรืออาจจะใช้เวลาตรวจสอบคู่แข่งของคุณว่าเขาทำได้ดีกว่าในเรื่องใดบ้าง ทำไม อย่างไร และคุณขาดอะไร

ชุดคำถามที่ช่วยในการวิเคราะห์จุดอ่อน

    • กระบวนการใดบ้างในธุรกิจที่คุณต้องปรับปรุง
    • ทรัพย์สินใดบ้างที่ธุรกิจคุณต้องการเพิ่ม เช่น เครื่องจักรใหม่ หรือ เงินสดสำรอง
    • สถานที่ทำงาน โรงงาน ของคุณเหมาะสำหรับความสำเร็จหรือไม่
    • ทักษะหรือทรัพยากรบุคคลใดบ้างที่ทำให้ธุรกิจไม่เติบโต

Opportunities : โอกาส

โอกาสคือช่องว่างบางอย่างที่เกิดขึ้นและสามารถส่งผลเชิงบวกกับองค์กรของคุณ แต่ถึงอย่างไรก็ตามคุณต้องเป็นผู้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของโอกาสนั้นด้วยตนเอง

โอกาสมักจะเกิดขึ้นจากสถานการณ์ภายนอกองค์กรของคุณ ซึ่งคุณจะต้องคอยจับตาสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในโซเชียลมีเดียและเทรนด์แนวโน้มของอนาคต ในมุมของโซเชียลมีเดียอาจจะเป็นกระแสบางอย่างหรือคลิปไวรัลของเหล่าอินฟลูเอ็นเซอร์ที่ช่วยนำเสนอแบรนด์ของคุณออกไป มุมของโอกาสในอนาคตเกิดจากการพัฒนาตลาดที่คุณให้บริการหรือในเทคโนโลยีที่คุณใช้ หรือเทคโนโลยีที่คุณสามารถผลิตได้ ความสามารถในการมองเห็นและใช้ประโยชน์จากโอกาส สามารถสร้างความแตกต่างกับการแข่งขันและช่วยให้คุณเป็นผู้นำในตลาดของคุณ

คิดถึงโอกาสดีๆที่คุณสามารถมองเห็นได้ สิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งยิ่งใหญ่ที่หวังจะเปลี่ยนองค์กรคุณจากหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะการมองเห็นโอกาสและสร้างข้อได้เปรียบเพียงเล็กน้อย ก็สามารถเพิ่มความสามารถในการแข็งขันของคุณได้ คุณควรตรวจสอบแนวโน้มของตลาดอย่างสม่ำเสมอเพื่อหาโอกาสไม่ว่าเล็กหรือใหญ่

นอกจากนี้ นโยบายภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวิถีชีวิตล้วนสามารถทำให้เกิดโอกาสที่น่าสนใจได้ทั้งสิ้น

ชุดคำถามที่ช่วยในการวิเคราะห์โอกาส

      • ตลาดของคุณกำลังเติบโตและมีแนวโน้มจะกระตุ้นผู้คนให้ซื้อสินค้าหรือบริการของคุณมากขึ้นหรือไม่
      • นโยบายของรัฐบาล หรือ นโยบายต่างประเทศของประเทศใดบ้างที่ส่งผลดีต่อธุรกิจของคุณ
      • กระแสทางโซเชียลใดบ้างที่ส่งผลดีต่อธุรกิจของคุณ
      • มีกิจกรรมใดบ้างที่กำลังจะเกิดขึ้น และบริษัทของคุณอาจสามารถใช้ประโยชน์จากการเติบโตใดได้บ้าง

 

Threats : อุปสรรค/ภัยคุกคาม

ภัยคุกคามคือปัจจัยจากภายนอกที่คุณไม่สามารถกำหนดหรือควบคุมได้ รวมถึงสิ่งที่อาจะส่งผลเสียต่อธุรกิจของคุณ เช่น ปัญหาซัพพลายเชน การเปลี่ยนแปลงความต้องการของตลาด หรือ การขาดแคลนพนักงาน สิ่งที่สำคัญคือ คุณจะต้องคาดการณ์สิ่งที่จะเป็นภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และดำเนินการป้องกันก่อนที่คุณจะตกเป็นเหยื่อของสิ่งเหล่านั้นซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจ

ภัยคุกคามที่น่ากลัวคือพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่คุ้นเคย คุณจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดและปรับเปลี่ยนตัวเองให้ทันต่อกระแสโลก สองตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือเคสของ Nokia ที่เป็นเจ้าตลาดขายโทรศัพท์แต่โดนกระแสของ Smart Phone เข้ามาถาโถมและปรับเปลี่ยนไม่ทันเพราะคิดว่าตัวเองเป็นที่หนึ่ง หรือ เคสของ Kodak ที่ผลิตและเป็นเจ้าตลาดขายกล้องฟิล์มแต่กระแสของผู้บริโภคหันไปใช้กล้องดิจิตอลมากขึ้น เป็นต้น

อย่าลืมพิจารณาสิ่งที่คู่แข่งของคุณกำลังทำอยู่เสมอ

ชุดคำถามที่ช่วยในการวิเคราะห์ภัยคุกคาม

      • มีคู่แข่งคุณที่อาจจะเข้ามาในตลาดอีกหรือไม่
      • มีแนวโน้มของตลาดที่อาจจะเป็นภัยคุกคามหรือไม่
      • การพัฒนาของเทคโนโลยีในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงวิธีทำธุรกิจของคุณได้หรือไม่
      • ซัพพลายเออร์สามารถหาวัตถุดิบในราคาที่คุณต้องการได้หรือไม่

หนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้คุณวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกได้หลากหลายและครบทุกมิติมากยิ่งขึ้นคือ PESTEL Analysis ซึ่งประกอบด้วย

      • Political : ปัจจัยด้านการเมือง
      • Economic : ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
      • Social : ปัจจัยด้านสังคม / รวมถึงสังคมออนไลน์
      • Technology : ปัจจัยด้านเทคโนโลยี
      • Environment : ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
      • Legal : ปัจจัยด้านกฎหมาย

บทความที่เกี่ยวข้อง : Pestel analysis คือ เทคนิค วิเคราะห์ปัจจัยภายนอก ที่ธุรกิจไม่ควรพลาด

ตัวอย่าง SWOT ในการวิเคราะห์กิจการ

เพื่อให้คุณเข้าใจและเห็นภาพ เราขอวิเคราะห์กิจการ OilPure Thailand ของเรา เพื่อเป็นกรณีศึกษาว่า SWOT เมื่อวิเคราะห์ออกมาแล้วจะมีหน้าตาอย่างเป็นอย่างไร ?

OilPure Technology เป็นบริษัทแม่อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและจดสิทธิบัตรความเป็นเจ้าของเป็นที่เรียบร้อย โดยเทคโนโลยีของเราสามารถกรองเพื่อยืดอายุน้ำมันหล่อลื่นในอุตสาหกรรม เช่น น้ำมันไฮดรอลิค น้ำมันเกียร์ น้ำมันชุบแข็ง ให้กลับมาสะอาดเหมือนน้ำมันใหม่ ช่วยให้ลูกค้าที่ใช้บริการไม่ต้องเปลี่ยนน้ำมันไปอีกอย่างน้อย 5 ถึง 10 ปี โดยสามารถกำจัด เศษอนุภาค น้ำและความชื้น รวมถึง ค่าความเป็นกรด (TAN : Total Acid Number) ที่เกิดจาก Oxidation ของน้ำมันได้

Swot คืออะไร พร้อมยกตัวอย่าง

นี่คือสิทธิบัตรที่บริษัท OilPure Technology จดทะเบียนไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

บริษัทกำลังวางแผนที่จะเข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทย ในรูปแบบของการบริการ (On Site Service) ภายใต้ชื่อ OilPure Fluid Care โดยบริการของเราจะประกอบไปด้วย การวิเคราะห์น้ำมันหล่อลื่นในปัจจุบันว่ามีสภาพเป็นอย่างไร หลังจากนั้นเครื่องจักรของเราที่ถูกบรรทุกบนรถเทลเลอร์จะเข้าไปให้บริการถึงโรงงานของคุณ นำไปติดตั้งกับถังน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วหรือเครื่องจักรของลูกค้า และมีรายการรายงานผลหลังให้บริการเสร็จ

Swot คืออะไร พร้อมยกตัวอย่าง

เครื่องจักรและเทคโนโลยีของ OilPure

ทำการวิเคราะห์ SWOT ของเราออกมาได้ดังนี้ :

จุดแข็ง

      • เรามีประสบการณ์ในสายงานน้ำมันในประเทศสหรัฐอเมริกากว่า 30 ปี ทำให้มีกรณีศึกษาจริงจำนวนมาก
      • เรามีเทคโนโลยีในการกรองยืดอายุน้ำมันหล่อลื่นที่สามารถใช้งานได้จริง และพิสูจน์มาแล้ว
      • ผู้บริหาร คุณวิชัย ศรีมงคงกุล เคยเป็นหนึ่งในคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานน้ำมันหล่อลื่น ASTM มาก่อน
      • เทคโนโลยีของเราสามารถกรองอนุภาคขนาดเล็กว่า 3 ไมครอนได้
      • เทคโนโลยีของ OilPure สามารถกำจัดปริมาณน้ำในน้ำมันออกได้ จนเหลือค่าน้ำต่ำกว่า 100 PPM
      • เทคโนโลยีของ OilPure สามารถกำจัด Oxidation ในน้ำมันได้โดยวัดจากค่า TAN ที่ไม่มีบริษัทไหนในโลกทำได้
      • เทคโนโลยีของเราใช้เซ็นเซอร์ในการตรวจวัด พร้อมกับระบบ Automation โดยเครื่องจักรใช้เพียงคนเดียวในการควบคุม ทำให้ต้นทุนต่ำ

จุดอ่อน

      • เป็นบริษัทใหม่ ยังไม่มีใครรู้จัก หรือรู้จักในวงแคบ
      • วัฒนธรรมองค์กรแบบอเมริกันที่ยังไม่คุ้นชินกับรูปแบบการดำเนินการในประเทศไทย
      • บริษัทอยู่ในช่วงเริ่มต้น ทำให้งานเกิดคอขวดอยู่ที่บางบุคลากรและบางแผนก

 

โอกาส

      • ปัญหาเครื่องจักรหยุดงานของลูกค้า จากงานวิจัยพบว่า 80% มาจากความสกปรกในน้ำมันหล่อลื่น ดังนั้นลูกค้าต้องเปลี่ยนน้ำมันอย่างสม่ำเสมอ
      • น้ำมันหล่อลื่นมีการซื้อซ้ำสูง เพราะต้องเปลี่ยนทุกๆ 3 – 6 เดือน
      • จากงานวิจัยพบว่าระบบไฮดรอลิก (การใช้น้ำมันไฮดรอลิก) มีอัตราการเติบโตมากขึ้น
      • จากการเข้ามาของรถไฟฟ้า ทำให้ปริมาณน้ำมันดิบมีโอกาสขุดน้อยลง และ ราคาน้ำมันหล่อลื่นมีโอกาสสูงขึ้น
      • ทุกบริษัทหาวิธีลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรอยู่เสมอ และบริการ OilPure Fluid Care ตอบโจทย์ส่วนนี้ได้เป็นอย่างดี

 

ภัยคุกคาม หรือ อุปสรรค

      • อุปสรรคใหญ่ของเราคือ ความคุ้นชินของลูกค้าที่คุ้นเคยกับการเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นตามคำแนะนำของบริษัทขายน้ำมัน
      • อุปสรรคถัดมา คือ ความไม่รู้ของลูกค้าว่ามีเทคโนโลยีที่สามารถกรองยืดอายุน้ำมันให้กลับมาสะอาดเหมือนใหม่ได้อีกครั้ง

สรุป

มาถึงตอนนี้คุณคงทราบแล้วว่า SWOT Analysis คือ เครื่องมือที่มีประโยชน์ต่อธุรกิจของคุณขนาดไหน คุณควรวิเคราะห์ SWOT เป็นประจำเพื่อตรวจหา จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ ภัยคุกคาม เพื่อที่จะอยู่กับปัจจุบันและวางแผนเพื่อความเติบโตในอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

  • หากท่านต้องการนำเนื้อหาหรือข้อมูลจากเว็ปเราไปใช้งานเพื่อเผยแพร่ให้ความรู้โดยไม่มีผลประโยชน์ โปรดติดลิ้งค์เครดิตกลับมาหาเราที่หน้านี้
  • ข้อมูลอ้างอิง : 1 / 2 / 3 / 4/ 5 / 6 / 7

Copyright © GoodMaterial.co

Swot คืออะไร พร้อมยกตัวอย่าง

goodmaterial

Good Material คือ แหล่งรวมเรื่องราวที่ช่วยให้ชีวิตดีขึ้น ทั้งความรู้ สิ่งของ รวมถึงไอเดีย และหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ชีวิตของเพื่อนๆ ดีขึ้นเช่นกันครับ