ข้อสันนิษฐานทางดนตรีมีอะไรบ้าง

วงปี่พาทย์

           วงปี่พาทย์  เป็นวงดนตรีที่เกิดจากการประสมวงกัน ระหว่างเครื่องดนตรีประเภท
     เครื่องเป่า คือ ปี่ และประเภทเครื่องตีต่าง ๆ นอกจากนี้มีเครื่องกำกับจังหวะเป็นส่วน
     ประกอบอยู่ด้วย  วงปี่พาทย์แบ่งออกเป็น  3  ขนาด คือ วงปี่พาทย์เครื่องห้า
     วงปี่พาทย์เครื่องคู่ และวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่

 

ข้อสันนิษฐานทางดนตรีมีอะไรบ้าง

 
 

วงปี่พาทย์เครื่องห้า

 

     ประวัติ
               วงปี่พาทย์เครื่องห้า  เป็นวงดนตรีที่มีผู้รู้หลายท่านให้ความเห็นแตกต่างกันถึงการ
     เกิดขึ้นของวง    กล่าวคือ    บางท่านให้ความเห็นว่าเป็นวงดนตรีที่เกิดขึ้นแล้วตั้งแต่สมัย
     สุโขทัย   แต่บางท่านให้ความเห็นว่า   เป็นวงดนตรีที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา   แต่จากการ
     ศึกษาพบว่า  มีหลักฐานระบุถึงการเกิดขึ้นแล้วของระนาดเอก  และฆ้องวง  นั่นก็คือ  
     ศิลาจารึก วัดช้างล้อม จังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นศิลาจารึกสมัยสุโขทัย ประมาณ พ.ศ. 1927
     ข้อความในหลักศิลาจารึกกล่าวถึงพ่อนมไสดำได้ถวายของแก่วัดในพระพุทธศาสนาดังนี้
     " ...พาทย์คู่หนึ่ง...ฆ้อง 2 อัน กลอง 3 อัน แตรสังข์ เขาควายแต่งให้ไว้ถวายแกพระเจ้า..." 
     จากข้อความดังกล่าวมีผู้รู้วิเคราะห์คำว่าพาทก็คือระนาด ซึ่งก็น่าจะหมายถึงระนาดเอก 
     และคำว่าฆ้องก็น่าจะหมายถึงฆ้องวงใหญ่   จากข้อวิเคราะห์ดังกล่าวเนื่องจากเครื่อง
     ดนตรีสองชิ้นนี้เป็นเครื่องดำเนินทำนองหลักในวงปี่พาทย์เครื่องห้า ทำให้สันนิษฐานได้ว่า
     วงปี่พาทย์เครื่องห้า  น่าจะได้รับการพัฒนาขึ้นแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัยนั่นเอง
               เครื่องดนตรีที่ประสมอยู่ในวงปี่พาทย์เครื่องห้า ประกอบด้วย


1.  ปี่ใน
2.  ระนาดเอก 
3.  ฆ้องวงใหญ่ 
4.  ตะโพน 
5.  กลองทัด
6.  ฉิ่ง 
1  
1  
1  
1  
2  
1  
เลา
ราง
ว ง
ลูก
ลูก
คู่

     โอกาสในการนำวงปี่พาทย์เครื่องห้าไปใช้
            วงปี่พาทย์เครื่องห้า  เป็นวงดนตรีที่มีขนาดเล็กกะทัดรัดเหมาะที่จะนำไปใช้ในงานหรือ
     กิจกรรมต่าง ๆ ทั้งที่เป็นมงคลและอวมงคลต่าง ๆ ดังนี้
            1. ใช้บรรเลงประกอบพิธีกรรม เช่น พิธีไหว้ครู พิธีเปิดสถานที่ใหม่ พิธีกรรมทางศาสนา
     เช่น  พิธีเจริญพระพุทธมนต์   การเทศน์มหาชาติ   หรือแม้กระทั่งงานบำเพ็ญกุศลศพต่างก็
     นิยมใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าด้วย
            2. ใช้บรรเลงประกอบการแสดง  เช่น  การแสดงโขน  และละครต่าง ๆ  หรือแม้กระทั่ง
     การแสดงลิเกของภาคกลางก็สามารถใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าบรรเลงประกอบได้ด้วย
            3. ใช้บรรเลงเพื่อความบันเทิงทั่วไป   เช่น    บรรเลงประกอบการขับร้อง   หรือบรรเลง
     เฉพาะเครื่องดนตรีล้วน ๆ ไม่มีการขับร้องร่วมก็ได้

ดนตรีไทย

Posted: กันยายน 27, 2012 in Uncategorized

ข้อสันนิษฐานทางดนตรีมีอะไรบ้าง

ข้อสันนิษฐานทางดนตรีมีอะไรบ้าง

ดนตรีไทยมีกำเนิดมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งจากการสันนิษฐานของผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีและประวัติศาสตร์ ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการกำเนิดหรือที่มาของดนตรีไทย ดังนี้

แนวคิดที่ 1 สันนิษฐานว่า ดนตรีไทยได้แบบอย่างมาจากอินเดีย เนื่องจากอินเดียเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก เหตุผลสำคัญที่สนับสนุนแนวคิดนี้ คือ ลักษณะของเครื่องดนตรีไทยได้จำแนกได้ใกล้เคียงกับลักษณะเครื่องดนตรีของอินเดียตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ “สังคีตรัตนากร” บุคคลสำคัญที่เป็นผู้เสนอแนวทางนี้ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชา- นุภาพ

แนวคิดที่ 2 สันนิษฐานว่า ดนตรีไทยเกิดมาจากความคิดและสติปัญญาของคนไทยที่มีพร้อมกับคนไทยตั้งแต่สมัยที่ยังอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีนแล้ว สังเกตจากการที่เครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทยจะมีชื่อเรียกเป็นคำโดด ซึ่งเป็นลักษณะของคำไทยแท้ เช่นฉิ่ง ฉาบ ปี่ เป็นต้น ต่อมาภายหลังจึงได้รับวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาผสมผสาน ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมแบบอินเดีย มอญ เขมร และรับดนตรีบางอย่างของประเทศเพื่อนบ้านมาใช้เล่นในวงดนตรีไทยด้วย เช่น – กลองแขก ปี่ชวา ของชวา (อินโดนีเซีย) – เปิงมาง ปี่มอญ ตะโพนมอญและฆ้องมอญ ของมอญ – กลองยาว ของพม่า

นับตั้งแต่ไทยได้มาตั้งถิ่นฐานในแหลมอินโดจีนและได้ก่อตั้งอาณาจักรไทยขึ้น จึงถือเป็นการเริ่มต้นประวัติศาสตร์ไทย จากหลักฐานต่างๆ ที่เป็นลายลักษณ์อักษรได้ถูกนำมาใช้อ้างอิงในเรื่องวิวัฒนาการของดนตรีไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นต้นมา ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

สมัยสุโขทัย ดนตรีไทยมีลักษณะเป็นการขับลำนำ และร้องเล่นกันอย่างพื้นเมือง สันนิษฐานว่า วงดนตรีสมัยสุโขทัย น่าจะมีดังนี้ 1. วงบรรเลงพิณ มีผู้บรรเลง 1 คน ทำหน้าที่ดีดพิณและขับร้องไปด้วย

2. วงขับไม้ มีผู้บรรเลง 3 คน

3. วงปี่พาทย์ เป็นลักษณะของวงปี่พาทย์เครื่องห้า มี 2 ชนิดคือ วงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างเบา ใช้บรรเลงประกอบละครชาตรีประกอบด้วยเครื่องดนตรี คือ ปี่ กลองชาตรี ทับ(โทน) ฆ้องคู่ ฉิ่ง วงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างหนัก ใช้บรรเลงประโคมในงานพิธีหรือการแสดงมหรสพต่างๆ ประกอบ ด้วยเครื่องดนตรี คือ ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง

4. วงมโหรี เป็นการนำวงบรรเลงพิณผสมกับวงขับไม้ มีผู้บรรเลง 4 คน

สมัยกรุงศรีอยุธยา วงดนตรีไทยในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาขึ้นมากกว่าในสมัยสุโขทัย ดังนี้

1. วงปี่พาทย์ วงปี่พาทย์เครื่องห้ามีระนาดเอกเพิ่มขึ้นมา

2. วงมโหรี พัฒนาจากมโหรีเครื่องสี่เป็นวงมโหรีเครื่องหก โดยเพิ่มเครื่องดนตรี 2 ชิ้น คือ ขลุ่ย และรำมะนา

สมัยกรุงธนบุรี

       วงดนตรีในสมัยนี้ไม่ได้ปรากฏหลักฐานว่ามีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลง

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ในสมัยนี้ศิลปวัฒนธรรมได้รับการฟื้นฟูและส่งเสริมขึ้น จึงได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงดนตรีให้เจริญขึ้นตามลำดับ ดังนี้

สมัยรัชกาลที่ 1  มีลักษณะและรูปแบบตามที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่มีการพัฒนาบ้าง    คือ เพิ่มกลองทัด 1 ลูก ในวงปี่พาทย์

สมัยรัชกาลที่ 2   ถือว่าเป็นยุคทองของดนตรีไทยยุดหนึ่ง การพัฒนาเปลี่ยนแปลงดนตรีไทย    ในยุดนี้ คือ การนำเอาวงปี่พาทย์มาบรรเลงประกอบการขับเสภาเป็นครั้งแรก และมี “กลองสอง    หน้า” เกิดขึ้น ใช้ตีกำกับจังหวะแทนตะโพนในวงปี่พาทย์

สมัยรัชกาลที่ 3  มีการพัฒนาวงปี่พาทย์ให้เป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ มีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มมาคู่    กับระนาดเอก และฆ้องวงเล็กคู่กับฆ้องวงใหญ่

สมัยรัชกาลที่ 4  มีการปรับปรุงวงปี่พาทย์ขึ้นเป็นวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ โดยมีการประดิษฐ์    เครื่องดนตรี คือ ระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็ก ในสมัยนี้มีการร้องเพลงส่งให้ดนตรีรับ    เรียกว่า “การร้องส่ง” เกิดขึ้น มีเพลงเถาและมีวงเครื่องสายเกิดขึ้น

สมัยรัชกาลที่ 5  มีการปรับปรุงวงปี่พาทย์ เรียกว่า “วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์” โดยเจ้าฟ้ากรม    พระยานริศรานุวัติวงศ์ ใช้บรรเลงประกอบการแสดง”ละครดึกดำบรรพ์”

สมัยรัชกาลที่ 6  มีการปรับปรุงวงปี่พาทย์ขึ้นใหม่โดยนำวงดนตรีของมอญมาผสมกับวงปี่พาทย์    ของไทย เรียกว่า “วงปี่พาทย์มอญ” โดยหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) นอกจากนี้ยังมี    การนำเครื่องดนตรีต่างชาติเข้ามาบรรเลงผสมด้วย

สมัยรัชกาลที่ 7  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยทางด้านดนตรีไทย และ    ได้พระราชนิพนธ์เพลงไทยไว้ด้วย