การใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน

ด้วยสภาพการณ์ปัจจุบันที่เราต้องทำงาน Work from Home และทำให้เราต้องใช้เวลาอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ นานมากขึ้นกว่าตอนที่ทำงานในออฟฟิต เพราะไหนจะต้องเตรียมเอกสาร หาข้อมูล อีกทั้งต้องประชุมออนไลน์ หรือบางครั้งก็ต้องจ้องหน้าจอสมาร์ทโฟน เพื่อสั่งซื้อของเข้าบ้าน 

ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวอาจส่งผลให้ตาของเรา เกิดอาการ ตาแห้ง เคืองตา แสบตา ปวดรอบกระบอกตา ร่วมกับปวดกล้ามเนื้อ หรืออาจมีอาการแพ้แสงร่วมด้วย โดยอาการนี้เรียกว่า โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (Computer Vision Syndrome) หรือ CVS

6 โรคที่มนุษย์ออฟฟิศพึงระวัง

แนะ 6 วิธี ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม Work from home ลดเสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรม

การใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน

รู้จักโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม

โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (Computer Vision Syndrome) หรือ CVS คือกลุ่มอาการทางตาและการมองเห็นที่เกิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน โดยความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาของการใช้งาน และจากการศึกษาประเทศอเมริกา รายงานว่าพบภาวะนี้ได้ถึง 90% ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลา 3 ชม. โดยไม่หยุดพัก

ส่วนมากมักพบโรคนี้ได้ในกลุ่มวัยรุ่นและวัยทํางาน เนื่องจากคนกลุ่มนี้ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือเกือบตลอดเวลา ทั้งทํางาน คุยผ่านโปรแกรมสนทนา หรือแม้แต่เล่นเกมส์ 

 

ปัจจัย ที่ทำให้เกิดโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรมมี 3 ปัจจัยหลัก คือ
1. การใช้สายตาเพ่งจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ก็ส่งผลให้กล้ามเนื้อตาล้า และอาจเกิดอาการปวดกระบอกตาและตาแห้งได้ง่าย ซึ่งถ้าปล่อยไว้ไม่ดูแล จะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุตา มีอาการตาแดงได้ รวมไปถึงการใส่ คอนแทกเลนส์ ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการตาแห้งได้ 

2. สิ่งแวดล้อมในห้องทำงาน เช่น แสงสว่างในห้องไม่เหมาะสม ระยะห่างจากจอไม่เหมาะสม มีแสงสะท้อนจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทำให้ตาต้องเพ่งมากขึ้น เกิดอาการเมื่อยล้า ปวดตา หรือตาพร่ามัวได้ ประกอบกับถ้าอยู่ในห้องที่มีเครื่อปรับอากาศ  มีความชื้นในอากาศน้อย ก็ส่งผลให้ตาแห้งมากขี้น

3. โต๊ะและเก้าอี้ (Workstation) ที่ไม่ได้ระดับเหมาะสม จะส่งผลต่อท่าทางการนั่ง รวมถึงระดับสายตาในการมองจอคอมพิวเตอร์ อาจจะต้องก้มหรือเงยมากเกินไป จึงเกิดอาการปวดเมื่อยหลัง หัวไหล่ และต้นคอได้ง่าย


สำหรับการป้องกัน 
1. ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ ไม่ให้จ้ามากเกินไปจนแสบตา ใช้แผ่นกรองแสงติดหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยลดแสงจ้าและแสงสะท้อน

2. ปรับสถานที่และโต๊ะที่นั่งทำงานคอมพิวเตอร์ โดยควรมีระยะห่างจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ถึงระดับสายตา ควรมีระยะประมาณ 20 - 28 นิ้ว และควรปรับหน้าจอให้ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 5 - 6 นิ้ว เพื่อให้ขณะทำงาน ศีรษะตั้งตรง สายตาอยู่ในท่ามองลงต่ำเล็กน้อย จะเป็นการลดการเปิดกว้างของตา ช่วยลดอาการตาแห้ง ปวดคอ ปวดไหล่ จากการก้มหรือเงยที่มากเกินไปได้

3. ปรับแสงสว่างในห้องทำงาน ไม่ให้จ้าจนเกินไป และติดโคมไฟที่โต๊ะทำงาน เพื่อช่วยให้มองเอกสารได้สบายตามากขึ้น 

4. การพักสายตาระหว่างการทำงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้เป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อตาหลังจากนั่งทำงานต่อเนื่องกัน 2 ชั่วโมง  ควรหยุดพัก 15 นาที โดยลุกเดิน หรือทำงานที่ไม่ได้โฟกัสหน้าจอจะช่วยลดอาการปวดเมื่อยล้า และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ 

และปฏิบัติตามกฎ  20-20-20  คือ ควรมีการพักสายตาหลังจากนั่งทำงานไป 20 นาที โดยพัก 20 วินาที อาจใช้วิธีหลับตา หรือ มองโฟกัสในระยะไกลที่ 20 ฟุต จะเป็นการช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อตาได้

5. การหยอดน้ำตาเทียม เพื่อช่วยลดอาการตาแห้ง แสบเคืองตา จากการที่กระพริบตาลดลง เนื่องจากจ้องมองคอมพิวเตอร์ และช่วยให้สบายตามากขึ้น


6. ใช้แว่นสายตาที่เหมาะสมเพราะการสวมแว่นสายตาที่ผิดไปจากค่าสายตาจริง ทำให้การโฟกัสภาพได้ยาก ภาพไม่คมชัด เกิดอาการปวดกระบอกตาและปวดศีรษะได้

ทั้งนี้ โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม แม้จะไม่ใช่โรคที่มีอันตรายร้ายแรงแต่ก็ส่งผลกระทบถึงคุณภาพชีวิต และประสิทธิผลของการทำงานได้ การรักษาที่ดีที่สุดคือการป้องกันปัจจัยเสี่ยงด้านต่างๆ และการรักษาหรือแก้ไขปัจจัยส่วนบุคคล ที่สำคัญ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะคือวิธีที่ง่ายที่สุดที่เราสามารถทำได้ทันที และยังลดความเสียจะเกิดอาการผิดปกติต่อสายตา

          ปัจจุบันโรค Computer Vision Syndrome เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเรา หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องจะส่งผลให้เกิดอาการรุนแรงได้ ถ้ามีอาการอยู่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องที่ศูนย์ตา โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

อันตราย!!จากการใช้จอคอมพิวเตอร์

เผยแพร่: 21 ต.ค. 2556 15:10   โดย: MGR Online


ดเริ่มต้นของโรค CVS

-การใช้สายตาเพ่งมองคอมพิวเตอร์ในระยะใกล้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อตา และแก้วตาทำงานหนักขึ้น
-การจ้องจอคอมฯ ทำให้ม่านตาเปิดกว้าง นํ้าตาจึงแห้งเพราะระเหยเร็วกว่าปกติ
-เวลาใช้คอมฯ ควรกระพิบตาเรื่อยๆ เพื่อกระตุ้นการหลั่งนํ้าตาของต่อมนํ้าตาเพื่อให้ดวงตาชุ่มชื้น
-การจ้องแสง หรือแสงสะท้อนจากคอมฯ อาจมีรังสีที่ทำให้ระคายเคืองต่อเหยื่อตาและกระจกตา

อาการเบื้องต้น

-ตาแห้ง ปวดตา เคืองตา แสบตา คันตา ตาแดง ดวงตาเมื่อยล้า และรู้สึกว่ากล้ามเนื้อรอบๆ ดวงตาตึงเครียดมากเกินไป
-ถ้ามองเห็นได้ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร เห็นภาพซ้อน เห็นสีผิด เพี้ยนจากปกติ หรือดวงตาโฟกัสความชัดได้ช้ากว่าปกติ
-ปวดศีรษะ ปวดต้นคอ ปวดไหล่ และปวดหลัง
-บางครั้งรู้สึกเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน



วิธีป้องกัน

1.ควรตรวจสุขภาพดวงตาประจำทุกปี

2.พยายามปรับสิ่งแวดล้อมในห้องทำงาน เช่น ปรับแสงสว่างให้เพียงพอ ปรับแสงสะท้อนหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพิ่มความชื้นในห้องทำงานด้วยการวางแก้วนํ้า หรือกระถางต้นไม้เล็กๆ เมื่อต้องทำงานในห้องปรับอากาศ

3.คอมพิวเตอร์ควรตั้งตรงกับระดับสายตา หรืออยู่ตํ่ากว่าระดับสายตาเล็กน้อยเวลาทำงานควรอยู่ในท่าท่าก้มคอเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

4.ใช้แผ่นกรองแสงหน้าจอคอมพิวเตอร์ และเพิ่มขนาดตัวหนังสือหน้าจอให้ใหญ่ขึ้น

5.หยอดนํ้าตาเทียมก่อนลงมือทำงาน

6.กระพริบตาบ่อยๆ ประมาณ16-20 ครั้งต่อนาที เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมนํ้าตา

7.ใช้หลัก 20-20-20 คือทุกๆ 20 นาทีควรพักสายตาจากคอมพิวเตอร์ 20 วินาที และมองสิ่งสวยงามสบายตาที่ห่างไกลออกไป 20 ฟุต โดยไม่ต้องเพ่ง

8.ปรับเปลี่ยนอาริยะบถบ่อยๆ เปลี่ยนท่านั่ง,หมุนคอ,หมุนไหล่,หมุนเอว,หมุนเข่า,สะบัดข้อมือ,หมุนข้อเท้า.บิดขี้เกียจ,เดินไปเดินมา,ออกกำลังกล้ามเนื้อข้อมือและข้อนิวด้วยท่าบริหารมือและนิ้วอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อป้องกันโรคมือชา นิ้วล็อก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

การใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน

[ข้อมูลที่ถูกลบ]

ธิดาพญายม ตอนที่ 17 (จบบริบูรณ์)

การใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน

มือปืนควบ จยย.จ่อยิงดับหนุ่มใหญ่ยะรัง

กระบะแหกโค้งพุ่งชนห้องเช่าริมถนน ต.วังกระแจะ อ.เมืองตราด

สาปพระเพ็ง ตอนที่ 7

กำลังโหลดความคิดเห็น