โครงการ อนุรักษ์สมุนไพรไทย

านทางบุคลากรทางการแพทย์จากหลายสาขา แล้วนั้น ด้วยสายพระเนตรที่กว้างไกล พระองค์ก็ยังทรงมีพระราชดำริที่ในเรื่องจะต้องให้ความสนใจใน สมุนไพรไทย ซึ่งได้มีการใช้ประโยชน์มาเป็นเวลานานตั้งแต่ในอดีต
จึงทรงเห็นว่า ควรจะได้มีการส่งเสริมการใช้และการพัฒนาสมุนไพรเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยพระองค์ได้ทรงดำเนินการ เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ดังจะเห็นได้ว่ามีโครงการพระราชดำริเกี่ยวกับการศึกษาพัฒนาและอนุรักษ์สมุนไพรเกิดขึ้นหลายโครงการ รวมทั้งโครงการที่เกี่ยวข้องโดยทางอ้อมอีกเป็นจำนวนมาก เช่น
• โครงการสวนป่าสมุนไพรของศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ
• ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ
• โครงการสวนแม่พันธุ์ต้นซิงโคนา
• โครงการภายใต้มูลนิธิโครงการหลวง
• โครงการสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เป็นต้น
ยกตัวอย่างโครงการด้านสมุนไพรไทยอย่างเด่นชัดที่สุด ได้แก่ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ในปี พ.ศ. 2523 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พื้นที่จำนวน 15 ไร่ จัดสร้างสวนป่าสมุนไพรชนิดต่างๆไว้ศึกษาวิจัยทางวิชาการเผยแพร่การใช้ประโยชน์ และ เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่สนใจ
การนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนี้แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกับปรัชญาในการพัฒนาสังคมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ประการ คือ
1. การส่งเสริมศักยภาพในการพึ่งตนเองของประชาชน
2. การอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์
3. การอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย
4. เศรษฐกิจพอเพียง
5. การพัฒนาไปสู่เทคโนโลยีสมัยใหม่ 
ซึ่งแนวพระราชดำริเรื่องการนำสมุนไพรมาศึกษาและวิจัยนี้ต่อมาได้นำไปสู่การศึกษา พัฒนา และ การนำพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่น รวมทั้งสมุนไพรจากต่างประเทศเข้ามาทดลองปลูก และทดลองทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ออกมาใช้
สมุนไพรกับโครงการหลวง
พืชสมุนไพรเป็นพืชอีกกลุ่มหนึ่งที่มูลนิธิโครงการหลวงได้พยายามพัฒนาให้เป็นพืชทางเลือก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรตามพระราโชบายในการแก้ปัญหาการปลูกฝิ่นบนพื้นที่สูงของเกษตรกรชาวเขา
2. ลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า
3. เพื่อธำรงไว้ซึ่งความกินดีอยู่ดีของพสกนิกรบนพื้นที่สูง

ปัจจุบันมูลนิธิโครงการหลวง ได้ศึกษาและค้นคว้าพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ ไปเป็นจำนวนมาก หลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชกลุ่มเครื่องเทศและพืชหอม ซึ่งมีมูลค่าผลผลิตสดต่อปีหลายแสนบาท และมูลค่าผลิตภัณฑ์แปรรูปมากกว่าสามล้านบาท ปัจจุบันมูลนิธิ โครงการหลวงกำลังขยายงานวิจัยเพื่อพัฒนาพืชกลุ่มนี้อีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชสมุนไพรพื้นบ้านบน พื้นที่สูง ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านหรือพืชป่าและมีอยู่จำนวนมากในเขตพื้นที่รับผิดชอบของมูลนิธิโครงการหลวง จากการศึกษาเบื้องต้นโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากมูลนิธิโครงการหลวงพบว่า เฉพาะในพื้นที่ดอยอ่างขางแห่งเดียว ซึ่งมีชาวเขา 5 เผ่าอาศัยอยู่ คือจีนฮ่อ, ไทใหญ่, มูเซอ, เย้า และปะหล่อง เฉพาะชาวปะหล่องเผ่าเดียวมีการใช้ประโยชน์จากพืชท้องถิ่นถึง 228 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นพืชอาหาร 88 ชนิด และเป็นพืชยาถึง 51 ชนิด
นอกจากนี้นักวิจัยยังพบอีกว่าในจำนวนนี้พืชหลายชนิดมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวที่อาจพัฒนาเป็นพืชเครื่องเทศ และพืชน้ำมันหอมระเหยได้ เช่น ตะไคร้ต้น อีหลืน มะแขว่น พืชบางชนิดมีสารออกฤทธิ์ควบคุมโรคและแมลงได้ เช่น สาบหมา คาวตอง ค้างคาวดำ พืชบางชนิดมีฤทธิ์ทางยา เช่น ผักเชียงดา ช่วยลดน้ำตาลในเลือด เป็นต้น ดังนั้นพืชท้องถิ่นเหล่านี้จึงมีศักยภาพในการพัฒนาในหลายรูปแบบ๕๐สำหรับพืชสมุนไพรที่ทางมูลนิธิโครงการหลวงนำมาปลูกนั้นแบ่งได้เป็น ๒ กลุ่มคือ กลุ่มพืชสมุนไพรและเครื่องเทศเมืองหนาว และพืชสมุนไพรพื้นบ้านบนพื้นที่สูง โดยมีพันธุ์พืชที่ทดลองปลูกดังนี้คือ
1. พืชสมุนไพรและเครื่องเทศเมืองหนาว ได้แก่ ตังกุย คาโมมาย ซอเรล ไชว์ อิตาเลี่ยน พาร์สเลย์เลมอน บาล์ม มาร์จอแรม มินต์ ออริกาโน่ โรสแมรี่ เสจ ทายม์ เจอราเนียม ลาเวนเดอร์ และสวีทเบซิล
2. พืชสมุนไพรพื้นบ้านบนพื้นที่สูง ได้แก่ ตะไคร้ต้น ตะไคร้หอม กะตังใบ กะตังแดง กระเม็งกำลังเสือโคร่ง โกฐจุฬาลัมพา ไข่ปู (หนามไข่ปู หรือมะหู้ไข่ปู) ครามป่า (ครามขาว) ต่างไก่ป่า ทะโล้ (สารภีดอย หรือมังตาน) ปัญจขันธ์ (เบญจขันธ์) ปิ้งขาว ผักบุ้งส้ม ผักไผ่ดอย ผักแพวแดง พุทธรักษา เพี้ยกระทิง (สะเลียมดง) ไพลดำ รางจืดเถา (หนำแน่) ว่านท้องใบม่วง ส้มผด สาบแร้งสาบกา สาบเสือ สาบหมา สามร้อยยอด สีฟันคนทา หญ้าถอดปล้อง หญ้าเอ็นยืด อัคคีทวาร อูนป่า เอื้องหมายนา และฮ่อมช้าง
ในปัจจุบันมูลนิธิโครงการหลวงได้มีการนำสมุนไพรที่ปลูกได้ในโครงการมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น แชมพู – ครีมนวดผม, โลชั่น, ยาสีฟัน, สบู่, ยาระงับกลิ่นปาก, น้ำยาบ้วนปาก, เจลบรรเทาปวด,รอยัลบาล์ม, น้ำมันหอมนวดตัว, สเปรย์บรรเทาปวด, สเปรย์ระงับกลิ่นเท้า, สมุนไพรไล่ยุง และน้ำมันหอมระเหย เป็นต้น

หน้าหลัก > ข่าว > เกร็ดความรู้ > โครงการพระราชดำริด้านสมุนไพร อีกหนึ่งพระราชกรณียกิจในหลวง รัชกาลที่ 9

โครงการพระราชดำริด้านสมุนไพรของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่เกิดจากสายพระเนตรอันยาวไกล พัฒนาทั้งสมุนไพรไทยและผสานหลักเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งหลักการเกษตรเข้าไว้ด้วยกัน

          เป็นที่ทราบกันดีมาตลอดเวลาว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชกรณียกิจนับพัน ๆ โครงการ แสดงให้เห็นถึงพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อประชาชนชาวไทยมาอย่างยาวนาน และหนึ่งในโครงการพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่เราอยากนำเสนอให้ชาวไทยทุกคนได้รู้และศึกษากันอีกโครงการหนึ่งก็คือ โครงการพระราชดำริด้านสมุนไพร ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9

          โดยนอกจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 จะทรงมีโครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุขไทยหลายต่อหลายสาขาแล้ว ยังทรงสนพระราชหฤทัยในด้านสมุนไพรไทย ที่ได้ใช้ประโยชน์มาเป็นเวลานานตั้งแต่อดีต จึงทรงมีพระราชดำริว่าควรจะต้องมีการส่งเสริมการใช้และพัฒนาสมุนไพรเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยพระองค์ได้ทรงดำเนินการเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ดังนั้นจะเห็นได้จากโครงการพระราชดำริเกี่ยวกับการศึกษา พัฒนา และอนุรักษ์สมุนไพรที่เกิดขึ้นหลายโครงการ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

          1. โครงการที่เกิดจากพระราชดำริโดยแท้จริง

          2. โครงการที่เกิดขึ้นโดยหน่วยงาน องค์กร หรือกลุ่มบุคคลที่ดำเนินการจัดทำขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริ

โครงการที่เกิดจากพระราชดำริโดยแท้จริง อันได้แก่

โครงการ อนุรักษ์สมุนไพรไทย

ภาพจาก ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

- โครงการสวนป่าสมุนไพรของศูนย์การศึกษาพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ 

          ตั้งอยู่ที่อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งในปี พ.ศ. 2523 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พื้นที่จำนวน 15 ไร่ จัดสร้างสวนป่าสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ไว้ศึกษาวิจัยทางวิชาการเพื่อเผยแพร่การใช้ประโยชน์ และเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่สนใจ โดยในปัจจุบันมีพรรณพืชในสวนป่าแห่งนี้อยู่กว่า 731 ชนิดด้วยกัน

- โครงการพระราชดำริเพื่อการศึกษาวิจัยสมุนไพรที่ใช้กับโรคมะเร็ง

          “ฉันไม่สบายใจมากที่คนไทยของฉันเป็นมะเร็งตายกันมาก” จากกระแสพระราชดำรัสดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความห่วงใยในสุขภาพของประชาชน เนื่องจากมีอัตราการตายด้วยโรคมะเร็งมากขึ้นเรื่อย ๆ นายแพทย์นพรัตน์ บุณยเลิศ จึงได้ทำการค้นคว้าทดลองและคิดค้นตำรับยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ หลายตำรับ และใช้รักษาผู้ป่วยอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยสมุนไพรที่ใช้ในตำรับของนายแพทย์นพรัตน์ ก็เช่น ทองพันชั่ง (หญ้ามันไก่), ฟ้าทะลาย (ฟ้าทะลายโจร), ผักบุ้ง (ผักทอดยอด) และหญ้าผมยุ่ง เป็นต้น

โครงการพระราชดำริที่เกิดขึ้นโดยหน่วยงาน องค์กร หรือกลุ่มบุคคลที่ดำเนินการจัดทำขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริ

          เป็นโครงการพระราชดำริที่เกิดขึ้นโดยหน่วยงาน องค์กร หรือกลุ่มบุคคลที่ดำเนินการจัดทำขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริ ซึ่งนอกจากจะเป็นโครงการพัฒนาสมุนไพรให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุดแล้ว ยังมีจุดประสงค์ในการจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ราบสูงอีกด้วย โดยโครงการพระราชดำริด้านสมุนไพรที่เกิดขึ้นโดยหน่วยงาน องค์กร หรือกลุ่มบุคคลที่ดำเนินการจัดทำขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริก็มีดังนี้

โครงการ อนุรักษ์สมุนไพรไทย

ภาพจาก มูลนิธิโครงการหลวง

- โครงการหลวง ดอยคำ

          มีจุดประสงค์เพื่อให้ชาวเขามีอาชีพทำกิน อันเป็นการแก้ปัญหายาเสพติดและการตัดไม้ทำลายป่า ด้วยการส่งเสริมให้ชาวเขาปลูกพืชอื่น ๆ ทดแทนฝิ่น จนกระทั่งมีผลิตภัณฑ์สมุนไพรของมูลนิธิโครงการหลวงเกิดขึ้นมากมายหลายชนิด ในรูปผลิตภัณฑ์ดอยคำ

โครงการ อนุรักษ์สมุนไพรไทย

ภาพจาก มูลนิธิโครงการหลวง 

- โครงการภายใต้มูลนิธิโครงการหลวง

          ซึ่งได้ดำเนินการผสมผสานร่วมกับผลิตภัณฑ์การเกษตรอื่น ๆ และผลิตอาหาร เช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue Culture) เพื่อเพิ่มผลผลิต โดยไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่เพาะปลูกมากเกินไป การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีชีวภาพอื่น ๆ เช่น การใช้ประโยชน์จากจุลชีพเพื่อการผลิต นอกจากนี้ยังมีโครงการทดลอง และห้องปฏิบัติการเพื่อการวิจัยและพัฒนาสำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร และการเกษตรในบริเวณพระราชวังสวนจิตรลดา ซึ่งทรงให้ใช้พื้นที่อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดทุกหย่อมหญ้า

          โดยตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรภายใต้มูลนิธิโครงการหลวงที่ได้ใช้เทคโนโลยีพัฒนาจนเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถวางจำหน่ายในท้องตลาดได้จริงก็อย่างเช่น เห็ดหลินจือสกัดในรูปเห็ดหลินจือกระป๋อง และน้ำสมุนไพรอื่น ๆ เช่น น้ำกระเจี๊ยบ เป็นต้น

โครงการ อนุรักษ์สมุนไพรไทย

ภาพจาก สวนสมุนไพรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่

- สวนซิงโคนา ดอยสุเทพ

          ตั้งขึ้นในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริให้ใช้เป็นที่ทำการทดลองปลูกพืชสมุนไพร จึงได้มีการนำต้นซิงโคนา (ควินิน) มาทดลองปลูก ทำการวิจัยและขยายพันธุ์ให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนให้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาทดลองสมุนไพรอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย

โครงการ อนุรักษ์สมุนไพรไทย

ภาพจาก ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

- สวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย

          ตั้งอยู่ที่ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทดลองรูปแบบระบบการปลูกพืชต่าง ๆ ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ อาทิ ระบบการปลูกพืชโดยมีไม้ผลเป็นหลัก การทำการเกษตรแบบยั่งยืน ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ วนเกษตร และการลดการใช้สารเคมี อีกทั้งยังจัดตั้งขึ้นเพื่อจัดทำแปลงรวบรวมพันธุ์ไม้หายาก พันธุ์ไม้หอมเฉลิมพระเกียรติ สมุนไพร รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรอีกด้วย

โครงการ อนุรักษ์สมุนไพรไทย

ภาพจาก องค์การสวนพฤกษศาสตร์ 

- สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

          ตั้งอยู่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่รวม 3,500 ไร่ เป็นศูนย์วิชาการและบริการด้านพฤกษศาสตร์ของประเทศ เพื่อรวบรวมพรรณไม้ชนิดต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงอนุรักษ์พันธุ์พืชในประเทศไทย โดยเฉพาะไม้ประจำถิ่น กล้วยไม้ ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ ไม้สมุนไพร ไม้หายาก และไม้ที่กำลังจะสูญพันธุ์ ตลอดจนการดำเนินการขยายพันธุ์ให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นเพื่อการศึกษาในอนาคต

โครงการ อนุรักษ์สมุนไพรไทย

ภาพจาก เทศบาลเมืองมาบตาพุด

- สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

          ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง ดำเนินการสร้างขึ้นโดยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย มีพื้นที่ 60 ไร่ เพื่อเป็นศูนย์รวบรวมความรู้ในเรื่องพืชสมุนไพร โดยรวบรวมพันธุ์พืชต่าง ๆ ผลิตและขยายพันธุ์สมุนไพรบางชนิดที่ได้มีการพิสูจน์สรรพคุณทางยา และเป็นสวนสาธารณะเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ภายในสวนมีการจัดปลูกพืชสมุนไพรเป็นหมวดหมู่จำแนกตามสรรพคุณออกเป็น 20 อาการโรค

โครงการ อนุรักษ์สมุนไพรไทย

ภาพจาก อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ 

- อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ

          โครงการวิจัยสมุนไพรทุกด้าน รวมทั้งโครงการปลูกสวนสมุนไพรเพื่อการศึกษา ตั้งอยู่ในพื้นที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

          นอกจากจุดประสงค์ในการต่อยอดและพัฒนาสมุนไพรให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่แล้ว โครงการพระราชดำริด้านสมุนไพรยังช่วยพลิกฟื้นผืนดินและความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทยไปพร้อม ๆ กันด้วย จนอาจกล่าวได้ว่า การนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 นี้ แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกับปรัชญาในการพัฒนาสังคมของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 5 ประการ คือ

          1. การส่งเสริมศักยภาพในการพึ่งตนเองของประชาชน

          2. การอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์

          3. การอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย

          4. เศรษฐกิจพอเพียง

          5. การพัฒนาไปสู่เทคโนโลยีสมัยใหม่

          ปัจจุบันโครงการพระราชดำริด้านสมุนไพรต่าง ๆ ได้ศึกษาและค้นคว้าพืชสมุนไพรนานาชนิดเป็นจำนวนมาก และได้ผลผลิตออกมาในหลายรูปแบบด้วยกัน สร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ และส่งเสริมให้คนไทยทุกคนได้มีสมุนไพรดี ๆ ไว้อุปโภคบริโภค นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้จริง ๆ นะคะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

มูลนิธิชัยพัฒนา

สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี