ร่างกายของมนุษย์จะต้องรักษาค่าความเป็นกรด

����ѡ������Ţͧ�ô - �����ҧ�� 
           �������¹�ŧ����繡ô���ҡ� �ռ�����͹���ӧҹ�������ҧ��¨֧���繵�ͧ����ѡ�Ҵ����Ҿ�ͧ�ô����餧��� 3� �Ըդ�͠
          1.� �����������Ŵ�ѵ�ҡ������� ��� CO2� �ҡ� �蹠 ����͡���ѧ��¨��ռ�����ٹ��Ǻ���������㨠 ��͠ ��������ͺ�ͧ�ҵҠ �觡���ʻ���ҷ��������������͡кѧ����С���������ִ��д١����ç�ӧҹ�ҡ��鹠 ���ͨ��������͡����鹠 CO2 ����ʹ��Ŵŧ
          ��Ҡ CO2 ����¨���Ѻ�����������ͺ�ͧ�ҵ������ռŤǺ�����������ʹѧ����ǹ���ŧ
           ��䡴ѧ����Ǩ���䢤����繡ô��������ʹ����§ 50-70 %�
          2. �к��ѿ����� ��� �к����������������� � �դ�� �pH� ��ͺ����� �����Ҩ�������÷����ķ����繡ô������ŧ仡����
          �������ºѿ���� ����
               1.� �����źԹ�������ʹᴧ
               2.� �õչ㹾����Ҡ �蹠 ��ź��Թ� �ź��Թ
               3.� �Ѵ��ǹ�ͧ� H2CO3 ��� HCO3
          3.���äǺ����ô����ʢͧ��� �����ö��Ѻ�дѺ�ô�������͡�ҧ��ӻ���������ҡ �к����֧�ա�÷ӧҹ�ҡ� ����ö��� ��Ҿ pH �������¹��ҡ ����Ѻ��ҷ���� �������ҹҹ

 

�к��ѿ����

��������

1.�� ���
��ԡ����ҷҧ���
���Ŵ��������
����͹��͡䫴� ��âѺ�ô���ʹ�ҧ
�ͧ������� 2. ���ѧ
��÷ӧҹ ���·���ش �ҹ��ҧ 2 ��Ңͧ
��ǹ������ �ҡ����ش 3. �����Ǵ���� ���Ƿ���ش ��§��ǹ�ͧ �Թҷ�
�ҹ��ҧ� �������繹ҷ� ��ҷ���ش� �繪������ 4. ��ʹ�   �����Ǵ���� �������
�����ҧ����� pH ����¹��ҡ
�����Ҩ���ѹ���� �ӧҹ���Ǵ���ǻҹ��ҧ
�繡�ê��������
������Թ���ѧ�ͧ�ѿ���� �ա��ѧ�ҡ ����ö��� pH �������¹��ҡ����Ѻ��ҷ���� 5. ������� �ա��ѧ���� ��������� pH ��Ѻ������
(��������� pH ��ͺ��������
���ǨТҴ��ǡ�е��) ��ͧ���������ҡ

ในร่างกายของมนุษย์เรามีกลไกควบคุมความเป็นกรด-ด่างในกระแสเลือดให้อยู่ที่ประมาณ 7.4 เมื่อร่างกายมีสภาวะเป็นกรดจะเกิดกลไกการละลายแคลเซียมออกจากระดูกเพื่อที่จะสะเทินความเป็นกรด กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อที่จะพยายามรักษาความเป็นด่างไว้ให้ร่างกาย แต่ถ้าร่างกายต้องอยู่ในสภาพเป็นกรดนานๆ กลไกการควบคุมสมดุลก็จะสูญเสียไป ทำให้เกิดกรดสะสมในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุของความเจ็บป่วย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว

ในเลือดจะมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ในช่วง 7.35-7.45 โดยจะมีสารหลายๆตัว ไม่ว่าจะเป็นเกลือแร่ (เช่น โซเดียม โปตัสเซียม แคลเซียม คลอไรด์ ฯลฯ) บัฟเฟอร์ (ได้แก่สารไบคาร์บอเนตทั้งหลาย) และสารอื่นๆ เช่น กรดอะมิโน อัลบูมิน และฮีโมโกลบิน ฯลฯ เป็นตัวสำคัญในการช่วยปรับสมดุลกรด-ด่างในเลือดหากมีการเปลี่ยนแปลง pH ในเลือดเพียงเล็กน้อย(ย้ำ เพียงเล็กน้อย) ก็จะมีผลต่อการทำงานและอาการที่ผิดปกติไปของร่างกาย เมื่อ pH ลดต่ำลงกว่า 7.35 ทางการแพทย์ก็จะถือว่า ร่างกายอยู่ในสภาวะกรด และถ้าสูงกว่า 7.45 ก็ จะอยู่ในสภาวะด่าง ซึ่งจะเห็นว่าความแตกต่างระหว่างสภาวะปกติ สภาวะกรด หรือสภาวะด่าง เป็นเพียงค่าเล็กน้อยเท่านั้นสำหรับในเลือด จึงต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวด มิฉะนั้นความผิดปกติทางร่างกายก็จะเกิดขึ้นตามมา

ร่างกายมนุษย์มีวิธีในการรักษาสมดุลกรด-ด่างอยู่หลายทาง เช่น ในระดับเซลล์จะใช้ปฏิกิริยาทางเคมีในการเพิ่มหรือลดความเป็นกรด-ด่าง ในเลือดก็จะใช้สารต่างๆดังที่กล่าวมาแล้วในการปรับสมดุล และท้ายที่สุดก็คือการปรับระดับการหายใจ เพื่อปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากปอด (H+ + HCO3- H2CO3- CO2 + H2O) รวมทั้งขับกรดต่างๆในร่างกายออกจากไตทางปัสสาวะ เป็นต้น

อาหารที่เรารับประทานอยู่ทุกวันนี้ ส่งผลให้ร่างกายมีสภาวะเป็นกรดมากขึ้น แม้แต่ปัสสาวะที่ขับออกมาจากร่างกายก็ยังมีความเป็นกรดมากขึ้นอีกด้วย สาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ ความสามารถในการทำงานของไตลดลงเรื่อยๆ เมื่อเรามีอายุมากขึ้น ความสามารถของไตที่ลดลงหมายถึงปริมาณเลือดที่มาเลี้ยงไตลดลง ความสามารถในการกรองของเสียลดลง และความสามารถในการขับกรดออกจากร่างกายก็ลดลงด้วย เมื่อ รวมทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน ก็ยิ่งทำให้ปริมาณกรดสะสมอยู่ในร่างกายมากขึ้น ซึ่งสภาวะกรดที่สูงขึ้นนี้จะส่งผลอะไรต่อร่างกายบ้าง ตามผมมา

"อายุยิ่งมาก เลือดก็ยิ่งมีกรดเพิ่มมากขึ้น” ผลที่เกิดกับร่างกายนี้เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เรียกกันว่า สภาวะกรดในระดับต่ำอย่างเรื้อรัง (Chronic Low-Grade Metabolic Acidosis) ซึ่งเป็นสภาวะที่ร่างกายเป็นกรดในระดับอ่อนๆ ซึ่งเราๆท่านๆ จะไม่ได้สังเกตอาการผิดปกติใดๆในระยะเริ่มต้น แต่ถ้าทิ้งให้ร่างกายอยู่ในสภาพนี้นานๆ อาจทำให้เป็นโรคหรือมีอาการต่างๆที่พบได้ ดังนี้ (ใครชอบอ่านวิจัยหาอ่านของ Yuen,2006 เอาเองนะ)

• โรคกระดูกพรุน 
• โรคไตและกระเพาะปัสสาวะ รวมทั้งโอกาสเกิดนิ่ว
• อาการทางหัวใจและหลอดเลือด • เบาหวาน • โรคอ้วน
• ต่อมไธรอยด์ทำงานได้ไม่เต็มที่• ระบบภูมิคุ้มกันมีประสิทธิภาพลดลง
• ระบบต้านอนุมูลอิสระมีประสิทธิภาพลดลง • มีสภาวะดื้อต่อฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต
• ปวดเมื่อยข้อและกล้ามเนื้อ• มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง 
• โรคลมชักเรื้อรัง• เป็นโรคติดเชื้อจากเชื้อราได้ง่าย

ไต ต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อขับแคลเซียมและแมกนีเซียมออกจากร่างกายทางปัสสาวะในจำนวนมาก นอกจากนี้ ไตก็ยังสร้างสารต่างๆออกมาด้วย เช่น สารไบคาร์บอเนต เพื่อช่วยในการปรับสมดุลกรด-ด่างของร่างกายอีกทางหนึ่ง เมื่อต้องทำงานหนักเป็นเวลานานๆ ไตก็จะเสื่อมลงเร็วกว่าเวลาอันควร สมเหตุสมผลมั๊ย วิปัสสนาดูนะ

วงจรที่สุดแสนจะอันตรายต่อเราๆท่านๆที่เกิดขึ้นนี้สามารถหยุดยั้งได้ เพียงแค่รู้ว่าควรรับประทานอาหารชนิดใด ในปริมาณที่เหมาะสมเพียงใด ก็สามารถที่จะแก้ปัญหาได้ที่ต้นเหตุ แต่ก่อนที่จะทราบว่าควรรับประทานอะไร เราก็ควรจะทราบเกี่ยวกับค่าสำคัญสักเล็กน้อย ค่าที่สำคัญนี้คือ ค่าที่เรียกว่า

ปริมาณกรดที่มีต่อไต [Potential Renal Acid Load (PRAL)] เป็นค่าเฉพาะของอาหาร ซึ่งบ่งชี้ถึงปริมาณกรดที่จะเกิดขึ้นกับไตหลังการบริโภคอาหารชนิดนั้นๆ (เพื่อความสะดวกในการเปรียบเทียบกับค่าอื่นๆ ค่าที่นำมานี้จะมีหน่วยเป็น mEq ต่อปริมาณอาหาร 100 กรัม) เพื่อความง่ายต่อการปฏิบัติ การทราบเพียงค่านี้ค่าเดียวก็เพียงพอแล้ว ค่า PRAL เป็นค่าที่เกิดจากผลรวมของโปรตีนกับฟอสเฟต แล้วลบด้วยผลรวมของโปตัสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม ซึ่งมีสูตรดังนี้

PRAL = [0.49 x โปรตีน (กรัม)] + [0.037 x ฟอสฟอรัส(กรัม)] – [0.021 x โปตัสเซียม (กรัม)] – [0.026 x แมกนีเซียม(กรัม)] – [0.013 x แคลเซียม (กรัม)]

การคำนวณได้ค่าบวกแสดงว่า จะก่อให้เกิดสภาวะกรดต่อร่างกาย ส่วนค่าลบจะก่อให้เกิดสภาวะด่างต่อร่างกาย

และหลังจากที่ได้ทำการค้นคว้ามานาน ก็มีแค่เพียงกลุ่มผัก-ผลไม้เท่านั้น ที่จะให้ค่า PRAL เป็น ลบ ซึ่งหมายถึงทำให้ร่างกายเป็นด่าง ส่วนกลุ่มที่เหลือไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเนื้อสัตว์ นม เนย ไข่ ธัญพืช เป็นต้น ล้วนแล้วแต่มีผลที่จะก่อให้เกิดสภาวะกรดต่อร่างกายทั้งสิ้น

ทุกวันนี้เราต้องกินอาหารเป็นประจำ วันละ 2-3 มื้อ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารและพลังงานที่เพียงพอ แต่เชื่อหรือไม่ว่าอาหารที่เรากินกันอยู่นั้นสามารถทำให้เราอ่อนล้าและหมดแรงได้ ผมแบ่งอาหารตามผลทางปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นหลังจากขบวนการย่อยครับ ซึ่งจะแบ่งได้เป็นได้เป็นอาหารที่เป็นกรดต่อร่างกาย กับ อาหารที่เป็นด่างต่อร่างกาย ซึ่งค่าความเป็นกรด-ด่างนั้นไม่ได้วัดจากความเปรี้ยวหรือรสชาติของอาหารที่ลิ้นเราสัมผัสได้ แต่หมายถึง สิ่งที่หลงเหลืออยู่ขั้นสุดท้ายหลังจากขบวนการย่อย ยกตัวอย่างเช่น ผลไม้ซึ่งมีรสเปรี้ยวเช่น ส้ม มะนาว สับปะรด (เปรี้ยวนะ) เมื่อเรารับประทานเข้าไปแล้ว หลังจากย่อยเสร็จสิ้นส่วนที่เหลือจะมีค่าเป็นด่าง เราจึงจัดให้ผลไม้เหล่านี้อยู่ในกลุ่มอาหารที่ทำให้ร่างกายเป็นด่าง ทั้งนี้เราจะจำแนกให้อาหารชนิดนั้นอยู่ในจำพวกไหนขึ้นอยู่กับผลสุดท้ายที่เกิดขึ้นหลังจากอาหารเหล่านั้นผ่านขบวนการย่อยเรียบร้อยแล้ว

ขบวนการต่างๆในร่างกาย ทั้งการหายใจ การย่อยอาหาร การไหลเวียนโลหิต การผลิตฮอร์โมน โดยทุกระบบจะทำงานประสานกันเพื่อควบคุมสมดุลกรด-ด่าง(pH) ภายในร่างกาย เราสามารถทดสอบได้ง่ายๆว่าอาหารชนิดใดเป็นกรด หรือเป็นด่างได้ง่ายๆ โดยนำอาหารนั้นไปเผา(เปรียบได้กับการเผาผลาญอาหารในร่างกาย) แล้วจึงนำขี้เถ้าที่เหลือจากการเผามาเติมน้ำ จากนั้นนำไปวัดค่า pH กลุ่มอาหารที่มีแคลเซียม โพทัสเซียม เหล็ก แมกนีเซียม โซเดียม แมงกานีสในปริมาณสูง จะให้ค่า pH เป็นด่าง ในขณะทีอาหารที่ประกอบด้วยฟอสฟอรัสอาทิ โซดา น้ำอัดลม คลอรีน ซัลเฟอร์ ซิลิกอน ไอโอดีน ฟลูออไรด์สูงจะให้ค่า pH เป็นกรด

อาหารที่ดีต่อสุขภาพคืออาหารที่ทำให้เกิดของเสียที่มีค่าเป็นกรดน้อยที่สุด หรือประกอบด้วยสารที่สามารถลดความเป็นกรดได้ในปริมาณมาก อาหารที่ปรุงขายทั่วไป อาหารสำเร็จรูปที่ขายกันอยู่ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่ทำให้ร่างกายเกิดสภาวะเป็นกรด และถ้าประกอบกับการบริโภคผัก-ผลไม้ในปริมาณน้อยด้วยแล้วยิ่งทำให้ภาวะกรดในร่างกายมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของความเจ็บปวดตามส่วนต่างๆของร่างกาย ตลอดจนโรคเรื้อรังต่างๆ

ภาวะที่ร่างกายเป็นกรดมากเกินไปจะส่งผลทำให้ปริมาณออกซิเจนที่เซลล์ควรได้รับน้อยลงไปด้วย เมื่อเซลล์ขาดออกซิเจนนานๆจะก่อให้เกิดความผิดปกติในร่างกายส่วนต่างๆ ทำให้ไม่สบาย ก่อให้เกิดความเสื่อม จนถึงการเกิดมะเร็ง (เซลล์ในร่างกายที่แข็งแรงจะมีค่าเป็นด่างเล็กน้อย ในขณะที่เซลล์มะเร็งจะทำงานได้ดีในสภาพที่มีค่าเป็นกรด)

• เมื่อร่างกายมีภาวะเป็นด่าง เซลล์ต่างๆจะแข็งแรงเนื่องจากเซลล์จะได้รับสารอาหารที่จำเป็นและออกซิเจนอย่างเพียงพอ

• เมื่อร่างกายมีภาวะเป็นกรด เซลล์จะอ่อนแอเนื่องจากขาดออกซิเจนและสารอาหาร ทำให้เกิดการการคั่งของของเหลวและสารพิษรอบๆเซลล์ ทำให้เกิดภาวะความเจ็บปวดและโรคต่างๆ ซึ่งในภาวะดังกล่าวจะทำให้ร่างกายเหนื่อยล้า และต้องการการพักผ่อน เพื่อสงวนพลังงานไว้ใช้สำหรับกำจัดสารพิษดังกล่าวออกจากร่างกาย เมื่อร่างกายกำจัดของเสียซึ่งเป็นกรดออกจากร่างกายได้แล้ว เซลล์จะมีค่าpHเป็นด่าง ทำให้การทำงานของเซลล์กลับสู่สภาพปกติ สามารถดูดซึมสารอาหารและแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ดีขึ้น

ร่างกายเราเปรียบเสมือนธนาคาร สามารถสะสมสารอาหาร ตลอดจนแร่ธาตุไว้ใช้ เมื่อเรากินอาหารที่มีส่วนประกอบของแร่ธาตุที่เป็นด่างในปริมาณมากกว่าความต้องการใช้ในขณะนั้น ร่างกายจะเก็บแร่ธาตุเหล่านี้ไว้สำหรับใช้ต่อไป แต่เราๆ ท่าน ๆ ชอบเผาธนาคารโดยไม่รู้ตัว

อาหารที่ทำให้ร่างกายเกิดภาวะเป็นด่าง ได้แก่ ต้นงอก ผัก(โดยเฉพาะหน่อไม้ฝรั่ง วอเตอร์เครส แตงกวา ถั่ว ผักกาด ผักชีฝรั่ง เครื่องเทศ หัวหอม คึ่นฉ่าย แครอท) ผลไม้ (โดยเฉพาะ มะนาว ส้ม สับปะรด กีวี เชอรี่ สตรอเบอร์รี แตง แอปเปิ้ล แอพริคอท อโวคาโด) คีเฟอร์ โยเกิร์ต(วันละไม่เกิน 1 ช้อนโต๊ะ) ชาสมุนไพร นอกจากอาหารแล้วความคิดในแง่บวก เช่น ความสุข สมหวังก็ทำให้ร่างกายมีค่าเป็นด่างด้วย ผมเลยบอกให้ฟังเพลงที่ชอบ คราวนี้เข้าใจกันแล้วนะ

อาหารที่ทำให้ร่างกายเกิดภาวะเป็นกรด ได้แก่ พวกแป้งและโปรตีน (พวกเนื้อสัตว์และแป้ง น้ำตาลขัดสี) ชา กาแฟ น้ำอัดลม สุรา เบียร์ เกลือ น้ำตาล อาหารสำเร็จรูป ผงชูรส และความเครียด ตลอดจนความคิดในแง่ลบ( โกรธ เกลียด ซึมเศร้า) ก็ส่งผลทำให้ร่างกายเกิดสภาวะเป็นกรด

หมายเหตุ : เมล็ดธัญพืชทุกชนิด รวมถึงถั่ว ที่เป็นโปรตีน มีคุณสมบัติเป็นกรด ยกเว้นเมื่อนำมาปลูกเป็นต้นงอก จะมีคุณสมบัติเป็นด่าง

มีวิธีการทดสอบสภาวะกรด-ด่างของเราอย่างไร? (Minich&Bland,2007) มี วิธีการตรวจที่ได้รับการยอมรับกันทั่วไปในการทดสอบดูว่า ในเวลานี้ร่างกายของเรามีสภาวะเป็นกรดหรือด่าง? และเป็นวิธีที่ทำได้ง่ายๆ ไม่เจ็บตัว สะดวกเพราะทำได้เอง จะทำกี่ครั้งก็ได้แล้วแต่ความสะดวก ไม่ว่าจะเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือนก็ตามที นั่นก็คือการวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของปัสสาวะด้วยกระดาษวัดค่ากรด-ด่าง (Litmus Test) หาซื้อก็ไม่ยากนะ โดยกระดาษที่ใช้วัดเรียกว่ากระดาษลิตมัส (Litmus Paper) ทำได้ง่ายๆโดยเก็บปัสสาวะใส่ภาชนะแล้วจุ่มด้วยการดาษลิตมัส ซึ่งกระดาษจะเปลี่ยนสีตาม pH ของปัสสาวะ เราสามารถทราบ pH ของ ปัสสาวะ โดยการเปรียบเทียบสีที่ได้กับสีมาตรฐานที่มีมาให้ แค่นี้เราก็จะทราบสภาวะของร่างกายว่า ณ เวลานั้นเป็นกรดหรือด่าง วิธีตรวจสอบนี้สามารถเห็นความแตกต่างในการวัดในเวลาตั้งแต่ 2 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร ดังนั้นจึงควรมีกระดาษลิตมัสติดไว้ที่บ้าน เราสามารถหาซื้อกระดาษลิตมัสได้ตามร้านขายอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ หรือร้านขายหนังสือเรียนก็น่าจะมี ราคาก็ไม่แพง

ขอเพิ่มเติมถึงเรื่อง pH อีกนิดหนึ่ง เพื่อให้ผู้ที่ไม่คุ้นเคยจะได้รู้จักกับค่า pH (หรือ Power of H+) ซึ่งคือค่าแสดงความเป็นกรด-ด่าง และ pH ที่แสดงความเป็นกลางคือ 7 สูงกว่านั้นจะเป็นด่าง และต่ำกว่า 7 จะเป็นกรด ค่า pH ของปัสสาวะในคนปกติ ตามรายงานทางการแพทย์ จะอยู่ระหว่าง 4.5-8.0 ดังนั้นการที่จะทำให้ร่างกายมีสภาวะด่าง ก็ควรจะอยู่ในช่วงที่ pH เกิน 7.0 แต่ไม่ควรเกิน 8.0 ซึ่งยังอยู่ในช่วงที่เป็นค่าปกติของปัสสาวะ ปัสสาวะที่มี pH เกินกว่า 8.0 แสดงถึงสภาวะด่างที่แสดงอาการ (Metabolic Alkalosis) เช่น หายใจลำบาก กระสับกระส่าย สับสน หัวใจเต้นผิดปกติ มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ เป็นต้น

อีกเรื่องหนึ่งที่ควรทราบก็คือ การศึกษาพบสภาวะที่ร่างกายมีความเป็นกรดในระดับที่แสดงอาการ (Metabolic Acidosis) ปัสสาวะจะมี pH อยู่ในช่วง 5.0-5.5 ดังนั้นหากพบว่าปัสสาวะมี pH ต่ำกว่า 5.5 จึงไม่ดีแน่ แม้ว่าจะมีการระบุว่าปัสสาวะที่ปกติสามารถมี pH ได้ต่ำถึง 4.5 ก็ตาม และยังพบอีกด้วยว่า pH ที่ต่ำกว่า 6.5 เป็นต้นไป ร่างกายเริ่มต้องใช้ความเป็นด่างจากแหล่งอื่น เช่น กระดูก หรือกล้ามเนื้อมาชดเชย เนื่องจากระบบการควบคุมกรด-ด่างในเลือด เริ่มจะไม่เพียงพอที่จะควบคุมให้ pH อยู่ในระดับปกติได้

โดยสรุปแล้วควรควบคุมให้ pH ในปัสสาวะอยู่ในช่วง 7.0-8.0ช่วง pH ที่แนะนำขอแสดงตัวอย่างการใช้วิธีทดสอบปัสสาวะนี้ให้ดูซักอัน การศึกษานี้ใช้ผักรวม ซึ่งเป็นส่วนผสมของแครอท ดอกกะหล่ำ และ บร็อคลี จำนวน 200 กรัมให้แก่อาสาสมัครจำนวน 5 คน แล้ววัดค่าความเป็นกรด-ด่างหลังอาหารเป็นเวลา 4 ชั่วโมง ปรากฏว่า pH ของปัสสาวะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยจาก 6.2 เป็น 6.91 (Nho&Jeffrey,2001) เริ่มอยากกินผักกันรึยังล่ะ

ประโยชน์ของการมีสภาวะร่างกายเป็นด่าง ทางการแพทย์รู้จักกันดี ในกระบวนการที่เรียกว่า Ion Trapping (Garrettson&Geller,1990) เป็นการทำให้ปัสสาวะมี pH มากกว่า 7.5 โดย การฉีดโซเดียมไบคาร์บอเนตเข้าไปในกระแสเลือด ใช้สำหรับผู้ที่ได้รับพิษอย่างเฉียบพลัน โดยจะช่วยให้ร่างกายสามารถขับสารแปลกปลอมออกมาได้ดีขึ้น โดยอาศัยหลักที่ว่าปัสสาวะที่เป็นด่างจะเป็นการป้องกันการดูดกลับของสารแปลก ปลอมโดยท่อไต (Renal Tubules) วิธีนี้ได้รับการเห็นชอบจากสถาบันพิษวิทยาทางคลีนิคของสหรัฐอเมริกา (American Academy of Clinical Toxicology) และพบว่าวิธีนี้สามารถเพิ่มการขับสารออกมาในปัสสาวะได้มากขึ้น
โดย สรุปแล้วการรับประทานอาหารที่เหมาะสม นอกจากจะทำให้ร่างกายหลีกเลี่ยงจากการเป็นโรคเรื้อรัง และอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ แล้ว ยังทำให้ร่างกายสามารถขับสารที่ไม่ต้องการออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น ทำให้ร่างกายไม่มีสารตกค้างที่เป็นอันตรายอีกด้วย และการกินอย่างเหมาะสมในกรณีนี้ก็ไม่มีอะไรยากหรอกครับ เพียงแค่ทานผัก-ผลไม้ที่ไม่หวานให้มากขึ้นก็เท่านั้นเอง ในกรณีที่รับประทานอาหารประเภทที่ทำให้ร่างกายเป็นกรดสูงติดต่อกันหลายครั้ง เช่น อาหารที่มีส่วนประกอบของชีสหรือเนื้อสัตว์จำนวนมาก เช่น พิซซ่า เนื้อย่างเกาหลี ฯลฯ และมีการรับประทานผัก-ผลไม้ไม่มากพอ หรือบางท่านที่ไม่ชอบทานผัก-ผลไม้ สามารถรับประทานอาหารเสริมประเภทที่มีโปตัสเซียม ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นด่างแทนได้

โปตัสเซียมอาหารส่วนใหญ่ที่เรารับประทานในปัจจุบัน มีปริมาณโปตัสเซียมค่อนข้างต่ำ Food and Nutrition Board of the Institute of Medicine และ Linus Pauling Institute ได้กำหนดปริมาณโปตัสเซียมที่ควรได้รับอย่างเพียงพอในแต่ละวัน (Adequate Intake เรียกย่อๆว่า AI) ไว้ที่ 4.7 กรัม โครงการ Dietary Approaches to Stop Hypertension (Ref 7) ก็ ได้แนะนำให้ร่างกายได้รับโปตัสเซียมในปริมาณเช่นเดียวกันนี้ เพื่อลดความดันโลหิต ป้องกันการเกิดนิ่ว และลดการสูญเสียมวลกระดูกลง แต่อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ป่วยโรคไต ความดันโลหิตสูง และหัวใจ ตลอดจนถึงผู้ที่ได้รับยาที่มีผลต่อการเพิ่มปริมาณของโปตัสเซียมในร่างกาย ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีโปตัสเซียมในปริมาณสูง เนื่องจากอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ อาการที่อาจพบได้คือ ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน หายใจลำบาก กระสับกระส่าย สับสน หัวใจเต้นผิดปกติ มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ เป็นต้น ดังนั้นหากจะบริโภคโปตัสเซียมในปริมาณที่แนะนำไว้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด

ดังนั้นเราสามารถช่วยกำจัดภาวะกรดดังกล่าวได้โดยรับประทานอาหารที่ทำให้ร่างกายเกิดสภาพเป็นด่าง(โดยเฉพาะพวกต้นงอก ผลไม้รสเปรี้ยว) โดยสัดส่วนแล้วอาหารที่เรารับประทาน75-80% ควรเป็นอาหารที่ทำให้ร่างกายเกิดสภาวะเป็นด่าง ดื่มน้ำเยอะๆ หายใจลึกๆยาวๆ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ฟังเพลง ออกกำลังกาย แค่นี้เราก็ได้เป็นเพื่อนกันไปอีกนานแสนนาน

รักทุกคนครับ สวัสดี

Cr:ดร.สุมิตร มณีวรรณกุลPh.D. in Biology
Yuen,2006 
Minich&Bland,2007
Nho&Jeffrey,2001
Garrettson&Geller,1990
American Academy of Clinical Toxicology
และอีกมากมายที่ผมได้อ่านมา