Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

ทีมงาน SEO Books ได้ออกแบบบทความนี้ขึ้นมาให้ครอบคลุมทุกแง่ทุกมุมของ Search Engine Optimization อาทิ การหาคีย์เวิร์ดที่นำพาคนเข้าเว็บไซต์ของคุณในทุกๆ เดือน, การปรับโครงสร้างเว็บให้เป็นมิตรกับเสิร์ชเอนจิน (Search Engine) ไปจนถึงวิธีการสร้างลิ้งก์ (Backlink) อย่างถูกวิธี เพื่อเพิ่มคุณภาพของเว็บคุณในสายตา Google เป็นต้น ข้อมูลประกอบในเนื้อหาเป็นข้อมูลอัพเดทกลางปี 2564 เรียบเรียงเพื่อให้เข้าใจง่ายที่สุด

Show

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง
ท่านใดไม่สะดวกนั่งอ่านในเว็บสามารถ

ดาวน์โหลดบทความนี้ในรูปแบบอีบุ๊คเก็บไว้ในเครื่องได้ หรือ

หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่สนใจ ติชมกันเข้ามาได้ และถ้ามีข้อผิดพลาดประการใดทีมงานขออภัยมา ณ ที่นี้ ครับ

สารบัญ

  • SEO คืออะไร?
  • ผลลัพธ์การค้นแบบ Organic VS โฆษณา (Paid Results)
  • SEO มีความสำคัญอย่างไร ทำไมถึงต้องทำ?
  • กลยุทธ์การทำ SEO สายดำเทียบกับสายขาว (Black Hat Vs. White Hat)
  • 3 ขั้นตอนการทำ SEO สู่หน้าแรก Google
  • วางแผนคำนวณตุ้นทุนค่าใช้จ่ายในการทำ SEO
  • เสิร์ชเอนจิน (Search Engine)
  • คีย์เวิร์ด (Keyword)
  • คอนเทนต์ (Content)
  • ปูพื้นการทำ Onpage SEO
  • Technical SEO
  • สร้างลิงก์ (ฺLink Building)
  • วัดผลการทำ SEO
  • คุณควรจ้างบริษัทรับทำ SEO ไหม?

SEO (ย่อมาจาก Search Engine Optimization) คือแนวทางปฏิบัติในการปรับแต่งเว็บไซต์ตามกฎเกณฑ์ของเครื่องมือค้นหา โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้งาน เมื่อทำแล้วจะช่วยให้เว็บไซต์คุณมีอันดับสูงขึ้นในเสิร์ชเอนจิน

ตัวอย่างเช่น คนที่หาคำว่า “ข้าวผัดกระเพรา” ใน Google เขามักจะมองหา “สูตร ส่วนผสม และวิธีทำ”

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

ถ้าคุณต้องการติดหน้าแรก คุณก็ควรสร้างหน้า web page ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ “สูตร ส่วนผสม และวิธีทำข้าวผัดกระเพราะ” ตามหลักการทำ SEO เพื่อที่จะได้มีอันดับดีกว่าคู๋แข่ง

ผลลัพธ์การค้นแบบ Organic VS โฆษณา (Paid Results)

หน้าผลลัพธ์การค้นหาในเสิร์ชเอนจินเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Search Engine Result Pages หรือ SERP จะแบ่งออกเป็นสองส่วนที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ผลลัพธ์ทั่วไป และผลลัพธ์ที่ต้องชำระเงิน

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

ผลลัพธ์ที่ต้องชำระเงิน (Paid Result)

ผลการค้นหาในส่วนนี้ก็คือโฆษณา (จะมีคำว่า Ad กำกับไว้) ปรากฏด้านบนหรือด้านล่างผลการค้นหาทั่วไป อันดับโฆษณาจะอยู่สูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่ผู้ลงโฆษณายินดีจ่ายต่อการคลิกโฆษณา (Pay Per Click – PPC) ในแต่ละครั้ง

ผลการค้นหาทั่วไป (Organic Result)

ผลการค้นหาทั่วไป (รูปด้านบนในส่วนที่ลงสีเหลือง) จะจัดอันดับเว็บ Ranking โดยใช้ “คุณภาพ” ของหน้าเว็บเพจเป็นหลัก กล่าวคือ Organic Search คือผลลัพธ์ในเครื่องมือค้นหาที่คุณไม่สามารถกำตังค์ไปจ่ายให้ Google เพื่อติดหน้าแรกได้

เครื่องมือค้นหาจัดอันดับผลการค้นหาทั่วไปโดยใช้ปัจจัยหลายร้อยรายการ แต่โดยทั่วไป Google ถือว่าเว็บไซต์หรือหน้าเว็บที่มีความน่าเชื่อถือ และมีความเกี่ยวข้องกันกับคำค้นหา เป็นเว็บที่มีคุณภาพ

สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้คือ: เมื่อเราพูดถึง “SEO” เรากำลังพูดถึงการดันเว็บของคุณให้ขึ้นไปอยู่ในอันดับที่ต้องการในผลการค้นหาแบบทั่วไปเท่านั้น (โฆษณาไม่เกี่ยว)

SEO มีความสำคัญอย่างไร ทำไมถึงต้องทำ?

ความสำคัญของการทำ SEO มีหลายประการ เช่น เปิดโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น ส่งผลให้คุณสามารถขยายฐานลูกค้าและยอดขาย เรามาดู 3 เหตุผลหลัก ที่คุณในฐานะนักธุรกิจควรพินิจคิดคำนึงนำ SEO ไปเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การโปรโมตสินค้าออนไลน์

1. โอกาสในการเข้าถึงผู้คน

เกือบ 60% ของการเข้าชมทั้งหมดในโลกอินเตอร์เน็ตเริ่มต้นด้วยการค้นหาสิ่งต่างๆ ใน Google และถ้ารวมเครื่องมือค้นหายอดนิยมอื่นๆ (เช่น Bing, Yahoo และ YouTube) เข้าไปด้วยจะทำให้ตัวเลขถึบตัวสูงขึ้นไปอยู่ที่ 70% ของการเข้าชมทั้งหมด

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

สรุปสั้นๆ คือ Search Engine นั้นใหญ่โตมโหฬาร มีผู้ใช้งานมากมายที่คุณสามารถเข้าถึง และโปรโมตธุรกิจ

2. น่าเชื่อถือมากกว่าโฆษณา

ในสายตาผู้ใช้งานจะมองว่าผลการค้นหาทั่วไปน่าเชื่อถือมากกว่าผลลัพธ์ที่ต้องชำระเงินจึงมีคนคลิกมากกว่า ตัวอย่างเช่น มีเพียงประมาณ 2.8% ของผู้ใช้งานเท่านั้นที่คลิกโฆษณา ที่เหลือคลิกผลลัพธ์ทั่วไป

3. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว

SEO เป็นหนึ่งในไม่กี่ช่องทางการตลาดออนไลน์ที่เมื่อทำถูกต้องตามหลักการ เช่น คุณมีเนื้อหาชนิดที่เรียกว่าดีแบบหาตัวจับได้ยาก เป็นต้น อันดับที่คุณได้มักจะอยู่อย่างนั้น ลากยาวไป ในขณะเดียวกันเมื่อคุณหยุดจ่ายเงินค่าโฆษณาเมื่อไร Google ก็จะหยุดส่งคนให้ธุรกิจออนไลน์ของคุณเมื่อนั้น

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพความสำคัญของการทำ SEO ต่อธุรกิจมากขึ้นแบบนี้ครับ

  • สมมุติว่าคุณทำธุรกิจขายรถมือสอง คุณตัดสินใจทำ SEO จนเว็บไซต์ของคุณติดอันดับ 2 keyword “ซื้อรถมือสองที่ไหนดี” ทำให้มีคนราวๆ 300 คน เข้ามาเยี่ยมชมร้านออนไลน์ของคุณในแต่ละเดือน
  • สมมุติต่อไปอีกแบบอนุรักษ์นิยมว่าโดยเฉลี่ยคุณปิดการขายเฉลี่ยอยู่ที่ 10% หมายความว่าเดือนๆ นึง คุณสามารถขายรถเพิ่มขึ้นเดือนละ 30 คัน! จากการทำ SEO ชักเริ่มเข้าท่าแล้ว?

กลยุทธ์การทำ SEO สายดำเทียบกับสายขาว (Black Hat Vs. White Hat)

นักทำ SEO ถูกมองว่ามี 2 ค่ายใหญ่ๆ ได้แก่นักทำสายขาว และสายดำ ซึ่งมีทัศนะในการเลือกวิธีการทำแตกต่างกันแบบขาวกับดำ ยังไง? มาดูกัน..

White Hat SEO

หมายถึง แนวทางปฏิบัติ เทคนิคการทำ กลยุทธ์การทำ SEO ที่ปฏิบัติตามกฎ และอัลกอริทึมของเครื่องมือค้นหา โดยเน้นผลประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้งาน ในบทความนี้สอนแนวทางนี้ครับ

Black Hat SEO

หมายถึง เทคนิคและกลยุทธ์ในการทำ SEO ที่เน้นสแปม (Spam) หรือหลอกเครื่องมือค้นหา กลยุทธ์ลักษณะนี้อาจจะได้ผล แต่จากประสบการณ์มักจะได้ผลในระยะสั้น

เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ขอยกตัวอย่างเทคนิคยอดนิยมที่นักทำสายดำเขาใช้กัน:

  • การใช้เนื้อหาซ้ำ (Duplicate Content): เมื่อต้องการทำอันดับคีย์เวิร์ด บางท่านก็ใช้เนื้อหาเดียวกันซ้ำๆ ในหลายหน้า เพื่อที่จะใส่คีย์เวิร์ดดังกล่าวได้หลายๆ ครั้ง
  • การซ่อนคีย์เวิร์ด: หลายปีมาแล้วมีความพยายาม (ที่ได้ผลเสียด้วย) ที่ต้องการยัดคีย์เวิร์ดซ้ำๆ ในหน้าที่ต้องการทำ Ranking โดยทำให้สีของคำนั้นๆ เป็นสีเดียวหรือกลืนกันกับสีแบ็คกราวน์ของหน้า ปัจจุบันอย่าหาทำนะครับ เว็บคุณจะถูกขึ้นบัญชีดำเร็วมาก
  • การเปลี่ยนทิศทาง (Redirects): การเปลี่ยนทิศทางนั้นโดยทั่วไปเป็นเทคนิกที่ทำได้ และแนะนำให้ทำในการแก้ไขปัญหาบางอย่าง เช่น การแก้ปัญหา Duplicate Content เป็นต้น แต่ชาวสายดำได้นำไปใช้ผิดวิธี เช่น การกว้านซื้อโดเมนที่มีคีย์เวิร์ด (เช่น www.คีย์เวิร์ด1.com, www.คีย์เวิร์ด2.com เป็นต้น) และ Redirect มายังเว็บที่กำลังทำอันดับ SEO อยู่ โดยหวังว่าจะได้คนมาเข้าเว็บเพิ่ม และอันดับคีย์เวิร์ดดีขึ้นด้วย
  • ลิงก์คุณภาพต่ำ: ลิงก์ยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญมากๆ ในการดันเว็บ การทำก็ควรที่จะทำด้วยวิธีที่ถูกต้อง ไม่ใช่นึกจะทำก็ไปซื้อมา 5,000 ลิงก์ ยิงเปรี้ยงมายังเว็บคุณรวดเดียวใน 2 ชั่วโมง อีหรอบนี้ไม่มีทางที่คุณจะขึ้นไปเหยียบหน้าแรกเครื่องมือค้นหาอย่างกูเกิ้ลแน่ๆ

ในบทความนี้ “SEO สายดำอย่าหาทำ❌(ตัวอย่างจริง)” ผมแสดงตัวอย่างการทำ SEO สายดำของจริงไว้ คลิกเข้าไปดูกันได้ครับ

ตัวอย่างเทคนิคยอดนิยมการทำ SEO สายดำและสายขาว

สายดำสายขาว
ใช้คอนเทนต์ซ้ำๆ (Duplicate Content)
เนื้อหาคุณภาพ หาข้อมูลมาอย่างดีก่อนลงมือเขียน
ใส่คีย์เวิร์ดจำนวนมากผิดปกติ (Keyword Stuffing) นิยามรูปภาพ (Alt Text) กระชับ ชัดเจน
ซ่อนข้อความหรือคีย์เวิร์ดด้วยการทำสีให้เหมือนหรือกลืนกับสี Background ลิงก์คุณภาพ เช่น จากเว็บที่มีเนื้อหาคล้ายกัน, จากเว็บที่มีความน่าเชื่อถือ (Authority
สร้างลิงก์ใช้โปรแกรมอัตโนมัติ เช่น GSA Search Engine Ranker, Money Robot เป็นต้น ใช้ HTML Tag ถูกต้องตามมาตรฐาน

โดยส่วนตัวผมมักจะทำและแนะนำให้เน้นการทำธุรกิจที่สามารถออกดอกออกผลได้แบบยาวๆ หลายๆ ปี แต่ก็อีกแหละ ความต้องการความจำเป็นของคนเรามักจะไม่เหมือนกัน บางท่านสะดวกใจทำ Black Hat อันนี้ก็สุดแท้แต่ ไม่อาจจะเข้าไปก้าวก่ายกันได้ แค่อยากจะเตือนว่า

เมื่อถูก Search Engine จับได้ มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกลงโทษ (Penalty) และ/หรือถูกยกเลิกการจัดทำดัชนี หรือ ถูกลบออกจากผลการค้นหา (De-Index) ได้

3 ขั้นตอนการทำ SEO สู่หน้าแรก Google

ปัจจัยที่อัลกอริทึมของ Google ใช้ในการจัดอันดับนั้นมีรายละเอียดหยิบย่อยมากมายถึงหลักหลายร้อย อันนี้ที่เปิดเผยสู่สาธารณะนะ

ที่ไม่เปิดเผยมีอีกเท่าไรสุดจะคาดเดา ข่าวดีคือคุณไม่จำเป็นต้องจบปริญญาเอกด้านเสิร์ชเอนจินถึงจะทำ Ranking ดีๆ กุญแจสำคัญคือคุณต้องอย่าลืมใส่ส่วนผสม 3 สิ่งนี้ ในการทำ SEO ทุกครั้ง ห้ามลืมเด็ดขาด!

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

  1. เนื้อหาชั้นเลิศ: เนื้อหาหรือคอนเทนต์ (ตัวหนังสือ, รูปภาพ, บทความ เป็นต้น) ในหน้าเพจมีความสำคัญมากที่สุดในการดันอันดับ Google ชอบหน้าที่มีเนื้อหาคุณภาพสูง มีเนื้อหาที่ตรงกันกับคำค้นหา สรุปสั้นๆ ว่าเนื้อหาห่วย = Rank ห่วย แน่นอน 100%
  2. ลิงก์คุณภาพ: เมื่อทำ SEO ไปมากๆ เข้า คุณอาจจะเจอกับสถานการณ์ที่เว็บคุณมีเนื้อหาดีแล้ว แถมยังจัดเต็ม Technical SEO แล้วอันดับยังไม่กระเตื้อง นั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า Keyword ที่คุณดันอยู่มีการแข่งขันสูงไปเกินตัวไปหน่อย คุณต้องการลิงก์ที่มีคุณภาพเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในสายตา Google ครับ ในกรณีนี้
  3. ปรับ Onpage SEO: การปรับโครงสร้างเนื้อหาในหน้าเพจให้มีรากฐานที่มั่นคง เพื่อการรองรับแรงเสียดทานจากการแข่งขัน โดยเฉพาะในคีย์เวิร์ดยากๆ

สำหรับในหัวข้อนี้ขอเกริ่นเป็นน้ำจิ้มไว้เพียงเท่านี้ เราจะมาลงรายละเอียดของทั้ง 3 ส่วนผสมกันอีกที (แบบลงลึก)ในหัวข้อต่อๆ ไป

วางแผนคำนวณตุ้นทุนค่าใช้จ่ายในการทำ SEO

การทำ SEO เหมือนการทำธุรกิจอื่นๆ กล่าวคือคุณจำเป็นต้องวางแผนคิดคำนวณให้ได้ตัวเลขคร่าวๆ ที่คุณสามารถใช้เป็น KPI หรือตัวชี้วัดว่าความสำเร็จ ในหัวข้อนี้ขอยกตัวอย่างการคำนวณว่าการทำ SEO ของคุณต้องนำพาคนจำนวนกี่คนเข้าเว็บต่อเดือน เพื่อให้ได้เป้าตามยอดที่ตั้งไว้

สมมุติว่าคุณทำธุรกิจ eCommerce เป็นเจ้าของร้านขายเสื้อยืดทั้งขายปลีกและขายส่งในอินเตอร์เน็ต

  • ราคาขายเฉลี่ยเสื้อยืด ร้านคุณอยู่ที่ 200 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าแรงตัดเสื้อ ฯลฯ ตัวละ 50 บาท
  • คณอยากได้ยอดขายเพิ่มขึ้นอีกเดือนละ 40,000 บาท กำไรอย่างน้อยครึ่งนึง หรือ 2 หมื่นบาท ต่อเดือน

ค่าใช้จ่ายในการทำ SEO ประมาณเท่าไร ถึงจะได้ยอดที่คุณตั้งเป้าไว้?

ค่าใช้จ่ายในการทำ SEO ต่อการขายเสื้อยืดหนึ่งตัว คำนวณได้จากการนำกำไร และค่าผลิต มาหักออกจากราคาขาย ดังนี้

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

ต้องมีคนเข้าเว็บคุณกี่คนต่อเดือน ถึงจะได้ยอดที่คุณตั้งเป้าไว้?

ในการคำนวณจำนวนคนเข้าเว็บ คุณต้องรู้จักคำว่า Conversion Rate (CR) ก่อน ซึ่งก็คือเปอร์เซ็นต์ของคนที่เข้ามาเว็บคุณแล้วซื้อของ ถ้าคุณตั้งร้านขายของออนไลน์มาได้สักระยะแล้ว คุณดูค่านี้ได้เลยในซอฟต์แวร์ Shopping Cart ที่คุณใช้บริการอยู่ เช่น WooCommerce, Shopify เป็นต้น แต่ในกรณีที่เว็บคุณทำเว็บใหม่ เพิ่งเริ่มขายของออนไลน์ ให้ใช้ค่าเฉลี่ยของธุรกิจ eCommerce ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 1% – 5%

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

ในกรณีตัวอย่างนี้ผมเลือกค่ากลางๆ คือ 2% มาคำนวณ เราสามารถหาจำนวนคนที่คุณต้องนำพามาเข้าเว็บได้ โดยการนำเอาจำนวนเสื้อที่ต้องการขายต่อเดือนมาหารด้วย CR ดังนี้

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

✍️ ก็จะได้ออกมาว่าจำนวนคนที่คุณต้องนำพามาเข้าเว็บด้วยการทำ SEO ตัองมีจำนวนอย่างน้อย 10,000 คน ต่อเดือน เพื่อที่จะขายเสื้อได้ 200 ตัว ทำยอดได้ 40,000 บาท และได้กำไร 20,000 บาท ตามที่ได้ตั้งเป้าไว้

ถ้าคุณยังไม่เบื่อเรื่องการคำนวนผมแนะนำว่าอย่าพลาดบทความนี้ เพื่อการวางแผนกลยุทธ์การทำ SEO กระจ่างครบรอบด้าน

เสิร์ชเอนจิน (Search Engine)

Search Engine อ่านว่า เสิร์ชเอนจิน แปลเป็นไทยสั้นๆ ว่า “เครื่องมือค้นหา” มีหน้าที่หลักคือตอบคำถาม โดยการออกไปค้นหาเนื้อหา (Content) ใน Internet ทำความเข้าใจ และจัดระเบียบเนื้อหาต่างๆ เพื่อนำเสนอผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องมากที่สุดสำหรับคำถามที่ผู้ค้นหาถาม

ถ้าอยากให้เนื้อหาเว็บไซต์คุณติดอันดับ สิ่งแรกที่คุณควรคำนึงถึง คือ เสิร์ชเอนจินต้องหาเว็บคุณเจอก่อน ถ้าหาไม่เจอ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางเทคนิคประการใด เว็บคุณไม่มีทางปรากฏในหน้าผลลัพธ์การค้นหา (SERP) แน่นอน

Search Engine ทำงานยังไง?

กระบวนการทำงานของเครื่องมือค้นหา มีอยู่ 3 ขั้นตอนใหญ่ ได้แก่

  1. Crawling: ออกตามหาและรวบรวมข้อมูล
  2. Indexing: วิเคราะห์และจัดทำดัชนีข้อมูล
  3. Ranking: ค้นหาข้อมูลจากดัชนี จัดเรียง และแสดงผลใน SERP

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

1. Crawling – ออกตามหาและรวบรวมข้อมูล

เสิร์ชเอนจินจะใช้โปรแกรมเล็กๆ เรียกวาเครื่องมือค้นหาหรือบอทก็ได้ เจ้าบอทนี่จะวิ่งไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ (Hyper Link หรือเรียกสั้นๆว่า Link) อยู่ตลอดเวลา
เพื่อที่จะค้นหาข้อมูลใหม่ๆ หรืออัพเดตข้อมูลที่เคยค้นพบมาก่อน กระบวนการสแกน Internet เพื่อรวบรวมข้อมูลดังกล่าวมานี้ เรียกว่า Crawling

2. Indexing – วิเคราะห์และจัดทำดัชนีข้อมูล

เปรียบดัชนีเครื่องมือค้นหา (Indexing) เสมือนว่าเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ของเว็บไซต์ เมื่อบอทรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ต่างๆ มาได้ ข้อมูลจะถูกจัดทำดัชนี จากนั้นจะพยายามวิเคราะห์และทำความเข้าใจ จัดหมวดหมู่ และจัดเก็บไว้ในดัชนี

Tip: คุณสามารถเช็คได้ง่ายๆ ว่าหน้าเว็บไซต์ของคุณถูกพบและจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล Google หรือไม่ ด้วยการใช้ Site Operator ดังนี้ พิมพ์ site:โดเมน.com เช่น site:seobooks.org ลงไปใน Browser

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

ถ้าเว็บคุณถูกทำดัชนี ก็จะแสดงในหน้าผลลัพธ์การค้นหาดังแสดงในรูป

3. Ranking – ค้นหาข้อมูล จัดเรียงอันดับ แสดงผล

เมื่อมีคนทำการค้นหา เครื่องมือค้นหาจะค้นหาเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องสูงในดัชนี จากนั้นจะทำการจัดเรียงเนื้อหาที่พบ และแสดงผลลัพธ์ โดยทั่วไปเว็บเพจที่ถูกจัดอันดันดับแรกจะเป็นหน้ามีเนื้อหาตรงกับคำค้นหาและตอบโจทย์ผู้ใช้มากที่สุด

ส่วนแบ่งการตลาด (Market Share)

ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้เมื่อเราพูดถึงเสิร์ชเอนจินเรามักจะหมายถึง Google ทั้งนี้เพราะว่าเครื่องมือค้นหาอื่นๆ มีหลักการทำงานที่คล้ายๆ กัน และเหตุผลสัญคัญที่สุดคือกูเกิ้ลเป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่สุด ครองส่วนแบ่งการตลาด 93% ของทั้งโลก สำหรับส่วนแบ่งตลาดในไทยหนักเข้าไปใหญ่

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

กล่าวคือมากกว่า 99% (ข้อมูลจาก Stat Counter วันที่ 19/07/2564) ดังนั้นเมื่อพูดถึงการทำ SEO จึงไม่เป็นที่สงสัยว่าเราทำเพื่อให้ได้อับดับดีๆ ในกูเกิ้ลไปโดยปริยาย

คีย์เวิร์ด (Keyword)

ในหัวข้อนี้เรามาเรียนรู้กลยุทธ์ขั้นแรกสุดในการทำ SEO กัน ซึ่งก็คือการพิจารณาว่าจะปรับแต่งหน้าเพจด้วย “คีย์เวิร์ด (Keyword) หรือคำหลัก” อะไร

เข้าใจว่าที่ลูกค้า

โดยมากเจ้าของธุรกิจจะมี Keyword ที่เกี่ยวกับสินค้า/บริการอยู่ในใจอยู่แล้ว นั่นคือมุมมองของคุณ ของผู้ประกอบการที่ต้องการขายของ ถามว่าในมุมมองของคนซื้อ เขาใช้คีย์เวิร์ดเดียวกับคุณไหม?

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

ถ้าคุณไม่แน่ใจผมแนะนำให้ทำความเข้าใจว่าที่ลูกค้า (Persona) ให้ดีก่อน ว่าเขาเหล่านั้นคือใคร และเขาเหล่านั้นใช้เสิร์ชเอนจินหาคำประเภทไหน โดยคุณอาจตั้งคำถามง่ายๆ ดังนี้

สมมุติว่าคุณเปิดร้านขายไอศกรีม

  • ผู้คนกำลังค้นหาไอศกรีม ของหวาน ของว่าง ฯลฯ ประเภทใด?
  • คนที่ค้นหาคำเหล่านี้ น่าจะเป็นใคร?
    • หญิง, ชาย
    • อายุประมาณไหน
  • ผู้คนกำลังค้นหาไอศกรีม ของหวาน ของว่าง ฯลฯ มีแนวโน้มตามฤดูกาลตลอดทั้งปีหรือไม่? หรือหาเพียงบางช่วง บางฤดูของปี?
  • คนที่กำลังหาไอศครีม
    • เขาใช้คำประมาณไหน?
    • เขาถามคำถามอะไรบ้าง?
  • คนทีสนใจไอศรีม เขาสนใจไอศรีมเพื่อสุขภาพ? หรือชอบแบบหวานๆ ตามปกติทั่วไป?

เมื่อคุณตอบคำถามเหล่านี้แล้ว คุณจะมี “รายการเริ่มต้นของคำหลัก” ที่คุณสามารถนำมาขยายเพิ่มเติมจำนวนคำเพื่อนำมาทำ SEO ต่อไป

วิธีการเลือก Keyword มาทำ SEO

อันที่จริงเมื่อระดมความคิดเพื่อหาคำที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการแล้ว ถ้าคุณมีเวลาไม่มากและต้องเริ่มโปรเจ็คให้เร็วที่สุด คุณสามารถลงมือทำ Content ได้เลย แล้วไปวัดดวงเอาว่าคีย์เวิร์ดที่คุณได้มานั้นจะเวิร์คหรือไม่ จะสามารถช่วยคุณเพิ่มยอดขายได้หรือไม่

ถ้าคุณพอมีเวลา ผมอยากให้ใจเย็นๆ แล้วลองพิจารณาใช้ปัจจัย 3 ประการ ดังต่อไปนี้

  1. ปริมาณการค้นหา (Search Volume)
  2. ความแม่นตรง (Relevance)
  3. การแข่งขัน (Competition)

ประเมินเบื้องต้นว่าคีย์เวิร์ดที่คุณอยากทำจะเวิร์คหรือไม่ จะคุ้มเวลา คุ้มเงิน ที่ต้องลงทุนหรือไม่

1. ปริมาณการค้นหา (Search Volume)

ปริมาณการค้นหา คือจำนวนครั้งของการค้นหาคีย์เวิร์ดในแต่ละเดือน ตามความเข้าใจขั้นพื้นฐานของเราๆ ท่านๆ คีย์เวิร์ดที่มีผู้คนค้นหาใน Search Engine เป็นจำนวนมากย่อมดีกว่าน้อย ใช่ไม่ใช่? ตอบว่าใช่ แต่ก็ไม่เสมอไป!

Tip: ทำความรู้จักกับ Long-tail keywords

Long-tail keywords เป็นคีย์เวิร์ดที่ประกอบไปด้วยคำหลายคำ เช่น “กระเป๋าสตางค์ผู้ชาย แบรนด์เนม มือสอง” จะมีความหมายเจาะจงมากกว่าคีย์เวิร์ดสั้นๆ อย่าง “กระเป๋า”

แม้ว่าคำยาวๆ มักจะมีคนค้นหาน้อยกว่าคำสั้นๆ แต่เนื่องจากธรรมชาติของคำประเภทนี้ที่มีความเฉพาะเจาะจงสูงกว่า จะส่งผลให้การทำ SEO ให้ติดหน้าแรกง่ายกว่า แถม Conversion Rate หรือเปอร์เซ็นของความสำเร็จทางธุรกิจ เช่น ปิดการขาย เป็นต้น นั้นมีโอกาสสูงกว่าด้วย

และเนื่องจากคำประเภทนี้มีอยู่เป็นจำนวนมาก จึงได้มีการประเมินกันว่า 70% ของคนที่เข้าเว็บจาก Search Engines นั้นมาจาก Long-tail keywords

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

ดังนั้นถ้าเว็บคุณเป็นเว็บใหม่ ยังไม่ค่อยมีความน่าเชื่อถือ (Authority) ในสายตาเครื่องมือค้นหามากนัก ผมแนะนำให้เริ่มต้นที่คำประเภท Long-tail เป็นอันดับแรก

2. ความแม่นตรง (Relevance)

คีย์เวิร์ดที่คุณเลือกมาทำ SEO ต้องตอบโจทย์ ไขปัญหาให้ผู้ใช้งาน Search Engine ได้

Tip: ทำความรู้จักกับ Search Intent

Search Intent หมายถึง ธีมหรือประเภทของเว็บเพจที่ Google แสดงใน SERP เช่น ถ้าคุณหาคำว่า “รองเท้ากีฬา” ในหน้าผลลัพธ์การค้นหาก็จะมีแต่เว็บสินค้าขายรองเท้า (Transactional) ถ้าคุณทำเว็บไซต์ “รองเท้ากีฬา” แต่เนื้อหาหลักในเว็บคุณมีแต่บทความเชิงลึกมุ่งเน้นวิธีการใช้รองเท้ากีฬา (Informational) แบบนี้ถือว่าไม่มี Relevance

ถึงคุณจะเขียนบทความ 1 หมื่นคำ มีลิงก์มากกว่าคู่แข่งเป็น 100 เป็น 1000 ลิงก์ กูเกิ้ลก็จะไม่แสดงเว็บคุณในหน้าแรก เพราะเว็บคุณผิดประเภท ไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานเสิร์ชเอนจิน

ดังนั้นไม่แนะนำให้นั่งเทียน คิดเอาเองว่าต้องสร้างคอนเทนต์แบบนั้น แบบนี้ เปิดดูคู่แข่งใน SERP ตรวจทาน Search Intent ให้ดีก่อน แล้วค่อยลงมือทำ

3. การแข่งขัน (Competition)

คีย์เวิร์ดแต่ละคำมีความยากง่ายต่างกัน เมื่อคุณพบคำหลักในฝันที่คุณต้องการทำ คุณจะต้องมาพิจารณาต่อว่ามันมีความยากง่ายเพียงใด มีการแข่งขันสูง ต่ำแค่ไหน ด้วยการประเมินการแข่งขันอย่างถูกวิธี

เพื่อไม่ให้บทความนี้ยาวเกินเหตุ ผมสอนวิธีการวิเคราะห์การแข่งขันอย่างเป็นข้้นเป็นตอนไว้แล้วในบทความนี้ → “ทำ SEO แล้วจะติดหน้า 1 ไหม? จะชนะคู่แข่งไหม? บทความนี้มีคำตอบ” ไปอ่านกันก่อนครับ เข้าใจแล้วค่อยมาต่อกัน

สรุปสั้นๆ ตรงนี้ก่อนว่าในการหาคีย์เวิร์ดนั้น เป้าหมายของคุณคือการหาคำที่มีความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา (Relevance) ที่มีปริมาณการค้นหาสูง.(Search Volume) สูง และการแข่งขัน(Competition) ต่ำ นี่คือส่วนผสมที่ลงตัวของสามปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการหาคีย์เวิร์ดมาทำ SEO

โปรแกรมช่วยหาคีย์เวิร์ด (Keyword Research Program)

ตอนนี้คุณได้คำมาจำนวนหนึ่งจากการตั้งคำถามและระดมความคิดเกี่ยวกับว่าที่ลูกค้า วิธีการหาคีย์เวิร์ดแบบ manual นี้ใช้ได้เลย แต่คุณอาจจะสังเกตได้ว่ามันค่อนข้างช้า และเป็นกระบวนการที่หยุมหยิม น่าเบื่อ

หัวข้อนี้ผมจะมาแนะนำเครื่องมือที่จะช่วยคุณหาคีย์เวิร์ดจำนวนมาก ภายใน 5 นาที โปรแกรมตัวเรียกมีชื่อเรียกว่า Soovle

Soovle เป็นเครื่องมือที่สามารถดึงไอเดียมาจากหลายๆ โปรแกรม เช่นจาก Google, Bing, Yahoo เป็นต้น มาแสดงไว้ในที่เดียว วิธีใช้ก็ง่ายแค่ป้อน keywords ลงไป

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

คุณสามารถบันทึกรายการคีย์เวิร์ดได้ง่ายๆ ด้วยการลากแล้วปล่อย

เสร็จแล้วคุณยังสามารถโหลดรายการนี้เป็นไฟล์ CSV ได้อีกต่างหาก ดูวิธีการใช้อีก 8 โปรแกรม คลิกที่นี่

คอนเทนต์ (Content)

ไม่มีอะไรจริงแท้แน่นอนยิ่งไปกว่าคำกล่าวที่ว่า “SEO กับ คอนเทนต์เชื่องโยงกันแบบไร้รอยต่อ” (เอ่อ! อันที่จริงคนกล่าวคือผมเองนี่แหละ) ขยายความแบบบ้านๆ ได้ว่า ถ้าคุณไม่คิดว่าจะทำเนื้อหาดีๆ ออกมาได้ อย่าทำเลย SEO เสียเวลาเปล่า..

ในหัวข้อนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการนำคีย์เวิร์ดที่คุณหามาได้อย่างยากลำบาก นำมาสร้าง SEO Content ที่ Google จะหลงรักกัน

ความสำคัญของหัวข้อ (Importance of Topics)

ไม่ว่าใครก็อยากที่จะมีเว็บไซต์ ใครๆ ก็อยากสร้าง Blog เพื่อระบายความใน หรือนำเสนออะไรก็ตามที่อยากแสดงต่อชาวโลก ทำให้ทุกวันนี้มีคอนเทนต์อะไรต่อมิอะไรเต็มไปหมด ที่น่าเศร้าคือส่วนใหญ่ (มากกว่าร้อยละ 90) คุณภาพต่ำ

ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้ใช้เสิร์ชเอนจินมีความซับซ้อนมากขึ้น (64% ของประโยคที่ใช้ค้นหาจะประกอบไปด้วยคำ 4 คำขึ้นไป) เพื่อ Filter หรือขจัดขยะในอินเตอร์เน็ตออกไปและค้นพบสิ่งที่ตนต้องการหา

ดังนั้น Search Engine จึงต้องพัฒนาอัลกอริทึมมาถึงจุดที่ไม่ได้แปลความหมายจากคีย์เวิร์ดเป็นคำๆ แต่จะแปลความจากบริบทของกลุ่มคำ ประโยค หรือทั้งย่อหน้าเลย พื่อส่งคำตอบที่ตรง (Relevance) มากที่สุดให้กับผู้ใช้

สรุปสั้นๆ ว่าคุณในฐานะผู้สร้างคอนเทนต์ต้องสร้างและจัดระเบียบเนื้อหาให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ลืมเรื่อง Keywords ไปก่อน แล้วมองโครงสร้างเว็บใหม่ในรูปแบบของหัวข้อ (Topics) หลัก หัวข้อรอง ที่เกี่ยวข้อง เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน

วิธีการหาและจัดเรียงหัวข้อ (Topic Identification)

สมมุติว่าคุณเปิดร้านขายรองเท้าวิ่ง และคุณได้คีย์เวิร์ดมาจำนวนหนึ่ง เช่น รองเท้าวิ่งผู้ชาย, รองเท้าวิ่งผู้ชาย ใหม่ 2021, รองเท้าวิ่งผู้หญิง, รองเท้าวิ่งผู้หญิงราคาถูก, รองเท้าวิ่งผูหญิงไม่แพง, รองเท้าวิ่งผู้หญิงราคาส่ง, ร้องเท้าวิ่งผู้หญิงไม่เกิน 500, รองเท้ามือสอง, แหล่งรองเท้ามือสอง เป็นต้น ตอนนี้รวบรวมคีย์เวิร์ดมาไว้ด้วยกัน อาจจะดูสะเปะสะปะไปหน่อย ไม่เป็นไร

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

ต่อไปให้คุณจัดกลุ่มคีย์เวิร์ดตามสินค้าหรือบริการ ซึ่งเราจะใช้เป็นธีมหลักของเว็บไซตฺ์ และสร้างคอนเทนต์ ในตัวอย่างนี้จัดได้ 3 กลุ่มกว้างๆ ได้แก่

  1. รองเท้าวิ่งผู้หญิง
  2. รองเท้าวิ่งผู้ชาย
  3. รองเท้าวิ่งมือสอง

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

ต่อไปนำคีย์เวิร์ดในแต่ละธีมมาทำ Web Page ภายใต้หลักการ:

1 หน้า = 1 หัวข้อหลัก = 1 คีย์เวิร์ดหลัก

กล่าวคือในหนึ่งหน้า ต้องมี 1 หัวข้อหลัก (1 คีย์เวิร์ดหลัก) และอาจะมีหลายหัวข้อรอง (หลายคีย์เวิร์ดรอง) ในการจัดเรียงหัวข้อให้คุณจัดตามตรรกะที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ โดยทั่วไปหัวข้อหลักจะมีปริมาณการค้นหา (Search Volume) สูงกว่าหัวข้อรอง

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

ข้อควรระวัง: Blogger หรือคนทำเว็บจำนวนไม่น้อยนิยมสร้าง web page ขึ้นมาเพื่อทำ SEO ในทุกๆ คีย์เวิร์ดที่หามาได้ เช่น

คีย์เวิร์ด: รองเท้าวิ่งผูหญิงไม่แพง
หน้าเพจ: www.เว็บขายรองเท้า.com/รองเท้าวิ่งผูหญิงไม่แพง/

คีย์เวิร์ด: ร้องเท้าวิ่งผู้หญิงราคาถูก
หน้าเพจ: www.เว็บขายรองเท้า.com/ร้องเท้าวิ่งผู้หญิงราคาถูก/

คีย์เวิร์ด: ร้องเท้าวิ่งผู้หญิงไม่เกิน 500
หน้าเพจ: www.เว็บขายรองเท้า.com/ร้องเท้าวิ่งผู้หญิงไม่เกิน-500/

การสร้างหน้า Page ลักษณะนี้ทำให้

  • การจัดการเนื้อหาใน web site โดยรวมยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ ส่งผลให้ผู้ใชงานหาข้อมูลที่ต้องการอย่างครบถ้วนได้ยาก
  • ในทาง SEO หน้าพวกนี้มักจะไม่ส่งเสริมกัน แต่กลับแข่งกันเอง จากประสบการณ์ Ranking มักจะไม่ดี หรือถึงขั้นพากันล่วงอีกด้วย

แนวทางการสร้างคอนเทนต์ชั้นเลิศ

Rand Fishkiin ผู้ก่อตั้ง MOZ ได้ให้ความหมายกลยุทธ์ “10x content” ว่าคือการทำคอนเทนต์ให้ดีกว่าคู่แข่งในหน้าแรก Google 10 เท่า

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

ในหัวข้อนี้เรามาพูดถึงองค์ประกอบที่ทำให้เนื้อหาของคุณเป็นคอนเทนต์ชั้นเลิศ ดีกว่าคู่แข่งของคุณ อืมม์ อาจไม่ถึง 10 เท่า แต่ก็เพียงพอที่จะติดหน้า 1 ได้

1. เนื้อหาที่ดีกว่า (Quality)

คุณสร้างหน้าเพจขึ้นมาหน้านึง แล้วก็ลงมือเขียนเนื้อหาเกี่ยวกับคีย์เวิร์ด ตีพิมพ์บทความ แล้วถือว่าจบกัน คนที่คลิกเข้ามาดู ชั่วอึดใจเดียวก็จะกลับไปที่ Google แล้วคลิกไปเว็บอื่น พฤติกรรมของผู้ใช้ลักษณะนี้บอกเสิร์ชเอนจินว่าเว็บคุณไม่ตอบโจทย์

ในยุคนี้ พ.ศ. นี้ถ้าคุณสร้างหน้าที่เต็มไปด้วยเนื้อหาคุณภาพที่สามารถแก้ปัญหาให้ผู้อ่านได้จริง แบรนด์คุณจะเป็นที่จดจำ ยิ่งไปกว่านั้น Google จะให้รางวัลด้วยการให้คุณติดอันดับดีๆ ด้วย

องค์ประกอบที่ทำให้ web มีคุณภาพประกอบไปด้วย

  • ครอบคลุมหัวข้อให้ละเอียดมากกว่าคู่แข่งของคุณ (ดูตัวอย่างหน้าเว็บที่มีอันดับสูงๆ แล้วก็คิดให้ออกว่าจะทำอะไรได้บ้างให้เนื้อหาดีกว่าคู่แข่ง)
  • ให้ข้อมูลใหม่ ข้อมูลล่าสุด
  • ไม่ลอกเนื้อหาของคนอื่นมาใชทั้งดุ้น นำมาเขียนใหม่ในคำของคุณเอง ไม่ให้เหมือนใคร
  • บทความยาวๆ มีโอกาสที่จะได้อันดับดี แต่อย่าเข้าใจผิด แล้วไปสรรค์หาคำอะไรไม่รู้ มีแต่น้ำ ไม่มีเนื้อใส่ๆๆๆ ลงไป ขอให้เข้าใจเสียใหม่ว่าไม่ใช่จำนวนคำที่ทำให้อันดับสูง แต่เป็นเพราะว่าโพสต์ยาวมักจะครอบคลุมเนื้อหาได้ลึก และครบถ้วนมากกว่าบทความสั้นๆ

Tip:ให้ใช้ค่าเฉลี่ยจำนวนคำของเว็บเพจที่ติดหน้าหนึ่งกูเกิ้ลสำหรับคำหลักที่คุณทำ เป็นไกด์ว่าเนื้อหาคุณต้องมีสักกี่คำ เช่น คียเวิร์ด “รองเท้าวิ่งผู้ชาย” web page 10 อันดับแรกมีคำรวมกันเฉลี่ย 1,500 คำ ก็แนะนำให้คุณสร้างคอนเทนต์ที่ยาวกว่าค่าเฉลี่ยสัก 20% ในกรณีคือ 1,800 คำ เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำ Ranking ดีๆ มากขึ้น

2. ความสดใหม่ (Freshness)

  • Google ชอบเห็นเนื้อหาสดใหม่ ดังนั้นตีพิมพ์เนื้อหาคุณภาพใหม่ๆ บ่อยๆ ไม่ใช่ปีนึงโพสต์บทความแล้ว อันนั้นก็น้อยไป
  • การทำให้เว็บคุณดูใหม่อยู่ตลอดในสายตาเสิร์ชเอนจิ้นทำได้หลากหลายทางนอกจากการเขียนบทความใหม่ คุณสามารถอัพเดทบทความเก่าด้วยข้อมูลใหม่ล่าสุด, แก้ไขลิงก์ตาย หรือเพิ่มห้วข้อรองเข้าไปเพื่อให้เนื้อหาที่ลึกและครอบคลุมมากขึ้น

3. ดีไซน์ที่ดีกว่า (UX Design)

นอกจากเนื้อหาที่ดี ใหม่แล้ว ถ้าคอนเทนต์ของคุณจำเป็นต้องมีรูปลักษณ์ที่ดีด้วย เพื่อความน่าติดตาม เพิ่มความน่าเชื่อถือ และไม่น่าเบื่อ

  • ต้องให้ชัวร์ว่าข้อความอ่านง่าย ใช้ฟอนต์ขนาดใหญ่อ่านได้สบายตา
  • ระวังอย่าใช้ข้อความยาวๆ ติดกันเป็นพรืด เขียนให้กระชับ สั้น เข้าใจง่าย
  • ใช้คอนเทนต์ที่หลากหลายนอกจากตัวหนังสือ เช่น รูปภาพ, animation, วีดีโอ เป็นต้น เพื่อให้น่าติดตามและทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
  • ถ้าหน้ามันยาวมาก มีหลายหัวข้อย่อย แนะนำให้ใส่ตารางสารบัญเพื่อความง่ายในการอ่าน
  • เน้นข้อความสำคัญอย่างเหมาะสม เช่น ตัวหนา, ตัวเอน, Quote เป็นต้น

ปูพื้นการทำ Onpage SEO

การทำ On-page SEO (หรือบางคนเรียกว่า On-site ก็ไม่ผิด) เป็นการทำให้หน้าเว็บของคุณมีรายละเอียด เนื้อหามีคุณแภาพและแม่นตรง (Relevance) กับคีย์เวิร์ดที่ผู้ใช้ค้นหา เพื่อที่ Google จะได้หาหน้าเว็บของคุณเจอ และนำไปแสดงในผลการค้นหา

Google จะสแกนหน้าเว็บของคุณหาคำและวลีต่างๆ เพื่อที่จะสรุปว่าหน้านั้นๆ เกี่ยวข้องกับอะไร ดังนั้นการใส่คีย์เวิร์ดในจุดยุทธศาสตร์ต่างๆ บน web page จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการทำ Ranking

Title Tag

Title Tag คือ HTML Tag ที่ระบุชื่อของหน้าเว็บหนึ่งๆ ถ้าดูในโค้ดจะเห็นว่าแท็กนี้จะถูกฝังอยู่ใน Head Tag อีกที

<head>
<title>ใส่ชื่อเพจในนี้</title>
</head>

แต่ละหน้าในเว็บไซต์ของคุณควรมี Title Tag ที่สื่อความหมาย และไม่ซ้ำกัน สิ่งที่คุณใส่ใน Title Tag จะแสดงในหน้าผลการค้นหา

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง
และอาจถูกแสดงไว้ใน Browser ด้วย

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

แนะนำวิธีเขียนชื่อเว็บเพจ

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

  • คีย์เวิร์ด: ถ้าทำได้แนะนำให้ใส่คำหลักด้านหน้าๆ ของ Title tag เพราะว่าผู้ใช้มีแนวโน้มที่จะอ่านและคลิกสูง ผลต่อการทำอันดับก็ดีด้วย
  • ความยาว: โดยเฉลี่ยเครื่องมือค้นหาจะแสดง 50-60 อักขระแรก (~512 พิกเซล) ของ Title Tag ใน SERP หากของคุณยาวเกินก็จะถูกตัดออกและจุดไข่ปลา “…” จะปรากฏขึ้นแทน ดังนั้นแนะนำว่าให้เขียนกระชับ ได้ใจความใน 60 อักษร
  • สร้างแบรนด์: แนะนำให้ปิดท้าย Title Tag ด้วย Brand Name เพื่อส่งเสริมการรับรู้ถึงแบรนด์และเพิ่มอัตราการคลิกในหมู่ผู้ที่คุ้นเคยกับแบรนด์ของคุณอยู่แล้ว

Meta Description

Meta Description คือ HTML Tag อธิบายเนื้อหาของหน้าเว็บหนึ่งๆ แท็กนี้จะถูกฝังอยู่ใน Head Tag เช่นกัน

<head>
<meta name=”description” content=”คำอธิบายหน้าใส่ตรงนี้” />
</head>

รูปด้านล่างแสดงตัวอย่าง Meta Description ใน SERP

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

วิธีเขียน Meta Description

Google ได้พูดเองว่าอย่าไปให้ความสำคัญกับ Meta Description มาก เนื่องจากไม่ได้มีผลต่อการทำอันดับ  ผมแนะนำให้เน้นเขียนเพื่อขายของให้คนคลิกมากกว่า อย่าลืมใส่คีย์เวิร์ดเพราะจะเป็นตัวหนา ซึ่งทำให้มีโอกาสถูกคลิกสูงขึ้นเช่นกัน

Header tags

Header Tag คือ HTML แท็กที่ใช้ในการกำหนดหัวเรื่องของ web page หัวข้อหลักจะใช้ header tag เรียกว่า H1

<h2>หัวข้อหลัก</h2>

หัวข้อย่อยจะใช้ H2, H3, H4, H5 และ H6 โดยลำดับความสำคัญไล่จาก H1 สำคัญมากที่สุด ไล่ไปจนถึง H6 สำคัญน้อยสุด

ตัวอย่างโค้ดการจัดเรียงหัวข้อใช้ Header Tag

<h2>รองเท้าวิ่ง</h2>
<h2>รองเท้าวิ่งผู้หญิง</h2>
<h3>รองเท้าวิ่งราคาถูก</h3>
<h3>รีวิวรองเท้าวิ่งผู้หญิง</h3>
<h4>Nike</h4>
<h4>Adidas</h4>

รูปร่างหน้าตาเมื่อดูในเว็บเบราว์เซอร์จะออกมาแบบนี้

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

ข้อแนะนำในการเขียนหัวข้อ

  • แต่ละหน้าควรมีหัวข้อหลักหนึ่งหัวข้อ หนึ่ง H1 และไม่ควรใช้ซ้ำกัน
  • พิจารณาใช้ H2-H6 ตามความเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องพยายามใช้ทั้งหมด
  • ไม่ควรใช้ Header Tag กับองค์ประกอบในหน้าเพจที่ไม่ใช่หัวข้อ เช่น หมายเลขโทรศัพท์, เมนู เป็นต้น

รูปภาพ (Image)

รูปภาพเป็นตัวการที่ใหญ่ที่สุดทำให้หน้าเว็บโหลดช้า วิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหานี้คือการบีบอัดภาพภาพ แนะนำเครื่องมือ 2 ตัวได้แก่ Kraken และ TinyPNG

เลือกใช้ตัวไหนก็ได้ครับฟรีทั้ง 2 ตัว ประสิทธิภาพในการลดขนาดภาพ tinypng จะดีกว่าหน่อย interface ใช้งานง่ายทั้งคู่ ลากแล้ววาง ตามตัวอย่างใน animation ด้านบน

เลือกใช้ประเภทรูปภาพอย่างถูกต้อง

  • Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง
    หากรูปภาพของคุณเป็นแอนิเมชั่นให้ใช้ GIF
  • หากคุณต้องการรักษาความละเอียดของภาพไว้สูง ให้ใช้ PNG เช่น รูปภาพที่มีการวาดเส้น, ภาพหน้าจอ, รูปภาพที่มีข้อความ เป็นต้น
  • หากคุณไม่ต้องการรักษาความละเอียดของภาพสูงไว้ ให้ใช้ JPEG

Alt Text

Alt Text (Alternative Text) ใช้เพื่ออธิบายรูปภาพแก่ผู้พิการทางสายตาให้เข้าใจว่ารูปนั้นๆ เกี่ยวกับอะไร เครื่องมือค้นหาก็ใช้ Alt text เพื่อทำความเข้าใจรูปภาพในเว็บคุณเช่นกัน

ข้อแนะนำในการเขียน Alt Text

  • เขียนคำอธิบายรูปภาพให้ดูเป็นธรรมชาติสำหรับคนอ่าน: สั้น กระชับ ได้ใจความ
  • หลีกเลี่ยงการใส่คีย์เวิร์ดเกินความจำเป็น (Keyword Stuffing)

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

ไม่แนะนำ:

<img src=”women-shoes.jpg” alt=”รองเท้าส้นสูงราคาถูก, ไม่แพง ส้นสูง, ส้นสูงลดราคา, รองเท้าส้นสูงไม่เกิน 500” />

แนะนำ

<img src=”women-shoes.jpg” alt=”โปรโมชั่นรองเท้าส้นสูงสีชมพู ราคาถูก” />

จัดรูปแบบให้อ่านง่าย

คุณอาจจะเสียเวลาเป็นวันๆ ในการรวบรวบเรียบเรียงข้อมูลเพื่อที่จะมาเขียนคอนเทนต์ขั้นเทพ แต่ถ้าคุณจัดรูปแบบไม่ถูกต้อง คนอาจไม่อ่านเลยก็ได้ อันที่จริงไม่มีใครสามารถรับประกันได้ 100% ว่าผู้เยี่ยมชมจะอ่านเนื้อหาหรือไม่ แต่ก็มีวิธีที่ทำแล้วช่วยเพิ่มโอกาสให้คนอยากอ่านและติดตามเนื้อหาของคุณได้ ดังนี้

  • ขนาดและสีของข้อความ – หลีกเลี่ยงการใช้อักษรที่เล็กเกินไป คนอ่านโดยเฉพาะในมือถือจะได้ไม่ต้องมานั่งเอานิ้วขยายหน้าจอบ่อยๆ Google แนะนำให้ใช้ฟอนท์ขนาด 16 ขึ้น ควรเลือกใช้สีที่สบายตา และต่างจาก background ชัดเจน สำหรับเว็บมาสเตอร์อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการเข้าถึงเว็บไซต์
  • หัวข้อ – ใช้หัวข้อหลักและย่อยเพื่อช่วยให้ผู้อ่านไปยังส่วนต่างๆ ของหน้าได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะบทความยาวๆ ผู้อ่านสามารถเลือกอ่านเฉพาะหัวข้อที่สนใจได้ ไม่ต้องไล่อ่านตั้งแต่ต้นจนจบ
  • สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย (Bullet Points) – ช่วยให้ผู้อ่านหาข้อมูลที่ต้องการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น คุณสามารถเลือกใช้ HTML List แท็ก <ol> (Ordered List) เพื่อแสดงรายการแบบตัวเลข หรือ <ul> (Unordered List) ในการแสดงรายการหัวข้อย่อย
  • ตัวแบ่งย่อหน้า (Paragraph) – การเขียนติดกันเป็นพรืดไม่มีย่อหน้าเลย ทำให้ผู้อ่านเบื่อ แนะนำให้ใช้ HTML แท็ก <p> เพื่อแบ่งย่อหน้า จะช่วยผู้เยี่ยมชมอยากใช้เวลาใน web site คุณมากขึ้น
  • สื่อสนับสนุน – ใส่รูปภาพ วิดีโอ และวิดเจ็ตที่จะช่วยเสริมความน่าสนใจให้เนื้อหาของคุณตามความเหมาะสม
  • ตัวหนาและตัวเอียง – การใช้ตัวหนา (<strong> แท็ก) และตัวเอง (<i> แท็ก) ช่วยเน้นประเด็นหรือจุดสำคัญในบทความ ไม่ได้มีกฏตายตัวกว่าต้องใช้มากน้อยอย่างใร พิจารณาใช้อย่างสมเหตุสมผล

Featured snippets

การจัดรูปแบบ (Format) อาจทำให้เว็บคุณถูกแสดงในตัวอย่างข้อมูลเด่น (Featured snippets) ที่อยู่ด้านบนผลการค้นหาแบบทั่วไป

คุณจ่ายเงินเพื่อแสดงเว็บเพจในตำแหน่งนี้ไม่ได้ ไม่มีโค้ดพิเศษอะไรที่คุณใส่แล้วสามารถแสดงในตำแหน่งนี้ด้วย สิ่งที่คุณทำได้คือจัดรูปแบบคอนเทนต์อย่างเหมาะสมให้ตรงกับความต้องการของผู้ค้นหา

เช่น ถ้าคุณกำลังทำคีย์เวิร์ด “ส่วนผสมผัดกระเพราะ” ลองหลับตาแล้วนึกดูว่าผู้ใช้ต้องการเห็นคอนเทนต์ที่มี Format แบบไหน ผมมีให้คุณ 3 ตัวเลือก

  1. บทความยาวๆ สอนทำผัดกระเพรา?
  2. ตารางเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย?
  3. รายการส่วนผสม?

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

ถ้าคุณตอบว่า “รายการส่วนผสม” แสดงว่าคุณมีความเข้าใจหัวอกผู้ใช้งาน (Search Intent) แล้ว สิ่งที่คุณต้องทำคือจัดรูปแบบเว็บคุณโดยใช้ html tag อย่างเหมาะสมต่อไป

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

เท่านี้เว็บคุณก็มีโอกาสมากกว่าเว็บอื่นๆ ในการแสดงใน Featured Snippet แล้ว

โครงสร้างการเชื่อมโยงภายในเว็บไซต์ทำได้ด้วยการใช้ไฮเปอร์ลิงก์ ( hyperlink) เชื่อมหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์เข้าด้วยกัน

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

ประโยชน์ของลิงก์ภายใน:

  • ทำให้บอทของเสิร์ชเอนจินค้นพบและทำดัชนีเว็บเพจของคุณได้
  • ส่งสิ่งที่เรียกว่า Link Equity หรือความสามารถในการทำอันดับไปยังทุกส่วนของเว็บไซต์
  • ช่วยให้ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บใช้งานเว็บคุณไปในส่วนต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

คุณควรสร้างลิงก์เชื่อมโยงภายในอย่างสมเหตุสมผล โดยมุ่งหวังให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจสิ่งที่คุณต้องการสื่อสารได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น ได้ข้อมูลที่ครบขึ้น

Technical SEO

Technical SEO คือเทคนิคที่นำมาใช้ปรับแต่งเว็บไซต์เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องมือค้นหาสามารถพบและรวบรวมข้อมูลหน้าทั้งหมดบนเว็บไซต์ได้อย่างง่าย

ตัวอย่างเทคนิคที่ควรทำ เช่น ความเร็วในการโหลดไซต์ (Loading Speed) การเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Optimization) และอื่นๆ

ความเร็วในการโหลดเว็บไซต์

เว็บที่โหลดเร็วหมายถึงคนเข้าเว็บสามารถใช้งานเว็บคุณได้อย่างไหลลื่น รวดเร็ว ส่งผลให้ผลลัพธ์ทางธุรกิจ (Conversion) เช่น การขายของออนไลน์ และอื่นๆ สูงขึ้นด้วย เสิร์ชเอนจินเองก็ชอบเว็บโหลดเร็วและมักให้รางวัลเป็น Ranking ที่ดี

Google ได้สร้างเครื่องมือที่ให้คำแนะนำทางเทคนิคเพื่อแก้ไขปัญหาความเร็วไว้ ใช้กันได้ฟรีๆ ครับ

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

อัลกอริธึมของ Google ให้ความสำคัญกับมือถือเป็นหลัก (Mobile First Indexing) หมายความว่าถ้าเว็บคุณโหลดได้เร็วบนเดสก์ท็อป แต่โหลดช้าบนมือถือ Google จะถือว่าไซต์ของคุณช้า คำแนะนำที่ PageSpeed Insight ให้ไว้นั้นค่อนข้างละเอียดทั้งในอุปกรณ์เคลื่อนที่และเดสก์ท็อป แนะนำว่าแก้ให้ได้มากเท่าที่จะทำได้ครับ

ถ้าคุณอยากได้มุมมองทางเทคนิกอื่นๆ ขอแนะนำอีก 2 เครื่องมือที่นิยมใช้กัน คือ GTMetrix, และ webpagetest.org ตัวหลังนี้มีดีที่มี Server ที่กรุงเทพด้วย ถ้าเว็บเซิร์ฟเวอร์คุณอยู่ในไทย ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์จะมีความถูกต้องสูง

การเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Optimization)

อย่างที่บอกไปแล้วว่าเว็บเวอร์ชั่นมือถือนั้นสำคัญที่สุด คุณสามารถใช้ Google Search Console เช็คดูว่าเว็บคุณมีปัญหาอะไรที่ต้องแก้

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

หากคุณพบว่าเว็บไซต์ของคุณมีปัญหาการแสดงผลที่ไม่เหมาะกับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แนะนำให้จัดลำดับความสำคัญสูงที่สุดและแก้ปัญหาเหล่านี้ให้เสร็จโดยเร็ว

HTTPS

ในปี 2014 Google ได้ประกาศให้ HTTPS มีผลกระทบต่อ Ranking ตอนนั้นมีเว็บผลกระทบต่อเว็บไซต์น้อยกว่า 1% ของเว็บทั่วโลก ต่อมาได้ขยับให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของเว็บมากขึ้นเรื่อยๆ ณ ปัจจุบันกูเกิ้ลได้แสดงคำเตือนผู้ใช้ก่อนที่จะเข้าชมเว็บที่ไม่ได้ติดตั้ง SSL

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

และแสดงคำเตือน “ไม่ปลอดภัย (Not secure)” ใน Chrome อีกด้วย

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

จะเห็นว่าถ้าเว็บคุณดูไม่ปลอดภัย อาจสร้างความไม่น่าเชื่อถือและอาจทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจไปบางส่วนได้ แนะนำให้ติดตั้ง HTTPS ครับ เสียค่าใช้จ่ายรายปีนิดหน่อย แบบฟรีก็มีแต่อาจมีข้อจำกัดบาง การติดตั้งก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร

XML Sitemap

แผนผังเว็บไซต์ XML หรือ XML Sitemap คือรายการที่มีโครงสร้างเว็บไซต์ มีหน้าทั้งหมดในเว็บไซต์อยู่ในไฟล์ XML ช่วยให้ Google เข้าใจไซต์ของคุณและค้นหาเนื้อหาทั้งหมดได้สะดวกขึ้น

ตัวอย่างแผนผังเว็บไซต์ XML:

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

หากคุณไม่แน่ใจว่าจะสร้างแผนผังเว็บไซต์อย่างไรและเว็บไซต์ของคุณใช้ WordPress คุณสามารถสร้างแผนผังเว็บไซต์ง่ายๆ ด้วยปลั๊กอิน เช่น Google XML Sitemap Generator ที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างแผนผังเว็บไซต์ XML โดยเฉพาะ

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในเว็บ เช่น สร้างหน้าเพจใหม่ เป็นต้น ควรแจ้งให้ Google รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ด้วยการส่ง XML Sitemap ใน Google Search Console (GSC)

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

  1. คลิกที่เมนู Sitemaps
  2. ใส่ XML Sitemap และกดปุ่ม Submit
  3. ถ้ามีจุดผิดพลาด (Syntax Error) ในแผนผังเว็บไซต์ของคุณ GSC จะแจ้งให้คุณรู้ (ดูเลข 3 ในรูปด้านบน) ให้คลิกดูรายละเอียดเพิ่่มเติมที่ลิงก์ Errors แล้วก็แก้ตามนั้น

URL Friendly SEO

Webmaster บางคนสร้างเว็บเพจใช้ URL แปลกๆ  เช่น

http://website.com/bcca/index.php/MzB8fHJlZy9yZXBzdHVkZW50dGltZXRhYmxlL2luZGV4Mw

URL ในลักษณะนี้คนอ่านไม่เข้าใจ เครื่องมือค้นหาอ่านก็งง

คำแนะนำในการสร้าง URL ที่ถูกจริตกับ SEO

  • ออกแบบและใช้โครงสร้าง URL ที่คงเส้นคงวา – เช่น หากคุณมี URL ของหมวดหมู่กาแฟ เช่น website.com/coffee ก็ควรที่จะใส่หน้าที่เกี่ยวกับกาแฟทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่นี้ แต่ถ้านำเพจเกี่ยวกับข้าวผัดกระเพรามาใส่คงไม่เหมาะ
  • ใส่คีย์เวิร์ดหลักลงไปเป็นส่วนหนึ่งของ URL ด้วย แต่ควรระวังอย่าใส่มากไป จนเข้าข่าย keyword stuffing ล่ะ
  • URL สั้น – มักทำอันดับได้ดีกว่ายาวๆ

สรุปสั้นๆ ว่า URL ควรอ่านแล้ว ได้ใจความ กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ อย่าลืมใส่คีย์เวิร์ดหลักลงไปด้วย

Robots.txt, Meta NoIndex, & Meta NoFollow

คุณสามารถบอกเสิร์ชเอ็นจิ้นว่าคุณต้องการให้เนื้อหาในเว็บไซต์ของคุณถูกจัดการแบบไหน อย่างไร เช่น หากคุณไม่ต้องการให้ข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งของเว็บไซต์เข้าถึงโดยบอท คุณสามารถใช้ไฟล์ robots.txt เพื่อระบุความต้องการให้เสิร์ชเอนจิ้นรู้

ตัวอย่างแสดงการบล็อก (Disallow) บอทไม่ให้เข้าถึงแฟ้มชื่อ secret ในเซิร์ฟเว่อร์

User-agent: *
Allow: /
Disallow: /secret/

คำเตือน: แนะนำให้คุณศึกษาการใชังาน robots.txt ให้เข้าใจก่อน ไม่อย่างนั้นอาจพลาดพลั้งไปบล็อกผิดส่วน ส่งผลให้บางส่วนหรือทั้งเว็บไซต์ถูกเอาออกจากฐานข้อมูล Google ได้

นอกจากไฟล์ robots แล้ว คุณยังสามารถใช้เมตาแท็ก robots (robot meta tags) ในการบล็อกเนื้อหาเป็นหน้าๆ ไป ออกจากดัชนีเครื่องมือค้นหาได้

ปัญหาหนึ่งที่นักทำ SEO จำนวนมากประสบคือไม่เข้าใจองค์ประกอบของการสร้างลิงก์ที่ถูกต้อง และนั่นหมายความว่าคุณล้มเหลวแล้วตั้งแต่เริ่มต้น โดยเฉพาะในโปรเจ็คที่มีการแข่งขันสูงๆ ในหัวข้อนี้เรามาทำความรู้จ้กและทำความเข้าใจถึงองค์ประกอบพื้นฐานในการสร้างลิงก์อย่างถูกต้องกัน

ในการทำ SEO เมื่อเราพูดถึง Link หรือ Backlink เราจะหมายถึง hyperlink จากหน้าหนึ่งชี้ไปอีกหน้าหนึ่ง จะเป็นการเชื่อมโยงกันภายในเว็บเดียวกัน หรือจากเว็บอื่นก็ได้

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

ในการดันอับดับคีย์เวิร์ดลิงก์จากเว็บอื่นมีเครดิตมากกว่าลิงก์ที่เชื่อมโยงกันเองภายใน

ทำไมลิงก์ถึงสำคัญ?

ลิงก์เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการทำอันดับเพราะว่า Link Equity (ขอใชัตัวย่อว่า LE) หรือพลังความสามารถในการทำอันดับจะถูกส่งไปยังเว็บเพจปลายทาง ทำให้หน้าปลายทางมีความแข็งแรงขึ้นในเชิง SEO และมีโอกาสทำ Ranking ดีขึ้น

ขอยกตัวอย่างเพิ่มเติมเพื่อให้มีความกระจ่างมากขึ้นดังนี้

สมมุติว่าหน้า homepage ของคุณ มี LE เท่ากับ 30 หน่วย และคุณใส่ 3 ลิงก์ลงไป

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

นั่นหมายความว่าหน้าปลายทางแต่ละหน้าจะมีกำลังเพิ่มขึ้นหน้าละ 10 หน่วย (30 หารด้วย 3) มีโอกาสที่คีย์เวิร์ดหลักของแต่ละหน้าจะไต่อันดับได้

องค์ประกอบของการสร้างลิงก์

การสร้างลิงก์มีมากมายหลายกลวิธี อาทิ ลิงก์จากการแสดงความคิดเห็น (Comments), จากการเขียนบทความลงเว็บอื่น (Guest Post), จาการไปฝากข้อมูลธุรกิจเว็บตามไดเรกทอรีต่างๆ (Citation) เป็นต้น

ส่วนตัวเห็นว่าใช้วิธีไหนก็ได้ไม่ผิด ถ้าองค์ประกอบของลิงก์ที่สร้างนั้นถูก องค์ประกอบทีผมว่ามีรายละเอียดดังนี้

1. จำนวนลิงก์

การมีลิงก์ภายหน้าเพจมากเกินไปไม่ทำให้เว็บคุณถูกลงโทษ แต่ส่งผลต่อวิธีที่ Google ค้นหาและประเมินหน้าเว็บของคุณ ถ้าคุณใส่ลิงก์ในหน้ามากจะส่งผลให้ Link Equity ถูกแบ่งไปยังหน้าปลายทางได้น้อยลง

จากในตัวอย่างที่แล้ว ถ้าคุณใส่ลิงก์เพิ่มลงไปอีก 3 รวมเป็น 6 ลิงก์ (Link Equity ยังคงเท่าเดิมคือ 30) นั่นคือหน้าปลายทางแต่ละหน้าจะได้รับพลังเพิ่มเพียงหน้าละ 6 หน่วย ส่งผลให้ความสามารถในการทำ Ranking ลดลงตามไป

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการสร้างลิงก์ออกไปที่อื่นๆ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ Google แนะนำให้ลิงก์ออกอย่างสมเหตุสมผล ทั้งลิงก์ภายในหรือลิงก์ไปยังเว็บอื่นๆ

ดังนั้นถ้าคุณคิดว่าลิงก์ไปยังหน้าเพจอื่นๆ แล้วทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องที่คุณเล่าได้ง่ายขึ้น ได้รับข้อมูลเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์มากขึ้น จงทำ อย่ากลัวครับ ในทางกลับกันถ้าลิงก์เพื่อจุดประสงค์ดันอันดับให้หน้าปลายทางอย่างเดียว อันนี้ไม่แนะนำ

2. Anchor Text

Anchor text คือข้อความที่เชื่อมโยง Link ไปยังหน้าต่างๆ โดยปกติจะปรากฏเป็นข้อความที่ขีดเส้นใต้สีน้ำเงิน คุณสามารถปรับเปลี่ยนแต่งสีสัน anchor text ได้ด้วยการใช้ CSS, และ HTML

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

ข้อความ Anchor ทำให้เครื่องมือค้นหาและผู้ใช้รู้คร่าวๆ ถึงบริบทเนื้อหาของหน้าปลายว่าเกี่ยวกับอะไร เช่นถ้าคุณลิงก์มายังเว็บผมใช้คำว่า SEO Books จะเป็นการส่งสัญญาณให้เครื่องมือค้นหารู้ว่าเว็บปลายทางเป็นเว็บที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำ SEO

เราแยกแยะประเภทของ Anchor Text ได้ 5 แบบ

  • ใช้ชื่อแบรนด์เป็นข้อความลิงก์ (Brand Name) เช่น ถ้าลิงก์มายังหน้า Homepage ของเว็บผม คุณก็ใช้ SEO Books เป็น Anchor Text
  • ใช้คีย์เวิร์ดเป็นข้อความลิงก์ (Exact Match) เช่น คีย์เวิร์ดหน้าปลายทางคือ “เรียนทำ SEO” คุณก็ใช้คำหลักคำนี้เป็นข้อความ Anchor ได้เลย
  • ใช้บางส่วนของคีย์เวิร์ดเป็นข้อความลิงก์ (Partial Match) เช่น ใช้ “เรียน SEO” เป็นข้อความลิงก์ชี้ไปหน้าปลายทางที่มี Keyword หลัก “เรียนทำ SEO”
  • ใช้คำทั่วๆ ไป (Generic) เป็น Anchor Text เช่น อ่านต่อ, คลิกที่นี่, ดูข้อมูลเพิ่มเติม เป็นต้น
  • ใช้ URL เป็น Anchor Text เช่น https://seobooks.org/learn-seo/ เป็นต้น

คุณไม่ควรใช้ Anchor Text ประเภทใดประเภทหนึ่งอย่างเดียว ให้ผสมผสานใช้ทุกประเภทอย่างสมเหตุสมผล เช่น ลิงก์แรกที่ชี้ไป Homepage คุณอาจใช้ Brand Name เป็น Anchor Text, ลิงก์ต่อไปอาจใช้ URL เป็นต้น

ความพยายามใดๆ ในการใช้ข้อความ Anchor แบบไม่เป็นธรรมชาติ แต่มุ่งหวังเพื่อการดันอันดับอย่างเดียว อาจถูกตรวจพบและลงโทษโดย Google ได้

3. ลิงก์ที่เข้าถึงได้

เทคโนโลยีบางประเภทที่ web master ใช้สร้างลิงก์ อาจทำให้เกิดปัญหาการเข้าถึงของบอท เช่น การเขียนโค้ด Javascript จะซ่อนลิงก์ไว้ บอทจึงไม่สามารถไปยังหน้าปลายทางได้

<a href=”javascript:void(0)”>ไม่แนะนำ ไม่มีลิงก์</a>

ถ้าทั้งเว็บคุณมีช่องทางเชื่อมโยงไปยังหน้าต่างๆ แบบนี้อย่างเดียว คุณอาจพบปัญหาการจัดทำดัชนีเว็บไซต์ได้

แนะนำให้สร้างลิงก์โดยใช้ <a> tag เพื่อความมั่นใจว่า Link Equity สามารถถูกส่งไปปลายทางได้ครบถ้วน ไม่ตกหล่น

3. Nofollow links

ลิงก์ nofollow คือลิงก์ที่มีแอตทริบิวต์ rel=”nofollow” ใน <a> tag เช่น

<a href=”https://seobooks.org” rel=”nofollow”>SEO Books</a>

Nofollow Link จะไม่ส่งต่อเครดิตหรือ Link Equity ไปยังหน้าปลายทาง

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

ถึงกระนั้นลิงก์ประเภทนี้ก็ยังมีความจำเป็นและมีประโยชน์

  • ในปี 2019 Google ประกาศว่าใช้ลิงก์แบบ nofollow เป็นคำแนะนำเพื่อให้เข้าใจและวิเคราะห์ลิงก์ได้ดีขึ้น
  • ลิงก์ nofollow อาจไม่ช่วยเพิ่่มแต้มต่อ SEO แต่ก็ยังนำผู้คนมาเข้าเว็บคุณได้
  • ลิงก์ nofollow มีอยู่ในทุกๆ เว็บไซต์ ถ้าเว็บคุณไม่มีลิงก์ประเภทนี้ชี้มาเลย มันจะดูแปลกในสายตาเสิร์ชเอนจิน

ดังนั้นอย่าลังเลที่จะสร้าง Nofollow Link เมื่อจำเป็นครับ

4. Domain/Page Authority

ในทาง SEO เมื่อมีเว็บไซต์อื่นลิงก์มายังเว็บไซต์คุณ เปรียบเสมือนเหมือนกับการแนะนำหรือการรับรองจากบุคคลที่สาม ทำให้เว็บไซต์ของคุณมีความน่าเชื่อถือในสายตา Google มากขึ้น ลิงก์จากภายนอกเหล่านี้ยังทำให้ความแข็งแรงเชิง SEO โดยรวมของเว็บไซต์ (Domain Authority) คุณสูงขึ้นด้วย

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

Domain Strength สามารถถูกส่งผ่านไปยังหน้าเว็บเพจต่างๆ ในเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ที่เชื่อมโยงกันเองภายใน หรือ Internal Links หน้าไหนได้รับลิงก์จากหน้าอื่นมาก ความแข็งแรงเชิง SEO ของหน้า (Page Authority) นั้นๆ ก็จะสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว

แนะนำให้หาลิงก์จากไซต์ที่เชื่อถือได้ เว็บใหญ่ๆ ที่อยู่มานานๆ มักมี Link Equity มากกว่าลิงก์จากเว็บไซต์ขนาดเล็ก เว็บอายุน้อยๆ ดังนั้นถ้าสามารถทำได้เน้นสร้าง Link จากเว็บที่น่าเชื่อถือมาเป็นอันดับแรก

5. Link Relevance

ในการทำความเข้าใจธุรกิจ, สินค้าหรือบริการของคุณ Google จะมองลิงก์ Link ใน 3 ลักษณะ ทั้งลิงก์จากเว็บอื่นชี้มายังเว็บคุณ, ลิงก์จากเว็บคุณชี้ไปยังเว็บอื่นๆ และลิงก์ที่เชื่อมโยงกันเองภายใน

ลิงก์ทั้ง 3 ลักษณะควรเป็นลิงก์ที่มีความเกี่ยวข้องกัน (Link Relevance) เช่น ถ้าบทความคุณเกี่ยวกับ “การทำ SEO” ลิงก์ที่ชี้เข้ามาก็ควรเป็นลิงก์จากเพจที่เกี่ยวกับ SEO เช่นกัน ไม่เช่นนั้นลิงก์จะถูกด้อยค่าลงในสายตา Google

การสร้างลิงก์คุณภาพที่มีองค์ประกอบครบตามที่ได้อธิบายไปแล้วนั้นเป็นเรื่องท้าทาย ผมได้แนะนำตัวช่วยเป็นโปรแกรมวิเคราะห์ Link ที่จะช่วยคุณย่นระยะเวลาในการได้มาก ลองไปอ่านกันดูที่บทความนี้ครับ

วัดผลการทำ SEO

ทำอะไร ก็ต้องมีการวัดผล ในหัวข้อนี้เรามาสาธยายกันในเรื่องของการวัดผลการทำ SEO กัน ว่าคีย์เวิร์ด (Keywords) ที่เราทำนั้น ติดอันดับในหน้าไหนของกูเกิ้ล จะได้ประเมินถูกว่าต่อไปจะเอายังไงต่อไปกับชีวิต

การติดตามอันดับคีย์เวิร์ด (Rank Tracking)

การติดตามอันดับคือกระบวนการตรวจสอบประสิทธิภาพของเว็บไซต์ของคุณในการทำ SEO ผ่านทางคีย์เวิร์ด มีเครื่องมือที่คุณสามารถใช้ในการทำ Rank Tracking มากมายหลายตัว ในบทความนี้ขอยกตัวอย่างการใช้งานโปรแกรมชื่อ Rank Aware

  1. ขั้นตอนแรกเมื่อติดตั้งเสร็จ ให้เปิด software ขึ้นมา
  2. ป้อน URL หน้าหลักหรือ homepage ของคุณลงไป
  3. ต่อไปให้คุณป้อนคีย์เวิร์ดที่ต้องการเช็คลงไป โดยให้ใส่ 1 คำต่อ 1 บรรทัด อย่างที่ไฮไลท์สีเหลืองๆ ในรูปด้านล่าง

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

ต่อไปให้คุณเลือก search engine ที่คุณต้องการเช็ค เช่น คุณต้องการเช็คอันดับใน Google ประเทศไทย ก็ให้คุณเลือก www.google.co.th เป็นต้น เสร็จแล้วคลิก ‘Done’ เท่านี้ก็เสร็จครับ Rank Aware จะเริ่มต้นทำงานไปเช็คอันดับ keyword ให้คุณ คุณสามารถดูเครื่องมือตัวอื่นเพิ่มเติมได้ทีบทความนี้้

วิเคราะห์ข้อมูลใน Google analytics

ตอนนี้คุณสามารถรู้ได้ว่าคนที่มาเว็บคุณนั้นมาด้วย Keyword อะไรบ้าง แต่คุณยังไม่รู้ว่าเขาเหล่านั้นมีพฤติกรรมอะไร ใช้งานเว็บคุณอย่างไร

ปัญหานี้จะหมดไปด้วยโปรแกรมฟรีชื่อ Google Analytics (GA) ในบทความนี้ขอยกตัวอย่างรายงานพื้นฐานสัก 2-3 รายงานที่จะช่วยให้คุณเข้าใจ SEO Traffic มากขึ้น

1. ที่มาคนเข้าเว็บ (Acquisition Report)

รายงาน Acquisition (ที่เมนูบาร์ด้านซ้ายมือใน GA) ช่วยให้คุณเปรียบเทียบการเข้าชมเว็บที่มาจาก SEO กับ Traffic ที่มาจากช่องทางอื่นๆ

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

ตัวอย่างเช่น

  • Social – ผู้ใช้งานจากเว็บประเภท Social Media ต่างๆ เช่น Facebook และอื่นๆ
  • Referral – การเข้าชมที่มายังไซต์ของคุณจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่เครื่องมือค้นหา เช่น เมื่อคุณคลิก ลิงก์จากเว็บ A ไปยังเว็บ B Google Analytics จะถือว่าเว็บ A เป็น Referral Traffic มายังเว็บ B
  • Paid Search – ผู้ใช้ที่คลิกโฆษณาใน Google แล้วมายังเว็บคุณ

2. อัตราการตีกลับ (Bounce Rate)

Bounce Rate แปลว่าอัตราการตีกลับ จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ใช้เข้าสู่หน้าเว็บไซต์และออกเลย

ตัวอย่างเช่น หากผู้ใช้คลิกลิงก์ใน Google และเข้ามาที่หน้า Homepage ของคุณ พอมาถึงก็เลื่อนเม้าส์ไปมา ไม่ได้มีการปฏิสัมพันธ์ชัดเจน เช่น ไม่ได้คลิกลิงก์, ไม่ได้คลิกดูคลิปวีดีโอ และอื่นๆ จากนั้นก็ออกจากเว็บคุณไป อย่างนี้เรียกว่ามีอัตราการตีกลับ หรือ Bounce Rate จากหน้า Homepage

ใน GA คุณสามารถดูอัตราตีกลับในรายงานที่มีตารางข้อมูล เช่น พฤติกรรม (Behavior > Site Content > All Pages report) เป็นต้น

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

อัตราการตีกลับสูงหมายถึงคอนเทนต์ในหน้าเว็บไม่ตอบโจทย์ ดังนั้นคุณควรตั้งเป้าหมายที่จะลดอัตราตีกลับ เพื่อให้ผู้คนมีส่วนร่วมกับเว็บไซต์ของคุณมากขึ้น

3. ความเร็วโหลดเว็บ (Site Speed Report)

รายงานความเร็วในการโหลดหน้าเว็บใน GA ให้รายละเอียดเกี่ยวกับคอนเทนต๋ในหน้าว่าใช้ระยะเวลามากน้อยแค่ไหนในการโหลด

เปิดรายงานด้วยการคลิก ‘Behavior’ > ‘Site Speed’ ต่อไปคลิก ‘Technical’ (อยู่ใต้แท็บ ‘Explorer’ ที่ด้านบนของรายงาน) จากนั้นจากนั้นคลิกไอคอนตาราง (ทางด้านขวาของช่องค้นหาใต้กราฟ)

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

คอลัมน์ “Avg. Page Load Time” จะแสดงเวลาเฉลี่ยในการโหลดแต่ละหน้า หน้าไหนใช้เวลาโหลดมากกว่า 3 วินาที แนะนำให้ปรับปรุงครับ

4. หน้าที่ใช้ชื่อซ้ำกัน (Duplicate Title)

ตามหลักการแล้ว แต่ละหน้าในเว็บไซต์ของคุณไม่ควรใช้ชื่อหน้าซ้ำกัน แต่ถ้าคุณสงสัยว่าในเว็บคุณมีหน้าที่ใช้ Page Title ซ้ำกันหรือไม่ คุณสามารถเช็คใน Google Analytics ได้

ให้คุณคลิกที่ ‘Site Content’ > ‘All Pages’ ต่อไปคลิกที่ ‘Page Title’ เพื่อแสดงชื่อแต่ละหน้าเพจ

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

เมื่อคุณคลิกที่ชื่อหน้าเพจของแต่ละหน้า คุณอาจเห็นมากกว่า 1 URL ที่ใช้ชื่อหน้าร่วมกัน ให้คุณสละเวลาคลิกแต่ละชื่อหน้าเพื่อตรวจสอบและแก้ไขเพื่อให้ปัญหา Duplicate Title หมดไป

การเรียนรู้ใช้งาน Google Analytics ไม่ได้ยาก แต่ใช้เวลาหน่อย เพราะมี Function การใช้งานค่อนข้างมาก

ขอให้ใจเย็นๆ ค่อยๆ ทำความเข้าใจ ถ้าคุณยังไม่มีบัญชีหรือคุณเพิ่งติดตั้ง GA ยังไม่มี Data คุณสามารถเรียนการใช้งานโดยใช้บัญชีทดลองได้

คุณควรจ้างบริษัทรับทำ SEO ไหม?

ขึ้นอยู่กับความเต็มใจที่จะเรียนรู้ และความซับซ้อนของเว็บไซต์ของคุณ ถ้าเว็บคุณเล็กๆ ไม่ซับซ้อนมาก คุณสามารถทำ SEO ขั้นพื้นฐานได้ด้วยตัวเอง

หากคุณต้องการความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ สิ่งสำคัญคือต้องรู้ว่าเอเจนซี่และที่ปรึกษาที่ให้บริการ SEO มีคุณภาพอาจแตกต่างกันค่อนข้างมาก

ทุกวันนี้การทำ SEO แบบถูกต้อง มีคุณภาพจริงๆ มีต้นทุนสูงสวนทางกับภาวะการแข่งขันที่สูงมาก ทำให้ผู้ให้บริการ SEO ในบ้านเราจำเป็นต้องหั่นราคาแข่งกันเพื่อให้ได้ลูกค้า (ระยะสั้น) จึงจำเป็นต้องเลือกใช้เทคนิกที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ เช่น การใช้โปรแกรมอัตโนมัติสร้าง Spam Links จำนวนมากในระยะเวลาสั้น เป็นต้น การทำแบบนี้อาจจะได้ผลในระยะเวลาสั้น อันดับอาจจะไต่ขึ้นเร็ว หวือหวา แต่มีโอกาสลูกที่จะถูกจับได้และลงโทษโดย Google

ถ้าคุณอ่านมาถึงตรงผมอนุมานว่าคุณมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ SEO อยู่ในเกณฑ์ดี ให้ใช้ความรู้ที่ได้ ทำรายการคำถาม เพื่อสอบถาม Agency อย่างน้อย 3-5 บริษัท เปรียบเทียบกัน แล้วค่อยตัดสินใจ อย่ารีบร้อน การทำ SEO ใช้เวลาครับ ตั้งแต่การเลือกผู้รับทำกันเลยก็ว่าได้

Search Engine ปรับ Algorithm ตลอดเวลา ทำให้การทำ SEO มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเช่นกัน ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว หลักการพื้นฐานในการทำนั้นทำความเข้าใจได้ไม่ยาก

อีกอย่างทุกวันนี้ คุณสามารถเข้าถึงความรู้ดีๆ ในอินเตอร์เน็ตแบบฟรีๆ ได้ง่ายๆ (อย่างเช่นบทความที่คุณกำลังอ่านอยู่นี) เมื่อนำหลักการที่ได้ศึกษาไปทดลองทำจริงบ่อยๆ เข้า เชื่อขนมกินได้ว่าคุณสามารถเป็นอีกหนึ่งกูรูทางด้าน Search Engine Optimizationได้โดยใช้เวลาไม่นานนัก

สำหรับท่านที่ต้องการให้ทีมงาน SEO Books ช่วย และยังมีคำถามคาใจอยู่ สอบถามเข้ามาได้ครับ

Search Engine Optimization มีความหมายว่าอย่างไรและมีช่องทางใดบ้าง

ความหมายของ Search Engine Optimize หมายถึงอะไร

Search Engine Optimize หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า SEO คือ การทำเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพ และรองรับการติดอันดับบน Google ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการออกแบบ และเนื้อหาบนเว็บไซต์ การทำเว็บไซต์ให้ติดอันดับบน Google จะทำให้เว็บไซต์ของคุณมีคนเข้ามาชมมากขึ้น เป็นร้านค้าอันดับต้นๆ ที่ลูกค้าเลือกซื้อ และทำให้ยอดขายของธุรกิจคุณเพิ่มขึ้น

Search Engine Optimization คืออะไรมีประโยชน์อย่างไร

SEO คือ การทำให้เว็บไซต์ของคุณติดหน้าแรกบน Search result เช่น Google เพื่อให้ไม่ว่าใครจะหาอะไร ก็เจอเว็บไซต์ของคุณที่พร้อมจะให้คำตอบในสิ่งที่คนถามบนหน้าการค้นหานั้น ยิ่งตำแหน่งที่อยู่แสดงผลสูงเท่าไหร่ ยิ่งเพิ่มโอกาสให้คนเข้าถึงเว็บไซต์มากเท่านั้น และอาจได้ยอดขายในท้ายสุด

Search Engine Optimization (SEO) คืออะไร มีประโยชน์ในการทำ Digital Marketing อย่างไรบ้าง และแตกต่างจาก SEM ในประเด็นใด

SEO ย่อมาจาก Search Engine Optimization เป็นวิธีการทำการตลาดออนไลน์ที่เกี่ยวกับระบบ Search Engine เหมือนกับ SEM แต่มีความแตกต่างกันตรงที่การทำ SEO ไม่เสียเงินค่าโฆษณา แต่จะเป็นการใช้เทคนิคอื่นๆ เช่น การใช้คีย์เวิร์ด การปรับแต่งรูปแบบเว็บไซต์ เพื่อให้ถูกใจ Google และตอบสนองความต้องการของผู้ค้นหา ทำให้ Bot ของ Search ...

SEO คืออะไร และทําไมธุรกิจทุกวันนี้ต้องให้ความสําคัญกับการใช้ SEO

SEO คือ กระบวนการปรับแต่งเว็บไซต์เพื่อเพิ่มการแสดงผลสำหรับการค้นหา Keyword ที่เกี่ยวข้องและมีเป้าหมายเพื่อติดอยู่บนหน้าแรกของ Search Engine ซึ่งการปรับแต่งเว็บไซต์นั้นมีทั้งแบบ On-page SEO และ Off-page SEO ยิ่งถ้าอันดับการค้นหาหน้าเว็บไซต์ของคุณดีขึ้นมากเท่าไร ธุรกิจของคุณก็ยิ่งมีโอกาสดึงดูดและได้รับความสนใจจากกลุ่ม “ ...