การหยุดการตอกเสาเข็มแบ่งเป็น 2 ลักษณะคืออะไร

เสาเข็มมีด้วยกันหลายประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่นำไปใช้ประเภทของเสาเข็ม ได้แก่

1. เสาเข็มตอก

มีทั้งเสาไม้ เสาเหล็ก และเสาคอนกรีต ส่วนมากจะนิยมใช้เสาเข็มคอนกรีต เนื่องจากราคาถูกกว่าเสาเหล็กและแข็งแรงกว่าเสาไม้ สำหรับเสาคอนกรีตแบ่งย่อยได้ 2 ชนิด ได้แก่ เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก และเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง เสาคอนกรีตอัดแรงจะเป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะหน้าตัดเล็กกว่าทำให้เวลานำไปตอกจะส่งผลกระทบต่ออาคารข้างเคียงน้อยกว่า เสาเข็มตอกมีด้วยกันหลายรูปแบบ ทั้งแบบสี่เหลี่ยม แบบกลม แบบตัว I และแบบตัว T เป็นต้น เสาเข็มตอกสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ราว ๆ 10-120 ตันต่อต้น

ตอกเสาเข็ม ต้องใช้ปั้นจั่นในการตอกลงไปในดิน โดยช่วงสุดท้ายซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการตอกเสาเข็ม จะต้องมีการตรวจสอบการตอก 10 ครั้งสุดท้าย (Last Ten Blow) เข็มที่ตอกมีการทรุดตัวกว่าค่าที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าหากทรุดตัวมากเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้แสดงว่ายังไม่สามารถรับน้ำหนักได้ดีพอ

2. เสาเข็มเจาะระบบแห้ง เสาเข็มที่เข้ามาแก้ปัญหาเสาเข็มแบบตอกซึ่งไม่สะดวกสำหรับการขนย้าย ให้สามารถทำงานในสถานที่แคบ ๆ เสาเข็มเจาะระบบแห้งเป็นการทำเสาเข็มแบบหล่อในที่ มีรูปร่างหน้าตาเป็นวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40-60 เซนติเมตร สามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ราว ๆ 25-60 ตันต่อต้น ความยาวประมาณ 2030 เมตร

ทำเสาเข็มเจาะแบบแห้งสามารถเจาะโดยใช้ขาตั้ง 3 ขา แล้วใช้ลูกตุ้มเหล็กหรือกระบะตักดินกระแทกลงไปในดินลึกประมาณ 1 เมตร หลังจากนั้นนำปลอกเหล็กตอกลงไปในหลุมเจาะ โดยปกติจะลงไปลึกประมาณ 12-14 เมตร ซึ่งระดับความลึกระดับนี้จะเป็นชั้นดินเหนียวอ่อน หลังจากนั้นทำการเจาะดินโดยทิ้งกระบะตักดินลงไปในปลอกเหล็ก แล้วตักขึ้นมาทิ้งบริเวณปากหลุม การเจาะดินจะทำการเจาะไปถึงชั้นทรายแล้วจึงหยุดเจาะ เนื่องจากชั้นทรายจะมีน้ำไหลซึมออกมาตลอดซึ่งจะทำให้ก้นหลุมพัง หลังจากนั้นใส่เหล็กเสริมลงไปในปลอกเหล็ก แล้วเทคอนกรีตลงไปในปลอกเหล็ก หลังจากเทเสร็จให้รีบดึงปลอกเหล็กขึ้นทันที

3. เสาเข็มเจาะระบบเปียกเป็นเสาเข็มแบบคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อในที่ รูปหน้าตัดทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.75-1.50 เมตร สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 150-900 ตัน/ต้น เสาเข็มระบบนี้จะเหมาะกับงานก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ เช่น อาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ เป็นต้น เสาเข็มระบบนี้เมื่อเจาะลงลึกกว่า 20 เมตร จะต้องใช้ละลายเบนโทไนท์ใส่ลงไปในหลุมเจาะ เพื่อผลักน้ำออกไปจากชั้นทรายเพื่อให้สามารถเทคอนกรีตลงไปได้

เสาเข็มที่นิยมใช้สร้างบ้าน จะมี 2 ประเภท ได้แก่

เสาเข็มตอก ซึ่งใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงที่ผลิตจากโรงงาน แต่ละท่อนมีความยาวตั้งแต่ 1-28 ม. มีหลายหน้าตัด เช่น รูปตัวที (T) รูปตัวไอ (I) สี่เหลียม หกเหลี่ยม เป็นต้น เสาเข็มสั้นที่ยาว 1-6 เมตรมักจะตอกลงดินด้วยแรงคนขย่ม ส่วนเสาเข็มยาวจะใช้ปั้นจั่นในการตอก

เสาเข็มเจาะ ซึ่งจะใช้เครื่องมือขุดเจาะดินเป็นหลุมตามขนาดหน้าตัดเสาเข็ม โดยขุดให้ลึกถึงชั้นดินแข็งจากนั้นจึงใส่เหล็กเสริมและเทคอนกรีตลงไป

ในปัจจุบันเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงจะได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีราคาที่ย่อมเยา ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มก่อนที่จะติดตั้งได้ และสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยสูงสุดกว่า 200 ตันต่อต้น ทางด้านการติดตั้งมีกรรมวิธีที่หลากหลายตั้งแต่ใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็ม การเจาะดิน การปรับปรุงสภาพดินบริเวณปลายเสาเข็ม ไปจนถึงการกดเสาเข็มซึ่งสามารถลดมลภาวะเสียงและแรงสั่นสะเทือนได้สมบูรณ์แบบ ความเหมาะสมของวิธีที่ใช้ในการติดตั้งเสาเข็มขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของพื้นที่ ความจำเป็น และกฎหมายที่บังคับในพื้นที่นั้นๆ ภายหลังการติดตั้งวิศวกรนิยมเลือกใช้การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็ม หรือการทำสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มเพื่อยืนยันว่าเสาเข็มสามารถรับน้ำหนักได้ตามการคำนวณ ส่วนข้อจำกัดของเสาเข็มอาจจะพบได้ในพื้นที่ที่ค่อนข้างแคบ เนื่องจากจะต้องมีการขนย้ายเสาเข็มจากโรงงานเข้าสู่หน้างาน

การหยุดการตอกเสาเข็มแบ่งเป็น 2 ลักษณะคืออะไร


การหยุดการตอกเสาเข็มแบ่งเป็น 2 ลักษณะคืออะไร

การหยุดการตอกเสาเข็มแบ่งเป็น 2 ลักษณะคืออะไร

เสาเข็ม คือวัสดุที่ถ่ายน้ำหนักจากอาคารสู่ชั้นดินแข็ง ในงานก่อสร้างอาคารต่างๆ โดยชั้นดินแข็งที่มีคุณสมบัติสามารถรับน้ำหนักอาคารได้ อาจอยู่ลึกตั้งแต่ 6 เมตร ถึง 40 เมตร (สำหรับเสาเข็มตอก) ซึ่งในการออกแบบฐานราก ผู้ออกแบบจะพิจารณาการรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มแต่ละต้นว่าจะรับน้ำหนักเท่าไหร่โดยทำการคำนวณและทดสอบด้วยน้ำหนักบรรทุก (Load Test) ประกอบกับผลการสำรวจชั้นดิน (Boring Log) โดยปกติชั้นดินในแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกัน ดังนั้นการทดสอบจากการตอกเสาเข็มที่หน้างานเพื่อยืนยันว่าเสาเข็มสามารถรับน้ำหนักได้จึงมีความจำเป็น จึงจะทำให้เสาเข็มที่มีหน้าตัดและความยาวเดียวกันไม่สามารถรับน้ำหนักได้เท่ากันในแต่ละพื้นที่ จึงเป็นที่มาของการกำหนดวิธีการทดสอบเสาเข็มตอกโดยการวัดการทรุดตัวของเสาเข็มเนื่องจากการตอก 10 ครั้งสุดท้ายหรือ “Blow Count” ซึ่งเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการยืนยันว่าการตอกเสาเข็มต้นนั้นสิ้นสุดลงและสามารถรับน้ำหนักได้ตามที่ออกแบบไว้

Blow Count คือจำนวนครั้งที่ปล่อยตุ้มน้ำหนักบนรถตอกลงมากระแทกที่หัวเสาเข็มและทำให้เสาเข็มจมลงดิน 1 ฟุต หรือ 30 เซนติเมตร สูตรในการคำนวณ Blow count มีหลากหลาย ซึ่งคำนวณจากปัจจัยหลักคือขนาดหน้าตัดเสาเข็ม, ความยาวเสาเข็ม, น้ำหนักของตุ้ม, ระยะยกตุ้ม, น้ำหนักปลอดภัยที่ผู้ออกแบบกำหนด (Safe Load) และค่าความปลอดภัย (Safety Factor) ซึ่งจะคำนวณโดยวิศวกร หากชั้นดินบริเวณปลายเสาเข็มมีความสามารถในการรับน้ำหนักได้สูง ค่า Blow Count ก็จะสูงขึ้นตามลำดับ ผู้ติดตั้งจะเช็ค Blow Count ที่เสาเข็มจะมีการขีดเส้น ห่างกันทุกๆ30 เซนติเมตร และนับจำนวนครั้งที่ตอก หากการตอกเสาเข็มได้จำนวนครั้งตามค่าที่วิศวกรกำหนด จึงจะหยุดการตอกและเข้าสู่การนับการตอก 10 ครั้งสุดท้าย (Last ten blow count)

เสาเข็มมี 2 วิธีมีอะไรบ้าง

การถ่ายเทน้ำหนักของเสาเข็มมี 2 ลักษณะ คือ เสาเข็มสั้น หรือ เสาเข็มที่รับน้ำหนักโดยใช้แรงเสียดทาน ซึ่งเสาเข็มชนิดนี้จะถ่ายน้ำหนักตัวอาคารกับชั้นดินโดยใช้แรงเสียดทานในการช่วยรับน้ำหนัก และเสาเข็มยาว คือ เสาเข็มที่ถ่ายน้ำหนักตัวอาคาร ผ่านชั้นดินอ่อนไปยังชั้นดินที่มีความแข็งเพื่อรับน้ำหนักเสาเข็มโดยตรง

เสาเข็มแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง

เสาเข็มที่ใช้กับอาคารบ้านเรือนทั่วไปในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของการผลิตและการใช้งาน ได้แก่ ... .
1.เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง ... .
2. เสาเข็มเจาะ ... .
2.1 เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก ( small diameter bored pile ) ... .
2.2 เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ ( large diameter bored pile ) ... .
3.เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง.

ตอกเสาเข็ม ดูอะไรบ้าง

ตรวจสอบเงื่อนไขการตอกเสาเข็ม กำหนดด้วยความยาว หรือ Blow Count. ตรวจสอบแผนงานการจัดลำดับขั้นตอนการตอกเข็ม และทางเดินปั้นจั่น ตรวจสอบขนาดพื้นที่หน้าตัด อายุของเข็ม และคุณภาพของเสาเข็ม ถูกต้องหรือไม่ ตรวจสอบหัวเข็มได้ฉากกับแนวแกนหรือไม่เอียงเกินข้อกำหนดหรือไม่

เสาเข็มแบ่งได้กี่ประเภทตามลักษณะการผลิต

เสาเข็มที่ใช้ในการสร้างบ้าน อาคาร สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ในประเทศไทย สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะการผลิตและการใช้งาน ดังนี้ 1. เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง (Prestressed Concrete Pile)