พุทธศักราชเกิดก่อนคริสต์ศักราชไหม

จะเริ่มนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการศึกษาประวัติศาสตร์ในยุคสมัยต่างๆ จำเป็นต้องเข้าใจความหมายของศักราชต่างๆ ด้วย เพราะจะช่วยให้ทราบว่าในปีนั้นๆ มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ้าง การนับปีศักราชนับว่าเป็น ภูมิปัญญาของมนุษย์สมัยโบราณ ศักราชมีทั้งแบบสากลและแบบไทย ดังนี้

การนับปีศักราชแบบสากล

1) คริสต์ศักราช หรือ ค.ศ. โดยใช้เหตุการณ์สำคัญทางคริสต์ศาสนาเป็นจุดเริ่มต้น เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเยซูประสูติเป็นปี ค.ศ. 1 สำหรับช่วงเวลาก่อนพระเยซูประสูติให้เรียกเป็น ก่อนคริสต์ศักราช (ก่อน ค.ศ. หรือ B.C = Before Christ)

2) ฮิจเราะห์ศักราช หรือ ฮ.ศ. ฮิจเราะห์มาจากภาษาอาหรับ แปลว่า การอพยพ   เป็นการนับศักราชในประเทศที่มีการนับถือศาสนาอิสลามโดยเริ่มนับ ฮ.ศ. 1 เมื่อท่านนบีมูฮัมหมัดนำเหล่าสาวกอพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินา ตรงกับพุทธศักราช 1165 หากจะเทียบ ปีฮิจเราะห์ศักราชเป็นปีพุทธศักราช จะต้องบวกด้วย 1122 เพราะการเทียบรอบปีของฮิจเราะห์ศักราชและพุทธศักราช จะมีความคลาดเคลื่อนทุก ๆ 32 ปีครึ่งของฮิจเราะห์ศักราชจะเพิ่มขึ้นอีก 1 ปี เมื่อเทียบกับพุทธศักราช

การนับศักราชแบบไทย

1) พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชที่นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา มีการใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และใช้กันอย่างเป็นทางการของประเทศไทย ครั้งแรกใน พ.ศ. 2455 แทนรัตนโกสินทร์ศก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยประเทศไทยเริ่มนับ พ.ศ. 1 เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วครบ 1 ปี เป็น พ.ศ. 1

2) มหาศักราช (ม.ศ.) นิยมใช้มากในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทศิลาจารึกและพงศาวดารต่าง ๆ ทั้งสมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยาตอนต้น มหาศักราชถูกตั้งขึ้นโดยพระเจ้า กนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะ กษัตริย์ผู้ครองอินเดีย โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช 622 (มหาศักราชตรงกับ พ.ศ. 622)

3) จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นศักราชที่ได้รับอิทธิพลจากพม่า โดยพระมหากษัตริย์ของพุกาม เริ่มใช้นับครั้งแรกในพม่า พ.ศ. 1182 และใช้แพร่หลายเข้าสู่อาณาจักรล้านนา โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช 1181 ปี ไทยนิยมใช้จุลศักราชในการคำนวณทางโหราศาสตร์ ใช้บอกปีในจารึก ตำนาน จดหมายเหตุ พงศาวดาร จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกาศยกเลิก และมีการใช้รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) แทน

4) รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ทรงกำหนดใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2325 โดยเริ่มนับปีที่ได้มีการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีใน พ.ศ. 2325 เป็น ร.ศ. 1 และได้ประกาศยกเลิกใช้ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

การเทียบศักราช

การนับศักราชที่แตกต่างกันจะทำให้เกิดความไม่ชัดเจนในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยและสากล ดังนั้น การเทียบศักราชให้เป็นแบบเดียวกัน จะช่วยให้สามารถศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ได้เข้าใจมากขึ้น ตลอดจนทำให้ทราบถึงช่วงศักราชหรือช่วงเวลาเดียวกัน ในแต่ละภูมิภาคของโลกเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ศึกษาอย่างแท้จริง  จึงต้องมีการเทียบศักราช จากศักราชหนึ่งไปยังอีกศักราชหนึ่ง โดยคำนวณจากศักราชทั้งสองมีช่วงเวลาที่แตกต่างกันอยู่กี่ปี  แล้วนำไปบวกหรือลบแล้แต่กรณีหลักเกณฑ์การเทียบศักราช โดยคำนวณหาเกณฑ์บวกลบเฉพาะพุทธศักราช (พ.ศ.) มีดังนี้ 

การนับยุคสมัยต่างๆ จะทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์สับสนวุ่นวาย จะช่วยให้ศึกษาประวัติศาสตร์ได้เข้าใจมากขึ้น นอกจากนี้ พุทธศักราช เกิด ก่อน คริสต์ศักราช กี่ ปี การรู้ยุคหรือยุคในแต่ละภูมิภาคของโลกจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างมาก จึงต้องมีการเปรียบเทียบยุคสมัย จากยุคหนึ่งสู่อีกยุคหนึ่ง ทั้งสองยุคต่างกันกี่ปี? แล้วบวกหรือลบตามเกณฑ์เปรียบเทียบกับยุคที่คำนวณเกณฑ์การบวกลบเฉพาะพุทธศักราช (พ.ศ.) ได้ดังนี้

พุทธศักราช  มากกว่า  คริสต์ศักราช   543  ปี 

พุทธศักราช  มากกว่า  มหาศักราช   621  ปี 

พุทธศักราช  มากกว่า  จุลศักราช   1181  ปี

พุทธศักราช  มากกว่า  รัตนโกสินทร์ศก   2324  ปี

พุทธศักราช  มากกว่า  ฮิจเราะห์ศักราช   1122  ปี


เรื่อง  ความรู้เกี่ยวกับเวลาในประวัติศาสตร์

คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามที่กำหนดให้ถูกต้อง

1. วิชาที่เกี่ยวกับเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เป็นมาแล้วผ่านไปตามกาลเวลา  เรียกว่า ประวัติศาสตร์

2. ระยะเวลาในช่วง 10 ปี  เรียกว่า  ทศวรรษ

3. ระยะเวลาในช่วง 100 ปี  เรียกว่า  ศตวรรษ

4. ปีอธิกสุรทินมีจำนวน 366 วัน และเดือนกุมภาพันธ์มี       29  วัน  

5. ในรอบ 1 ปี  มีชื่อเดือนที่ลงท้ายว่า “ คม ” _      7  เดือน  คือเดือน   มกราคม   มีนาคม

พฤษภาคม   กรกฎาคม   สิงหาคม   ตุลาคม   ธันวาคม

6. พุทธศักราช เกิดก่อนคริสต์ศักราช 543 ปี

7.    คริสต์ศตวรรษที่ 17 อยู่ในระยะ ค.ศ. 1601   _ ถึง ค.ศ. 1700

8.    ปีนี้ตรงกับรัตนโกสินทร์ศกใด 266 (2551-2325)

9. ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามนับจำนวนปีเป็น   ฮิจเราะห์ศักราช

10.  ปีที่นักเรียนเกิดคือ พ.ศ.  ตรงกับ ค.ศ.

(เฉลยตามอายุของนักเรียน)

คำชี้แจง :  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว  

1. พุทธศักราช เกิดก่อนคริสต์ศักราชกี่ปี

ก.     245 ข.     453

ค.     543 ง.      1124

2. พ.ศ. 2467  อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่เท่าไร

ก. 26 ข. 25

ค. 24 ง. 23

3. ฮิจเราะห์ศักราช เป็นการใช้ศักราชโดยคนที่นับถือศาสนาใด

ก. ศาสนาฮินดู ข. ศาสนาคริสต์

ค. ศาสนาอิสลาม ง. ศาสนายูดาห์

4. มหาศักราชเป็นศักราชที่ไทยได้แบบอย่างมาจากชาติใด

ก. ลังกา ข. ขอม

ค. อินเดีย ง. จีน

5. ยุคประวัติศาสตร์เริ่มเมื่อไร

ก. รู้จักทำการเกษตร ข. มีการตั้งชุมชนขึ้น

ค. มีการใช้โลหะเป็นอาวุธ ง. มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร

6. ข้อใดคือลักษณะของมนุษย์ยุคหินกลาง

ก. รู้จักการทำเครื่องปั้นดินเหนียว

ข. ใช้ขวานหินหรือขวานกำปั้น

ค. ใช้หินกะเทาะในการล่าสัตว์

ง. มีชีวิตเร่ร่อนตามแหล่งสัตว์ชุกชุม

7. สร้างที่พักด้วยดินเหนียว  รู้จักรอการเก็บเกี่ยว  หมายถึงมนุษย์ในข้อใด

ก. ยุคโลหะ ข. ยุคหินเก่า

ค. ยุคหินกลาง ง. ยุคหินใหม่

8. ศิลปวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออก  มาบรรจบเป็นครั้งแรกที่ใด

ก. เปอร์เซีย ข. ลุ่มน้ำสินธุ

ค. ลุ่มน้ำฮวงโห ง. ลุ่มน้ำอิรวดี

9. ชุมชนบ้านเชียง จัดอยู่ในยุคใด

ก. ยุคหินแรก ข. ยุคหินเก่า

ค. ยุคหินกลาง ง. ยุคหินใหม่

10. รูปแบบการดำเนินชีวิตและการปกครองของประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ในปัจจุบัน

ส่วนใหญ่  ได้รับอิทธิพลจากศาสนาใดมากที่สุด

ก.    คริสต์ ข.    อิสลาม

ค.    ยูดาห์ ง.    ถูกทุกข้อ

11. การค้นพบสิ่งใดทำให้มนุษย์ก้าวเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์

ก. มนุษย์ค้นพบไฟ และการใช้ภาษาพูด

ข. มนุษย์ประดิษฐ์ภาษาเขียนและการบันทึก

ค. มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นสังคมและรู้จักการเพาะปลูก

             ง.  ถูกทุกข้อ

12. สมัยประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตกเริ่มที่แหล่งอารยธรรมใด

ก. อารยธรรมกรีก

ข. อารยธรรมโบราณ

ค. อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ

ง. อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส

13. ข้อใด ไม่ใช่ ความเจริญของมนุษย์ยุคหินใหม่

ก. การใช้เครื่องมือหินขัด

ข. เร่ร่อนเก็บของป่า ล่าสัตว์

ค. การตั้งถิ่นฐานเป็นสังคมเมือง

ง. รู้จักทำภาชนะเครื่องปั้นดินเผา

14. ช่วงเวลาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ใช้สิ่งใดเป็นเกณฑ์ในการแบ่งยุคสมัย

ก. ประเภทของปศุสัตว์

ข. ที่อยู่อาศัยของมนุษย์

ค. อาณาจักร หรือราชวงศ์

ง. เครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์

15. ช่วงเวลากับยุคสมัยทางประวัติศาสตร์เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ก. เหมือนกัน   ช่วงเวลาเป็นสิ่งที่กำหนดยุคสมัย

ข. เหมือนกัน   ยุคสมัยเป็นสิ่งที่กำหนดช่วงเวลา

ค. ต่างกัน  ช่วงเวลากล่าวถึงเวลา  แต่ยุคสมัยกล่าวถึงสภาพสังคม

ง. ต่างกัน   ช่วงเวลาแบ่งจากจำนวนปีทุกๆ 10 ปี  หรือร้อยปี  แต่ยุคสมัยแบ่งจากพัฒนาการ

ทางประวัติศาสตร์

1. ค 2. ข 3. ค  4. ข 5. ง

6. ก 7. ง 8. ข 9. ง 10. ค

11. ข 12. ง 13. ข 14. ข 15. ง