ปัญหาสังคม เกิดขึ้น มากมาย ในปัจจุบัน มีสาเหตุ พื้นฐาน มาจาก ข้อ ใด

7.ปัญหาสังคมไทยและแนวทางการแก้ไข

                แม้ว่าสังคมจะมีความร่วมมือปรับเปลี่ยนและแก้ไข เพื่อให้ได้กลไกทางสังคมดำเนินไปอย่างราบรื่น แต่บางครั้งบางกรณีอาจเกิดปัญหาหรือข้อขัดแย้งขึ้นทั้งที่เป็นผลมาจากปัจจัยภายในและจากปัจจัยภายนอกของสังคม ซึ่งส่งผลให้การทำงานของกลไกทางสังคมไม่เป็นปกติและกลายเป็นปัญหาสังคมขึ้นมา

                พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2524 ได้ให้ความหมายของปัญหาสังคมว่า หมายถึง ภาวะใดๆ ในสังคมที่คนจำนวนมากถือว่าเป็นสิ่งผิดปกติ และไม่พึงปรารถนา รู้สึกไม่สบายใจ และต้องการให้มีการแก้ไขให้กลับคืนสู่สภาวะปกติ เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการทุจริตในวงราชการ ปัญหายาเสพติด เป็นต้น ปัญหาสังคมเป็นผลมาจากกระบวนการทางสังคม รวมถึงการประเมินพฤติกรรมของคนในสังคมด้วยมาตรฐานศีลธรรมในขณะนั้น

                จากคำจำกัดความดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ปัญหาหรือข้อขัดแย้งที่กระทบคนส่วนใหญ่ในสังคมเท่านั้นจึงจะถือว่าเป็นปัญหาสังคม แต่หากเป็นปัญหาของตัวบุคคลเพียงคนเดียว เช่นพี่ทะเลาะกับน้อง เพราะน้องไม่ยอมทำการบ้าน ครูลงโทษนักเรียน เพราะทำผิดกฎของโรงเรียน จะไม่ถือว่าเป็นปัญหาสังคม

                สังคมไทยก็เป็นเช่นเดียวกับสังคมอื่นๆ ทั่วโลกที่มีปัญหา เพราะทุกสังคมมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยพื้นฐานทำให้เกิดปัญหาสังคมได้ ปัญหาสังคมอาจมีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อสังคมในระดับและขอบเขตที่ต่างกัน เช่น ระดับขุมชน ระดับประเทศ และระดับโลก เป็นต้น

                อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะมีความรุนแรงและมีขอบเขตขนาดใด คนในสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต้องพยายามหาทางควบคุม เพื่อให้ความเป็นระเบียบเรียบร้อยกลับคืนมา ในที่นี้จะหยิบยกปัญหาสังคมบางประการมากล่าวถึงและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขเพื่อเป็นตัวอย่าง

                การศึกษากรณีปัญหาตัวอย่างดังนี้จะทำให้ผู้ร้องเรียนได้ตระหนักถึงความรุนแรงและผลกระทบของปัญหาสังคม เพื่อจะได้ร่วมกันหาหนทางป้องกันมิให้เกิดขึ้นอีก หรือหากเกิดขึ้นแล้วจะร่วมกันแก้ไขได้อย่างไร

7.1 ปัญหายาเสพติด          

                ยาเสพติดเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติที่นับวันจะเพิ่มความรุนแรงทุกขณะ ดังจะเห็นได้จากสถิติการจับกุมผู้กระทำความผิดเมื่อปี พ.ศ. 2545 จำนวน 265,540 ราย ต่อมาจำนวนคดีได้ลดลงเหลือ 74,254 รายในปี พ.ศ. 2547 แต่หลังจากนั้นคดียาเสพติดก็ได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2553 มีผู้กระทำผิดสูงถึง 266,010 ราย แต่มาในช่วงปี พ.ศ. 2554 – 2555 ปัญหายาเสพติดยังคงมีความรุนแรงอยู่แม้จำนวนคดีและผู้กระทำผิดจะมีน้อยลง โดยผู้กระทำความผิด 60,000 ราย แต่ปริมาณยาเสพติดที่สำคัญที่สามารถยึดได้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

ตามกฎหมายได้ให้ความหมายของยาเสพติดว่า หมายถึง ยา สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆที่เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยการรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือวิธีการใดก็ตามทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ

                สาเหตุของยาเสพติดมาจากความอยากรู้อยากลองของเด็กเอง และไม่ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องจากผู้ใหญ่ จึงหลงผิดไม่รู้ถึงโทษหรือผลลัพธ์ที่จะเกิดตามมา และสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งมาจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่ผลักดันให้คนหันไปหายาเสพติด เช่น ครอบครัวแตกยก ความทุกข์ที่เกิดจากความยากไร้ การไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหญ่ๆได้ ทำให้จิตใจอ่อนแอ เมื่อได้รับการชุกจูงให้เสพยาเสพติดเพื่อคลายทุกข์ก็หันเข้าหายากเสพติดทันที ในขรณะเดียวกันเหล่ามิจฉาชพที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวก็พยายามผลิตและจำนวนยาเสพติดด้วยกลวิธีหลอกล่อให้คนเสพยาโดยไม่คำนึงถึงโทษที่จะเกิดขึ้นกับคนในสังคม

                แนวทางการแก้ไขและปราบปรามปัญหายาเสพติดที่สำคัญ ดังนี้

                           1) นโยบายของรัฐบาล ด้านการปราบปรามปัญหายาเสพติด โดยการจับกุมทำลายแหล่งผลิตยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง และออกกฎหมายเพิ่มโทษผู้ผลิตและผู้ขายอย่างรุนแรง

                         2) สถานบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ดำเนินการเพื่อให้เลิกใช้สารเสพติด อนึ่งการบำบัดรักษาต้องได้ความความร่วมมือเป็นอย่างดี จากสถาบันศึกษา สถาบันทางศาสนาและสถาบันนันทนาการ ในการให้ความช่วยเหลือผู้ติดยาด้านเงินบริจาคกับสถานบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้สามรถออกเยี่ยมผู้ป่วย เพื่อให้กำลังใจแก่ผู้ติดยาได้อย่างสม่ำเสมอ

                         3) ความช่วยเหลือจากองค์กรเอกชน ปัจจุบันมีองค์กรเอกชนมากมายที่ให้ความช่วยเหลือผู้ติดยาให้สามารถ ลด ละ เลิกการใช้สารเสพติด เช่น สำนักงานสร้างเสริมสุขภาวะ (สสส.) เป็นต้น ในขณะเดียวกันได้มีการสนับสนุนให้สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สร้างภูมิคุ้มกันให้คนในครอบครัวและสังคม เป็นคนดีและเป็นที่รักของคนรอบข้าง รู้ผิดรู้ชอบ และสามารถช่วยแบ่งเบาความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นกับคนอื่นได้หากปัญหาชีวิต ซึ่งมาตรการเหล่านี้จะทำให้คนหลีกหนียาเสพติดได้

                ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาทางสังคมที่ก่อให้เกิดผลเสียกับทั้งสู้เสพเองและต่อสังคมส่วนรวม เพราะผู้ติดยาเสพติดอาจจะสร้างปัญหาสังคมรุนแรงตามมาได้ เช่น อาชญากรรม จี้ปล้น การจับตัวประกันเมื่อเกิดการคลุ้มคลั่ง การทำร้ายร่างกาย และการฆ่าตัวตาย เป็นต้น ดังนั้น ประชากรทุกคนจึงต้องร่วมมือกันด้วยพลังสามัคคีปกป้อง และแก้ไขให้สังคมไทยหลุดพ้นจากปัญหายาเสพติดโดยเร็วที่สุด

                7.2 ปัญหาสิ่งแวดล้อม

                ประเทศไทยและทั่วโลกกำลังเผชิญปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในขั้นรุนแรง และส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนทุกคน สิ่งแวดล้อมในที่นี้ หมายถึง สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ดิน น้ำ อากาศ ภูเขา และสิ่งแวดล้อมทางชีวิภาพ เช่น ป่าไม้ พืชพันทางธรรมชาติ สัตว์ป่า และสัตว์น้ำ เป็นต้น

                สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมมีอยู่ด้วยกันหลายประการแต่ที่สำคัญ คือ เกิดจากกระบวนการการผลิตโดยเฉพาะจากโรงงานอุตสาหกรรม การคมนาคมขนส่งก่อให้เกิดมลพิษ การพัฒนาประเทศ ก่อให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทั้งทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และภัยธรรมชาติ แต่ก็นับว่าน้อยมากถ้าเปรียบกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การถางป่าเพื่อใช้ดินในการเพาะปลูก การตัดต้นไม้ทำฟืนและถ่าน เพื่อใช้เป็นพลังงานในการหุงต้ม เป็นต้น

                สำหรับแนวทางการป้องกันและแก้ไขควรเริ่มที่ระดับบุคคลและครอบครัวซึ่งถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของสังคม โดยปลูกฝังความรู้ความเข้าใจให้ถูกต้อง เกี่ยวกับการสงวนรักษาสภาพแวดล้อมการใช้พลังงานทดแทน และการปลูกต้นไม้เพื่อทดแทนเป็นต้น รวมทั้งการหาแนวทางรณรงค์การรักษาสิ่งแวดล้อมต่อไปในระดับชุมชนและระดับประเทศ เพราะการให้ความรู้ความเข้าใจถือว่าเป็นแนวทางแรกที่จะแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุได้ดีที่สุด

7.3 ปัญหาการทุจริต

ปัญหาการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงคือคอรัปชั่นถือเป็นปัญหาที่สำคัญระดับชาติ จะเห็นได้ว่าการทุจริตมีตั้งแต่ในระดับสูงลงมาถึงระดับท้องถิ่น แม้ว่าจะมีการปราบปรามและรณรงค์ต่อต้านอยู่เนืองๆ แล้วก็ตาม
                สาเหตุสำคัญของการเกิดปัญหาทุจริตมาจากความต้องการบริโภคเกินความพอดี คือมีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย จึงหาช่องทางทุจริตนำเอาทรัพย์สินของคนอื่นและของทางราชการมาเป็นของตนเอง รวมทั้งกฎเกณฑ์และกฎศีลธรรมของคนในสังคมเสื่อมลง จึงทำผิดได้โดยไม่มีความละอายและเกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง
                แนวทางการแก้ปัญหาจึงเริ่มจากการปลูกฝังค่านิยมที่ดี โดยเฉพาะการปลูกฝังให้เห็นว่าประโยชน์ส่วนรวมเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด รวมทั้งต้องมีการรณรงค์ให้คนในสังคมรังเกียจการทุจริต เน้นความซื่อสัตย์ ภูมิใจในศักดิ์ศรีของตนเอง โดยต้องการปลูกฝังตั้งแต่ในวัยเด็ก ผ่านการอบรมสั่งสอนของบิดามารดา และการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ เพื่อให้ค่านิยมเหล่านี้ซึมอยู่ในจิตใจของคนไทยทุกคน
                นอกจากนี้ บทลงโทษทางสังคมก็จะต้องเข้มแข็งไม่ให้มีช่องโหว่ทางกฎหมายในการช่วยเหลือพวกพ้องให้พ้นผิด คนจะได้ไม่กล้าทุจริต และสังคมต้องให้การสนับสนุนด้วยการชี้เบาะแสผู้กระทำผิดให้กับองค์กร ก็จะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหานี้ให้ลดน้อยลงได้

7.4 ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและสังคม
               
ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและสังคมกำลังเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมาก เพราะปัญหาดังกล่าวนำไปสู่ปัญหาสังคมต่างๆ เช่น ปัญหาการหย่าร้าง ปัญหาการทารุณกรรมในครอบครัว ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ ปัญหาสิทธิเด็กและสตรี ปัญหาวัยรุ่น เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น และอาจเป็นแนวทางนำไปสู่ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด และการพนัน ต่อไปได้
                สาเหตุหลักๆ ของปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและสังคมนั้นมาจากการที่สังคมมีจำนวนสมาชิกหรือจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้คนในสังคมต้องแข่งขันกันในด้านต่างๆ จนเกิดความเครียด หรือสภาพสังคมที่เน้นวัตถุนิยม รวมทั้งการยับยั้งชั่งใจและการควบคุมอารมณ์ให้มีสติของคนในสังคมมีน้อยลง จึงทำให้หลายคนหันไปใช้กำลังและความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาต่างๆตนเองกำลังเผชิญอยู่

                แนวทางการแก้ไขปัญหาควรเริ่มจากการสร้างค่านิยมการให้เกียรติกันและกันในครอบครัว หันหน้าปรึกษาหารือกันทั้งทางด้านการเงิน การเรียน การดำเนินชีวิต และทางด้านจิตใจ สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้ครอบครัวมีความเอื้ออาทร ลดความรุนแงอย่างยั่งยืนได้ และต้องอาศัยความร่วมมือจากองค์กรช่วยเหลือต่างๆ เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในการเข้าไปรณรงค์และดูแลทำให้ปัญหาต่างๆ คลีคลายไปในทางที่ดี เช่น ส่งเสริมการสร้างครอบครัวใหม่ที่มีความเข้าใจกัน ส่งเสริมสิทธิสตรี ส่งเสริมการคุ้มครองเด็กและเยาวชน เป็นต้น
อนึ่ง การสร้างความสมานฉันท์ในสังคมจะเป็นทางออกที่ดีให้กับสังคมที่มีการแตกแยกด้านความคิดและใช้ความรุนแรงเข้าประหัตประหารกัน โดยเน้นการติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านทางการประชุม สัมมนา และการทำกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกัน รวมทั้งร่วมกันสร้างค่านิยมการยอมรับความแตกต่างด้านความคิดเห็นของบุคคลอื่น เพราะถ้าหากสังคมไร้ค่านิยมดังกล่าว สังคมก็จะมีแต่การทะเลาะเบาะแว้ง ปราศจากความสงบสุข และไม่อาจพัฒนาต่อไปได้
                นอกจากปัญหาสังคมที่ได้ยกตัวอย่างมาข้างต้น สังคมไทยยังมีปัญหาสังคมอีกมากมายที่มีความรุนแรงสูง เช่น ปัญหาโรคเอดส์ ปัญหาสุขภาพอนามัย ปัญหาคนว่างงาน ปัญหาคนชรา เป็นต้น ซึ่งทุกปัญหาต้องได้รับความร่วมมือจากสมาชิกของสังคมในการพิจารณาถึงสาเหตุของแต่ละปัญหา แนวทางป้องกัน และร่วมกันแก้ไขปัญหาก่อนที่จะลุกลามไปมากกว่าเดิม ทั้งนี้หากทุกคนทำหน้าที่ของตนอย่างสมบูรณ์โดยอยู่ในกรอบของกฎหมายและกฎเกณฑ์ทางสังคมก็ย่อมจะทำให้สังคมเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยได้อย่างแน่นอน

8.แนวทางการพัฒนาสังคม
                สังคมมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาด้วยอัตราที่เร็วบ้างช้าบ้าง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก่อให้เกิดผลดีมากมาย แต่ในขณะเดียวกันผลกระทบในทางลบก็เกิดขึ้นหลากหลายเช่นกันจนกลายเป็นปัญหาสังคมที่ต้องร่วมกันแก้ไข โดยในช่วงที่ผ่านาผลการพัฒนาสังคมของไทยนั้น ประสบความสำเร็จในหลายด้าน เช่น คนไทยมายุที่ยืนยาวขึ้น สามารถเข้าถึงหลักประกันศึกษาสูงขึ้น มีสาธารณูปโภคที่ดีครบครันแทบทุกหมู่บ้านทุกตำบลทั่วประเทศ
                แต่ความก้าวหน้าในเชิงคุณภาพยังไม่เป็นที่น่าพอใจ เช่น คุณภาพการศึกษาของเด็กไทยโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ด้อย กลุ่มแรงงานยังมีระดับการศึกษาต่ำ สุขอนามัยยังอยู่ในภาวะเสี่ยงจากการเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมอันไม่เหมาะสม ปัญหาด้านสุขภาพ ความมั่นคงและความปลอดภัยของคนและสังคมยังน่าวิตก สังคมยังมีการก่ออาชญากรรม ทำร้ายร่างกาย จนถึงอาชญากรรมข้ามชาติ และสถาบันครอบครัวมีแนวโน้มอ่อนแอลงทุกขณะ
                ด้วยเหตุนี้ทิศทางและกระบวนการพัฒนาสังคมจึงต้องเป็นไปในเชิงรุกควบคู่กับการแก้ไขปัญหาที่สั่งสมมานาน เพื่อให้การพัฒนาสังคมมีประสิทธิภาพ         ดังนั้น เป้าหมายของการพัฒนาสังคมในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่
10 (พ.. 2550 - 2554)จึงกำหนดให้ คนไทยเป็นคนดี มีคุณภาพ มีความสุข อยู่ในสังคมที่เอื้ออาทร สันติ และเป็นธรรม โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาไว้ ดังนี้
               
1) ยกระดับคุณภาพคนไทย เข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ โดยการสร้างศักยภาพการเรียนรู้ ทักษาชีวิต สร้างภูมิคุ้มกัน สร้างจิตสาธารณะ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และให้มีสุขภาพดีทุกมิติ กล่าวคือ ใช้กระบวนการชุมชนเข้มแข็งในการเสริมสร้างสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดีในทุกกลุ่มอายุ สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างกำลังคนรุ่นใหม่ให้มีสมรรถนะทางวิชาชีพและทักษะ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศ
               
2) เตรียมความพร้อมสังคมไทยสู่สังคมผู้สูงอายุ จำนวนประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี ทั้งนี้เป็นเพราะความเจริญก้าวหน้าทางด้านการแพทย์ ดังนั้น จึงต้องร่วมกันสร้างเสริมความรับผิดชอบ การดูแลสุขภาพ สร้างหลักประกันด้านรายได้ สนับสนุนการใช้ความรู้ ประสบการณ์ และภูมิปัญญาของผู้สูงอายุให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
               
3) สร้างความมั่นคงทางสังคมแก่คนไทย โดยให้ทุกคนได้รับการคุ้มครองทางสังคม มีที่พักอาศัยที่มั่นคง มีความปลอดภัยในชุมชน และสร้างหลักประกันทางสังคมให้สามารถดำรงชีวิตและทำมาหากินได้อย่างปกติสุข เน้นบทบาทครอบครัวและชุมชนเป็นพื้นฐานสำคัญ
                        4)รักษาคุณค่าของสังคมไทย โดยการนำทุนทางสังคมหรือสิ่งดีๆ ที่มีอยู่แล้วในสังคมมาก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้วยทุนทางสังคมที่มีอยู่แล้ว สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐ์กิจให้ทุนทางวัฒนธรรม ด้วยการส่งเสริมให้ภาคเอกชนนำวัฒนธรรมไทยมาเป็นปัจจัยในการผลิตสินค้าและบริการ
                กล่าวได้ว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่
10 ให้ความสำคัญต่อการสร้างประชากรและชุมชนให้เข้มแข็ง เน้นการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม จัดการบริหารการพัฒนามีประสิทธิภาพ และจัดทำรากฐานทางสังคมที่เข้มแข็ง เช่น สร้างระบบพื้นฐานและจัดบริหารทางสังคมที่ดีมีคุณภาพ กฎระเบียบต้องมีประสิทธิภาพที่สอดคล้องกับความต้องการของคนทั้งในปัจจุบันและอนาคต
                กล่าวโดยสรุป การศึกษาสังคมมนุษย์นั้น จำเป็นต้องเรียนรู้ถึงโครงสร้างทางสังคมเพื่อให้สามารถมองเห็นลักษณะของระบบและสถาบันทางสังคมอย่างชัดเจน สามารถเข้าใจกลไกการจัดระเบียบทางสังคมที่ยึดโยงสังคมให้ธำรงอยู่และมีเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละสังคม โดยความสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคมจะอยู่ภายใต้โครงสร้างสังคมที่อาจเป็นไปได้ ทั้งในทางความร่วมมือสนับสนุนกันและกัน การแข่งขัน การขัดแย้ง การประนีประนอม หรือการเอาเปรียบกัน แต่ทั้งหมดก็จะต้องเป็นไปตามระเบียบแผนหรือแบบแผนหรืออยู่ในกรอบของสังคมนั้นๆ
                เมื่อสังคมมีสมาชิกใหม่ กระบวนการขัดเกลาทางสังคมก็จะบังเกิดขึ้น เพื่อให้สมาชิกใหม่ได้เรียนรู้คุณธรรม คุณค่า และอุดมคติที่สังคมยึดมั่น และได้เรียนรู้บรรทัดฐานและขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้ในสังคม ซึ่งจะทำให้ผู้นั้นเป็นสมาชิกของสังคมได้อย่างสมบูรณ์ การขัดเกลาทางสังคมอาจเป็นไปในทางตรง เช่น สอนพูด สอนมารยาท และทางอ้อม เช่น ผ่านสื่อต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต และการอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม
                นอกจากนี้ สังคมทั้งหลายมิได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและตามแรงกระตุ้นต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทำให้โครงสร้างและการจัดระเบียบทางสังคมต้องปรับเปลี่ยนไปตามกระแส ทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งผลกระทบในทางลบที่เกิดขึ้นอาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมา ดังนั้น ประชาชนทุกคนต้องร่วมกันแก้ไขและสร้างแนวทางในการพัฒนาสังคม เพื่อให้โครงสร้างและการจัดระเบียบทางสังคมปรับเปลี่ยนตามบริบทที่อยู่บนรากฐานของความเป็นไทยอย่างแท้จริง

วัฒนธรรมไทย

1.ความหมาย ความสำคัญ และประเภทของวัฒนธรรม

   1.1ความหมายของวัฒนธรรม
            โดยปกติ คำว่า วัฒนธรรมมีความหมายสองทาง คือ วัฒนธรรมหมายถึง ธรรมที่เป็นเหตุให้เจริญ เป็นความหมายที่มาจากคำสองคำ คือ วัฒนกับ ธรรมคำว่าวัฒน หรือ พัฒน หมายถึง ความเจริญ ส่วนคำว่าธรรม หมายถึง คุณความดี ความชอบ ดังนั้น วัฒนธรรมจึงหมายถึงธรรมแห่งความเจริญ อีกความหมาย คือ วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่ไม่มีอยู่เองตามธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่สังคมหรือคนส่วนรวมมีความต้องการและจำเป็นที่ต้องผลิตหรือสร้างให้เกิดขึ้น แล้วถ่ายอดให้อนุขนรุ่นหลังด้วยการสั่งสอนและเรียนรู้สืบๆ ต่อกันจนมากลายเป็นประเพณี

วัฒนธรรมนความหมายแรกเป็นความหมายสามัญที่คนทั่วไปใช่กันในความหมายของพฤติกรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม เป็นสิ่งที่ได้รับการปรุงแต่งให้ดีหรือสิ่งที่ได้รับการยกย่องมาเป็นเวลานานแล้ว เพราะได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นรูปลักษณะที่สูงเด่น เช่น ขนบธรรมเนียม ประเพณีที่สำคัญ ภูมิปัญญา ค่านิยมที่ผู้คนยกย่อง กิริยามารยาทในสังคม สถาปัตยกรรม ภาษา และวรรณคดี เป็นต้น โดยวัฒนธรรมดังกล่าวจำเป็นต้องร่วมกันอนุรักษ์และสงวนรักษาไว้ เพื่อให้เป็นมรดกของสังคมสืบไป
                วัฒนธรรมในความหมายที่สองเป็นความหมายที่นักสังคมวิทยาหรือนักสังคมศาสตร์ได้ให้ไว้โดยกำหนดให้ความหมายครอบคลุมกิจกรรมที่กว้างขวางกว่า กล่าวคือ วัฒนธรรมเป็นทุกสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น ภาษา ศิลปะ กฎหมาย ศาสนา การปกครอง อุปกรณ์ที่เป็นวัตถุหรือสิ่งประดิษฐ์ เป็นต้น ซึ่งแสดงรูปแบบแห่งสัมฤทธิผลทางวัฒนธรรมและทำให้เป็นลักษณะ วัฒนธรรมทางปัญญา สามารถใช้สอยได้ เช่น เครื่องจักรกล เครื่องมือสื่อสาร ศิลปวัตถุ เป็นต้น
                ดังนั้น วัฒนธรรมจึงเป็นทุกสิ่งที่เรียนรู้และรับการถ่ายทอดมาจากการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างกัน กล่าวอีกนัยคือ เป็นแบบอย่างของพฤติกรรมทั้งหลายที่ได้มาทางสังคมและถ่ายทอดกันไปทางสังคม โดยอาศัยสัญลักษณ์ วัฒนธรรมจึงเป็นลักษณะเด่นและเป็นสากลสำหรับสังคมมนุษย์ ที่ไม่มีในสิ่งมีชีวิตอื่นนอกจากมนุษย์

1.2 ความสำคัญของวัฒนะธรรม
                ดังที่ได้กล่าวในตอนต้นแล้วว่า วัฒนธรรม คือ ทุกสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อใช้ตอบสนองความต้องการ คำกล่าวนี้เป็นคำกล่าวที่จะครอบคลุมลักษณะ ประเภท และความสำคัญของวัฒนธรรมไปพร้อมๆกัน จึงอาจจะเป็นการยากในการมองภาพวัฒนธรรมในแง่คุณประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม
                ดังนั้น ขอกล่าวถึงความสำคัญของวัฒนธรรมไว้เป็นข้อๆ ดังนี้

1) เพื่อใช้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต กล่าวคือ
                     
1.1 เป็นเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการดำรงชีวิต ในแง่นี้วัฒนธรรมเป็นอุดมการณ์ ค่านิยม ทัศนคติ และจุดหมายปลายทางของชีวิต ที่คนในสังคมประสงค์ที่จะดำเนินชีวิตให้บรรลุผลที่ตั้งไว้ เพราะวัฒนธรรมจะเป็นตัวแบบที่กำหนดว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ดีงามเหมาะสมเป็นสิ่งที่ปรารถนาจะให้บังเกิดขึ้น ซึ่งจะกลายเป็นจุดหมายที่บุคคลพึงบรรลุถึง และยังเป็นสิ่งเหมาะสมในการใช้นำทางในการดำเนินชีวิต
               
1.2) เป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมของมนุษย์ โดยผ่านทางกระบวนการขัดเกลาทางสังคม เพื่อให้เรียนรู้ระเบียบทางสังคม สถานภาพแบะบทบาท สถาบันและโครงสร้างทางสังคม
                1.3) เป็นตัวควบคุมสังคม การควบคุมทางสังคมเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นตัวกำหนดเฉพาะเจาะจงถึงการแสดงออกของบุคคลในสังคม หรือที่เรียกว่า บรรทัดฐานทางสังคมซึ่งกำหนดแนวทางความประพฤติของคนในสังคมไว้
               
1.4) เป็นสิ่งของเครื่องใช้ทุกประเภท ในแง่นี้เป็นวัฒนธรรมที่เป็นวัตถุ เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกายและจิตใจ เช่น อาหาร เสื้อผ้า บ้านเรือน ยารักษาโรค ศิลปกรรม ภาพวาด เครื่องจักร คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

2) วัฒนธรรมทำหน้าที่หล่อหลอมบุคลิกภาพให้กับสมาชิกของสังคม
ให้มีลักษณะเป็นแบบใดแบบหนึ่ง แม้ว่าบุคลิกภาพจะเป็นผลมาจากปัจจัยทางชีวภาพบางส่วนก็ตาม แต่การอาศัยอยู่ร่วมกับคนอื่นภายใต้กฎระเบียบสังคมเดียวกัน ทำให้คนมีบุคลิกภาพโน้มเอียงไปกับกลุ่มที่อาศัยอยู่ร่วมกันได้ เช่น เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่เป็นโจร จะมีบุคลิกภาพแตกต่างจากเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่ประกอบอาชีพสุจริต บุคลิกภาพดังกล่าวจะแสดงออกในรูปของนามธรรม เช่น ความเชื่อ ความสนใจ ทัศนคติ ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และสิ่งที่มองเห็น เช่น การแต่งกาย กิริยาท่าทาง เป็นต้น

3) วัฒนธรรมก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ก่อให้เกิดความเป็นปึกแผ่น ถ้าหากสมาชิกของสังคมมีลักษณะคล้ายคลึงกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ก็จะก่อให้เกิดความผูกพัน สามารถพึ่งพาอาศัยกันและกัน มีจิตสำนึกรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน ตลอดจนร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมของตนให้อยู่รอดและพัฒนาก้าวหน้าต่อไปได้
                ดังนั้น จะเห็นได้ว่ามนุษย์กับวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เพราะต้องอยู่ควบคู่กันไป วัฒนธรรมจะเป็นสิ่งที่ตอบสนองและสร้างเสริมให้มนุษย์อยู่ในสังคมอย่างเป็นปกติสุข

1.3 ประเภทของวัฒนธรรม
นักวิชาการแบ่งวัฒนธรรมออกเป็นประเภทต่างๆ ตามเป้าหมายและลักษณะ ดังนี้
                       1) การจัดประเภทตามลักษณะที่มองเห็นหรือสัมผัสได้ แบ่งออกเป็น
                             1.1) วัฒนธรรมทางวัตถุ เป็นวัฒนธรรมที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่น หนังสือ แว่นตา รถยนต์ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
                             
1.2) วัฒนธรรมทางอวัตถุ เป็นวัฒนธรรมที่มองไม่เห็น หรือเป็นมโนภาพ เช่น ค่านิยม มารยาท ปรัชญา บรรทัดฐาน สถาบันทางสังคม ความเชื่อ เป็นต้น
               
      

       2) การจัดประเภทตามเนื้อหา การจัดประเภทของวัฒนธรรมตามเนื้อหา แบ่งออกเป็น
                              2.1) คติธรรม ได้แก่ วัฒนธรรมทางศีลธรรมและทางจิตใจ อันเป็นคติหรือหลักการดำเนินชีวิต เช่น ความเมตตากรุณา ความกตัญญูกตเวที เป็นตอน
                              
2.2) วัตถุธรรม ได้แก่ วัฒนธรรมทางกฎหมาย หรือกฎศีลธรรมต่างๆ ตามขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีที่มีความสำคัญเสมอด้วยกฎหมาย กล่าวคือ บางอย่างแม้ไม่มีกฎหมายห้าม แต่ถ้ามีใครปฏิบัติเป็นที่รังเกียจ เป็นที่อับอายขายหน้า เพราะถือกันว่าไม่ดีไม่เหมาะสม หรือที่เราเรียกว่า จารีตนั่นเอง
                             
2.3) สหธรรม ได้แก่ วัฒนธรรมทางสังคม เป็นวัฒนธรรมในการติดต่อเกี่ยวกับคนอื่นในสังคม เช่น มารยาทในการเข้าหาผู้ใหญ่ มารยาทในโต๊ะอาหาร มารยาทในการเข้าสังคม เป็นต้น