หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

      หม้อแปลง หรือหม้อแปลงไฟฟ้า (อังกฤษ: transformer, ออกเสียง) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ใช้ในการส่งผ่านพลังงานจากวงจรไฟฟ้าหนึ่งไปยังอีกวงจรโดยอาศัยหลักการของแม่เหล็กไฟฟ้า โดยปกติจะใช้เชื่อมโยงระหว่างระบบไฟฟ้าแรงสูง และไฟฟ้าแรงต่ำ หม้อแปลงเป็นอุปกรณ์
หลักในระบบส่งกำลังไฟฟ้า

      หม้อแปลง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งผ่านพลังงานไฟฟ้า สามารถเปลี่ยนขนาดแรงดันไฟฟ้า หรือขนาดของกระแสไฟฟ้าได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบและใช้งาน

จะเห็นว่าโครงสร้าง  หลักการทำงาน และชนิดของหม้อแปลงไฟฟ้า นับเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่จะต้องรู้และทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อการนำไปใช้งาน การเลือกใช้หม้อแปลงได้อย่างถูกต้องมีความเหมาะสมกับสถานที่นั้นๆ และคำนึงถึงการบำรุงรักษาของหม้อแปลงแต่ละชนิดอย่างถูกวิธี เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และสามารถใช้งานหม้อแปลงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ คุ้มค่าต่อการลงทุนในการดำเนินกิจการต่างๆ ตลอดจนการช่วยกันอนุรักษ์พลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบมาจากการใช้งานของหม้อแปลงไฟฟ้า 

               หม้อแปลงไฟฟ้า ( TRANSFORMER ) เป็นเครื่องกลไฟฟ้า (อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล หรือเปลี่ยนจากพลังงานกลมาเป็นพลังงานไฟฟ้า) ที่สำคัญมาก เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการจ่ายพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่ระบบไฟฟ้า โดยจะเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้า ( Voltage ) ให้เพิ่มขึ้น ( Step up Transformer ) และให้ลดลง (Step down Transformer)

ในทุกๆขั้นตอนของการเปลี่ยนแรงดันนั้นจะต้องใช้หม้อแปลงไฟฟ้าเป็นเครื่องปรับค่าแรงดันให้เหมาะสมกับกรณีต่างๆ ดังนั้นการเลือกใช้หม้อแปลงไฟฟ้าจึงต้องพิจารณาจากความต้องการและความจำเป็น และให้ความสำคัญกับผู้ผลิตและผู้ติดตั้งต้องมีความชำนาญและเชี่ยวชาญเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งาน   

หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

ในระบบจ่ายไฟฟ้านั้นจะมีการแปลงแรงดันไฟฟ้าสลับให้มีขนาดที่สูงเพื่อลดขนาดของลวดตัวนำ ที่ต้องใช้ในการจ่ายไฟฟ้าเป็นระยะทางไกลๆ เมื่อถึงปลายทางก่อนที่จะจ่ายไฟฟ้าไปให้แก่บ้านเรือนต่างๆ โดยจะแปลงระดับแรงดันไฟฟ้าให้ลดลงเป็น 220 V เพื่อลดความอันตรายที่จะเกิดแก่ผู้ใช้ไฟฟ้า หรือเมื่อต้องการใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ระดับแรงดันต่ำๆ เช่น 6V ต้องมีการแปลงดันไฟฟ้า จาก 220 V เป็นระดับแรงดันไฟฟ้าตามที่ต้องการ

โดยการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้านั้นอาศัยหลักการความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้ากับเส้นแรงแม่เหล็กในการสร้างแรงเคลื่อนเหนี่ยวนำให้กับตัวนำ หม้อแปลงเป็นเครื่องกลไฟฟ้าที่ไม่มีส่วนใดเคลื่อนที่เหมือนมอเตอร์ จึงไม่มีการสูญเสียจากความฝืดและแรงต้านลม (การสูญเสียทางกล)

ประกอบไปด้วยขดลวด 2 ขด “ขดปฐมภูมิกับขดทุติยภูมิ พันอยู่รอบแกนเหล็ก (เป็นแผนเหล็กจำนวนมากที่วางซ้อนทับกัน) ขดลวดทั้ง 2 ชนิด ไม่ได้ต่อกันโดยตรงทางไฟฟ้าหากแต่ถูกกั้นห่างกันด้วยฉนวน  เมื่อมีกระแสไหลผ่านขดลวดตัวนำ ก็จะทำให้เกิดเส้นแรงแม่เหล็กรอบๆตัวนำนั้น และถ้ากระแสที่ป้อนมีขนาดและทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไปมา ก็จะทำให้สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ถ้าสนามแม่เหล็กที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวตัดผ่านตัวนำ ก็จะเกิดแรงเคลื่อนเหนี่ยวนำขึ้นที่ตัวนำนั้น โดยขนาดของแรงเคลื่อนเหนี่ยวนำจะสัมพันธ์กับ ความเข้มของสนามแม่เหล็ก และความเร็วในการตัดผ่านตัวนำของสนามแม่เหล็ก

การทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้าจะไม่มีส่วนใดเคลื่อนที่เหมือนมอเตอร์จึงมีการสูญเสียกำลังงานในขณะทำงานน้อยกว่ามอเตอร์ก็จะเกิดแรงเคลื่อนเหนี่ยวนำขึ้นที่ตัวนำนั้น โดยขนาดของแรงเคลื่อนเหนี่ยวนำจะสัมพันธ์กับ ความเข้มของสนามแม่เหล็ก และความเร็วในการตัดผ่านตัวนำของสนามแม่เหล็ก

หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าในวงจรหนึ่งให้เป็นพลังงานไฟฟ้าที่มีความถี่เท่ากันในอีกวงจรหนึ่ง ซึ่งจะแปลงด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ นอกจากนี้หม้อแปลงไฟฟ้ายังสามารถทำหน้าที่ในการเพิ่มหรือลดแรงดันไฟฟ้าภายในวงจร แต่ไม่สามารถเพิ่มหรือลดกำลังไฟฟ้าและความถี่ได้ โดยหม้อแปลงไฟฟ้าจะทำงานบนหลักการเหนี่ยวนำของแม่เหล็กไฟฟ้าเมื่อแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับถูกนำไปใช้กับขดลวดปฐมภูมิ แรงดันไฟฟ้าจะถูกเหนี่ยวนำไปยังขดลวดทุติยภูมิส่งผลให้มีกระแสไฟฟ้าออกมาให้ใช้งานได้ โดยการเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับอัตราการหมุนของขดลวดทั้งสองนี้

เลือกอ่านหัวข้อหม้อแปลงไฟฟ้าที่สนใจ

หม้อแปลงไฟฟ้าจากแบรนด์แนะนำ

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    PC42-E series

    หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร
    • แรงดันด้านปฐมภูมิ: AC380-400-440 V
    • แรงดันด้านทุติยภูมิ: AC200-220 V

    ระยะเวลาจัดส่งภายในวันเดียวหรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    AVR-E Series

    หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร
    • แรงดันด้านปฐมภูมิ: AC170-260 V
    • แรงดันด้านทุติยภูมิ: AC100 V

    ระยะเวลาจัดส่งภายในวันเดียวหรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    UP series

    หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร
    • แรงดันด้านปฐมภูมิ: AC100 V
    • แรงดันด้านทุติยภูมิ: AC200 V

    ระยะเวลาจัดส่งภายในวันเดียวหรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    PAL-EP Series

    หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร
    • แรงดันด้านปฐมภูมิ: AC220 to 230 V
    • แรงดันด้านทุติยภูมิ: AC100 V

    ระยะเวลาจัดส่งภายในวันเดียวหรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    SN21-E series

    หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร
    • แรงดันด้านปฐมภูมิ: AC200-220-230-240 V
    • แรงดันด้านทุติยภูมิ: AC100-110-115 V

    ระยะเวลาจัดส่งภายในวันเดียวหรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    SCK21 series

    หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร
    • แรงดันด้านปฐมภูมิ: AC200-220 V
    • แรงดันด้านทุติยภูมิ: AC100-110 V

    ระยะเวลาจัดส่งภายในวันเดียวหรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    ระยะเวลาจัดส่งภายในวันเดียวหรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    ระยะเวลาจัดส่งภายในวันเดียวหรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    SO21 series

    หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร
    • แรงดันด้านปฐมภูมิ: AC200-220 V
    • แรงดันด้านทุติยภูมิ: AC100-110 V

    ระยะเวลาจัดส่งภายในวันเดียวหรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    SR series

    หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร
    • แรงดันด้านปฐมภูมิ: AC200-220 V
    • แรงดันด้านทุติยภูมิ: AC100-110 V

    ระยะเวลาจัดส่งภายในวันเดียวหรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    ระยะเวลาจัดส่งภายในวันเดียวหรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    8YSB series

    หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร
    • แรงดันด้านปฐมภูมิ: 100-220 V
    • แรงดันด้านทุติยภูมิ: 2.5-50 V

    ระยะเวลาจัดส่งภายในวันเดียวหรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    SD Series

    หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร
    • แรงดันด้านปฐมภูมิ: AC200-210-220 V
    • แรงดันด้านทุติยภูมิ: AC100-105-110 V

    ระยะเวลาจัดส่งภายในวันเดียวหรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    ECL Series

    หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร
    • แรงดันด้านปฐมภูมิ: AC200-210-220 V
    • แรงดันด้านทุติยภูมิ: AC100-105-110 V

    ระยะเวลาจัดส่งภายในวันเดียวหรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    YS Series

    หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร
    • แรงดันด้านปฐมภูมิ: AC200-220 V
    • แรงดันด้านทุติยภูมิ: AC100-110 V

    ระยะเวลาจัดส่ง2 วัน หรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    YSA Series

    หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร
    • แรงดันด้านปฐมภูมิ: AC380-400-440 V
    • แรงดันด้านทุติยภูมิ: AC100-110 V

    ระยะเวลาจัดส่ง2 วัน หรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    3YSB series

    หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร
    • แรงดันด้านปฐมภูมิ: AC380-400-440 V
    • แรงดันด้านทุติยภูมิ: AC200-220 V

    ระยะเวลาจัดส่ง3 วัน หรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    ระยะเวลาจัดส่ง3 วัน หรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    ระยะเวลาจัดส่ง3 วัน หรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    ระยะเวลาจัดส่ง3 วัน หรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    ระยะเวลาจัดส่ง3 วัน หรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    ระยะเวลาจัดส่ง3 วัน หรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    ระยะเวลาจัดส่ง3 วัน หรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    ระยะเวลาจัดส่ง3 วัน หรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    ระยะเวลาจัดส่ง3 วัน หรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    ระยะเวลาจัดส่ง3 วัน หรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    ระยะเวลาจัดส่งภายในวันเดียวหรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    ระยะเวลาจัดส่ง4 วัน หรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    ระยะเวลาจัดส่ง11 วัน หรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    ระยะเวลาจัดส่งภายในวันเดียวหรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    ระยะเวลาจัดส่งภายในวันเดียวหรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    ระยะเวลาจัดส่งภายในวันเดียวหรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    ระยะเวลาจัดส่ง2 วัน หรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    ระยะเวลาจัดส่ง2 วัน หรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    ระยะเวลาจัดส่ง2 วัน หรือมากกว่า

  • หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

    ระยะเวลาจัดส่ง12 วัน หรือมากกว่า

รายละเอียดหม้อแปลงไฟฟ้า

เครื่องมือที่ใช้สำหรับเพิ่มและลดกำลังไฟฟ้าในไซต์งานเพื่อให้เหมาะสมกับเครื่องมือที่ใช้งาน

หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

คุณสมบัติ

  • เมื่อใช้งานเครื่องมือไฟฟ้าขนาด 100 โวลต์ ท่านสามารถลดกำลังไฟฟ้าจากสายเมน (200 โวลต์) ในไซต์งานได้
  • เพื่อเสริมศักยภาพพลังงานของเครื่องมือไฟฟ้า สามารถเพิ่มกำลังไฟฟ้าจาก 100โวลต์ เป็น 115 โวลต์ หรือ 125 โวลต์ เพื่อใช้งาน

วิธีการหาขนาดกำลังไฟของหม้อแปลงไฟฟ้า

คำแนะนำ

  • ในกรณีของแบบหนึ่งเฟส:ขนาดกำลังไฟ (VA)=แรงดันไฟฟ้าทุติยภูมิ (โวลต์)× กำลังไฟฟ้าทุติยภูมิ (แอมป์)
  • ในกรณีของแบบสามเฟส:ขนาดกำลังไฟ (VA)=√3×แรงดันไฟฟ้าทุติยภูมิ (โวลต์)× กำลังไฟฟ้าทุติยภูมิ (แอมป์)
  • ในกรณีของแบบสามเฟส - หนึ่งเฟส:ขนาดกำลังไฟ (VA)=แรงดันไฟฟ้าทุติยภูมิ (โวลต์)× กำลังไฟฟ้าปฐมภูมิ (แอมป์)

ข้อควรระวัง

ถ้ามีค่าแรงดันไฟฟ้าทางด้านปฐมภูมิและด้านทุติยภูมิเป็นค่าที่ปรับแล้ว ให้คำนวณหาขนาดกำลังไฟฟ้าด้วยค่าแรงดันไฟฟ้าสูงสุด จงจำไว้ว่า ค่าแรงดันไฟฟ้าที่ปรับแล้วซึ่งมีค่าต่ำสุดคือการปรับขนาดกำลังไฟฟ้าที่ปรับลดแล้ว

วิธีการใช้งาน

หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

เมื่อรอบหมุนของเครื่องมือลดลงและความคมหรือประสิทธิภาพการทำงานแย่ลง

หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

เมื่อใช้งานเครื่องมือที่ต้องการกำลังไฟฟ้าสูง และแรงดันไฟฟ้าตกลง

หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

เมื่อมีการเพิ่มระยะการต่อสายไฟ
เช่น สายไฟพ่วง

คำแนะนำ

  • เมื่อใช้งานนอกประเทศญี่ปุ่น จำเป็นต้องตรวจสอบค่าแรงดันไฟฟ้าและกำลังไฟฟ้าของปลั๊กไฟ
  • ตรวจสอบกระแสไฟฟ้าที่ใช้
  • ตรวจสอบกระแสไฟฟ้าเริ่มต้น (โวลต์)
  • ตรวจสอบความถี่
  • ตรวจสอบกระแสไฟฟ้า (โวลต์) ที่ต้องการจ่าย
  • ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าปฐมภูมิ
  • ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าทุติยภูมิ
  • ตรวจสอบจำนวนเต้ารับ
  • ตรวจสอบอุปกรณ์เสริม (อุปกรณ์ตัดไฟ, ตรวจสอบสายดิน, แบบวงจรเพิ่มลดกระแสไฟฟ้า ฯลฯ)

ประเภทหม้อแปลงไฟฟ้า

หม้อแปลงกำลัง (Power Transformer)

หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

หม้อแปลงกำลัง (Power Transformer) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับจ่ายกำลังไฟฟ้า และแปลงแรงดันให้เหมาะสมกับระบบไฟฟ้าที่ใช้งานในส่วนต่างๆ โดยการถ่ายพลังงานไฟฟ้าจากขดลวดปฐมภูมิไปสร้างเส้นแรงแม่เหล็ก สลับขั้นไปมาจนเกิดการเหนี่ยวนำแรงดันไฟฟ้าไปที่ขดลวดทุติยภูมิ จึงทำให้เกิดการส่งถ่ายเป็นแรงดันไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้าออกมา หม้อแปลงประเภทนี้มีทั้งชนิดเฟสเดี่ยว และสามเฟส แต่ละชนิดมีพิกัดไฟฟ้ากับจำนวนขดลวดที่แตกต่างกัน ผู้ใช้ควรเลือกชนิดและพิกัดไฟฟ้าให้เหมาะสมกับประเภทงาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือสร้างความเสียหายในวงจรไฟฟ้าต่างๆ

หม้อแปลงอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transformer)

หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

หม้อแปลงอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transformer) เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับควบคุมการจ่ายและแปลงกำลังไฟฟ้าของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีกำลังไฟฟ้าไม่สูงมากนัก ทำงานโดยการถ่ายพลังงานไฟฟ้าจากขดลวดปฐมภูมิไปสร้างเส้นแรงแม่เหล็ก สลับขั้นไปมาจนเกิดการเหนี่ยวนำแรงดันไฟฟ้าไปที่ขดลวดทุติยภูมิ จึงทำให้เกิดการส่งถ่ายเป็นแรงดันไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้า หม้อแปลงชนิดนี้เหมาะสำหรับติดตั้งเข้ากับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค ที่ชาร์จโทรศัพท์ เป็นต้น

หม้อแปลงเครื่องมือวัด (Instrument Transformer)

หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

หม้อแปลงเครื่องมือวัด (Instrument Transformer) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดกระแสหรือแรงดันที่เป็นส่วนประกอบของกำลังไฟฟ้า โดยทำการแปลงกระแสหรือแรงดันที่เกินให้สมดุลกับระบบไฟฟ้าต่างๆ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ หม้อแปลงกระแส (Current Transformer) กับหม้อแปลงแรงดัน (Potential Transformer) ซึ่งจะมีโครงสร้างภายในและภายนอกที่แตกต่างกัน การทำงานมีความแม่นยำสูง เหมาะสำหรับใช้ในเครื่องมือวัดค่าต่างๆ เช่น แอมป์มิเตอร์ โวลต์มิเตอร์ เป็นต้น

หม้อแปลงไฟฟ้าเพิ่ม (Step Up Transformer)

หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

หม้อแปลงไฟฟ้าเพิ่ม (Step up Transformer) เป็นหม้อแปลงที่มีแรงดันในขดลวดทุติยภูมิมากกว่าแรงดันในขดลวดปฐมภูมิ หมายความว่า
หม้อแปลงมีการจ่ายแรงดันไฟฟ้าขาออมากกว่าแรงดันไฟฟ้าขาเข้า เนื่องจากแรงดันไฟฟ้าขาออกมีมากกว่าแรงดันไฟฟ้าขาเข้า หม้อแปลงจึงทำหน้าที่ควบคุมกระแสไฟฟ้าขาออกไม่ให้มีการไหลของกระแสไฟฟ้ามากเกินไป โดยการลดปริมาณกระแสไฟฟ้าให้มีการไหลออกในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อรักษาสมดุลของกระแสไฟฟ้าขาเข้าและกำลังไฟฟ้าของระบบให้เท่ากัน หรือเรียกอีกอย่างว่าหม้อแปลงเพิ่มไฟฟ้าเหมาะสำหรับการนำไปใช้งานในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องการเพิ่มแรงดันไฟฟ้า หรือใช้เป็นหม้อแปลงในการถ่ายโอนกระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต หลอดนีออน เตาไมโครเวฟ เครื่องเอ็กซเรย์ เป็นต้น

หม้อแปลงไฟฟ้าลด (Step Down Transformer)

หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

หม้อแปลงไฟฟ้าลด (Step Down Transformer) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าทำหน้าที่แปลงไฟฟ้าแรงดันสูงให้กลายเป็นไฟฟ้าที่มีแรงดันต่ำ โดยหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดนี้จะทำงานบนหลักการเหนี่ยวนำของแม่เหล็กไฟฟ้า ในหม้อแปลงไฟฟ้าขดลวดปฐมภูมิจะมีการหมุนมากกว่าขดลวดทุติยภูมิ ดังนั้นแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำจะลดลงในขดลวดทุติยภูมิ หม้อแปลงไฟฟ้าลดมีประโยชน์ในการลดแรงดันไฟฟ้าลงทำให้ส่งกำลังได้ง่ายขึ้น มีความทนทานสูงและมีความสามารถในการป้องกันไฟฟ้าสถิต เหมาะแก่การนำมาใช้งานสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนเกือบทุกชนิด หรือใช้เป็นหม้อแปลงในการถ่ายโอนกระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวง

หม้อแปลงไฟฟ้าเฟสเดียว (Single Phase Transformer)

หม้อแปลงไฟฟ้ามีประโยชน์อย่างไร

หม้อแปลงไฟฟ้าเฟสเดียว (Single Phase Transformer) เป็นหม้อแปลงที่ประกอบด้วยขดลวดปฐมภูมิและขดลวดทุติยภูมิอย่างละหนึ่งขดลวด ส่วนใหญ่จะใช้ในระบบพลังงานไฟฟ้าเฟสเดียว ซึ่งหม้อแปลงไฟฟ้าเฟสเดียวนิยมนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันต่ำ โดยหม้อแปลงชนิดนี้จะทำงานเป็นหม้อแปลงไฟฟ้าแบบ Step Down ใช้สำหรับการกระจายพลังงานและลดค่าแรงดันไฟฟ้าภายในบ้านให้เหมาะกับการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

หม้อแปลงไฟฟ้าสามเฟส (Three Phase Transformer) เป็นหม้อแปลงสำหรับใช้ในระบบพลังงานไฟฟ้า 3 เฟส โดยการพันหม้อแปลงของขดลวดปฐมภูมิและขดลวดทุติยภูมิ 3 เฟสในแกนเหล็กเดียวกัน มีการเชื่อมต่อ 2 แบบ คือ แบบ Delta และแบบ Wye สำหรับหม้อแปลงไฟฟ้าสามเฟสจะใช้ในการเพิ่มแรงดันไฟฟ้าหรือลดแรงดันไฟฟ้าของระบบส่งกำลัง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหม้อแปลงไฟฟ้าสามเฟสมักใช้กับระบบไฟฟ้าแรงดันสูง เช่น ตามอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ อพาร์ทเม้นท์ คอนโดมีเนียม ศูนย์การค้า โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น