การสร้างแรงจูงใจในการทํางานมีอะไรบ้าง

"แรงจูงใจคือ แนวโน้มแห่ง การพัฒนาความสามารถ ที่จะรับผิดชอบงาน เป็นคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวตนของมนุษย์ทุกคน" และจากข้อเขียนของเขาเมื่อปี ๑๙๖๐ เขาได้กล่าวว่า "เป็นความรับผิดชอบของผู้บริหาร ที่ต้องสร้างโอกาสใน การพัฒนาตนเอง และการก้าวหน้าในหน้าที่การงานให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาของตน"

Show

(หลักจิตวิทยาการบริหาร กอปรเชษฐ ตยัคคานนท์ แปล, หน้า ๑๕๖) นั่นหมายถึงผู้บังคับบัญชาจะต้องรับผิดชอบในการสร้างแรงจูงใจ ให้แก่ผู้ใต้บังคับ บัญชาของตน เนื่องจากบุคคลจะมีความต้องการความสำเร็จ ความพอใจ ความสนใจ ที่แตกต่างกันออกไป การสร้างแรงจูงใจในแต่ละคนจึงมีหลายวิธี เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่พึงปรารถนา มีข้อสังเกตว่าถึงแม้ แรงจูงใจจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคล แต่ในขณะ เดียวกันพฤติกรรมที่คนแสดงออกนั้น อาจจะแตกต่างกันก็ได้ ทั้งนี้เพราะผลจากประสบการณ์ แนวคิดเฉพาะบุคคล และสภาพแวดล้อมดังนี้

ถ้าคุณเป็นผู้บริหาร เจ้าของกิจการ หรือหัวหน้าทีม นอกจากจะต้องดูแลรับผิดชอบเรื่องงานแล้ว อีกสิ่งที่มองข้ามไม่ได้คือ “พนักงาน” ฟันเฟืองสำคัญที่จะทำให้งานสำเร็จลุล่วง ทว่า เป็นธรรมดาของพนักงาน รวมถึงตัวคุณเองด้วย ที่เคยมีวันขี้เกียจ ไม่อยากมาทำงาน ขาดแรงบันดาลใจในการทำงาน สมองไม่แล่น ฯลฯ หน้าที่ของคุณต้องกระตุ้นให้พวกเขามีความสุขกับการทำงาน

ก่อนอื่นมาดูกันว่าในระดับผู้บริหาร จะสร้างการมีส่วนร่วมกับพนักงานได้อย่างไร

1. ทำให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับองค์กร เหมือนเป็นหุ้นส่วนหรือคู่ค้าทางธุรกิจ เรียกง่ายๆ ว่าเหมือนเป็นเจ้าของด้วย

2. มีความโปร่งใส ในที่นี้หมายถึงการสื่อสารที่ชัดเจน ไม่ปกปิดในเรื่องที่ควรจะเปิดเผย อาทิ ข่าวสารภายในองค์กร และภายนอกที่เกี่ยวข้องกับบริษัทอื่นๆ

3. อย่ากลัวที่จะให้พวกเขาได้ทำงานใหม่ๆ ถ้าอยากให้พวกเขาพัฒนาตัวเอง นี่คือโอกาสที่เหมาะสมที่สุด

4. ปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความเคารพ มีความเท่าเทียมกัน ในที่ทำงานคุณอาจเป็นแค่หัวหน้าและลูกน้อง แต่นอกเวลางาน ทุกคนเป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่งเท่านั้น

5. รับฟังความคิดเห็นของพนักงาน ทัศนคติที่มีต่อผู้บริหาร สภาพแวดล้อมการทำงาน งานที่รับผิดชอบ สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ

ในส่วนของพนักงาน เราจะทำอย่างไรเพื่อให้การทำงานมีความสุขมากขึ้น

1. อย่างที่ทราบกันว่า ที่ออฟฟิสเราไม่ได้มาเพื่อทำงานอย่างเดียวเท่านั้น การได้เจอเพื่อนร่วมงานถือเป็นอีกหนึ่งแรงจูงใจดีๆ บางครั้งคุณอาจต้องทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้เพื่อนร่วมงานบ้าง มีผลสำรวจระบุว่า การให้ความช่วยเหลือคนอื่นวันละ 10-30 นาที จะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น ทั้งนี้ ถ้าทำในเวลางาน อาจดูไม่ดีเท่าไร ลองใช้เวลาพักเที่ยง หรือหลังเลิกงานจะดีกว่า

2. เข้าร่วมโครงการ หรือการฝึกอบรมทักษะต่างๆ นี่เป็นโอกาสที่คุณจะได้พัฒนาตัวเอง และต่อยอดการทำงานต่อไป

3. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ในแต่ละวันคุณควรตั้งเป้าหมายทั้งระยะสั้น-ยาว เป้าหมายเหล่านี้จะเป็นมิชชั่นที่คุณต้องทำทุกวัน เช่น วันนี้ต้องทำงานให้เสร็จกี่ชิ้น เตรียมเอกสารการประชุมให้เสร็จภายในกี่โมง เป็นต้น

4. ให้รางวัลตัวเอง และชื่นชมคนอื่น ในเวลาที่คุณบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ควรให้รางวัลตัวเองง่ายๆ เช่น กินของอร่อยๆ ซื้อเสื้อสวยๆ สักตัว ฯลฯ และในเวลาที่คนอื่นทำดี ควรกล่าวชื่นชมด้วย เพราะคำชมของคุณอาจสร้างแรงบันดาลใจดีๆ ให้พวกเขาได้

หากต้องการรักษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน สิ่งสำคัญคือต้องทำให้พนักงานของคุณมีความกระตือรือร้นและมีแรงจูงใจ เพราะพนักงานต้องการรู้สึกมีคุณค่า เป็นส่วนหนึ่งของทีม และมีความสำคัญต่อบริษัท สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างแรงจูงใจให้พนักงานที่อยากจะเติบโตและประสบความสำเร็จในบทบาทของตนเอง วิธีสร้างแรงจูงใจให้พนักงานที่คุณสามารถนำไปใช้ได้ในที่ทำงานของคุณจะมีอะไรบ้างนั้น มาดู 20 เทคนิคการสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน เพื่อเติมไฟให้กับบริษัทกันเลย

การสร้างแรงจูงใจในการทํางานมีอะไรบ้าง
การสร้างแรงจูงใจในการทํางานมีอะไรบ้าง

การสร้างแรงจูงใจให้พนักงานสำคัญอย่างไร?

เทคนิคสร้างแรงจูงใจให้พนักงานมีความสำคัญต่อความสำเร็จของบริษัท เพราะพนักงานที่มีแรงจูงใจจะทำงานอย่างมีเป้าหมาย และมองความสำเร็จของบริษัทเป็นเหมือนความสำเร็จของตนเอง นอกจากนั้น พนักงานที่มีความสุขจะทำงานได้มีประสิทธิผลที่ดี และมีแนวโน้มที่จะอยู่กับบริษัทมากกว่ามองหางานอื่น การสร้างแรงจูงใจให้พนักงานจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกๆ บริษัท

การสร้างแรงจูงใจในการทํางานมีอะไรบ้าง
การสร้างแรงจูงใจในการทํางานมีอะไรบ้าง

20 เทคนิคการสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน

เทคนิคการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานมีหลากหลาย โดยมีทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ปัจจัยภายใน เช่น  ความท้าทายส่วนตัว ความพึงพอใจในงาน ส่วนปัจจัยภายนอก เช่น ผลตอบแทน เงินเดือน โบนัส ของขวัญ  หากต้องการให้บริษัทของคุณกลายเป็นบริษัทที่ทุกคนต้องการทำงานด้วยก็จำต้องเข้าใจทั้งความต้องการทั่วไปของพนักงานส่วนใหญ่ และความต้องการอันเป็นเอกลักษณ์ของพนักงานแต่ละคน มาดูวิธีสร้างแรงจูงใจให้พนักงานเพื่อช่วยส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจให้กับพนักงานกัน

1. ผู้จัดการดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

มีพนักงานจำนวนไม่น้อยที่ลาออกจากงานเนื่องจากมีปัญหากับผู้จัดการ กลายเป็นความเสียหายต่อขวัญกำลังใจ แรงจูงใจ และประสิทธิภาพการทำงานของทีม ดังนั้น การสร้างทักษะความเป็นผู้นำจึงเป็นสิ่งสำคัญ บริษัทควรจัดให้มีการฝึกอบรมการจัดการสำหรับผู้ที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการ เพื่อให้ได้ผู้จัดการที่น่าเคารพ มีความซื่อสัตย์ เป็นผู้นำ และผู้ให้คำปรึกษาที่ยอดเยี่ยม ผู้จัดการที่ดียังสามารถกำหนดเป้าหมายให้ทีม และแจกจ่ายงานได้เหมาะสมด้วย บอกได้เลยว่าถ้าทีมที่เชื่อใจผู้จัดการแล้ว ก็จะกล้ามีส่วนร่วมมากขึ้น มั่นใจในการทำงาน และมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น

2. มีเป้าหมายและความน่าเชื่อถือ

ปัจจัยที่สร้างแรงจูงใจให้พนักงานอีกประการหนึ่งคือการกำหนดเป้าหมายของบริษัทอย่างชัดเจน ซึ่งหมายความว่าพนักงานควรเข้าใจภาพรวมและตำแหน่งของตนเองในบริษัท หากพนักงานรู้ว่าทำไมพวกเขาถึงต้องทำงานนี้ และงานที่ทำมีส่วนช่วยให้บริษัทบรรลุวัตถุประสงค์อย่างไร พวกเขาจะรู้สึกมั่นใจในบทบาทของตนเอง และจะทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. โปร่งใส และชัดเจน

การเข้าใจภาพรวมว่าธุรกิจดำเนินไปอย่างไรบ้าง เป็นหนึ่งในวิธีสร้างแรงจูงใจให้พนักงานในการทํางาน เพราะเมื่อพนักงานเห็นภาพใหญ่ ก็จะเข้าใจบทบาทและความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเองมากขึ้น รวมถึงรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับธุรกิจมากขึ้นด้วย ดังนั้น ควรแบ่งปันข้อมูลที่โปร่งใสและชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจกับพนักงานเป็นประจำ

4. เข้าใจแรงผลักดันและความแตกต่างของแต่ละคน

การสร้างแรงจูงใจให้พนักงานที่ดี คือการค้นหาสิ่งที่จูงใจของพนักงานแต่ละคน เพราะไม่ใช่ทุกคนจะมีแรงจูงใจในลักษณะเดียวกัน เงินและรางวัลไม่ได้ส่งเสริมให้พนักงานทำงานหนักขึ้นเสมอไป  บางคนอาจรู้สึกว่าเส้นทางอาชีพของตนสำคัญกว่าสิ่งจูงใจภายนอกเหล่านี้ ควรพูดคุยและถามว่าอะไรเป็นกุญแจที่กระตุ้นให้พวกเขาอยากทำงาน หรือทำแบบสำรวจแรงจูงใจของพนักงานก็ได้

การสร้างแรงจูงใจในการทํางานมีอะไรบ้าง
การสร้างแรงจูงใจในการทํางานมีอะไรบ้าง

5. ฝึกอบรม (Training)

การฝึกอบรมสามารถสร้างแรงบันดาลใจ และแสดงให้เห็นว่านายจ้างทุ่มเทเพื่อช่วยให้พนักงานได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรมปฐมพยาบาล การจัดการงบประมาณ หรือการฝึกอบรมทางคอมพิวเตอร์ก็สามารถกระตุ้นให้พนักงานพัฒนาทักษะของตน และสามารถเพิ่มความมั่นใจให้กับพวกเขาได้

6. มองเห็นความสำเร็จของพนักงานแต่ละคน

แม้ว่าการทำงานเป็นทีมจะสำคัญ แต่การมองเห็นความสำเร็จของพนักงานแต่ละคนก็สำคัญไม่แพ้กัน หากคุณกำหนดเป้าหมายส่วนบุคคลของพนักงานแต่ละคนเป็นประจำ พวกเขามักจะมีความมุ่งมั่นในการทำงาน และรู้สึกมีแรงจูงใจอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

7. ตั้งเป้าหมายงานเล็กๆ พร้อมรางวัลที่มองเห็นได้

ลองกำหนดเป้าหมายให้เล็กลงและวัดผลได้ เช่นเปลี่ยนจากเป้าหมายต่อเดือน เป็นเป้าหมายย่อยต่อสัปดาห์ และหากพนักงานทำได้ก็มีการฉลองความสำเร็จเป็นรางวัลเล็กๆ ที่จับต้องได้อย่างช่วงเวลาหยุดพิเศษ บัตรกำนัล หรือของขวัญ เป็นวิธีสร้างแรงจูงใจให้พนักงานในการทํางานที่ทำได้ง่ายและได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง

8. ฉลองตามโอกาสสำคัญ หรือตามความสำเร็จสำคัญ

นอกเหนือจากรางวัลในเป้าหมายเล็กๆ รางวัลและการฉลองในทุกความสำเร็จใหญ่ๆ ก็สำคัญเช่นกัน เช่น มีงานฉลองเล็กๆ เลี้ยงอาหารกลางวัน ปาร์ตี้มื้อเย็น เนื่องในโอกาสครบรอบห้าปีบริษัท ปิดดีลรายใหญ่ หรือยอดขายปลายปีดี การจัดงานฉลองเหล่านี้เป็นโอกาสที่จะสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน ทำให้พวกเขารู้สึกภูมิใจ เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ และรู้ว่ามีรางวัลรออยู่เมื่อบรรลุเป้าหมาย

9. ให้อิสระในการทำงาน

การให้พนักงานมีอิสระและไว้วางใจพนักงาน โดยไม่ต้องคอยตรวจสอบอยู่ตลอดเวลาก็เป็นหนึ่งในวิธีการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานที่ดี เพราจะทำให้พนักงานเกิดความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น และรู้สึกว่าได้รับความเชื่อใจ จึงกล้าแสดงศักยภาพของตัวเองออกมาให้เต็มที่ขึ้น

10. จัดการภาระงาน (Workloads)

การช่วยลดภาระงานของพนักงาน เป็นวิธีสร้างแรงจูงใจให้พนักงานในการทํางานได้ หากพนักงานต้องอยู่ดึกหรือมาแต่เช้าเพื่อทำงานให้ทัน แสดงว่ามีงานมากเกินไป ลองแจกจ่ายปริมาณงานอย่างเป็นธรรมและเหมาะสม หรืออาจจำเป็นต้องจ้างพนักงานเพิ่มเพื่อลดปริมาณงานของพนักงาน อย่าให้พนักงานของคุณทำงานหนักเกินไป เพราะจะนำไปสู่ความเครียดและความเหนื่อยหน่ายได้

การสร้างแรงจูงใจในการทํางานมีอะไรบ้าง
การสร้างแรงจูงใจในการทํางานมีอะไรบ้าง

11. เปิดรับความเห็น

การรับฟังความคิดเห็นสามารถเพิ่มแรงจูงใจและการมีส่วนร่วมจากภายในได้ โดยอาจจัดทำแบบสำรวจเกี่ยวกับการทำงาน สอบถามกันในระหว่างการประชุมเสนอไอเดีย ไปจนถึงสอบถามว่าพนักงานคิดอย่างไรกับการทำงานทางไกล และเมื่อคุณจำเป็นต้องทำการตัดสินใจที่จะส่งผลต่อชีวิตของพนักงาน ก็ให้พวกเขาได้มีส่วนในการตัดสินใจเหล่านั้นด้วย

12. สร้างพลังงานบวก

การสร้างพลังงานบวกเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการรักษาแรงจูงใจของพนักงาน ทั้งยังมีผลวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าความสุขสามารถเพิ่มผลผลิตในที่ทำงานได้อย่างมากด้วย โดยวิธีที่ง่ายที่สุดในการสร้างพลังงานเชิงบวกก็คือใช้ตัวคุณเองนั่นแหละแผ่พลังงานบวกออกมา ไม่ว่าจะเป็นการยิ้มแย้ม หัวเราะ หรือสนุกไปกับการทำงานก็ได้ผลทั้งนั้น มาแสดงพลังงานบวกในที่ทำงานอย่างสม่ำเสมอกันเถอะ

13. สร้างสมดุลชีวิตงานและชีวิตส่วนตัว

การสร้างสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวกับงานไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป หลายคนมีครอบครัว มีลูก มีคู่รัก นายจ้างที่เข้าใจสิ่งนี้และจัดการภาระงานไม่ให้มากเกินเวลาทำงานปกติ รวมถึงจัดให้มีวันหยุดพักผ่อน และมีเวลาหยุดเพื่อให้พนักงานได้จัดการปัญหาส่วนตัวออย่างเพียงพอ จะสร้างแรงจูงใจให้พนักงานได้ เมื่อสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่เหมาะสมสำเร็จ พนักงานก็จะมีสมาธิกับงานมากขึ้น เพราะไม่ต้องกังวลกับปัญหาภายนอก

14. สร้างสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี

การสร้างเสริมสุขภาพพนักงาน เป็นวิธีสร้างแรงจูงใจให้พนักงานในการทํางานที่องค์กรใหญ่ๆ หลายแห่งนิยมทำ เช่น ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพ ให้สิทธิ์เป็นสมาชิกฟิตเนส หากิจกรรมออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาที่ได้ทั้งสุขภาพกาย และกระชับสัมพันธ์สุขภาพใจ อาทิ เทนนิส แบดมินตัน ตีกอล์ฟ รวมถึงปรับปรุงขวัญกำลังใจของพนักงาน ให้คำปรึกษาปัญหา เพื่อลดความเครียด และสร้างสุขภาพจิตที่ดีในที่ทำงานอยู่เสมอ

การสร้างแรงจูงใจในการทํางานมีอะไรบ้าง
การสร้างแรงจูงใจในการทํางานมีอะไรบ้าง

15. ตั้งรับความขัดแย้งไว้ก่อน

ความขัดแย้งในที่ทำงานไม่สามารถป้องกันได้เสมอไป หากมีปัญหาเกิดขึ้นระหว่างพนักงานของคุณ คุณต้องรับฟังเรื่องราวของพนักงานและพร้อมที่จะเป็นกลางและยุติธรรมเมื่อต้องแก้ไขปัญหา ช่วยให้พนักงานของคุณปรับความเข้าใจกัน และสามารถกลับไปทำงานเป็นทีมได้

16. อย่าให้ความเบื่อมาผจญ

ความเบื่อหน่ายเป็นตัวทำลายแรงจูงใจ จึงควรหากิจกรรมที่มีความแปลกใหม่ให้พนักงานทำอยู่เสมอ หรืออาจเปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ และให้ร่วมเสนอแนวคิดสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ อาทิ การสร้างตราสินค้า หรือโลโก้ จากนั้นอาจให้รางวัลแก่ผู้ชนะ เพราะการได้รับการยอมรับในด้านทักษะอื่นๆ นอกเหนือจากหน้าที่ประจำสามารถลดความเบื่อหน่ายในงานและสร้างแรงจูงใจให้พนักงานได้

17.  Outing ท่องเที่ยวกระชับสัมพันธ์

ส่งเสริมการออกไปท่องเที่ยว หรือจัด Outing บริษัท เพื่อกระชับความสัมพันธ์ของคนในทีม เพราะแรงจูงใจของพนักงานเชื่อมโยงกับความสัมพันธ์ในทีมด้วย ทีมที่ทำงานร่วมกันได้ดีและมีความสุขมักให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า โดยอาจเริ่มจากการจัดทริปสังสรรค์ในประเทศก่อน หรือจัดไปต่างประเทศก็ยิ่งน่าตื่นเต้น ช่วยกระตุ้นแรงจูงใจในการทำงาน ให้พนักงานได้มีเวลาในการพักผ่อนกายใจ และพร้อมกลับมาทำหน้าที่ของตนเองอย่างมีความสุข

18. สถานที่ทำงานปลอดโปร่งร่มรื่น พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก

สภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นหนึ่งในวิธีสร้างแรงจูงใจให้พนักงานในการทํางานที่สำคัญ ที่ทำงานสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์ทันสมัย และสิ่งอำนวยความสะดวก จะส่งเสริมความสำเร็จมากกว่าอาคารเก่าที่มีการตกแต่งไม่ดี ไม่น่าทำงาน สถานที่ทำงานควรมีแสงธรรมชาติ และอุณหภูมิที่สบาย มีพื้นที่สำหรับนั่งชิลล์ กินอาหารกลางวัน เล่นบอร์ดเกมคลายเครียด หรือนั่งพูดคุย

19.  เงิน สวัสดิการ และโอกาสก้าวหน้า

เป้าหมายและเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพที่ชัดเจนเป็นแรงจูงใจชั้นดีของพนักงาน หากมีการเลื่อนตำแหน่ง ก็สามารถส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานให้ดีขึ้นได้  พนักงานทุกคนจึงควรมีโอกาสได้เติบโตและพัฒนาไปพร้อมกับบริษัท รวมถึงมีเงินเดือนและสวัสดิการที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุนพวกเขาให้พยายามได้อย่างเต็มที่

การสร้างแรงจูงใจในการทํางานมีอะไรบ้าง
การสร้างแรงจูงใจในการทํางานมีอะไรบ้าง

20. สื่อสาร และขอความเห็นเรื่อยๆ 

การขอความคิดเห็นจากพนักงานเป็นวิธีสร้างแรงจูงใจให้พนักงานในการทํางานอีกวิธีหนึ่ง อาจใช้การสำรวจหรือแบบสอบถามเมื่อต้องการความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ซึ่งหลังจากขอความคิดเห็นแล้ว ก็ควรแสดงว่าคุณได้ฟัง และพิจารณาความคิดเห็นเหล่านั้นด้วย เพื่อให้พนักงานรู้สึกว่าตนเป็นส่วนสำคัญของบริษัทนั่นเอง

การสร้างแรงจูงใจในการทํางานมีอะไรบ้าง
การสร้างแรงจูงใจในการทํางานมีอะไรบ้าง

สัญญาณที่บอกว่าพนักงานขาดแรงจูงใจ

หลังภาวะเศรษฐกิจถดถอย พนักงานหลายคนรู้สึกสูญเสียแรงจูงใจในการทำงานด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น ความเครียดและความไม่พอใจในงาน คุณจึงต้องตระหนักถึงสัญญาณของพนักงานที่กำลังขาดแรงจูงใจ และสัญญาณที่จะบอกได้นั้น มีดังนี้

  • ผลผลิตและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานอาจลดลง
  • เข้างานสายขึ้น หรือพักเที่ยงนานเกินเวลา
  • มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านบุคลิกภาพและพฤติกรรม เช่น หงุดหงิดหรือโมโหง่าย
  • ได้รับการร้องเรียนจากลูกค้า หรือความคิดเห็นของพนักงานคนอื่นๆ เกี่ยวกับทัศนคติหรือการกระทำของพนักงานรายใดรายหนึ่ง
  • ปลีกตัวออกจากวงสังคม เริ่มไม่มีส่วนร่วมกับทีม หรือมีการเว้นระยะห่างจากพนักงานคนอื่นๆ
  • ส่งงานช้าเกินกำหนดเวลา
  • มีอัตราการลาออกที่สูงขึ้น

ปฏิเสธไม่ได้ว่าทรัพยากรบุคคลเป็นฟันเฟืองสำคัญในธุรกิจ การสร้างแรงจูงใจให้พนักงานจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเพิ่มความสำเร็จให้แก่องค์กรได้ โดยวิธีสร้างแรงจูงใจให้พนักงานในการทํางานต้องเริ่มต้นจากการมีเป้าหมายที่พนักงานมองเห็นได้ มีความชัดเจนในการบริหาร เข้าใจแรงผลักดันของแต่ละคน สร้างสภาพแวดล้อมที่ตอบโจทย์การทำงานของพนักงาน และสื่อสารกันอยู่เสมอ รวมถึงมีการจัดกิจกรรมคลายเครียด จัด outing บริษัทส่งเสริมความสัมพันธ์ แน่นอนว่าค่าตอบแทนและการมอบโอกาสในการก้าวหน้าก็สำคัญไม่แพ้กัน

ติดต่อเรา

24 HOURS A DAY

แรนโช ชาญวีร์ รีสอร์ท แอนด์ คันทรีคลับ เขาใหญ่

333/4 หมู่ 12 ตำบลขนงพระ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30450

อีเมล : [email protected]

โทร. : +66 44 756210-3
แฟกซ์ : +66 44 756210-3
โทร. : 088-378-2324 (โรงแรม),
088-375-4466 (สนามกอล์ฟ)

Show on map

Get in touch. We are waiting for you

SOCIAL MEDIA CHANNELS

Newsletter

SIGN UP FOR SPECIAL OFFERS

SUBSCRIBE

Copyright © 2022 charnveeresortkhaoyai.com. All rights Reserved.

Keep me signed in

Login

Register

Lost your password? Please enter your username or email address. You will receive a link to create a new password via email.