พัฒนาการ ทางด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สมัยสุโขทัย ม. 1

พัฒนาการ ทางด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สมัยสุโขทัย ม. 1

สมัยสุโขทัย

มีการติดต่อสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านทางด้านการค้า การทูต

การศาสนาและการสงคราม สุโขทัยยังได้อาศัยเมืองเมาะตะมะ ของมอญเป็นเมืองท่าส่งสินค้าไปขายในประเทศแถบฝั่งทะเลตะวันตกรวมทั้งเมืองท่าอื่นๆด้วย 
 

ความสัมพันธ์กับอยุธยา
เนื่องจากอยุธยาพยายามแผ่ขยายอำนาจเข้ามาสู่สุโขทัยจึงทำให้เกิดสงครามเป็นระยะๆ
 
 

ความสัมพันธ์กับจีน
การที่สุโขทัยรับความสัมพันธ์ระบบบรรณาการจากจีนทำให้ไทยไม่ถูกคุกคามจากจีนส่วนการติดต่อกับจีนนำความรู้ เกี่ยวกับการทำเครื่องถ้วยชามเข้าสู่ในไทย

ทำให้ไทยมีชื่อเสียงในการทำเครื่องถ้วยชามที่สำคัญ เรียกว่า สังคโลก

 กองทัพจักรวรรดิมองโกลแผ่แสนยานุภาพโดดเด่นที่สุดเป็นช่วงเดียวกับการตั้งกรุงสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1800 (ค.ศ. 1257) ซึ่งเป็นอาณาจักรของตนอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก

        หลักฐานสำคัญในพงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 2 แปลเรื่องราวการติดต่อระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับราชวงศ์มองโกลได้สรุปไว้ว่ากุบไลข่านทรงปรึกษาขุนนางข้าราชการระดับสูงเกี่ยวกับการเตรียมทัพไปปราบปรามแคว้นต่างๆ ทางใต้ มีสุโขทัย ละโว้ สุมาตรา และอื่นๆ เป็นเมืองขึ้น ปรากฏว่าขุนนางชื่อ เจี่ย หลู่ น่าต๋าไม่เห็นด้วยและได้กราบบังคมทูลเสนอแนะให้ทรงชักชวนให้ผู้นำดินแดนต่างๆ อ่อนน้อมยอมสนับสนุนก่อน หากไม่ยอมจึงยกกองทัพไปโจมตี นี่คือเหตุผลประการหนึ่งที่กุบไลข่านทรงส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี และขอให้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปยังราชสำนักมองโกล เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่ออาณาจักรมองโกล ปรากฏว่ามีอาณาจักรในดินแดนต่างๆ กว่า 20 อาณาจักรยอมรับข้อเสนอ รวมทั้งอาณาจักรสุโขทัยด้วย (ช่วงระหว่างประมาณ พ.ศ. 1822 - 1825)

        พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 12 เป็นหลักฐานสำคัญที่กล่าวถึงคณะทูตชุดแรกจากอาณาจักรมองโกลในสมัยกุบไลข่าน เดินทางมายังอาณาจักรสุโขทัยในเดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ. 1825 (ค.ศ. 1282) ทูตคณะนี้นำโดยเหอจี จี่ นายทหารระดับสูงเป็นหัวหน้าคณะ แต่ขณะนังเรือแล่นผ่านฝั่งทะเลอาณาจักรจามปา ได้ถูกจับกุมและถูกประหารชีวิต ผลจากคณะทูตนี้ถูกประหารชีวิตก่อนจะเดินทางไปยังอาณาจักรสุโขทัยทำให้อาณาจักรสุโขทัยไม่ทราบว่ามองโกลพยายามส่งทูตมาติดต่อ

        พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 17 กล่าวถึงคณะทูตมองโกลชุดที่สองเดินทางมายังอาณาจักรสุโขทัยในปี พ.ศ. 1835 (ค.ศ. 1292) ภายหลังจากข้าหลวงใหญ่ฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยของมณฑลกวางตุ้ง ได้ส่งคนอัญเชิญพระราชสาส์นอักษรทองคำของกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยไปยังนครหลวงข่านมาลิก (ต้าตู หรือปักกิ่งปัจจุบัน) คณะทูตมองโกลชุดที่สองได้อัญเชิญพระบรมราชโองการของกุบไลข่านให้พ่อขุนรามคำแหงเสร็จไปเฝ้า พระบรมราชโองการนี้แสดงให้เห็นนโยบายของอาณาจักรมองโกลเรียกร้องให้ผู้นำของอาณาจักรต่างๆ ไปเฝ้ากุบไลข่าน แต่มิได้บังคับให้เป็นไปตามนี้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าพ่อขุนรามคำแหงก็มิได้ปฏิบัติตามแต่ประการใด

        พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 18 กุบไลข่านได้ส่งคณะทูตชุดที่สามมาสุโขทัย โดยได้อัญเชิญพระบรมราชโองการให้พ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปเฝ้า หากมีเหตุขัดข้องให้ส่งโอรสหรือพระอนุชาและอำมาตย์ผู้ใหญ่เป็นตัวประกัน ซึ่งปรากฏว่าพ่อขุนรามคำแหงก็มิได้ปฏิบัติตาม แต่ส่งคณะทูตนำเครื่องราชบรรณาการไปแทน

----------------------------------

            เป็น 2 ลักษณะกว้างๆ คือ 

                   1. ความสัมพันธ์ในลักษณะมิตรไมตรี เช่น ความสัมพันธ์ทางการทูต 

            การแลกเปลี่ยนค้าขาย การช่วยเหลือเกื้อกูลกันทางเครือญาติ การแลกเปลี่ยน

            วัฒนธรรม เป็นต้น ประกอบด้วยเมืองต่างๆ ดังนี้

                       1.1 ล้านนา ความสัมพันธ์ดำเนินไปในลักษณะเป็นมิตร ในสมัยพ่อขุน

            รามคำแหงมหาราชแห่งสุโขทัย พญามังรายแห่งล้านนาและพญางำเมืองแห่งพะเยา 

            ทั้ง 3 พระองค์ได้ทรงช่วยกันเลือกชัยภูมิในการสร้างเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ 

            ราชธานีของอาณาจักรล้านนา เมื่อ พ.ศ. 1839

                    ในรัชกาลต่อมา ถึงแม้ความสัมพันธ์จะไม่ได้สนิทสนมใกล้ชิดกันเหมือนเดิม 

            แต่ก็ยังมีพระพุทธศาสนาเป็นตัวเชื่อมโยงความสัมพันธ์เอาไว้ จนถึงช่วงสมัยที่กรุง                        ศรีอยุธยาพยายามเข้ามาขยายอิทธิพลในสุโขทัย ล้านนาก็ได้พยายามเข้ามา

            ช่วยเหลือสุโขทัย แต่ในขณะเดียวกันก็ได้เข้ามาแทรกแซงการเมืองภายในสุโขทัย

            ด้วย ที่สุดแล้วเมื่ออยุธยาผนวกเข้ากับสุโขทัยได้สำเร็จ ล้านนาและอยุธยาจึงต้องทำ

            สงครามกันโดยตรง

พัฒนาการ ทางด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สมัยสุโขทัย ม. 1

ภาพที่ (1) พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ 

บริเวณหน้าศาลากลาง (หลังเดิม) จังหวัดเชียงใหม่ 

แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสุโขทัยกับล้านนาในอดีต

                        1.2 นครน่าน ในหลักฐานจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชระบุว่า น่านอยู่ใน

            ฐานะประเทศราชของสุโขทัย มีไมตรีจิตที่ดีต่อกัน นอกจากนี้พระราชโอรสของ

            พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ได้เสกสมรมกับธิดาของพระยาคำตัน เจ้าผู้ครองนคร

            น่าน ความสัมพันธ์จึงแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ให้ความช่วยเหลือกันและกันมาโดยตลอด

                        1.3 ล้านช้าง หลักฐานจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชกล่าวว่า หัวเมืองลาว 

            ทั้งชวา หลวงพระบาง เวียงจันทน์ เวียงคำ มีฐานะเป็นประเทศราชของสุโขทัย แต่

            หลังจากพระเจ้าฟ้างุ่มรวบรวมหัวเมืองลาว ก่อตั้งอาณาจักรล้านช้าง ใน พ.ศ. 1896 

            มีราชธานีที่เมืองหลวงพระบางแล้วก็ไม่ปรากฎความสัมพันธ์ใดๆกับสุโขทัยอีก

                        1.4 มอญ ตามตำนานกล่าวถึงมะกะโทหรือพระเจ้าฟ้ารั่ว ซึ่งเป็นไทใหญ่และ

            เคยมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ตั้งตัวเป็นผู้นำรัฐมอญ 

            ขอพึ่งอำนาจสุโขทัยในฐานะประเทศราช ความสัมพันธ์ที่ดีกับมอญส่งผลดีต่อ

            เศรษฐกิจสุโขทัย เพราะมอญเปรียบเสมือนเมืองท่าและตลาดการค้ากลางขนส่ง

            สินค้าของสุโขทัยสู่โลกภายนอก

                        1.5 นครศรีธรรมราช ในพุทธศตวรรษที่ 18 อาณาจักรนครศรีธรรมราชอ่อนแ

            ลง ในขณะที่สุโขทัยเริ่มขยายอำนาจลงทางใต้ เมืองนครศรีธรรมราชจึงพยายามผูก

            ความสัมพันธ์เพื่อการเป็นพันธมิตร เป็นให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันมากขึ้น

พัฒนาการ ทางด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สมัยสุโขทัย ม. 1

ภาพที่ (2) พระบรมธาตุเจดีย์ วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร

อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 

ดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์

                        1.6 ลังกา สุโขทัยมีความสัมพันธ์กับลังกาทางด้านศาสนาโดยอ้อม กล่าวคือ

            สุโขทัยได้จัดส่งสมณทูตผ่านเมืองนครศรีธรรมราชไปลังกา เพื่ออัญเชิญพระพุทธ-

            สิหิงค์จากลังกามาประดิษฐานที่สุโขทัย และมีพระภิกษุสุโขทัยหลายรูปเดินทางไป

            ศึกษาหลักธรรมและประวัติพระพุทธศาสนาที่ลังกา การติดต่อนี้ ส่งผลให้สุโขทัยได้รับ

            อิทธิพลของพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์มาด้วย

                        1.7 จีน เป็นความสัมพันธ์ทางด้านการทูตและการค้าในระบบบรรณาการ 

            (เรียกว่าจิ้มก้อง) คือต้องมีสาส์นยอมรับจีนเป็นเจ้าประเทศราชและปฏิบัติตามพิธีการ

            ต่างๆของจีน จีนจะตอบแทนด้วยการอำนวยความสะดวกในการค้าและของกำนัล 

            จีนเริ่มส่งคณะทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีในสมัยราชวงศ์หยวน เพื่อป้องกันไม่ให้

            สุโขทัยไปสนับสนุนคู่แข่งของจีนและต้องการซื้อสินค้าของป่าจากสุโขทัยโดยไม่ต้อง

            ผ่านพ่อค้าคนกลางอีกต่อไป 

                    ความสัมพันธ์กับจีน ส่งผลทางเศรษฐกิจของสุโขทัยอย่างมาก โดยเฉพาะ

            การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า สินค้าที่ซื้อจากจีน ได้แก่ ผ้าไหม ผ้าแพร เครื่องถ้วยชาม                 สินค้าฟุ่มเฟือย ส่วนสินค้าส่งออกของสุโขทัยไปยังจีน ได้แก่ ผลิตผลจากป่า เช่น 

            หนังสัตว์ เขาสัตว์ ไม้หอม ครั่ง เป็นต้น

                    2.ความสัมพันธ์ในลักษณะขัดแย้งกัน มีสาเหตุมาจากการแข่งขันชิงความ

            เป็นผู้นำในภูมิภาค ประกอบด้วยเมืองต่างๆ ดังนี้

                        2.1 ขอม การสถาปนารัฐสุโขทัย ก่อความเสียหายให้กับอาณาจักรขอม 

            ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง คือ ขอมต้องเสียแหล่งทรัพยากรและผลผลิตที่เคย

            ผูกขาดไปป้อนตลาดการค้าของตนในช่วงหลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในจารึกของ

            จามปากล่าวว่ากษัตริย์สุโขทัยยกทัพไปตีพระนครหลวงของเขมรได้ เป็นผลให้เขมร

            อ่อนแอลงอย่างรวดเร็ว

                        2.2 อาณาจักรอยุธยา ในยุคสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) 

            ได้เริ่มรุกรานดินแดนของสุโขทัย ได้เมืองพิษณุโลก แต่พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) 

            เจรจาขอเมืองคืน และยอมเป็นมิตรในฐานะอาณาจักรที่มีศักดิ์เสมอกันด้วยวิธีการเสก

            สมรสระหว่างเจ้านายทั้ง 2 เมือง สุโขทัยพยายามปลีกตัวเป็นอิสระอยู่เสมอ แต่ก็ถูก

            ทัพอยุธยายกมาตีจนพ่ายแพ้เสมอ

พัฒนาการ ทางด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สมัยสุโขทัย ม. 1

ภาพที่ (3) ภาพวาดกองทัพสุโขทัยตั้งทัพไปรบช่วยเมืองตาก ในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์