เก็บเงินวันละ 10 บาท1เดือน

เพื่อนสาว : นี่เธอ รุ่นน้องที่รู้จักกันอะ นางอยากเก็บเงินแสนใน 1 ปี เลยมาถามชั้นว่าทำอย่างไรดี มีไอเดียหรือวิธีเก็บยังไงบ้าง ที่ทำได้ง่าย ทำได้จริง

น้องโน่ : ชั้นมีไอเดียแนะนำให้ทำได้จริง แต่ว่าจะง่ายหรือยากนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับวิธีการเป็นหลัก แต่อยู่ที่รายได้และรายจ่ายของแต่ละคนมากกว่า ว่าจะมีโอกาสทำได้จริงมั้ย

เพื่อนสาว : ยังไงเหรอ

น้องโน่ : ช่วงส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ก็มักจะเห็นการแชร์เทคนิคหรือไอเดียต่าง ๆ มากมาย เพื่อเริ่มต้นอะไรใหม่ ๆ อย่างการเก็บออมก็เช่นกัน ล่าสุดชั้นเพิ่งไปเจอเทคนิคเก็บเงิน 7 หมื่นบาท ใน 1 ปี

โดยวิธีการคือ เริ่มต้นจากวันละ 10 บาท ในวันแรก จากนั้นเพิ่มเงินเก็บเข้าไปวันละ 1 บาท ทำไปเรื่อย ๆ จบครบปี จะได้เงินเก็บทั้งหมด 70,080 บาท แต่ถ้าปรับเป็นเริ่มจาก 100 บาท

จากนั้นเพิ่มเข้าไปวันละ 1 บาท เหมือนเดิม ครบ 1 ปี จะเก็บเงินได้ทั้งหมด 102,930 บาท

เพื่อนสาว : เดี๋ยวก่อนเธอ ไอเดียก็ดูน่าสนุกดีนะ แต่ชั้นว่าทำได้จริงยาก วันแรก ๆ เงินที่ต้องเก็บไม่เยอะ ก็ทำได้ง่าย แต่วันท้าย ๆ จำนวนเยอะขึ้นกว่าวันแรกมาก ๆ และติดกันหลายวันต่อเนื่องด้วย ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ ชั้นว่าไม่เวิร์ค จับต้องไม่ได้

น้องโน่ : ปรบมือค่า เป็นแบบที่เธอว่า ไอเดียดูน่าสนุก แต่ทำได้ยาก ถ้าเริ่มต้นจากวันแรก 10 บาท ในวันแรกของเดือนสุดท้าย จะต้องเก็บเงิน 344 บาท วันต่อไป 345 ต่อไป 346 คือต้องเก็บสามร้อยกว่าบาททุกวัน

ซึ่งมันหนักหนาสาหัสมากเลยนะ ประมาณว่าสุดโต่งเกินไป ช่วงแรกก็เบามาก แต่ช่วงท้ายก็หนักเกิน

เพื่อนสาว : เราควรต้องเดินทางสายกลางเนอะ

น้องโน่ : ช่าย ถ้าพูดถึงสายกลาง อะไรที่เป็นตัวเลข ก็ต้องนึกถึงพวกค่าเฉลี่ยต่าง ๆ

เป้าหมายเงินเก็บ 1 แสนบาท ใน 1 ปี

เป้าหมายนี้มีเงื่อนไขหลัก 2 เงื่อนไข คือ เงิน 1 แสนบาท กับเวลา 1 ปี

1 ปี มี 12 เดือน นั่นคือ เงิน 1 แสนบาท แบ่งเก็บรายเดือน ต้องเก็บเดือนละ 8,333 บาท

1 ปี มี 52 สัปดาห์ นั่นคือ เงิน 1 แสนบาท แบ่งเก็บรายสัปดาห์ ต้องเก็บสัปดาห์ละ 1,923 บาท

1 ปี มี 365 วัน นั่นคือ เงิน 1 แสนบาท แบ่งเก็บรายวันต้องเก็บวันละ 274 บาท

นี่คือค่าเฉลี่ยที่เป็นทางสายกลาง ถ้าจะเลือกเก็บเงินเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน ให้ได้เงินเก็บ 1 แสนบาท ใน 1 ปี ทุกคนก็ต้องทำแบบนี้

แต่ถ้าอยากจะนำค่าเฉลี่ยนี้มาประยุกต์ เพิ่มลูกเล่น ก็ทำได้เช่นกัน เช่น

ถ้าเลือกจะเก็บเป็นรายสัปดาห์ ถ้าปัดเป็นตัวเลขกลม ๆ ก็จะได้ 1,900 บาท

ใส่ลูกเล่นให้ดูสนุก แบ่งเป็น

วันจันทร์ เก็บ 100 บาท

วันอังคาร เก็บ 200 บาท

วันพุธ เก็บ 200 บาท

วันพฤหัสบดี เก็บ 300 บาท

วันศุกร์ เก็บ 300 บาท

วันเสาร์ เก็บ 400 บาท

วันอาทิตย์ เก็บ 400 บาท

รวม 7 วัน เป็น 1 สัปดาห์ ก็ได้ 1,900 บาท เช่นกัน

1 ปี มี 52 สัปดาห์ จะได้ 52 x 1,900 = 98,800 บาท

ขาดอีก 1,200 บาท ก็เก็บเพิ่มในวันที่ 365 หรือวันสุดท้ายของปี ก็จะครบ 1 แสนบาทพอดี (52 สัปดาห์ จะเท่ากับ 364 วัน)

เพื่อนสาว : ไอเดียเริ่ดอยู่นะเธอ

น้องโน่ : เสริมอีกนิด ถ้าเราเก็บอย่างเดียว แบบหยอดกระปุก เงินที่เก็บได้ก็คือเงินต้นอย่างเดียว ไม่ได้งอกเงยอะไร หรืออย่างมากก็เอาเข้าบัญชีออมทรัพย์ได้ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปี ก็แค่ 2 สลึง นิดเดียวเอง แต่ถ้าจะให้เอาไปลงทุนก็ดูจะเสี่ยงเกินไป

ดังนั้น ก้าวแรกเก็บเงินแสนเอาเงินเก็บนี้ไปใส่กองทุนรวมตลาดเงินได้นะ เพราะความเสี่ยงเป็นศูนย์ ทำไมความเสี่ยงเป็นศูนย์ เธอควรตอบได้นะ

เพื่อนสาว : ดีออก คิดแปป นึกออกละ เพราะกองทุนรวมตลาดเงินเน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่ไม่มีความเสี่ยง หรือความเสี่ยงเป็นศูนย์ ใช่มะ 

น้องโน่ : เก่งนะ ดีออก

เพื่อนสาว : นี่เธอ แต่ชั้นว่า ถึงจะเน้นสายกลาง เก็บล้อไปกับค่าเฉลี่ย ต่อวันก็หลายตังค์อยู่นะ มันจะทำได้จริงเหรอ

น้องโน่ : ทำได้จริงซิ แต่ขึ้นอยู่กับกำลังของแต่ละคน กำลังที่ว่าคือรายได้ เพราะตัวเลขนี่เราไปเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้แล้ว จะเก็บเงิน 1 แสน ใน 1 ปี เฉลี่ยต่อเดือนก็ต้องเก็บเดือนละ 8,333 บาท เฉลี่ยต่อสัปดาห์ก็ต้องเก็บสัปดาห์ละ 1,923 บาท หรือเฉลี่ยต่อวันก็ต้องเก็บวันละ 274 บาท

เพื่อนสาว : ก็จริงของเธอ

น้องโน่ : เอางี้ มาตรฐานทั่วไปเลยนะ ออมเงิน 20% ของรายได้ต่อเดือน เงินที่ต้องออม คือ 8,333 บาท เพื่อเป้าหมาย 1 แสนบาท ใน 1 ปี เท่ากับว่าควรจะมีเงินเดือนอย่างน้อย 41,665 บาท ก็จะทำได้ง่ายกว่าคนที่เงินเดือนน้อยกว่านี้

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่เงินเดือนน้อยกว่านี้จะทำไม่ได้ เพราะคนที่เงินเดือนน้อยกว่านี้ก็ต้องชาเลนจ์ตัวเอง เช่น เพิ่มเงินออมเป็น 30% ของรายได้ต่อเดือน คนที่มีเงินเดือนประมาณ 27,700 บาท ก็จะทำได้เช่นกัน

เพื่อนสาว : แล้วคนที่เงินเดือนน้อยกว่านี้ละ

น้องโน่ : ควรลดเป้าหมายลง เราไม่จำเป็นต้องตั้งเป้า 1 แสนบาทก็ได้ ทำตามกำลังของเรา อาจจะเริ่มจากครึ่งหนึ่งเหลือ 5 หมื่นบาทก่อน เป้าหมายไม่ได้สำคัญที่สุด แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือเริ่มลงมือทำหรือยัง

เพื่อนสาว : สมมติลดเป้าเหลือ 5 หมื่นบาทใน 1 ปี เท่ากับว่า 1 เดือนต้องเก็บ 4,167 บาท หากอิงเงินออม 20% ของรายได้ต่อเดือน เท่ากับว่า ควรมีเงินเดือนอย่างน้อยประมาณ 20,800 บาท จริงด้วยเธอ มันอยู่ที่เราจะพลิกแพลงยังไงเนอะ

เงินเดือนขั้นต่ำ = (เงินที่ต้องเก็บต่อเดือน x 100) / จำนวนเปอร์เซ็นต์ที่ต้องออมต่อเดือน

นี่คือสมการที่เอาไปคำนวณดูง่าย ๆ ว่าเราควรจะมีรายได้หรือเงินเดือนเท่าไหร่ เพื่อเป้าหมายในการเก็บเงินจะมีโอกาสทำได้จริง

เริ่มจากสัปดาห์ละ 10 บาทแล้วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สามารถแปลงร่างกลายเป็นเงินเก็บได้ถึง 13,780 บาทเลยทีเดียว หากใครรู้สึกว่ามันไม่ท้าทายเราเปลี่ยนตัวเลขได้นะครับ

แต่ลองมาคำนวณเล่นๆ 13,780/365 วัน จะเหมือนกับการเก็บออมวันละ 37.75 บาทเท่านั้น โอ๊ะ

 

Tip ในการออมเพิ่มเติม

  • ลองเพิ่มอัตราให้มากขึ้น เก็บเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 20 บาท ก็จะได้เงินเก็บทั้งสิ้น 27,560 บาท

เก็บเงินวันละ 10 บาท1เดือน

  • หากใครอยากออมแบบมีกำลังใจมากยิ่งขึ้นลองเริ่มเก็บจากมากไปน้อยก็ได้นะ สัปดาห์แรกคือ 520 บาท และทยอยลดลง 510 - 500 - 490 ไปเรื่อยๆ ก็ได้นะครับ

เก็บเงินวันละ 10 บาท1เดือน

  • กรณีที่ใช้วิธีทยอยลดลง บางคนอาจจะใช้วิธีการเริ่มต้นใหม่ที่ 520 บาท ทุก 6 เดือน ดังภาพนี้นะครับ ก็จะมีเงินเก็บถึง 20,530 บาทได้