การใช้เทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรม

เป็นโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เข้ามาบริหารประเทศบนวิสัยทัศน์ที่ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตัวแทนหัวจักรสำคัญภาคเอกชนที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมสู่ควมเป็น 4.0 พร้อมกันไปด้วย วัตถุประสงค์ในการผลักดันประเทศไทย 4.0 คือ การพยายามให้ประชาชนหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางเพื่อก้าวไปสู่ประเทศพัฒนาแล้ว ณ ปัจจุบันเรายังอยู่ในยุคประเทศไทย 2.0-3.0 ซึ่งเป็นยุคอุตสาหกรรมไทยส่งขายทั่วทิศ โดยสร้างอุตสาหกรรมต้นน้ำจากการนำทรัพยากรภายในประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทำให้ไทยขยับตัวเป็นฐานการผลิตในหลายอุตสาหกรรมและส่งออกไปหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ไฟฟ้าอิเล็คทรอนิกส์และอาหาร แต่เศรษฐกิจของประเทศเริ่มชะลอตัวลง ตั้งแต่ประเทศจีนมีนโยบายเปิดประเทศ ทำให้จีนกลายเป็นฐานการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ขนาดมหึมา เฉพาะแค่ภายในประเทศก็มีตลาดขนาดใหญ่มากอยู่แล้วยังมีการส่งออกสินค้าราคาต่ำสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมทั่วโลก ซึ่งผู้ประกอบการไทยไม่สามารถแข่งขันด้านต้นทุนได้ ประกอบกับไทยมีปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงาน ทำให้เราไม่สามารถแข่งขันด้วยวิธีแบบเดิมได้อีกต่อไป จึงจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์โดย มุ่งสู่ยุคประเทศไทย 4.0 ที่ตนให้ชื่อว่า “ยุคพัฒนาเศรษฐกิจให้เรืองรองด้วยสมองของคนไทย” เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าและบริการ

ช่วยในกระบวนการการผลิตสารสนเทศ ให้ทำได้อย่างรวดเร็ว ไม่เสียเวลามาก และผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ ผิดพลาดน้อย

  • ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปแบบที่สามารถเรียกใช้ได้ตลอดเวลา สามารถเข้าถึงสารสนเทศ (Access) ที่จัดเก็บไว้ได้อย่างสะดวก

    วิถีชีวิตของเทคโนโลยีเริ่มมีบทบาทต่อผู้คนมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยความก้าวหน้า รวดเร็ว และเที่ยงตรง ทำให้เทคโลยีที่มีหลากหลายเริ่มเป็นที่น่าจับตามมองที่จะพลิกโฉมอุตสาหกรรมและธุรกิจในอนาคต


    การใช้เทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรม


    วิถีชีวิตของเทคโนโลยีเริ่มมีบทบาทต่อผู้คนมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยความก้าวหน้า รวดเร็ว และเที่ยงตรง ทำให้เทคโลยีที่มีหลากหลายเริ่มเป็นที่น่าจับตามมองที่จะพลิกโฉมอุตสาหกรรมและธุรกิจในอนาคต ผลการสำรวจผลจาก Tech Breakthroughs Megatrend ซึ่งทำการสำรวจรูปแบบเทคโนโลยีกว่า 150 แบบทั่วโลกจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เพื่อค้นหาเทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาทในการพลิกโลกเข้าสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีในอนาคตอีก 3-7 ปีข้างหน้า



    อันดับ 1 ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI)
    Aiเรียกง่ายๆก็คือคอมพิวเตอร์ที่สามารถคิดและวิเคราะห์สิ่งต่างๆด้วยเหตุและผล จนสามารถตอบโต้การสนทนาได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนั้นยังสามารถเรียนรู้และจดจำสิ่งที่ผ่านมาเป็นบทเรียนได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ถูกแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบเพราะการนำไปใช้งานของแต่ละองค์กรนั้นแตกต่างกัน  ซึ่งแน่นอนว่าการบริการที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นเป็นเพียงบางส่วนของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เท่านั้น แต่ในอนาคต ความก้าวหน้าและผลสำเร็จของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จะช่วยให้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของโลกอินเทอร์เน็ตถูกนำมาใช้ประโยชน์มากกว่าในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังสามารถช่วยเหลือมนุษย์ได้ทุกเรื่องจากการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งมนุษย์ไม่มีวันทำได้ แต่ถึงกระนั้นความกังวลใจเกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์เองได้อย่างอิสระของปัญญาประดิษฐ์ก็ถูกมองว่าอาจจะเป็นภัยต่อมนุษย์ เพราะกรอบจริยธรรม ความคิด หรือแม้กระทั่งการตอบสนองจะต้องถูกควบคุมอย่างดี เพื่อให้ปลอดภัยกับมนุษย์มากที่สุด ก่อนที่จะเริ่มการปฏิวัติวงการด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์นั่นเอง
     
    อันดับ 2 โลกกึ่งเสมือนจริง (Augmented Reality หรือ AR)
    AR เทคโนโลยีโลกกึ่งเสมือนจริง ด้วยรูปแบบการผสมผสานเทคโนโลยีการมองเห็นกับโลกของความเป็นจริงมาเป็นหนึ่งเดียว ด้วยการซ้อนเทคโนโลยีเข้ากับการมองของมนุษย์ปกติ ทำให้เกิดมุมมองใหม่ของการเรียกใช้เทคโนโลยีและจัดการระบบได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยปัจจุบันแม้ว่าจะยังเป็นแค่การทำงานอย่างง่าย ๆ เช่น การออกกำลังกายในลู่วิ่ง เมื่อสวมแว่น VR เข้าไปจะทำให้การวิ่งนั้นมองเห็นวิวทิวทัศน์ในสถานที่ที่เราต้องการได้อย่างเป็นธรรมชาติ หรือจะเป็นการสวมใส่ VR ในการจัดของเพื่อตรวจนับสต๊อกสินค้าไปในตัว เป็นต้น ซึ่งอีกไม่นานเราจะเห็นการนำ AR ไปใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งด้านความบันเทิงและกิจกรรมต่าง ๆ อย่างแพร่หลายในอนาคต
     
    อันดับ 3 บล็อกเชน (Blockchain)
    บล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีการร้อยต่อข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันทั้งหมด โดยข้อมูลทุกบล็อกจะเป็นเหมือนสำเนาของตัวเอง เมื่อเกิดการแก้ไขจะทำให้ทุกบล็อกรับรู้การแก้ไขนั้น ๆ และมีประวัติเก็บไว้อย่างซับซ้อน โดยเนื้อแท้ของเทคโนโลยีจึงมีความปลอดภัยจากโครงสร้างที่เกิดขึ้น  ซึ่งความสามารถของบล็อกเชนเริ่มเป็นที่รู้จักเมื่อถูกนำมาใช้งานในรูปของ Bitcoin หรือเงินเสมือนจริงที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ด้วยรูปแบบการบันทึกทุกกล่องเป็นสำเนาข้อมูลเหมือนกันหมด ทำให้บล็อกเชนมีความปลอดภัยมากกว่าการบันทึกด้วยมนุษย์หรือเครื่องมือบันทึกใด ๆ ที่มีอยู่เดิม และนั่นก็ทำให้บล็อกเชนได้รับความสนใจกับกลุ่มธุรกิจการเงินเช่นธนาคารเป็นอย่างมาก โดยเชื่อว่าบล็อกเชนจะเป็นนวัตกรรมทางการเงินที่มีความปลอดภัยและรวดเร็วมากกว่าเทคโนโลยีการเงินที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
     
    อันดับ 4 โดรน (Drones)
    โดรนเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการบินที่ได้รับการพัฒนาให้มีขีดความสามารถของการบินหลายระยะด้วยระบบอัตโนมัติ ทำให้โดรนเข้ามาแทนที่ในการบินหลากหลายระบบทั้งเล็กและใหญ่ เช่น จากเดิมที่ใช้เครื่องบินใส่ปุ๋ยและยาพืชไร่ ก็สามารถเปลี่ยนเป็นเครื่องโดรนที่บรรทุกปุ๋ยและยาบินเข้าพื้นที่แบบอัตโนมัติตามการวางโปรแกรมการบินเพื่อจัดการพื้นที่ได้อย่างไม่หลงลืม  ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้โดรนในหลายรูปแบบ ทั้งทางการทหาร การช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมทั้งการขนส่ง ทำให้โดรนกลายเป็นเครื่องมือขนส่งที่ตั้งเป้าว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางอากาศระยะไกลได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขนส่งคนหรือสิ่งของก็ตาม แนวคิดดังกล่าวยังไม่สามารถเกิดขึ้นจริงในเชิงพาณิชย์ แต่กระนั้นก็เริ่มมีการทดลองอย่างจริงจังในหลายประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มอีคอมเมิร์ซที่กลายมาเป็นระบบค้าขายที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน
     
    อันดับ 5 อินเทอร์เน็ตเพื่อทุกสิ่ง (Internet of Things หรือ IoT)
    เทคโนโลยี IoT เป็นสิ่งที่หลายคนพูดถึงกันมากที่สุด เพราะสามารถแทรกตัวเข้าไปได้แทบทุกอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีของการสื่อสารอุปกรณ์เท่านั้น โดยคาดหวังกันว่า IoT จะช่วยลดเวลาการจัดการทั้งหมดของมนุษย์ รวมไปถึงการดูแลความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้มีความปลอดภัย สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ IoT ยังเป็นอุปกรณ์ที่จะเก็บข้อมูล รายงานสิ่งที่จำเป็นให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการตรวจสอบในระบบสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับได้ว่าการแทรกตัวเข้าไปของทุกอุตสาหกรรมยังมีต้นทุนที่ราคาไม่แพงเกินไป ด้วยอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ฝังเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อช่วยในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ แต่หัวใจของการประมวลผลและคิดวิเคราะห์ยังคงใช้งานจากส่วนกลางเพื่อสนองตอบพฤติกรรมนั่นเอง
     
    อันดับ 6 หุ่นยนต์ (Robots)
    หุ่นยนต์เป็นเป้าหมายใหม่ของการทดแทนแรงงานในอนาคต เนื่องจากงานบางชนิดเป็นการใช้แรงงานที่ต้องทำงานซ้ำ ๆ จนเกิดภาวะขาดแคลนแรงงาน ด้วยค่าแรงที่ต่ำหรือปัญหาของพื้นที่ก็ตามแต่ ซึ่งในโลกอุตสาหกรรมหุ่นยนต์แขนกลที่ทำหน้าที่แทนหนุ่มสาวโรงงาน ทั้งการยกของจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งหรือทำงานซ้ำ ๆ แบบเดิมตามไลน์การผลิต มักใช้หุ่นยนต์แขนกลที่มีเพียงจังหวะหมุนของการผลิตเท่านั้น และนอกจากอุตสาหกรรมการผลิตแล้ว หุ่นยนต์ยังสามารถเข้าไปแทนที่การทำงานในแง่มุมที่มีความเสี่ยงสูง เช่น หุ่นยนต์ดับเพลิง กู้ภัย หรือแม้กระทั่งหุ่นยนต์ให้บริการ ทำให้ในอนาคต หุ่นยนต์จะถูกนำมาใช้เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์มากขึ้น
     
    อันดับที่ 7 โลกเสมือนจริง (Virtual Reality หรือ VR)
    VR เป็นเทคโนโลยีที่อาจจะดูใกล้เคียงกับ AR หากมองแบบผิวเผิน แต่จริง ๆ แล้วมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะวิธีการใช้หรือรูปแบบที่นำไปใช้ก็ตาม นั่นเพราะ VR เป็นสิ่งที่อยู่ในโลกเสมือนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ร่างกายเพียงตอบสนองกับสิ่งที่เห็นเพื่อฝึกฝนหรือเพื่อความบันเทิง โดยที่ไม่มีการซ้อนกันของโลกความเป็นจริงแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น การทำเครื่อง VR เพื่อฝึกบินเครื่องบินตามรุ่นต่าง ๆ ช่วยลดต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการฝึกบินบางส่วน หรืออีกตัวอย่างเป็นการฝึกผ่าตัดของแพทย์เพื่อความเชี่ยวชาญ แน่นอนว่าเครื่องเหล่านี้สร้างระบบครอบการรับรู้ของมนุษย์ทั้งหมดไว้เพื่อสร้างโลกเสมือนที่อาจจะใกล้เคียงหรือไม่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เป็นอยู่ก็เป็นได้
     
    อันดับที่ 8 ระบบพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing)
    เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ อาจจะฟังดูเป็นเครื่องพรินเตอร์ที่วุ่นวายกับเรื่องหมึกไปสักหน่อย แต่แท้จริงแล้วเครื่องนี้กลับเป็นอะไรที่แตกต่างออกไป เนื่องจากฟีเจอร์การทำงานเป็นเหมือนการแกะสลักด้วยแบบดิจิทัลที่สั่งงานโดยคอมพิวเตอร์ ค่อย ๆ แกะเนื้อวัสดุออกตามที่ต้องการไปทีละขั้นทีละตอน เหมือนการขึ้นรูปวัสดุ และนั่นก็ทำให้เครื่องพิมพ์ 3 มิติเป็นที่หมายปองของนักออกแบบ เพราะเพียงเวลาไม่นาน แบบที่ร่างไว้ในคอมพิวเตอร์ก็จะถูกพรินต์ออกมาเป็นโมเดล 3 มิติที่จับต้องได้ทุกประการ ด้วยจุดเด่นของการทำงานที่ไม่จำกัดจำนวน และรวดเร็วเช่นที่พรินเตอร์จะพิมพ์ออกมาได้ ทำให้เครื่องพิมพ์เช่นนี้หลุดเข้าไปในหลากหลายอุตสาหกรรม แน่นอนว่าในวงการแพทย์ที่มีการออกแบบอวัยวะเทียมเพื่อทดแทนอวัยวะสำคัญที่ขาดหายไป การออกแบบด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติแล้วฉีดเซลล์เข้าไปเพื่อลดอาการต่อต้านก็จะสามารถทำได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น
     
    จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีทั้ง 8 นี้ต่างมีบทบาทของการพัฒนาและคุณประโยชน์ที่สามารถพลิกการใช้งานเครื่องมือในปัจจุบันของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งก็ได้แต่หวังว่าสิ่งที่จะต่อยอดในอนาคตจะมีราคาที่ไม่แพงจนเกินไป และท้ายที่สุด คนธรรมดาก็สามารถเอื้อมถึงได้นั่นเอง

    การใช้เทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรม มีอะไรบ้าง

    5 เทรนด์เทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิตในปี 2565.
    เทรนด์#1 :เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการวิเคราะห์ขั้นสูง (Advanced Analytics).
    เทรนด์#2 :ระบบอัตโนมัติที่เข้าถึงได้ง่ายกว่าเดิม.
    เทรนด์ #3 : หุ่นยนต์.
    เทรนด์#4 : อาศัยห่วงโซ่อุปทานที่มาจากพื้นที่ใกล้เคียง.
    เทรนด์#5 : การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล.

    เทคโนโลยีอุตสาหกรรมมีประโยชน์อย่างไร

    เทคโนโลยีใหม่ ๆ จะช่วยปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นอย่างมาก โดยการรวมฟังก์ชันใหม่ให้เข้ากับระบบการผลิต เป็นผลดีต่อผลิตภัณฑ์ของโรงงานและให้มูลค่าเพิ่มแก่แบรนด์ นอกจากนี้ ยังช่วยพนักงานพัฒนาศักยภาพและทักษะในอาชีพของตัวเองมากกว่าจะไปทำงานในส่วนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของตัวเอง เพราะมีเทคโนโลยีมาทำแทนแล้ว

    เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตมีอะไรบ้าง

    การใช้เทคโนโลยีในการผลิต เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมการผลิตการใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน การนำวิทยาการใหม่ ๆ มาช่วยในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น การใช้เทคโนโลยีในการบริหาร เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า การใช้โทรศัพท์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสาร เป็นต้น

    เทคโนโลยีที่ใช้ในธุรกิจมีอะไรบ้าง

    10 รูปแบบของการนำเทคโนโลยี AI ไปใช้ในภาคธุรกิจ.
    1.การจ้าง และสรรหาบุคลากร ภาพประกอบ : Canva. ... .
    2.Cybersecurity. ภาพประกอบ : Canva. ... .
    3.การคาดการณ์ตลาด ภาพประกอบ : Canva. ... .
    4.การวิเคราะห์ลูกค้า ภาพประกอบ : Canva. ... .
    5.ใบเสร็จรับเงิน และใบแจ้งหนี้ ... .
    6.การรีวิวข้อเสนอทางธุรกิจ (Proposal) ... .
    7.ผู้ช่วยเสมือน และแชทบอท ... .
    8.Targeted Marketing..