ทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเอง ของโอเร็ม

งานนำเสนอเรื่อง: "ดร. ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ดร. ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
ทฤษฏีการดูแลตนเองของโอเร็ม ( Orem’s self-care Theory ) ดร. ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์

2 วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ภายหลังจบบทเรียน นักศึกษาสามารถ ๓
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ภายหลังจบบทเรียน นักศึกษาสามารถ ๓.๑ ความหมายและความสำคัญของทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม ๓.๒ ประวัติ Dorothea E. Orem ๓.๓ ข้อตกลงพื้นฐานเกี่ยวกับมนุษย์ ๓.๔ กระบวนทัศน์หลักเกี่ยวกับตามแนวคิดของโอเร็มทฤษฎี

3 ๓.๑ ความหมายและความสำคัญของทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม
ความหมาย พยาบาลดูแลบุคคลที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมเน้นที่บุคคลให้สามารถ ในการดูแลตนเองเพียงพอและต่อเนื่อง ในการดูแลตนเองในระบบการพยาบาล ความสำคัญคือช่วยให้บุคคลตอบสนองต่อความต้องการ การดูแลตนเองในระดับที่เพียงพอและต่อเนื่อง และช่วยเพิ่มความสามารถในการดูแลตนเอง จุดเน้นของกรอบแนวคิดของโอเร็ม : เน้นที่บุคคลคือ ความสามารถของบุคคลที่จะต้องสนองต่อความต้องการในการดูแลตนเอง การความสามารถของบุคคล (Human agency)

4 วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ๓. ๒ ประวัติ Dorothea E. Orem Dorothea E
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ๓.๒ ประวัติ Dorothea E. Orem Dorothea E. Orem จบการศึกษาจากโรงเรียนพยาบาล โรงพยาบาล โพรวิเด็น ในกรุงวอชิงตันดีซี สหรัฐอเมริกา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในปี ค.ศ และระดับปริญญาโทสาขาการพยาบาลในปี ค.ศ.1945 จากมหาวิทยาลัยคาทอลิก ประเทศสหรัฐอเมริกา และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัย จอร์ททาวน์ ในปี ค.ศ และจาก Incarnate World College ที่ซานแอนโตนิโอ รัฐเทกซัส ในปี ค.ศ และจาก Illinois Western University ที่ บลูมมิงตัน รัฐอิลินอยส์ ในปี ค.ศ (1971 เผยแพร่แนวความคิดโดยมีชื่อว่า Nursing: Concept of Practice )

5 ๓.๓ ข้อตกลงพื้นฐานเกี่ยวกับมนุษย์
๓.๓ ข้อตกลงพื้นฐานเกี่ยวกับมนุษย์ 1. บุคคลต้องการสิ่งกระตุ้นที่มีระบบระเบียบและเจาะจง (deliberate inputs) ให้กับตนเองและสิ่งแวดล้อมของตนอย่างต่อเนื่องเพื่อการมีชีวิตรอดและทําหน้าที่ได้ตามความสามารถของแต่ละคน 2. ความสามารถของบุคคล (Human agency) เป็นความสามารถในการกระทําอย่างจงใจในรูปของการดูแลเพื่อตอบสนองความต้องการสําหรับตนเองและผู้อื่น 3. บุคคลมีโอกาสที่จะประสบกับข้อจํากัดในการดูแลตนเองและดูแลบุคคลที่อยู่ ภายใต้ความรับผิดชอบในการดํารงไว้ซึ่งชีวิตและหน้าที่ของตนเอง 4. บุคคลใช้ความสามารถในการค้นหา พัฒนา และถ่ายทอดวิธีการสนองตอบความต้องการของตนเองและผู้อื่น 5. กลุ่มบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีโครงสร้างจะแบ่งงานกันรับผิดชอบเพื่อที่จะดูแลสมาชิกในกลุ่ม

6 ๓.๔ กระบวนทัศน์หลักเกี่ยวกับตามแนวคิดของโอเร็มทฤษฎี บุคคล สิ่งแวดล้อม สุขภาพ ส่วนภาวะปกติสุข หรือความผาสุก ( wellbeing ) สิ่งแวดล้อม การพยาบาล เป้าหมายการพยาบาลคือช่วยให้บุคคลตอบสนองต่อความต้องการการดูแลตนเองในระดับที่เพียงพอและต่อเนื่อง และช่วยเพิ่มความสามารถในการดูแลตนเอง จุดเน้นของกรอบแนวคิด ของโอเร็ม : เน้นที่บุคคลคือ ความสามารถของบุคคลที่จะต้องสนองต่อความต้องการในการดูแลตนเอง

7 มโนทัศน์หลักในทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม
ทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม ประกอบด้วยทฤษฎีย่อย 3 ทฤษฎี คือ (Orem, 1983) ทฤษฎีการดูแลตนเอง ( The Theory of Self - care ) ทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเอง ( The Theory of Self – care Deficit ) ทฤษฎีระบบการพยาบาล ( The Theory of Nursing System )

8 ทฤษฎีการดูแลตนเอง ( The Theory of Self - care )
ทฤษฎีนี้จะอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างเงื่อนไขต่างๆ ทางด้านพัฒนาการและการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลกับการดูแลตนเอง โดยอธิบายมโนทัศน์สำคัญได้แก่ มโนทัศน์เกี่ยวกับการดูแลตนเอง (Self -care ) มโนทัศน์เกี่ยวกับความสามารถในการดูแลตนเอง (Self –care agency ) มโนทัศน์เกี่ยวกับความต้องการการดูแลตนเองทั้งหมด (Therapeutic Self - care demand ) มโนทัศน์เกี่ยวกับปัจจัยเงื่อนไขพื้นฐาน ( Basic conditioning factors ) 1.1 การดูแลตนเอง (Self - care : SC ) : หมายถึง การปฏิบัติกิจกรรมที่บุคคลริเริ่มและกระทำด้วยตนเองเพื่อดำรงไว้ซึ่งชีวิต สุขภาพและความผาสุก ซึ่งบุคคลที่กระทำการดูแลตนเองนั้นเป็นผู้ที่ต้องใช้ความสามารถหรือพลังในการกระทำที่จงใจ (deliberate) ประกอบด้วย 2 ระยะ

9 ทฤษฎีการดูแลตนเอง ( The Theory of Self - care )
ระยะที่ 1 ระยะการพิจารณาและตัดสินใจ ( Intention phase) เป็นระยะที่มีการหาข้อมูลเพื่อพิจารณาและตัดสินใจเลือกกระทำ โดยหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องว่าคืออะไร เป็นอย่างไร จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ทดสอบ และเชื่อมโยงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในขั้นตอนนี้ความรู้เป็นพื้นฐานสำคัญเพราะจะช่วยให้เกิดกระบวนการคิดเชิงวิทยาศาสตร์มากกว่าการใช้ความรู้สึก นอกจากนี้ยังต้องอาศัยสติปัญญาในการที่จะตัดสินใจที่จะกระทำ ระยะที่ 2 ระยะการกระทำและผลของการกระทำ ( Productive phase) เป็นระยะที่เมื่อตัดสินใจแล้วจะกำหนดเป้าหมายที่ต้องการและดำเนินการกระทำกิจกรรมเพื่อไปสู่เป้าหมายที่กำหนด ในขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความสามารถของบุคคลทางด้านสรีระที่จะกระทำกิจกรรม(psychomotor action ) และมีการประเมินผลการกระทำเพื่อปรับปรุง

10 1.2 ความสามารถในการดูแลตนเอง ( Self - care agency : SCA ) หมายถึง ความสามารถของบุคคลที่เอื้อต่อการกระทำกิจกรรมการดูแลตนเองอย่างจงใจ แต่ถ้าเป็นความสามารถในการดูแลบุคคลอื่นที่อยู่ในความรับผิดชอบเรียกว่า Dependent – care Agency ความสามารถนี้ประกอบด้วย 3 ระดับ ความสามารถและคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน (Foundational capabilities and disposition) เป็นความสามารถของมนุษย์ขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการรับรู้และเกิดการกระทำ ซึ่งแบ่งออกเป็น ความสามารถที่จะรู้ (Knowing) ความสามารถที่จะกระทำ (Doing) และคุณสมบัติหรือปัจจัยที่มีผลต่อการแสวงหาเป้าหมายของการกระทำ ประกอบด้วย ความสามารถและทักษะในการเรียนรู้ ได้แก่ ความจำ การอ่าน เขียน การใช้เหตุผลอธิบาย หน้าที่ของประสาทรับความรู้สึกทั้งการสัมผัส มองเห็น ได้กลิ่นและรับรส

11 1. 2 ความสามารถในการดูแลตนเอง 1. 2. 1
1.2 ความสามารถในการดูแลตนเอง การรับรู้ในเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกตนเอง การเห็นคุณค่าในตนเอง นิสัยประจำตัว ความตั้งใจและสนใจสิ่งต่างๆ ความเข้าใจในตนเองตามสภาพที่เป็นจริง ความห่วงใยในตนเอง การยอมรับในตนเองตามสภาพความเป็นจริง การจัดลำดับความสำคัญของการกระทำรู้จักเวลาในการกระทำ ความสามารถที่จะจัดการเกี่ยวกับตนเอง พลังความสามารถ 10 ประการ (Ten power component ) เป็น

12 คุณลักษณะประกอบด้วย ความสนใจและเอาใจใส่ในตนเองในฐานะที่ตนเป็นผู้รับผิดชอบ ความสามารถที่จะควบคุมพลังงานทางด้านร่างกายของตนเองให้สามารถ ปฏิบัติกิจกรรม ความสามารถที่จะควบคุมส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อการเคลื่อนไหวที่จำเป็นเพื่อการดูแลตนเอง ความสามารถที่จะใช้เหตุผล มีแรงจูงใจที่จะกระทำในการดูแลตนเอง มีทักษะในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองและปฏิบัติตามการตัดสินใจ มีความสามารถในการเสาะแสวงหาความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองจากผู้ที่เหมาะสมและสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ มีทักษะในการใช้กระบวนการทางความคิดและสติปัญญา การรับรู้ การจัดกระทำ มีความสามารถในการจัดระบบการดูแลตนเอง มีความสามารถที่จะปฏิบัติการดูแลตนเองอย่างต่อเนื่องและสอดแทรกการดูแลตนเองเข้าเป็นส่วนหนึ่งในแบบแผนการดำเนินชีวิต

13 1.3 ความต้องการการดูแลตนเองทั้งหมด (Therapeutic Self - care Demand: TSCD)
การดูแลตนเองที่จำเป็นโดยทั่วไป (Universal Self – care Requisites : USCR) 1.3.2 การดูแลตนเองที่จำเป็นตามพัฒนาการ (Developmental Self – care Requisites: DSCR) 1.4 ปัจจัยพื้นฐาน (Basic Conditioning Factors : BCFs) เป็นคุณลักษณะบางประการหรือปัจจัยทั้งภายในและภายนอกของบุคคลที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการดูแลตนเองและความต้องการการดูแลตนเองทั้งหมด ปัจจัยพื้นฐานนี้ยังเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในบทบาทของพยาบาล ได้แก่ 11 ปัจจัย ดังนี้ อายุ เพศ ระยะพัฒนาการ ภาวะสุขภาพ ระบบบริการสุขภาพ สังคม ขนบธรรมเนียมประเพณี ระบบครอบครัว แบบแผนการดำเนินชีวิต สิ่งแวดล้อมสภาพที่อยู่อาศัย แหล่งประโยชน์ต่างๆ ประสบการณ์ที่สำคัญในชีวิต

14 2. ทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเอง (The Theory of Self – care Deficit ) เป็นแนวคิดหลักในทฤษฎีของโอเร็ม เพราะจะแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการดูแลตนเองและความต้องการการดูแลตนเองทั้งหมดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าวนั้นมีได้ใน 3 แบบ ดังนี้ 2.1 ความต้องการที่สมดุล (Demand is equal to abilities: TSCD = SCA) 2.2 ความต้องการน้อยกว่าความสามารถ (Demand is less than abilities: TSCD < SCA) 2.3 ความต้องการมากกว่าความสามารถ (Demand is greater than abilities: TSCD> SCA ) ในความสัมพันธ์ของ 2 รูปแบบแรกนั้นบุคคลสามารถบรรลุเป้าหมายความต้องการ การดูแล ตนเองทั้งหมดได้ ถือว่าไม่มีภาวะพร่อง(no deficit ) ส่วนในความสัมพันธ์ที่ 3 เป็นความไม่สมดุลของความสามารถที่มีไม่เพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการการดูแลตนเองทั้งหมดจึงมีผลทำให้เกิดความบกพร่องในการดูแลตนเอง

15 3. ระบบการพยาบาล (The Theory of Nursing System) เป็นกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการกระทำของพยาบาลเพื่อช่วยเหลือบุคคลที่มีความพร่องในการดูแลตนเองให้ได้รับการตอบสนองความต้องการการดูแลตนเองทั้งหมดและความสามารถในการดูแลตนเองของบุคคลได้รับการดูแลให้ถูกนำมา ใช้ ปกป้อง และดูแลตนเอง ซึ่งระบบการพยาบาลได้แบ่งออกเป็น 3 ระบบ โดยอาศัยเกณฑ์ความสามารถของบุคคลในการควบคุมการเคลื่อนไหวและการจัดกระทำ 2.1 ระบบทดแทนทั้งหมด (Wholly compensatory nursing system

16 3. ระบบการพยาบาล 2.1 ระบบทดแทนทั้งหมด (Wholly compensatory nursing system) เป็นบทบาทของพยาบาลที่ต้องกระทำเพื่อทดแทนความสามารถของผู้รับบริการ โดยสนองตอบต่อความต้องการการดูแลตนเองทั้งหมด ชดเชยภาวะไร้สมรรถภาพในการปฏิบัติกิจกรรม การดูแลตนเองและช่วยประคับประคองและปกป้องจากอันตรายต่างๆ และผู้ที่มีความต้องการระบบการพยาบาลแบบนี้ คือ ผู้ที่ไม่สามารถจะปฏิบัติในกิจกรรมที่จะกระทำอย่างจงใจ ไม่ว่ารูปแบบใดๆ ทั้งสิ้น เช่น ผู้ป่วยที่หมดสติ หรือ ผู้ที่ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ ได้แก่ ผู้ป่วยอัมพาต ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ผู้ที่รับรู้และอาจจะสามารถสังเกต ตัดสินใจเกี่ยวกับดูแลตนเองได้ และไม่ควรจะเคลื่อนไหวหรือจัดการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวใดๆ ได้แก่ผู้ป่วยด้านออร์โธพีดิกส์ที่ใส่เฝือก หรือกระดูกหลังหัก ผู้ที่ไม่สนใจหรือเอาใจใส่ในตนเอง ไม่สามารถตัดสินใจอย่างมีเหตุผลในการดูแลตนเอง เช่น ผู้ป่วยทีมีปัญหาทางจิต

17 2.2. ระบบทดแทนบางส่วน (Partly compensatory nursing system) เป็นระบบการพยาบาลให้การช่วยเหลือที่ขึ้นอยู่กับความต้องการและความสามารถของผู้ป่วย โดยพยาบาลจะช่วยผู้ป่วยสนองตอบ ต่อความต้องการการดูแลตนเองที่จำเป็นโดยร่วมรับผิดชอบในหน้าที่ร่วมกันระหว่างผู้ป่วยกับพยาบาล ผู้ป่วยจะพยายามปฏิบัติกิจกรรมในเรื่องที่เป็นการตอบสนองต่อความต้องการดูแลตนเองที่จำเป็นเท่าที่สามารถทำได้ ส่วนบทบาทของพยาบาลจะต้องปฏิบัติกิจกรรมการดูแลบางอย่างสำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถกระทำได้ เพื่อชดเชยข้อจำกัดและเพิ่มความสามารถของผู้ป่วยในการดูแลตนเอง และกระตุ้นให้มีการพัฒนาความสามารถในอนาคต การพยาบาลระบบนี้ผู้ป่วยต้องมีบทบาทในการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลบางอย่างด้วยตนเอง ผู้ที่มีความต้องการการพยาบาลแบบนี้ คือ ต้องจำกัดการเคลื่อนไหวจากโรค หรือการรักษา แต่สามารถเคลื่อนไหวได้บางส่วน ขาดความรู้และทักษะที่จำเป็นเพื่อการดูแลตนเองตามความต้องการการดูแลตนเองที่จำเป็น ขาดความพร้อมในการเรียนรู้และกระทำในกิจกรรมการดูแลตนเอง

18 2.3 ระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ (Educative supportive nursing System) เป็นระบบการพยาบาลที่จะเน้นให้ผู้ป่วยได้รับการสอนและคำแนะนำในการปฏิบัติการดูแลตนเอง รวมทั้งการให้กำลังใจและคอยกระตุ้นให้ผู้ป่วยคงความพยายามที่จะดูแลตนเองและคงไว้ซึ่งความสามารถในการดูแลตนเอง ระบบการพยาบาลทั้ง 3 ระบบ โดยมีวิธีการกระทำได้ใน 5 วิธีดังนี้ 1. การกระทำให้หรือกระทำแทน 2. การชี้แนะ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถตัดสินใจและเลือกวิธีการกระทำได้ 3. การสนับสนุน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยคงไว้ซึ่งความพยายาม และป้องกันไม่ให้เกิด ความล้มเหลว

19 2. 3 ระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ เกิด 4
2.3 ระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ เกิด 4. การสอน เป็นการพัฒนาความรู้และทักษะที่เฉพาะ 5. การสร้างสิ่งแวดล้อม

20 ความสำคัญ พยาบาลกับการดูแลตนเองของผู้ป่วย
ครอบครัวชุมชน

21 ความสำคัญของสุขภาวะ

22 ความสำคัญของระบบสุขภาพ

23 ความสำคัญของระบบสุขภาพกับการพยาบาลในชุมชน

24 กิจกรรมชีวิตสดใสห่างไกลความเครียด
ความสำคัญของ Home visit กิจกรรมชีวิตสดใสห่างไกลความเครียด ชุมชนในฝัน community

25 ความสำคัญของ ครอบครัวเป็นแหล่งสำคัญในการดูแลช่วยเหลือ พยาบาลเป็นระบบการพยาบาลที่จะเน้นให้ผู้ป่วยได้รับการสอนและคำแนะนำในการปฏิบัติการดูแลตนเอง รวมทั้งการให้กำลังใจและคอยกระตุ้นให้ผู้ป่วยคงความพยายามที่จะดูแลตนเองและคงไว้ซึ่งความสามารถในการดูแลตนเอง

26 ความสำคัญของชุมชน จิตเวชชุมชนมีความสำคัญในการช่วยปรับเจตคติและพฤติกรรมที่ถูกต้องในเชิงสุขภาพจิต เพื่อให้บุคคลในชุมชนสามารถดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชและดำเนินชีวิตร่วมกันได้อย่างปกติสุข

27 การพยาบาลจะมีประสิทธิภาพได้นั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถทางการพยาบาล (Nursingagency: NA) เป็นความสามารถของพยาบาลที่ได้จากการศึกษา และฝึกปฏิบัติในศาสตร์และศิลปะทางการพยาบาล ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถทางการพยาบาล คือ 1. ความรู้ 2. ประสบการณ์ 3. ความสามารถในการลงมือปฏิบัติ 4. ทักษะทางสังคม 5. แรงจูงใจในการให้การพยาบาล 6. อัตมโนทัศน์ของตนเกี่ยวกับการพยาบาล

28 การทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มกับกระบวนการพยาบาล
ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนดังนี้ ( Dennis, 1997 ) ขั้นตอนที่ 1 ขั้นวินิจฉัยและพรรณนา (Diagnosis and Prescription) เป็นขั้นตอนที่ระบุถึงความพร่องในการดูแลตนเอง โดยมีขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการดูแลตนเอง ความต้องการในการดูแลตนเองทั้ง 3 ด้านรวมทั้งปัจจัยพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง แล้วจากนั้นจะพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถกับความต้องการการดูแลตนเองเพื่อบ่งชี้ถึงภาวะพร่องในการดูแลตนเอง และเขียนข้อวินิจฉัย ขั้นตอนที่ 2 ขั้นวางแผน (Design and Plan ) เป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่องเมื่อทราบถึงความพร่องในการดูแลตนเองแล้ว จากนั้นจะทำการเลือกระบบการพยาบาลให้เหมาะสม แล้วนำมาวางแผนโดยมีการกำหนดเป้าหมายหรือผลลัพธ์ทางการพยาบาล ( Expected Outcome ) และกำหนดกิจกรรมการพยาบาล ขั้นตอนที่ 3 ขั้นปฏิบัติการพยาบาลและควบคุม (Regulate and Control) เป็นขั้นตอนที่พยาบาลนำกิจกรรมไปลงมือปฏิบัติตามแผนการพยาบาล โดยมีจุดมุ่งหมาย คือการบรรลุความต้องการการดูแลตนเองทั้งหมด (TSCD) และในตอนนี้ยังรวมถึงการประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ และปกป้องหรือพัฒนาความสามารถหรือไม่ และนำข้อมูลย้อนกลับเข้าสู่การประเมินสภาวะอีกครั้ง

29 การทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มกับกระบวนการพยาบาล
ตัวอย่างแผนการพยาบาลตามแนวคิดของโอเรม 1. ประเมินความสามารถในการดูแลตนเอง - มีการทำงานของระบบประสาทปกติ รับรู้รส กลิ่น เสียง มองเห็น และสัมผัสและความรู้สึกเจ็บปวดร้อนหนาวถูกต้อง - มีความตั้งใจและสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติตัวขณะเจ็บป่วย - มีความสามารถพูดคุย สื่อสารกับบุคคลอื่นได้ดี - พบ Osteolytic lesion at Rt clavicle 2. ประเมินความต้องการการดูแลตนเองตามความจำเป็นทั้ง 3 ด้าน USCR: เดินออกกำลังกายทุกวันวันละ 15 นาที มีอาการปวดตึงบริเวณต้นคอ มีการเคลื่อนไหวแขนข้างซ้ายได้น้อย ขณะเคลื่อนไหวจะรู้สึกปวด ได้รับอาหารน้ำเพียงพอ ขับถ่ายวันละ 1 ครั้งไม่มีปัญหาการขับถ่าย พักผ่อนวันละ ชม. HDSCR: รับประทานยาแคลเซียมวันละ 1 เม็ด รับรู้เรื่องการปฏิบัติตัวไม่ต่อเนื่อง ไม่ทราบผลการตรวจเลือด 3. ประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้อง( BCFs ) : อายุ ปี ป่วยเป็นโรคความดันสูงมา 3 ปีแล้ว อยู่กับภรรยาที่บ้านเช่า ผู้ป่วยมีอาชีพขายก๋วยเตี๋ยว

30 ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มกับกระบวนการพยาบาล
ตัวอย่างแผนการพย4. แผนการพยาบาล ความพร่องในการดูแลตนเอง : ความสามารถในการดูแลตนเองเรื่องการทำกิจกรรมบกพร่อง จุดมุ่งหมายทางการพยาบาล : ให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ถูกต้อง ระบบการพยาบาล/ กิจกรรมการช่วยเหลือ ระบบสนับสนุนและให้ความรู้ 1. ประเมินการทำกิจกรรมและการประกอบอาชีพร่วมกับผู้ป่วยและญาติ 2. ให้คำแนะนำเรื่องการเคลื่อนไหวแขนที่ถูกต้อง 3. ให้คำแนะนำเรื่องการรับประทานยาและการรับประทานอาหารที่ถูกต้องและเพียงพอ ตัวอย่างพยาบาลให้ความรู้ระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ (Educative supportive nursing System) พยาบาลตามแนวคิดของโอเรม

31 ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มกับกระบวนการพยาบาล
ตัวอย่างแผนการพยาบาลตามแนวคิดของโอเรม.ในวิชาการพยาบาลจิตเวช 1. ประเมินความสามารถในการดูแลตนเอง - มีการทำงานของระบบประสาทปกติ รับรู้รส กลิ่น เสียง มองเห็น ภาพหลอน หูแว่ว - มีความตั้งใจและสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติตัวขณะเจ็บป่วยเมื่อป่วยจิต จิตเวช หรือซึมเศร้า - มีความสามารถพูดคุย สื่อสารกับบุคคลอื่นได้ดี พูดวนไปมา พูดขัด - พบ Osteolytic lesion at Rt leg และ ความดันโลหิตสูง 2. ประเมินความต้องการการดูแลตนเองตามความจำเป็นทั้ง 3 ด้าน USCR: เดินออกกำลังกายทุกวันวันละ 5 นาที มีอาการปวดตึงบริเวณต้นคอ มีการเคลื่อนไหวแขนข้างซ้ายได้น้อย ขณะเคลื่อนไหวจะรู้สึกปวด ได้รับอาหารน้ำเพียงพอ ขับถ่ายวันละ 1 ครั้งไม่มีปัญหาการขับถ่าย พักผ่อนวันละ 5 ชม. HDSCR: รับประทานยาแคลเซียมวันละ 1 เม็ด ยาความดันโลหิต รับรู้เรื่องการปฏิบัติตัวไม่ต่อเนื่อง ไม่ทราบผลการตรวจเลือด 3. ประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้อง( BCFs ) : อายุ ปี ป่วยเป็นโรคความดันสูงมา 3 ปีแล้ว อยู่กับภรรยาที่บ้านเช่า ผู้ป่วยมีอาชีพขายก๋วยเตี๋ยว ดื่มสุราและบุหรี่ ดื่มกาแฟ 3 แก้ว 4. แผนการพยาบาล ความพร่องในการดูแลตนเอง : ความสามารถในการดูแลตนเองเรื่องการทำกิจกรรมบกพร่อง จุดมุ่งหมายทางการพยาบาล : ให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ถูกต้อง ระบบการพยาบาล/ กิจกรรมการช่วยเหลือ ระบบสนับสนุนและให้ความรู้ 1. ประเมินการทำกิจกรรมและการประกอบอาชีพร่วมกับผู้ป่วยและญาติ 2. ให้คำแนะนำเรื่องการเคลื่อนไหวขาที่ถูกต้อง 3. ให้คำแนะนำเรื่องการรับประทานยาและการรับประทานอาหารที่ถูกต้องและเพียงพอ 4. การลดดื่มสุราและบุหรี่ ดื่มกาแฟ

32 สรุปทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม
1. ทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม มีความสำคัญอย่างไร 2. 3. 4. 5. ผู้ป่วยขาดความรู้และทักษะที่จำเป็น อยู่ในทฤษฎีย่อย 3 ทฤษฎี ใด

33 สรุปทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม
6 7. 8. 9. ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มต่างกับทฤษฎีทางการพยาบาลกอร์ดอนอย่างไร 10. จงยกตัวอย่างทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มกับกระบวนการพยาบาล

34 ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม เป็นทฤษฎีที่ประกอบด้วย 3 ทฤษฎีย่อยและประกอบด้วย 6 มโนทัศน์ที่มีความสัมพันธ์กัน

35 โครงการส่งเสริมสุขภาพจิต เพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้า ในเด็กวัยเรียน
โครงการส่งเสริมสุขภาพจิต เพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้า ในเด็กวัยเรียน กลุ่มงานสุขภาพจิตและจิตเวชชุมชน สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

36 คู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

37

38

39 การประชุมปฏิบัติการ กรมอนามัย 30 ม.ค.2551
Services Available การประชุมปฏิบัติการ กรมอนามัย 30 ม.ค.2551

40 การประชุมปฏิบัติการ กรมอนามัย 30 ม.ค.2551
Home visit & Ambulance services การประชุมปฏิบัติการ กรมอนามัย 30 ม.ค.2551

41 Day Centre การประชุมปฏิบัติการ

42 การบริการสุขภาพ & สังคม: สิงคโปร์
Community-based Care Day Rehabilitation Centres Home care Home medical care Home nursing care Home-help service Day Hospital Long Term Care Laundry service Home modification Tel. Hotline service Equipment loans Neighbourhood respite care สถานบริการ (Institution) Acute Hospital: Geriatric Centre Step-down care Community Hospital Long-term Care (LTC) Residential LTC Nursing Home Non-residental LTC Respite care การประชุมปฏิบัติการ กรมอนามัย 30 ม.ค.2551

43 Geriatric Centre

44 Nursing Home

45 การประชุมปฏิบัติการ กรมอนามัย 30 ม.ค.2551
Day Care, Day Hospital, Rehabilitation Centre การประชุมปฏิบัติการ กรมอนามัย 30 ม.ค.2551

46 โครงการป้องกันโรคทางกายและจิตในชุมชน
กรณีศึกษาการฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเภทไร้บ้าน.docx กรณีศึกษารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน

47 การเขียนโครงการประกอบด้วย
ชื่อโครงการ ชื่อผู้รับผิดชอบ ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ของโครงการ กลุ่มเป้าหมาย การดำเนินโครงการ วัน เวลา สถานที่ งบประมาณ ประโยชนที่คาดว่าจะได้รับ การประเมินผล 12. สรุปผลการดำเนินโครงการ 13.ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ

48 Faculty nursing Rajabhat University
The International Academic Multidisciplines Research Conference International Conference on MODEL OF COMMUNITY CARE FOR PATIENTS WITH CHRONIC MENTAL ILLNESS Dr. Thitavan Hongitiyanon* Faculty nursing Rajabhat University

49 More people have mental illness are Nonthaburi Thailand 2,552 case
Introduction More people have mental illness are Nonthaburi Thailand 2,552 case

50 Objective We expected to find out the right pattern of how to look after chronic mental patients with the participation of family, community and local health service.

51 Findings/Results 1 30 80 increase
Member patient GAF Score function Patients’ behavior during the research and after before after 1 30 80 increase Patient could perform daily-life routine. They could interact with people. He was a little nervous, but able to control the emotion. 2 50 90 she got supported by family. 3 100 He works in a corn farm. He can go out to the farm everyday and sell corns in the market. 4 70 Patient could perform daily-life routine 5 He got supported by family. Patient takes medicine regularly and has no hallucination. 6 60 Patient could perform daily-life routine.he stated at home. 7 40 Patient applied for a job, but still unemployed. she stated at home, helping with some housework. 8 Patient could perform daily-life routine. she stated at home 9 Patient could perform daily-life routine. she stated at home. 10 decrease When patient firstly got into the research, he wanted to quit drinking. He showed eagerness while staying in the program. Patient was sent home to visit family 3 times during the program. Every time he went home, he could not stop drinking. Patient agreed to continue his treatment the Srithanya hospital.

52 More importantly, a multidisciplinary team the
CONCLUSION AND FUTURE WORK More importantly, a multidisciplinary team the surroundings around patients can play important role on recovery by psycho education , case management, home health care and project.

53 “ผู้ป่วยหญิงวัย 48 ปี มีประวัติการเจ็บป่วยทางจิต ด้วยอาการซึมเศร้า พยายามฆ่าตัวตาย จากการสูญเสียสามีกะทันหัน และต้องรับภาระเลี้ยงดูส่งบุตรเรียนหนังสือ 3 คน เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ 7 วัน แพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน” จากสถานการณ์ ในฐานะบทบาทของพยาบาลจิตเวชชุมชน จงประเมินภาวะสุขภาพและวางแผนการช่วยเหลือผู้ป่วยรายนี้ในชุมชนและจัดทำโครงการ และใช้ทฤษฎีของโอเรมในให้การพยาบาลผู้ป่วยรายนี้

54 ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ http://teacher.ssru.ac.th/thitavan_ho
สรุป Any Question ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์

ทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม ประกอบด้วย ทฤษฎีย่อยใดบ้าง

แนวคิดทฤษฎีของโอเร็มมี 6 มโนทัศน์หลัก ประกอบด้วย การดูแลตนเอง (self-care) ความ ต้องการการดูแลตนเองทั้งหมด (therapeutic self-care demand) ความสามารถในการดูแล ตนเอง (self-care agency) ความพร่องในการดูแล ตนเอง (self-care deficit) ความสามารถทาง การพยาบาล (nursing agency) และปัจจัยเงื่อนไข พื้นฐาน (basic conditioning ...

ในทฤษฎีการดูแลตนเอง (Theory of self care) ประกอบด้วย มโนทัศน์ใดบ้าง

มโนทัศน์ที่ส าคัญของทฤษฎีนี้ได้แก่ การดูแลตนเอง (Self- care) ความสามารถในการดูแลตนเอง (Selfcare agency) การดูแลตนเองที่จาเป็น (Selfcare requisites) และความต้องการการดูแลตนเองทั้งหมด (Therapeutic selfcare. demand ) การดูแลตนเอง (Self- care : SC)

บุคคล (Person) ตามมโนทัศน์ของโอเร็มมีลักษณะอย่างไร

เกี่ยวกับทฤษฎีโอเร็ม บุคคล(Person) โอเร็มเชื่อว่าบุคคลเป็นผู้ที่มีความสามารถในการกระทำอย่างจงใจ(deliberate action)มีความสามารถในการเรียนรู้ วางแผนจัดระเบียบปฏิบัติกิจกรรม ทำหน้าที่ทั้งด้านชีวภาพด้านสังคมด้านการแปลและให้ความหมายต่อสัญลักษณ์ต่างๆและเป็นระบบเปิดทำให้บุคคลมีความเป็นพลวัตรคือเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

ความหมายของบุคคลตามทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรมคือข้อใด

เป็นแนวคิดที่อธิบายการดุแลตนเองของบุคคล และการดูแลบุคคลที่พึ่งพอ กล่าวคือ บุคคลที่มีวุฒิภาวะเป็นผู้ใหญ่และกำลังเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ มีการเรียนรู้ในการกระทำและผลของการกระทำเพื่อสนองตอบความต้องการดูแลตนเองที่จำเป็น โดยการควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อหน้าที่ หรือพัฒนาการของบุคคลเพื่อคงไว้ซึ่งชีวิต สุขภาพ และความผาสุก การกระทำดัง ...