พุทธดำรัสที่ว่า “ผู้รักตน ไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น” แสดงว่าพระพุทธศาสนาให้ความสำคัญในเรื่องใด

พุทธดำรัสที่ว่า ผู้รักตน ไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น” แสดงว่าพระพุทธศาสนาให้ความสำคัญในเรื่องใด

สมัยเรียนบาลี อาจารย์ท่านให้วิเคราะห์ศัทพ์ "สาม เณร" (คือกระจายคำตามรูปไวยากรณ์บาลี) ว่า สมณสฺส อปจฺจํ สามเณโร-เหล่ากอแห่งสมณะชื่อว่า สามเณร สามเณร ตัวเล็กๆ อย่างผม จบประถมสี่ ภาษาไทยไม่แตก เรียนถามอาจารย์ว่าหมายความว่าอย่างไร อาจารย์แทนที่จะตอบดีๆ ท่านกลับพูดเป็นนัยเปรียบเทียบว่า หน่อไม้ไผ่มันย่อมงอกออกมาเป็นลำไผ่

ไม่เห็นจะเกี่ยวกันเลยหน่อไผ่ก็หน่อไผ่ เณรก็เณร ผมไม่หายสงสัยแต่ก็มิได้ซักต่อกลัวโดนดุ ต่อเมื่อเรียนมากขึ้นจึงรู้ความหมายว่า

สมณะ (พระ) มาจากเณร เมื่อไม่มีเณรก็ไม่มีพระ ดุจไม่มีหน่อไผ่ก็ไม่มีกอไผ่ฉัน ใดฉันนั้น

ความจริงการบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา เริ่มแรกจริงๆ ก็บวชเป็นพระเลยโดยพระพุทธเจ้าทรงประ ทานการบวชให้ ดังปัญจวัคคีย์ ภิกษุรุ่นแรก พระองค์ตรัสว่า "เอหิภิกขุ = จงมาเป็นภิกษุด้วยกันเถิด" เท่า นั้น เธอก็กลายเป็นภิกษุในทันที ต่อมาเมื่อผู้มาขอบวชมีมากขึ้น พระพุทธเจ้าทรงประทานอำนาจการบวชแก่พระสงฆ์ การบวชจึงมีพิธีรีตรองขึ้น เช่น มีกำหนดคุณ สมบัติผู้มาบวช มีอุปัชฌาย์ผู้เป็นประธานในการบวช มีผู้ทำหน้าที่สอบถามคุณสมบัติ (อีกครั้ง) และสวดประกาศท่ามกลางสงฆ์ทำพิธีบวชเรียกว่า กรรมวาจาจารย์ เป็นต้น ไม่ทราบว่าการบวชในสมัยพุทธกาลต้องผ่านการบวชเณรก่อน หรือไม่ (ไม่เห็นมีที่ไหนพูดไว้)

การบวชเณรปรากฏครั้งแรกเมื่อราหุลกุมาร ติดตามทูลขอทรัพย์สมบัติตามคำสั่งของผู้เป็นพระมารดา พระพุทธเจ้าทรงดำริว่าการให้ "อริยทรัพย์" ดีกว่าให้ทรัพย์ธรรมดาจึงรับสั่งให้พระสารีบุตรบวชให ้ราหุลกุมาร

พระสารีบุตรจึงกราบทูลถามวิธีปฏิบัติ เพราะไม่เคยมีเด็กบวชมาก่อน ว่าจะให้บวชแบบไหน

พระองค์ รับสั่งว่าให้รับไตรสรณคมน์ก็พอ พระราหุล (ความจริงเณรราหุล) จึงได้รับการบวชด้วย ไตรสรณคมน์ เรียกว่า ติสรณคมนูปสัมปทา (การอุปสมบทด้วยการถึงสรณะสาม)

พุทธดำรัสที่ว่า ผู้รักตน ไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น” แสดงว่าพระพุทธศาสนาให้ความสำคัญในเรื่องใด

ข้อที่น่าสังเกตก็คือ คำว่าบรรพชากับอุปสมบท ใช้หมายถึงสิ่งเดียวกัน บวชเป็นพระจะเรียกว่า บรรพชาก็ได้ อุปสมบทก็ได้ บวชเป็นเณร (อย่างกรณีราหุลสามเณรนี้) จะเรียกว่า บรรพชาก็ได้ อุปสมบทก็ได้ ต่อมาภายหลังเท่านั้นที่แบ่งแยกว่าบวชเณรเรียกบรรพชา บวชพระเรียกว่าอุปสมบท

สามเณร ราหุลบวชมาแล้วก็อยู่ในความดูแลของอุปัชฌาย์คือพระสา รีบุตร ตามหน้าที่ในพระวินัย แต่บางครั้งอุปัชฌาย์ดูแลไม่ทั่วถึง เกิดเรื่องราวขึ้น จนพระพุทธเจ้าตรัสเชิงตำหนิในความบกพร่องหน้าที่ก็มี เช่น คราวหนึ่งพระภิกษุจำนวนมากมาจากต่างเมืองมาพักอยู่ที ่วัด เสนาสนะไม่เพียงพอ จึงไล่สามเณรราหุลไปนอนที่อื่น สามเณรจึงออกไปข้างนอก ด้วยความเคารพในพระเถระทั้งหลาย เมื่อไม่มีที่อยู่ จึงเข้าไปอาศัยอยู่ที่วัจกุฎี (ส้วม) ของพระพุทธเจ้า

คิด ดูแล้วกัน เด็กตัวเล็กๆ นั่งตัวลีบอยู่ในส้วมท่ามกลางความมืดและน่ากลัว มันทรมานขนาดไหน ตกดึกพระพุทธองค์เสด็จเข้าไปในวัจกุฎี พบราหุลน้อยนั่งสั่นงั่กๆ ด้วยความกลัวอยู่ในนั้น ทรงนำกลับไปยังพระคันธกุฎี รุ่งเช้าขึ้นมาตรัสถามพระสารีบุตรว่ารู้ไหมเมื่อคืนน ี้สัทธิวิหาริกของเธอ อยู่ที่ไหน เมื่อพระสารีบุตรกราบทูลว่าไม่ทราบพระเจ้าข้า พระองค์จึงตรัสบอกว่าเมื่อคืนนี้ราหุลอยู่ในวัจกุฎีข องตถาคต

เพราะ เหตุการณ์ครั้งนี้ พระพุทธองค์จึงทรงลดหย่อนผ่อนปรนสิกขาบทข้อที่ว่าด้วยห้ามภิกษุอยู่ในที่มุง ที่บังเดียวกันกับอนุปสัมบันเกินหนึ่งคืน ขยายเวลาออกไปเป็นสามคืน

พุทธดำรัสที่ว่า ผู้รักตน ไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น” แสดงว่าพระพุทธศาสนาให้ความสำคัญในเรื่องใด

ราหุลสามเณรมีคุณสมบัติที่น่าสรรเสริญอย่างน้อย 3 ประการ คือ

1. เป็นผู้ว่าง่าย ไม่ถือตัวว่าเป็นโอรสพระพุทธเจ้า ดังกรณีภิกษุจากชนบทไล่ให้ไปนอนข้างนอกที่กล่าวมานั้ น ถ้าราหุลเธออ้างว่าเป็น "ลูก" ของพระพุทธเจ้าก็ย่อมทำได้ อย่างน้อยภิกษุเหล่านั้นก็อาจเกรงใจพระพุทธชิโนรสบ้าง แต่เธอไม่ได้นำเอาเรื่องนั้นมาอ้าง กลับออกไปเสียโดยดี เพราะความเป็นคนว่านอนสอนง่าย

กรณีนี้ ต่างจากพระฉันนะ อดีตเป็นเพียงนายสารถีของเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อมาบวชความรู้สึกเดิมยังคง อยู่ คือยังคิดว่าตนเป็นคนใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้า ใครว่ากล่าวตักเตือนมักไม่ฟัง

2. เป็นเอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษาอย่างยิ่ง เล่ากันว่า ความกระหายใคร่เรียนรู้ของราหุลน้อยมีมากถึงขนาดว่า ทุกเช้าราหุล น้อยจะเดินลงมาที่ลานวิหาร เอามือกอบทรายขึ้นเต็มกำมือแล้วอธิษฐานดังๆ ว่า วันนี้ขอให้เราได้รับฟังพระโอวาทและโอวาทจากพระพุทธเ จ้าและจากพระอุปัชฌาย์ มากมาย ดุจดังเมล็ดทรายในกำมือเรานี้เถิด พระพุทธ เจ้าทรงยกย่องราหุล ว่าเป็นเลิศกว่าผู้อื่นในด้านผู้ใฝ่การศึกษาอย่างยิ่ง

3. เป็นผู้มีความเคารพและกตัญญูกตเวทีต่อ อุปัชฌาย์อย่างยิ่ง โบราณว่า "ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น" น่าจะใช้ได้กับพุทธชิโนรสท่านนี้เป็นอย่างดี ที่ราหุลท่านเป็นเช่นนี้คงเพราะดำเนินตามรอยพระอุปัช ฌาย์นั่นเอง

พระสารีบุตรเป็นนักศึกษาวิชาปรัชญาในสำนัก สัญชัย เวลัฏฐบุตร เจ้าของทฤษฎีที่ภาษาพระไตรปิฎกเรียกว่า "อมราวิกเขปิกา" (มีทรรศนะไม่ตายตัว ลื่นไหลไปมาดุจปลาไหล) ซึ่งฝรั่งแปลว่า เป็นพวก Skeptic นั่นเอง

ท่านได้มาบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เพราะพระอัสสชิเถระแนะนำท่านจึงมีความเคารพต่ออาจารย์ของท่านมาก เวลานอนเมื่อรู้ว่าอาจารย์ของท่านอยู่ ณ ทิศใดก็จะหันศีรษะไปทางทิศนั้น เดี๋ยวก็นอนหันศีรษะไปทางทิศเหนือบ้าง ทิศตะวันออกบ้าง ทิศใต้บ้าง ฯลฯ จนภิกษุช่างสังเกตทั้งหลายเอามานินทาว่าบวชจนเป็นพระ อัครสาวกแล้วท่านสารี บุตรยังไหว้ทิศตามแบบพราหมณ์อยู่ พระพุทธเจ้าตรัสอธิบายให้ภิกษุช่างสงสัยเหล่านั้นเข้ าใจว่า พระสารีบุตรท่านไหว้อาจารย์ของท่าน มิใช่ไหว้ทิศดังที่เข้าใจ

พุทธดำรัสที่ว่า ผู้รักตน ไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น” แสดงว่าพระพุทธศาสนาให้ความสำคัญในเรื่องใด


อปโร นโย - อีกนัยหนึ่ง

พระราหุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา

พระราหุล เป็นโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ (พุทธโอรส) กับพระนางยโสธรา หรือพิมพา เป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ครองนครกบิลพัสดุ์ ประสูติวันเดียวกันกับที่พระ บิดาเสด็จออกบวช ดังนั้น ท่านจึงเจริญพระชันษาเติบโตขึ้นมาโดยมิเคยเห็นพระพักตร์รู้จักพระ บิดาเลย จวบจนครั้นเมื่อพระบรมศาสดาตรัสรู้แล้ว เสด็จมาโปรดพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัส ดุ์ ประทับอยู่ที่นิโครธาราที่พระประยูรญาติสร้างถวาย ในวันรุ่งขึ้นเวลาเช้าทรงปฏิบัติพุทธกิจ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนครกบิลพัสดุ์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพระบิดาใน ระหว่างถนน ให้พระบิดาดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล

ในวันที่ ๒ เสด็จเข้าไปรับบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระบิดา และพระนางมหาปชาบดีโคตรมี เมื่อจบพระธรรมเทศนาพระบิดาดำรงอยู่ในพระสกทาคามี ส่วนพระนางมหาปชาบดีโคตรมี ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้ว่าพระพุทธ องค์จะเสด็จเข้าไปรับอาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ถึง ๖ วันแล้วก็ตาม แต่พระนางพิมพา พระมารดาของราหุลกุมาร ก็มิได้มาเฝ้าพระพุทธองค์ ดุจบุคคลอื่น ๆ เลย

ราหุลกุมารทูลขอทรัพย์สมบัติ

ครั้นล่วงถึงวันที่ ๗ แห่งการเสด็จเยือนพระนครกบิลพัสดุ์ พระนางพิมพาราชเทวี ประดับตกแต่งองค์ราหุลกุมารราชโอรสด้วยอาภรณ์อันวิจิตรแล้วตรัสว่า:-

“พ่อราหุลลูกรัก พ่อจงไปดูพระสมณะผู้มีผิวพรรณผ่องใส รูปงามดุจท่านท้าว มหาพรหม แวดล้อมด้วยพระสงฆ์สาวก เป็นจำนวนมาก พระสมณะองค์นั้นคือพระบิดาของเจ้า พระองค์มีขุมทรัพย์มหาศาลอันสุดจะคณนา นับแต่พระบิดาของเจ้าออกบวช เจ้าก็เหมือนหมด หวังในราชสมบัติ เจ้าจงไปกราบไหว้พระบิดาแล้วกราบทูลขอทรัพย์สมบัตินั้นในฐานะเป็น ทายาทสืบสันติวงศ์ต่อพระองค์เถิด”

ราหุลกุมาร เสด็จเข้าไปเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตามพระดำรัสของพระมารดา กราบถวายบังคมแล้ว ทอดพระเนตรดูพระสัพพัญญู บังเกิดความรักในพระบิดา ทรงปราโมทย์ โสมนัสตรัสชมว่า “ร่มเงาของพระองค์เย็นสดชื่นยิ่งนัก พระพักตร์ของพระองค์สดใสสุด ประมาณ” ดังนี้แล้วก็ตรัสเรื่องอื่น ๆ ต่อไปโดยมิได้กราบทูลขอทรัพย์สมบัติ พระพุทธองค์ ทรงกระทำภัตกิจเสร็จแล้ว ตรัสอนุโมทนา เสด็จกลับสู่นิโครธาราม ส่วนราหุลกุมารก็เสด็จติดตามไปจนถึงอาวาส มิมีผู้ใดจะสามารถกราบทูลทัดทานได้ เมื่อสบ โอกาสจึงกราบทูลขอทรัพย์สมบัติ อันเป็นสิ่งที่รัชทายาท ผู้สืบราชสันติวงศ์สันติวงศ์จะพึงได้รับ

พระราชทานอริยทรัพย์

พระบรมศาสดา ได้ทรงสดับดังนั้นแล้วทรงดำริว่า “ราหุลกุมารปรารถนาทรัพย์สมบัติ อันเป็นของพระบิดา ถ้าตถาคตจะให้ขุมทองแก่เธอแล้ว ก็จะเป็นสิ่งชักนำให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ ในวัฏสงสาร ด้วยเป็นสิ่งหาสาระแม้สักนิดหนึ่งก็หามีไม่ อย่ากระนั้นเลย เราจะมอบอริยทรัพย์ อันเป็นสิ่งประเสริฐสุดในพระพุทธศาสนานี้แก่เธอ ซึ่งจะจำให้เธอเป็นโลกุตรทายาท สืบสกุล ในพุทธวงศ์นี้สืบไป"

ครั้นแล้วทรงมีพระดำรัสสั่งให้พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร จัดการบรรพชาให้แก่ราหุล กุมารในวันนั้น ด้วยวิธีให้รับไตรสรณคมน์ และสามเณรราหุล ได้ชื่อว่าเป็นสามเณรองค์แรกใน พระพุทธศาสนา

พุทธดำรัสที่ว่า ผู้รักตน ไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น” แสดงว่าพระพุทธศาสนาให้ความสำคัญในเรื่องใด

พระเจ้าสุทโธทนะทูลขอพร

พระเจ้าสุทโธทนะ เมื่อทราบว่าราหุลกุมารบรรพชาแล้ว ทรงโทมนัสเสียพระทัยเป็น อย่างยิ่งด้วยหวังไว้แต่เดิมว่า เมื่อพระราชโอรสสิทธัตถะออกบวชแล้วก็หวังจะได้นันทกุมารสืบ ราชสมบัติต่อ แต่พระบรมศาสนาก็ทรงพานันทะออกบวช ทำให้ผิดหวังเป็นคำรบสอง แต่ก็ยังมี หวังอยู่ว่าจะให้ราหุลกุมารหลานรัก เป็นทายาทสืบราชสมบัติต่อไป แต่แล้วพระพุทธองค์ก็ทรง นำไปบวชเสียอีก จึงหมดสิ้นผู้สืบราชสมบัติต่อไป แต่แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงนำไปบวชเสียอีก จึงหมดสิ้นผู้จะสืบสายรัชทายาท ทรงดำริต่อไปอีกว่า หากปล่อยไว้อย่างงี้อีกไม่นาน บรรดา กุมารในศากยสกุลก็จะถูกนำไปบวชจนหมดสิ้น อนึ่ง ความทุกข์โทมนัสอย่างนี้ก็จะเกิดแก่บิดา มารดาในสกุลอื่น ๆ ด้วยเหตุส้นคนสืบสกุล จึงรีบเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ นิโครธาราม กราบทูลขอประทานพระพุทธอนุญาตว่า

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นับต่อแต่นี้ไป ถ้ากุลบุตรผู้ใดแม้ประสงค์จะบวชในพระพุทธ ศาสนา หากมารดาบิดายังมิยอมพร้อมใจกันอนุญาตให้บวชแล้วขอได้โปรดงดเสีย อย่าได้ให้ บรรพชาแก่กุลบุตรผู้นั้นเลย”

พระบรมศาสดา ได้ประทานพรตามที่พระพุทธบิดากราบทูลขอแล้วถวายพระพรลา พา พระนันทะ และสามเณรราหุล พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์เสด็จกลับสู่มหานครราชคฤห์ เมื่อราหุลกุมาร บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ตามเสด็จพระบรมศาสดา และพระสารีบุตร เถระอุปัชฌาย์ของตน ไปยังสถานที่ต่าง ๆ เมื่ออายุครบก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ วันหนึ่ง ขณะที่พระราหุลพักอยู่ที่สวนมะม่วง ในกรุงราชคฤห์ พระบรมศาสดาเสด็จไป ที่นั่น ทรงแสดงพระธรรมเทศนาราหุโลวาทสูตร ให้ท่านฟังหลังจากนั้นทรงสอนในทาง วิปัสสนา ทรงยกอายตนะภายใน และภายนอกขึ้นแสดงพระราหุล ส่งจิตไปตามกระแสพระ ธรรมเทศนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล

ได้รับยกย่องเป็นผู้ใคร่การศึกษา

พระราหุล เป็นผู้มีอัธยาศัยใคร่ต่อการศึกษาพระธรรมวินัย ทุกวันที่ท่านตื่นขึ้นมาเวลา เช้า ท่านจะกำทรายให้เต็มฝ่าพระหัตถ์แล้วตั้งความปรารถนาว่า “วันนี้ ข้าพเจ้าพึงได้รับคำสั่ง สอนจากสำนักพระบรมศาสดา สำนักพระอุปัชฌาย์และสำนักพระอาจารย์ทั้งหลายให้ได้ ประมาณเท่าเม็ดทรายในกำมือของข้าพเจ้านี้”

ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดา ให้ดำรงตำแหน่งเอตทัคคะ เป็น ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ใคร่ในการศึกษา

เป็นต้นบัญญัติ ห้ามภิกษุนอนร่วมกับอนุปสัมบัน

ในขณะเมื่อท่านยังเป็นสามเณรเล็ก ๆ อยู่นั้น ท่านเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายจนเป็นที่เลื่องลือ ในหมู่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยว่า ครั้งนั้นพุทธบริษัททั้งหลาย ฟังธรรมกันยามค่ำคืน โดยมีพระเถระ ผลัดเปลี่ยนกันแสดงธรรม เมื่อสิ้นสุดการแสดงธรรมแล้ว พระเถระผู้ใหญ่ต่างก็กลับที่พักของ ตน ส่วนพระภิกษุผู้บวชใหม่ และสามเณรรวมทั้งอุบาสก ที่ไม่สามารถจะกลับที่พักได้เพราะค่ำ มือจึงอาศัยนอนกันในโรงธรรมนั้น เนื่องจากเป็นพระบวชใหม่ จึงไม่สำรวมในการนอน ทำให้ เกิดภาพที่ไม่น่าดู

รุ่งเช้า อุบาสกทั้งหลายพากันติเตียนและความทราบไปถึงพระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์จึงรับสั่งประชุมสงฆ์แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท “ห้ามภิกษุนอนร่วมในที่มุงที่บัง เดียวกันกับอนุปสัมบัน (อนุปสัมบัน คือ ผู้มิใช่พระภิกษุ) ถ้านอนร่วมต้องอาบัติปาจิตตีย์”

ครั้นในคืนต่อมา สามเณรไม่สามารถจะนอนร่วมกับพระภิกษุได้ และเมื่อไม่มีที่จะนอน ท่านจึงเข้าไปนอนในเว็จกุฏี (ส้วม) ของพระบรมศาสดาเมื่อเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธองค์เสด็จไป พบเธอนอนในที่นั้น และทรงทราบว่าเพราะเธอไม่มีที่นอนอันเนื่องมาจากพุทธบัญญัติทำให้ พระองค์สลดพระทัยจึงดำริว่า “ต่อไปภายหน้า สามเณรน้อย ๆ จะได้รับความลำบาก เพราะขาด ผู้ดูแลเอาใจใส่” จึงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติมว่า:-

“ให้ภิกษุนอนร่วมกับอนุปสัมบันได้ ๓ คืน ถ้าเกิน ๓ คืน พระภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์”

ในพุทธบัญญัตินี้ หมายถึงให้ภิกษุนอนร่วมกับอนุปสัมบันได้ ๓ คืน ในคืนที่ ๔ ให้เว้น เสีย ๑ คืน แล้วค่อยกลับมานอนรวมกันใหม่ได้ โดยเริ่มนับหนึ่งจนถึงคืนที่ ๓ ทำโดยทำนองนี้จน กว่าจะมีสถานที่นอนแยกกันเป็นการถาวร

ท่านพระราหุลเถระ ดำรงอายุสังขาร โดยสมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน ที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ ดาวดึงส์เทวโลก ท่านมีอายุไม่มากนัก เพราะท่านนิพพานก่อนพระพุทธองค์ผู้เป็นพระบิดา ก่อนพระสารีบุตรผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ก่อนพระมหาโมคคัลลานะผู้เป็นพระอาจารย์

พุทธดำรัสที่ว่า ผู้รักตน ไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น” แสดงว่าพระพุทธศาสนาให้ความสำคัญในเรื่องใด

ที่มา : https://palungjit.org , http://www.thammapedia.com

  • Tweet
  • Share
  • Share
  • Share
  • Share