ท่าน อน หมอนรองกระดูกคอ

อาการปวดคอ ปวดหลัง หรือปวดตามที่ต่างๆ ของร่างกายเรานั้น โดยต้นเหตุทั่วไป อาจเกิดจาการปวดรากประสาท ปวดข้อต่อ ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น ซึ่งการลดหรือบรรเทาอาการปวด มีหลากหลายวิธี ต้องอาศัยแพทย์ผู้ชำนาญการในการวินิจฉัยและเลือกวิธีที่เหมาะสมกับแต่ละคน การฉีดยาชาระงับความรู้สึกของเส้นประสาทที่เลี้ยงข้อ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบรรเทาอาการปวดคอ ปวดหลัง โดยไม่ต้องผ่าตัด มาฟัง รศ. พญ. นุช ตันติศิรินทร์ ให้ความรู้ใน Spine Podcast ep นี้ ได้เลยค่ะ

การฉีดยาเข้าข้อต่อกระดูกสันหลังปวดคอปวดหลังสถาบันกระดูกสันหลัง

อ่านเพิ่มเติม

กระดูกคอเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้นและการใช้งานคอผิดท่าเป็นเวลานาน ซึ่งปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคกระดูกคอเสื่อมในช่วงอายุที่น้อยลงมากขึ้น โดยมีอาการเริ่มแรกคือปวดตึงต้นคอหรือปวดคอร้าวไปที่สะบัก ปวดร้าวลงไปที่แขนข้างใดข้างหนึ่ง ปวดที่ข้อไหล่และมีอาการไหล่ติดโดยกระดูกคอเสื่อมแบ่งออกเป็น 3 ระดับอาการดังนี้

  1. กระดูกคอเสื่อมที่ไม่กดทับเส้นประสาทและไขสันหลัง จะมีอาการปวดเมื่อยต้นคอ บ่า ไหล่
  2. กระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาทคอ จะปวดตามแนวเส้นประสาท ชา อ่อนแรงบริเวณกล้ามเนื้อต้นแขนหรือมือ รวมทั้งปวดร้าวจากคอลงไปที่แขน
  3. กระดูกคอเสื่อมกดทับไขสันหลัง จะมีอาการเกร็งบริเวณลำตัว แขนและขา การทรงตัวไม่ดี ก้าวสั้น ใช้งานมือได้ไม่ถนัด

แนวทางการรักษา

โรคกระดูกคอเสื่อม สามารถรักษาได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค หากอาการไม่รุนแรงสามารถใช้วิธีกายภาพบำบัดร่วมกับการรับประทานยาได้ แต่ถ้ามีอาการชา แขนขาอ่อนแรงร่วมด้วย ถือเป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องรีบรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งปัจจุบันแพทย์จะใช้ #เทคนิคผ่าตัดแบบแผลเล็ก ขนาดประมาณ 3 เซ็นติเมตร ทำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว นอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียง 1 คืน และกลับไปใช้ชีวิตตามปกติเร็วขึ้น

การรักษา ในปัจจุบันมีเครื่องมือที่ทันสมัยและช่วยให้แพทย์สามารถวิเคราะห์ วินิจฉัยได้ง่ายและชัดเจนมากขึ้น การรักษาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่อาการไม่รุนแรงมากนัก

สามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด โดยการทานยา และทำกายภาพบำบัด

กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ทานยาแล้วไม่ดีขึ้นทำอย่างไรก็ไม่หาย

กลุ่มนี้จะมีนวัตกรรมการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด ที่เข้ามาช่วยในการรักษา เช่น การรักษาโดยผ่านคลื่นความร้อน หรือการฉีดยาเข้าไปเหนือเส้นประสาทที่บริเวณคอ

คุณเคยรู้สึกปวดคอ และมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยหรือไม่ ปวดคอร้าวลงแขน ,ปวดหัวบริเวณท้ายทอย ,มีอาการชาที่นิ้วมือ และอ่อนแรง เนื่องจากการเส้นประสาทคอโดนกดทับ

สาเหตุ และพฤติกรรมเสี่ยงของการใช้คอผิดลักษณะ

โรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท เกิดขึ้นได้ทั้งจากอุบัติเหตุ และจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งส่วนที่เกิดจากอุบัติเหตุ มีการบาดเจ็บและทำให้หมอนรองกระดูกบริเวณต้นคอ มีการเคลื่อน หรือกดทับไขสันหลังหรือเส้นประสาท

สำหรับกลุ่มที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตพบได้บ่อยๆ คือกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเรื่องของการใช้คอ ใช้กล้ามเนื้อแผ่นหลังที่ผิดลักษณะ เช่น

  1. พฤติกรรมการใช้คอผิดท่านานเกิน 2 ชั่วโมง เช่น ก้มคอ พับคอ เงยคอ
  2. พฤติกรรมความรุนแรง เช่น สะบัดคอ โยกคอ หรือวางของไว้บนศีรษะ
  3. โครงสร้างไม่สมดุล ตั้งแต่แรกเกิด เช่น กระดูกคอคด

• ยิ่งก้ม ยิ่งเสี่ยงปวดคอเรื้อรัง (Text Neck Syndrome)
• เสพติดมือถือ ระวังปวดคอเรื้อรังโดยไม่รู้ตัว

สาเหตุเหล่านี้มักทำให้ มีปัญหาเรื่องปวดคอ บ่า ไหล่ หรือมีอาการปวดแปล๊บเหมือนไฟช็อตลงไปที่แขน มีอาการชา บางรายอาจอ่อนแรง ด้านแพทย์เฉพาะทางกล่าวว่า สาเหตุหลักของอาการดังกล่าวเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เป็นสาเหตุหลัก และจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาทอายุน้อยลงมากขึ้นเรื่อยๆ

ท่าน อน หมอนรองกระดูกคอ

โรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท พบอาการได้ 2 แบบคือ

1.อาการปวดบริเวณท้ายทอย อาจเกิดจากหมอนกระดูกคอบวมออกมาระคายเคืองเส้นประสาท หรือมีเส้น ประสาทคอส่วนบนโดนกดทับ
2.อาการปวด ชา ร้าวลง บ่า ไหล่ แขนและมือ เกิดจากหมอนรองคอกดทับเส้นประสาท หรือมีกระดูกคอทรุด ทำให้ เส้นประสาทโดนกดทับ

ถ้าหากมีการกดทับรุนแรง หรือปล่อยให้เกิดการกดทับทิ้งไว้นานจะทำให้เกิดอาการชาและอ่อนแรงของแขนได้

การวินิจฉัย

ถ้าคนไข้ที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท ได้กินยานานเกิน 1 เดือน แต่อาการปวดหรืออาการชาร้าวลงแขนหายแค่ช่วงเวลาสั้นๆ และกลับมาเป็นใหม่ แพทย์จะทำการตรวจการทำงานของระบบประสาทส่วนคอ ด้วยการทำ x-rayและMRI เพื่อหาต้นเหตุของอาการที่ตรงจุด

ท่าน อน หมอนรองกระดูกคอ

ท่าน อน หมอนรองกระดูกคอ

แนวทางการรักษาโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท

ปัจจุบันมีเครื่องมือการรักษาที่ทันสมัยและช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำการรักษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 อาการไม่รุนแรงมาก
อันดับแรกพอมีการปวดให้ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ถ้าปรับแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นแพทย์จะใช้ยาแก้ปวดหลายๆตัวร่วมกับการทำกายภาพบำบัดที่เหมาะสม อาการก็มักจะดีขึ้นเป็นลำดับภายในไม่กี่สัปดาห์

กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้ป่วยที่มี ข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยการผ่าตัด
ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง และรักษามานานแล้วยังไม่ดีขึ้น ปวดร้าวลงแขน ที่เกิดจากการกดทับเส้นประสาท หรือไขสันหลังส่วนคอโดนแพทย์จะทำการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนคอทางด้านหลัง ด้วยเทคนิค PSCD (Percutaneous Stenoscopic Cervical Decompression) เพื่อขยายช่องกระดูกสันหลังส่วนคอโดยแพทย์จะทำการนำกล้องเอ็นโดสโคป ที่มีความละเอียดสูงเข้าไปในช่องว่างภายในกระดูกคอเพื่อนำหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาทออกมา หลังจากได้รับการรักษาเรียบร้อยแล้วผู้ป่วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำหลังการผ่าตัด ของแพทย์เพื่อการหายอย่างยั่งยืน

ท่าน อน หมอนรองกระดูกคอ

ก่อนนำหมอนรองกระดูกออก

ท่าน อน หมอนรองกระดูกคอ

หลังนำหมอนรองกระดูกออก

• หมอนรองกระดูกทับเส้นรักษาที่ไหนดี ค้นหาอาการต้นเหตุ ด้วยเครื่อง MRI
• เทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลัง มีกี่วิธี ที่คุณเลือกได้
• หลังการผ่าตัด ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

ข้อดี
  1. ลดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อ
  2. แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กเพียง 0.5 เซนติเมตร
  3. ไม่ต้องเปิดแผลที่มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็น
  4. ไม่ต้องใส่อุปกรณ์เสริมเข้าไปในร่างกาย
  5. เสียเลือดน้อย ข้อแทรกซ้อนต่ำกว่าการผ่าตัดใหญ่
  6. ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วหลังจากการผ่าตัด
ข้อจำกัด

การผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนคอ ด้วยเทคนิคแบบ PSCD ถือว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ ดังนั้นจึงต้องใช้ความเชี่ยวชาญ ของแพทย์เฉพาะทาง ควบคู่ในการรักษาผู้ป่วยทำให้ไม่เป็นที่แพร่หลาย และจะพบได้ที่โรงพยาบาลเฉพาะทางที่รักษาโรค กระดูกสันหลังโดยเฉพาะ