แผนงาน ด้านความ ปลอดภัย ในสถานศึกษา doc

แผนงาน ด้านความ ปลอดภัย ในสถานศึกษา doc
ฝ่ายบริหารและบุคลากร

แผนงาน ด้านความ ปลอดภัย ในสถานศึกษา doc
E-Service

แผนงาน ด้านความ ปลอดภัย ในสถานศึกษา doc
ดาวน์โหลดเอกสาร

แผนงาน ด้านความ ปลอดภัย ในสถานศึกษา doc
ติดต่อโรงเรียน

แผนงาน ด้านความ ปลอดภัย ในสถานศึกษา doc
หน่วยงานต้นสังกัด

แผนงาน ด้านความ ปลอดภัย ในสถานศึกษา doc
หน่วยงานอื่นๆ

แผนงาน ด้านความ ปลอดภัย ในสถานศึกษา doc
โรงเรียนในสังกัด

แผนงาน ด้านความ ปลอดภัย ในสถานศึกษา doc
แบบสำรวจความคิดเห็นคุณคิดว่าเว็บไซต์ ร.ร.เมืองหลังสวน เป็นอย่างไรดีมากดีพอใช้ปรับปรุง
แผนงาน ด้านความ ปลอดภัย ในสถานศึกษา doc
แผนงาน ด้านความ ปลอดภัย ในสถานศึกษา doc

แผนงาน ด้านความ ปลอดภัย ในสถานศึกษา doc
สถิติผู้เยี่ยมชมเปิดเว็บไซต์13/07/2011ปรับปรุง29/12/2022สถิติผู้เข้าชม1684960Page Views2373193

คู่มือความปลอดภัยในสถานศึกษา

แผนเสริมสร้าง

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้ นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ

แผนเสริมสร้าง

ความปลอดภัยสถานศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ

คำ นำ

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำขึ้นเพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถาน
ศึกษา และหน่วยงานทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ
ศึกษาขั้นพื้นฐานใช้เป็นแนวทางเสริมสร้างการดำเนินการสถานศึกษาปลอดภัย
โดยใช้มาตรการด้านการป้องกัน การปลูกฝัง และการปราบปราม เพื่อไม่ให้
เกิดเหตุการณ์นั้นซ้ำอีก สร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่นให้กับนักเรียน
ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไป ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย และจุดเน้นของ
กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ข้อ ๑. การจัดการ
ศึกษา เพื่อความปลอดภัย 1.1 เร่งสร้างสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อเพิ่มความ
เชื่อมั่นของสังคม และป้องกัน จากภัยคุกคามในชีวิตรูปแบบใหม่ และภัย
อื่น ๆ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าแผน
เสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น
พื้นฐาน เล่มนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานเขต

VOL. 2

พื้นที่การศึกษา ในสถานศึกษา และในหน่วยงานทางการศึกษาสังกัดAนPัRกIงLา2น022
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้เป็นอย่างดี ขอขอบคุณคณะทำงาน
ทุกท่านที่ได้ร่วมกันจัดทำจนสำเร็จ บรรลุตามวัตถุประสงค์

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สารบัญ

๐๑ คำนำ

๐๒ สารบัญ

03
๐๓ หลักการและแนวคิด

๐๕ แนวทางการเสริมสร้าง
ความปลอดภัยสถานศึกษา

๑๓ แนวทางการปฏิบัติตาม
มาตรการ ๓ ป

๒๙ แนวทางการปฏิบัติตามขอบข่าย
ความปลอดภัย

๓๒ การติดตามประเมินผล

เอกสารอ้างอิง

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

หลักการและแนวคิด

ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ
มีวัตถุประสงค์หลักในการเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตของคนทุกช่วงวัย จากภัยคุกคามใน
รูปแบบใหม่ อาทิ อาชญากรรม และความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ยาเสพติด ภัยพิบัติจากภัย
ธรรมชาติ ภัยจากโรคอุบัติใหม่ และภัยจากไซเบอร์ เป็นต้น แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560
– 2579) จึงได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่เกิดจากความก้าวหน้าทางวิทยาการ
และเทคโนโลยี ของโลกยุคศตวรรษที่ 21 เป็นพลวัตที่ก่อให้เกิดความท้าทาย ในด้านการ
เปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมโลก อันเนื่ องจากพัฒนาการของระบบดิจิทัลแบบ
ก้าวกระโดด (Digital Revolution) ส่งผลต่อ ทัศนคติ ความเชื่ อ ค่านิยม วัฒนธรรม และ
พฤติกรรมของประชากร ปรับเปลี่ยนไป เป็นผลให้มีการปรับตัวกับปัญหาใหม่ มีการเร่งแก้ไข
ปัญหาภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและประเทศชาติที่มีความ
ซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้น ซึ่งภัยในแต่ละด้านล้วนส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ

กระทรวงศึกษาธิการประกาศนโยบายด้านความปลอดภัยของนักเรียน ครูและบุคลากร
ทางการศึกษา เป็นนโยบายเร่งด่วนและให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง จากนโยบายดังกล่าว
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มองเห็นภัยที่เกิดแก่นักเรียน ครู และบุคลากร
ทางการศึกษาที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ และส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายและจิตใจในหลายปีที่ผ่านมา
เช่น ภัยจากการคุมคามทางเพศ ภัยจากการบูลลี่และภัยที่เกิดจากโรคอุบัติใหม่ เช่น ภัยจากการ
แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เป็นผลให้เป็นอุปสรรคต่อการ
เรียนรู้และสวัสดิภาพชีวิตของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ดังนั้นเพื่อให้สอดรับกับ
แผนการศึกษาแห่งชาติยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะ
กรรมการการศึกษาขั้นพื้ นฐาน จึงได้จัดตั้งศูนย์ความปลอดภัย สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Safety Center) ศูนย์ความปลอดภัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
และคณะกรรมการความปลอดภัยสถานศึกษาขึ้น โดยมุ่งส่งเสริมความปลอดภัย สร้างความ
มั่นใจให้สังคม ให้ความคุ้มครอง สร้างความปลอดภัย ช่วยเหลือ และเยียวยาให้กับนักเรียน ครู
และบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และได้จัดทำ
แผนเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้ นฐาน

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

เพื่ อขับเคลื่ อนการดำเนินการความปลอดภัยสถานศึกษาโดยใช้มาตรการด้านการป้องกัน
การปลูกฝัง และการปราบปราม ไม่ให้เกิดเหตุการณ์นั้นซ้ำอีก สร้างความมั่นใจและความเชื่อมั่น
ให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไป ซึ่งจะเกิดผลดีต่อการจัดการเรียนการสอนได้
อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลต่อการพัฒนาศักยภาพประชาชนของประเทศ
อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้สถานศึกษาสร้างความปลอดภัย ให้กับนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา
๒. เพื่ อสร้างความมั่นใจ และสร้างความเชื่ อมั่นให้กับสังคมต่อการดำเนินงานด้านความ
ปลอดภัยของสถานศึกษา

เป้าหมาย

๑. สถานศึกษามีระบบเสริมสร้างความปลอดภัยตามบริบทสถานศึกษา
๒. นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความปลอดภัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

แนวทางการเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษา
สถานศึกษาต้องมีการเตรียมความพร้อ
มในการเสริมสร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้นใน

สถานศึกษา โดยมีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้

ขั้นตอนการดำเนินการความปลอดภัยสถานศึกษา

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

๑. แต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยสถานศึกษา โดยความเห็นชอบของคณะ
กรรมการสถานศึกษา มีบทบาทหน้าที่ กำหนดแนวทางการดำเนินการความปลอดภัยสถาน
ศึกษา ส่งเสริมสนับสนุน กำกับ ติดตาม ดูแลแก้ไขปัญหา การดำเนินงานความปลอดภัยสถาน
ศึกษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สัดส่วนของคณะกรรมการ ให้เป็นไปตามบริบทที่เหมาะสม
ของสถานศึกษานั้น ๆ ประกอบด้วย

๑) ผู้บริหารสถานศึกษา
๒) เครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และผู้ปกครอง
๓) คณะกรรมการสถานศึกษา
๔) รองผู้อำนวยการสถานศึกษา/ผู้ที่ได้รับการมอบหมาย
๕) คณะทำงานระดับสถานศึกษา (ครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษา , ครูแนะแนว ,ครู
ฝ่ายปกครอง, สภานักเรียน)
๒. การประเมินสภาพความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและจัดลำดับความเสี่ยง
คณะกรรมการความปลอดภัยสถานศึกษา ประเมินความเสี่ยงสถานศึกษาโดยใช้เครื่องมือ
ตามแบบประเมิน วิเคราะห์ถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นว่ามีความรุนแรง หรือมีความสำคัญที่ส่งผล
กระทบกับความไม่ปลอดภัยต่อผู้เกี่ยวข้องในสถานศึกษา และจัดลำดับความเสี่ยง โดยเรียง
ลำดับความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบมากไปหาน้อยเพื่ อที่จะได้ดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามวาระ
ความเร่งด่วนตามเหตุที่เกิดขึ้น
๓. การจัดทำแผนเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษา
สถานศึกษาดำเนินการจัดทำแผนเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษาตามบริบท
ของสถานศึกษา ที่ได้จากการประเมินความเสี่ยง การวิเคราะห์ และจัดลำดับความเสี่ยงของ
สถานศึกษา แผนเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษา ต้องครอบคลุม มาตรการ 3ป ได้แก่
การป้องกัน การปลูกฝัง และการปราบปราม เป็นมาตรการความปลอดภัยสถานศึกษา
ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ให้หน่วยงานในสังกัดนำไปเป็นแนวปฏิบัติ และขอบข่าย
ความปลอดภัย ๔ กลุ่มภัย ๑) ภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ (Violence)
๒) ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ (Accident) ๓) ภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ์ (Right) ๔) ภัยที่เกิดจาก
ผลกระทบทางสุขภาวะ ทางกายและจิตใจ (Unhealthiness) แผนงานที่กำหนดขึ้น ต้องบ่งบอก
รายละเอียดที่ชัดเจนในการปฏิบัติ ผลสำเร็จที่จะเกิดขึ้น
ในการดำเนินการ ดังนี้

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

๑) กรอบความคิดแผนดำเนินการในแต่ละภารกิจ
๒) เป้าหมาย
๓) ปัญหา
๔) แนวทางขับเคลื่ อนการแก้ปัญหา (กำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติ)
๕) เสร็จตามเป้าหมาย (ระยะเวลาในการสิ้นสุด)
๖) ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๔. การดำเนินการเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษา
สถานศึกษาต้องวางแผนสู่การปฏิบัติในการเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษา
ให้ผู้เกี่ยวข้องนำไปขับเคลื่ อนภารกิจให้สำเร็จเป็นรูปธรรมนั้น การดำเนินการนั้นต้องมี
ความชัดเจน ในการกำหนด บทบาท อำนาจหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ คณะทำงาน ในแต่ละแผน
งานหรือแต่ละกิจกรรมที่ชัดเจน โดยมุ่งเน้นให้เกิดความปลอดภัยต่อนักเรียน ครู และบุคลากร
ทางการศึกษาอย่างยั่งยืน เมื่อดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้รายงานคณะทำงานทราบ
เพื่อเสนอข้อมูล ผลการดำเนินการต่อคณะกรรมการความปลอดภัยสถานศึกษาต่อไป
๕. การกำกับ ติดตามและประเมินผล
สถานศึกษาต้องวางแผนในการกำกับ ติดตาม และประเมินผล การดำเนินงาน
เสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษา ตามห้วงเวลาที่ได้ดำเนินการ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง
ตั้งแต่เริ่มต้น ขณะดำเนินการ และเมื่อสิ้นสุดการดำเนินการ รวมทั้งการประเมินผลการดำเนิน
งานทั้งหมดทุกขั้นตอน ว่าผลการดำเนินงาน บรรลุ เป้าหมาย มีประสิทธิภาพ และเกิด
ประสิทธิผลอย่างสูงสุดเพื่อสรุปข้อมูลรายงานผลการดำเนินงานต่อหน่วยงานต้นสังกัด ตลอด
จนการรายงานผ่านระบบ MOE SAFETY CENTER (กรณีมีเหตุที่จำเป็นต้องรายงานเข้าระบบ)

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

แนวทางการปฏิบัติตามมาตรการ 3 ป

มาตรการความปลอดภัยสถานศึกษา ใช้หลัก 3 ป ได้แก่ มาตรการป้องกัน มาตรการ
ปลูกฝัง มาตรการปราบปราม โดยมีรายละเอียด แนวทางปฏิบัติและตัวชี้วัด ดังนี้

๑. มาตรการการป้องกัน

๑) กำหนดพื้นที่ความปลอดภัย
๑.ประชุม ชี้แจง วางแผน การดำเนินงานด้านความปลอดภัยสถานศึกษาร่วม

กับบุคลากร ภาคีเครือข่าย และหน่วยงาน องค์กร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
๒. กำหนดพื้นที่ควบคุมความปลอดภัย รวมถึงป้ายสัญลักษณ์ และอุปกรณ์

ควบคุมความปลอดภัยส่วนบุคคล
๓.จัดทำป้ายสัญลักษณ์แสดงความเสี่ยงในพื้ นที่ที่มีความเสี่ยง
๔. จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศด้านความปลอดภัยของสถานศึกษา

๒) จัดทำแผนความปลอดภัยสถานศึกษา
๑. แต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยสถานศึกษา โดยการมีส่วนร่วมจาก

ภาคี เครือข่ายและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
๒. เสนอแผนความปลอดภัยสถานศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น

พื้ นฐาน
๓. กำหนดระยะเวลาการดำเนินงาน และผู้รับผิดชอบงาน
๔. กำหนดนโยบายความปลอดภัยสถานศึกษา
๕. เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์นโยบาย และแผนความปลอดภัยสถานศึกษา

๓) การจัดสภาพแวดล้อม และบรรยากาศของสถานศึกษา
๑. จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพภูมิทัศน์ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องน้ำ

ห้องพิเศษ และห้องอื่น ๆ ให้มีความปลอดภัย
๒. จัดทำแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษาที่หลากหลาย

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

๔) การจัดโครงสร้างบริหารจัดการความปลอดภัยสถานศึกษา
๑. สำรวจและประเมินสภาพความเสี่ยงด้านความปลอดภัยสถานศึกษา
๒. สถานศึกษาจัดทำโครงสร้างบริหารจัดการความปลอดภัยสถานศึกษา
๓. กำหนดบทบาทหน้าที่ ภาระงานของคณะกรรมการ
๔. จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานของคณะกรรมการความปลอดภัยสถานศึกษา
๕. ประสานความร่วมมือของคณะกรรมการ ภาคีเครือข่ายและหน่วยงาน

ต้นสังกัด
๕) การจัดทำข้อมูลสารสนเทศความปลอดภัยสถานศึกษา
๑. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศความปลอดภัยของ

สถานศึกษา
๒. จัดหาเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ
๓. เก็บรวบรวมข้อมูลอย่างครบถ้วนรอบด้าน
๔. วิเคราะห์ข้อมูล จัดระบบหมวดหมู่สารสนเทศ
๕. จัดทำรายงานระบบข้อมูลสารสนเทศ และจัดเก็บอย่างเป็นระบบ

๖) การสร้างการมีส่วนร่วมของสถานศึกษา และภาคีเครือข่าย
๑. ประสานความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในพื้ นที่และ

ภาคส่วนต่าง ๆ
๒. มีการประชุมวางแผนเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษาร่วมกัน
๓. มีกิจกรรมการดำเนินงานในการเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษา
๔. มีการประเมินผลร่วมกัน
๕. มีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ความร่วมมือ มีการยกย่องชมเชยเครือข่าย

ภาคีความร่วมมือ
๗) การจัดระบบช่องทางการสื่อสารด้านความปลอดภัยของสถานศึกษา
๑. แต่งตั้งคณะทำงานด้านการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์องค์กร
๒. กำหนดรูปแบบการสื่ อสาร ประชาสัมพันธ์ที่ครอบคลุมทั้ง 3 ช่องทาง

ประกอบด้วย
๑) On Ground ได้แก่ การจัดป้ายนิทรรศการ จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์

การจัดกิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ
๒) On Line ได้แก่ การเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ทางสื่อ

สังคมออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น Facebook, Line เป็นต้น

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

๓) On Air ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ผ่านระบบเสียงตามสาย ทั้งในสถาน
ศึกษาและชุมชน

๓. ปรับรูปแบบระบบช่องทางการสื่อสารด้านความปลอดภัยของสถานศึกษา
ให้สอดคล้องกับบริบทและสภาพการณ์ของสถานศึกษา

๘) การจัดระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียน
๑. แต่งตั้งคณะกรรมการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับสถานศึกษา
๒. คัดกรองนักเรียนแยกเป็น ๓ กลุ่ม ได้อย่างชัดเจน ประกอบด้วย กลุ่มปกติ

กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหา
๓. เก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคลด้วยเครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสม เช่น

การเยี่ยมบ้านนักเรียน การสอบถาม การสัมภาษณ์ เป็นต้น
๔. จัดกิจกรรมสำหรับเด็กกลุ่มต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ดังนี้
- กลุ่มปกติ จัดกิจกรรมส่งเสริม ความสามารถตามปกติ
- กลุ่มเสี่ยง จัดกิจกรรมป้องกันปัญหา
- กลุ่มมีปัญหา จัดกิจกรรมแก้ปัญหา และระบบส่งต่อ
๕. สรุป รายงานผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

๙) การประเมินนักเรียนรายบุคคล ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม สติปัญญาและความ ต้องการ
๑. มอบหมายให้ครูประจำชั้น /ครูที่ปรึกษา มีหน้าที่ในการประเมิน นักเรียน

รายบุคคล
๒. จัดทำเครื่องมือวัดและประเมินนักเรียนรายบุคคลที่ครอบคลุมทุกด้าน
๓. ครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษา ดำเนินการประเมินนักเรียนรายบุคคล
๔. จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ รายงานผลการประเมินนักเรียนรายบุคคล

๒. มาตรการการปลูกฝัง

๑) การสร้างจิตสำนึก ความตระหนักการรับรู้ และความเข้าใจด้านความปลอดภัยให้
แก่ตนเองผู้อื่น และสังคม

๑. สำรวจข้อมูลด้านความปลอดภัย สถานศึกษา
๒. จัดลำดับความรุนแรง เร่งด่วนของ ความปลอดภัยสถานศึกษา
๓. ปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดยเพิ่มเนื้อหาด้านความปลอดภัย
สถานศึกษาที่สอดคล้องกับความรุนแรง เร่งด่วน

๑๐

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

๔. แต่งตั้งคณะกรรมการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับสถานศึกษา
๕. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านความปลอดภัยของสถานศึกษา ให้แก่ ครู
บุคลากร ทางการศึกษา และนักเรียน
๖. จัดทำศูนย์บริการสื่อด้านความปลอดภัยในสถานศึกษา เพื่อการศึกษา
ค้นคว้าเพิ่มเติม
๒) การจัดกิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจพัฒนาองค์ความรู้ เกี่ยวกับความปลอดภัย
ให้แก่ นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง
๑. ประชุมครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อชี้แจงแนวทางเกี่ยวกับความ
ปลอดภัยในสถานศึกษา
๒. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยบูรณาการเนื้อหาความปลอดภัยสถานศึกษา
ในรายวิชาต่าง ๆ
๓. การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและ
ชุมชน
๔. จัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่องความปลอดภัยสถานศึกษา
ผ่านกิจกรรม Classroom meeting ระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครอง
๓) การจัดกิจกรรมเสริมสร้าง ทักษะ ประสบการณ์ และสมรรถนะด้านความปลอดภัย
ให้แก่นักเรียน
๑. จัดเวทีประชาธิปไตยในโรงเรียน ให้นักเรียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนมุมมอง
แนวคิด และข้อเสนอแนะต่าง ๆ
๒. จัดกิจกรรมเสริมทักษะประสบการณ์ที่เน้นการลงมือปฏิบัติที่เชื่อมโยงกับ
การดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ นักเรียน ครู และบุคลากรทางการ
ศึกษา
๓. จัดกิจกรรมสอดแทรกด้านความปลอดภัยสถานศึกษาในกิจกรรมวันสำคัญ
ต่าง ๆ
๔. สรรหาต้นแบบผู้จัดกิจกรรม และการจัดกิจกรรมเสริมทักษะที่เป็นเลิศ

๓. มาตรการการปราบปราม

๑) การจัดการแก้ไขปัญหา กรณีเกิดเหตุความไม่ปลอดภัยในสถานศึกษา
๑. กำหนดแนวทางปฏิบัติการจัดการ หรือการระงับเหตุ การช่วยเหลือเมื่อเกิด

เหตุในสถานศึกษา และสร้างการรับรู้ร่วมกันทุกภาคส่วน

๑๑

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

๒. จัดตั้งคณะทำงานเคลื่อนที่เร็ว (Roving Team) ที่สามารถเข้าระงับเหตุได้
อย่างทันเหตุการณ์

๓. เตรียมบุคลากร และเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ที่พร้อมรับสถานการณ์
๔. ติดตั้งระบบเตือนภัย เช่น กล้อง วงจรปิด สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้
๕. ซ่อมระงับเหตุอย่างต่อเนื่อง เช่น การดับเพลิง การซ้อมหนีไฟ การปฐม
พยาบาลเบื้องต้น เป็นต้น
๖. ประสานงานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อให้ความช่วยเหลือได้ทันเหตุการณ์
๗. ส่งต่อผู้ประสบเหตุ เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ
๘. กำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงาน
๒) การช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้ นฟู จิตใจบุคคลผู้ประสบเหตุความไม่ปลอดภัย
๑. จัดทำข้อมูลบุคคลและหน่วยงาน ในพื้นที่ตั้งของสถานศึกษา ที่สามารถ
ติดต่อ ประสานงานและให้การช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้ นฟู จิตใจได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที
๒. จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือเยียวยา ฟื้ นฟู และให้คำปรึกษา โดยการมีส่วนร่วมของ
เครือข่ายต่าง ๆ
๓. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการช่วยเหลือที่เหมาะสม
๔. ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม หน่วยงาน องค์กร เพื่อให้การช่วยเหลือ
เยียวยา ฟื้ นฟู
๕. จัดระบบประกันภัยรายบุคคล หรือรายกลุ่มที่สามารถให้การคุ้มครองสำหรับ
นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา
๖. สร้างขวัญกำลังใจ โดยการติดตาม เยี่ยมเยือนอย่างสม่ำเสมอ
๓) ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย
๑. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการด้านกฎหมาย ให้ผู้ประสบเหตุได้รับความ
คุ้มครองตามที่กฎหมายกำหนด
๒. รายงานเหตุการณ์ต่อผู้บังคับบัญชา หน่วยงานต้นสังกัด
๓. ดำเนินคดี จำแนกประเภทของเหตุที่เกิด ติดต่อประสานงานผู้ปกครอง
เพื่อดำเนินการหรือดำเนินการแทนผู้ปกครอง ให้การคุ้มครองนักเรียนให้อยู่ในความปลอดภัย

๑๒

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

แนวทางการปฏิบัติตามขอบข่ายความปลอดภัย

ขอบข่ายความปลอดภัยสถานศึกษาจำแนกเป็น ๔ กลุ่มภัย โดยมีการดำเนินงานความ
ปลอดภัยสถานศึกษาตามมาตรการ ๓ ป ได้แก่ การป้องกัน การปลูกฝัง และการปราบปราม ซึ่ง
ในแต่ละมาตรการมีแนวปฏิบัติตามรายละเอียด ดังนี้

๑. ภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์
Violence

๑) การล่วงละเมิดทางเพศ
การป้องกัน

๑. สำรวจนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและพื้นที่ที่เป็นจุดเสี่ยง
๒. เฝ้าระวัง สังเกตพฤติกรรมนักเรียน และพัฒนาพื้นที่เสี่ยงให้ปลอดภัย
๓. สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๔. จัดระบบการสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลด้านพฤติกรรมนักเรียนทั้งในสถานศึกษา

และชุมชน
การปลูกฝัง

๑. จัดกิจกรรมส่งเสริมความตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเอง
๒. จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต
๓. ฝึกทักษะการปฏิเสธ และการเอาตัวรอดในสถานการณ์ต่าง ๆ
การปราบปราม
๑. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ช่องทางในการขอความช่วยเหลือ

๒. แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือ
ได้ทันเหตุการณ์

๓. แต่งตั้งคณะทำงานด้านกฎหมายเพื่อให้ความช่วยเหลือ
๔. ประสานภาคีเครือข่ายเพื่อการส่งต่อที่เหมาะสม

๑๓

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

๒) การทะเลาะวิวาท
การป้องกัน

๑. จัดทำระเบียบในการประพฤติปฏิบัติตนในสถานศึกษา
๒. ประชุมชี้แจงทำความเข้าในการปฏิบัติตนตามระเบียบ
๓. เฝ้าระวัง สังเกตพฤติกรรมทั้งในระดับชั้นเรียน สถานศึกษา และชุมชน
๔. สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังในสถานศึกษาและชุมชน
๕. จัดระบบติดต่อสื่อสารเพื่อติดตามพฤติกรรมนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
การปลูกฝัง
๑. ให้ความรู้เรื่องการอยู่ร่วมกันในสังคม และผลกระทบที่เกิดจากการทะเลาะวิวาท
๒. จัดกิจกรรมส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคม
๓. จัดเวทีกิจกรรมให้นักเรียนได้แสดงออกตามความสามารถอย่างเหมาะสม
การปราบปราม
๑. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๒. ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วมเพื่อร่วมแก้ปัญหา
๓. ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเน้นการไกลเกลี่ย

ประนีประนอมตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก

๓) การกลั่นแกล้งรังแก
การป้องกัน

๑. สำรวจนักเรียนกลุ่มเสี่ยงทั้งกลุ่มผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ
๒. จัดทำระเบียบข้อตกลงร่วมกัน ทั้งในระดับชั้นเรียนและระดับสถานศึกษา
๓. สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๔. จัดระบบการสื่อสารเพื่อติดตามพฤติกรรมนักเรียน
การปลูกฝัง
๑. ให้ความรู้ความเข้าใจหลักในการอยู่ร่วมกันในสังคม
๒. จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ทำร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
๓. จัดเวทีให้นักเรียนได้แสดงออกตามความสามารถอย่างเหมาะสม
การปราบปราม
๑. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุ ทั้งในระดับ

ชั้นเรียน สถานศึกษา และชุมชน

๑๔

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

๒. ดำเนินการเอาโทษตามระเบียบข้อตกลง โดยเน้นการไกล่เกลี่ยประนี
ประนอมตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก

๓. ติดตาม เยี่ยมเยือน ให้กำลังใจผู้ถูกกระทำและสร้างความเข้าใจกับผู้กระทำ

๔) การชุมนุมประท้วงและการจลาจล
การป้องกัน

๑. สำรวจนักเรียนกลุ่มเสี่ยง
๒. เฝ้าระวัง สังเกตพฤติกรรมนักเรียน และพัฒนาพื้นที่เสี่ยงให้ปลอดภัย
๓. สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและในชุมชน
๔. จัดระบบการสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลด้านพฤติกรรมนักเรียนทั้งในสถานศึกษา

และชุมชน
การปลูกฝัง

๑. สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ กฎหมาย สิทธิและหน้าที่พลเมือง
๒. สร้างองค์ความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการชุมนุมประท้วง และ

การจลาจล
๓. จัดกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ
๔. จัดกิจกรรมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชนในโอกาสที่เหมาะสม
การปราบปราม
๑. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๒. ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วมเพื่อร่วมแก้ปัญหา
๓. ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเน้นการไกล่เกลี่ยประนีประนอม

ตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก

๕) การก่อวินาศกรรม
การป้องกัน

๑. สำรวจนักเรียนกลุ่มเสี่ยง
๒. เฝ้าระวัง สังเกตพฤติกรรมนักเรียน
๓. สร้างเครือข้ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและในชุมชน
๔. จัดระบบการสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลด้านพฤติกรรม

นักเรียนทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

๑๕

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

การปลูกฝัง
๑. สร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการก่อวินาศกรรม
๒. จัดกิจกรรมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชน ในโอกาสที่เหมาะสม
๓. จัดเวทีให้นักเรียนได้แสดงออกตามความสามารถอย่างเหมาะสม
การปราบปราม

๑. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๒. ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา
๓. ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเน้นการไกล่เกลี่ยประนีประนอม

ตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก

๖) การระเบิด
การป้องกัน

๑. สำรวจนักเรียนกลุ่มเสี่ยง
๒. สำรวจข้อมูลแหล่งที่มาของวัตถุประกอบระเบิด
๓. สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๔. จัดระบบติดต่อสื่อสารเพื่อติดตามพฤติกรรมนักเรียน
การปลูกฝัง
๑. สร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการใช้ระเบิด
๒. จัดกิจกรรมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชนในโอกาสที่เหมาะสม
๓. จัดเวทีให้นักเรียนได้แสดงออกออกตามความสามารถอย่างเหมาะสม
การปราบปราม
๑. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๒. ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา
๓. ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเน้นการไกล่เกลี่ยประนีประนอม

ตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก

๗) สารเคมีและวัตถุอันตราย
การป้องกัน

๑. จัดทำมาตรการและแนวปฏิบัติในการดำเนินการ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี
และวัตถุอันตราย

๒. สถานที่ในการจัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายให้มิดชิด
๓. สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังการใช้สารเคมีและวัตถุอันตรายทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

๑๖

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

การปลูกฝัง
๑. สร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจาการใช้สารเคมีและวัตถุอันตราย
๒. จัดกิจกรรมส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ใน
การดำเนินชีวิต
๓. จั ดกิ จกรรมให้นักเรียนได้ เรียนรู้หลั กปรัชญาของเศรษฐกิ จพอเพียง
ในสถานที่จริง ในพื้นที่

การปราบปราม
๑. ติดต่อประสานงานเครือข่ายการมีส่วนร่วมเพื่อร่วมแก้ปัญหา
๒. ดำเนินการตามมาตรการและข้อตกลงที่กำหนดร่วมกัน

๘) การล่อลวง ลักพาตัว
การป้องกัน

๑. สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๒. จัดระบบการติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรม

นักเรียน ผู้ใกล้ชิด และบุคคลภายนอก
๓. จัดทำข้อมูลช่องทางขอความช่วยเหลือเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียน

และชุมชน
การปลูกฝัง

๑. การจัดกิจกรรมส่งเสริมความตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเอง
๒. จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตอย่างรอบด้าน
๓. ฝึกทักษะการปฏิเสธ และการเอาตัวรอดในสถานการณ์ต่าง ๆ
การปราบปราม
๑. แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือ

ได้ทันเหตุการณ์
๒. แต่งตั้งคณะทำงานด้านกฎหมายเพื่อให้ความช่วยเหลือ
๓. ประสานภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมแก้ปัญหา

๑๗

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

๒. ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ

Accident

๑) ภัยธรรมชาติ
การป้องกัน

๑. สำรวจข้อมูลความเสี่ยงที่เกิดจากภัยธรรมชาติ
๒. จัดทำแผนป้องกันภัยทางธรรมชาติ
๓. จัดตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือในการป้องกันภัยธรรมชาติ
๔. ซักซ้อมการเผชิญเหตุภัยธรรมชาติ
การปลูกฝัง
๑. สร้างความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากธรรมชาติรูปแบบต่าง ๆ
๒. จัดกิจกรรมฝึกทักษะการเผชิญปัญหาภัยธรรมชาติ
๓. จัดกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การปราบปราม
๑. แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือ

ได้ทันเหตุการณ์
๒. ติดต่อสื่อสารเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมให้ความช่วยเหลือและแก้ปัญหา
๓. ประสานงานหน่วยงาน องค์กร เพื่อให้ความช่วยเหลือ เยียวยา และฟื้ นฟูจิตใจ
๒) ภัยจากอาคารเรียน สิ่งก่อสร้าง
การป้องกัน
๑. สำรวจสภาพของอาคารเรียน อาคารประกอบ และสิ่งก่อสร้าง
๒. ติดป้ายสัญลักษณ์ในอาคาร หรือพื้นที่ที่ไม่แข็งแรงและมีความเสี่ยง
๓. ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนหลีกเลี่ยงการเข้าพื้นที่เสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
การปลูกฝัง
๑. สร้างความรู้ความเข้าใจถึงหลักการสร้างความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต
๒. ฝึกทักษะการสังเกตและหลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยง
๓. จัดกิจกรรมฝึกทักษะการเอาตัวรอดเมื่อประสบภัย

จากอาคารเรียน และสิ่งก่อสร้าง

๑๘

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

การปราบปราม
๑. สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมและดำเนินการช่วยเหลือและแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ
๒. ประสานงานหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เพื่อให้ความช่วยเหลือ

๓) ภัยจากยานพาหนะ
การป้องกัน

๑. สำรวจข้อมูลยานพาหนะในสถานศึกษา
๒. จัดระบบสัญจรในสถานศึกษาสำหรับยานพาหนะประเภทต่าง ๆ และสำหรับ

การเดินเท้า
๓. จัดทำแผนให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากยานพาหนะ
๔. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เพื่อการช่วยเหลือ
๕. ส่งเสริมสนับสนุนการทำประกันภัย ประกันอุบัติเหตุ
การปลูกฝัง
๑. จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการใช้รถใช้ถนนและเครื่องหมายจราจร
๒. จัดกิจกรรมฝึกทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อประสบภัยจากยานพาหนะ
๓. จัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกในการปฏิบัติตามกฎจราจร
การปราบปราม
๑. แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือ

ได้ทันเหตุการณ์
๒. ติดต่อสื่อสารเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมให้ความช่วยเหลือและแก้ปัญหา
๓. ประสานงานหน่วยงาน องค์กร เพื่อให้ความช่วยเหลือ เยียวยา และฟื้ นฟูจิตใจ
๔) ภัยจากการจัดกิจกรรม
การป้องกัน
๑. แต่งตั้งคณะทำงานประเมินความเสี่ยงในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
๒. จัดแยกกิจกรรมตามระดับความเสี่ยง
๓. เสนอแนะแนวทางในการป้องกันความเสี่ยงในกิจกรรมต่าง ๆ

๑๙

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

การปลูกฝัง
๑. สร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ให้ปลอดภัย
๒. ฝึกทักษะการเลือกปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับตนเอง
๓. จัดกิจกรรมฝึกทักษะการให้ความช่วยเหลือเมื่อประสบภัยจากการปฏิบัติกิจกรรม

การปราบปราม
๑. แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือ
ได้ทันเหตุการณ์
๒. ติดต่อสื่อสารเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมให้ความช่วยเหลือและแก้ปัญหา
๓. ดำเนินการส่งต่อเพื่อการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ

๕) ภัยจากเครื่องมือ อุปกรณ์
การป้องกัน

๑. สำรวจข้อมูลเครื่องมือ อุปกรณ์ จัดแยกส่วนที่ชำรุดและส่วนที่ใช้งานได้
๒. จัดทำคู่มือการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ให้ปลอดภัย
๓. ดำเนินการซ่อมแซม บำรุงรักษาและการจัดเก็บเครื่องมือ อุปกรณ์ ให้เป็นระบบ
การปลูกฝัง
๑. จัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจ หลักการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ให้ปลอดภัย
๒. ฝึกทักษะการใช้ การบำรุงรักษา การจัดเก็บเครื่องมือ อุปกรณ์
๓. จัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในคุณค่าของเครื่องมือ อุปกรณ์
การปราบปราม
๑. แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือ

ได้ทันเหตุการณ์
๒. ประสานเครือข่ายความร่วมมือเพื่อให้ความช่วยเหลือ
๓. ดำเนินการส่งต่อเพื่อการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ

๒๐

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

๓. ภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ์

Right

๑) การถูกปล่อยปละ ละเลย ทอดทิ้ง
การป้องกัน

๑. สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๒. จัดระบบการติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรมนักเรียน และผู้ใกล้ชิด
๓. จัดทำข้อมูลช่องทางขอความช่วยเหลือเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียน

และชุมชน
การปลูกฝัง

๑. กิจกรรมส่งเสริมความตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเอง
๒. จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตอย่างรอบด้าน
๓. ฝึกทักษะการปฏิเสธการเอาตัวรอด และการขอความช่วยเหลือ
การปราบปราม
๑. แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือ

ได้ทันเหตุการณ์
๒. แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย
๓. ประสานภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมแก้ปัญหา
๔. ติดตามเยี่ยมเยือนให้กำลังใจอย่างสม่ำเสมอ
๒) การคุกคามทางเพศ

การป้องกัน
๑. สำรวจนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและพื้นที่เป็นจุดเสี่ยง
๒. เฝ้าระวัง สังเกตพฤติกรรมนักเรียน และพัฒนาพื้นที่เสี่ยง
ให้ปลอดภัย
๓. สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและในชุมชน
๔. จัดระบบการสื่อสารเพื่อรับส่ง
ข้อมูลด้านพฤติกรรมนักเรียน
ทั้งในสถานศึกษาและชุมชน

๒๑

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

การปลูกฝัง
๑. จัดกิจกรรมส่งเสริมความตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเอง
๒. จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตรอบด้าน
๓. ฝึกทักษะการปฏิเสธ การเอาตัวรอดในสถานการณ์ต่าง ๆ

การปราบปราม
๑. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ช่องทางในการขอความช่วยเหลือ
๒. แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือ
ได้ทันเหตุการณ์
๓. แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย
๔. ประสานภาคีเครือข่ายเพื่อการส่งต่อที่เหมาะสม
๕. สร้างขวัญกำลังใจโดยการติดตามเยี่ยมเยือนอย่างสม่ำเสมอ

๓) การไม่ได้รับความเป็นธรรมจากสังคม
การป้องกัน

๑. สำรวจข้อมูลนักเรียนรายคน
๒. วิเคราะห์สภาพปัญหาความต้องการ ความขาดแคลน

ของนักเรียนรายคน
๓. จัดทำแผนให้ความช่วยเหลือนักเรียนตามความขาดแคลน
๔. สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อประสานความช่วยเหลือ
การปลูกฝัง
๑. สร้างความรู้ความเข้าใจถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อสังคม
๒. บริการให้คำปรึกษาสำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง
๓. จัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกในความเสมอภาค เอื้อเฟื้ อเผื่อแผ่ต่อกัน
การปราบปราม
๑. แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือ

ได้ทันเหตุการณ์
๒. ประสานภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมแก้ปัญหา
๓. ติดตามเยี่ยมเยือนให้กำลังใจอย่างสม่ำเสมอ

๒๒

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

๔. ภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจ

Unhealthiness

๑) ภาวะจิตเวช
การป้องกัน

๑. สำรวจข้อมูลนักเรียนกลุ่มเสี่ยง
๒. ติดต่อประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วมเพื่อประเมินภาวะจิตใจ
๓. จัดหลักสูตรการเรียนการสอนพิเศษรายคน
๔. สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๕. จัดระบบติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง
การปลูกฝัง
๑. จัดกิจกรรมส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของนักเรียน
๒. จัดเวทีให้นักเรียนได้แสดงออกตามความสามารถ
๓. จัดกิจกรรมส่งเสริมการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
การปราบปราม
๑. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๒. ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา
๓. ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเน้นการไกล่เกลี่ยประนีประนอม

ตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก
๔. ประสานการส่งต่อเพื่อให้ความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ

๒) ติดเกม
การป้องกัน

๑. สำรวจข้อมูลนักเรียนกลุ่มเสี่ยง
๒. สำรวจข้อมูลพื้นที่แหล่งให้บริการร้านเกม
๓. กำหนดข้อตกลงเพื่อปฏิบัติร่วมกัน
๔. สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษา

และชุมชน
๕. จัดระบบติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรม

อย่างต่อเนื่อง

๒๓

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

การปลูกฝัง
๑. สร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการติดเกม
๒. จัดกิจกรรมส่งเสริมการการคิด วิเคราะห์ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
๓. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่สนองต่อความสนใจของนักเรียนอย่างหลากหลาย

การปราบปราม
๑. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๒. ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา
๓. ดำเนินการเอาผิดตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ร่วมกัน
๔. ติดตามเยี่ยมเยือนเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ

๓) ยาเสพติด
การป้องกัน

๑. สำรวจข้อมูลนักเรียนกลุ่มเสี่ยง
๒. วิเคราะห์นักเรียนรายบุคคล
๓. กำหนดข้อตกลงเพื่อปฏิบัติร่วมกัน
๔. สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๕. จัดระบบติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรม

อย่างต่อเนื่อง
การปลูกฝัง

๑. สร้างความรู้ความเข้าใจถึงโทษภัย และผลกระทบของการติดยาเสพติด
๒. จัดกิจกรรมต่อต้านยาเสพติดในวันสำคัญต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ
๓. จัดกิจกรรมส่งเสริมการการคิด วิเคราะห์ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
๔. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่สนองต่อความสนใจของนักเรียนอย่างหลากหลาย
การปราบปราม
๑. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๒. ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา
๓. ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเน้นการไกล่เกลี่ยประนีประนอม

ตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก
๔. ประสานการส่งต่อเพื่อให้ความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ

๒๔

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

๔) โรคระบาดในมนุษย์
การป้องกัน

๑. สำรวจข้อมูลด้านสุขภาพของนักเรียนรายคนและบุคคลใกล้ชิด
๒. จัดทำแผนในการป้องกันโรคระบาดในมนุษย์
๓. บริการวัสดุ อุปกรณ์ในการป้องกันโรคระบาดในมนุษย์
๔. สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๕. จัดระบบติดต่อสื่อสารเพื่อติดตามข้อมูลด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
การปลูกฝัง
๑. สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคระบาดในมนุษย์
๒. จัดกิจกรรมฝึกทักษะการปฏิบัติตน เพื่อความปลอดภัยจากโรคระบาดในมนุษย์
๓. จัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
การปราบปราม
๑. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๒. ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา
๓. ดำเนินการตามมาตรการที่กฎหมายกำหนด
๔. ประสานการส่งต่อเพื่อให้ความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ

๕) ภัยไซเบอร์
การป้องกัน

๑. สำรวจข้อมูลการใช้งานระบบไซเบอร์ของนักเรียนรายคน
๒. กำหนดข้อตกลงเพื่อปฏิบัติร่วมกัน
๓. สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๔. จัดระบบติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง
การปลูกฝัง
๑. สร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการใช้งานระบบไซเบอร์โดยขาดวิจารณญาณ
๒. จัดกิจกรรมส่งเสริมการการคิด วิเคราะห์ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
๓. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่สนองต่อความสนใจของนักเรียนอย่างหลากหลาย
การปราบปราม
๑. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๒. ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา
๓. ดำเนินการเอาผิดตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ร่วมกัน
๔. ติดตาม เยี่ยมเยือน เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ

๒๕

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

๖) การพนัน
การป้องกัน

๑. สำรวจข้อมูลนักเรียนกลุ่มเสี่ยง
๒. สำรวจพื้นที่ที่เป็นแหล่งการพนัน
๓. กำหนดข้อตกลงเพื่อปฏิบัติร่วมกัน
๔. สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๕. จัดระบบติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง
การปลูกฝัง
๑. สร้างความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการพนัน
๒. จัดกิจกรรมส่งเสริมการการคิด วิเคราะห์ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
๓. กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่สนองต่อความสนใจของนักเรียนอย่างหลากหลาย
การปราบปราม
๑. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๒. ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา
๓. ดำเนินการเอาผิดตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ร่วมกัน
๔. ติดตามเยี่ยมเยือนเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ

๗) มลภาวะเป็นพิษ
การป้องกัน

๑. สำรวจข้อมูลพื้นที่ที่เกิดมลภาวะเป็นพิษในสถานศึกษาและชุมชน
๒. จัดทำป้ายสัญลักษณ์แสดงพื้นที่มลภาวะเป็นพิษ
๓. จัดทำแผนในการแก้ปัญหามลภาวะเป็นพิษร่วมกัน
๔. กำหนดข้อตกลงในการปฏิบัติร่วมกัน
การปลูกฝัง
๑. สร้างความรู้ความเข้าใจถึงสาเหตุและผลกระทบที่เกิดจากมลภาวะเป็นพิษ
๒. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาและการลดมลภาวะเป็นพิษ
๓. จัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกในการลดมลพิษร่วมกับชุมชน
การปราบปราม
๑. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๒. ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา
๓. ดำเนินการเอาผิดตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ร่วมกัน
๔. ติดตามเยี่ยมเยือนเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ

๒๖

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

๘) โรคระบาดในสัตว์
การป้องกัน

๑. สำรวจข้อมูลสัตว์เลี้ยงของนักเรียนรายคน
๒. จัดทำแผนในการป้องกันโรคระบาดในสัตว์
๓. บริการวัสดุ อุปกรณ์ในการป้องกันโรคระบาดในสัตว์
๔. สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๕. จัดระบบติดต่อสื่อสารเพื่อติดตามข้อมูลสัตว์เลี้ยงอย่างต่อเนื่อง
การปลูกฝัง
๑. สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคระบาดในสัตว์
๒. จัดกิจกรรมฝึกทักษะการปฏิบัติตน เพื่อความปลอดภัยจากโรคระบาดในสัตว์
๓. จัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
การปราบปราม
๑. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อระงับเหตุทั้งในสถานศึกษาและชุมชน
๒. ประสานเครือข่ายการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมแก้ปัญหา
๓. ดำเนินการตามมาตรการที่กฎหมายกำหนด
๔. ประสานการส่งต่อเพื่อให้ความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ
๙) ภาวะทุพโภชนาการ
การป้องกัน
๑. การสำรวจและจัดกลุ่มนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่มีภาวะทุพโภชนาการ
๒. เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ครอบครัว ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
๓. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่ผู้ปกครอง
๔. จัดทำฐานข้อมูลเพื่อตรวจสอบพัฒนาการและความก้าวหน้าในการลด

ภาวะทุพโภชนาการ
๕. จัดหาอุปกรณ์กีฬาให้เพียงพอ
๖. การดูแลอาหารกลางวัน อาหารเสริม และอาหารว่างที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
การปลูกฝัง
๑. จัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่นักเรียน
๒. จัดกิจกรรมออกกำลังกาย และวิธีการรักษาสุขภาพให้กับนักเรียน
๓. การบูรณาการความรู้ด้านโภชนาการในการจัดการเรียนการสอน

๒๗

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

การปราบปราม
๑. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ช่องทางในการขอความช่วยเหลือ
๒. แต่งตั้งคณะทำงานให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือ
ได้ทันเหตุการณ์
๓. แต่งตั้งคณะทำงานกองทุนอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ
๔. ประสานภาคีเครือข่ายเพื่อการส่งต่อที่เหมาะสม

๒๘

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

การติดตามประเมินผล

เพื่อให้การเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษาเกิดประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขสภาพปัญหา
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิผล จึงต้องมีการกำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานอย่าง
ต่อเนื่อง โดยมีผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานดังนี้

ระดับการดำเนินงาน ผู้ติดตามประเมินผล ผู้รายงานผล เครื่องมือที่ใช้ประเมิน

สถานศึกษา คณะกรรมการ ๑. คณะทำงานด้านความ ๑. แบบรายงาน
ความปลอดภัยสถาน ปลอดภัยสถานศึกษา ๒. โปรแกรมการรายงาน
๒. ผู้รับผิดชอบกิจกรรม ๓. การสัมภาษณ์
ศึกษา ความปลอดภัยสถานศึกษา ๔. การสังเกต
๓. นักเรียน ครูและบุคลากร
ในสถานศึกษา

สำนักงานเขต คณะผู้บริหารสำนักงาน ๑. บุคลากรในสำนักงาน ๑. แบบรายงาน
พื้นที่การศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา ๒. โปรแกรมการรายงาน
๒. สถานศึกษา ๓. การสัมภาษณ์
๓. หน่วยงานภาคีเครือข่าย ๔. การสังเกต

สำนักงานคณะกรรมการ กระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานภายในสำนักงาน ๑. เอกสารรายงาน
การศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการการศึกษาขั้น ๒. โปรแกรมการรายงาน
พื้นฐานที่รับผิดชอบ

๒๙

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

เงื่อนไขความสำเร็จ

การเสริมสร้างความปลอดภัยสถานศึกษา จะประสบผลสำเร็จบรรลุเป้าหมายที่กำหนดได้
จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจ ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการขับเคลื่อนภารกิจภายใต้
แนวทางของมาตรการ และขอบข่ายความปลอดภัยที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้น
ฐานกำหนด โดยมีเงื่อนไขบทบาทของผู้เกี่ยวข้องแต่ละฝ่ายดังนี้

๑. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๑) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนและเป็นที่ปรึกษาให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
๒) พัฒนาระบบสารสนเทศ และแฟลตฟอร์ม ในการรองรับการรายงานข้อมูล
๓) นิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ

๒. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
๑) ประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ความเข้าใจใน ๔ กลุ่มภัย ให้โรงเรียนในสังกัดได้รับ
ทราบอย่างทั่วถึง
๒) ประสานองค์กรต่าง ๆ ในการสนับสนุน ช่วยเหลือโรงเรียน
๓) นิเทศ กำกับ ติดตาม การดำเนินการของโรงเรียนตามมาตรการที่กำหนด
๔) รายงานผลการดำเนินงานต่อหน่วยงานต้นสังกัดอย่างสม่ำเสมอ
๕) ประชุม ตรวจเยี่ยม สร้างขวัญกำลังใจ

๓. สถานศึกษา
๑) จัดให้มีการประชุมร่วมกันของคณะกรรมการสถานศึกษา คณะครู ชุมชน ในการ
สร้างเสริมความปลอดภัยสถานศึกษา
๒) จัดเวทีประชาธิปไตย รับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านจากนักเรียน ครูและ
บุคลากรที่เกี่ยวข้อง
๓) ประกาศนโยบายด้านความปลอดภัยจาก ๔ กลุ่มภัย ให้ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชน
รับทราบ
๔) แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินการในภารกิจต่าง ๆ ที่ส่งเสริมความปลอดภัยสถานศึกษา
๕) ประเมินความพร้อมด้านความปลอดภัยจาก ๔ กลุ่มภัยอย่างสม่ำเสมอ
๖) ทบทวน ปรับปรุง ซักซ้อมมาตรการความปลอดภัย
ของสถานศึกษา
๗) ควบคุม กำกับติดตามตรวจสอบ และรายงานการ
ส่งเสริมความปลอดภัยสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง

๓๐

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

๔. ครูและบุคลากรทางการศึกษา
๑) จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพของห้องเรียน สถานศึกษา ให้มีสภาพที่ปลอดภัย
อยู่เสมอ
๒) สร้างบรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตยในห้องเรียน และการปกครองดูแล
นักเรียน
๓) เปิดรับฟังความคิดเห็น และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับทุกฝ่ายที่
เกี่ยวข้อง
๔) จัดทำแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยจาก ๔ กลุ่มภัย
๕) จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยบูรณาการ เนื้อหาความปลอดภัย ๔ กลุ่มภัย
๖) จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีความเข้มแข็ง และทั่วถึง

๕. ผู้ปกครองนักเรียน
๑) ติดตามข้อมูลข่าวสาร สถานการณ์ด้านความปลอดภัยจาก ๔ กลุ่มภัย
๒) สังเกตและประเมินความเสี่ยงของตนเอง นักเรียนในปกครอง อยู่เสมอ
๓) สอดส่อง ดูแลความสะอาด และความปลอดภัยของนักเรียนในปกครองอยู่เสมอ
๔) ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษา ชุมชน และหน่วยงานต่าง ๆ ในการเสริมสร้าง
ความปลอดภัย

๖. นักเรียน
๑) ติดตามข้อมูลข่าวสาร สถานการณ์ด้านความปลอดภัยจาก
๔ กลุ่มภัย
๒) สร้างความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันตนเองและลดความเสี่ยง
จาก ๔ กลุ่มภัย
๓) พัฒนาตนเองในกระบวนการส่งเสริมประชาธิปไตย และการวิเคราะห์
ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง
๔) ประเมินความเสี่ยงของตนเองจาก ๔ กลุ่มภัย
๕) ปฏิบัติตามมาตรการของความปลอดภัยจาก ๔ กลุ่มภัย
๖) ขอคำปรึกษาจากครู ผู้ปกครอง ในกรณีมีความสงสัยหรือพบปัญหาที่อยู่ใน
สภาวะเสี่ยงกับ ๔ กลุ่มภัย

๓๑

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

เอกสารอ้างอิง

แนวทางการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนด้านความปลอดภัย ปีการศึกษา ๒๕๖๕
ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID19)

คู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๖๔
คู่มือการคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน (ฉบับพัฒนา พ.ศ. ๒๕๖๓)
คู่มือแนวทางปฏิบัติและมาตรการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ.
๒๕๕๖
คู่มือโครงการเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ
ทำงานในสถานศึกษา
มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้
สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.๒๕๖๒
มาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก
แบบประเมินตนเองตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก
คู่มือการรับมือแผ่นดินไหว
การปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙ กรมอนามัย
กระทรวงสาธารณสุข
พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ.๒๕๕๔
กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยพ.ศ.๒๕๕๕
กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ.๒๕๔๖

๓๒

แผนเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

บรรณาธิการ

๑. นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๒. นายปรีดี โสโป รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต ๒

๓. นายตฤณ ก้านดอกไม้ นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ

สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน

ออกแบบรูปเล่ม/ปก

๑. นางสาวดุสิดา พุทธิไสย นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต ๑

๒. นายชานุพงษ์ เจริญไชย ครู โรงเรียนบ้านดอนสัมพันธ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต ๑

แผนเสริมสร้าง

ความปลอดภัยสถานศึกษา

จัดทำโดย
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ