ไทยแลนด์ 4.0 คืออะไร สรุป pantip

หากจะพูดถึงวลีเด็ดของยุคสมัยนี้ คำที่จะไม่มีทางหลุดออกไปจากโผแน่นอนคือคำว่า “4.0” ใครๆ ก็พูดว่าไทยแลนด์ 4.0 ประเทศเราจะมุ่งสู่ 4.0 จนคำว่า 4.0 กลายเป็นคำที่ถูกใช้ในบริบทต่างๆ มากมาย แต่สิ่งหนึ่งที่เราทุกคนน่าจะเป็นเหมือนกันคือรู้ว่า 4.0 น่าจะเป็นอะไรสักอย่างที่ดี แต่ก็อธิบายไม่ถูกเหมือนกันว่ามันคืออะไร และที่สำคัญ ถ้าไทยแลนด์จะไป 4.0 แปลว่าตอนนี้เราผ่าน 1.0 2.0 และ 3.0 มาแล้วหรือเปล่า เลขแต่ละตัวคืออะไร มีความหมายว่าอะไร วันนี้ เราจะมารู้จักกับประเทศไทยตั้งแต่ยุค 1.0 ไปถึง 4.0 (ถ้าไปถึงได้) กัน

ตัวเลข 4.0 บ่งบอกถึงระดับการพัฒนาสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทย

ประเทศไทย 1.0 คือ ประเทศไทยยุคกสิกรรม

ระยะแรกของการพัฒนาเศรษฐกิจ ประเทศต่างๆ มักเริ่มต้นเศรษฐกิจด้วยธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรดั้งเดิมในชาติ เนื่องจากความรู้และเทคโนโลยียังมีไม่มาก และมักจะสอดคล้องกับลักษณะสังคมและเศรษฐกิจดั้งเดิมของประเทศอยู่แล้ว ในกรณีประเทศไทย 1.0 ประเทศเราขับเคลื่อนด้วยภาคการเกษตร โดยเน้นการส่งออกข้าวเป็นหลักจนได้เข้าชิงตำแหน่งผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลกหลายต่อหลายครั้ง แต่การส่งออกทรัพยากรการเกษตรก็เป็นธุรกิจที่มีความผันผวนจากราคาโภคภัณฑ์โลก นอกจากนี้สินค้ายังไม่ค่อยแตกต่างกันมาก ทำให้อยู่ในตลาดที่มีการแข่งขันสูง และผันผวนไปตามภาวะเศรษฐกิจโลก

ประเทศไทย 2.0 คือ ประเทศไทยยุคอุตสาหกรรมเบา

ระยะต่อมาของการพัฒนาเศรษฐกิจ ประเทศชาติจะพัฒนาขึ้นมาเป็นภาคอุตสาหกรรมการผลิตมากขึ้น เนื่องจากลักษณะธุรกิจที่มีความแน่นอนสูงกว่า และมักจะสร้างผลผลิตต่อตารางเมตรและประชากรได้มากขึ้น ระยะนี้ประเทศชาติมักจะเริ่มต้นจากอุตสาหกรรมการผลิตที่มีความซับซ้อนไม่มาก ตัวอย่างเช่นอุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร โดยจุดเด่นของยุคนี้ที่จะทำให้เป็นผู้ชนะได้คือการมีต้นทุนค่าแรงที่ถูกกว่าประเทศที่เป็นฐานการผลิตอื่นจนทำให้สินค้ามีราคาในระดับที่แข่งขันได้ในตลาดโลก ระยะนี้รายได้ต่อหัวประชากรก็จะค่อยๆ ขยับตัวสูงขึ้นตามคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้นจากการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้ประเทศมากขึ้น

ประเทศไทย 3.0 คือ ประเทศไทยยุคอุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่า

เมื่อรายได้ต่อหัวประชากรขยับตัวเพิ่มสูงขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำของประเทศจะค่อยๆ ปรับตัวสูงขึ้นตามรายได้ประชากรและเงินเฟ้อ ทำให้การทำอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนน้อยแข่งขันได้ยากขึ้นเรื่อยๆ จากสภาพต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้น ระยะนี้ประเทศต้องพัฒนาขึ้นไปเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเพิ่มมูลค่ามากขึ้น ซับซ้อนมากขึ้น และใช้นวัตกรรมมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดยปัจจุบัน ประเทศไทยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าประเภทรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบมาเป็นอันดับหนึ่งของมูลค่าการส่งออกสินค้ารวม รองมาคือเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ สะท้อนภาพการพัฒนาตัวเองมาจากยุค 2.0 ได้เป็นอย่างดี

ประเทศไทย 4.0 คือ ประเทศไทยยุคนวัตกรรมและรายได้สูง

เป้าหมายหลักเชิงเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่คือ การเติบโตของเศรษฐกิจและการเพิ่มขึ้นของรายได้ต่อหัวของประชากร จนประเทศกลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือมีรายได้ต่อหัวของประชากรสูง การจะพัฒนาตัวเองไปสู่ประเทศพัฒนาแล้วต้องพึ่งพาการบริโภคในประเทศที่แข็งแกร่งและอุตสาหกรรมที่มีความสามารถในการแข่งขันได้ในระดับโลก ยิ่งประเทศชาติพัฒนาขึ้นเท่าไหร่ ต้นทุนค่าแรงของประชากรจะเพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น ทำให้การทำธุรกิจเดิมๆ ที่มีความซับซ้อนไม่มากจะแข่งขันยากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันกับประเทศกำลังพัฒนาที่ค่าแรงต่ำกว่าได้ ประเทศจึงต้องหันมาพึ่งพิงภาคการบริโภคในประเทศที่จะเติบโตไปตามคุณภาพชีวิตของประชากร และหันมาสร้างศักยภาพธุรกิจของประเทศให้แข่งขันในเวทีโลกได้

การจะเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ 4.0 จึงต้องการเปลี่ยนจากการทำธุรกิจแบบ “DO” เป็น “MAKE” คือเน้นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่มากกว่าการแข่งขันในอุตสาหกรรมเดิมๆ หรืออีกนัยหนึ่งคือธุรกิจไทยต้องมีแบรนด์ในระดับโลก เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มหรือรายได้เข้าสู่ประเทศที่จะขยายขอบเขตกว้างขึ้นจากห่วงโซ่อุปทานที่เคยเป็นผู้รับจ้างผลิตมาเป็นเจ้าของนวัตกรรม

ประเทศไทยตั้งเป้าจะเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับสูงภายในปี 2032

นอกจากการรอคอยภาครัฐและภาคเอกชนให้สร้างชาติแล้ว ปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุดคือ “คนไทยทุกคน” ที่จะช่วยกันพัฒนาตัวเองให้มีความสามารถมากขึ้นและมีมูลค่าในตัวเองมากขึ้น

ยิ่งประชากรแต่ละคนหารายได้ได้มากเท่าไหร่ เศรษฐกิจก็จะยิ่งเติบโตไปสู่อนาคตมากขึ้นเท่านั้น สำคัญที่สุด ไทยแลนด์ 4.0 ก็อยู่ที่พวกเราทุกคนนั่นเอง

ซึ่งมันคืออะไรก็ไม่รู้แหละ รู้แค่คร่าว ๆ ว่ามันเกี่ยวกับเทคโนโลยี เกี่ยวกับประเทศไทยทั้งประเทศ แต่เป็นยังไงมายังไง แล้วทำไมอยู่ ๆ ถึงมี 4.0 เลย มันมี 1.0 2.0 มาก่อนมั้ย แล้ว 4.0 มันคืออะไร ดียังไง เดี๋ยววันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจพร้อม ๆ กัน รับรองได้ว่า ง่าย สั้น กระชับ อ่านจบไปเล่าต่อได้ทันทีครับ

เริ่มต้นกันใหม่ ทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กัน

ก่อนอื่นเลยต้องอธิบายก่อนว่า Thailand 1.0 – 4.0 ต่าง ๆ มันคืออะไร ซึ่งมันก็คือโมเดลในการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลไทย แต่แตกต่างกันที่กลุ่มการลงทุนหลักของประเทศในขณะนั้น พูดง่าย ๆ คือ ในแต่ละยุคสมัยรัฐก็จะให้ความสนใจและส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน ลองกลับไปย้อนอดีตกันสักหน่อยดีกว่า

เริ่มต้นกันที่ Thailand 1.0 ซึ่งช่วงนั้นรัฐก็จะเน้นการลงทุนทางภาคเกษตรกรรม เช่น หมู หมา กา ไก่ พืชไร่ พืชสวน ส่วนการส่งออกสมัยนั้นยังเป็นแค่พวกไม้สัก ดีบุกเท่านั้นเอง

โมเดลต่อมาก็เป็น Thailand 2.0 ที่มุ่งเน้นอุตสาหกรรมเบาแต่หันมาใช้แรงงานจำนวนมากแทน เช่น เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า กระเป๋า เครื่องประดับ อะไรพวกนี้

และในช่วงที่เราอยู่กันขณะนี้ก็คือ Thailand 3.0 ซึ่งเป็นยุคของอุตสาหกรรมหนักและการส่งออก มีการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น เน้นเรื่องชิ้นส่วนยานยนต์ แผงวงจรไฟฟ้าที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น และเรื่องของการลงทุน มีการขยับไปลงทุนในต่างประเทศอีกด้วย

แล้วตอนนี้ไม่ดียังไง ทำไมต้องปรับตัว

เพราะ Thailand 3.0 ที่เราเป็นกันมาตลอดจนถึงทุกวันนี้มันทำให้รายได้ประเทศอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น เราไม่สามารถขยับหนีไปจากจุดนี้ได้สักที เมื่อ 50 ปีก่อน ช่วง พ.ศ.2500-2536 เศรษฐกิจของไทยเรามีการเติบโตอย่างมากถึงระดับ 7-8% ต่อปี แต่หลังจาก พ.ศ.2537 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน เศรษฐกิจไทยเติบโตขึ้นเพียง 3-4% ต่อปีเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีเรื่องของ ‘ความเหลื่อมล้ำด้านความร่ำรวย’ อีกต่างหาก และสุดท้ายก็เรื่องของ ‘ความไม่สมดุลในการพัฒนา’ ซึ่งเรื่องพวกนี้นี่แหละครับที่ทำให้รัฐบาลต้องหันมาใส่ใจ เร่งพัฒนาปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจกันยกใหญ่ เพื่อให้เราก้าวข้ามจาก Thailand 3.0 ไปสู่ Thailand 4.0 ให้ได้ใน 3-5 ปีนี้

ถึงคราวเปิดใจให้ Thailand 4.0

ทุกคนที่รับรู้ถึงวิกฤตในครั้งนี้ก็ได้แต่ฝากความหวังไว้ที่ Thailand 4.0 หวังว่ามันจะช่วยผลักดันให้ประเทศไทยหลุดพ้นกับดักทั้งหลายที่เคยเจอมาตลอดได้ ซึ่ง Thailand 4.0 นี้เป็นการ ‘ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม’ นั่นเอง เปลี่ยนจากที่แต่ก่อนเราลงมือทำมาก แต่ได้ผลตอบแทนน้อย มาเป็น ลงมือทำน้อย ๆ แต่ได้ผลตอบแทนมหาศาล โดยการเอาความคิดสร้างสรรค์เป็นแรงผลักดัน และนำนวัตกรรมเข้ามาช่วย เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าไปสู่การบริการมากขึ้น

ตัว Thailand 4.0 นี้จะเป็นการพูดถึง New S-Curve หรือก็คือ การพัฒนาเปลี่ยนแปลงใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งก็คล้าย ๆ กับการ Disruptive ที่เข้ามาพัฒนาสินค้าที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น และล้มล้างพฤติกรรมแบบเดิม ๆ เหมือนอย่างเช่น ฟิล์ม Kodak ที่เคยรุ่งเรืองอยู่ในสมัยก่อน ใครจะไปคิดว่าสุดท้ายแล้วบริษัทยักษ์ใหญ่รายนี้จะถูกคลื่นลูกใหม่อย่างเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาแทนที่ ต้องล้มหายไปจากความทรงจำของเด็กรุ่นใหม่ ทำให้ยุคสมัยนี้คนอาจจะไม่รู้จักกับ Kodak แต่รู้จักกับกล้องดิจิทัลแบรนด์ดัง ๆ อย่างอื่นแทน

ส่วนที่ยากของ New S-Curve คือเราจะเคลื่อนย้ายไปเทคโนโลยีใหม่เมื่อไหร่ อย่างแรกต้องดูว่าเราจะไปปักหลักกับเทคโนโลยีไหนดี ต่อมาคือเราจะเปลี่ยนแปลงมันไปยังไง และสุดท้าย เมื่อไหร่ถึงควรจะปรับตัวไปยังเทคโนโลยีนั้น
การเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาพร้อม Thailand 4.0

วิธีการถือเป็นเรื่องสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ซึ่งสำหรับ Thailand 4.0 แล้ว การเปลี่ยนแปลงย่อมมีให้เห็น และแน่นอนว่ามันต้องเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมด้วย ซึ่งเมื่อมองภาพว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการทำเกษตรกรรมอยู่เยอะ การเปลี่ยนแปลงในส่วนนี้จึงเกิดขึ้น โดยเปลี่ยนจากการทำเกษตรแบบธรรมดา ให้เป็นเกษตรสมัยใหม่ หรือ Smart Farming สิ่งสำคัญคือจะทำยังไงให้เกิดความสมดุลในการผลิต ให้ความต้องการซื้อและขายมันพอดีกัน ต้องช่วยกันคิดว่าสิ่งที่เราเหลือสามารถนำไปแปรรูปเปลี่ยนเป็นอะไรที่มีคนต้องการได้บ้าง

อีกทั้งตัวผู้ประกอบการเองก็ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองเช่นกัน จาก SME ที่ต้องรอคอยการช่วยเหลือจากรัฐอยู่ตลอดเวลา เป็น Smart Enterprises และ Startup หรือบริษัทเกิดใหม่ที่มีศักยภาพสูง อย่างที่ได้ยินข่าวกันอยู่ในทุกวันนี้ โดยการนำเอานวัตกรรมเข้ามาช่วย เพิ่มจุดแข็งและคุณค่าให้ธุรกิจ

รวมไปถึงสมัยก่อนเราอาจจะขาดแคลนคุณภาพของแรงงาน มีแต่แรงงานทักษะต่ำ ไม่มีความรู้พื้นฐานเพียงพอ ก็เป็นอีกสิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยน สร้างพื้นฐานความรู้ ความเชี่ยวชาญ ให้แก่แรงงานของเรา

และการเปลี่ยนแปลงสุดท้ายคือ การบริการ อาจต้องเปลี่ยนแปลง จากที่เคยแค่บอกต่อกันไปปากต่อปาก มีคนกดไลก์เยอะ ก็คิดว่าบริการนั้นดีมากแล้ว อาจต้องมีการนำเรื่องของมาตรฐานเข้ามา เพื่อให้กลายเป็น High Value Services ต้องมีการรับรอง มีการตรวจสอบเพื่อให้มีความน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพ เช่น บริการนวด ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพบริการที่มีมากในประเทศไทย อาจต้องมีการตรวจสอบและผ่านการรับรองเพื่อแลกกับคุณภาพที่ได้มาตรฐาน

ไทยแลนด์ 4.0 ให้ความสำคัญในเรื่องของอะไร

เป้าหมายการพัฒนาประเทศไทย 4.0 คือ การยกระดับ คุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยทุกกลุ่มให้ดีขึ้น โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง กลุ่มคนที่ยังต้องการเติมเต็มศักยภาพ ผู้ด้อยโอกาส หรือ ผู้ที่กำาลังประสบกับปัญหาความยากจนอย่างมาก ดังนั้นภารกิจ สำาคัญคือจะต้องทำาให้คนในกลุ่มนี้มี “โอกาสทางสังคม” (Social Mobility) โดยเน้นการป้องกันความเสี่ยงให้ ...

ความหมายของไทยแลนด์ 4.0 คืออะไร

“ประเทศไทย 4.0” เป็นความมุ่งมั่นของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” โดยมีฐานคิดหลัก คือ เปลี่ยนจาก การผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ...

ไทยแลนด์ 4.0 มีอะไรบ้าง

เทคโนโลยีด้านการเงิน (Fintech) อุปกรณ์เชื่อมต่อออนไลน์โดยไม่ต้องใช้คน (IoT) เทคโนโลยีการศึกษา (Edtech) อี–มาร์เก็ตเพลส (E–Marketplace) อี–คอมเมิร์ซ (E–Commerce) ในกลุ่มที่ 4 เทคโนโลยีการออกแบบ (Designtech) ธุรกิจไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Business) เทคโนโลยีการท่องเที่ยว (Traveltech) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ (Service ...

ยุคที่ 3 ของไทยแลนด์ 4.0 คือยุคใด

และในช่วงที่เราอยู่กันขณะนี้ก็คือ Thailand 3.0 ซึ่งเป็นยุคของอุตสาหกรรมหนักและการส่งออก มีการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น เน้นเรื่องชิ้นส่วนยานยนต์ แผงวงจรไฟฟ้าที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น และเรื่องของการลงทุน มีการขยับไปลงทุนในต่างประเทศอีกด้วย