เป็นข้าราชการได้สิทธิอะไรบ้าง

  • บทความการศึกษา
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของ ข้าราชการ หลังเกษียณอายุราชการ

โดย

สุทัศน์ ภูมิภาค

-

มิถุนายน 20, 2019

14472

Facebook

Twitter

Pinterest

LINE

“ข้าราชการ” คือ บุคคลซึ่งรับการบรรจุแต่งตั้งให้รับราชการปฏิบัติหน้าที่ และรับเงินเดือนในกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ของประเทศไทย ผู้ที่เป็น ”ข้าราชการ” ถือว่ามี “อาชีพรับราชการ” ซึ่งเป็นอาชีพ ๆ หนึ่ง ในประเทศไทยและเกือบทุกประเทศทั่วโลก ถึงเป็นอาชีพที่มีรายได้ไม่สูงนัก แต่ก็เป็นอาชีพที่มีความมั่นคง มีสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ดี มีเกียรติในสังคม และที่สำคัญได้ทำหน้าที่สร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติและประชาชน

“ข้าราชการ” ในประเทศไทย มีหลายประเภท ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการรัฐสภา ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้าราชการการเมือง หรือข้าราชการส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งข้าราชการแต่ละประเภทก็จะได้รับสิทธิและประโยชน์จากทางราชการไปในแนวเดียวกัน

สิทธิและประโยชน์ตอบแทนจากทางราชการมีอะไรบ้าง?

“ข้าราชการ” ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการตำแหน่ง ประเภทใด หรือทำงานที่ส่วนราชการใด ก็จะได้รับสิทธิและประโยชน์ตอบแทนจากทางราชการมากมาย ทั้งในระหว่างรับราชการอยู่ เมื่อออกจากราชการแล้ว และการช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิต ได้แก่

1. สิทธิและประโยชน์ตอบแทนระหว่างรับราชการ ได้แก่ เงินเดือน เงินวิทยฐานะ เงินประจำตำแหน่ง เงินค่าตอบแทนตำแหน่ง เงินค่าเช่าบ้าน เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร เงินค่าทดแทน การสงเคราะห์เนื่องจากได้รับอันตรายหรือการป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการ สิทธิเกี่ยวกับการลา เครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรืออายุราชการทวีคูณ เป็นต้น

2. สิทธิและประโยชน์ตอบแทนในการปฏิบัติราชการพิเศษหรือเพิ่มขึ้นจากปกติ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและการฝึกอบรม ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ เงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ เงินตอบแทนการเป็นกรรมการหรือปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ เป็นต้น

3. สิทธิและประโยชน์ตอบแทนเมื่อพ้นจากราชการแล้ว ได้แก่ เงินบำเหน็จ เงินบำนาญ เงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร หรือเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เป็นต้น

4.สวัสดิการและสิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิต ได้แก่ เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ เงินบำเหน็จตกทอด การขอพระราชทานเพลิงศพ การขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ เป็นต้น

สิทธิและประโยชน์ตอบแทนอะไรบ้างเมื่อพ้นจากราชการกรณีเกษียณอายุราชการ?

การพ้นจากราชการของข้าราชการมีหลายกรณี เช่น ลาออก ปลดออก ให้ออก แต่ข้อเขียนนี้จะกล่าวถึงเฉพาะการพ้นจากราชการกรณีเกษียณอายุราชการเท่านั้น มีประเด็นสำคัญดังนี้

1. กฎหมายใดที่กำหนดการเกษียณอายุราชการของข้าราชการเอาไว้?

“เจ้าหน้าที่ภาครัฐ” ทุกประเภทตำแหน่ง มีกฎหมายกำหนดการเกษียณอายุราชการไว้เป็นการเฉพาะ สำหรับ “ข้าราชการ”การเกษียณอายุราชการ กำหนดไว้ใน มาตรา 19 ของพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 ที่กำหนดว่า “ข้าราชการซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว เป็นอันพ้นจากราชการ เมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการนั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์” และในกฎหมายของการบริหารงานบุคคลของข้าราชการแต่ละประเภทก็จะกำหนดไว้อีกชั้นหนึ่งถึงการเกษียณอายุราชการ ตัวอย่างเช่น ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กำหนดไว้ใน มาตรา 107(2) ของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547และแก้ไขเพิ่มเติมว่า “ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาออกจากราชการเมื่อพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ” ดังนั้น “ข้าราชการซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้วต้องเป็นอันพ้นจากงานเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่อายุครบหกสิบปีบริบูรณ์นั้น” (ผู้เกษียณอายุราชการปีงบประมาณ 2559 คือ ผู้ที่เกิดระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม 2489- วันที่ 1 ตุลาคม 2499 หรือผู้เกษียณอายุราชการปีงบประมาณ 2560 คือ ผู้ที่เกิดระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม 2499- วันที่ 1 ตุลาคม 2500)

2. ค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ที่ผู้รับบำนาญจะได้รับจากราชการมีอะไรบ้าง?

ข้าราชการที่เกษียณอายุราชการ คนทั่วไปเรียกว่า “ข้าราชการบำนาญ” ภาษากฎหมายใช้คำว่า “ผู้รับบำนาญ” จะได้รับค่าตอบแทน สิทธิและประโยชน์จากทางราชการหลายอย่าง เพื่อเป็นการตอบแทนที่ทำงานให้กับราชการจวบจนเกษียณอายุราชการ เพื่อให้มีความมั่นคง มีคุณภาพชีวิตหลังเกษียณที่ดี ดังนี้

2.1 เงินบำเหน็จบำนาญ สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก กบข.

ผู้รับบำนาญ ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 หรือ เคยเป็นสมาชิก กบข. แต่กลับมารับบำเหน็จบำนาญ(UNDO) ตามพระราชบัญญัติการกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 พ.ศ. 2557

อาชีพข้าราชการ เป็นอีกอาชีพที่หลาย ๆ คน ให้ความสนใจ โดยจะปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ อย่างกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานท้องถิ่นของภาครัฐ ซึ่งสามารถรับราชการไปจนถึงเกษียณหากไม่ทำผิดวินัย

ถึงแม้เงินเดือนเมื่อเทียบกับเอกชนอาจจะดูน้อยกว่า แต่ในทางด้านสวัสดิการและความมั่นคง ก็ทำให้หลาย ๆ คนเลือกที่จะทำอาชีพสายนี้ ในบทความนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับสวัสดิการ สิ่งที่คุณจะได้เมื่อทำงานข้าราชการ

สวัสดิการอาชีพข้าราชการ – ครอบคลุมถึงครอบครัว

สวัสดิการสิ่งที่จะได้ เมื่อทำงานเป็นข้าราชการแล้ว สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้

เป็นข้าราชการได้สิทธิอะไรบ้าง

1. ค่าตอบแทนในระบบราชการ

– เงินเดือน
– เงินประจำตำแหน่ง
– เงินเพิ่ม
– สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล

เป็นข้าราชการได้สิทธิอะไรบ้าง

2. สวัสดิการครอบคลุมไปถึงครอบครัว

– ค่าเล่าเรียนบุตร โดยที่บุตรจะได้สิทธิ์นี้ถึง 3 คน
– สิทธิ์การลางาน
– ค่ารักษาพยาบาล ( ครอบคลุมไปถึง พ่อแม่ คู่สมรส และบุตร )
– สิทธิ์ในการลา
– เครื่องราชอิสริยาภรณ์
– บำเหน็จบำนาญ สามารถเลือกได้ว่าจะรับบำเหน็จเป็นเงินก้อน หรือจะเป็นบำนาญที่ได้รับรายเดือนไปจนตลอดชีวิต หากเลือกรับเป็นเงินบำนาญสวัสดิการในการรักษาพยาบาลก็ยังคงอยู่ไปตลอดชีวิต

เป็นข้าราชการได้สิทธิอะไรบ้าง

3. ประโยชน์เกื้อกูล

– ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
– ค่าเช่าบ้าน
– เงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ (โอที)
– รถประจำตำแหน่ง (ตามระดับตำแหน่ง)
– โทรศัพท์ของราชการ (ตามลักษณะงานและระดับตำแหน่ง)

อาชีพข้าราชการมีตำแหน่งอะไรบ้าง?

จะแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ และแบ่งออกเป็นสายงาน ยกตัวอย่างดังต่อไปนี้

– ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา เช่น ครูผู้ช่วย, ครู, อาจารย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, รองศาสตราจารย์ และ ศาสตราจารย์ ฯลฯ

– ข้าราชการฝ่ายทหาร สังกัดกระทรวงกลาโหมหรือกองทัพไทย แบ่งเป็น กองบัญชาการกองทัพไทย,กองทัพบก,กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ)

– ข้าราชการพลเรือนสามัญ คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน

– นักวิชาการต่าง ๆ เช่น นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร, นักวิชาการพัฒนาชุมชน, นักวิชาการประมง, นักวิชาการป่าไม้, นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร เป็นต้น

– กลุ่มงานการศึกษา ศิลป สังคม และการพัฒนาชุมชน เช่น นักผังเมือง, นักจดหมายเหตุ, บรรณารักษ์, นักโบราณคดี, นักประเมินราคาทรัพย์สิน, นักพัฒนาการกีฬา ฯลฯ

– กลุ่มอาชีพการคลัง การเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม เช่น เจ้าพนักงานการพาณิชย์, เจ้าพนักงานการคลัง, เจ้าพนักงานทรัพยากรธรณี, เจ้าพนักงานศุลกากร, เจ้าพนักงานชั่งตวงวัด, เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี ฯลฯ

– กลุ่มอาชีพวิทยาศาสตร์ เช่น เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์, เจ้าพนักงานอุตุนิยมวิทยา, เจ้าพนักงานอุทกวิทยา เป็นต้น

– กลุ่มอาชีพแพทย์ พยาบาลและสาธารณสุข เช่น เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข, เจ้าพนักงานสาธารณสุข, เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์, เจ้าพนักงานเวชกรรมฟื้นฟู, เจ้าพนักงานเภสัชกรรม ฯลฯ