การแก้ปัญหาน้ำท่วม ในหมู่บ้าน

เข้าสู่ฤดูฝนกันอีกแล้วนะคะ ปีนี้เป็นปีที่มีการคาดการณ์ว่าจะเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่เรียกได้ว่าน้องๆปี 2554 ที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ ซึ่งเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมานี้มีผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมกันไปแล้วถึง 12 จังหวัด ใกล้ๆกรุงเทพฯ อย่างสมุทรปราการ ก็ได้เห็นภาพน้ำท่วมไปถึงครึ่งคันรถเลยทีเดียว พอฝนตกหนักๆทีไรแอบหวั่นใจว่าน้ำจะท่วมเข้าบ้านเราหรือเปล่า ยิ่งใครที่อาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมบ่อยๆอยู่แล้วยิ่งควรวางแผนรับมือให้ทันท่วงทีเลยค่ะ

วันนี้เลยได้รีบมาแนะนำวิธีการ ‘เตรียมบ้าน’ เพื่อรับมือกับปัญหาน้ำท่วม ให้เพื่อนๆได้มีเวลาเตรียมกันได้ทันท่วงที ให้เพื่อนๆสามารถหาซื้อมาเตรียมไว้ได้สะดวก เป็นวัสดุที่หาง่ายทั่วไป ซึ่งจะมีทั้งวิธีการป้องกันและชะลอน้ำท่วมเข้าพื้นที่ภายในบ้าน การอุดรอยรั่ว ดูแลงานระบบต่างๆ ไม่ให้น้ำไหลผุดเข้าบ้านผ่านทางท่อ และดูแลระบบไฟฟ้าอย่างไรให้ปลอดภัย

การแก้ปัญหาน้ำท่วม ในหมู่บ้าน

0

อ่านเพิ่มเติม

ผู้ใหญ่บ้านโคราชผุดไอเดียเจ๋ง คิดวิธีแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในหมู่บ้านได้เองแบบประหยัดโดยวิธีขุดหลุม  ไม่ต้องใช้งบประมาณของทางราชการในการสร้างท่อระบายน้ำ

วันที่ 11 พฤษภาคม 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอำนาจ เหลื่อมทองหลาง ผู้ใหญ่บ้านบ้านระเริงหิน หมู่ที่ 4 ตำบลโคกกลาง อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ได้ผุดไอเดียในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในหมู่บ้าน โดยขุดหลุมซึ่งมีความลึกประมาณ 1 เมตร กว้าง 1 เมตร นำเศษหิน ขวดน้ำพลาสติก ยางรถยนต์เก่า ใส่ลงไปในหลุม แล้วนำหินคุกโรยทับ จากนั้นต่อท่อพีวีซีลงไปเพื่อช่วยในการระบายอากาศ เท่านี้ก็สามารถเป็นหลุมที่ใช้ระบายน้ำที่ท่วมขังอยู่ตามถนนในหมู่บ้านได้แล้ว

การแก้ปัญหาน้ำท่วม ในหมู่บ้าน

นายอำนาจ เหลื่อมทองหลาง เผยอีกว่า ได้แนวความคิดมาจากเพื่อนที่เป็นผู้ใหญ่บ้านด้วยกันในต่างจังหวัด จึงนำมาทดลองใช้ในหมู่บ้านของตนเอง จำนวน 7 จุด ที่พบว่าหลังฝนตกจะเกิดน้ำท่วมขังพื้นผิวถนนในหมู่บ้านและถนนที่อยู่ในที่ต่ำไม่มีทางระบายน้ำ หลังจากทดลองใช้งานมาแล้วเกือบ 1 เดือน พบว่าประสบผลสำเร็จสามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังได้ หากเปรียบเทียบกับก่อนหน้านี้มักเกิดน้ำท่วมขังริมถนนประมาณ ต้องใช้เวลา 3-4 วัน น้ำจึงจะแห้งหมด แต่หลังจากขุดหลุมแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังไว้ตามจุดที่เคยเกิดน้ำท่วมขัง ใช้เวลาเพียง 1 วัน ปริมาณน้ำที่ท่วมขัง ก็ซึมลงใต้ดิน และแห้งจนหมด นับว่าเป็นวิธีที่แก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังได้อย่างดี โดยไม่ต้องใช้งบประมาณในการวางท่อระบายน้ำ หรือขุดทางระบายน้ำแต่อย่างใด เพื่อเตรียมที่จะนำไปใช้กับหมู่บ้านอื่น ที่ประสบกับปัญหาน้ำท่วมขังริมถนนในหมู่บ้าน

โหมกระหน่ำซะเหลือเกิ๊น… ช่วงนี้ ฝนตกหนักที ก็หูตาเหลือกปรี่… ออกจากบ้านมาทำงานแทบไม่ทัน นอกจากน้ำท่วมถนนแล้ว ยังไล่ลามมาท่วมบ้านอีกต่างหาก (ซะอย่างนั้น) แต่อย่าเพิ่งชีช้ำ เพราะ Inzpy เป็นมิตรแท้ผู้อ่านเสมอ (คือไม่ได้มาขายประกันนะ) เพราะเรามีวิธีแก้ปัญหานำท้วมบ้าน มาแจกแจงให้บ้านที่กำลังอยู่ในภาวะเสี่ยง (เสี่ยงท่วม) และบ้านที่กำลังประสบปัญหา (ท่วมเรียบร้อย) นำเอาไปปรับใช้กัน เอาเป็นว่าถ้าไม่ทันการณ์อย่างไร (sorry ด้วย) ก็เก็บไว้เป็นวิทยาทาน สำหรับแก้ปัญหาในภายภาคหน้าต่อไปก็แล้วกัน

การแก้ปัญหาน้ำท่วม ในหมู่บ้าน

Cr. Photo by Jorge Roman on Unsplash
สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมบ้าน

1.ชั้นล่างของบ้าน อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าถนน

2.เกิดจากน้ำซึมตามบริเวณยาแนวกระเบื้องและบริเวณพื้นบ้านตามขอบมุมที่ชนกับผนัง

3.พื้นบ้านต่ำกว่าท่อระบายน้ำ

4.มีเศษขยะหรือใบไม้อุดตันในท่อระบายน้ำ

วิธีแก้ไข

1. สกัดกั้นดาวรุ่ง

อีกหนึ่งวิธีแก้ปัญหาฉุกละหุกได้ กรณีติดถนน แน่นอนว่าปัญหาน้ำท่วมขังจากภายนอกไหลเข้าบ้าน เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงยาก แต่ก็สามารถป้องกันได้ด้วยการใช้ถุงทราย หรือฝายไม้มากั้น แต่ต้องมีความยาวเพียงพอที่จะเปลี่ยนทิศทางน้ำไหลไปตามถนนนั่นเอง

2. ปรับปรุงพื้นที่รอบตัวบ้าน

อีกหนึ่งวิธีช่วยแก้ปัญหาน้ำไหลเข้าบ้านได้ นั่นคือ… การทำขอบคันกั้นน้ำ และขุดบ่อดักไว้ จากนั้นใช้ปั๊มสูบน้ำให้ออกไปข้างนอก สำหรับกรณีที่น้ำไหลย้อนมาทางท่อระบายน้ำ ต้องอุดปิดบริเวณปากท่อไว้ก่อน รวมถึงต่อขอบบ่อพักให้สูงขึ้น อีกทั้งการติดตั้งปั๊มจุ่มก็มีส่วนช่วยสูบน้ำออก ป้องกันปัญหาน้ำท่วมขังภายในบ้านได้ดีเช่นกัน

3. ทำการติดตั้งโครงเหล็กยกสูง

ในกรณีที่พื้นบ้านชั้นล่างที่ต่ำกว่าถนน แต่ไม่มีปัญหาน้ำรั่วซึมจากพื้น แนะนำให้ทำโครงเหล็กสูง จากนั้นปูแผ่นซีเมนต์บอร์ด เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบา เดินท่อใต้พื้นดินได้สะดวก

4. ปรับระดับพื้นบ้านใหม่ให้สูงขึ้น

นับเป็นวิธีทางรอด ที่มองเห็นแสงสว่างของทางออกที่สุด (มันจ้า… ซะเหลือเกิน) เพราะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วมบ้านได้ดีเลยล่ะ ซึ่งการยกระดับพื้นให้สูงขึ้น สามารถทำได้ด้วยการถมดินให้สูง หรือยกพื้นให้สูง

รวมถึงสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม คือต้องปรับพื้นให้มีความลาดเอียงไปยังท่อระบายน้ำ เพราะถ้าหากพื้นบ้านต่ำกว่าท่อระบายน้ำ งานงอกแน่ ๆ เพราะจะส่งผลให้น้ำไม่สามารถระบายลงท่อได้ และท้ายที่สุดก็เกิดน้ำท่วมขังภายในบ้านแน่นอน

ป.ล. การแก้ปัญหายกระดับพื้นบ้านชั้นล่าง ให้มีความสูงเท่ากับระดับถนน เหมาะกับบ้านที่มีความสูงไม่ต่างกันประมาณครึ่งหนึ่ง หรือหนึ่งฟุตครึ่ง ส่วนกรณีที่เป็นบ้านเดี่ยว แนะนำให้แก้ไขด้วยการดีดยกบ้านทั้งหลัง

แต่หากพื้นถนนสูงกว่าพื้นบ้านชั้นล่างครึ่งหนึ่ง ให้พิจารณาจากความสูงของบ้าน ถ้าต้องการยกพื้นให้สูงขึ้นเท่ากับถนน ต้องทำการทุบพื้นเก่าทิ้งเสียก่อน จากนั้นทำการหล่อคานปูนเสริมจากคานให้สูงขึ้น และทำคานเหล็กยึดกับเสาบ้าน (แม้จะดูเป็นงานช้างแต่ก็ต้องทำนะ)

วิธีป้องกันน้ำขังสำหรับบ้านเก่า

การแก้ปัญหาน้ำท่วม ในหมู่บ้าน

Cr. Photo by Anna Atkins on Unsplash

สำหรับกรณีบ้านเก่ามาก แนะนำให้เปลี่ยนมาใช้ถังบำบัด แทนบ่อเกรอะซึมบ่อ เพราะหาน้ำในดินมีปริมาณมาก ก็จะทำให้การระบายน้ำทิ้งไม่สะดวก รวมถึงในช่วงหน้าฝนเนี่ย รอบ ๆ บ่อซึมจะปรากฏน้ำในดินค่อนข้างเยอะ ทำให้ปริมาณน้ำในบ่อสูง ส่งผลกระทบให้รับน้ำที่ชำระในโถสุขภัณฑ์ได้น้อย จึงมีส่วนทำให้ระบายน้ำได้ช้า และเกิดปัญหาชวนหนักหัวตามมาภายหลัง

แต่สิ่งที่ไม่ควรละเลยเด็ดขาด คือการตรวจเช็คท่อระบายน้ำว่ามีสิ่งอุดตันหรือไม่ เพราะเศษขยะหรือใบไม้ก็เป็นต้นเหตุทำให้เกิดน้ำขังภายในบ้านเช่นกัน

นอกจากนี้ควรตรวจตราว่ามีจุดใดในบ้านเกิดรอยรั่วซึมหรือไม่ เพื่อที่จะได้ทำการแก้ไขอย่างทันท่วงที ไม่เกิดปัญหาใหญ่ที่ต้องเสียเงินบานปลายตามมาภายหลัง

เป็นอย่างไรบ้างครับสำหรับ มัดรวมวิธี แก้ปัญหาน้ำท่วมบ้าน ที่นำมาฝาก หวังว่าจะคงช่วยเพื่อน ๆ ได้บ้างนะ นั้นขอสรุปแบบฟันธง! (ฉับ ๆ เลย) คือ.. หากคุณเผชิญกับปัญหาน้ำท่วม อย่า… ได้… นิ่ง… เฉย… เป็นอันขาด เพราะไม่ว่าจะท่วมนิดนึง ก็มิใช่เรื่องเล็กน้อย มีสิทธิ์ลุกลามหนัก และส่งผลให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาภายหลัง เพราะฉะนั้นควรรีบเร่งแก้ไข รวมถึงควรคัดช่างที่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับการซ่อม และสร้างกันไว้ด้วยนะ จะได้อุ่นใจได้เปลาะหนึ่ง

ปัญหาน้ำท่วม มีวิธีแก้ อย่างไร

การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม.
1. เขื่อนกักเก็บน้ำ ... .
2. ทางผันน้ำ ... .
3. ปรับปรุงสภาพลำน้ำ ... .
4. คันกั้นน้ำ ... .
5. การระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม ... .
6. การหาความสัมพันธ์ของระดับน้ำและปริมาณน้ำปากแม่น้ำเจ้าพระยา (Hydrodynamic Flow Measurement).

สิ่งใดช่วยบรรเทาการเกิดอุทกภัย

วิธีการป้องกันและบรรเทาน้ำท่วม.
การก่อสร้างคันกั้นน้ำเลียบลำน้ำ ... .
การก่อสร้างทางผันน้ำ ... .
การปรับปรุงสภาพลำน้ำ ... .
การก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ ... .
การก่อสร้างคันกั้นน้ำโอบล้อมพื้นที่ ... .
การอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำลำธาร.

บ้านน้ำท่วมทำยังไงดี

การทำขอบคันกั้นน้ำ และขุดบ่อดักไว้ ใช้ปั๊มสูบน้ำให้ออกไปข้างนอก ส่วนกรณีที่น้ำไหลย้อนมาทางท่อระบายน้ำ แนะนำให้อุดปิดบริเวณปากท่อ รวมถึงต่อขอบบ่อพักให้สูงขึ้น อีกทั้งการติดตั้งปั๊มจุ่มก็มีส่วยช่วยสูบน้ำออกป้องกันปัญหาน้ำท่วมขังภายในบ้านได้ดีเช่นกัน