ความ แตก ต่าง ระหว่าง หุ้นส่วนไม่ จํา กัด ความรับผิด กับหุ้นส่วน จํา กัด ความรับผิด

ความ แตก ต่าง ระหว่าง หุ้นส่วนไม่ จํา กัด ความรับผิด กับหุ้นส่วน จํา กัด ความรับผิด

ความหมายของห้างหุ้นส่วน

ห้างหุ้นส่วน คือ บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงทำธุรกิจร่วมกันเพื่อแสวงหากำไร และแบ่งผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจ บุคคลที่เป็นหุ้นส่วนสามารถลงหุ้นด้วยเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้ ถ้าลงหุ้นด้วย ทรัพย์สิน หรือแรงงานต้องคิดราคาเป็นจำนวนเงิน

ห้างหุ้นส่วนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ ห้างหุ้นส่วนที่มีบุคคลเป็นหุ้นส่วนประเภทเดียวกัน คือ “หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด” โดยหุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดโดยไม่จำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ ถ้าจดทะเบียนเรียกว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนที่มีหุ้นส่วน 2 ประเภท ได้แก่ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด (รับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ลงหุ้น) และ อีกประเภท คือ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด (รับผิดร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดโดยไม่จำกัด)

ความ แตก ต่าง ระหว่าง หุ้นส่วนไม่ จํา กัด ความรับผิด กับหุ้นส่วน จํา กัด ความรับผิด

การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน

การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนต้องดำเนินการจดกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยข้อมูลในการจดทะเบียนประกอบด้วย จำนวนเงินลงทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน วัตถุประสงค์ของกิจการ การแต่งตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ สถานที่ตั้งของกิจการและสาขา(ถ้ามี) เป็นต้น

เมื่อจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดแล้ว ห้างหุ้นส่วนจะมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน และได้รับเลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก ซึ่งจะถูกใช้เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกรมสรรพากรด้วย

สำหรับชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ถ้าจะนำชื่อไปใช้ในดวงตรา ป้ายชื่อ จดหมาย หรือ เอกสารอย่างอื่นที่ใช้ในธุรกิจของห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องมีคำว่า “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” ประกอบชื่อ ถ้าใช้เป็นอักษรต่างประเทศ ต้องใช้คำที่มีความหมายว่า “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” ประกอบชื่อ เช่น ถ้าใช้ชื่อเป็นอักษรภาษาอังกฤษต้องมีคำ “Limited Partnership” ประกอบชื่อ เป็นต้น

ข้อควรพิจารณาในการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน

1. ประหยัดค่าใช้จ่าย ในกรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่ต้องยื่นเอกสารในการจดทะเบียนกับพัฒนาธุรกิจการค้า
2. ทางกฏหมายไม่ได้กำหนัดลักษณะการแบ่งปันผลกำไรเหมือนบริษัทจำกัด ขึ้นอยู่กับหุ้นส่วนตกลงกันในการแบ่งปันผลกำไรได้โดยอิสระ
3. เจ้าของกิจการสามารถบริหารกิจการห้างหุ้นส่วนได้ด้วยตัวเอง

อำนาจในการบริหารจัดการบริษัท

หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดจะเป็นผู้มีอำนาจในการบริหารห้างหุ้นส่วน ซึ่งเรียกว่าหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งหุ้นส่วนคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่หุ้นส่วนผู้จัดการจะเข้าไปกระทำการที่ผูกพันกับห้างหุ้นส่วน ดำเนินงาน หรือบริหารงานต่างๆไม่ได้ อย่างไรก็ดีหุ้นส่วนผู้จัดการอาจมอบหมายให้คนอื่นดูแลและตัดสินใจในงานของห้างหุ้นส่วนได้

หุ้นส่วนผู้จัดการอาจมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ โดยถ้ามีหลายคนแล้วไม่ได้ตกลงกันเรื่องการใช้อำนาจตั้งแต่แรก หุ้นส่วนแต่ละคนมีอำนาจตัดสินใจและดำเนินการโดยลำพัง ถ้าไม่มีหุ้นส่วนผู้จัดการคนอื่นคัดค้าน หรือถ้ากำหนดไว้ให้ใช้เสียงส่วนใหญ่ก็ต้องเป็นเสียงส่วนใหญ่ของหุ้นส่วนผู้จัดการ

          ห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนจำกัด มีข้อแตกต่างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีดังนี้
ห้างหุ้นส่วนสามัญ มีลักษณะสำคัญคือ           1. มีผู้เป็นหุ้นส่วนเพียงประเภทเดียว คือ ประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบในหนี้สิน
          2. ผู้เป็นหุ้นส่วนมีสิทธิเข้าจัดการกับห้างหุ้นส่วนได้
          3. ทุนที่นำมาเป็นเงินสด สินทรัพย์ต่าง ๆ และแรงงานได้
          4. จดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้
          5. เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวได้
          6. เมื่อหุ้นส่วนผู้ใดถึงแก่ความตายหรือลาออกจากห้างหุ้นส่วน หรือล้มละลาย สัญญาเข้าเป็นหุ้นส่วนเป็นอันสิ้นสุดต้องเลิกกิจการ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีลักษณะสำคัญคือ           1. มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท คือประเภทที่ไม่จำกัดความรับผิดชอบ และประเภทที่จำกัดความรับผิดชอบ
          2. ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบไม่มีสิทธิเข้าจัดการกับห้างหุ้นส่วน
          3. หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบลงทุนเป็นแรงงานไม่ได้
          4. ต้องจดทะเบียน และมีสถานภาพเป็นนิติบุคคล
          5. เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ
          6. หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ ตาย ลาออก หรือล้มละลาย ไม่ต้องเลิกกิจการ