เจ้าหน้าที่จป.วิชาชีพ คืออะไร

จป.วิชาชีพ ย่อมาจาก เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานวิชาชีพ (Safety Officer) ซึ่งมีหน้าที่ในการคอยดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน และให้ปฏิบัติไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยเป็นตำแหน่งที่กฎหมายได้กำหนดบังคับให้นายจ้างต้องมี ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ, การไฟฟ้า, การประปา, โรงแรม, โรงพยาบาล, งานเหมืองแร่และถ่านหิน, ห้างสรรพสินค้า, สถาบันการเงิน เป็นต้น

————– advertisements ————–

จป.วิชาชีพ จัดเป็นตำแหน่งที่มีบทบาทและหน้าที่อันสำคัญภายในองค์กรหรือสถานประกอบการตำแหน่งหนึ่งที่จะคอยตรวจตราและวางแผนให้เกิดความปลดภัยภายในสถานประกอบการมากที่สุด ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการทำงานอันราบรื่นและมีประสิทธิภาพ สร้างความปลอดภัยให้แก่การทำงานแก่ลูกจ้างทุกคนภายในสถานประกอบการ

บทบาทหน้าที่ จป วิชาชีพ ตามกฎหมายใหม่ กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565 มีอะไรบ้าง

ข้อ 20 นายจ้างของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 ที่มีลูกจ้างจำนวน 2 คนขึ้นไปและสถานประกอบกิจการตามบัญชี 2 ที่มีลูกจ้างจำนวน 100 คนขึ้นไป ต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 21 อย่างน้อย 1 คน เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ประจำสถานประกอบกิจการ ทั้งนี้ ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่มีลูกจ้างครบจำนวน ดังกล่าว

จป วิชาชีพ มีหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน หน้า 16 เล่ม 139 ตอนที่ 39 ราชกิจจานุเบกษา 17 มิถุนายน 2565
  2. วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงาน อย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
  3. ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  4. วิเคราะห์แผนงานหรือโครงการ ข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆ และเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง
  5. ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงานโครงการหรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน
  6. แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
  7. แนะนำ ฝึกสอนและอบรมลูกจ้าง เพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน
  8. ตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงานหรือดำเนินการ ร่วมกับบุคคลหรือนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนหรือได้รับใบอนุญาตตามกฎหมาย ว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
  9. เสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
  10. ตรวจสอบหาสาเหตุและวิเคราะห์การประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุ เดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างและรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
  11. รวบรวมสถิติวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างเสนอต่อนายจ้าง
  12. ให้ความรู้และอบรมด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแก่ลูกจ้างก่อนเข้าทำงานและระหว่างทำงาน เพื่อทบทวนความรู้อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
  13. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง : กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565 

1. ตรวจสอบ และเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติการตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

2. วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย รวมทั้งกำหนดมาตรการป้องกัน หรือขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง

3. ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงาน

4. วิเคราะห์แผนงานโครงการ รวมทั้งข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆ และเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง

5. ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน

6. แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือตามข้อ 3

7. แนะนำ ฝึกสอน อบรมลูกจ้างเพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดความ ไม่ปลอดภัยในการทำงาน

8. ตรวจวัด และประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือดำเนินการร่วมกับบุคคล หรือหน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้รับรอง หรือตรวจสอบเอกสารหลักฐาน รายงานในการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทำงานภายในสถานประกอบกิจการ

9. เสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

10. ตรวจสอบสาเหตุ และวิเคราะห์การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า

11. รวบรวมสถิติ วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำรายงาน และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง

จป คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานวิชาชีพ ซึ่งแต่ละส่วนแต่ละฝ่ายนั้นจะต้องมีการแยกสัดส่วนกันอย่างชัดเจน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว จะมีการแบ่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ออกเป็น 5 ระดับคือ

1  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับบริหาร

2  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับหัวหน้างาน

3  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับเทคนิค

4  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับเทคนิคขั้นสูง

5  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับวิชาชีพ

ซึ่งแต่ละส่วนนั้นจะมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่แตกต่างกันไป โดยจะมีการแบ่งไปทางสาขาอาชีพที่ได้ร่ำเรียนและได้เรียนรู้กันมา แต่ละสาขานั้นจะมีการทดสอบและมีการปรับระดับเรียนรู้ของตัวเองอยู่เสมอ ในหน่วยงานใหญ่และอุตสาหกรรมใหญ่จำเป็นอย่างมากที่ต้องมีการเรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้ แต่สิ่งที่เราจะมองเห็นได้อย่างชัดเจนและสามารถสังเกตได้ง่ายก็คือในเรื่องของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยโดยทั่วไป หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ รปภ ซึ่งแต่ละหน้าที่งานก็จะมีความชัดเจนในงานที่ทำ

หน้าที่และขอบเขตการทำงาน ของ จป โดยหลักแล้วจะมีหน้าที่ประมาณ 10 ขั้นตอนได้แก่

1  ทำการตรวจและแนะนำให้กับนายจ้าง ปฏิบัติตามกฎหมายให้สอดคล้องถูกต้องกับความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน

2 วิเคราะห์การทำงานมองถึงจุดเด่นและจุดด้อยในการทำงาน กำหนดมาตรฐานในการทำงาน ป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดเสนอต่อผู้ว่าจ้าง

3  วิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของระบบไฟฟ้า น้ำประปา อาคารสถานที่ทุกอย่างจะต้องทำงานประเมินอย่างละเอียดถี่ถ้วนทั้งหมด

 4 นำเสนอแผนและโครงการ ในเรื่องของความปลอดภัย และผลกระทบที่จะตามมาแบบครบวงจรให้กับนายจ้างทั้งหมด

 5 ทำการตรวจและประเมินสถานที่ประกอบการ สถานที่ทำงาน ประเมินความปลอดภัย และความเสี่ยงในส่วนต่าง ๆอย่างชัดเจน

6 อบรมความปลอดภัยเจ้าหน้าที่ และพนักงานในบริษัททุกแผนก และทุกตำแหน่งถึงการดูแลความปลอดภัย และการป้องกันอันตรายจากสิ่งที่จะเกิดขึ้น 

7 ร่วมตรวจประเมินสถานที่ทำงาน ทั้งเรื่องของสภาพแวดล้อมและสถานที่ทำงาน พร้อมทั้งเอกสารในการดูแลความปลอดภัยทั้งหมด

 8  ทำการพัฒนาความปลอดภัยในหน่วยงานให้ได้รับมาตรฐาน 

 9  เมื่อเกิดเหตุการณ์ หรือเกิดอันตรายต่าง ๆ หน่วยงานต้องรีบทำการประเมินและเสนอกับหน่วยงานเพื่อแก้ไขไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ ลดความเสี่ยง ลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด

 10  รวบรวมสถิติและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ส่งให้กับนายจ้าง ประเมินถึงการวางแผน ระบบความปลอดภัยให้มั่นคงและแม่นยำมากยิ่งขึ้นลดอัตราสูญเสีย ขับรถพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่อันตรายให้ได้มากที่สุด

สำหรับหน่วยงานใหญ่ที่กำลังมองหาในเรื่องของ จป ควรต้องรีบทำระบบความปลอดภัยให้สำคัญที่สุด เพราะปัจจุบันนี้นอกจากเรื่องของการทำงานที่ถือว่าเป็นหัวใจหลักในการสร้างกำไรให้กับบริษัท สิ่งรอบตัวที่ต้องเรียนรู้และจะต้องมีผลกระทบกับบุคลากรในที่ทำงาน สภาพแวดล้อมหรือสังคมโดยรอบก็ถือว่าเป็นปัจจัยหลักด้วยเช่นกัน การทำทุกอย่างให้อยู่ในมาตรฐานสากล สามารถที่จะทำงานรองรับทุกสิ่งอย่างได้อย่างไม่มีข้อติดขัด เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับบริษัทและตัวขององค์กรได้เป็นอย่างดี ความมีมาตรฐานตรงนี้จะเป็นประตูเปิดทางให้ประสบความสำเร็จในการขยายบริษัทและสร้างกำไรให้กับตัวเองได้อย่างงดงาม

ความปลอดภัยไม่ใช่เป็นเพียงความรับผิดชอบดูแลของ จป หัวหน้างาน หรือเป็นหน้าที่ของจป บริหาร บุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น จะต้องเป็นการร่วมมือกันทั้งองค์กรไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ผู้บริหารลงมาถึงแม่บ้านทั้งหมด จะต้องมีความเข้าใจในส่วนต่าง ๆ ให้ได้เป็นอย่างดี การทำงานทุกอย่าง ในลักษณะต่อเนื่องอย่างนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสิ่งที่จะพัฒนาองค์กรไปได้พร้อมกัน นอกจากหน้าที่เจ้าหน้าที่จะทำการอบรมเลี้ยงดูให้กับทุกคนในหน่วยงานแล้ว สำหรับพนักงานทุกคนก็จำเป็นที่จะต้องศึกษาและเรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้ เพื่อจะปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ด้วยเช่นกัน

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ ต้องจบอะไร

ตามกฎหมายได้กำหนดไว้ว่าจป.วิชาชีพต้องมีคุณสมบัติเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า (ซึ่งปัจจุบันมี

ข้อใดคือคุณสมบัติ ของผู้ที่จะเป็น จป.ระดับวิชาชีพได้

(1) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า (2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และได้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และผ่านการอบรมและทดสอบตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนดจากหน่วยงานที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรับรอง

จป.ว ย่อมาจากอะไร

จป.ว คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับวิชาชีพ จป.ท คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับเทคนิคชั้นสูง

ผู้ช่วย จป.ทำอะไรบ้าง

1.ควบคุมดูแลความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานในโครงการ 2.จัดเตรียมอุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคล ป้ายสัญลักษณ์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยให้เพียงพอ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน