การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี หูฟังแพทย์

ความอายแท้ ๆ เป็นเหตุให้ค้นพบหูฟังของแพทย์ เรื่องมีอยู่ว่า ในปี ค.ศ.1816 นายแพทย์เรเน เลนเนค (Dr.Rene Laennec) มีคนไข้หญิงที่แสนสวยน่ารักเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งเขาจะต้องแนบหูลงตรงหน้าอกเธอบริเวณหัวใจ เพื่อฟังเสียงเต้นของหัวใจ แต่นายแพทย์เลนเนคเกิดอาการอายและกระอักกระอ่วนใจที่จะทำเช่นนั้นเขาจึงแก้ปัญหาความอายของเขา ดวยการเอากระดาษมาม้วนเป็นหลอดยาว ทำเป็นอุปกรณ์ในการฟังเสียงหัวใจได้ชัดเจนขึ้นอย่างมาก ชัดเจนกว่าครั้งใด ๆ ที่ผ่านมา

หลังจากการค้นพบนี้ เขาได้ประดิษฐ์หูฟังของแพทย์ด้วยไม้เป็นครั้งแรก และเครื่องมือของเขาได้กลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานติดตัวแพทย์มาจนทุกวันนี้ ในปี ค.ศ.1819 นายแพทย์เลนเนคได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับหูฟังและเรื่องราวทางการแพทย์ขึ้น สำนักพิมพ์ผู้พิมพ์หนังสือเขาได้แถมหูฟังให้กับผู้ซื้อหนังสือเล่มนี้หนึ่งอันต่อทุกๆ หนึ่งเล่ม

หูฟังแพทย์ หรือ Stethoscope ( สเต็ทโตสโคป ) ถือเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่แพทย์จะต้องพกติดตัวไว้แทบจะตลอดเวลา และเมื่อผู้ป่วยมาตรวจหรือรักษาโรค แพทย์ก็มักจะนำหูฟังแพทย์มาตรวจและฟังเสียงบริเวณหน้าอกหรือหลังของเราอยู่เสมอ ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่าหูฟังทางการแพทย์นั้น มีความสามารถในฟังเสียงของอวัยวะภายในร่างกายได้ เพื่อตรวจเช็คว่ามีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นภายในร่างกายหรือไม่

ซึ่งหากพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น แพทย์ก็จะสามารถทำการตรวจอย่างละเอียดเพิ่มเติมด้วยหูฟังแพทย์ และทำการรักษาต่อไปได้อย่างทันท่วงที ในบทความนี้ RAKMOR จะพาผู้อ่านมาทำความรู้จักกับหูฟังทางการแพทย์ให้มากขึ้นว่า Stethscope คืออะไร ?

คลิกอ่านหัวข้อที่สนใจได้เลยค่ะ 😊

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี หูฟังแพทย์

Stethoscope ( สเต็ทโตสโคป ) คืออะไร

Stethoscope เรียกว่า สเต็ทโตสโคป คือ เครื่องมือที่แพทย์ที่ใช้ในการฟังเสียงอวัยวะภายในร่างกาย โดยเฉพาะการใช้ฟังเสียงของหัวใจ ปอด และลำไส้ เพื่อประเมินอาการและวินิจฉัยโรคในเบื้องต้น

ซึ่งหากร่างกายของผู้ป่วยมีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่น หัวใจเต้นผิดปกติ หรือมีอาการหายใจติดขัด การใช้หูฟังแพทย์จะเป็นการช่วยตรวจเช็ก และทำให้ทราบตำแหน่งหรือบริเวณที่เกิดความปกติขึ้นได้

แม้ว่าจะเป็นการตรวจในเบื้องต้น แต่ข้อมูลที่ได้ก็มีประโยชน์อย่างมาก ต่อการวินิจโรคและการกำหนดแนวทางการรักษา ซึ่งแม้ว่าสเต็ทโตสโคปจะดูเป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน แต่ถึงอย่างนั้นก็ควรที่จะเข้าใจหลักการทำงานและวิธีใช้งานที่ถูกต้องด้วย เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้ประเมินอาการได้แม่นยำ

หลักการทำงานของ Stethoscope มีอะไรบ้าง

1.รับแรงสั่นสะเทือนจากอวัยวะต่างๆ

หลักการทำงานที่สำคัญอย่างแรกของ สเต็ทโตสโคป ก็คือ จะต้องมีส่วนที่เป็นแผ่นรับเสียงหรือรับแรงสั่นสะเทือนจากอวัยวะต่าง ๆ เมื่อนำหูฟังแพทย์ไปวางไว้ตรงบริเวณที่ต้องการฟังเสียง โดยสามารถฟังเสียงได้จาก 2 ด้าน ทั้งด้านไดอะแฟรม ที่ใช้วัดเสียงปอดที่มีความถี่สูง และด้าน Bell ที่ใช้วัดเสียงหัวใจที่มีความถี่ต่ำ

2.ส่งต่อเสียงไปตามท่อนำเสียง

เมื่อหูฟังแพทย์รับเสียงที่เกิดจากแรงสั่นสะเทือนภายในอวัยวะส่วนต่างๆ แล้ว เสียงจะถูกส่งต่อไปตามท่อนำเสียง ที่มีลักษณะเป็นรูปตัว Y และทำมาจากวัสดุที่เป็นโพลีไวนิลคลอไรด์ หรือยางลาเท็กซ์ เพื่อความทนทานและความยืดหยุ่นของท่อ

3.เสียงถูกส่งต่อไปยังส่วนของหูฟัง

หลังจากเสียงหรือแรงสั่นสะเทือนที่วัดได้ ถูกส่งต่อขึ้นมาจากแผ่นรับเสียง ผ่านท่อนำเสียง จนมาถึงส่วนที่เป็นหูฟัง หรือ ear plug เสียงก็จะถูกส่งต่อเข้าสู่หูของผู้ใช้งาน ซึ่งส่วนของ ear plug ที่อยู่ติดกับหูจะใช้วัสดุที่เป็นซิลิโคน หรือพลาสติกที่มีความนิ่ม เพื่อให้ไม่รู้สึกเจ็บเวลาใช้งาน

7 หูฟังทางการแพทย์ ยี่ห้อไหนดี ที่คุ้มค่ากับการใช้งานในปี 2021 มากที่สุด !

วิธีการใช้งานหูฟังแพทย์ หรือ stethoscope ( สเต็ทโตสโคป )

1.ตรวจสภาพความพร้อมก่อนใช้งาน ว่าหูฟังสามารถใช้งานได้ตามปกติหรือไม่ อาจลองเคาะเบาๆ ที่ไดอะแฟรม เพื่อลองฟังเสียง หากไม่ได้ยินเสียงหรือเสียงเบา ตัวสเต็ทโตสโคปก็อาจจะมีปัญหา ซึ่งก็ต้องแก้ไขหรือเปลี่ยนเป็นอันใหม่แทน

2.ใส่หูฟังทางการแพทย์ให้พอดีและกระชับหู โดยควรใส่ให้ตัวหูฟังให้ชี้ไปทางด้านหน้าหรือชี้ออกจากตัว ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ได้ยินเสียงอย่างชัดเจนและแม่นยำมากขึ้น

3.วางส่วนที่เป็นแผ่นรับเสียงให้สัมผัสกับผิวหนังในบริเวณที่ต้องการฟังโดยตรง ไม่ควรวางทับบนเสื้อผ้า ซึ่งหากฟังเสียงปอด จะต้องใช้ด้านไดอะแฟรม แต่หากฟังเสียงหัวใจ จะต้องใช้ด้านที่เป็น Bell

4.ฟังเสียงที่เกิดขึ้นภายในปอด หัวใจ หรืออวัยวะอื่นๆ แล้วทำการประเมินผลและวินิจฉัยอาการ

คลิกดูวิธีการใช้งานหูฟังแพทย์ฉบับเต็มได้ที่นี่ : 4 วิธีใช้หูฟังทางการแพทย์ หรือ หูฟังสเต็ทโตสโคป ( stethoscope ) เพื่อฟังเสียงปอดและหัวใจ !

การดูแลรักษาหูฟังแพทย์หลังการใช้งาน

  • หมั่นทำความสะอาดบริเวณส่วน หูฟัง หรือ ear plug อยู่เป็นประจำ
  • ใช้แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาด ตามส่วนต่าง ๆ ของ Stethoscope
  • คอยระวังไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมหรือสิ่งสกปรกเข้าไปภายในท่อ
  • ไม่ควรทำความสะอาดด้วยการนำไปล้างน้ำ หรือล้างน้ำยาทำความสะอาด
  • ระวังไม่ให้หูฟังแพทย์หล่น หรือได้รับการกระแทก

นอกจาก หูฟังแพทย์ หรือ Stethoscope ( สเต็ทโตสโคป ) จะเป็นเครื่องมือคู่กายของแพทย์ที่ใช้กันตามโรงพยาบาลแล้ว คนปกติทั่วไปก็สามารถหาซื้อมาใช้เองที่บ้านได้เช่นกัน เพื่อนำมาใช้ตรวจและเฝ้าระวังอาการป่วยอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะบ้านที่มีผู้ป่วยติดเตียง หรือมีผู้ป่วยที่ต้องคอยตรวจเช็กอาการอยู่เป็นประจำ

ซึ่งการใช้หูฟังแพทย์ก็จะช่วยให้สามารถวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยในเบื้องต้นได้ แต่การนำไปใช้งานเองที่บ้าน ก็จำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจวิธีการใช้งานที่ถูกต้องด้วย เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และฟังเสียงได้ถูกต้องแม่นยำ

  • การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี หูฟังแพทย์
    หูฟัง BOKANG รุ่น BK3002 สำหรับผู้ใหญ่ รหัส RM-STC23 150.00 ฿

  • การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี หูฟังแพทย์
    หูฟัง ALP K2 รุ่น FT-806 เด็กเล็ก รหัส RM-STC22 790.00 ฿

  • การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี หูฟังแพทย์
    หูฟัง ALP K2 รุ่น FT-805 เด็กโต รหัส RM-STC21 450.00 ฿

  • การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี หูฟังแพทย์
    หูฟังหมอ ALP K2 รุ่น FT-801 ผู้ใหญ่ รหัส RM-STC20 420.00 ฿

  • การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี หูฟังแพทย์
    หูฟังแพทย์ ABN รุ่น SPECTRUM DUAL HEAD รหัส RM-STC14 250.00 ฿

คลิกดูหูฟังทางการแพทย์ คลิกดูสินค้าอื่นๆ

หาซื้อ หูฟังแพทย์ จากที่ไหนได้บ้าง

หากใครกำลังมองหา หูฟังหมอ หรือ หูฟังแพทย์ ที่ใช้กันภายในโรงพยาบาล ให้ได้หูฟังที่มีคุณภาพ รับเสียงได้ดี คงทน ก็สามารถเข้าไปสั่งซื้อได้ผ่านทาง Rakmor หูฟังแพทย์ มีให้เลือกหลากหลายรุ่น หลายยี่ห้อแน่นอน สำหรับใครที่ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ ต้องการจะสั่งซื้อเครื่องมือแพทย์อื่นๆ ที่ไม่ใช่หูฟังแพทย์ ก็มีเช่นกัน ตั้งแต่ เครื่องตรวจโควิด ไปจนถึง เตียงผู้ป่วยฉุกเฉิน พร้อมบริการปลีก-ส่งให้ถึงที่อย่างปลอดภัย