Digital Marketing Consultant ทำอะไรบ้าง

Digital Marketing Consultant ทำอะไรบ้าง
Digital Marketing Consultant ทำอะไรบ้าง

แนะนำอาชีพสาย Digital Marketing ที่ทำเงิน

  • March 17, 2021

Digital Marketing Consultant ทำอะไรบ้าง
Digital Marketing Consultant ทำอะไรบ้าง

แนะนำอาชีพสาย Digital Marketing ที่ทำเงิน

            เชื่อหรือไม่ครับว่า สายอาชีพด้าน Digital Marketing นอกจากจะกำลังมาแรงมากแล้วยังเป็นสายที่ขาดคนอยู่มาก และทำเงินได้มากเกินคาดด้วย ตั้งหลักออนไลน์ จึงอัพเดทข้อมูลน่าสนใจสำหรับทุกท่านครับ มาลองดูว่า สายงานไหนบ้างที่น่าจับตา การันตีว่าภายในทศวรรษหน้ามีงานแน่นอน

Digital Marketing / Manager

เวลานี้กำลังเป็นหนึ่งในสายงานที่หลายองค์กรต้องการตัวครับ แต่ปัญหาคือ สายงานนี้มีความต้องการ “ประสบการณ์ทำงาน” อย่างน้อย 3-5 ปี อีกทั้งคนที่มีทักษะมักเลือกออกไปตั้งบริษัท เอเจนซี่ หรือรับงาน Outsource ของตัวเองมากกว่าจะมาทำเป็นพนักงานประจำ เพราะส่วนมากคนที่มีทักษะในสายงานนี้มากพอแล้ว อายุก็จะไม่ใช่น้อยๆ ส่วนมากอยู่ที่ 27-35 ปี ถ้าไม่ใช่องค์กรใหญ่ที่ปั้นคนของตัวเองขึ้นมา จะหาจากภายนอกที่เงินเดือนไม่สูงมากและเก่งพอค่อนข้างยาก

ที่สำคัญคือ คนที่มีทักษะในสายนี้ สามารถเรียกค่าตัวสูงได้ เพราะเข้าใจในภาพรวมของ Digital Marketing รู้ว่าที่มาของรายได้ในงานสายนี้ทั้งหมดมาจากไหน

โดยบทบาทหน้าที่คือ วางแผนการตลาดด้านดิจิทัลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นช่องทาง เว็บไซต์ เว็บเพจ โซเชียลมีเดีย และต้องเข้าใจรูปแบบทั้งออนไลน์และออฟไลน์ด้วย

สายงานนี้มีความต้องการสูงทั้งในและต่างประเทศ ที่สำคัญคือ ไม่ได้ต้องการปริญญาสูงครับ แต่ถ้ามีระดับปริญญาโทขึ้นไปก็ได้เปรียบกว่า

Content Marketing / Manager 

ภาพรวมแล้วคือ การเป็นผู้บริหารของสายการตลาดออนไลน์ ต้องทำด้านการวางกลยุทธ์ และทำตลาดของเว็บไซต์ Blog เพจ โดยเน้นเรื่องการผลิต Content ไม่ว่าจะเป็น บทความ Article Video ตามแต่ธุรกิจนั้น ๆ หน้าที่สำคัญของตำแหน่งนี้คือ เป็นผู้ดูแลทีมงาน Content Writer อีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้นมีความจำเป็นต้องเข้าใจการเขียน Content เพื่อการตลาดในเชิงลึกด้วย

ในหลายบริษัท ตำแหน่งนี้จะต้องดูแลทีมงาน Content ซึ่งอาจจ้างมาจากภายนอก เช่น ฟรีแลนซ์ หรือ Outsource เพราะบางครั้งการทำ Content ในเชิงลึก ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้น จึงอาจจะไม่สามารถใช้คนในบริษัทได้ หากเป็นการรับงานจากลูกค้าภายนอกเข้ามา โดยมากคนทำตำแหน่งนี้ในบรรดาบริษัทเอเจนซี่จึงมักต้องสื่อสารและบริ๊ฟงานกับคนทำ Content ที่เป็นฟรีแลนซ์ และทำหน้าที่รายงานและประเมินผลกับลูกค้าเป็นระยะ ซึ่งคนที่จะผันตัวมาทำสายนี้ อาจจะมาจาก Content Writer ที่มีประสบการณ์ก็ได้ครับ แต่ต้องมีความสามารถในการบริหารทีมงานและวางกลยุทธ์ได้ด้วย

Content Writer / Digital 

เป็นสายงานที่กำลังขาดคนอย่างหนัก เพราะว่าจะไปแล้วนี่คือ ศิลปิน นักสร้างสรรค์ผลงาน บนโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีความสามารถที่เฉพาะด้าน แล้วไม่เพียงแค่ต้องเข้าใจการใช้โปรแกรมหรือแพลทฟอร์ม แต่ต้องสามารถผลักดันตนเองให้สร้างสรรค์งานเขียน งานวีดีโอ กราฟิก คลิป เสียง ให้สามารถทำได้ทุกวันเสมือนงาน Routine

ปัจจุบัน งานด้านนี้ไม่เพียงแค่ต้องสร้างสรรค์เก่ง แต่ต้องเข้าใจเรื่องโปรแกรมพื้นฐานบางตัว รวมถึงเรื่อง SEO ไว้ด้วย

สำหรับปัญหาอย่างหนึ่งที่พบคือ มักมีความสับสนกันระหว่าง Content Writer กับ Digital Marketing เพราะโดยบทบาทแล้วเป็นคนละแบบ แต่ขาดกันไม่ได้

Digital Marketing Consultant ทำอะไรบ้าง
Digital Marketing Consultant ทำอะไรบ้าง

SEO Specialist

SEO Search Engine Optimization เป็นหนึ่งในเทคนิคและวิธีการอันหลากหลายที่จะช่วยเพิ่มหรือกระตุ้น Traffic ให้กับเว็บไซต์ เพื่อให้มีอันดับการค้นหาที่ดีขึ้นบน Google

งานหลักของสายนี้ จึงต้องมีความเข้าใจและรู้ลึกในเชิงเทคนิค ทั้งในส่วนเว็บไซต์ ระบบค้นหา Content  ซึ่งสายงานนี้มีการแข่งขันกันสูงมาก และที่สำคัญคือ กำลังเป็นที่ต้องการทั่วโลก เพราะแนวทางของมันสามารถใช้ได้แทบจะทุกภาษานั่นเอง

ปัญหาอย่างหนึ่งคือ คนทำสายนี้จะต้องมีความเข้าใจเรื่อง Keywords ในการปรับใช้ แล้วยังต้องอัพเดทกลยุทธ์ของ SEO อยู่เสมอ อีกทั้งสายงานนี้ยังผูกตัวเองอยู่กับการเปลี่ยนแปลงอัลกอริทึมของ Google และ Facebook เพราะฉะนั้นอาจจะพบว่ามีหลายคนหรือหลายบริษัทเอเจนซี่ที่ทำในสายนี้แต่แล้วกลับเปลี่ยนสายงานออกไปเน้นเรื่อง Content แทน

Social Media Executive / Manager

ตามเชื่อคือ เป็นสายงานที่ต้องคลุกคลีอยู่กับ โซเชียลมีเดีย ต้องมีความเข้าใจกระบวนการทำงานของ โซเชียลกระแสหลัก ไม่ว่าจะเป็น Facebook Twitter IG Google และรวมถึงการยิงแอดโฆษณา

งานในส่วนนี้ มีเป้าหมายหลักคือ ใช้ Content มาลงบนช่องทางโซเชียลสื่อสารให้ถึงกลุ่มลูกค้าหรือผู้สนใจ ทักษะที่จำเป็นคือ สามารถวางกลยุทธ์ด้านการตลาดผ่านโซเชียลได้ โดยเฉพาะในเวลานี้มีการแข่งขันกันสูงมากทุกช่องทาง ตำแหน่งนี้ยิ่งต้องอัพเดทเครื่องมือโซเชียลได้มากกว่าแค่ 2-3 ช่องทาง

เครื่องมือ Digital Marketing ที่น่าสนใจปี 2022

เครื่องมือ Digital Marketing ที่น่าสนใจ ในปี 2022 มีอยู่หลายแพลทฟอร์ม ที่แนะนำ เหมาะที่จะใช้ในการปั้นแบรนด์ เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ กระตุ้นยอดขาย ซึ่งทุกคนสามารถใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่ หรือเจ้าของแบรนด์ต่างๆครับ มาลองดูว่ามีตัวไหนบ้างที่น่าสนใจ

เครื่องมือสร้างคอนเทนต์

คอนเทนต์จัดว่าเป็นสิ่งสำคัญมากในการทำตลาด Digital Marketing เพราะมันคือการสื่อสารที่แต่ละแบรนด์นำมาใช้ในการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคและผู้คนทั่วไป ซึ่งคอนเทนต์ที่ใช้ก็มีหลายประเภท อาทิ บทความ ข้อเขียนสั้นๆ คลิปวีดีโอ รูปภาพ คลิปเสียง หรือแม้แต่คอนเทนต์กลุ่มที่สร้างความบันเทิง เช่น MV คลิปตัดต่อ เป็นต้น

ปัจจุบันมีเครื่องมือสำหรับการสร้างคอนเทนต์มากมาย แต่ต้องย้อนกลับมาดูว่า คอนเทนต์เหล่านั้นจะเป็นคอนเทนต์ที่เป็นของแบรนด์เราหรือของเราเองหรือไม่ ซึ่งคำแนะนำก็คือ ควรสร้างคอนเทนต์ลงในเครื่องมือที่จะสร้างให้เป็นช่องทางของเราหรือของแบรนด์โดยตรงเลย เช่นการใช้เครื่องมือทำเว็บไซต์สำเร็จรูป Web Template หรือ แชนแนลของเราที่ใช้ในการเผยแพร่คลิปวีดีโอ เช่น 

  • WordPress
  • Youtube
  • Canva

เครื่องมือเหล่านี้มีข้อดีคือ ใช้งานง่าย ฟรี ไม่ต้องเสียเวลาเขียนโค้ดเอง อีกทั้งยังสามารถตกแต่งได้ตามต้องการ แล้วยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบค้นหา Search Engine ของ Google ทำให้ผู้คนสามารถค้นหาเจอได้อีกด้วย จึงเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการตลาดดิจิทัลยุคนี้เอามากๆ ที่สำคัญคือ ใช้งานไม่ยาก และค่อนข้างเป็นมิตรกับผู้ใช้งานครับ

e-commerce

ช่องทางสำหรับการเปิดร้านอีคอมเมิร์ซ ขายสินค้าในโลกออนไลน์ ที่จะทำให้เราทุกคนสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจบนโลกออนไลน์อย่างง่ายๆ สำหรับสินค้าแทบทุกประเภท 

ซึ่งในยุคนี้มีข้อดีอย่างหนึ่งคือเครื่องมือสำหรับทำช่องทางอีคอมเมิร์ซ ถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่าย สะดวก ไม่ต้องเขียนโค้ดเป็นก็ทำหน้าร้านอีคอมเมิร์ซได้ง่ายๆ ที่นิยมใช้งานกันก็มีหลายตัว อาทิ

  • Inwshop 
  • Lineshopping
  • Wix
  • Shopify
  • Mebmarket

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มของ แพลทฟอร์ม ที่เน้นการใช้งานแบบ Mobile App ที่เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน สามารถดาวโหลดจาก App Store ได้สะดวกรวดเร็ว ฟรี การจ่ายเงินก็ทำการเชื่อมต่อกับแอปของธนาคารหรือกระเป๋าเงินออนไลน์ต่างๆได้ ที่นิยมกันก็เช่น Shopee Lazada 

แล้วที่เรียกได้ว่าเป็นเสาหลักในยุคนี้คือกลุ่มของร้านอาหาร Delivery ไม่ว่าจะเป็น

  • Lineman 
  • Grab
  • Food Panda
  • Robinhood

โซเชียลมีเดีย

โซเชียลมีเดีย กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทุกคนใช้งานกันแทบจะทุกนาที ทุกชั่วโมง แถมยังถูกนำมาใช้สำหรับการทำงาน ธุรกิจ ขายของออนไลน์ หรือการสร้างตัวตนด้วย โดยเฉพาะเหล่า Influencer ซึ่งตัวที่ยังนิยมใช้งานกันอยู่และยังใช้กันต่อไปก็คือ

  • Facebook
  • Instagram
  • Twitter
  • Tiktok

คาดว่าต่อไปก็จะมีโซเชียลมีเดียตัวใหม่ๆออกมาสู้กันในตลาดอีก ซึ่งช่องทางเหล่านี้มีข้อควรระวังคือหากนำมาใช้ในด้านการตลาดหรือทางธุรกิจ จะพบว่ามีปัจจัยที่ควบคุมได้ยากเกินไป จึงอาจต้องใช้ช่องทางอื่นไปด้วย

Instant Messaging App

แอปพลิเคชั่นกลุ่ม “แชท” หรือส่งข้อความ Instant Messaging App จัดว่าเป็นแอปพลิเคชั่นอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงมากในเวลานี้ ไม่แพ้การใช้งาน โซเชียลมีเดีย เพราะถูกนำมาใช้ในการส่งข้อความ เพื่อสื่อสารโดยตรงกับ ครอบครัว เพื่อนฝูง แถมในยุคนี้ยังได้รับการยอมรับแบบ Official ให้เป็นช่องทางในการทำงาน ติดต่อลูกค้า การสั่งงาน ไปจนถึงเป็นหลักฐานในคดีความบนชั้นศาลได้ด้วย ทำให้แอปกลุ่มนี้สำคัญมาก 

ในปัจจุบันเลยมีหลายแบรนด์เข้ามาจับแอปกลุ่มนี้ เพื่อทำการตลาดเชิงรุกในการส่งคอนเทนต์ และ โปรโมชั่น ไปถึงลูกค้าโดยตรง โดยในไทยเรามีตัวที่นิยมใช้งานกันคือ Line และ Facebook Messenger ส่วนในต่างประเทศก็จะนิยมใช้งานแตกต่างกันไป เช่น Whatapp Wechat ฯลฯ

Podcast

แพลทฟอร์มกลุ่มพอดแคส Podcast หรือคอนเทนต์ประเภทเสียง จัดว่าเป็นเครื่องมือสร้างคอนเทนต์อีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงมากในเวลานี้ ซึ่งก็มีอยู่หลายตัวที่แนะนำให้เลือกใช้กันที่มีช่องของคนไทยเข้าไปผลิตคอนเทนต์ดีๆเอาไว้มากมาย อาทิ 

  • Spotify
  • Clubhouse
  • Joox

สำหรับบางช่อง ก็สามารถหาฟังได้ผ่านทาง Youtube เช่นกันครับ

แพลทฟอร์ม Digital Marketing สินค้ากลุ่มไหนเหมาะกับอะไร

แพลทฟอร์ม Digital Marketing ในปี 2022 มีหลายตัวให้ทุกคนเลือกใช้งานกัน ซึ่งก็เป็นรูปแบบที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์และนักการตลาดนิยมกันมาก แต่แพลทฟอร์มตัวไหนที่เหมาะกับสินค้ากลุ่มไหนบ้าง เพื่อจะให้ใช้งานได้เวิร์คที่สุด ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ตายตัวเสมอไปครับ 

ที่จริงแล้ว สินค้าแต่ละประเภท สามารถนำไปใช้กับแพลทฟอร์มหรือช่องทางต่างๆได้เกือบทั้งหมด เพราะก็จะเห็นกันอยู่ว่าในบางแพลทฟอร์มมีสินค้าบางกลุ่มที่ไม่น่าจะขายออกได้เท่าไหร่วางขายกันอยู่ เพียงแต่ถ้ามองในแง่ของผู้เล่นหน้าใหม่หรือคนที่กำลังปรับแผนกลยุทธ์กับร้านค้าบนออนไลน์ คงต้องเลือกให้เข้ากับแบรนด์สินค้าของตัวเองให้เวิร์คที่สุดในช่วงแรก 

ดังนั้นมาลองดูกันหน่อยว่า แพลทฟอร์มไหนเหมาะกับสินค้ากลุ่มไหน

Facebook (Meta)

ยังคงเป็นโซเชียลมีเดียยอดนิยมอันดับต้นๆของคนไทย และจะยังใช้งานกันต่อไป ถึงแม้ว่าจะมีปัญหามากมาย ทั้งจากการปรับอัลกอริทึมของ มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก ที่ดูเหมือนปรับไปปรับมาจนธุรกิจที่ยิงแอดโฆษณาและเปิดเพจต่างๆทำได้ยากขึ้น แต่ที่จริงแล้วก็ยังเป็นช่องทางหลักยอดนิยมที่ใช้กันอยู่ครับ

สินค้าที่แนะนำ เช่น กลุ่มของ

  • เครื่องสำอาง สกินแคร์ กระเป๋า เสื้อผ้า
  • อสังหาริมทรัพย์
  • อาหารเสริม วิตามิน 
  • คอร์สออนไลน์ 
  • ร้านอาหาร เบเกอรี่ แฟรนไชส์ร้านอาหาร
  • เฟอร์นิเจอร์

ข้อดีอย่างหนึ่งของ Facebook คือถึงแม้ว่าการมองเห็นในภาพรวมจดถูกปิดกั้นไปมาก แล้วผู้ใช้งานยังโดน Tiktok ชิงเอาไปเยอะ แต่ก็ยังเป็นโซเชียลมีเดียที่มีความหลากหลายในแง่คอนเทนต์มากที่สุด 

อีคอมเมิร์ซ Shopee Lazada JDCentral

แพลทฟอร์มยอดนิยมที่มีนายทุนจีนเป็นแบ็กอัพ ทั้ง Tencent และ Alibaba ซึ่งทั้งสองตัวได้รับความนิยมจากคนไทยมาก เพราะกดใช้งานง่าย สะดวก และผูกกับบัญชีธนาคารด้วย

ที่จริงแล้ว ทั้ง  Shopee และ Lazada มีสินค้าที่วางขายใกล้เคียงกันมาก แต่ก็มีบางประเภทที่แตกต่างกันไปเลย 

ส่วนที่นิยมและพบบ่อยก็เช่น

  • อุปกรณ์กีฬา 
  • ของใช้ในบ้าน
  • พระเครื่อง
  • ของสะสม
  • หนังสือ
  • เครื่องสำอาง สกินแคร์ 
  • กระเป๋า เสื้อผ้า
  • ของเล่น
  • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บางประเภท

ข้อจำกัดของช่องทางนี้คือ ไม่ได้นำเสนอในแง่คอนเทนต์ ดังนั้นในด้านของธุรกิจบริการ จึงไม่นิยมใช้กัน ยกเว้นจะใช้เป็นช่องทางขายคูปองหรือ Vaucher

App Food Delivery

สำหรับร้านอาหาร ร้านกาแฟ เบเกอรี่ แฟรนไชส์ต่างๆ ยุคนี้ก็ต้องเข้าร่วมกับช่องทาง Food Delivery บนมือถือเป็นส่วนใหญ่ โดยแอปดังๆที่นิยมใช้กัน เช่น Lineman Grabfood Foodpanda Robinhood ฯลฯ 

Youtube

เป็นช่องทางสำคัญที่ไม่ได้นำเสนอการขายสินค้าโดยตรง แต่เหมาะกับการ รีวิว สาธิต และนำเสนอคอนเทนต์เพื่อดึงดูดคนดูและสร้างฐานแฟนคลับให้ติดตามได้ ช่องทางนี้เลยนิยมมากสำหรับกลุ่มรีวิวสินค้าและการสตรีมมิ่งเพื่อดึงคนเปย์เงิน

ดังนั้นต้องยอมรับว่าการทำผ่านช่องทางนี้อาจจะไม่ได้เกิดยอดขายโดยตรง แต่มีข้อดีคือสามารถเก็บเป็นคลิปไว้ได้ในระยะยาว 

Website

ยังคงเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของทุกธุรกิจ เมื่อใช้งานโซเชียลมีเดียแล้วมีคู่แข่งมาก ควบคุมได้ยาก การทำเว็บไซต์สำหรับสินค้าและบริการของคุณก็คือการเปิดหน้าร้านบนโลกออนไลน์ที่มีพื้นที่เป็นของตนเอง และยังเชื่อมโยงกับ Search Engine ในการค้นหาของ Google ด้วย

ข้อดีคือสินค้าและบริการเกือบทุกอย่าง สามารถนำมาลงทางนี้ได้ แต่ข้อด้อยคือ มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรและจำเป็นต้องหมั่นอัพเดทและดูแลมากกว่าการใช้ผ่านโซเชียลมีเดีย จึงอาจจะไม่เหมาะสำหรับธูรกิจขนาดเล็กมากหรือในครัวเรือนไปจนถึงคนที่แค่อยากเริ่มหาอะไรขายเพื่อเป็นรายได้เสริม

===============================================

การทำการตลาดออนไลน์เป็นเรื่องที่ทำเองได้ แต่ต้องมีความรู้และลงลึกจริงๆ เพราะมีเครื่องมืออีกมากมายที่คุณต้องเรียนรู้ รวมถึงกลยุทธิ์การตลาดออนไลน์ที่แตกต่างจากการตลาดแบบปกติ จะดีกว่าไหมถ้าคุณให้เราช่วยเหลือเรื่องการตลาดออนไลน์ด้วยประสบการณ์ของเรา ที่จะสามารถช่วยธุรกิจของคุณได้ ขอคำปรึกษาเบื้องต้นได้เลยตอนนี้

Marketing Consultant ทำอะไรบ้าง

ที่ปรึกษาการตลาด (Marketing Consultant) คือ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการทำการตลาด โดยมีหน้าที่ต่างๆ ได้แก่.
ช่วยเหลือแบรนด์หรือบริษัทในการให้คำปรึกษา.
รีเสิร์ชและวิเคราะห์ตลาด (Marketing Research).
กำหนดเป้าหมายทางการตลาด.
วางแผนการตลาด.
ช่วยบริษัทให้เริ่มต้นทำการตลาดได้.

ตำแหน่ง Digital Marketing มีอะไรบ้าง

1.Content Strategy นักวางกลยุทธ์ทางด้านคอนเทนต์ ... .
2.Digital Project Management ผู้จัดการบริหารโครงงานด้านดิจิทัล ... .
3.Data & Analytics นักวิเคราะห์ข้อมูล ... .
4.Brand Marketers นักสร้างแบรนด์ ... .
5.SEO Specialisation ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน SEO. ... .
6.Website Design & Development นักออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์.