การแยกสารและการนําไปใช้ ม.2 สรุป

หน่วย รายวิชา วิทยาศาสตร์ รหัสวิชา ว22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การแยกสารและการนำไปใช้

ชั่วโมง การแยกสารและการนำไปใช้

เรื่อง สรุปการแยกสาร วันที่ 19 ธ.ค. 62 (มีใบกิจกรรม)

รายละเอียดคอร์ส สารละลายและปัจจัยที่มีผลต่อสภาพละลายได้ • การพิจารณาตัวทำละลายและตัวละลาย • การละลายน้ำของสาร • พลังงานกับการละลายของสาร • สภาพละลายได้ของสาร การคำนวณความเข้มข้นของสารละลาย • หน่วยของความเข้มข้น การเตรียมสารละลาย • การเตรียมสารละลายจากสารบริสุทธิ์ • การเตรียมสารละลายจากสารละลายเดิม • การเตรียมสารละลายจากการผสมสาร ข้อสอบฝึกทักษะ เรื่อง สารละลาย การแยกสาร • การหยิบออก • การร่อน • การดึงดูดด้วยแม่เหล็ก • การระเหิด • การตกตะกอน • การรินออก • การใช้กรวยแยก • การกรอง • การระเหย • การกลั่น • การสกัดด้วยตัวทำละลาย • การตกผลึก • โครมาโทกราฟี การใช้ประโยชน์เรื่องการแยกสาร ข้อสอบฝึกทักษะ เรื่อง การแยกสาร

00:00 สรุปการเตรียมสารละลายจากสารละลายเดิม
09:32 Exercise ข้อ 8
16:04 Exercise ข้อ 9

อธิบายหลักการแยกสารแต่ละวิธี และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้

การจำแนกสาร

1.การกรอง (filtration) ใช้แยกของแข็งออกจากของเหลว โดยที่สารนั้นต้องไม่ละลายและทำปฏิกิริยากับตัวทำละลาย ซึ่งควรใช้วัสดุให้เหมาะสม เช่น ใช้กระดาษกรองแยกผงถ่านกับเกลือแกง ใช้ผ้าขาวบางแยกน้ำมะพร้าวออกจากน้ำกะทิ

2.การตกผลึก (crystallization) ใช้แยกสารที่มีความสามารถในการละลายต่างกัน โดยนำสารมาละลายในตัวทำละลายจนอิ่มตัวที่อุณหภูมิสูง เมื่อลดอุณหภูมิ สารนั้นจะตกผลึก เช่น สารส้ม เกลือแกง

3. การสกัด

  • การสกัดด้วยไอน้ำ (steam distillation) เป็นการสกัดสารที่ระเหยง่าย มีจุดเดือดต่ำ และไม่ละลายน้ำ เช่น น้ำมันหอมระเหยจากพืช โดยไอน้ำจะเป็นตัวพาน้ำมันหอมระเหย เมื่อควบแน่น น้ำมันหอมระเหยแยกชั้นกับน้ำ

  • การสกัดด้วยตัวทำละลาย (solvent extraction) เหมาะกับสารที่ระเหยง่าย ตัวทำละลายต่างกันจะใช้สกัดสารต่างกัน ซึ่งตัวทำละลายต้องละลายสารได้ดีและไม่ทำปฏิกิริยากับสารที่จะสกัด เช่น การสกัดสีม่วงจากอัญชันจะใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย การสกัดน้ำมันถั่วเหลืองจะใช้เฮกเซน

4. การกลั่น (distillation) เป็นการแยกสารที่มีสถานะเป็นของเหลว โดยอาศัยความแตกต่างของจุดเดือด สารที่มีจุดเดือดต่ำจะระเหยเป็นไอ ควบแน่น และกลายเป็นหยดน้ำออกมาก่อน

  • การกลั่นแบบธรรมดา (simple distillation) ใช้สำหรับสารที่มีจุดเดือดต่างกัน 80 องศาเซลเซียสขึ้นไป ในขณะที่กลั่นตัวทำละลายจะแยกออกมา ตัวถูกละลายจะยังคงอยู่ในขวดกลั่น ทำให้ได้สารที่บริสุทธิ์

  • การกลั่นลำดับส่วน (fractional distillation) ใช้สำหรับสารที่มีจุดเดือดต่างกันเล็กน้อย โดยให้ไอของสารระเหยขึ้นไปในคอลัมน์ลำดับส่วนหรือหอกลั่น ไอจะแยกออกเป็นส่วนๆตามช่วงอุณหภูมิ ทำให้สารที่มีจุดเดือดต่ำอยู่บนสุดของหอกลั่น ส่วนสารที่มีจุดเดือดสูงกว่าจะอยู่ส่วนล่าง เช่น การกลั่นปิโตรเลียม การแยกน้ำจากแอลกอฮอล์

5. โครมาโทกราฟี (chromatography) เป็นการใช้แยกสารที่มีความสามารถในการละลายและการดูดซับต่างกัน เหมาะกับสารที่มีปริมาณน้อยและไม่มีสี จากนั้นนำไปวิเคราะห์ด้วยการคำนวณหาค่า Rf

ค่า Rf (Rate of frow) เป็นค่าเฉพาะของสาร ไม่มีหน่วย และมีค่าไม่เกิน 1 และขึ้นอยู่กับชนิดของตัวทำละลายและชนิดของตัวดูดซับ