แผนการ สอน ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ม. 2

การเรียนภาษาไทยจะไม่น่าเบื่ออีกต่อไป หากคุณครูรู้จักใช้ประโยชน์จากสิ่งที่นักเรียนชื่นชอบ หรือกำลังเป็นที่สนใจในยุคปัจจุบันมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เช่นการนำดารา ศิลปิน นักแสดง หรือตัวละครที่นักเรียนชื่นชอบมาใส่ลงในสื่อการสอน หรืออาจนำมาใช้เป็นตัวละครสำหรับผูกเรื่องราวให้นักเรียนทำภารกิจตอบคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่สอนในคาบนั้นเพื่อเป็นการวัดความเข้าใจในเนื้อหาของนักเรียน ดังตัวอย่างกิจกรรมต่อไปนี้

กิจกรรม "แยกให้ออก บอกให้ถูก" เป็นกิจกรรมในลักษณะที่ให้นักเรียนได้ทำภารกิจตอบคำถามวิเคราะห์ข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นเพื่อตามหาศิลปินหรือตัวละครปริศนาที่ครูกำหนดไว้ โดยมีขั้นตอนการเล่นดังนี้

๑. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มผลัดกันเล่นกลุ่มละรอบ ตามลำดับที่ตกลงกันไว้ (ครูอาจกำหนดภารกิจเล็ก ๆ เพื่อกำหนดลำดับการเล่น เช่น หมุนวงล้อสุ่ม)

๒. ให้นักเรียนเลือกแผ่นป้าย และช่วยกันพิจารณาข้อความที่เป็นคุณสมบัติของศิลปิน ดารา นักร้องหรือตัวละครในการ์ตูนที่ครูกำหนดให้ว่าเป็นข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็นเพื่อสะสมคะแนน โดยแต่ละข้อความจะมีคะแนนอยู่ ๑๐ คะแนนหากนักเรียนสามารถพิจารณาข้อความได้ถูกต้องก็จะได้คะแนนสะสมในแต่ละข้อ และหากนักเรียนทำคะแนนสะสมได้ ๓๐ ข้อขึ้นไปก็จะมีสิทธิ์ ได้เล่นรอบพิเศษทายชื่อศิลปิน ดารา นักร้อง หรือตัวละครจากคุณสมบัติเพื่อเก็บคะแนนเพิ่มเติม

การอ่านจับใจความจากสื่อต่างๆ ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นและข้อโต้แย้ง วิเคราะห์และจำแนกข้อเท็จจริง ข้อมูลสนับสนุน และข้อคิดเห็น ระบุข้อสังเกตการชวนเชื่อ การโน้มน้าว หรือความสมเหตุสมผลของงานเขียน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ท 2.1  ม. 2/5  วิเคราะห์และจำแนกข้อเท็จจริง ข้อมูลสนับสนุน และข้อคิดเห็นจากบทความที่อ่าน
จุดประสงค์
- นักเรียนสามารถอธิบายหลักการวิเคราะห์และจำแนกข้อเท็จจริง ข้อมูลสนับสนุน และข้อคิดเห็นจากบทความที่อ่านได้
- นักเรียนสามารถจำแนกข้อเท็จจริง ข้อมูลสนับสนุน และข้อคิดเห็นจากบทความที่อ่านได้
- นักเรียนเห็นความสำคัญของการอ่าน และมีมารยาทในการอ่าน   

การวัดผลและประเมินผล

แบบประเมินการเขียนแผนภาพความคิด 
-เกณฑ์การประเมินการจำแนกข้อเท็จจริง ข้อมูลสนับสนุน และข้อคิดเห็นจากบทความที่อ่าน

การรับรู้ข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเพราะในโลกยุคข้อมูลข่าวสารเช่นนี้ต้องรู้จักวิเคราะห์ข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น และสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์โดยใช้พื้นฐานของความคิดอย่างมีเหตุผลสามารถประเมินค่าและปฏิบัติการข่าวสารเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่นการพูดวิเคราะห์ข้อเท็จจริงข้อคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังและดูมีสาระสำคัญครบถ้วนตรงตามข้อเท็จจริงของเรื่อง และอ้างอิงแหล่งที่มาให้ชัดเจน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด
ท3.1 ม. 2/2การวิเคราะห์ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น  และความน่าเชื่อถือของข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ
ท 3.1  ม. 216มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด
จุดประสงค์
 -นักเรียนอธิบายหลักการวิเคราะห์ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และความน่าเชื่อถือของข่าวสารจากสื่อต่างๆ ได้
-นักเรียนพูดวิเคราะห์ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และความน่าเชื่อถือของข่าวสารจากสื่อต่างๆ ได้
-นักเรียนมีมารยาทในการฟัง การดูและการพูด

การวัดผลและประเมินผล

-แบบประเมินการพูดวิเคราะห์ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น จากเรื่องที่ฟังและดู

การจัดการศึกษาฐานสมรรถนะ เกิดจากปัญหาความด้อยคุณภาพของผู้เรียนที่ไม่สามารถนำความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและคุณลักษณะต่างๆ ที่ตนเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและการดำรงชีวิตประจำวันได้ ส่งผลให้การศึกษาจำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนจุดเน้นจาก ฐานเนื้อหา (content – based) ไปเป็นฐานสมรรถนะ (competency-based) ดังนั้น จึงจำเป็นที่ผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจทั้งหลายจะต้องเข้าใจ ว่า “ สมรรถนะ” คืออะไร

“สมรรถนะ”เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความสามารถของบุคคลในการประยุกต์ใช้ความรู้ และทักษะต่าง ๆ ในการทำงาน การใช้ชีวิตและการแก้ปัญหา ศาสตราจารย์ David McClelland แห่งมหาวิทยาลัย Harvard พบว่า สมรรถนะเป็นคุณสมบัติที่สามารถทำนายความสำเร็จในการทำงานได้ดีกว่าเชาวน์ปัญญา (Intelligence) สมรรถนะจึงควรจะเป็นผลลัพธ์ที่พึ่งประสงค์ของการเรียนรู้ เพราะเป็นความสามารถในระดับใช้การได้ในชีวิต ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิต

ในเมื่อ “สมรรถนะ” มีความสำคัญและประโยชน์ต่อชีวิต การศึกษาจึงต้องทำหน้าที่พัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะที่จำเป็น แต่สมรรถนะอะไรที่เป็นความจำเป็นที่ผู้เรียนทุกคนจะต้องมีเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ป.1 – ม.6) ประเด็นนี้จึงเป็นคำถามสาคัญที่ต้องตอบให้ได้เป็นอันดับแรก  

สมรรถนะทั้ง 10 ประการ เป็นสมรรถนะหลักที่เด็กและเยาวชนไทยจะต้องได้รับการพัฒนาในช่วงเวลา 12 ปี ของการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้สามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงและดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ได้ สมรรถนะทั้ง 10 ประการได้แก่

  1. ภาษาไทยเพื่อ การสื่อสาร
  2. คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
  3. กระบวนการสืบสอบทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์
  4. ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
  5. ทักษะชีวิตและความเจริญแห่งตน
  6. อาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ
  7. ทักษะการคิดขั้นสูงและนวัตกรรม
  8. การรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัล
  9. การทำงานแบบรวมพลัง เป็นทีม และมีภาวะผู้นำ
  10. การเป็นพลเมืองตื่นรู้และมีจิตสำนึกสากล 

แผนการ สอน ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ม. 2
แผนการ สอน ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ม. 2

การดำเนินการข้างต้นได้สมรรถนะหลัก 10 สมรรถนะ โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มคือ 

1) คนไทยฉลาดรู้ (Literate Thais) มี 4 สมรรถนะหลัก คือ

(1) ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (Thai Language for Communication)

(2) คณิตศาสตร์ในชีวิตประจาวัน(Mathematics in Everyday Life)

(3) การสืบสอบทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์(Scientific Inquiry and Scientific Mind)

(4) ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (English for Communication) 

2) คนไทย อยู่ดี มีสุข (Happy Thais) มี 2 สมรรถนะหลัก คือ

(1) ทักษะชีวิตและความเจริญแห่งตน (Life Skills and Personal Growth)

(2) ทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ (Career Skills and Entrepreneurship) 

3) คนไทยสามารถสูง (Smart Thais) มี 2 สมรรถนะหลัก คือ

(1) ทักษะการคิดขั้นสูงและนวัตกรรม (Higher Order Thinking Skills and Innovation)

(2) การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (Media, Information and Digital Literacy : MIDL) 

4) พลเมืองไทย ใส่ใจสังคม (Active Thai Citizens) มี 4 สมรรถนะหลัก คือ

(1) การทางานแบบรวมพลังเป็นทีม และมีภาวะผู้นา (Collaboration Teamwork and Leadership)

(2) การเป็นพลเมืองตื่นรู้ที่มีสานึกสากล (Active Citizens with Global Mindedness) 

ลักษณะสำคัญของหลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency-Based Curriculum)

หลักสูตรฐานสมรรถนะแตกต่างจากหลักสูตรปัจจุบันตรงที่ การกำหนดเป้าหมายจะมุ่งไปที่สมรรถนะของผู้เรียนว่า ผู้เรียนจะ “ต้องทำอะไรได้” ซึ่งต่างจากหลักสูตรอิงมาตรฐานที่มาตรฐานและตัวชี้วัดจำนวนมากเน้น ไปที่ผู้เรียนว่า จะต้องรู้อะไร สรปุ ได้ว่า หลักสูตรฐานสมรรถนะเน้น “ทักษะ (Skill)” ในขณะที่หลักสูตรอิงมาตรฐานค่อนข้างเน้น “เนื้อหาสาระ (Content)“

หลักสูตรฐานสมรรถนะเป็นหลักสูตรที่ยึดความสามารถที่ผู้เรียนพึงปฏิบัติได้เป็นหลัก เพื่อประกันว่า ผู้ที่จบการศึกษาระดับหนึ่งๆ จะมีทักษะและความสามารถในด้านต่าง ๆ ตามที่ต้องการ

องค์ประกอบสำคัญของหลักสูตรฐานสมรรถนะ

1) ความรู้ (Knowledge)

2) ทักษะ (Skill)

3) คุณลักษณะ / เจตคติ (Attribute / Attitude)

4) การประยุกต์ใช้ (Application)

5) การกระทำ/ การปฏิบัติ (Performance)

6) งานและสถานการณ์ต่างๆ (Tasks / Jobs / Situations)

7) ผลสำเร็จ (Success) ตามเกณฑ์ที่กำหนด (Performance Criteria)

แผนการ สอน ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ม. 2
แผนการ สอน ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ม. 2
ที่มา: เข้าใจสมรรถนะอย่างง่ายๆ ฉบับประชาชน และเข้าใจหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างง่ายๆ ฉบับครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา กรุงเทพฯ : สกศ., 2562 หน้า 11

หลักสูตรฐานสมรรถนะ จะกำหนดมาตรฐานสมรรถนะ (Competency Standards) ขึ้นเป็นสมรรถนะขั้นตํ่าที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ สมรรถนะที่กำหนดให้ผู้เรียน โดยทั่วไปมี 2 ลักษณะ คือ

สมรรถนะหลัก

สมรรถนะหลักที่เรียกว่า Core Competency มีลักษณะเป็นสมรรถนะข้ามวิชาหรือคร่อมวิชา คือ เป็นสมรรถนะที่สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนได้ในสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่หลากหลาย หรือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้เรียนรู้สาระต่างๆ ได้ดีขึ้น ลึกซึ้งขึ้น สมรรถนะในลักษณะนี้

กล่าวได้ว่าเป็นสมรรถนะที่มีลักษณะ “content – free” คือ ไม่เกาะติดเนื้อหา หรือไม่ขึ้นกับเนื้อหา

ตัวอย่างสมรรถนะประเภทนี้ เช่น สมรรถนะการคิดขั้นสูง สมรรถนะการทำงานแบบรวมพลังสมรรถนะทักษะชีวิต ซึ่งสมรรถนะเหล่านี้ สามารถใช้เนื้อหาสาระใดๆ ก็ได้ในการพัฒนาเพียงแต่ว่าสมรรถนะบางสมรรถนะ อาจพัฒนาได้ดีกว่าในเนื้อหาบางเนื้อหา

สมรรถนะเฉพาะ

สมรรถนะเฉพาะ (Specific Competency) เป็นสมรรถนะเฉพาะวิชา / สาขาวิชาซึ่งจำเป็นสำหรับวิชานั้นๆ เช่น ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยจะมีสมรรถนะเฉพาะของวิชา เช่น สมรรถนะด้านการพูดในโอกาสต่างๆ สมรรถนะด้านการประพันธ์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ก็มีสมรรถนะด้านการวาดภาพ การปั้นการประดิษฐ์

สาระวิชาต่างๆ จะมีสมรรถนะเฉพาะวิชาของตน ซึ่งมีลักษณะเป็น “ทักษะ” (Skill)หากผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะจนสามารถใช้งานได้ และสามารถประยุกต์ใช้ทักษะนั้น

ระดับของสมรรถนะ

สมรรถนะทั้ง 2 ประเภท ไม่ว่าจะเป็นสมรรถนะหลัก หรือ สมรรถนะเฉพาะ ต่างก็มีระดับตั้งแต่ง่ายไปยาก ซึ่งหลักสูตรจะกำหนดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบไต่ระดับ ไปตามระดับความสามารถของตน

ตัวอย่างเช่น สมรรถนะหลักด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งก็คือ การคิดที่มีการใช้วิจารณญาณพิจารณาข้อมูลอย่างรอบด้านก่อนการตัดสินใจ การคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับผู้เรียนในระดับประถมศึกษาจะเริ่มต้นตั้งแต่ระดับง่าย คือ สามารถคิดจำแนกข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงและเป็นข้อคิดเห็นก่อน ต่อไปจึงเพิ่มระดับให้กว้างขึ้น ครอบคลุมมากขึ้น

หลักสูตรฐานสมรรถนะโดยทั่วไป

หลักสูตรฐานสมรรถนะโดยทั่วไป จะกำหนดจุดประสงค์ การเรียนรู้เชิงสมรรถนะ (Learning Competencies) สำหรับผู้เรียนในช่วงวัยหรือช่วงชั้นต่างๆ ให้แก่ครู เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียน

หลักสูตรฐานสมรรถนะนอกจากจะกำหนดสมรรถนะไว้ให้แล้ว อาจกำหนดสาระการเรียนรู้ขั้นตํ่าสำหรับการพัฒนาสมรรถนะที่กำหนดให้แก่ผู้เรียนหรืออาจให้โรงเรียนและครูกำหนดได้ตามความเหมาะสม

สมรรถนะและสาระการเรียนรู้ที่กำหนดให้นั้นเป็นขั้นต่ำที่จำเป็นสำหรับเด็กไทยทุกคนหลักสูตรจะต้องจัดให้มีพื้นที่สำหรับโรงเรียนและครูในการจัดการเรียนรู้สาระ ทักษะ และคุณลักษณะเฉพาะ เพื่อตอบสนองความต้องการตามความแตกต่างกันของผู้เรียน ภูมิสังคม และบริบท ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละช่วงวัย

การกำหนดสมรรถนะที่เป็นเกณฑ์กลาง/มาตรฐานกลางสำหรับการจัดการศึกษาในแต่ละช่วงวัย จะเอื้ออำนวยให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาหลักสูตรในรูปแบบต่าง ๆตามแนวคิดของตนได้ โดยยึดสมรรถนะเป็นเกณฑ์กลาง

สำหรับจุดเด่นของหลักสูตรฐานสมรรถนะ มีหลายประการดังนี้

1) ช่วยให้ผู้เรียนได้รับ การพัฒนาสมรรถนะหลักที่สำคัญต่อการใช้ชีวิต การทำงาน และการเรียนรู้ ซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

2) ช่วยให้การจัดการเรียนรู้ มุ่งเป้าหมายไปที่การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะที่ต้องการ มิใช่มุ่งเป้าไปที่การสอนเนื้อหาความรู้จำนวนมาก ซึ่งอาจไม่จำเป็น หรือเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน

3) ช่วยลดสาระการเรียนรู้ที่ไม่จำเป็น อันส่งผลให้สถานศึกษามีพื้นที่ในการจัดการเรียนรู้อื่นที่เป็นความต้องการที่แตกต่างกันของผู้เรียน วิถีชีวิต วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ และบริบทได้มากขึ้น

4) ช่วยลดภาระและเวลาในการสอบตามตัวชี้วัดจำนวนมาก การสอบวัดสมรรถนะหลักของผู้เรียน เป็นการสอบที่ช่วยให้เห็นความสามารถที่เป็นองค์รวมของผู้เรียน

5) กรอบสมรรถนะหลักของหลักสูตรฐาน

สมรรถนะเป็นสมรรถนะขั้นต่ำที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนทุกคน จะเป็นสมรรถนะกลางที่เอื้อให้สถานศึกษาที่มีศักยภาพ สามารถออกแบบหลักสูตรที่เหมาะสมกับความต้องการและบริบทของตนได้โดยยึดสมรรถนะกลางเป็นเกณฑ์เทียบเคียงซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดรูปแบบหลักสูตรที่หลากหลาย