บทบาท พยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

หลักการของ Palliative care คือการบูรณาการแนวทางการดูแลประคับประคองผู้ป่วย ตั้งแต่อาการของโรคเริ่มรุนแรงมากขึ้น และลุกลามจนไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้อีกต่อไป แพทย์จึงนำวิธีการดูแลรักษาตามอาการจนผู้ป่วยเข้าสู่ระยะสุดท้ายมาปฏิบัติ ซึ่งวิธีการดูแลประคับประคองผู้ป่วย เป็นหลักการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม มุ่งเน้นเพื่อจัดการและลดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ดังนั้นพยาบาลหรือผู้ที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจึงเป็นบุคคลสำคัญที่มีบทบาทพยาบาลที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่สุด ต้องเป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ประสานงานทั้งแพทย์ ผู้ป่วย และครอบครัวเข้าด้วยกัน

  1. สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ป่วยและครอบครัวไว้วางใจ

การสร้างสัมพันธภาพที่ดีและความเชื่อมั่นในการรักษาพยาบาลให้ผู้ป่วยและครอบครัวไว้วางใจ เป็นหลักการสำคัญที่จะช่วยให้กระบวนการ Palliative care ง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะทั้งตัวผู้ป่วยและครอบครัวจะไว้วางใจ มอบหมายหน้าที่ให้พยาบาลสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่ มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะไม่รู้สึกว้าเหว่ หวาดกลัว และแบกรับความเจ็บปวดเพียงลำพัง

  1. ดูแลประคับประคองคลายความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย

ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่รู้สึกเจ็บปวด แพทย์และพยาบาลจะดูแลประคับประคองและบรรเทาอาการของผู้ป่วย ด้วยการเริ่มใช้ยากลุ่ม non-opioid และยาเสริมระงับปวดที่ไม่รุนแรง ไม่เสพติด และมีภาวะแทรกซ้อนน้อย หากอาการปวดไม่บรรเทาลง แพทย์จะพิจารณาสั่งยากลุ่ม weak opioid ร่วมกับยาเสริม และถ้าสุดท้ายแล้วอาการปวดยังคงอยู่ ยากลุ่ม strong opioid ร่วมกับยาเสริมก็จะถูกนำมาพิจารณา ซึ่งจะช่วยคลายความเจ็บปวดให้กับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี

  1. บูรณาการดูแลประคับประคองผู้ป่วยโรคเรื้อรังพร้อมกับการรักษาที่ถูกต้อง

ผู้ป่วยระยะสุดท้ายบางรายจะมีอาการแทรกซ้อนและโรคเรื้อรังร่วมด้วย วิธีการบูรณาการดูแลประคับประคองและรักษาโรคเรื้อรังพร้อมกับการรักษาที่ถูกต้อง จะเป็นวิธีการที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับสภาวะของโรค และสามารถรับมือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ดีขึ้น โดยพยาบาลจะต้องมีความรู้ในการดูแลโรคของผู้ป่วยเป็นอย่างดี สามารถจัดการอาการผิดปกติทางกายและใจของผู้ป่วยได้

  1. ดูแลประคับประคองผู้ป่วยแบบองค์รวม

การดูแลประคับประคองผู้ป่วยเฉพาะทางกาย แม้ว่าจะทำให้อาการของผู้ป่วยบรรเทาลงบ้าง แต่ก็ไม่อาจจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอยากใช้ชีวิตให้เต็มที่ได้ และเพื่อเป็นการใส่ใจถึงความรู้สึกของผู้ป่วย และครอบครัว กระบวนการรักษา Palliative care ผู้ป่วยแบบองค์รวม ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตใจ จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุด

  1. สนับสนุนให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ Palliative care

การลดความรู้สึกว้าเหว่ หวาดกลัว และความวิตกกังวลของผู้ป่วยและครอบครัวได้ดี คือการสนับสนุนให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ Palliative care ให้ครอบครัวได้มีส่วนร่วมตัดสินใจแก้ปัญหาเกี่ยวกับภาวะโรคของผู้ป่วยให้ลดน้อยลงหรือหมดไป เพราะครอบครัวเป็นบุคคลอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยดีที่สุดตั้งแต่ต้น ใช้หลักการดูแลประคับประคองที่ไม่เร่งความตายให้เร็วขึ้น หรือยืดระยะเวลาความตายออกไปให้ยาวนานยิ่งขึ้น เพียงรักษาตามอาการเท่านั้น

  1. เน้นดูแลประคับประคองโดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

Palliative care โดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เป็นหลักการที่ให้ความสำคัญและใส่ใจถึงความต้องการ ความจำเป็น ความปรารถนาของผู้ป่วย โดยพยาบาลจะต้องปรึกษาร่วมกันระหว่างแพทย์ ทีมสหสาขาวิชาชีพ ผู้ป่วย และครอบครัว เพื่อให้ผู้ป่วยตระหนักในคุณค่าชีวิต ให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าชีวิตมีความหมาย แม้ว่าเวลาจะเหลือน้อยก็ตาม มีความสุขในวาระสุดท้ายของชีวิต และใช้ชีวิตได้อย่างไม่กังวล

  1. ประสานงานร่วมกับระบบสนับสนุนทางด้านสุขภาพและสังคม

ไม่ว่าจะเป็นการดูแลประคับประคองผู้ป่วยที่บ้านหรือโรงพยาบาล พยาบาลจะต้องทำหน้าที่ประสานงานความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาล ครอบครัว ระบบสนับสนุนทางด้านสุขภาพและสังคมเมื่อมีความจำเป็น เชื่อมการดูแลที่โรงพยาบาลเข้าด้วยกัน และการดูแลประคับประคองผู้ป่วยหลังจากการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลไปพักฟื้นและรักษาอาการที่บ้าน คอยดูแลให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากที่สุดเท่าที่จะทำได้จนถึงวาระสุดท้าย

การดูแลประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นการดูแลที่ต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ ต้องใช้ความละเอียดอ่อนอย่างมาก หากครอบครัวใดที่มีผู้ป่วยระยะสุดท้ายและต้องการความช่วยเหลือจากทีมผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้โดยเฉพาะ อายุวัฒน์ เนอร์สซิ่งโฮม ศูนย์การแพทย์ผู้สูงอายุ ยินดีให้บริการ เรามีทีมแพทย์ พยาบาล บ้านพัก สิ่งอำนวยความสะดวก และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ครบครัน พร้อมให้การดูแลประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้าย ให้สามารถใช้ชีวิตในช่วงวาระสุดท้าย มีชีวิตอย่างมีความสุขอย่างเต็มที่ มาปรึกษาเราและมอบความรักที่มีค่าให้กับคนที่คุณรักกันเถอะ

3.4 Targeted Therapy จัดเป็นการรักษาวิธีใหม่ โดยใช้ยาหรือสารที่มีความจำเพาะเจาะจงกับเซลล์มะเร็งเท่านั้น เพื่อลดผลที่จะเกิดกับเซลล์ปกติ ซึ่งการใช้ Targeted therapy นี้ จะไม่มีผลข้างเคียงของไขกระดูกหรือเซลล์เม็ดเลือดดังเช่นในการใช้ยาเคมีบำบัด แต่ก็มีผลข้างเคียงที่อาจเป็น อันตรายได้เช่นกัน เช่น Sunitinub (ชื่อการค้า Sutent) ใช้ในโรคมะเร็งไต เป็นต้น

"ศรเพชร ศรสุพรรณ"  นักร้องลูกทุ่งระดับตำนานมีเส้นเสียงเหน่อ ๆ เจ้าของฉายา "หนุ่มนา เสียงเด็ด" เสียชีวิต อายุ 73 ปี หลังรักษาตัวอยู่ที่ รพ. ศิริราชนานกว่า 2 เดือน แพทย์ระบุสาเหตุภาวะช็อกจากการติดเชื้อ ไตวาย และเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ ท่ามกลางความเสียใของแฟน ๆ ญาตินำศพไปทำพิธีสวดที่ จ.สุพรรณบุรี เสร็จสิ้นพิธีพระราชทานเพลิงศพ ลูกชายนำกระดูกของพ่อกลับบ้าน บรรดาศิลปินนักร้องต่างโพสต์ร่วมไว้อาลัยกันเป็นจำนวนมาก  หลายคนคงคิดถึงผลงานของศรเพชร เจ้าของเพลงดัง ข้าวไม่มีขาย,ใจจำขาด,เสียน้ำตาที่คาเฟ่ ,คนสวยใจดำ ฯลฯ