กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 23 pdf

บทคัดย่อภาษาไทย

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการยุติธรรมใน พระพุทธศาสนา โดยศึกษาเปรียบเทียบนิคหกรรมในพระวินัยปิฎกกับกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2521) ว่าด้วยการลงนิคหกรรม

จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้พบว่า นิคหกรรม ในพระวินัยปิฎก เป็นมาตรการทางพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สงฆ์ใช้เป็นเครื่องข่ม กําราบ หรือลงโทษแก่พระภิกษุผู้ ประพฤติผิดต่อพระธรรมวินัย หรือแก่คฤหัสถ์ผู้มีความปรารถนาที่ไม่ดีต่อพระรัตนตรัย โดยทรงวางกฎเกณฑ์การลงโทษแบบต่างๆ ตามสมควรแก่ความผิด

ส่วนกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม อันได้แก่กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11 นั้น เป็นมาตรการทางการปกครองคณะสงฆ์ที่มหาเถรสมาคมกําหนดขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือในการข่ม กําราบ หรือลงโทษพระภิกษุผู้ประพฤติผิดต่อพระธรรมวินัย โดยดําเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่กําหนดไว้

นิคหกรรมในพระวินัยปิฎกกับกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม มีความเหมือนกัน ในประเด็นต่อไปนี้ คือ ประเภทของนิคหกรรม ลักษณะของความผิดที่เป็นเหตุให้ถูกลงนิคหกรรม กฎนิคหกรรมในฐานะที่มีความสัมพันธ์กับศีลธรรมและจริย ธรรม กระบวนการกําราบหรือฝึกฝนบุคคลผู้เก้อยาก

ส่วนประเด็นที่มีความแตกต่างกัน คือ วิธีการลงนิคหกรรม วิธีการที่จะพ้นจากความผิด คุณสมบัติของผู้ตัดสินหรือพระวินัยธร และความถูกต้องตามพระธรรมวินัย

นิคหกรรมในพระวินัยปิฎก พระพุทธเจ้าทรงกําหนดให้สงฆ์เป็นผู้มีบทบาทสําคัญใน การดําเนินการทุกขั้นตอน จัดเป็นสังฆกรรมที่มีความสําคัญ สงฆ์จึงต้องดําเนินการให้เป็นไปตามวิธีการตามที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้

ส่วนกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคมนั้น มหาเถรสมาคมได้กําหนดขั้นตอนต่างๆ ในการดําเนินการลงนิคหกรรมให้เป็นอํานาจหน้าที่ของพระสังฆาธิการที่มีตําแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์ตั้งแต่ระดับเจ้าอาวาสขึ้นไป เพียงรูปเดียวหรือ 3 รูป ที่เรียกว่าผู้พิจารณาและคณะผู้พิจารณาเทียบได้กับตําแหน่งผู้พิพากษาและคณะผู้พิพากษาของศาลฝ่ายบ้านเมือง ท่านไม่ได้กําหนดให้สงฆ์เป็นผู้มีอํานาจหน้าที่ในการดําเนินการลงนิคหกรรมแต่อย่างใด

ในปัจจุบันนี้ นิคหกรรมในพระวินัยปิฎกและกฎนิคหกรรมของมหาเถรสมาคม เป็นคู่มือสําคัญสําหรับการปกครองคณะสงฆ์ จําเป็นอย่างยิ่งที่พระสังฆาธิการพระภิกษุสามเณร ตลอดถึงพุทธศาสนิกชนทั่วไปจะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเพื่อจะได้ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องต่อไป

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The purpose of this thesis is to emphasize the comparative study of the process of Justice in Buddhism : a case study of the Suppression (Niggahakamma) in the Vinaya Pitaka (The Buddhist Disciplinary Cannon) and the 11 principle enforced by Mahāthera Council.

From the study, it is found that The Suppression in The Vinaya Pitaka is the disciplinary standard which the Buddha allows the Sangha to use for controlling or punishing the monks who have infringed the Dhamma and Vinaya Rules. The Niggahakamma which is the 11" principle enforced by Mahāthera Council is the Sangha's administrative regulation set up by Mahathera Council to be used as a tool for punishing any monk who infringes any Vinaya Rule. The process of this action is carried out step by step.

The Suppresion in The Vinaya Pitaka is similar to the principle enforced by Mahathera Council in the following points :

1. The kind of Niggahakamma

2. The kind of guilt which causes Niggahakamma punishment

3. The rules of Niggahakamma in terms of relationship with morality and ethics

4. The Niggahakamma rules in the state of being the process of controlling or training those who are hard to be controlled and trained.

The different points are the methods of suppresion, the way how to be free from guilt, the judge's or the Vinayadhara's qualification, and the righteousness according to the Dhamma and Vinaya.

In the Vinaya Pitaka, the Buddha has assigned the Sangha to play a great role in carrying out the Suppression in every step. It is regarded as an important Sanghakamma which must be managed in the form of Sangha. So, the Sangha has to manage in such a way as permitted by the Buddha.

Regarding the suppression set up by the Sangha Council, various steps in the punishment in the form of Niggahakamma have been given to be carried out by Sanghādhikara monks (the monks having been given the power to administrate the Sangha from the lower level upto of the Abbot onwards) one or even three in number. They are called “Adjudicators or Adjudication Committee". They can be compared with the judges or the judge committee in the worldly common court. The Sangha is not given the power to carry out or to manage the Niggahakamma or punishment as precised in the Vinaya Pitaka at all.

Nowadays, Niggahakamma in the Vinaya Pitaka and the Niggahakamma enforced by Mahāthera Council are the most important tools for the administration of the Sangha.

It is, therefore, very necessary for Sanghādhikāra monks, the monks in general, the novices and the Buddhists to study and understand the Niggahakamma in question in detail.

รายการไฟล์

ชื่อไฟล์ขนาดประเภทไฟล์ดาวน์โหลดวันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 27.08 MiB 46 17 ธ.ค. 2564 เวลา 04:12 น. ดาวน์โหลด