กฎระเบียบของพนักงานมีอะไรบ้าง

กฏระเบียบพนักงาน บริษัท LEGEND OF PRODUCT (LOP)

วันที่ทำงาน : จันทร์-เสาร์ / หยุด : อาทิตย์

เงิน1แรง = ฐานเงินเดือน หารด้วยวันทำงาน

  1. ตำแหน่งที่หยุดทุกวันอาทิตย์ ใน1เดือนจะทำงาน26วัน
  2. ตำแหน่งที่หยุดทุกวันเสาร์1วัน/เดือน+ทุกวันอาทิตย์4วัน ใน1เดือน=ทำงาน25วัน
  3. ตำแหน่งที่หยุดทุกวันเสาร์2วัน/เดือน+ทุกวันอาทิตย์4วัน ใน1เดือน=ทำงาน24วัน
  4. ตำแหน่งที่หยุดทุกวันเสาร์4วัน+ทุกวันอาทิตย์4วัน ใน1เดือน=ทำงาน22วัน
  5. ตำแหน่งที่ทำงาน3วันต่อสัปดาห์หรือไม่น้อยกว่า12วันต่อเดือน ใน1เดือน=ทำงาน12วัน

ตัวอย่าง : นายAมีฐานเงินเดือน 16,000บาท/เดือน ทำงาน24วันต่อเดือน

  • นายA มีค่าแรงต่อวัน เท่ากับ 16,000/24 = 667บาท (1แรง)
  • นายA ลาหยุด2วัน และสิทธิ์ลาพักร้อนหมดแล้ว นายAจะถูกหักเงิน2แรง = 1,333บาท

เวลาทำงาน

  • จันทร์-ศุกร์ เข้างาน 08.00 / พัก 12.00-13.00น. / เลิกงาน 16.30น.
  • สาร์  เข้างาน 08.00 /.พักเที่ยง 12.00-13.00น. / เลิกงาน 15.30น.
    • เช้า เข้างานก่อน 8.00น. เกินเวลาถือว่าสาย
    • บ่าย เข้างานก่อน 13.00น. เกินเวลาถือว่าสาย
  • เฉพาะฝ่ายผลิต พักเบรคได้เวลา 15.00-15.15น และกลับถึงห้องทำงานไม่เกิน15.20น. ยกเว้นวันเสาร์ไม่มีพักเบรค
  • OT เริ่ม 17.30น. หรือแล้วแต่หัวหน้างานกำหนด

กฏการเข้าทำงาน

  • ยึดเอานาฬิกาของออฟฟิตเป็นตัวตั้งครับ ไม่ใช่ตามเวลานาฬิกาพนักงาน
  • เริ่มงาน 8.00น. พร้อมอยู่ในพื้นที่ทำงาน ถ้าตรวจพบว่าอยู่นอกพื้นที่ทำงานโดยไม่แจ้ง หัก100บาท/ครั้ง ถ้า1วันเกิน4ครั้งถูกหัก1แรง
  • พักเวลา 12.00น. ถ้าออกก่อนเวลาถูกหัก 100บาท/ครั้ง
  • เข้างาน 13.00น. พร้อมอยู่ในพื้นที่ทำงาน ถ้าตรวจพบว่าอยู่นอกพื้นที่ทำงานโดยไม่แจ้ง หัก100บาท/ครั้ง ถ้า1วันเกิน4ครั้งถูกหัก1แรง
  • ออกงาน 16.30น. ถ้าออกก่อนเวลาถูกหัก 100บาท/ครั้ง

การแต่งกายเครื่องแบบพนักงาน

  • พนักงานใหม่ต้องมีเสื้อยูนิฟอร์บริษัทอย่างน้อย3ตัว (ซื้อ200฿/ตัว)
  • จันทร์-ศุกร์ แต่งกายสุภาพเครื่องแบบบริษัทตามที่กำหนดของแต่ละแผนก
  • เสาร์ แต่งกายสุภาพสามารถใส่ชุดอื่นๆได้ แต่ให้เป็นตามข้อกำหนด

ข้อกำหนดการแต่งกาย

  • กางเกง : กำหนดให้สวมกางเกงขายาวเต็มตัวหรือ สีดำ น้ำตาล น้ำเงิน ยีนส์ โดยไม่มีลวดลาย ไม่ฉีกขาด ห้ามใส่กางเกงขาสั้นหรือขาสามส่วน
  • กระโปรง : กำหนดให้สวมกระโปรงสีพื้นเรียบ ลวดลายไม่มากเกินไป ไม่สั้นเหนือหัวเข่าเกิน 2 นิ้วหรือไม่ยาวเกินไปแบบลากพื้น
  • รองเท้า : สวมรองเท้าผ้าใบสีสุภาพ รองเท้าหนัง รองเท้าหุ้มส้น ร้องเท้าส้นสูง ห้ามใส่รองเท้าแตะ อนุญาตให้ ถอดรองเท้าขณะปฏิบัติงานได้
  • เครื่องประดับ :
    • งดสวมเครื่องประดับราคาแพง หรือแลดูราคาแพง ในตำแหน่งที่มองเห็นได้ชัดเจน อาทิ ต่างหู แหวน กิ๊บหนีบผม สร้อย เป็นต้น
    • งดใช้เครื่องประดับสีฉูดฉาดเกินควร เช่น กิ๊บหนีบผมสีฉูดฉาดหลากหลายสี เป็นต้น
  • ทรงผม : สุภาพสตรี ให้รวบผมที่ยาวเกินหัวไหล่มัดให้สุภาพเรียบร้อย ถักเปียได้ หรือบังคับทรงผมให้เรียงเส้นเรียบร้อยสุภาพด้วยเจล โฟม ไม่ชี้ฟู
  • ทรงผม : สุภาพบุรุษ ให้จัดทรงผมเรียบร้อยไม่ชี้ฟู ผมไม่ยาวเกินไป บังคับไม่เกิน10ซม. หรือแลดูไม่สุภาพเรียบร้อย , หนวด เครา ควรโกนให้สะอาดเรียบร้อย
  • การแต่งหน้า : ให้แต่งหน้าโทนสีอ่อน แบบเป็นธรรมชาติ ไม่เข้มจัด งดใช้สีม่วง ดำ น้ำเงิน หรือสีที่เข้มจัด ในการแต่งหน้างดสีฉูดฉาดเกินไป
  • เล็บของพนักงานชาย –หญิง : เล็บควรสั้น ไม่สกปรก ไม่ทาเล็บสีดำ ม่วง น้ำเงิน หรือสีฉูดฉาด งดไว้เล็บยาวเกินงาม เพื่อความสะดวกในการใช้คอมพิวเตอร์
  • ให้สวมใส่เสื้อฟอร์มและแต่งกายตามคำแนะนำ หากมีปัญหาไม่สามารถสวมใส่ชุดฟอร์มได้ อนุโลมให้สวมเสื้อสีเทา-ดำ(สีเดียวกับเสื้อบริษัท) มีปกทดแทนได้
  • พนักงานทดลองงานให้ใส่สีพื้น ขาว เทา ดำ

การส่งผลตรวจสุขภาพประจำปี

  1. ส่งผลตรวจสุขภาพ1ครั้งทุกๆ12เดือน
  2. การไม่ส่งผลตรวจสุขมีผลไม่พิจารณาขึ้นเงินเดือนและไม่ได้รับโบนัส

การลงโทษทางวินัยเมื่อทำผิดกฏระเบียบ

  1. เตื่อนด้วยวาจา และให้โอกาสชี้แจงเป็นรายครั้งไป แต่ถ้าความผิดนั้นรายแรงบริษัทจะแจ้งเตือนเข้าไปในระบบพนักงาน
  2. เตื่อนในระบบพนักงาน โดยพนักงานสามารถเห็นได้เมื่อเข้าใช้ระบบพนักงานของบริษัท
  3. พักงานตามระยะเวลาที่สั่ง ในช่วงที่พักงานพนักงานจะถูกหักตามจำนวนวันที่พักงาน =1แรงต่อวัน
  4. เลิกจ้าง หรือปลดออก

สิทธิ์การมาสาย ไม่เกิน60ครั้ง/ปี

  • เช็คชื่อเข้างานไม่เกินเวลาที่กำหนด ช่วงเช้า 8.00น. / ช่วงบ่าย 13.00น.
  • มาสาย ไม่เกิน60ครั้ง/ปี และไม่เกิน15ครั้งต่อเดือน และไม่เกิน30นาทีต่อครั้ง จะไม่ถูกหักเงิน
  • มาสาย เกิน30นาที ถูกหักเงินคำนวนจาก = นาทีที่สาย X 0.01%ของเงินเดือน
  • มาสาย เกิน60ครั้งต่อปี ครั้งต่อไปจะถูกหัก = นาทีที่สาย X 0.1%ของเงินเดือน
    • สายเกิน60ครั้ง=เตือน1ครั้ง
    • สายเกิน75ครั้ง=เตือน1ครั้ง
    • สายเกิน90ครั้ง=เตือน1ครั้ง
  • ตัวอย่างการหักเงิน
    • ตัวอย่าง : พนักงานA มีฐานเงินเดือน 15000฿ มาทำงานเวลา 8.29น. มาสายคิดเป็น1ครั้ง แต่ไม่ถูกหักเงิน
    • ตัวอย่าง : พนักงานB มีฐานเงินเดือน 15000฿ มาทำงานเวลา 8.32น. มาสายคิดเป็น1ครั้ง และถูกหักเงิน 32*1.5(0.01%)=48บาท
    • ตัวอย่าง : พนักงานC มีฐานเงินเดือน 15000฿ มาทำงานเวลา 8.32น. มาสายรวมทั้งหมด61ครั้ง จะถูกหักเงิน 32*15(0.1%)=480บาท

การถูกตักเตือนและการถูกสั่งพักงาน สำคัญ

  • เตือนถึง2ครั้ง/ปี มีผลลดเงินเดือน10%
  • เตือนถึง3ครั้ง/ปี มีผลลดเงินเดือน20%
  • เตือนถึง5ครั้ง/ปี มีผลให้ออกจากงาน พ้นสภาพพนักงาน
  • การพักงานจะหักเงินค่าแรงตามจำนวนวันที่โดนพักงาน

ลืมเช็คชื่อเข้า-ออกงาน (สแกนลายนิ้วมือหรือตอกบัตร)

  • ไม่เช็คชื่อ1ครั้ง หัก30บาท/ครั้ง และถ้าไม่เช็คชื่อเข้าเช้า-พักเที่ยง-ออกงาน ครบ2ครั้ง ถูกหัก1แรง คิดในเดือนนั้นๆ
    • ตัวอย่าง เดือนนี้ไม่เช็คชื่อเข้างาน4ครั้ง=2แรง ถ้ามีฐานเงินเดือนที่15000บาท จะถูกหัก2แรง คือ ประมาณ1000บาท
    • ตัวอย่าง เดือนนี้ไม่เช็คชื่อเข้างาน1ครั้งถูกหัก30บาท และเดือนต่อไปไม่เช็คชื่อเข้างานอีก1ครั้งจะถูกหัก30บาท จะไม่ได้เอามารวมกันและไม่ถูกหักเงิน1แรง
  • กรณี ไม่เช็คชื่อเข้า-ออกงานสามารถบอกเหตุผลได้ แจ้งใน3วัน *การลืมไม่ใช่เหตุผลที่ใช้ได้*

สิทธิ์การลาครึ่งวัน 10ครั้งต่อปี

  • พนักงานทดลองงาน ไม่สามารถลาได้ ถ้าลาจะเป็นหักเงิน1แรงตามจำนวนวันที่ลา
  • ต้องแจ้งหัวหน้างานและลงในระบบทุกครั้ง ไม่งั้นจะถือว่าขาดงาน
  • ลาได้ไม่เกินครึ่งวันแบ่งเป็นครึ่งเช้าหรือครึ่งบ่าย และไม่เกิน 10ครั้งต่อปี ถ้าเกิน10ครั้ง การลาครึ่งวันจะถูกหักเงิน1แรงตามจำนวนวันที่เกิน
  • ลาครึ่งวันต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย1วัน ยกเว้นเหตุจำเป็นจริงๆถึงลากระทันหันได้

สิทธิ์การลากิจ 4วันต่อปี

  • พนักงานทดลองงาน ไม่สามารถลาได้ ถ้าลาจะเป็นหักเงิน1แรงตามจำนวนวันที่ลา
  • การลากิจและลาพักร้อนต้องแจ้งล่วงหน้าก่อนอย่างน้อย2วันไม่งั้นจะไม่รับเรื่องลางาน ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัยจริงเท่านั้น
  • ต้องแจ้งหัวหน้างานและลงในระบบทุกครั้ง ไม่งั้นจะถือว่าขาดงาน
  • การลากิจไม่เกิน4วันต่อปี ถ้าเกินกำหนด จะถูกหักเงิน1แรงตามจำนวนวันที่ลาเกิน

สิทธิ์การลาพักร้อน 6-10วันต่อปี

  • พนักงานทดลองงาน ไม่สามารถลาได้ ถ้าลาจะเป็นหักเงิน1แรงตามจำนวนวันที่ลา
  • การลากิจและลาพักร้อนต้องแจ้งล่วงหน้าก่อนอย่างน้อย2วันไม่งั้นจะไม่รับเรื่องลางาน ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัยจริงเท่านั้น
  • ต้องแจ้งหัวหน้างานและลงในระบบทุกครั้ง ไม่งั้นจะถือว่าขาดงาน
  • การลาพักร้อนสูงสุด10วันต่อปี ถ้าเกินกำหนด จะถูกหักเงิน1แรงตามจำนวนวันที่ลาเกิน
    • พนักงานที่ยังไม่ผ่านทดลองงานไม่มีสิทธิ์ลาพักร้อน
    • พนักงานทำงานไม่ถึง1ปี ลาพักร้อนได้ 3วันครึ่งปีแรกและอีก3วันครึ่งปีหลัง (เข้ามาช่วงไหนจะได้สิทธิ์การลาช่วงนั้น)
    • พนักงานที่ทำงาน 1ปีขึ้นไป ลาพักร้อนได้ 6วันต่อปี
    • พนักงานที่ทำงาน 2ปีขึ้นไป ลาพักร้อนได้ 7วันต่อปี
    • พนักงานที่ทำงาน 3ปีขึ้นไป ลาพักร้อนได้ 8วันต่อปี
    • พนักงานที่ทำงาน 4ปีขึ้นไป ลาพักร้อนได้ 10วันต่อปี
  • เดือนที่มีวันหยุดนักขัตฤกษ์4วันขึ้นไป ห้ามลาพักร้อน ถ้าลาจะถูกหักค่าแรงตามวันที่หยุดเพิ่ม
  • หากใน1ปีไม่ได้ใช้สิทธิ์ลาพักร้อนตามจำนวนที่มี จะคำนวนกลับเป็นเงินค่าแรงรายวันจ่ายให้เดือนสุดท้ายของปี
    • พนักงานทดลองงานหรือทำงานไม่ถึง1ปีจะไม่ได้รับเงินในส่วนนี้
    • พนักงานที่ลาป่วย ลาคลอด ลาบวช รวมกันถึง12วันต่อปี จะไม่ได้รับเงินในส่วนนี้
    • พนักงานที่มาสายมากกว่า60ครั้งต่อปี จะไม่ได้รับเงินในส่วนนี้
    • พนักงานที่ถูกเตือนเกิน 2ครั้งต่อปี จะไม่ได้รับเงินในส่วนนี้
    • ตัวอย่าง : นายA มีค่าแรงต่อวัน667฿ มีสิทธิ์ลาพักร้อน8วัน แต่นายA ใช้สิทธิ์ในปีนี้ไปเพียง2วัน จะเหลือสิทธิ์6วัน สิ้นปีนี้นายAจะได้เงินจากสิทธิ์ลาพักร้อนคงเหลือ 4,002บาท (667*6)

สิทธิ์การลาป่วย ไม่เกิน30วันต่อปี

  • ต้องแจ้งหัวหน้างานและลงในระบบทุกครั้ง ไม่งั้นจะถือว่าขาดงาน ถูกหัก2แรง
  • ลาป่วยทุกครั้งต้องมีใบรับรองแพทย์ไม่มีข้อยกเว้นถึงจะไม่ถูกหักเงิน
    • ลาป่วย1วัน ต้องมีใบรับรองแพทย์หรือต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้างาน
    • ลาป่วย2วัน ต้องมีใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลทุกครั้ง
  • ลาป่วยไม่มีใบรับรองแพทย์จะหักวันลาพักร้อนแทน >วันลาพักร้อนหมดหักลากิจ >ลากิจหมด หัก1แรง แม้จะแจ้งหัวหน้างานแล้วก็ตาม
  • ลาป่วยเกินกำหนด เกิน30วันต่อปี จะถูกหักเงิน1แรงตามจำนวนวันที่ลา
  • ลาโดยไม่ได้ป่วยจริงๆ ถูกหักเงิน3แรงต่อวัน และถูกเตือน1ครั้ง สืบทราบตอนหลังก็โดนหักเพราะถือว่าบกพร่องต่อหน้าที่
  • ลาป่วยทุกครั้งต้องแจ้งหัวหน้างานก่อน 10.00น. ไม่รับลากรณี ปวดมือ ปวดเข่าเล็กๆน้อยๆ

การขาดงานหรือลาโดยไม่แจ้งและไม่ลงบันทึกในระบบ

  • ไม่มาทำงาน ขาดงาน โดยไม่แจ้งหัวหน้างานหรือแจ้งแต่ไม่ได้ลงในระบบ ถูกหัก2แรงต่อวัน และถูกเตือน1ครั้ง
  • ไม่มาทำงาน ขาดงาน โดยแจ้งมีเหตุสุดวิสัยที่จำเป็นจริงๆ จะหักวันลากิจหรือลาพักร้อนแทน
  • ไม่มาทำงาน ขาดงาน โดยแจ้งมีเหตุสุดวิสัยที่จำเป็นจริงๆและวันลากิจ/พักร้อนหมด จะถูกหัก1แรง และไม่ถูกเตือน
  • ลงระบบทุกครั้ง ภายในวันสิ้นเดือน ก่อนเวลา 13.00น.ทุกเดือน ถ้าไม่ลงระบบจะถือว่าไม่ได้ลางานอย่างถูกต้อง

การถูกตักเตือนและการถูกสั่งพักงาน สำคัญ

  • เตือนถึง2ครั้ง/ปี มีผลลดเงินเดือน10%
  • เตือนถึง3ครั้ง/ปี มีผลลดเงินเดือน20%
  • เตือนถึง5ครั้ง/ปี มีผลให้ออกจากงาน พ้นสภาพพนักงาน
  • การพักงานจะหักเงินค่าแรงตามจำนวนวันที่โดนพักงาน
  • พนักงานที่ถูกลดเงินเดือนจะพิจารณาปรับขึ้นเงินเดือนใหม่ภายใน6เดือน

การทำงานล่วงเวลา หรือOTหรือทำงานในวันหยุด

  • ทำโอทีทุกครั้ง หัวหน้างานจะแจ้งให้ทราบก่อนอย่างน้อย1ชม. OT เริ่มนับตั้งแต่เวลา 17.30น. หรือตามหัวหน้างานกำหนด
  • พนักงานที่ทำOTต้องแจ้งหัวหน้างานก่อนทำทุกครั้ง
  • ในกรณีที่ที่ลงชื่อทำโอทีแล้ว ถึงวันเวลาไม่ว่างทำ ถูกหัก1แรง ยกเว้นมีเหตุผลจำเป็นจริงๆ
  • การทำโอทีเป็นไปตามกฏระเบียบเพิ่มเติมของฝ่ายต่างๆ

การทำOT ฝ่ายผลิตP1-P2รับผิดชอบร่วมกันทั้งแผนก (75฿/ชม.)

  1. การทำโอทีหัวหน้างานจะแจ้งให้ทราบก่อนอย่างน้อย1ชม.
  2. บังคับการทำOT โดยจะกำหนดจำนวนคนทำและจำนวนชม.ก่อนทำเสมอ
  3. บังคับการทำOT ถ้ามีจำนวนคนทำไม่ครบจะหักเงินทั้งแผนก2%จากฐานเงินเดือน คนที่ทำจะไม่ถูกหัก
    • ตัวอย่าง ทั้งแผนกมี10คน วันนี้ต้องการคนทำOT5คน แต่มีคนทำจริงแค่3คน ที่เหลืออีก7คนจะถูกหักเงิน2%
    • ตัวอย่าง ทั้งแผนกมี10คน วันนี้ต้องการคนทำOT5คน แต่มีคนทำจริงแค่5คน จะไม่ถูกหักเงิน
    • ตัวอย่าง ถ้านายAมีฐานเงินเดือน 12000บาท ไม่ได้ทำOT และจำนวนคนไม่ครบ นายAจะถูกหัก 240บาทในวันนั้น
    • ตัวอย่าง ถ้านายBมีฐานเงินเดือน 15000บาท ไม่ได้ทำOT และจำนวนคนไม่ครบ นายBจะถูกหัก 300บาทในวันนั้น
  4. พนักงานทดลองงานที่ยังไม่ผ่านโปร จะได้โอทีชม.ล่ะ55บาท

กฏการเบิกเงินเดือน

  1. ต้องแจ้งหัวหน้างานและลงในระบบทุกครั้ง
  2. ต้องเป็นพนักงานประจำที่บรรจุแล้ว
  3. เบิกเงินได้ไม่เกิน30%ของฐานเงินเดือน
  4. ทำงานในเดือนนั้นมาอย่างน้อย15วัน
  5. เป็นพนักงานที่ไม่เคยถูกเตือนในเดือนนั้น
  6. บอกเหตุผลของการเบิกทุกครั้ง

การหักค่าเสื้อยูนิฟอร์มบริษัท

  • พนักงานประจำจะได้เสื้อยูนิฟอร์มทั้งหมด3ตัว ราคาตัวละ200บาท (สามารถซื้อมากกว่านี้ได้แต่อย่างน้อยต้องมี3ตัว)
  • หักจากเงินเดือน ในเดือนแรกของการบรรจุพนักงานประจำ เป็นเวลา2เดือน เดือนละ300บาท

การหักเบี้ยประกันตนเอง จำนวน5%ของเงินเดือน ระยะเวลา5เดือน

  • พนักงานทดลองงานจะไม่ถูกเก็บเบี้ยประกันตนเอง
  • เบี้ยประกันต้นเองจะเริ่มถูกหักเมื่อถูกบรรจุเป็นพนักงานประจำ คิดจากฐานเงินเดือนปัจจุบัน โดยหัก5% เป็นเวลา5เดือน
  • จะได้เบี้ยประกันตนคืนเต็มจำนวนในกรณีที่ลาออกโดยมีการแจ้งลาออกอย่างถูกต้องสมบูรณ์
  • จะได้เบี้ยประกันตนคืนภายใน7วัน หลังจากได้รับเงินเดือนก่อนสุดท้าย
  • กรณีที่ไม่ได้เบี้ยประกันตนเองคืน
    • ลาออกโดยไม่แจ้งตามกำหนด และไม่เขียนใบลาออก
    • ถูกปลดออก-ไล่ออกด้วยความผิดต่างๆ หรือสร้างความเสียหายมากกว่าจำนวนเงินประกันตน

การหักเบี้ยประกันสังคม จำนวน5%ของเงินเดือน ทุกเดือน

  • บริษัทจะหักเบี้ยประกันสังคมจำนวน5%ของฐานเงินเดือน แต่ไม่เกิน750฿ ตามกฏหมายกำหนด
  • บริษัทจะสมทบเบี้ยประกันสังคมให้อีกเท่าหนึ่ง เท่ากับจำนวน5%ในแต่ละเดือนที่พนักงานเสีย
  • ถ้าไม่เคยทำประกันสังคม อาจใช้เวลาถึง2-3เดือนหลังจากส่งงวดแรกเพื่อใช้สิทธิ์ได้ *ข้อนี้สนง.ประกันสังคมบอกมา*
  • สำหรับพนักงานทดลองงาน บริษัทจะยังไม่ให้เข้าระบบประกันสังคม แต่จะเสียภาษี หัก ณที่จ่าย3%ของฐานเงินเดือน

การลาออก-การปลดออก

  • ในเดือนที่ยื่นใบลาออกห้ามลาพักร้อนหรือลากิจ ถ้าลาจะถูกหัก1แรงตามจำนวนวันที่ลา (สามารถป่วยหรือลาครึ่งวันได้)
  • การลาออกต้องแจ้งออกอย่างน้อย 30วัน และเขียนใบลาออกไม่เช่นนั้นจะถือว่าการลาออกไม่สมบูรณ์
  • การลาออกที่ไม่แจ้งลาออกและไม่เขียนใบลาออกจะถือว่าลาออกไม่สมบูรณ์ และไม่ได้เบี้ยประกันตนคืน
  • ในเดือนที่ยื่นใบลาออกต้องเคลียร์งานที่ค้างอยู่ใหม่เสร็จ จึงถือว่าลาออกสมบูรณ์
  • ความเสียหายใดๆที่เกิดขึ้นจากการลาออกกระทันหันโดยไม่แจ้ง บริษัทจะฟ้องร้องกับลูกจ้างที่ลาออกกะทันหันและไม่มีใบลาออก
  • พนักงานที่ถูกปลดออกถ้ามีความเสียหายใดๆที่เกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติงาน จะถูกเรียกค่าเสียหายย้อนหลังโดยเป็นไปตามกฏหมายกำหนด
  • ลาออกโดยไม่แจ้ง บริษัทจะแจ้งสนง.กรมแรงงานและประกันสังคมเป็นสถานะปลดออก มีผลให้ใช้สิทธิ์รับเงินคนว่างงานไม่ได้
  • การปลดออก กรณีไม่มาทำงานหรือติดต่อไม่ได้และไม่แจ้งเกิน3วัน หรือจงใจทำผิด บกพร่องต่อหน้าที่ หรือทำผิดกฏบริษัทอย่างร้ายแรง โดยพิจารณาจากหัวหน้างาน

การเลิกจ้างไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย

  • ลาออกเอง
  • ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
  • จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  • ประมาท  เลินเล่อ เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
  • ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย และเป็นธรรม ซึ่งนายจ้างได้ตักเตือน เป็นหนังสือแล้ว (หนังสือมีผลบังคับใช้ไม่เกิน 1 ปี) เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเดือน
  • ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3  วัน ติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
  • ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดพลาด

วันหยุดและสวัสดิการ

  • วันหยุดพิเศษ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ บริษัทเป็นผู้กำหนด จะแจ้งให้ทราบในระบบ
  • เดือนที่มีวันหยุดนักขัตฤกษ์4วันขึ้นไป ห้ามลากิจ-พักร้อน ถ้าลาจะถูกหักค่าแรงตามวันที่หยุดเพิ่ม
  • การจ่ายเงินเดือน จะจ่ายทุกสิ้นเดือน และจะโอนเข้าบัญชีที่เป็นธนาคารกสิกรเท่านั้น
  • สามารถซื้อสินค้าของบริษัทได้ในราคาตัวแทนจำหน่ายเรทราคาแรก

สิทธิ์การลาบวช

  1. ลาได้เฉพาะผู้ชาย ลาได้เพียงครั้งเดียว ครั้งละไม่เกิน10วัน ถ้าเกินกว่านั้น จะหักเงินค่าแรงตามจำนวนวันที่ลาเพิ่ม

สิทธิ์การลาคลอด

  1. ลาได้เฉพาะผู้หญิง
  2. ต้องเป็นพนักงานประจำที่บรรจุแล้ว
  3. สามารถลาคลอดได้90วัน
  4. ได้รับเงินชดเชย 45วันเมื่อลาคลอด ตามฐานเงินเดือน
  5. เงินชดเชยจะแบ่งเป็น2เดือน โดยจ่ายให้เดือนถัดไปนับจากเดือนที่ลา
    1. เดือนแรกได้รับเงินเดือน 30วัน ในวันสิ้นเดือน
    2. เดือนที่สองได้รับเงินเดือน 15วัน ในวันสิ้นเดือน

หมายเหตุ : ก่อนเข้าทำงานพนักงานต้องแจ้งก่อนว่าตั้งครรภ์หรือไม่โดยมีใบรับรองการตรวจครรภ์ประกอบการสมัคร เพราะถ้าตั้งครรภ์บริษัทจะรับเป็นบางกรณี และถ้าตั้งครรภ์ระหว่างทดลองงานหรือทราบภายหลังจะถือว่าไม่ผ่านทดลองงานโดยอัตโนมัติ

การขึ้นเงินเดือนและโบนัส

  1. การขึ้นเงินเดือน พิจารณาตามความสามารถไม่ใช่ระยะเวลาที่ทำงาน
  2. โบนัสรายปี พิจารณาตามผลกำไรของบริษัทในปีนั้นๆ และจำนวนการลาทั้งหมด
  3. พนักงานที่ไม่ได้รับพิจารณาขึ้นเงินเดือนและไม่ได้รับโบนัส
    1. พนักงานทดลองงาน และยังทำงานไม่ถึง1ปี
    2. ลาป่วย-ลาคลอด/ลาบวช รวมกันเกิน12วันต่อปี
    3. พนักงานที่มาสายมากกว่า50ครั้งต่อปี
    4. พนักงานที่ทำผิดกฏร้ายแรงหรือถูกเตือนเกิน2ครั้งต่อปี
    5. พนักงานที่ไม่ส่งผลตรวจสุขภาพประจำปี

กฏระเบียบและค่าปรับในออฟฟิตและโรงงาน (สีแดง=กฏระเบียบร้ายแรง)

  1. ห้ามพาบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในบริเว็ณผลิตสินค้าโดยเด็ดขาด เว้นแต่ได้รับอนุญาติแล้วเท่านั้น
  2. ห้ามทำงานพิเศษอื่นๆในเวลางานหรือส่งผลทำให้งานหลักที่ทำอยู่เสียหายหรือได้รับผลกระทบ หรือทำแล้วส่งผลให้งานหลักที่ทำอยู่เกิดความผิดพลาด ไม่เช่นนั้นจะถูกเตื่อนหรือหักเงิน
  3. ห้ามรับงานนอกหรืองานใดๆก็ตามที่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ของตนเองหรืองานที่ได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากตำแหน่งหน้าที่ที่รับผิดชอบอยู่ มีโทษถูกเตื่อนและหักเงินหรือไล่ออก
  4. ห้ามนำข้อมูลสำคัญภายในไปแพร่งพายบอกต่อกับบุคคลภายนอก เช่นขั้นตอนการผลิต / สูตรสินค้า / ข้อมูลต่างๆของลูกค้า / ข้อมูลการเงินของบริษัท / ข้อมูลระบบเว็บไซต์ มีโทษไล่ออกและดำเนินคดี
  5. มีพฤติกรรมการโกงทุจริตต่างๆ มีโทษไล่ออกและดำเนินคดี เช่น
    1. โกงบิล เขียนตัวเลขใหม่ในบิลเองไม่ใช่ตัวเลขที่มาจากบริษัทเสนอลูกค้าและหักส่วนต่าง
    2. ออกใบเสนอราคาเองโดยไม่ใช้ของบริษัทหรือใบหลอกลูกค้า
    3. ออกใบสั่งซื้อโดยเป็นราคาที่เตี้ยมกับSupplier
    4. นำสารของบริษัทไปขาย หรือแอบเอาสินค้าของบริษัทหรือสูตรเครื่องสำอางไปขาย
    5. แอบเอาข้อมูลในระบบของบริษัทไปขายและไปรับจ้างทำให้บริษัทอื่นๆ
  6. พนักงานที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมหรือทำผิดกฏหมายหรือกฏของสังคมที่ส่งผลร้ายกระทบต่อการทำงานและผลกระทบต่อภาพลักษณ์บริษัท
    โดยหัวหน้างานจะเป็นผู้พิจารณาตามความเป็นจริง จะถูกโดนลงโทษ ตักเตือน / ลดเงินเดือน / ไล่ออก / ฟ้องร้องคดีความ
    • ทำพฤติกรรมไม่เหมาะสมหรือทำผิดกฏหมาย ในสถานที่ต่างๆและถูกถ่ายคลิปลงSocial facebook IG
    • ทำผิดกฏหมาย มีคดีความต่างๆที่รา้ยแรงในขณะที่ยังเป็นพนักงาน แม้สืบทราบทีหลังก็จะมีผลลงโทษ
    • พฤติกรรมสุ่มเสี่ยงในการก่ออาชญากรรมหรือ พฤติกรรมรุนแรงต่อสังคม เช่น เสพยา ดื่มเหล่าในออฟฟิต มีเรื่องชกต่อยบ่อยครั้ง เป็นต้น
    • พฤติกรรมก้าวร้าวต่อหัวหน้างาน ที่แสดงออกทั้งต่อหน้าและลับหลัง ทั้งในสื่อOnlineต่างๆและการพูดคุย
    • จงใจทำความผิด หรือสมรู้ร่วมคิด หรือช่วยพนักงานคนอื่นๆปกปิดความผิดต่างๆที่เกิดขึ้นจากการทำงาน
    • จงใจขัดคำสั่งและไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายหรือตั้งใจทำให้งานที่รับผิดชอบผิดพลาด
  7. แผนกต่างๆต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบของแต่ละแผนกที่ได้ตั้งขึ้นมาอย่างเคร่งคัด
  8. บทลงโทษและการหักค่าเสียหายที่เกิดจากความผิดพลาดในการทำงาน หัวหน้างานเป็นคนพิจารณา
  9. การขายสินค้าของบริษัทต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของบริษัทกำหนด สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
    • พนักงานที่ต้องการขายสินค้าของบริษัทจะได้ราคาสินค้าเป็น เรทราคาแรกของตัวแทน
    • พนักงานที่ต้องการราคาสินค้าที่ถูกลงกว่าเรทราคาแรกของตัวแทน ต้องสั่งซื้อแบบสต๊อกสินค้าเท่านั้น
  หัวข้อ บทลงโทษ
1 บริเวณชั้น2ที่ใช้กินอาหาร ต้องเก็บขยะทิ้งถังขยะด้านหลังทุกครั้งถ้ามีเศษขยะจะถูกหักเงิน 50฿/ครั้ง ทุกคนที่ใช้พื้นที่
2 ห้ามเล่นเกมส์ ดูหนัง เล่นไลน์ ดูซีรีย์หรือเล่นกันในบริเวณที่ทำงาน
  1. ครั้งที่1 เตือนด้วยวาจา
  2. ครั้งที่2-3 หักเงิน100฿/ครั้ง
  3. ครั้งที่4-5 เตือนในระบบหรือพักงานในวันนั้นๆ
  4. ครั้งที่6 เลิกจ้างและปลดออก
100฿/ครั้งและตัดAll sale
3 ห้ามโหลดบิตและโหลดหนังในออฟฟิต
  1. ครั้งที่1 เตือนด้วยวาจา
  2. ครั้งที่2-3 หักเงิน50฿/ครั้ง
  3. ครั้งที่4-5 เตือนในระบบหรือพักงานในวันนั้นๆ
  4. ครั้งที่6 เลิกจ้างและปลดออก
50฿/ครั้ง
4 ห้ามสูบบุหรี่นอกบริเวณที่กำหนดไว้ให้สูบ
  1. ครั้งที่1 เตือนด้วยวาจา
  2. ครั้งที่2-3 หักเงิน50฿/ครั้ง
  3. ครั้งที่4-5 เตือนในระบบหรือพักงานในวันนั้นๆ
  4. ครั้งที่6 เลิกจ้างและปลดออก
50฿/ครั้ง
5 ห้ามถ่ายรูปเล่นในโซนผลิต ยกเว้นถ่ายรูปกระบวนการผลิตให้ลูกค้าหรือได้รับอนุญาติแล้วเท่านั้น
  1. ครั้งที่1 เตือนด้วยวาจา
  2. ครั้งที่2-3 หักเงิน50฿/ครั้ง
  3. ครั้งที่4-5 เตือนในระบบหรือพักงานในวันนั้นๆ
  4. ครั้งที่6 เลิกจ้างและปลดออก
50฿/ครั้ง
6 ห้ามLog Inเข้าใช้ระบบของคนอื่นที่ไม่ใช่ของตัวเอง
  1. ครั้งที่1 เตือนด้วยวาจา
  2. ครั้งที่2-3 หักเงิน50฿/ครั้ง
  3. ครั้งที่4-5 เตือนในระบบหรือพักงานในวันนั้นๆ
  4. ครั้งที่6 เลิกจ้างและปลดออก
50฿/ครั้ง
7 ห้ามกินอาหารบริเวณชั่น3-4 แต่สามารถนำน้ำเข้าไปกินได้ ยกเว้นบริเวณห้องผสมและห้องบรรจุ
  1. ครั้งที่1 เตือนด้วยวาจา
  2. ครั้งที่2-3 หักเงิน100฿/ครั้ง
  3. ครั้งที่4-5 เตือนในระบบหรือพักงานในวันนั้นๆ
  4. ครั้งที่6 เลิกจ้างและปลดออก
100฿/ครั้งและตัดAll sale
8 ห้ามใช้โทรศัพท์ในบริเวณผลิตสินค้ายกเว้นหัวหน้างาน
  1. ครั้งที่1 เตือนด้วยวาจา
  2. ครั้งที่2-3 หักเงิน50฿/ครั้ง
  3. ครั้งที่4-5 เตือนในระบบหรือพักงานในวันนั้นๆ
  4. ครั้งที่6 เลิกจ้างและปลดออก
50฿/ครั้ง
9 ห้ามกินอาหารนอกเวลาพักโดยไม่มีเหตุสมควร
  1. ครั้งที่1 เตือนด้วยวาจา
  2. ครั้งที่2-3 หักเงิน50฿/ครั้ง
  3. ครั้งที่4-5 เตือนในระบบหรือพักงานในวันนั้นๆ
  4. ครั้งที่6 เลิกจ้างและปลดออก
50฿/ครั้ง
10 ห้ามมีเรื่องเชิงชู้สาวกันในที่ทำงาน จีบกันได้แต่ห้ามผิดจริยธรรม หมายถึงใครมีแฟนมีคู่อยู่แล้วในบริษัทก็ห้ามเข้าไปจีบแฟน ผัว เมีย ของคนอื่น
  1. ครั้งที่1 เตือนด้วยวาจา
  2. ครั้งที่2-3 เตือนในระบบหรือพักงานในวันนั้นๆ
  3. ครั้งที่4 เลิกจ้างและปลดออก
เตือน/พักงาน/หักเงิน/ไล่ออก
11 ใส่เครื่องแบบเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายอื่นๆผิดระเบียบ 
  1. ครั้งที่1 เตือนด้วยวาจา
  2. ครั้งที่2-3 หักเงิน50฿/ครั้ง
  3. ครั้งที่4-5 เตือนในระบบหรือพักงานในวันนั้นๆ
  4. ครั้งที่6 เลิกจ้างและปลดออก
50฿/ครั้ง
12 ห้ามทำงานพิเศษอื่นๆในเวลาทำงาน
  1. ครั้งที่1 เตือนด้วยวาจา
  2. ครั้งที่2-3 หักเงิน50฿/ครั้ง
  3. ครั้งที่4-5 เตือนในระบบหรือพักงานในวันนั้นๆ
  4. ครั้งที่6 เลิกจ้างและปลดออก
50฿/ครั้ง
13 การโกงในรูปแบบต่างๆที่ทำให้บริษัทเสียหาย
  1. ครั้งที่1 เตือน/พักงาน/หักเงิน/ไล่ออก
  2. ครั้งที่2 เลิกจ้างและปลดออก
เตือน/พักงาน/หักเงิน/ไล่ออก
14 ห้ามนำข้อมูลสำคัญไปแพร่งพายบอกต่อกับบุคคลภายนอก เช่นขั้นตอนการผลิตหรือสูตรสินค้า
  1. ครั้งที่1 เตือน/พักงาน/หักเงิน/ไล่ออก
  2. ครั้งที่2 เลิกจ้างและปลดออก
เตือน/พักงาน/หักเงิน/ไล่ออก
15 ห้ามทะเลาะวิวาทหรือต่อยตีกันในที่ทำงาน
  1. ครั้งที่1 เตือน/พักงาน/หักเงิน/ไล่ออก
  2. ครั้งที่2 เลิกจ้างและปลดออก
เตือน/พักงาน/หักเงิน/ไล่ออก
     

กฏระเบียบเพิ่มเติมแต่ละแผนก

1.กฏระเบียบเพิ่มเติมแผนกSD เซลล์ดูแลลูกค้า
2.กฏระเบียบเพิ่มเติมแผนกRD เครื่องสำอาง
3.กฏระเบียบเพิ่มเติมแผนกPD จัดซื้อ-คลังสินค้า / QA-QC / Ps หัวหน้าฝ่ายผลิต
4.กฏระเบียบเพิ่มเติมแผนกP1-P2 ผลิตสินค้า
5.กฏระเบียบเพิ่มเติมแผนกGD กราฟฟิกออกแบบ