สรุปย่อ กฎหมาย สิ่งแวดล้อม

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.. 2535  หรือ พรบ.             สิ่งแวดล้อมฯ ได้ประกาศใช้ในวันที่ 29 มีนาคม พ.. 2535  จัดเป็นมาตรการหนึ่งของนโยบายของรัฐ เพื่อทำให้สิ่งแวดล้อมอยู่ในสภาพดี  และมีการจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม  กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรมีมากมาย  ฉบับแรกที่ประกาศใช้  คือ  พรบ.  ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2518  ซึ่งจัดเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยตรง และได้มีการแก้ไขจนกระทั่งมี พรบ.  ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535  ซึ่งมีวัตถุประสงค์  ดังนี้

1.  เพื่อเป็นการสนับสนุนและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม  หรืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

2.  เพื่อเป็นการป้องกันแก้ไข  ระงับหรือบรรเทาเหตุฉุกเฉิน  หรือเหตุภยันตรายจากภาวะมลพิษ

3.  เพื่อประชาสัมพันธ์  เผยแพร่  ข้อมูลหรือข่าวสาร  เพื่อสร้างจิตสำนึกของสาธารณชนที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

4.  เพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งริเริ่มโครงการหรือกิจกรรม  เพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่นั้น

5.  เพื่อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม  และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  และเสนอแนะความคิดเห็นต่อรัฐบาลหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

6.  เพื่อให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนผู้ได้รับอันตรายหรือความเสียหายจากภาวะมลพิษอันเกิดจากการรั่วไหล  หรือแพร่กระจายของมลพิษ  รวมทั้งเป็นผู้แทนในคดีที่มีการฟ้องร้อง     ต่อศาล  เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน  หรือค่าเสียหายให้แก่ผู้ที่ได้รับอันตรายหรือความเสียหาย     นั้นด้วย

เนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กลับทวีความรุนแรง  ดังนั้นประเทศไทยต้องมีการปรับให้เข้ากับสภาวะการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป  โดยในประเด็นหลักของ พรบ. สิ่งแวดล้อมฯ พ.ศ. 2535 นี้ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่คล้ายกับกฎหมายสิ่งแวดล้อมทั่วไปของต่างประเทศ  คือ

1.  คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

2.  กองทุนสิ่งแวดล้อม

3.  การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม  ซึ่งประกอบไปด้วยมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม  การวางแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม  เขตอนุรักษ์และพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม  การทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

4.  การควบคุมมลพิษประกอบด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมมลพิษ  มาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำ  มลพิษอื่นและของเสียอันตราย  การตรวจสอบและควบคุม  ค่าบริการและค่าปรับ

5.  การมีมาตรการส่งเสริม

6.  ความรับผิดชอบทางแพ่ง

7.  บทกำหนดโทษและบทเฉพาะกาล  รายละเอียดต่างๆ ในกฎหมายฉบับนี้ให้ความสำคัญกับการควบคุมร่วมกับการให้สิ่งจูงใจให้ปฏิบัติตาม  และการกำหนดมาตรฐานของสิ่งแวดล้อม

รายละเอียดที่บันทึกภายในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ    พ.. 2535  ประกอบด้วยทั้งหมด 7 หมวด  115 มาตรา

ตารางที่ 8.3  หมวดและมาตราของกฎหมายสิ่งแวดล้อม

หมวด

มาตรา

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.. 2535

หมวด 1

คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

มาตรา 12-21

หมวด 2

กองทุนสิ่งแวดล้อม

มาตรา 22-31

หมวด 3

การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

ตารางที่ 8.3  หมวดและมาตราของกฎหมายสิ่งแวดล้อม (ต่อ)

หมวด

มาตรา

ส่วนที่ 1  มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม

มาตรา 32-34

ส่วนที่ 2 การวางแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม

มาตรา 35-41

ส่วนที่เขตอนุรักษ์และพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม

มาตรา 42-45

ส่วนที่การทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

มาตรา 46-51

หมวด 4

การควบคุมมลพิษ

ส่วนที่ 1  คณะกรรมการควบคุมมลพิษ

มาตรา 52-54

ส่วนที่ 2 มาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด

มาตรา 55-58

ส่วนที่เขตควบคุมมลพิษ

มาตรา 59-63

ส่วนที่มลพิษทางอากาศและเสียง

มาตรา 64-68

ส่วนที่ 5  มลพิษทางน้ำ

มาตรา 69-77

ส่วนที่ 6 มลพิษอื่นและของเสีย

มาตรา 78-79

ส่วนที่การตรวจสอบและควบคุม

มาตรา 80-87

หมวด 5

มาตรการส่งเสริม

มาตรา 94-95

หมวด 6

ความรับผิดทางแพ่ง

มาตรา 96-97

หมวด 7

บทกำหนดโทษ

มาตรา98-111

บทเฉพาะกาล

มาตรา112-115

สรุป

การอนุรักษ์พลังงาน  คือ  การผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด      การอนุรักษ์พลังงานนอกจากจะช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานแล้ว  ยังจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดจากแหล่งที่ใช้และผลิตพลังงานด้วย

พลังงานมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ  สังคม  อุตสาหกรรม  คมนาคม  เกษตรกรรม  และอื่นๆ  การใช้พลังงานเพื่อตอบสนองการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง  การอนุรักษ์พลังงานจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง  เพราะการอนุรักษ์พลังงานนอกจากจะช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานแล้วยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆ     และยังจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากแหล่งที่ใช้และผลิตพลังงานด้วย