The MBO Process ว่าหมายถึงอะไร

          ��ͨӡѴ ��äѴ���͡�������Թ��Ҥ�è�����㹡�û����Թ��������ö�ͧ��ѡ�ҹ ���ͧ�ҡ��ѡ�ҹ�Ҩ�Ф�¹͡�ͺ�Ѻ�������Թ����� � �������š�û����Թ�ͧ���ͧ������дѺ����٧��� �ռŷ�����ҡ�û����Թ��������ö��������ç�Ѻ�����繨�ԧ ������ͻ�ͧ�ѹ�ѭ�ҷ���Ҩ���Դ��鹹��˹��§ҹ�ؤ�Ũе�ͧ���ᨧ����ٻẺ��û����Թ�¼������Թ��ҡ���´�ҹ �鹡�þѲ�Ҥ�������ö�ͧ��ѡ�ҹ�ҡ���ҡ�ùӼ�����㹡�����س����ɡѺ��ѡ�ҹ ��駹����������÷�����Ѵਹ�Ҩ�з���龹ѡ�ҹ���㨼Դ ��Ф������㨷��Դ����ͧ�з���龹ѡ�ҹ����������������㹡�û����Թ���¤����繨�ԧ �Դ����š����¹�Ѻ������������Թ�ѹ�ͧ �� �س�����ʧ������Թ���س��˭ԧ�٧ ��觤س��˭ԧ���ͧ�����Թ��������ö�ͧ�س�����ʧ������٧���仴����蹡ѹ

ผู้บริหารทุกคนย่อมต้องการทำงานให้สำเร็จ และมีความคิดหลายอย่างที่จะหาวิธีให้ภาระงาน บรรลุตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ ความคิดของผู้บริหารอาจเลื่อนลอยไม่ชัดเจนอาจเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้ แต่สิ่งที่ทำให้ความคิดของผู้บริหารเป็นความจริงก็คือการวางแผนเชิงกลยุทธ์ในการบริหารงาน หากขาดการวางแผนหนทางที่จะบรรลุผลก็เป็นไปได้ยาก ในแง่ของการบริหารงานการวางแผนเป็นหน้าที่แรกสุดแล้วก็ตามด้วยหน้าที่การจัดองค์การ การจูงใจ หรือการนำและการควบคุมการวางแผน ดังนั้นการวางแผนเชิงกลยุทธ์มีความสำคัญมากที่จะบอกได้ว่าองค์กรจะประสบความสำเร็จในการแข่งขันกับองค์กรอื่นหรือไม่ แผนเป็นสิ่งที่แสดงให้เป็นว่าองค์กรพยายามที่จะทำให้ดียิ่งขึ้นกว่าที่กำลังกระทำอยู่และพยายามทำให้ดีกว่าคนอื่น การวางแผนเชิงกลยุทธ์เป็นการตัดสินใจล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์จริง

การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์หรือเรียกย่อๆ ว่า MBO เป็นกระบวนการร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์และการควบคุมระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นการเชื่อมหน้าที่ทางการบริหารระหว่างการวางแผน และการควบคุมเข้าด้วยกัน


MBO ย่อมาจาก Management by Objectives เป็นแนวคิดทางการบริหารที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก 



ความเป็นมาการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO)

                การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO)นั้น เป็นเทคนิคการบริหารงานแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมาก ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาโดยนักวิชาการคนหนึ่งชื่อ Peter F. Drucker ซึ่ง ได้เสนอแนวความคิดเรื่องนี้เป็นคนแรกที่อเมริกาเมื่อปี ค.ศ.1954 ในหนังสือของเขาชื่อ The Practice of Management Drucker ซึ่งชี้ให้เห็นว่าทุกองค์การต้องมีเป้าหมาย เพื่อนำทางบุคคลที่บริหารงานองค์การ ประสานเป้าหมายของพวกเขาเข้ากับเป้าหมายขององค์การและส่งเสริมการทำงานเป็นทีม ชี้ให้เห็นความจำเป็นของการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อนำองค์การไปสู่ต้องการ  

                การบริหารแบบนี้มีเรียกกันหลายชื่อ เช่น Management by Results (MBR) หรือ Management by Objectives and Results (MOR) ในส่วนภาษาไทยที่เรียกชื่อการบริหารในลักษณะนี้ที่คล้าย ๆ กัน เช่น การบริหารงานโดยมีวัตถุประสงค์  การบริหารงานโดยกำหนดวัตถุประสงค์ หรือ การบริหารงานตามวัตถุประสงค์   

                ในการบริหารงานอีกแบบหนึ่งที่ตรงกันข้ามกับ MBO เหมือน ฟ้ากับดิน คือ Management by Activities and Results (MAR) ซึ่งมุ่งที่ผลที่จะเกิดขึ้นหรือจะได้รับเท่านั้น โดยไม่มีการกำหนดวัตถุประสงค์เลย เช่น ต้องการขายสินค้าให้ได้มากที่สุด โดยไม่มีการกำหนดเป้าหมายและวางแผนที่แน่นอนว่าจะขายให้ได้เท่าไร โดยวิธีใด แล้วก็ทำการโหมโฆษณา หรือตีปีป อย่างเต็มที่เพื่อให้ขายให้ได้มากที่สุดก็แล้วกัน ซึ่งเป็นการบริหารแบบโบราณที่ผิดหลักวิชา ในปัจจุบันก็มีนักบริหารใช้วิธีการนี้เช่นกัน เช่น เชิญสื่อมวลชน มาทำข่าวให้ดัง โดยไม่คำนึงว่า จะทำได้ตามเป้าหมายหรือไม่ มีเพียงวัตถุประสงค์ที่แน่นอนคือให้ดังก็พอแล้ว 


ดรักเกอร์ ให้ความหมายของ MBO ไว้ว่าหมายถึง เป็นการจัดการซึ่งผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ มาตรฐาน และเลือกปฏิบัติงาน โดยผู้ใต้บังคับบัญชามีภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบต่อวัตถุประสงค์ โดยมีผู้บังคับบัญชาสนันสนุน และกระตุ้นเพื่อให้เกิดการควบคุมตนเอง ฉะนั้น ความสำคัญของการวางแผน และการควบคุมจึงขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารข้อมูลโดยการสร้างความสัมพันธ์ของระบบข้อมูลกับการวางแผน และการควบคุมสนับสนุนการตัดสินใจร่วมกัน


การกำหนดเป้าหมายขององค์กร  

ผู้บังคับบัญชาจะต้องเข้าใจในเป้าหมายและทิศทางที่องค์กรจะมุ่งไปอย่างชัดเจน ซึ่งเริ่มจากกระบวนการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กร (SWOT Analysis) ให้ชัดเจนเสียก่อน ซึ่งเป็นกระบวนการของการประเมินว่า “ปัจจุบันเราอยู่ที่ใด” (Where are we now?)  “เรามองเห็นโอกาสใดบ้างที่เป็นประโยชน์ต่อการเติบโต หรือ ดำรงอยู่ขององค์กร” “เรากำลังเผชิญกับปัญหา ภัยคุกคามใดบ้าง อย่างไร”  “เรามีจุดแข็งที่สามารถนำมาใช้ในการสร้างความได้เปรียบทางการดำเนินธุรกิจ หรือว่า เพื่อการให้องค์กรสามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ อย่างไร”  และ เรามีจุดอ่อนอะไรที่ต้องขจัดให้หมดไป หรือทำให้ลดน้อยลง

การวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ต้องทำด้วยความละเอียด รอบคอบ ให้ได้ผลการวิเคราะห์ที่ คม ชัด ลึก ไม่ได้เน้นปริมาณว่าต้องทำการวิเคราะห์ให้ได้จำนวนประเด็นที่มากมายหลากหลายแต่ไร้ซึ่งคุณภาพ การวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์เปรียบเสมือน “การติดกระดุมเสื้อเม็ดแรก”  ถ้าท่านติดกระดุมและรูกระดุมผิดตำแหน่ง จะติดกระดุมเสื้อผิดหมดทั้งแถว หลังจากนั้น เราจึงกำหนดเป้าหมายว่า เราต้องการจะไปที่ใด (Where are we going?) ซึ่งก็คือ การกำหนดเป้าหมายขององค์กร

เป้าหมายขององค์กร ควรกำหนดเป็น “เป้าหมายเชิงกลยุทธ์” (Strategic Goal) ที่ถือเป็นเป้าหมายหลัก เพียง 1 หรือ 2 เป้าหมาย และเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะใช้ในการสื่อสารอย่างทั่วถึงภายในองค์กร

เป้าหมายที่ดี ควรมีลักษณะ SMART ซึ่งมาจากอักษรต้นของคำว่า

SPECIFIC       เป้าหมายต้องมีลักษณะเฉพาะเจาะจง ไม่ควรระบุให้กว้างจนเกินไป และไม่ใช้คำที่ต้องตีความ

MEASURABLE    เป้าหมายควรวัดได้เป็นตัวเลข ประเมินค่าเปรียบเทียบได้ และใช้ติดตามผลได้

ACTION ORIENTED     เป้าหมายต้องระบุถึงสิ่งที่จะกระทำ และนำไปสู่การกำหนดกิจกรรมรองรับได้ชัดเจน

REALISTIC     เป้าหมายต้องเป็นจริงได้ แต่ไม่ง่ายจนเกินไป เป้าหมายที่ดีต้องมีความท้าทาย (Challenge) เพื่อนำไปสู่การคิดค้น ริเริ่ม วิธีการใหม่ๆ อยู่เสมอ

TIMELY        ต้องมีกรอบของระยะเวลาที่ชัดเจน แน่นอน กำหนดไว้ ซึ่งอาจจะเป็น รายวัน สัปดาห์ เดือน ไตรมาส ครึ่งปี หรือ 1 ปี ไม่ควรตั้งเป้าหมายที่ยาวนานเกินกว่า 1 ปี สำหรับเป้าหมายที่บรรลุในปีนั้น ก็จะทำการตั้งเป้าหมายที่สูงขึ้น และท้าทายยิ่งขึ้นในปีถัดไปได้

นอกจากการใช้หลักการ SMART ในการกำหนดเป้าหมายแล้ว การกำหนดเป้าหมายที่ดีต้องให้ลูกน้อง ทีมงานมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายด้วย ซึ่งในทางจิตวิทยา ถือเป็นการให้เกียรติรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อโต้แย้งของทีมงาน เป็นการบริหารแบบเปิดกว้าง (Open Management) ในการรับฟังความเห็น และลดข้อขัดแย้งในเบื้องต้น สิ่งที่สำคัญคือ ทำให้ทีมงานรู้สึกได้ถึงการมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น ซึ่งนำไปสู่การมีพันธะสัญญาต่อการทำให้เป้าหมายบรรลุผลต่อไป อย่าลืมนะครับว่า   “ No Involvement No Commitment”


การกำหนดเป้าหมาย จำเป็นต้องพิจารณาข้อมูลเชิงเปรียบเทียบประกอบด้วย (Benchmark) การเปรียบเทียบเราสามารถกำหนดเป้าหมายเชิงเปรียบเทียบ ได้ดังนี้

1) กำหนดเป้าหมาย โดยเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของหน่วยงานตนเอง ซึ่งเป็นวิธีที่เราใช้กันอยู่เป็นประจำในปัจจุบัน เช่น ดูผลประกอบการในปีที่ผ่านมาในแต่ละเดือน แต่ละไตรมาส ดูผลประกอบการย้อนหลังไป 2-3 ปี เพื่อดูแนวโน้ม แล้วกำหนดเป็นเป้าหมาย

2) กำหนดเป้าหมาย โดยเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานของหน่วยงานอื่น เพื่อสร้างความท้าทาย และการแข่งขันระหว่างทีมงาน

3) กำหนดเป้าหมาย โดยเปรียบเทียบกับ กิจการของคู่แข่ง เช่น เปรียบเทียบจากส่วนครองตลาด การเติบโตของยอดขายและกำไรระหว่างกิจการของเรากับคู่แข่ง ผลการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าที่มีเราและคู่แข่ง


4) กำหนดเป้าหมาย โดยเปรียบเทียบกับกิจการรูปแบบอื่น ที่มีบางกิจกรรมการดำเนินงานที่ใกล้เคียงกับเรา


 แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO)

                

               แนวความคิดของ การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO) มีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น เน้นสิ่งที่ต้องกระทำแทนที่จะเป็นกระทำอย่างไร บุคคลมีความสำคัญกว่าวิธีการ และการมอบหมายอำนาจหน้าที่ดีกว่าการควบคุม บุคคลถูกคาดหวังให้ควบคุมตนเอง พวกเขาถูกสนับสนุนให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังในทิศทางขององค์การ

และตามทัศนะของเสนาะ  ติเยาว์. (2543) การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์หรือเรียกย่อๆ ว่า MBO เป็นกระบวนการร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์และการควบคุมระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นการเชื่อมหน้าที่ทางการบริหารระหว่างการวางแผน และการควบคุมเข้าด้วยกันซึ่งมีแนวคิดสำคัญ 4 อย่าง คือ

1. ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาตกลงร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคนว่าจะทำงานให้ได้ผลตามเป้าหมายเท่าไรภายในระยะเวลาที่กำหนด

2. ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาตกลงร่วมกันวางแผนงานโดยผู้ใต้บังคับบัญชาจะทำงานให้สำเร็จได้ด้วยวิธีการของแต่ละคน

3. ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาตกลงร่วมกันในการกำหนดมาตรฐานที่ใช้วัดผลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา

4. ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาตกลงร่วมกันในการวัดผลงานที่เกิดขึ้นจริงทบทวนแก้ไขผลการปฏิบัติงานและกระบวนการ การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO) ใหม่

ในแง่ขอกระบวนการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO) ผู้บังคับบัญชาร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาในการวางแผนและการควบคุม ส่วนในการดำเนินงานผู้ใต้บังคับบัญชามีอิสระที่จะเลือกวิธีทำงานของตัวเอง ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่สนับสนุนและช่วยแก้ปัญหาการทำงานที่อาจเกิดขึ้น


กระบวนการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO)


                การบริหารตามวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้ในองค์การนั้น อาจทำได้ สองลักษณะคือ ทำเป็นโครงการกึ่งเต็มรูป โดยนำ การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO) มาใช้เฉพาะการบริหารส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์การก่อน และโครงการเต็มรูป เป็นการนำ การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO) มาใช้ปรับปรุงองค์การในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นระยะเวลา 3 – 5 ปี จึงจะสมบูรณ์แบบ

กระบวนการหรือขั้นตอนในการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO) งานมี 4 ขั้นตอนที่สำคัญดังนี้ 

                1. การกำหนดวัตถุประสงค์และและการวางแผน เป็นหลักการที่สำคัญอันดับแรก คือการกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การ โดยผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชากำหนดวัตถุประสงค์ร่วมกัน นักวิชาการบริหารบางท่านวิจัยแล้วพบว่า การบริหารที่มีประสิทธิภาพนั้น การกำหนดวัตถุประสงค์จะต้องไม่กำหนดจากเบื้องบนลงสู่เบื้องล่าง หรือจากเบื้องล่างขึ้นไปสู่เบื้องบน แต่จะต้องร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์แล้วจึงวางแผนการปฏิบัติงานร่วมกัน โดยจัดลำดับความสำคัญของงานที่จะทำ  กำหนดระยะเวลาดำเนินการ  กำหนดงบประมาณ ตลอดจนกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน

                2. การมอบหมายงานและหน้าที่รับผิดชอบแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา งานขั้นนี้เป็นการแจ้งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับรู้ถึงขอบเขตของอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่และสามารถกำหนดวัตถุประสงค์ในการทำงานด้วยตัวเอง โดยมอบความไว้วางใจและความเป็นอิสระในการทำงานให้ ทั้งนี้จะต้องชี้แจงให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ทราบถึงงานหลักและมาตรฐานงานที่ต้องการ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเป้าหมายรวมขององค์การ โยผู้บังคับบัญชาพร้อมที่จะให้คำปรึกษาหารือเมื่อผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการ

                3. ตรวจสอบและแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานอย่างมีระบบ งานในขั้นนี้เป็นการตรวจสอบว่า การดำเนินงานที่ได้กำหนดไว้ก้าวหน้าไปมากน้อยเพียงใด และมีสิ่งใดที่ควรปรับปรุงแก้ไขให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้

                4. การประเมินผลงาน เป็นการประเมินผลงานที่เน้นวัตถุประสงค์และผลงาน เป็นสำคัญ โดยมีหลักและวิธีการประเมินผลงานที่สำคัญดังนี้ คือ

                                4.1 ผู้ประเมินและผู้ได้รับการประเมินผลงาน จะต้องตั้งวัตถุประสงค์และปัจจัยในการประเมินผลงานร่วมกันตั้งแต่ตอนต้นหรือการกำหนดแผนการดำเนินงาน

                                4.2 การประเมินผลงานตามหลักการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาบุคคลและเพิ่มประสิทธิภาพงานมากกว่าที่จะใช้การประเมินผลเพื่อพิจารณาความดีความชอบหรือการลงโทษ

                                4.3 เน้นการวัดผลการปฏิบัติงานที่ผลงานขั้นสุดท้าย นอกจากนั้นยังเน้นความสำเร็จของผลงานและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ามากกว่าความประพฤติของผู้ปฏิบัติงาน

                                4.4 ใช้วัตถุประสงค์และผลงาน เป็นตัวประเมินมากกว่าการให้คะแนน หรือเครื่องหมาย

                                4.5 การประเมินผลงานกระทำเมื่อผลงานขั้นสุดท้ายเสร็จสิ้นลง โดยผู้ประเมินและผู้ได้รับการประเมินได้มีโอกาสปรึกษาหารือร่วมกัน ทั้งในระยะกำหนดวัตถุระสงค์และระยะประเมินผลงาน

                

สรุปโดยทั่วไปการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO) ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้


1.       การให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอวัตถุประสงค์ที่เป็นเป้าหมายของผลงานขึ้นมา

2.       การพิจารณากำหนดวัตถุประสงค์ร่วมกันระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา

3.       การติดตามและทบทวนเป้าหมายเป็นครั้งคราว

4.       การประเมินผลเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา


องค์ประกอบที่สำคัญบางประการของการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO)


                การนำแนวความคิดเกี่ยวกับ การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO) ไปใช้ในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบและเงื่อนไขที่สำคัญบางประการดังนี้

                1. การกำหนดวัตถุประสงค์กับการวางแผน เพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุประสงค์นั้น จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป นอกจากนั้นวัตถุประสงค์ของแต่ละฝ่ายในองค์การจะต้องสอดคล้องกันด้วย

                2. ความรู้ความสามารถของผู้บริหาร ผู้บริหารระดับต่าง ๆ ควรมีทัศนคติและความรู้ความสามารถด้านการบริหารอย่างกว้างขวางเพื่อนำไปใช้วิเคราะห์  วางแผนและกำหนดเป้าหมายในการทำงาน อันจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้การนำการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO) ไปใช้ในองค์การได้บรรลุผล หากผู้บริหารในระดับใดขาดความรู้ทางด้านการบริหารอย่างไร ก็ควรจัดการฝึกอบรมเพื่อช่วยให้ผู้บริหารได้พัฒนาตนเองและสามารถขจัดปัญหาในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น

                3. การจัดให้สมาชิกของกลุ่มปฏิบัติงานในองค์การ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงาน โดยเน้นการทำงานเป็นทีม การให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงานหรือการบริหารงานมีความสำคัญดังนี้คือ

                          3.1 กลุ่มทำงานที่ตนเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารด้วย จะทำงานมีประสิทธิภาพสูงกว่ากลุ่มที่ทำงานตามคำสั่ง

                          3.2 การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจหรือการบริหาร จะมีส่วนสัมพันธ์กับผลผลิตที่ได้รับ

                          3.3 การมีส่วนร่วมทำให้ผู้ปฏิบัติงานยอมรับการวินิจฉัยสั่งการ อันจะมีผลต่อการทำงานร่วมกัน

                          3.4 การที่ผู้ปฏิบัติงานมีความพอใจในการทำงาน จะผลักดันให้เกิดความต้องการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำงานมากขึ้น

                4. การจัดให้มีระบบข้อมูลย้อนกลับ เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน หรือเปิดโอกาสให้รู้ถึงผลงานที่กระทำไปแล้วเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งในการบริหารงานตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลสองประการ คือ

                       4.1 เป็นเครื่องมือสำหรับผู้บริหารที่จะตรวจสอบว่า ผลงานนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่

                       4.2 เป็นเครื่องมือสำหรับผู้บริหารที่จะแก้ไขอุปสรรค หรือปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที

                             

องค์ประกอบที่สำคัญบางประการของ การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO) ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ดับบลิว เจ เรดดิน ได้กำหนดเงื่อนไขซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญเพิ่มเติมไว้ดังนี้

               1. มีการละลายพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ

                2. เน้นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง

                3. ยอมรับความสำคัญด้านปัจจัยการบริหารที่เกี่ยวกับคน

                4. มีข่าวสารและข้อมูลมากพอ

                5. เน้นประสิทธิผลของงาน

                6. เน้นความสำคัญของกลุ่ม

                7. เน้นความสำคัญของสถานการณ์

                8. เลือกใช้วิธีการเริ่มต้นที่ถูกต้อง

                9. กำหนดอัตราความเร็วของการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม

                10. ใช้เครื่องมือต่าง ๆ ให้มากที่สุด


ประโยชน์ของการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO)

  

                จากการสำรวจเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้บริหารในเรื่องการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ พบว่ามีจุดเด่นหรือประโยชน์ที่สำคัญ ดังนี้

             1. ช่วยให้มีการกำหนดวิธีการวัดที่แน่นอนว่า บุคลากรในองค์การได้สร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับองค์การได้มากน้อยเพียงใด

             2. ก่อให้เกิดการประสานงานในกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน เนื่องจากมีการกำหนดเป้าหมายและมาตรการในการวัดผลงานร่วมกัน

             3. เป็นเครื่องมือช่วยแก้ไขปัญหาสำคัญในหน่วยงาน เกี่ยวกับการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มและองค์การ


THE DAILY DRUCKER 366 DAY ได้บอกถึงการเป็นผู้บริหารที่ดีต้องมี 5 ประการนี้ที่ Drucker บอกว่าต้องทำให้ได้

1.        Intetrity ปากกับใจต้องตรงกัน มีความจริงใจและจริงจังในการบริหารงาน ไม่สร้างภาพเพื่อหลอกใคร โดย

Drucker ได้กล่าวว่า

Ø  “เพียงแค่สองอาทิตย์ ลูกน้องจะรู้ว่าหัวหน้าของตนนั้นเป็นคนประเภทอะไร”

Ø  “พนักงานทุกองค์กรให้อภัยกับหัวหน้าที่อาจจะไม่เก่งมาก พูดจากิริยาไม่สง่างามมากนักได้ แต่ไม่สามารถให้อภัยหัวหน้าที่ไม่มี Intetrity ได้ หรือพวกปากกับใจไม่ตรงกัน ชอบสร้างภาพ ชอบหลอกคนอื่น ชอบ    โปรโมทคนที่ไม่ควรจะขึ้นมาให้ขึ้นมามีอำนาจ หรือรักตัวเองมากกว่าองค์กร

Ø  “ถ้าอยากรู้ว่าควรเลือกคนไหนเป็นหัวหน้าหรือเขาเหมาะสมกับการเป็นหัวหน้าไหม ให้คุณลองหลับตา แล้วถามจากใจจริงของคุณว่า ถ้าคุณมีลูกชายลูกสาว คุณอยากให้พวกเขาทำงานกับคนประเภทนี้หรือไม่”

Ø  “หัวหน้าจะเก่งและมีคุณธรรมไม่พอ แต่คุณธรรมต้องสูงกว่าความเก่ง”

2.       ผู้บริหารคุณต้องมีผลงานก่อนมาเป็นผู้นำ คือคุณต้องสามารถชี้นำลูกน้องได้ สามารถแก้ไขปัญหาให้ลูกน้องได้ คุณต้องรู้แจ้งแทงตลอด คือ คุณต้องเก่งจนทุกคนยอมรับและเมื่อทุกคนนึกถึงคุณต้องบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าคุณสามารถทำได้ No Question No Ask คุณต้องสามารถทำ Team Work ได้ต้องให้ความชัดเจน และคาดหวังต่องานของลูกน้องคุณทุกคน เพื่อให้เขารู้ถึงความสำคัญต่อหน้าที่ตัวเองและได้รับความไว้วางใจ

Ø  “ผู้นำที่ดี คือผู้นำที่ไม่ได้นั่งจับผิด ถ้าเป็นแบบนั้น นั่นคือผู้นำที่ประสาทแล้ว ควรเป็นผู้นำที่เข้าไปชี้ทางให้แก่ลูกน้อง เข้าไปช่วย เข้าไปTrian มันดีกว่า ผู้นำที่ชอบนั่งจับผิดไปวันๆ หรือนึกว่าตัวเองเก่งเพียงคนเดียว

Ø  “ผมไม่สนว่าคุณจะทำงานเช้าจดเย็น ผมสนใจว่าคุณมีผลงานไหม”

Ø  “การทำงานต้องทำในทิศทางเดียวกับเป้าหมาย”

3.       เวลา ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร จัดความสำคัญก่อนหลังของหน้าที่ เช่น งานไม่เร่งด่วน แต่สำคัญนั้น ต้องเสร็จก่อน

Ø  “อย่าทำงานวันนึง 20-30 อย่าง แต่จงทำสิ่งที่สำคัญให้ก่อดอกออกผล คุณควรทำสิ่งที่ต้องทำ”


4.       การใช้จุดแข็ง การเห็นอกเห็นใจเข้าใจผู้อื่น คนที่เป็นผู้นำควรมีและควรมองความสามารถและใช้ให้เกิดประโยชน์แก่งานในองค์กร 1.มีสติรู้ตัว 2.มีควบคุมตัวเอง 3.มีความอดทนอดกลั้น 4.มีความเข้าใจผู้อื่น 5.มีความเป็นผู้นำสามารถละลายความขัดแย้งได้

Ø  “การใช้จุดแข็งของผู้ร่วมงานเพื่อสร้าง team work งานหลายงานที่ไม่ประสงค์ผลสำเร็จ ไม่ใช่ว่าเราขาดยุทธ์ศาสตร์สำคัญในการทำงาน แต่เราขาดคนที่เหมาะสมที่จะนำไปปฏิบัติมากกว่า

MBO ย่อมาจากอะไร

การบริหารงานตามวัตถุประสงค์ (Management by Objectives) ซึ่งมีชื่อย่อเรียกว่า MBO เป็นแนวความคิดทางการบริหารอีกรูปหนึ่ง ซึ่งได้รับความสนใจจากวงการบริหารเป็นอย่าง มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา โดยใช้ชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น การบริหารโดย มุ่งต่อผลงาน (Management by Results) การบริหารงานตามเป้าหมาย (Goals ...

การบริหารแบบ MBO คืออะไร

MBO นั้นย่อมาจาก Management by Objective หรือ การบริหารงานตามวัตถุประสงค์ หรือบางครั้งก็เรียกว่า การบริหารงานโดยกำหนดเป้าหมาย โดยที่ MBO นั้นจะมีการกำหนด “วัตถุประสงค์” หรือ “เป้าหมาย” ร่วมกันระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา โดยเป็นการเชื่อมหน้าที่ทางการบริหารงานระหว่างการวางแผนและการควบคุมการทำงานเข้าด้วยกัน ...

จงบอกประโยชน์ของ MBO มีอะไรบ้าง

ในการสำรวจเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้บริหารในเรื่อง MBO พบว่า MBO มีข้อดีสำคัญดังต่อไปนี้ คือ 1. MBO ทำให้บุคคลต่างๆ รู้ว่าพวกเขาถูกคาดหวังให้ทำอะไรบ้าง 2. MBO ช่วยให้การวางแผน โดยผู้บริหารต้องกำหนดเป้าหมายและระยะเวลา ของเป้าหมาย ดีขึ้น 3. MBO ปรับปรุงการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริหารและผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาให้

ขั้นตอนแรกของกระบวนการบริหารโดยวัตถุประสงค์ คืออะไร

ขั้นตอนความสำเร็จในการบริหารโดยวัตถุประสงค์ 1. กำหนดวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาที่จะได้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด 2. การทบทวน การประชุมอภิปราย เพื่อหาข้อสรุปตกลงร่วมกันเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจตรงกันและเป็นที่ยอมรับก่อนลงมือปฏิบัติ