ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร ดวงแรกของไทย

ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร ดวงแรกของไทย

ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร ดวงแรกของไทย

        ดาวเทียมไทยคม (THAICOM) ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536

            17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ดาวเทียมไทยคม (THAICOM) ดาวเทียมดวงแรกของไทย ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรจากฐานส่งของบริษัท แอเรียนสเปซ (Arianespace) แห่งฝรั่งเศส ที่เมืองคูรู (Kourou) ประเทศเฟรนช์ เกียนา (French Guiana) ทวีปอเมริกาใต้ สร้างโดยบริษัท ฮิวจ์ สเปซ แอร์คราฟท์ (Hughes Space Aircraft) ของสหรัฐอเมริกา เพื่อให้บริการสื่อสารผ่านช่องสัญญาณดาวเทียม รองรับการสื่อสารของประเทศที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว สามารถถ่ายทอดทั้งสัญญาณโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง โทรศัพท์ และการสื่อสารข้อมูล มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551)  ทั้งนี้ ชื่อ "ไทยคม" เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน โดยย่อมาจากคำว่า Thai Communications ในภาษาอังกฤษ หรือไทยคม (นาคม) เดิมดาวเทียมดวงนี้อยู่ที่พิกัด 78.5 องศาตะวันออก เรียกชื่อว่า ไทยคม 1 เมื่อย้ายมาอยู่ที่ 120 องศาตะวันออก ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 จึงเรียกชื่อใหม่ว่า "ไทยคม 1A"


ดาวเทียมธีออส (THEOS) เป็นคำมาจาก Thailand Earth Observation Systems หมายถึงระบบสำรวจพื้นผิวโลกโดยใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายจากดาวเทียมของประเทศไทย ดาวเทียมดวงนี้ได้ทะยานขึ้นสู่อวกาศ เมื่อวันพุธที่ 1 ตุลาคม 2551 โดยจรวดนำส่ง “เนปเปอร์” (Dnepr) จากฐานส่งจรวดเมืองยาสนี (Yasny) ประเทศรัสเซีย ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส เมื่อปี 2547 โดยมีสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ. และกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (วท.)

ประโยชน์ของดาวเทียมธีออส
ภาพจากดาวเทียมสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งน้ำ การสำรวจศึกษาหาพื้นที่ป่าไม้ หาพื้นที่ป่า ถูกบุกรุกทำลาย ถูกไฟไหม้ การสำรวจหาพื้นที่สวนป่าและหาชนิดป่า การสำรวจหามลพิษจากคราบน้ำมันในทะเล หาแหล่งน้ำ หาพื้นที่ประสบภัยจากคลื่นสึนามิ การจัดทำแผนที่ภูมิประเทศ แผนที่ธรณีวิทยา ธรณีสัณฐานของประเทศไทย การศึกษาหาพื้นที่เพาะปลูก การคาดการณ์ผลผลิต ประเมินความเสียหาย จากภัยธรรมชาติและศัตรูพืช ตลอดจนการวางแผนกำหนดเขตเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เป็นต้น
ท่านคิดว่าดาวเทียมธีออสมีประโยชน์โดยตรงต่อท่านอย่างไร

ข้อมูลเพิ่มเติม

ดาวเทียมธีออส

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดาวเทียม


 

ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง

สาระที่ 7 : ดาราศาสตร์และอวกาศ

ว 7.2 ม.3/1 สืบค้นและอภิปรายความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ใช้สำรวจอวกาศ วัตถุท้องฟ้า สภาวะอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ การเกษตร และการสื่อสาร

                  ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของประเทศไทยมีชื่อว่า ดาวเทียมธีออส ย่อมาจาก Thailand Earth Observation System THEOS เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก มีน้ำหนัก 750 กิโลกรัม และมีระยะห่างจากโลกเมื่อส่งขึ้นไปโคจรที่ระดับ 822 กิโลเมตร โคจรรอบโลกทั้งสิ้น 369 วงโคจร ซึ่งระยะทางระหว่างวงโคจรแต่ละวงเท่ากับ 105 กม โดยจะโคจรมาที่จุดเดิมทุกๆ 26 วัน และสามารถถ่ายภาพได้ครอบคลุมทั่วโลก บันทึกภาพด้วยระบบเดียวกับกล้อง Optical System ความละเอียดของภาพขาวดำ 2 เมตร สามารถเห็นวัตถุขนาด 2x2 เมตรในที่แจ้งได้ชัดเจน ความละเอียดภาพสี 15 เมตร ความกว้างของแนวถ่ายภาพ 90 กิโลเมตร โดยอายุการใช้งานประมาณ 5 ปี

ดาวเทียมไทยโชต (Thaichote) หรือ ดาวเทียมธีออส (THEOS) ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทยได้ทะยานขึ้นสู่อวกาศ ในวันพุธที่ 1 ตุลาคม 2551 ตามเวลาประเทศไทย 13:37:16 น. หรือ 6.37:16 น. ตามเวลามาตรฐานสากล (UTC) โดยจรวดนำส่ง "เนปเปอร์" (Dnepr) จากฐานส่งจรวดเมืองยาสนี (Yasny) ประเทศรัสเซีย

ดาวเทียมไทยโชต ถูกออกแบบให้เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก มีอายุการใช้งานอย่างน้อย 5 ปี ทำงานโดยอาศัย แหล่งพลังงาน จากดวงอาทิตย์ สามารถบันทึกภาพได้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก ติดตั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพแบบ ออฟติคคอล (Optical Imagery) ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลภาพ ในช่วงคลื่นแสงที่ตามองเห็น (Visible band) จนถึงช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้ (Near Infrared) ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบช่วงคลื่นของดาวเทียมธีออสกับดาวเทียม อื่นๆ พบว่า 3 ช่วงคลื่นของดาวเทียมธีออส มีความคล้ายคลึงกับช่วงคลื่นของดาวเทียม SPOT ยกเว้นช่วงคลื่น สีน้ำเงิน ที่มีเพิ่มมากกว่าของดาวเทียม SPOT และมีความคล้ายคลึงกันกับช่วงคลื่นของดาวเทียม Landsat ระบบ TM

หมายเหตุ:
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อดาวเทียมสำรวจทรัพยากร THEOS ว่า “ดาวเทียมไทยโชต” ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Thaichote” ซึ่งแปลว่า ดาวเทียมที่ทำให้ประเทศไทยรุ่งเรือง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะผู้บริหารสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ตลอดจนเจ้าหน้าที่และลูกจ้าง สทอภ. ล้วนปลาบปลื้มและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ รายละเอียดเพิ่มเติม

คุณลักษณะดาวเทียม

น้ำหนัก715 กิโลกรัมขนาด2.1 เมตร x 2.1 เมตร (Sun Synchronous)แผงรับแสงอาทิตย์840 วัตต์เชิ้อเพลิงและความจุของถังเชื้อเพลิง (Hydrazine)80 กก.วงโคจรแบบสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun Synchronous)ความสูงของวงโคจร822 กิโลเมตร จากพื้นโลกความเอียงของแนวการโคจร98.7 องศาจำนวนวงโคจรต่อวัน14+5/26 วงโคจรต่อวันเวลาท้องถิ่นที่โคจรผ่าน10:00 น.ระยะเวลาโคจรรอบโลก 1 รอบ101.4 นาทีการโคจรกลับมาแนวเดิมทุก 26 วัน (369 วงโคจร)ความเร็วเมื่อเทียบกับพื้นโลก6.6 กม./วินาทีความจุของอุปกรณ์เก็บข้อมูล40 Gbit solid-state memoryการประมวลผลข้อมูลบนดาวเทียม

อัตราส่วนของการบีบอัดข้อมูล

2.80 or 3.75 for PAN

2.95 or 3.75 for MS

อัตราการส่งข้อมูลภาพ
(Image Telemetry)120 Mbit/s (X band)ช่องว่างระหว่างแนวโคจร
(ที่เส้นศูนย์สูตร)108 กิโลเมตร ระหว่างแนวการโคจร 2 แนวที่ใกลที่สุดที่ ดาวเทียมผ่าน
2800 กิโลเมตร ระหว่างแนวโคจร 2 วงที่ต่อเนื่องกันขอบเขตการบันทึกข้อมูลทั่วทั้งโลกขอบเขตการรับสัญญาณรัศมีมากกว่า 2000 กิโลเมตร จากสถานีรับภาคพื้นดิน (ที่มุมเงย 5 องศา)เวลาในการโคจรมาถึงเป้าหมาย2 วัน เมื่อดาวเทียมเอียงถึง 50 องศา
5 วัน เมื่อดาวเทียมเอียงถึง 30 องศาอุปกรณ์บันทึกข้อมูลPanchromatic (ช่วงคลื่นเดียว)
รายละเอียดภาพ 2 เมตร, ความกว้างแนวภาพ 22 กิโลเมตร
Multispectral (หลายช่วงคลื่น)
รายละเอียดภาพ 15 เมตร, ความกว้างแนวภาพ 90 กิโลเมตรอายุการใช้งานอย่างน้อย 5 ปี

อุปกรณ์บันทึกข้อมูล

 
ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร ดวงแรกของไทย
ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร ดวงแรกของไทย
 Panchromatic
(ช่วงคลื่นเดียว)Multispectral
(หลายช่วงคลื่น)ช่วงคลื่นP : 0.45 - 0.90 ไมครอนB0 (น้ำเงิน) : 0.45 - 0.52 ไมครอน
B1 (เขียว) : 0.53 - 0.60 ไมครอน
B2 (แดง) : 0.62 - 0.69 ไมครอน
B3 (อินฟราเรดใกล้) : 0.77 - 0.90 ไมครอนรายละเอียดภาพ2 เมตร15 เมตรความกว้างแนวภาพ22 กิโลเมตร (ในแนวดิ่ง)90 กิโลเมตร (ในแนวดิ่ง)จำนวน pixel ต่อแถว12,000 pixels6,000 pixelsความกว้างของแนวที่สามารถบันทึกภาพ1,000 กิโลเมตร
(มุมเอียง ± 30 องศา)1,100 กิโลเมตร
(มุมเอียง ± 30 องศา)
ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร ดวงแรกของไทย

การถ่ายภาพจากดาวเทียม Thaichote

ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร ดวงแรกของไทย

การถ่ายภาพในแนวดิ่ง (Nadir)

ดาวเทียมธีออสถ่ายภาพในแนวดิ่ง (Nadir) หรือภายในมุมเอียงไม่เกิน 11 องศา (Near Nadir) ตามแนวการโคจร มีขนาดความกว้างของแนวถ่ายภาพ 22 กิโลเมตร สำหรับกล้อง Panchromatic และ90 กิโลเมตร สำหรับกล้อง Multispectral

ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร ดวงแรกของไทย
การถ่ายภาพต่อเนื่องเป็นแนวยาว (Strip Imaging)
ดาวเทียมธีออสสามารถถ่ายภาพเป็นแนวยาวต่อเนื่องได้สูงสุดถึง 4,000 กิโลเมตร
ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร ดวงแรกของไทย

ความสามารถในการถ่ายภาพซ้ำในพื้นที่เดิม

ดาวเทียมธีออสสามารถปรับเอียงมุมกล้องโดยการเอียงมุมกล้องโดยการเอียงดาวเทียมไปทางซ้ายหรือขวา หรือเพิ่มความกว้างของพื้นที่ที่ถ่ายภาพ เป็นการเพิ่มความถี่ในการถ่ายภาพพื้นที่เป้าหมายได้บ่อยครั้งขึ้น การเพิ่มความถี่ในการถ่ายภาพซ้ำที่เดิมขึ้นกับมุมเอียงของดาวเทียมและตำแหน่งภูมิศาสตร์ตามแนวเส้นละติจูดของพื้นที่นั้น ๆ มุมเอียงของกล้องที่สามารถบันทึกได้ภาพที่มีคุณภาพดีในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ต้องไม่เกิน 30 องศา อย่างไรก็ตามกรณีเร่งด่วนดาวเทียมธีอสสามารถปรับมุมเอียงได้ถึง 50 องศา ซึ่งจะเพิ่มความถี่ในการถ่ายภาพซ้ำที่เดิม เช่น ประเทศไทยอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร สามารถถ่ายภาพได้ซ้ำที่เดิมเฉลี่ยทุก 3 วัน สำหรับมุมเอียงไม่เกิน 30 องศา แต่ถ้าปรับมุมเอียงถึง 50 องศา ความถี่ในการถ่ายภาพซ้ำที่เดิมเพิ่มขึ้นเป็นทุก 2 วัน

ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร ดวงแรกของไทย

การถ่ายภาพสเตอริโอ (Stereo Imaging)

ดาวเทียมธีออสสามารถถ่ายภาพสเตอริโอได้ 2 วิธี
1. การถ่ายภาพในแนวโคจรเดียวกัน (Along track stereo imaging)
2. การถ่ายภาพพื้นที่เดียวกันจากสองแนวโคจร (Across track stereo imaging)

 

ผลิตภัณฑ์ข้อมูลดาวเทียม Thaichote

ผลิตภัณฑ์ข้อมูลจากดาวเทียม Thaichote นั้นมีให้เลือกหลายแบบ โดยแต่ละแบบจะใช้การผสมช่วงคลื่นที่แตกต่างกัน ทำให้รายละเอียดจุดภาพของผลิตภัณฑ์แตกต่างกัน

ชนิดของผลิตภัณฑ์ขาว–ดำน้ำเงินเขียวแดงอินฟราเรดใกล้รายละเอียดภาพแบบช่วงคลื่นเดียว (PAN)x----2 เมตรภาพสีเชิงคลื่น ( MS)-xxxx15 เมตรPan-Sharpenedxxxxx2 เมตร

ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร ดวงแรกของไทย

ผลิตภัณฑ์ภาพสีเชิงคลื่น
(Multispectral Products)ผลิตภัณฑ์แบบช่วงคลื่นเดียว
(Panchromatic Products)ผลิตภัณฑ์ Pan-Sharpend
(Pan-Sharpened Products)ผลิตภัณฑ์ภาพสีเชิงคลื่นของดาวเทียม Thaichote ให้รายละเอียดภาพ 15 เมตร (ที่การบันทึกภาพแนวดิ่ง) และมีข้อมูล 8 บิตต่อจุดภาพ โดยในหนึ่งแฟ้มข้อมูลของผลิตภัณฑ์จะประกอบด้วยข้อมูลทั้ง 4 ช่วงคลื่น ภาพที่ได้เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรรัสมีขนาด 90 กม. x 90 กม.

ผลิตภัณฑ์แบบช่วงคลื่นเดียวของดาวเทียม Thaichote ให้รายละเอียดภาพ 2 เมตร (ที่การบันทึกภาพแนวดิ่ง) และมีข้อมูล 8 บิตต่อจุดภาพ ภาพที่ได้เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 22 กม. x 22 กม.

ผลิตภัณฑ์แบบ Pan-Sharpened รวมข้อมูลที่ตามองเห็นจาก 4 ช่วงคลื่น (น้ำเงิน เขียว แดง อินฟราเรดใกล้) เข้ากับข้อมูลเชิงพื้นที่ของช่วงคลื่นขาว-ดำ ผลิตภัณฑ์แบบ Pan-Sharpened มีให้เลือกได้เฉพาะผลิตภัณฑ์ในระดับ 2A เท่านั้น ภาพที่ได้เป็นภาพสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 22 กม. x 22 กม.

ระดับการผลิต

ผลิตภัณฑ์ข้อมูลจากดาวเทียมไทยโชตมีการปรับแก้ 2 ระดับ ได้แก่

  • ระดับการปรับแก้โดยระบบ (1A): ภาพระดับ 1A นั้นจะได้รับการปรับแก้เชิงคลื่น ปรับระดับการตอบสนองสัมพัทธ์ของตัวตรวจวัด ( Detector equalization) และกำจัดความผิดพลาดเชิงคลื่น ช่วงคลื่น PAN และช่วงคลื่นสีแดงของระบบ MS ซึ่งเรียกว่า “ ช่วงคลื่นอ้างอิง ” จะไม่ได้รับการปรับแก้เชิงเรขาคณิต ส่วนช่วงคลื่น 3 ช่วงคลื่นที่เหลือจะได้รับการขยับ (Shifted) เพื่อทดแทนการเยื้องกันของข้อมูลในแต่ละช่วงคลื่น (รายละเอียด)
  • ระดับการปรับแก้เชิงภูมิศาสตร์ (2A): ภาพระดับ 2A จะได้รับการปรับแก้เชิงคลื่นเหมือนกับระดับ 1 A นอกจากนี้ยังได้รับการแก้ไขความผิดพลาดเชิงเรขาคณิตของแต่ละช่วงคลื่น (Registed) และการปรับแก้ความบิดเบือนเชิงภูมิศาสตร์ (Geocoded) นั่นคือได้รับการจัดข้อมูลใหม่บนระบบพิกัดเชิงแผนที่ (Carthographic grid) (รายละเอียด)

ชนิดของพื้นที่ภาพ

  1. แนวยาว (Single Strip)
    • ชนิดของผลิตภัณฑ์: PAN (ความกว้าง 22 กม.) หรือ MS (ความกว้าง 90 กม.) หรือ PAN Sharpened (ความกว้าง 22 กม.)
    • ผู้ใช้ระบุจุดศูนย์กลาง (ละติจูด/ลองจิจูด เป็นองศา) และความยาว (กม.) ของภาพ
    • ขนาดของภาพต้องไม่น้อยกว่า 1 ภาพ (PAN หรือ PAN Sharpened: 22 X 22 กม. MS: 90 X 90 กม.)
  2. แนวยาว: สเตริโอ หน้า/หลัง (Single Strip: Stereo Forward/After)
    • ชนิดของผลิตภัณฑ์: PAN (ความกว้าง 22 กม.) หรือ MS (ความกว้าง 90 กม.)
    • ผู้ใช้ระบุจุดศูนย์กลาง (ละติจูด/ลองจิจูด เป็นองศา) และความยาว (กม.) ของภาพ
    • ขนาดของภาพต้องไม่น้อยกว่า 1 ภาพ (PAN หรือ PAN Sharpened: 22 X 22 กม. MS: 90 X 90 กม.)
  3. แนวยาว: สเตริโอ ขวา/ซ้าย (Single Strip: Stereo Right/Left)
    • ชนิดของผลิตภัณฑ์: PAN (ความกว้าง 22 กม.) หรือ MS (ความกว้าง 90 กม.)
    • ผู้ใช้ระบุจุดศูนย์กลาง (ละติจูด/ลองจิจูด เป็นองศา) และความยาว (กม.) ของภาพ
    • ขนาดของภาพต้องไม่น้อยกว่า 1 ภาพ (PAN หรือ PAN Sharpened: 22 X 22 กม. MS: 90 X 90 กม.)
  4. สี่เหลี่ยมผืนผ้า (Rectangle)
    • ชนิดของผลิตภัณฑ์: PAN หรือ MS หรือ PAN Sharpened
    • ผู้ใช้ระบุพิกัดของมุมบนซ้ายและมุมล่างขวา (องศา) เป็นอย่างน้อย
    • ขนาดของภาพต้องไม่น้อยกว่า 1 ภาพ (PAN หรือ PAN Sharpened: 22 X 22 กม. MS: 90 X 90 กม.)
  5. รูปหลายเหลี่ยม (Polygon)
    • ชนิดของผลิตภัณฑ์: PAN หรือ MS หรือ PAN Sharpened
    • ผู้ใช้ระบุพิกัดทั้งหมดของพื้นที่ (ไม่เกิน 20 จุด) ตามลำดับทวนเข็มนาฬิกา
    • ขนาดของภาพต้องไม่น้อยกว่า 1 ภาพ (PAN หรือ PAN Sharpened: 22 X 22 กม. MS: 90 X 90 กม.)
  • ดาวน์โหลดคู่มือผู้ใช้ข้อมูลดาวทียมไทยโชต

การสั่งซื้อข้อมูลจากดาวเทียม Thaichote

ในการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ข้อมูลจากดาวเทียมธีออส สามารถเลือกสั่งซื้อผลิตภัณฑ์จากข้อมูลที่มีอยู่แล้วในคลังข้อมูล หรือข้อมูลที่ขอให้รับสัญญาณใหม่ สำหรับการสั่งซื้อข้อมูลใหม่ที่ไม่มีอยู่ในคลังข้อมูล มีขั้นตอนการขอรับสัญญาณดังต่อไปนี้

  1. ผู้ใช้กรอกข้อมูลลงใน แบบฟอร์มการสั่งซื้อ โดยระบุ ชนิดของการบันทึกภาพ พื้นที่เชิงภูมิศาสตร์ที่ต้องการ รูปแบบและชนิดของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ
  2. กรณีที่การสั่งบันทึกภาพผ่านการศึกษาความเป็นไปได้ (รายละเอียดการสั่งบันทึกภาพใหม่) ศูนย์วางแผนการบันทึกภาพทำการวางแผนการรับสัญญาณ โดยคำนึงถึงแผนการรับสัญญาณที่มีอยู่ และการใช้ประโยชน์สูงสุดของดาวเทียม
  3. สถานีรับสัญญาณภาคพื้นดิน (IGS) ดำเนินการรับสัญญาณ และผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ตามที่ผู้ใช้ระบุทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของการบันทึกภาพ ข้อมูลที่จะนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ จะได้รับการรับประกันว่ามีปริมาณเมฆปกคลุมโดยรวมต่ำกว่า 25 %

รายละเอียดในการสั่งซื้อสามารถสอบถามได้ที่ฝ่ายบริการข้อมูล สำนักบริการและพัฒนาธุรกิจ สทอภ. ทั้งนี้ตั้งแต่ตุลาคม 2552 เป็นต้นไป สามารถติดต่อฝ่ายบริการข้อมูลได้ตามที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ข้างล่างนี้

ฝ่ายบริการข้อมูล
สำนักบริการและพัฒนาธุรกิจ
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
120 หมู่ 3 อาคาร B ชั้น 6 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร. 0-2141-4470 โทรสาร 0-2143-9586
e-mail: [email protected]

ระยะเวลาโดยประมาณ ในการผลิตผลิตภัณฑ์ข้อมูลจากดาวเทียมThaichote

ชนิดของการสั่งซื้อระยะเวลาในการดำเนินการ (วัน)ตรวจสอบความเป็นไปได้
ก่อนตอบรับการสั่งซื้อการสั่งบันทึกภาพStandard10-15ใช่Priority3-5ใช่Urgent1-2ใช่Reservedตามที่ผู้ใช้ระบุใช่การสั่งจากคลังข้อมูลStandard3-4ไม่Priority1-3ไม่Urgent1-2ไม่Reserved1-2ไม่

การจัดส่งผลิตภัณฑ์

  • ผู้ใช้มารับด้วยตนเอง
  • ส่งทางไปรษณีย์ หรือบริษัทรับ - ส่งสินค้า ( Courier )
  • ถ่ายโอนข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย ( File transfer—FTP)

การสั่งบันทึกภาพแบบฉุกเฉิน (Urgent Tasking)

            สทอภ. ขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่อนุญาติให้มีการยกเลิก หรือรับคืนข้อมูล

 

การสั่งบันทึกภาพข้อมูลดาวเทียม Thaichote

ในการสั่งให้ดาวเทียม Thaichote บันทึกภาพนั้นมีชนิดของการสั่งให้เลือก 4 แบบ ได้แก่

  • แบบปกติ () - ลำดับความสำคัญ คือ 3
  • แบบเร่งด่วน () - ลำดับความสำคัญ คือ 2
  • แบบฉุกเฉิน () - ลำดับความสำคัญ คือ 1
  • แบบจอง () - ลำดับความสำคัญ คือ 1

การสั่งให้บันทึกภาพนั้นมีทั้งแบบรับสัญญาณครั้งเดียว และรับสัญญาณหลายครั้งขึ้นอยู่กับตัวแปรที่กำหนด ความเป็นไปได้ในการบันทึกภาพขึ้นกับความเป็นไปได้ทางเชิงกายภาพ (มุมมอง, พื้นที่ และช่วงเวลาการบันทึกภาพ) และความเป็นไปได้เชิงการแข่งขัน (พิจารณาจากการสั่งบันทึกภาพที่มีอยู่แล้วในระบบ และการสั่งบันทึกภาพที่มีลำดับความสำคัญสูงกว่า)

การสั่งบันทึกภาพแบบปกติ (Standard Tasking)

  • ต้องสั่งอย่างน้อย 48 ชั่วโมงก่อนวันที่เริ่มการบันทึกภาพ
  • ผู้ใช้ระบุช่วงเวลาการบันทึกภาพ สูงสุดไม่เกิน 365 วัน ช่วงเวลาการบันทึกภาพนี้ขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้ โดยแนะนำให้อยู่ที่ 90 วันเพื่อให้มีเวลาเพียงพอในการบันทึกภาพให้ได้ตรงตามข้อกำหนดของผู้ใช้ พื้นที่ใหญ่ขึ้นจำเป็นต้องมีช่วงเวลาที่นานขึ้น
  • จำนวนครั้งในการบันทึกภาพไม่จำกัดภายในช่วงเวลาการบันทึกภาพที่ผู้ใช้กำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมุมออกจากจุดแนวดิ่ง ละติจูด ลำดับความสำคัญ และความยาวของช่วงเวลาการบันทึกภาพ ช่วงเวลาการบันทึกภาพที่ยาวขึ้นจะมีผลให้มีโอกาสบันทึกภาพได้มากขึ้นและเพิ่มความเป็นไปได้ในการบันทึกภาพได้สำเร็จ
  • การประมวลผลภาพเป็นแบบปกติ
ตัวแปรในการสั่งบันทึกภาพ - แบบปกติผู้ใช้เลือกพื้นที่น้อยที่สุดในการบันทึกภาพ1 ภาพไม่วันที่เริ่มการบันทึกภาพ≥ 48 ชั่วโมงนับจากวันสั่งซื้อใช่วันที่สิ้นสุดการบันทึกภาพผู้ใช้กำหนด (แนะนำ 90 วัน)ใช่ปริมาณเมฆสูงสุด25 %ไม่มุมออกจากจุดแนวดิ่งจุดแนวดิ่ง ( Nadir): < 12 º
ทฤษฎี ( Nominal ) : 30 º
สูงสุด ( Full ) : 50 º
ผู้ใช้ระบุ ( User ) : 0 º ถึง 50 ºใช่จำนวนครั้งสูงสุดในการบันทึกภาพจำกัดโดยความยาวของระยะเวลาการบันทึกภาพและลำดับความสำคัญไม่จำนวนครั้งในการบันทึกภาพบันทึกครั้งเดียว : การบันทึกที่ได้ข้อมูลภาพตรงตามความต้องการเพียงครั้งเดียว บันทึกหลายครั้ง : ผู้ใช้ระบุความถี่ในการบันทึกและจำนวนวันที่น้อยที่สุดระหว่างการบันทึกสองครั้งที่ติดกันใช่การบีบอัดข้อมูลสูง หรือ ต่ำ (ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้ข้อมูลของผู้ใช้)ใช่

การสั่งบันทึกภาพแบบเร่งด่วน (Priority Tasking)

  • ต้องสั่งอย่างน้อย 48 ชั่วโมงก่อนวันที่เริ่มการบันทึกภาพ
  • ผู้ใช้ระบุช่วงเวลาการบันทึกภาพ สูงสุดไม่เกิน 365 วัน ช่วงเวลาการบันทึกภาพนี้ขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้
  • จำนวนครั้งในการบันทึกภาพไม่จำกัดในช่วงเวลาการบันทึกภาพที่ผู้ใช้กำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมุมออกจากจุดแนวดิ่ง ละติจูด ลำดับความสำคัญ และความยาวของช่วงเวลาการบันทึกภาพ ช่วงเวลาการบันทึกภาพที่ยาวขึ้นจะมีผลให้มีโอกาสบันทึกภาพได้มากขึ้นและเพิ่มความเป็นไปได้ในการบันทึกภาพได้สำเร็จ
  • การประมวลผลภาพเป็นแบบเร่งด่วน
ตัวแปรในการสั่งบันทึกภาพ - แบบเร่งด่วนผู้ใช้เลือกพื้นที่น้อยที่สุดในการบันทึกภาพ1 ภาพไม่วันที่เริ่มการบันทึกภาพ≥ 48 ชั่วโมงนับจากวันสั่งซื้อใช่วันที่สิ้นสุดการบันทึกภาพผู้ใช้กำหนด (แนะนำ 90 วัน)ใช่ปริมาณเมฆสูงสุด25 %ไม่มุมออกจากจุดแนวดิ่งจุดแนวดิ่ง ( Nadir): < 12 º
ทฤษฎี ( Nominal ) : 30 º
สูงสุด ( Full ) : 50 º
ผู้ใช้ระบุ ( User ) : 0 º ถึง 50 ºใช่จำนวนครั้งสูงสุดในการบันทึกภาพจำกัดโดยความยาวของระยะเวลาการบันทึกภาพและลำดับความสำคัญไม่จำนวนครั้งในการบันทึกภาพบันทึกครั้งเดียว : การบันทึกที่ได้ข้อมูลภาพตรงตามความต้องการเพียงครั้งเดียว บันทึกหลายครั้ง : ผู้ใช้ระบุความถี่ในการบันทึกและจำนวนวันที่น้อยที่สุดระหว่างการบันทึกสองครั้งที่ติดกันใช่การบีบอัดข้อมูลสูง หรือ ต่ำ (ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้ข้อมูลของผู้ใช้)ใช่

การสั่งบันทึกภาพแบบฉุกเฉิน (Urgent Tasking)

  • ต้องสั่งอย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนวันที่เริ่มการบันทึกภาพ
  • ผู้ใช้ระบุช่วงเวลาการบันทึกภาพได้สูงสุด 14 วัน ช่วงเวลาการบันทึกภาพขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้
  • บันทึกภาพเพียงครั้งเดียวในช่วงเวลาการบันทึกภาพที่ผู้ใช้กำหนด
  • การประมวลผลภาพเป็นแบบฉุกเฉิน
ตัวแปรในการสั่งบันทึกภาพ - แบบฉุกเฉินผู้ใช้เลือกพื้นที่น้อยที่สุดในการบันทึกภาพ1 ภาพไม่พื้นที่มากที่สุดในการบันทึกภาพต้องบันทึกได้ภายในแนวการโคจรแนวเดียวไม่วันที่เริ่มการบันทึกภาพ≥ 24 ชั่วโมงนับจากวันสั่งซื้อใช่วันที่สิ้นสุดการบันทึกภาพ1 – 14 วัน หลังจากวันที่เริ่มการบันทึกภาพใช่ปริมาณเมฆสูงสุด25-100 %ไม่มุมออกจากจุดแนวดิ่งจุดแนวดิ่ง ( Nadir): < 12 º
ทฤษฎี ( Nominal ) : 30 º
สูงสุด ( Full ) : 50 º
ผู้ใช้ระบุ ( User ) : 0 º ถึง 50 ºใช่จำนวนครั้งสูงสุดในการบันทึกภาพจำกัดโดยความยาวของระยะเวลาการบันทึกภาพและลำดับความสำคัญไม่จำนวนครั้งในการบันทึกภาพบันทึกครั้งเดียว : การบันทึกที่ได้ข้อมูลภาพตรงตามความต้องการเพียงครั้งเดียวไม่การบีบอัดข้อมูลสูง หรือ ต่ำ (ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้ข้อมูลของผู้ใช้)ใช่

การสั่งบันทึกภาพแบบจอง (Reserved Tasking)

  • ต้องสั่งอย่างน้อย 48 ชั่วโมงก่อนวันที่เริ่มการบันทึกภาพ
  • ผู้ใช้ระบุวันที่ที่ต้องการจองและหมายเลขวงโคจรที่ต้องการบันทึกภาพ โดยต้องไม่ขัดกันกับการจองที่มีอยู่แล้วในตารางการจอง ช่วงเวลาบันทึกภาพขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้
  • ผู้ใช้ไม่สามารถระบุปริมาณเมฆปกคลุมได้
  • ดำเนินการรับสัญญาณตามช่วงเวลาที่ผู้ใช้กำหนดหนึ่งครั้ง
  • กระบวนการผลิตภาพเป็นแบบปกติ
ตัวแปรในการสั่งบันทึกภาพ - แบบจองผู้ใช้เลือกพื้นที่น้อยที่สุดในการบันทึกภาพ1 ภาพไม่พื้นที่มากที่สุดในการบันทึกภาพแนวยาว 1 แนวไม่วันที่เริ่มการบันทึกภาพ≥ 48 ชั่วโมงนับจากวันสั่งซื้อใช่วันที่สิ้นสุดการบันทึกภาพผู้ใช้กำหนดวันที่ต้องการจองที่ผ่านการศึกษาความเป็นไปได้แล้วใช่ปริมาณเมฆสูงสุด25-100 %ไม่มุมออกจากจุดแนวดิ่งจุดแนวดิ่ง ( Nadir): < 12 º
ทฤษฎี ( Nominal ) : 30 º
สูงสุด ( Full ) : 50 º
ผู้ใช้ระบุ ( User ) : 0 º ถึง 50 ºใช่จำนวนครั้งสูงสุดในการบันทึกภาพจำกัดโดยความยาวของระยะเวลาการบันทึกภาพและลำดับความสำคัญไม่จำนวนครั้งในการบันทึกภาพบันทึกครั้งเดียว : บันทึกภาพเพียงครั้งเดียวไม่การบีบอัดข้อมูลสูง หรือ ต่ำ (ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้ข้อมูลของผู้ใช้)ใช่

 

วงโคจรของดาวเทียม THEOS

ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร ดวงแรกของไทย

  • โปรแกรม THEOS Orbit Number (ดาวน์โหลด)

เป็นโปรแกรมพัฒนาบน Microsoft Excel  เพื่อใช้ดูแนวโคจรของดาวเทียมธีออส โดยใส่วันที่กำหนด

  • คู่มือวงโคจรดาวเทียมธีออส (ดาวน์โหลด)

เป็นคู่มืออธิบายการใช้โปรแกรม THEOS Orbit Number และการแสดงแนวการผ่านของวงโคจรดาวเทียมธีออสผ่านโปรแกรม Google Earth

ดาวเทียมสํารวจทรัพยากร มีอะไรบ้าง

ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก (Earth observation satellites) เป็นดาวเทียมที่ถูกออกแบบ เฉพาะเพื่อการสำรวจ ติดตามทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ของโลก รวมทั้งการทำแผนที่ต่างๆ ได้แก่ ดาวเทียมLANDSAT RADARSAT ALOS และ THEOS เป็นต้น

ดาวเทียมที่ใช้สำรวจทรัพยากรดวงแรกของโลกเป็นของชาติใด

ดาวเทียมสำรวจด้วยการรับรู้จากระยะไกลเกิดขึ้นครั้งแรกพร้อม ๆ กับการปล่อยดาวเทียมครั้งแรก คือ สปุตนิก 1 ของสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957 (พ.ศ. 2500) โดยสปุตนิก 1 ส่งคลื่นวิทยุกลับมาบนโลก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ใช้ศึกษาไอโอโนสเฟียร์ สำหรับสหรัฐอเมริกา นาซาได้ปล่อยดาวเทียมดวงแรกของอเมริกา คือ en:Explorer 1 เมื่อวัน ...

ดาวเทียมดวงแรกของไทยใครสร้าง

ไทยคม 1 ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 สร้างโดย Huges Space Aircraft (บริษัทลูกของ โบอิง) โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2536 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551)

ดาวเทียมดวงใดสำรวจทรัพยากรธรรมชาติของโลก

ดาวเทียม Landsat – 7 (ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรของสหรัฐอเมริกา) - เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของโลกขึ้นสู่วงโคจรเมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยองค์การ NASA ต่อมาได้โอนกิจการให้บริษัทเอกชน EOSAT เพื่อดำเนินการเชิงพาณิชย์